อำเภอพลับพลาชัย จังหวัดบุรีรัมย์ จัดสืบสานประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นพลับพลาชัย ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ เพื่อส่งเสริมและรักษาความหลากหลายทางวัฒนธรรมของชาว อ.พลับพลาชัย ที่มีทั้งชนเผ่าไทยเขมร ไทยลาว และไทยกูย ให้คงอยู่สืบไป
เมื่อช่วงค่ำวันที่ 13 เม.ย.68 นายภูษิต เล็กอุดากร นายก อบจ.บุรีรัมย์ เปิดการจัดงานโครงการสืบสานประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นพลับพลาชัย อ.พลับพลาชัย ประจำปีงบประมาณ 2568 ซึ่ง อ.พลับพลาชัย ร่วมกับ อบจ.บุรีรัมย์ ส่วนราชการ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ อบต.-เทศบาล ทั้ง 5 แห่ง และหมู่บ้านอีกทั้ง 67 หมู่บ้าน ร่วมกันจัดขึ้น เนื่องในโอกาสเทศกาลวันสงกรานต์ ประจำปี 2568 ที่บริเวณสนามหน้าที่ว่าการอำเภอพลับพลาชัย จ.บุรีรัมย์
เพื่อส่งเสริม สนับสนุน และรักษาไว้ซึ่งขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของ อ.พลับพลาชัย ที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ของแต่ละหมู่บ้าน ชุมชน ที่มีทั้งชนเผ่าไทยเขมร ไทยลาว และไทยกูย หรือกวย หรือส่วย ที่สามารถอยู่ร่วมกันอย่างมีความรักสมัครสมานสามัคคีกัน โดยมีประชาชนชาว อ.พลับพลาชัย และนักท่องเที่ยวเดินทางมาร่วมกิจกรรมกันเป็นจำนวนมาก
โดยภายในงานได้มีกิจกรรมการแสดง ที่บ่งบอกถึงศิลปวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของท้องถิ่น อ.พลับพลาชัย ทั้งการแข่งขันชกมวยไทย การประกวดวัฒนธรรมท้องถิ่น การเดินแบบแสดงผ้าไหมและผ้าพื้นบ้าน การสาธิตการแสดงเรือมอันเร หรือ ลูดอันเร ซึ่งเป็นศิลปะการแสดงอย่างหนึ่ง ของชาวไทยเชื้อสายเขมรแถบอีสานใต้ มีลักษณะคล้ายการละเล่นลาวกระทบไม้ของไทย ที่มักจะนิยมเล่นกันในช่วงราวเดือนสี่เดือนห้า ในช่วงวันหยุดสงกรานต์ โดยจะเต้นร้องรำไปเคล้าตามเสียงกระทบของสากหรือไม้ ที่มีจังหวะสนุกสนาน ในลักษณะการเกี้ยวพาราสี
การสาธิตแสดง ‘โจลมะม๊วด’ ของชาวไทยเชื้อยสายเขมร ที่ถือเป็นพิธีกรรมการรักษาผู้ป่วยผ่านร่างทรง เมื่อใดที่มีใครคนใดคนหนึ่งในหมู่บ้าน เกิดอาการเจ็บป่วยแบบไร้สาเหตุ เข้ารับรักษาในแพทย์แผนปัจจุบันแล้วก็ไม่หาย ก็จะเชื่อว่าได้ถูกกระทำโดยอำนาจเหนือธรรมชาติ หรือภูตผีปีศาจ และอำนาจที่มองไม่เห็น จนทำให้บุคคลนั้นล้มป่วยโดยไม่ทราบสาเหตุ จึงต้องพึ่งพาอาศัยการรักษาด้วยพิธีกรรมความเชื่อที่เรียกว่า ‘โจลมะม้วต’โดยจะมีเครื่องดนตรีมโหรีบรรเลงให้จังหวะ
และการสาธิตการแสดง ‘การรำแกลมอ’ (อ่านว่า-แกน-มอ) เป็นพิธีกรรมความเชื่อของชาวกูย หรือกวย หรือส่วย ที่จะมีแม่มอ แม่ออ ซึ่งเป็นตัวเอกของพิธีกรรม แกลมอ โดยเป็นกานฟ้อนรำประกอบดนตรี ที่จะทำขึ้นใน 3 โอกาส คือ การรักษาอาการป่วยและเรียกขวัญผู้ป่วย ซึ่งเป็นการรักษาทางจิตใจ เพื่อเป็นการเข้าทรงเสียงทราย ปลอบขวัญให้คนป่วยได้คลายจากทุกข์ และเป็นการบูชาครูกำเนิด เพื่อให้เกิดความสนุกสนาน ซึ่งทั้งพิธีกรรม โจลมะม๊วด กับ การรำแกลมอ ซึ่งไม่ต่างอะไรกับการบูชาผีฟ้าพญาแถน จะต่างเพียงแต่รูปแบบ กระบวนการขั้นตอนของวิธีการ ที่เป็นความเชื่อของแต่ละชนเผ่า
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี