"ประเสริฐ"เผยผลปราบ"เฟคนิวส์" 1.17 พันล้านข้อความ เตือนภัย"ข่าวปลอม"แก่พี่น้องประชาชนแล้วกว่า 10,000 เรื่อง เตรียมพัฒนาเทคโนโลยี AI ยกระดับปกป้องประชาชน
เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2568 นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เปิดเผยผลการดำเนินการแก้ไขและป้องกันปัญหาข่าวปลอม ว่า กระทรวงดีอีได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาข่าวปลอมที่มีผลกระทบในวงกว้าง โดยเฉพาะข่าวปลอมเกี่ยวกับอาชญากรรมออนไลน์ ซึ่งต้องชี้แจงข้อเท็จจริงให้ประชาชนรับทราบอย่างรวดเร็วและทันท่วงที เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ จากข้อมูลของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย (Anti Fake News Center: AFNC) ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2562 - มีนาคม 2568 พบว่า ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมฯ ได้ทำการคัดกรองจำนวนข้อความทั้งหมด 1,172,694,555 ข้อความ โดยมีจำนวนข้อความที่เข้าเกณฑ์การตรวจสอบ 74,892 ข้อความ (ข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2568)
สำหรับข้อความที่เข้าเกณฑ์ตรวจสอบดังกล่าว ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมฯ ได้บูรณาการตรวจสอบและยืนยันความถูกต้องของข่าวสาร ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ภาคประชาชน และสื่อมวลชน รวมเป็นเครือข่ายผู้ประสานงานกว่า 400 หน่วยงาน ซึ่งสามารถแบ่งประเภทข้อความได้ดังนี้ 1.เรื่องที่ส่งตรวจสอบ จำนวน 38,361 เรื่อง โดยแบ่งเป็นหมวดหมู่ข่าวสารที่ผลกระทบต่อประชาชนเป็นวงกว้าง ดังนี้ เรื่องนโยบายรัฐบาล 18,168 เรื่อง (47.36%) , เรื่องสุขภาพ 14,082 เรื่อง (36.71%) , เรื่องเศรษฐกิจ 2,115 เรื่อง (5.51%) , เรื่องอาชญากรรมออนไลน์ 2,171 เรื่อง (5.66%) และเรื่องภัยพิบัติ 1,825 เรื่อง (4.76%)
2.เรื่องที่ได้รับการตรวจสอบ มีจำนวนทั้งหมด 19,954 เรื่อง โดยแบ่งเป็น (1) ข่าวปลอม จำนวน 6,987 เรื่อง (35.01%) , (2) ข่าวจริง จำนวน 7,955 เรื่อง (39.87%) , (3) ข่าวบิดเบือน จำนวน 2,241 เรื่อง (11.23%) , (4) ข้อมูลไม่เพียงพอ จำนวน 2,771 เรื่อง (13.89%) และ 3.เรื่องที่ได้ดำเนินการเผยแพร่ข่าวสารที่ตรวจสอบแล้วให้กับประชาชนได้รับทราบจำนวนทั้งหมด 10,293 เรื่อง แบ่งเป็น (1) ข่าวปลอม จำนวน 7,230 เรื่อง (70.25%) , (2) ข่าวจริง จำนวน 2,266 เรื่อง (22.01%) , (3) ข่าวบิดเบือน จำนวน 797 เรื่อง (7.74%)
“กระทรวงดีอี โดยศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมฯ ให้ความสำคัญในการสร้างความเข้าใจ และชี้แจงข้อเท็จจริงและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องอย่างทันท่วงทีแก่ประชาชน ผ่านกระบวนการตรวจสอบข้อมูลอย่างรัดกุม ซึ่งในอนาคตจะมีการนำเอาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI เข้ามาช่วยในการตรวจสอบข่าวปลอม ข่าวบิดเบือน และข่าวจริง รวมทั้งการแจ้งเตือนภัยจากการหลอกลวงที่เกี่ยวข้องกับการฉ้อโกงทางออนไลน์ หรืออาชญากรรมออนไลน์ ในรูปแบบต่างๆ ให้ทันต่อสถานการณ์อยู่เสมอ เพื่อลดความสูญเสียของประชาชนในการตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ ที่ใช้สื่อสังคมออนไลน์ เป็นเครื่องมือในการหลอกลวงประชาชน” รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดีอีกล่าว
นายประเสริฐ กล่าวว่า พี่น้องประชาชนสามารถติดตามและตรวจสอบข้อมูลข่าวสารของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมฯ ผ่านช่องทางต่างๆ ดังนี้ 1) Website : www.antifakenewscenter.com 2) Line Official Account : @antifakenewscenter 3) Facebook : Anti-Fake News Center Thailand 4) Twitter : @AFNCThailand 5) TikTok: @AFNC_Thailand และ 6) Instagram: @AFNC_Thailand
นอกจากนี้ กระทรวงดีอี ยังได้มีบันทึกข้อตกลงความร่วมมือฯ การแจ้งเตือนภัยจากการหลอกลวงทางสื่อออนไลน์และข่าวปลอมแก่ประชาชนผ่านแอปพลิเคชัน "เป๋าตัง" ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2565 จนถึงปัจจุบัน
- 006
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี