สสส.ได้ทำงานวิจัยด้านกิจกรรมทางกายร่วมกับ 40 ประเทศ พบว่า เด็กทั่วโลกและเด็กไทยมีกิจกรรมทางกายที่ลดลง สำหรับเด็กไทยมากกว่าร้อยละ 70 มีกิจกรรมทางกายอยู่ในระดับที่ไม่เพียงพอ และยังมีพฤติกรรมการใช้หน้าจอที่เกินกว่าเกณฑ์แนะนำด้านสุขภาพ เกิดเป็นพฤติกรรมเนือยนิ่งที่จะนำไปสู่ความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพอีกด้วย
เมื่อไม่นานมานี้ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้จัดงานแถลงข่าว “เล่นดี3 มิติ ส่งเสริมการเรียนรู้” ภายใต้ “โครงการกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาวะทางกายในสถานศึกษา” ในแนวคิด “ออกมาเล่น แอ๊กทีฟ 60 นาทีทุกวัน” เพื่อส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายอย่างต่อเนื่องในกลุ่มเด็กและเยาวชนไทย อายุระหว่าง 8-15 ปี ให้มีสุขภาวะที่ดีเหมาะสมตามวัย และเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ครู ผู้ปกครอง ได้เห็นถึงความสำคัญในการส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกาย ทั้ง 3 มิติ ลดการเนือยนิ่ง รวมไปถึงเพื่อสานพลังความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่ทำงานด้านเด็กและเยาวชน ขยายผลการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในวงกว้างต่อสังคมไทย
นางสาวนภาพร ขันตี
ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่ากิจกรรมหลักของโครงการ คือการสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับผู้บริหาร คณาจารย์ และบุคลากร ในสถานศึกษาผ่านการอบรมสัมมนา และการจัดกิจกรรมตัวอย่างโดยแบ่งเป็น 4 ฐานกิจกรรม ได้แก่ ฐาน ชั่ง ตวง วัด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ช่วยส่งเสริมพัฒนาการใน 3 มิติ ได้แก่ 1) ทักษะพิสัย 2) จิตพิสัย และ 3) พุทธพิสัย ซึ่งทั้งหมดนี้สามารถนำมาประยุกต์ให้นำไปปรับใช้กับการจัดการเรียนการสอนทั้งในและนอกชั้นเรียน ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ในการ “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” อีกด้วย
ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม
รศ.สมควร โพธิ์ทอง อดีตรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ หนึ่งในวิทยากรของโครงการกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาวะทางกายในสถานศึกษาให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า จุดเด่นของโครงการนอกจากการเสริมแนวทางปรับการสอนสำหรับครูในโรงเรียนแล้ว ยังช่วยปรับทัศนคติของผู้ปกครองให้มองเห็นว่าการเล่นไม่ใช่เรื่องไร้สาระสำหรับเด็ก โดยหลักของการสร้างกิจกรรมทางกายควรเริ่มจากกิจกรรมที่สนุก เพื่อให้เด็กรู้สึกสนใจและให้ความร่วมมือ และจัดกิจกรรมให้ครอบคลุม 3 มิติ ได้แก่ 1) ทักษะพิสัย ขณะที่เด็กเล่น สมองจะสั่งการให้อวัยวะต่างๆ เคลื่อนไหวอย่างสัมพันธ์กัน การกระตุ้นสมองให้สั่งการจะส่งผลดีต่อสติปัญญา และการเรียนรู้ของเด็ก 2) จิตพิสัย เด็กจะมีพัฒนาการด้านความฉลาดทางอารมณ์ที่ดี เห็นคุณค่าเคารพกติกา เกิดทักษะสังคม เรียนรู้การอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น และ 3) พุทธพิสัย สามารถสร้างภาพการเคลื่อนไหวและรูปแบบการเคลื่อนไหว ซึ่งเป็นการจำลองสภาวะภายในความคิด เป็นจุดเริ่มต้นของความคิดสร้างสรรค์โดยทั้ง 3 ส่วน เป็นส่วนผสมของการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่ครบถ้วน
รศ.สมควร โพธิ์ทอง
นางสาวนภาพร ขันตี ตัวแทนครู จากโรงเรียนราชมนตรี เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร เผยถึงการเข้าร่วมโครงการกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาวะทางกายในสถานศึกษาว่าหลังจากการอบรมร่วมกับโครงการทางโรงเรียนได้นำไปปรับใช้ในการเรียนการสอนทันทีในระดับอนุบาล และประถมศึกษา ซึ่งผลที่ได้คือ เด็กมีความร่วมมือกระตือรือร้นในการเรียน มีสมาธิ และมีอารมณ์ที่สดใส และมีผลการเรียนที่ดีขึ้น ซึ่งขณะนี้ทางโรงเรียนกำลังขยายกิจกรรมไปยังระดับชั้นมัธยมศึกษา เพื่อให้เด็กมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้นในทุกระดับชั้น ทำให้เด็กมีคุณภาพทั้งร่างกาย และสติปัญญาอีกด้วย
วันนี้ พ่อแม่ ที่กำลังวิตกว่า ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ที่คนส่วนใหญ่กำลังคลั่งไคล้ อาจทำให้เกิด ผลเสียที่จะตามมากับลูกหลานทั้งต่อสุขภาพและพัฒนาการของเด็ก การให้ความสนใจต่อการสนับสนุนให้เด็กมีกิจกรรมทางกายอย่างเหมาะสม (อย่างน้อย 60 นาทีทุกวัน) จึงเป็นเรื่องสำคัญ
ผู้ที่สนใจสามารถติดตามรายละเอียดหรือความคืบหน้าของกิจกรรมใน โครงการกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาวะทางกายในสถานศึกษาได้ทางเฟซบุ๊คแฟนเพจ www.facebook.com/ActivePlayActiveSchool
โดย ปานมณี
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี