ส.ก. ชี้ปัญหาใหญ่! ควรหาทางออก “ค่าไฟแพงขึ้น” หนุนติดตั้งในโรงเรียน / กทม.แจงอยู่ระหว่างติดตั้งที่โรงควบคุมคุณภาพน้ำ คาดเสร็จปี 69 ก่อนเดินหน้าเฟสต่อไป
เมื่อวันที่ 23 เม.ย.68 นายพุทธิพัชร์ ธันยาธรรมนนท์ สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) เขตยานนาวา เสนอญัตติขอให้สภากรุงเทพมหานครตั้งคณะกรรมการวิสามัญศึกษาและพิจารณาการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Cell) ของกรุงเทพมหานคร ในการประชุมสภากรุงเทพมหานคร สมัยประชุมสามัญ สมัยที่สอง (ครั้งที่ 3) ประจำปี พ.ศ. 2568 ณ อาคารไอราวัตพัฒนา ศาลาว่าการกทม. 2 ดินแดง
นายพุทธิพัชร์ กล่าวว่า จากที่ได้รับเรื่องร้องเรียนจากประชาชนรวมถึงข้าราชการในพื้นที่เขตต่างๆ ว่า ตอนนี้ค่าไฟแพงมาก ซึ่งฝ่ายบริหารได้พิจารณาที่จะติดตั้งโซลาร์เซลล์ ไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาล สถานีบำบัดน้ำเสีย หรือสำนักงานเขต เพื่อเป็นการช่วยเหลือและทำงานร่วมกันอย่างบูรณาการ อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งก่อนหน้านี้เราได้ขอความคืบหน้าในการก่อสร้างการติดตั้งระบบโซลาร์รูฟบนหลังคาของ กทม. ทั้งสามหน่วยงาน แต่จนถึงวันนี้ยังถูกเบรกไว้อยู่เนื่องจากยังหาทิศทางที่แน่ชัดในการจัดทำไม่ได้ ปัญหานี้เป็นปัญหาใหญ่เราต้องหาทางออกเพื่อให้ กทม. อยู่รอดกับการที่ค่าไฟแพงมากขึ้น เพราะเราเป็นเขตปกครองพิเศษที่ใช้ไฟเยอะ เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าเหมาะสมและรวดเร็ว จึงขอให้สภากรุงเทพมหานคร ตั้งคณะกรรมการวิสามัญศึกษาและพิจารณาการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อที่จะหาแนวทางให้ใช้พลังงานทดแทนที่สะอาด รวมถึงการลดภาระของ กทม. ในระยะยาว
ด้านนายนภาพล จีระกุล ส.ก. ขตบางกอกน้อย กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องที่น่าศึกษา แต่เรื่องดังกล่าวนั้นมีมานานแล้ว ตนเคยคุยกับ กทม.ตั้งแต่ 10 ปีที่แล้วแต่ไม่มีใครสนใจ ตนมองว่าโรงเรียนในพื้นที่ กทม. สมควรทำโซลาร์รูฟ ในสมัยก่อนที่เรามองว่าแพงนั้นอันที่จริงแพงที่แบตเตอรี่ แต่หากตั้งแผงบนหลังคาและแปลงพลังงานในอินเวอร์เตอร์ไปใช้งานในครัวเรือน ราคาไม่สูงและคุ้มทุนแน่นอน หากคณะกรรมการวิสามัญชุดนี้เกิดขึ้น เรียกหน่วยงานเข้ามาให้ความรู้ เรียกฝ่ายบริหารเข้ามาดำเนินการ ตนมองว่าเป็นรูปธรรมขึ้นแน่นอนแทบไม่ต้องทำอะไร เพราะโซลาร์รูฟเกิดขึ้นมานานแล้ว ไม่ใช่พึ่งเกิด ต่างประเทศเต็มไปหมดแต่ทำไมประเทศเราไม่เริ่มทำ ทั้งนี้ นายนภาพล ยังตั้งคำถามถึงการเซ็น MOU กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตที่ผ่านมาว่าเป็นอย่างไรบ้าง
นายจักกพันธุ์ ชี้แจงว่า เราเซ็น MOU ไปเรียบร้อยแล้ว โดยแบ่งการทำงานออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่การติดตั้งที่โรงควบคุมคุณภาพน้ำ 8 แห่งใน กทม. ซึ่งตามแผนจะแล้วเสร็จภายในปี 2569 หลังจากนั้นจะเริ่มระยะที่เหลือต่อไป
ทั้งนี้ ที่ประชุมได้เห็นชอบญัตติดังกล่าว และเห็นชอบให้ตั้งคณะกรรมการวิสามัญจำนวน 11 คน ประกอบด้วย 1.นายพุทธิพัชร์ ธันยาธรรมนนท์ 2. นายกฤษฏ์ คงวุฒิปัญญา 3.นายปวิน แพทยานนท์ 4.นายอนุรักษ์ เลิศวัฒนาไพบูลย์ 5.น.ส.เมธาวี ธารดำรงค์ 6.นายณรงค์ศักดิ์ ม่วงศิริ 7.นายณภัค เพ็งสุข 8.นายวิรัช คงคาเขตร 9.นายอานุภาพ ธารทอง 10.นายมนัสวี อารยะศิริ และ 11.นายสมบัติ วนิชประภา โดยกำหนดระยะเวลาพิจารณาศึกษาภายใน 180 วัน
037
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี