เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2568 พลตรีวีรยุทธ รักศิลป์ รองแม่ทัพภาคที่ 2 เป็นประธานในพิธีวางพวงมาลาสักการะอนุสาวรีย์พิทักษ์ไทย พร้อมทำบุญอุทิศส่วนกุศลแด่ “วีรชนผู้กล้า ปี 54” โดยมี พลโท อดุลย์ บุญธรรมเจริญ อดีตแม่ทัพภาคที่ 2 พลตรี ณัฏฐ์ ศรีอินทร์ รองแม่ทัพภาคที่ 2 พลตรี สมภพ ภาระเวช ผู้บัญชาการกองกำลังสุรนารี พันเอก ภาคภูมิ นภากาศ ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจที่ 2 นายประภาส ศรีจันทร์เวียง รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ และ นาย เอกอนันต์ ศรีอินทร์ นายอำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ และหัวหน้าส่วนราชการในพื้นที่เข้าร่วมพิธีในครั้งนี้
โดยบรรยากาศในช่วงเช้า ได้มีพิธีบรวงสรวงปราตาควาย ณ ตัวบริเวณภายในปราสาทตาควาย โดยมีชาวบ้าน เจ้าหน้าที่ ฝั่งไทย เจ้าหน้าที่ทหารฝ่ายกัมพูชา เข้าร่วมสังเกตุการณ์ด้วยเช่นกัน และมีมคุเทศน์น้อยจากโรงเรียนไทยสันติสุข คอยบริการประชาชนที่เข้ามากราบไหว้ บรวงสรวง ซึ่งบรรยากาศก็เป็นอย่างเรียบง่าย เนื่องจากเป็นกิจกรรมที่ทำมาโดยตลอดทุกปี
ต่อมา พลตรี วีรยุทธ รักศิลป์ รองแม่ทัพภาคที่ 2 ประธานในพิธีมาถึง และกระทำพิธีสักการะอนุเสาวรีย์พิทักษ์ไทย มอบทุนแด่ตัวแทนครอบครัวผู้กล้า ปี 54 และพิธีสงฆ์น้ำพระเนื่องในเทศกาลปีใหม่ไทย เปลี่ยนผ้าห่มพระพุทธเมตตาองค์ใหญ่ ซึ่งเป็นพระประดิษฐ์ฐานประจำปราสาทตาควาย จากนั้นคณะได้ร่วมทำพิธีสงฆ์ ทำบุญถวายภัตตาหารเพล เพื่ออุทิศส่วนกุศลแด่ "วีรชนผู้กล้า ปี 54"
ทั้งนี้ พลโท อดุลย์ บุญธรรมเจริญ อดีตแม่ทัพภาคที่ 2 พร้อมด้วย คณะคุณนุ พันพันล้าน ผู้จัดสร้างพระเครื่องหลวงปู่ศิลา ได้นำวัตถุมงคลเป็น ผ้ายันต์ ตระกรุด พระผงปิดตา รุ่นพิทักษ์ไทย โดยมีหลวงปู้ศิลา เป็นองค์ประธานปลุกเสก มารร่วมมอบให้แก่ทหารกล้าชายแดน ณ จุดที่เคยมีการประทะสู้รบครั้งแรก เมื่อปี 54 จำนวน กว่า 500 ชุด เพื่อเป็นการสร้างขวัญกำลังใจแก่ทหารกล้า และได้นำเหรียญพระเครื่อง "รุ่นพิทักษ์ไทย" สวมไว้ที่อนุเสาวรีย์พิทักษ์ไว้ด้วยเช่นกัน จึงถือว่าเป็นอนุสาวรีย์แห่งเดียวในพระเทศไทย ที่อนุเสาวรีย์สวมพระเครื่อง
สำหรับประวัติอนุสาวรีย์พิทักษ์ไทย นั้น เกิดจากเหตุการณ์การรบปะทะ ในพื้นที่ปราสาทตาเมือน และปราสาทตาควาย อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ ในวันที่ 22 เมษายน ถึง 3 พฤษภาคม พุทธศักราช 2554 เป็นเหตุให้ฝ่ายเรา มีกำลังพลสูญเสีย จำนวน 8 นาย บาดเจ็บ จำนวน 98 นาย และจากการเสียสละชีวิต ในการปกป้องผืนแผ่นดินไทย จนวาระสุดท้าย จึงนับได้ว่า เป็นวีรกรรมที่ควรค่าแก่การยกย่อง และจดจำยิ่ง
ต่อมา กองกำลังสุรนสรี ได้พัฒนาพื้นที่ การสู้รบในอดีต ให้เป็นแหล่งศึกษาทางประวัติศาสตร์ เพื่อเชิดชูเกียรติ อดีตทหารหาญที่ได้เสียสละชีพ ในการปกป้องอธิปไตยของชาติ และกำหนดพื้นที่ก่อสร้างอนุสาวรีย์พิทักษ์ไทย บริเวณทางขึ้นปราสาทตาควาย อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ โดยได้รับความร่วมมือร่วมใจ จากผู้บังคับหน่วยในพื้นที่กองกำลังสุรนารี ที่ได้ร่วมรบเคียงบ่าเคียงไหล่ ในห้วงเวลาดังกล่าว รวมถึงญาติของกำลังพลที่เสียชีวิต
อนุสาวรีย์พิทักษ์ไทย แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 ฐานอนุสาวรีย์ มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาดกว้าง 12 เมตร ยาว 16 เมตร บริเวณกึ่งกลาง มีแท่นฐานขนาด กว้าง 4 เมตร ยาว 4 เมตร สูง 2 เมตร 5 เซนติเมตร สำหรับรองรับรูปปั้นทหาร ส่วนที่ 2 เป็นรูปปั้นทหารยืนถือปืน ในลักษณะท่าพร้อมใช้อาวุธ สะพายเครื่องหลัง หล่อด้วยทองเหลืองรมดำ ขนาดเท่าคนจริง ซึ่งได้กระทำพิธีเปิดอนุสาวรีย์ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 26 กันยายน พ.ศ.2564
- 006
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี