28 มี.ค.62 เฟชบุ๊ก ณัฐพันธุ์ กรุงเทพ กรุงเทพ ทันใจ ได้โพสต์ข้อความโชว์รางวัลเกียรติยศต่างๆของนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี หลังจากก่อนหน้านี้คณะกรรมการศิษย์เก่าโรงเรียนเตรียมทหาร ได้ลงมติอย่างเป็นเอกฉันท์ ให้ถอดชื่อนายทักษิณ ชินวัตร ศิษย์เก่าเตรียมทหาร รุ่นที่ 10 ออกจากศิษย์เก่าดีเด่นโรงเรียนเตรียมทหาร พร้อมเรียกคืนรางวัลเกียรติยศจักรดาว
โดยเพจดังกล่าว ระบุว่า นึกว่ายึดรางวัลลุงแม้วไปแล้ว ท่านจะเสื่อมเสียรึ ท่านยังมีรางวัลเกียรติยศ ตุนไว้อีกเยอะว่ะ ดร.ทักษิณ ชินวัตร กับรางวัลเกียรติยศ
รางวัลรัฐบุรุษเอบีแอลเอฟ พ.ศ. 2555 เป็นรางวัลจากเอเชียน บิสซิเนส ลีดเดอร์ชิพ ฟอรัม ในชื่อรางวัลรัฐบุรุษเอบีแอลเอฟ (The ABLF Statesman Award) ประจำปี 2555 จากชีค นาฮายัน มาบารัก อัล นาฮายัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการศึกษาระดับสูง สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
ที่ลุงแม้ว ได้รับรางวัลเพราะเป็นนายกฯ ที่มีผลงานยอดเยี่ยมในการฟื้นฟูเศรษฐกิจจากวิกฤติของเอเชีย การขจัดความยากจน โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค ซึ่งโครงการดังกล่าวเป็นแม่แบบ ให้องค์การอนามัยโลก (WHO) นำไปเป็นแม่แบบ รวมทั้งชื่นชมการปฏิรูปการศึกษาขนานใหญ่ด้วย
รางวัล Sam Houston Humanitarian Award กลุ่มคนที่ได้รับเกียรติก่อนท่าน คือ 1.อดีตประธานาธิบดีจอร์จ เอช ดับเบิลยู บุช 2. James A. Baker III อดีตรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ3. Lech Walesa อดีตผู้นำสหภาพแรงงานโปแลนด์ที่ต่อสู้กับกฎของสหภาพโซเวียตในทศวรรษที่ 1980 เขาเป็นนักเคลื่อนไหว และเป็นผู้นำ สหภาพแรงงานอิสระแห่งแรกของคอมมิวนิสต์โปแลนด์ "Solidarity"
นายกฯ ทักษิณ เป็นคนที่ 4 ที่ได้รับรางวัลนี้ทำให้ท่านรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่ง ได้รับการยกย่องให้เป็น 1 ในบุคคล 50 คน ซึ่งมีอิทธิพลมากที่สุดในโลกของ นิตยสารไทม์ (พ.ศ. 2538)
รางวัล 1992 Asean Business Man of the Year โดย Asean Institute ประเทศ อินโดนีเซีย (พ.ศ. 2535) 1 ใน 3 คนไทยดีเด่น ซึ่งมีบทบาทสำคัญ ในการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดี ระหว่างประเทศไทย และฟิลิปปินส์ จากสถานทูตฟิลิปปินส์ประจำประเทศไทย (พ.ศ. 2538)
บุคคลดีเด่นผู้พัฒนาโทรคมนาคม เพื่อสังคมของประเทศไทย ประจำปี 2536 จากสมาคมโทรคมนาคม แห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2537) 1 ใน 12 นักธุรกิจผู้นำของเอเชียได้รับยกย่องจากหนังสือพิมพ์Singapore Business Times (พ.ศ. 2537) รางวัล Outstanding Criminal Justice Alumnus Awards จาก Criminal Justice Center มหาวิทยาลัยแซมฮิวสตันสเตท สหรัฐอเมริกา (พ.ศ. 2539) รางวัล Distinguished Alumni Award จากมหาวิทยาลัยแซมฮิวสตันสเตท (5 ตุลาคมพ.ศ. 2539)Asian CEO of the Year จาก นิตยสาร Financial World (พ.ศ. 2537)
รับพระราชทาน ปริญญาวารสารศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (พ.ศ. 2537) ได้รับทุน Lee Kuan Yew Exchange Fellowship จากประเทศสิงคโปร์ คนไทยคนแรก และเป็นบุคคลที่ 3 ในเอเชีย ที่ได้รับทุน (พ.ศ. 2537)
รางวัล 1992 Asean Business Man of the Year" จาก Asean Institute ประเทศอินโดนีเซีย (พ.ศ. 2535) รับพระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดน เป็น นายกองใหญ่ ทักษิณ ชินวัตร เป็นกรณีพิเศษ (พ.ศ. 2544)
รางวัล โลซินเซีย แอปพลิเคชัน อวอร์ด จากองค์การภาพยนตร์ โมชั่น พิคเจอร์แอปพลิเคชัน (พ.ศ. 2546)
รางวัล International Forgiveness Award 2004 ซึ่งมอบให้แก่บุคคลที่มีความพยายาม มุ่งไปสู่สันติภาพ และสร้างความเป็นเอกภาพ ซึ่งมีบุคคลที่ได้รับรางวัลนี้มาแล้ว ได้แก่ สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 พระคาร์ดินัล Vinko Puljic และนาย Sergio Vieira De Mello ผู้แทนพิเศษของเลขาธิการสหประชาชาติ (ยูเอ็น)
ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิทยาศาสตร์จากสถาบันเศรษฐศาสตร์แห่งรัสเซีย Plekhanov Russian Academy of Economics (พ.ศ. 2550)
ได้รับการแต่งตั้งเป็น ศาสตราจารย์อาคันตุกะทางด้านธุรกิจของเอเชียและโมเดลทางเศรษฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยทากุโชกุ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ในปี พ.ศ. 2550
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี