14 พ.ค.62 เวลา 09.00 น.ที่ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้
กฎหมาย
1. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ) ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้
สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
เป็นการขยายเวลาการจดแจ้งการขอใช้สิทธิลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับการประกอบกิจการในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ โดยกำหนดให้มีการลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลจากอัตราร้อยละ 20 เหลือร้อยละ 10 เป็นเวลา 10 รอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกัน ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งมีสถานประกอบการตั้งอยู่ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสำหรับกำไรสุทธิจากรายได้ที่เกิดจากการผลิตสินค้าหรือการให้บริการและมีการใช้บริการในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าว ทั้งนี้ สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีเริ่มในหรือหลังวันที่ได้จดแจ้งการขอใช้สิทธิการเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2561 ถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2563
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังรายงานว่า มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษข้างต้น คาดว่าจะมีภาษีสูญเสียประมาณ 4 ล้านบาท แต่จะช่วยส่งเสริมการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ช่วยให้มีการผลิตสินค้าและบริการในพื้นที่จังหวัดชายแดนเพิ่มขึ้น รวมทั้งยังสอดคล้องกับนโยบายของรัฐในการส่งเสริมอุตสาหกรรมการค้าชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้านให้เพิ่มขึ้น และส่งเสริมให้ไทยเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
2. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจ)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจ) ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงการคลังรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
กำหนดให้มีการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สำหรับกำไรสุทธิในการดำเนินโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจ เฉพาะส่วนที่เกิดจากการจำหน่ายคาร์บอนเครดิต ไม่ว่าจะกระทำในประเทศหรือนอกประเทศเป็นเวลาสามรอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกัน โดยมีหลักเกณฑ์ ดังนี้
1. โครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ได้สิทธิประโยชน์ ได้แก่ โครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจ ซึ่งจำหน่ายคาร์บอนเครดิตประเภท Voluntary Emission Reductions (VERs) ที่ได้ขึ้นทะเบียนการดำเนินโครงการจากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) ตั้งแต่วันที่กฎหมายมีผลบังคับใช้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2563
2. การเริ่มนับรอบระยะเวลาบัญชีแรกที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี ให้สำหรับโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจ ซึ่งจำหน่ายคาร์บอนเครดิตประเภท Voluntary Emission Reductions (VERs) ให้เริ่มนับรอบระยะเวลาบัญชีแรกคือ รอบระยะเวลาบัญชีที่องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกได้ออกใบรับรองการจำหน่ายคาร์บอนเครดิตให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการ
3. ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลแยกยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ของกิจการและโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจ โดยให้ใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรเดียวกันในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้
3. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดธุรกิจบริการที่ไม่ต้องขออนุญาตในการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดธุรกิจบริการที่ไม่ต้องขออนุญาตในการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงพาณิชย์รับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และธนาคารแห่งประเทศไทยไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
พณ. เสนอว่า
1. พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 มาตรา 9 วรรคสอง กำหนดให้คณะกรรมการการประกอบกิจการธุรกิจของคนต่างด้าวพิจารณาทบทวนประเภทธุรกิจตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้อย่างน้อยครั้งหนึ่งในทุกรอบระยะเวลาหนึ่งปี แล้วทำความเห็นเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และในบัญชีสาม (21) ท้ายพระราชบัญญัติดังกล่าวได้กำหนดให้การทำธุรกิจบริการอื่นที่คนไทยยังไม่มีความพร้อมที่จะแข่งขันในการประกอบกิจการกับคนต่างด้าว เป็นธุรกิจที่ต้องขออนุญาตในการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ยกเว้นธุรกิจบริการอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง
2. คณะกรรมการการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ในคราวประชุมครั้งที่ 9/2561 เมื่อวันที่
18 กันยายน 2561 ได้พิจารณาเห็นว่า 1) ธุรกิจบริการให้กู้ยืมเงินแก่บริษัทในเครือในกลุ่มในประเทศ 2) ธุรกิจบริการให้เช่าพื้นที่อาคารสำนักงาน พร้อมสาธารณูปโภคให้แก่บริษัทในเครือในกลุ่ม และ 3) ธุรกิจบริการให้คำปรึกษาแนะนำให้แก่บริษัทในเครือในกลุ่มเฉพาะด้านบริหารจัดการ ด้านการตลาด ด้านทรัพยากรบุคคล และด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ จำนวน 3 ธุรกิจ เป็นธุรกิจที่ไม่กระทบต่อผู้ประกอบการไทยในเรื่องความพร้อมในการแข่งขันเพราะเป็นการจำกัดการให้บริการเฉพาะแก่บริษัทในเครือในกลุ่ม และช่วยลดต้นทุนในการดำเนินการ อันเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการประกอบธุรกิจของหน่วยธุรกิจในระบบเศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้งยังเป็นการอำนวยความสะดวกและเกิดความคล่องตัวในการประสานงานระหว่างกัน ทำให้การบริหารงานและการจัดการของบริษัทในเครือในกลุ่มมีประสิทธิภาพและเป็นมาตรฐานเดียวกัน จึงมีมติเห็นชอบให้ธุรกิจบริการทั้ง 3 ธุรกิจดังกล่าว ไม่ต้องขออนุญาตในการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ทั้งนี้ ตามบัญชีสาม (21) ท้ายพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวฯ กำหนดให้การยกเว้นธุรกิจบริการอื่นที่คนไทยยังไม่มีความพร้อมที่จะแข่งขันในการประกอบกิจการกับคนต่างด้าวให้กำหนดโดยกฎกระทรวง ซึ่ง พณ. พิจารณาแล้วเห็นชอบด้วย
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
1. กำหนดนิยามคำว่า “บริษัทในเครือ” และ “บริษัทในกลุ่ม”
2. กำหนดให้ธุรกิจบริการอื่นยกเว้นไม่อยู่ใน (21) ของบัญชีสามท้ายพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 จำนวน 3 ธุรกิจ ได้แก่ 1) ธุรกิจบริการให้กู้ยืมเงินแก่บริษัทในเครือในกลุ่มในประเทศ 2) ธุรกิจบริการให้เช่าพื้นที่อาคารสำนักงาน พร้อมสาธารณูปโภคให้แก่บริษัทในเครือในกลุ่ม และ 3) ธุรกิจบริการให้คำปรึกษาแนะนำให้แก่บริษัทในเครือในกลุ่มเฉพาะด้านบริหารจัดการ ด้านการตลาด ด้านทรัพยากรบุคคล และด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
คนต่างด้าวให้กำหนดโดยกฎกระทรวง ซึ่งธุรกิจดังกล่าวไม่กระทบต่อผู้ประกอบการไทยในเรื่องความพร้อมในการแข่งขัน เพราะเป็นการจำกัดการให้บริการเฉพาะแก่บริษัทในเครือในกลุ่ม และช่วยลดต้นทุนในการดำเนินการ อันเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการประกอบธุรกิจของหน่วยธุรกิจในระบบเศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้งเป็นการอำนวยความสะดวกและเกิดความคล่องตัวในการประสานงานระหว่างกัน ทำให้การบริหารงานและการจัดการของบริษัทในเครือในกลุ่มมีประสิทธิภาพและเป็นมาตรฐานเดียวกัน
4. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 จำนวน 4 ฉบับ
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562 รวม 4 ฉบับ ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
1. ร่างกฎกระทรวงการมอบหมายให้ส่วนราชการรับชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นการกำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทำความตกลงมอบหมายให้ส่วนราชการดำเนินการรับชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแทนได้ โดยให้ส่วนราชการนั้นหักค่าใช้จ่ายไว้ในอัตราร้อยละ 3 ของภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่รับชำระไว้แทน และนำส่งภาษีซึ่งหักค่าใช้จ่ายแล้วให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภายในวันที่ 10 ของเดือนถัดไป
2. ร่างกฎกระทรวงกำหนดที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ทิ้งไว้ว่างเปล่าหรือไม่ได้ทำประโยชน์ตามควรแก่สภาพ เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์สำหรับที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ทิ้งไว้ว่างเปล่าหรือไม่ได้ทำประโยชน์ตามควรแก่สภาพ ที่ให้จัดเก็บภาษีตามมาตรา 37 (4) แห่งพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 โดยที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ทิ้งไว้ว่างเปล่า หรือไม่ได้ทำประโยชน์ตามควรแก่สภาพนั้น ไม่รวมถึงสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ถูกรอนสิทธิในการใช้ประโยชน์โดยผลของกฎหมาย หรือโดยคำสั่งศาล หรือคำพิพากษาของศาลห้ามมิให้ทำประโยชน์ หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาพิพากษาของศาลเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างนั้น
3. ร่างกฎกระทรวงให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประกาศราคาประเมินทุนทรัพย์ของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง อัตราภาษีที่จัดเก็บ และรายละเอียดอื่นที่จำเป็นในการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เป็นการกำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทำและประกาศบัญชีกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง อัตราภาษี และรายละเอียดอื่นที่จำเป็นในการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ก่อนวันที่ 1 กุมภาพันธ์ของ
ทุกปี โดยแสดงไว้ที่สำนักงานหรือที่ทำการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ่านเว็บไซต์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือที่อื่นใดตามที่ผู้บริหารท้องถิ่นเห็นสมควร
4. ร่างกฎกระทรวงการผ่อนชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เป็นการกำหนดจำนวนงวดและจำนวนเงินภาษีขั้นต่ำที่จะมีสิทธิผ่อนชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง รวมทั้งหลักเกณฑ์และวิธีการในการผ่อนชำระภาษี ดังนี้
4.1 ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจะขอผ่อนชำระภาษีก็ได้ โดยวงเงินที่จะขอชำระภาษีจะต้องมีจำนวนตั้งแต่ 3,000 บาท ขึ้นไป โดยยื่นหนังสือขอผ่อนชำระภาษีต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ณ สำนักงานหรือที่ทำการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภายในเดือนเมษายน
4.2 กำหนดเวลาในการขอผ่อนชำระภาษี โดยให้แบ่งชำระเป็นงวดได้ไม่เกิน 3 งวด งวดละเท่า ๆ กัน งวดที่ 1 ชำระภายในเดือนเมษายน งวดที่ 2 ชำระภายในเดือนพฤษภาคม และงวดที่ 3 ชำระภายในเดือนมิถุนายน หากผู้เสียภาษีไม่ชำระภาษีงวดใดงวดหนึ่งในกำหนดเวลาดังกล่าว ให้หมดสิทธิที่จะขอผ่อนชำระภาษี
เศรษฐกิจ - สังคม
5. เรื่อง กำหนดวันหยุดราชการประจำปี (3 มิถุนายน)
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้วันที่ 3 มิถุนายน ของทุกปี ซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เป็นวันหยุดราชการประจำปี ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมสถาปนาสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พุทธศักราช 2562 และโดยที่ วันที่ 3 มิถุนายน เป็นวันพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี จึงเห็นสมควรกำหนดให้วันดังกล่าวเป็นวันหยุดราชการประจำปี
6. เรื่อง การทดลองขยายเวลาทำการด่านศุลกากรสะเดา - บูกิตกายูฮิตัม เป็น 24 ชั่วโมง (ระยะเวลาทดลอง 3 เดือน)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติเสนอ ดังนี้
1. ให้มีการพิจารณาการทดลองขยายเวลาทำการด่านศุลกากรสะเดา เป็น 24 ชั่วโมง โดยเริ่มต้นในวันจันทร์ที่ 17 มิถุนายน 2562 จนครบระยะเวลาทดลอง 3 เดือน โดยให้กระทรวงมหาดไทยได้ออกประกาศกระทรวงมหาดไทยที่เกี่ยวข้องต่อไป
2. การทดลองขยายเวลาฯ จะครอบคลุมเฉพาะการขนส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์เท่านั้น โดยไม่รวมผู้โดยสาร รวมทั้ง ได้กำหนดประเภทรถ คือ รถบรรทุกขนาดใหญ่ (Lorry) และประเภทรถพ่วง (Trailer) ไม่รวมรถกระบะหรือรถน้ำหนักเบา (Pick - up/Light weight) โดยจำกัดจำนวนคนบนรถเพียง 2 คน ได้แก่ คนขับรถ 1 คน และผู้ช่วยคนขับรถ 1 คน เท่านั้น
3. ให้คณะทำงานประเมินผลการทดลองขยายเวลาทำการด่านศุลกากรสะเดา 24 ชั่วโมง ที่จัดตั้งโดยสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ ได้กำหนดหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องสำหรับการประเมินผลการทดลองร่วมกับคณะทำงานประเมินผลฯ ฝ่ายมาเลเซีย
4. ให้จังหวัดสงขลาเตรียมการประชาสัมพันธ์และสร้างความเข้าใจให้กับประชาชนทุกภาคส่วนในพื้นที่ โดยสอดคล้องกับกระบวนการภายในที่เกี่ยวกับการทดลองขยายเวลาด่านฯ
7. เรื่อง โครงการพัฒนาสะพานปลากรุงเทพ (Bangkok Fish Market) (กษ.)
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบความคืบหน้าผลการดำเนินงานตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2556 เรื่อง การพัฒนาสะพานปลากรุงเทพตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติมอบหมายให้กระทรวงการคลัง (กค.) ร่วมกับ กษ. ทำการศึกษาความเหมาะสม ความจำเป็นและความเป็นไปได้ในการพัฒนาสะพานปลาในภาพรวมทั้งหมด รวมถึงการย้ายหรือพัฒนาสะพานปลากรุงเทพ และพิจารณาการใช้ประโยชน์จากสะพานปลาจังหวัดสมุทรปราการทั้งระบบ เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป โดย กษ. ได้รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานมีประเด็นสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. กค. ได้จัดประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น องค์การสะพานปลา กรมธนารักษ์ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ เพื่อดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีในประเด็นที่เกี่ยวกับการพัฒนาสะพานปลารวม 3 ครั้ง (1 กุมภาพันธ์ 2560 27 มิถุนายน 2560 และ 7 ธันวาคม 2560) ซึ่งมีผลการดำเนินการในประเด็นที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติมอบหมายสรุปได้ดังนี้
ประเด็นที่ ครม. มอบหมาย |
ประเด็นที่ ที่ประชุมมอบหมาย |
สรุปผลการดำเนินการขององค์การสะพานปลา |
• การศึกษาความเหมาะสม ความจำเป็น และความเป็นไปได้ในการพัฒนาสะพานปลาในภาพรวม |
√ |
จากการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการฯ พบว่ามีความคุ้มค่าและเหมาะสมในการลงทุน (ผลตอบแทนการลงทุน (FIRR) ร้อยละ 19.35) |
• การย้ายหรือพัฒนาสะพานปลากรุงเทพและพิจารณาการใช้ประโยชน์จากสะพานปลาสมุทรปราการทั้งระบบ |
√ |
ปัจจุบันสะพานปลาสมุทรปราการไม่เหมาะสมในการดำเนินโครงการฯ เนื่องจากบริเวณรอบข้างของสะพานปลาสมุทรปราการเป็นที่ตั้งของโรงงานอุตสาหกรรมเหล็กและเคมีจำนวนมาก ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการปนเปื้อนสินค้าสัตว์น้ำและไม่สอดคล้องกับนโยบายด้านอาหารปลอดภัย |
|
ให้กรมธนารักษ์แจ้งพื้นที่ในความครอบครองใช้ประโยชน์ของ กษ. เพื่อให้องค์การสะพานปลาคัดเลือกพื้นที่ใช้ประโยชน์ที่เหมาะสม |
พื้นที่ที่กรมธนารักษ์ให้องค์การสะพานปลาคัดเลือกนั้น ไม่มีพื้นที่เหมาะสมในการดำเนินการจัดตั้งตลาดสะพานปลากรุงเทพแห่งใหม่ |
|
ให้องค์การสะพานปลาจัดทำประกาศรับฟังความคิดเห็นของประชาชนตามระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ตลาดสะพานปลากรุงเทพคงอยู่ในพื้นที่เขตสาทรเช่นเดิมได้ |
ผลการสำรวจพบว่าประชาชนเห็นด้วยที่ให้องค์การสะพานปลาคงอยู่ที่ปัจจุบัน (เขตสาทร) ร้อยละ 97.75 (สำรวจความคิดเห็น ระหว่างวันที่ 27 กันยายน - 9 ตุลาคม 2560) |
|
ให้องค์การสะพานปลาศึกษาข้อมูลโครงการ Fish Market Complex ว่ามีภาคเอกชนสนใจมาลงทุนหรือไม่ และภาคเอกชนที่มาร่วมลงทุนสามารถปฏิบัติตามระเบียบและเงื่อนไขของทางราชการได้หรือไม่ |
ไม่มีเอกชนรายใดให้ความสนใจที่จะร่วมลงทุนในโครงการ Fish Market Complex |
2. การประสานงานกับกรมธนารักษ์ในการพัฒนาพื้นที่สะพานปลากรุงเทพ
องค์การสะพานปลาได้เช่าที่ดินราชพัสดุกับกรมธนารักษ์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2496 เพื่อใช้ประโยชน์ในการดำเนินงานขององค์การสะพานปลา และได้ต่ออายุสัญญาการเช่ามาเป็นระยะต่อมาเมื่อปี 2561 กรมธนารักษ์ได้แจ้งให้ทราบว่าหากองค์การสะพานปลายังมีความประสงค์ที่จะใช้ประโยชน์ที่ราชพัสดุต่อไปอีก องค์การสะพานปลาต้องเสนอโครงการพัฒนาที่ดินราชพัสดุมีกำหนดระยะเวลาการเช่า 30 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2562 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2591 และต้องชำระค่าเช่าและค่าธรรมเนียมการจัดหาประโยชน์ตามที่กรมธนารักษ์เรียกเก็บ ดังนั้น องค์การสะพานปลาจึงได้จัดทำรายงานการศึกษาความเป็นไปได้โครงการพัฒนาสะพานปลากรุงเทพเบื้องต้น (Pre-Feasibility Study of Bangkok Fish Market) ซึ่งจากการศึกษาผลตอบแทนและความคุ้มค่าพบว่ามีผลตอบแทนที่ดีต่อผู้มีส่วนได้เสียของโครงการฯ และสภาพเศรษฐกิจโดยรวม
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2561 องค์การสะพานปลาได้นำเสนอโครงการพัฒนาสะพานปลากรุงเทพ (Bangkok Fish Market) ในที่ประชุมระหว่างองค์การสะพานปลาและกรมธนารักษ์ เพื่อกู้เงินสำหรับดำเนินโครงการฯ และเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2562 ได้มีการประชุมคณะกรรมการองค์การสะพานปลา ครั้งที่ 2/2562 ซึ่งที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบการดำเนินโครงการพัฒนาสะพานปลากรุงเทพและให้ดำเนินการนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อเห็นชอบในหลักการต่อไป
3. โครงการสะพานปลากรุงเทพ
กษ. ได้จัดทำโครงการพัฒนาสะพานปลากรุงเทพ (Bangkok Fish Market) เพื่อยกระดับมาตรฐานสุขอนามัยตลาดกลางสัตว์น้ำและสินค้าสัตว์น้ำให้เป็นที่ยอมรับของประเทศผู้นำเข้าและส่งออกสัตว์น้ำ โดยมีที่ตั้งอยู่บนซอยเจริญกรุง 58 แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ ซึ่งอยู่ใกล้ศูนย์กลางธุรกิจและติดริมแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นที่รู้จักของประชาชนและผู้ประกอบการประมง รวมทั้งมีอาคารสำนักงานและคอนโดมิเนียมทั้งที่สร้างแล้วเสร็จและอยู่ระหว่างการก่อสร้างจำนวนมาก จึงสามารถพัฒนาทั้งในเชิงธุรกิจและการท่องเที่ยวตามแนวคิดของโครงการฯ ที่เน้นความทันสมัย มีระบบการบริหารจัดการที่เป็นสากล และมีความเหมาะสมด้านกายภาพของสถานที่ตั้ง โดยเมื่อพัฒนาสำเร็จตามเป้าหมายจะสามารถลดปัญหาการส่งออกสัตว์น้ำที่ไม่ได้คุณภาพให้ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับของตลาดต่างประเทศ ตลอดจนเป็นการสนับสนุนการส่งออกสินค้าประมงด้วยศูนย์บริการการส่งออก ณ จุดเดียว (One Stop Service) ซึ่งให้บริการทั้งด้านการตรวจรับรองคุณภาพและกระบวนการด้านพิธีการศุลกากร ทั้งนี้ ในด้านผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โครงการฯ ได้พัฒนาระบบให้มีคุณภาพ มีการออกแบบการก่อสร้างอาคารและระบบบำบัดขยะและน้ำเสียที่มีประสิทธิภาพ ไม่ให้กระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนโดยรอบ
ทั้งนี้ จากการประสานเจ้าหน้าที่องค์การสะพานปลาเพิ่มเติม ได้รับแจ้งว่าในขั้นตอนต่อไปจะต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์และข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น หลักการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment : EIA) หลักเกณฑ์การวิเคราะห์โครงการของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และการรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้อง ก่อนเสนอโครงการนี้ให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง
ต่างประเทศ
8. เรื่อง ขอความเห็นชอบร่างแถลงการณ์รัฐมนตรีการค้าเอเปคประจำปี 2562
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการต่อร่างแถลงการณ์รัฐมนตรีการค้าเอเปค ประจำปี 2562 หากมีการปรับปรุงแก้ไขเอกสารดังกล่าวที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้กระทรวงพาณิชย์ดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก พร้อมทั้งอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ร่วมรับรองร่างแถลงการณ์รัฐมนตรีการค้าเอเปค ประจำปี 2562 ตามที่กระทรวงพาณิชย์ เสนอ
ทั้งนี้ ร่างแถลงการณ์ฯ จะมีการรับรอง (ไม่มีการลงนาม) ในช่วงการประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปค ประจำปี 2562 (ครั้งที่ 25) ระหว่างวันที่ 17 - 18 พฤษภาคม 2562 ณ เมืองบีนญา เดล มาร์ สาธารณรัฐชิลี โดยมีสาระสำคัญภายใต้หัวข้อหลัก คือ เชื่อมโยงประชาชนเพื่อสร้างอนาคต โดยประเด็นที่เอเปคให้ความสำคัญได้แก่ (1) สตรี วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และการเจริญเติบโตที่ครอบคลุม เช่น สนับสนุนแผนการทำงานเพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจของสตรีให้มีบทบาทในระบบเศรษฐกิจมากขึ้น ส่งเสริมMSMEs ไปสู่ตลาดโลก และการอำนวยความสะดวกทางการค้าการจัดหาตลาดใหม่ เป็นต้น (2) สังคมดิจิทัล เช่น การดำเนินการตามแผนงานอินเทอร์เน็ตและเศรษฐกิจดิจิทัลของเอเปค โดยส่งเสริมการเคลื่อนย้ายข้อมูลอย่างเสรี เป็นต้น (3) การบูรณาการ 4.0เช่น พยายามลดผลกระทบที่เป็นอุปสรรคต่อผลิตภาพและการเจริญเติบโต โดยเฉพาะสำหรับ MSMEs โดยเน้นการลดอุปสรรคที่มิใช่ภาษี และ (4) การเจริญเติบโตที่ยั่งยืน เช่น การสนับสนุนการทำงานภายใต้องค์การการค้าโลกในการป้องกันการอุดหนุนประมง ซึ่งรวมถึงการทำประมงเกินศักยภาพและการทำประมงเกิดขนาด เป็นต้น รวมทั้งประเด็นเป้าหมายการเพิ่มระดับการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเปคและเอเปคกับองค์การการค้าโลก ซึ่งยืนยันถึงความสำคัญของการมีระบบการค้าพหุภาคีที่มีประสิทธิภาพ ยึดกฎเกณฑ์ โปร่งใส และไม่เลือกปฏิบัติ เพื่อสร้างการเจริญเติบโตและความมั่นคงที่ยั่งยืนและความเข้มแข็งขององค์การการค้าโลก ซึ่งประโยชน์ที่ไทยจะได้รับจากการเข้าร่วมประชุมรัฐมนตรีและการรับรองร่างแถลงการณ์ฯ ครั้งนี้ เช่น ได้ร่วมกำหนดทิศทางความร่วมมือและการดำเนินงานของเอเปค การพัฒนาความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุนระหว่างเขตเศรษฐกิจสมาชิกเอเปค ลดอุปสรรคทางการค้าและการลงทุน รวมถึงอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุน เพื่อยกระดับการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาคและเตรียมความพร้อมไปสู่การเจรจาเขตการค้าเสรีเอเชีย-แปซิฟิก รวมถึงการยืนยันถึงจุดยืนของไทยในการสนับสนุนระบบการค้าพหุภาคีที่ยึดถึงกฎเกณฑ์และมีความโปร่งใส ซึ่งจะช่วยให้ระบบการค้าโลกมีเสถียรภาพและคาดการณ์ได้
9. เรื่อง ขออนุมัติเพิ่มวงเงินงบประมาณรายจ่าย รายการเงินอุดหนุนสำนักเลขาธิการอาเซียน เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการจัดทำระบบรักษาความลับข้อมูลเกี่ยวกับ RCEP
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติเพิ่มวงเงินงบประมาณรายจ่าย รายการเงินอุดหนุนสำนักเลขาธิการอาเซียนเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการจัดทำระบบรักษาความลับข้อมูลเกี่ยวกับ Regional Comprehensive Economic Partnership (RCEP) (RCEP Secured Online Platform) สำหรับ 2 ปีแรก (2562 - 2563) จากเดิมจำนวน 1,625 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 53,625 บาท) เป็นจำนวน 2,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 64,300 บาท) (คิดอัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 32.15 บาท) ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ สำหรับภาระงบประมาณที่จะเพิ่มขึ้นจากการดำเนินโครงการดังกล่าว ขอให้กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 เป็นลำดับแรก ส่วนค่าใช้จ่ายในปีต่อ ๆ ไป เห็นควรให้กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ และให้กระทรวงพาณิชย์รับความเห็นของกระทรวงการคลังไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
10. เรื่อง ร่างบันทึกความเข้าใจ (MOU) ด้านความร่วมมือระหว่างสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก China Development Bank (CDB) และ Japan Bank for International Cooperation (JBIC)
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างบันทึกความเข้าใจ (MOU) ด้านความร่วมมือระหว่างสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก China Development Bank (CDB) และ Japan Bank for International Cooperation (JBIC) ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เสนอ โดยหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงถ้อยคำของร่าง MOU เพื่อให้สอดคล้องกับผลประโยชน์และนโยบายของประเทศไทย ให้ สกพอ.สามารถพิจารณาดำเนินการ โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกครั้ง และอนุมัติให้เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามบันทึกความเข้าใจดังกล่าวของฝ่ายไทย
สาระสำคัญ
1. เนื้อหาโดยสรุปของร่าง MOU ระหว่าง สกพอ. China Development Bank (CDB) และ Japan Bank for International Cooperation (JBIC) ประกอบด้วยกรอบความร่วมมือ 3 ฝ่าย เพื่อผลักดันโครงการลงทุนของญี่ปุ่นและจีนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) โดย สกพอ. จะจัดทำข้อมูลเกี่ยวกับโครงการลงทุนต่างๆ ในพื้นที่ EEC และประสานงานกับหน่วยงานฝ่ายไทยที่เกี่ยวข้อง ในขณะที่ CDB และ JBIC จะเป็นผู้ชักจูงและให้การสนับสนุนด้านการเงินกับภาคเอกชนจีนและญี่ปุ่นที่ต้องการลงทุนในโครงการต่างๆ ในพื้นที่ EEC ตามลำดับ โดยจะให้ความสำคัญกับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน เป็นอันดับแรก
2. ร่างบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่าง สกพอ. China Development Bank (CDB) และ Japan Bank for International Cooperation (JBIC) จะเป็นเครื่องมือสำคัญในการผลักดันโครงการลงทุนในพื้นที่ EEC เพื่อพัฒนาความเชื่อมโยงทางด้านคมนาคมขนส่งและโลจิสติกส์ในประเทศไทยและอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง โดยร่างบันทึกความเข้าใจนี้จะช่วยให้ สกพอ. สามารถใช้ประโยชน์จากเครือข่ายภาครัฐและเอกชนของ CDB และ JBIC ในการชักจูงบริษัทเอกชนจีนและญี่ปุ่นที่มีศักยภาพให้ลงทุนในโครงการต่าง ๆ ในพื้นที่ EEC และจะเป็นประโยชน์สำหรับการสรรหาพันธมิตรทางธุรกิจให้กับภาคเอกชนไทยด้วย นอกจากนี้ ร่างบันทึกความเข้าใจได้กำหนดให้มีการประสานงานระหว่าง 3 ฝ่ายอย่างใกล้ชิดเพื่อผลักดันให้เกิดการลงทุนในโครงการต่างๆ ในพื้นที่ EEC โดยบริษัทเอกชนจีนและญี่ปุ่นอย่างเป็นรูปธรรม
11. เรื่อง การรับรองร่างแถลงการณ์ผู้นำอาเซียนว่าด้วยปีแห่งวัฒนธรรมอาเซียน พ.ศ.2562 ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 34
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบต่อร่างแถลงการณ์ผู้นำอาเซียนว่าด้วยปีแห่งวัฒนธรรมอาเซียนพ.ศ. 2562 (ASEAN Leader 's Statement on the ASEAN Cultural Year 2019) เพื่อนำเสนอต่อที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสสำหรับคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนครั้งที่ 26 ในวันที่ 16 พฤษภาคม 2562 ที่ประชุม คณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนครั้งที่ 21 ในวันที่ 17 พฤษภาคม 2562 ณ จังหวัดเชียงใหม่ และที่ประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 34 ในเดือนมิถุนายน 2562 ณ กรุงเทพมหานคร ตามลำดับ ทั้งนี้ หากมีการปรับเปลี่ยนถ้อยคำของร่างแถลงการณ์ไม่ส่งผลกระทบต่อสาระสำคัญหรือที่ไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ก่อนจะมีการรับรองหรือเห็นชอบเอกสารดังกล่าว ให้กระทรวงการต่างประเทศหรือกระทรวงวัฒนธรรมสามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง และอนุมัติให้รัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยและประธานการประชุมคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนครั้งที่ 21 ร่วมรับรองร่างแถลงการณ์ผู้นำอาเซียนว่าด้วยปีแห่งวัฒนธรรมอาเซียน พ.ศ. 2562 (ASEAN Leader' s Statement on the ASEAN Cultural Year 2019) ในการประชุมคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ครั้งที่ 21 ในวันที่ 17 พฤษภาคม 2562 ณ จังหวัดเชียงใหม่ โดยอนุมัติให้นายกรัฐมนตรีหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมรับรองร่างแถลงการณ์ผู้นำอาเซียนว่าด้วยปีแห่งวัฒนธรรมอาเซียน พ.ศ. 2562 (ASEAN Leader 's Statement on the ASEAN Cultural Year 2019) ในฐานะประธานการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 34 โดยมอบหมายกระทรวงการต่างประเทศดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอ
สาระสำคัญ
ร่างแถลงการณ์ผู้นำอาเซียนว่าด้วยปีแห่งวัฒนธรรมอาเซียน พ.ศ. 2562 มีสาระสำคัญในการแสดงความเห็นขอบการประกาศปีแห่งวัฒนธรรมอาเซียน พ.ศ. 2562 และกิจกรรมในปีแห่งวัฒนธรรมอาเซียนพ.ศ. 2562 ซึ่งจะจัดขึ้นภายใต้แนวคิด “หลากหลาย สร้างสรรค์ ยั่งยืน” โดยจะส่งเสริมความชื่นชมในวัฒนธรรมอาเซียน เคารพในความหลากหลายและเพิ่มพูนความรู้สึกถึงอัตลักษณ์ของอาเซียน รวมถึงส่งเสริมวัฒนธรรมอาเซียนในระดับนานาชาติในฐานะแรงผลักดันเศรษฐกิจสร้างสรรค์ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยกำหนดนำเสนอวัฒนธรรมอาเซียนในรูปแบบต่างๆรวมถึงส่งเสริมให้ประเทศคู่เจรจา (Dialogue partners) และภาคีภายนอก (External parties) เพื่อส่งเสริมการจัดกิจกรรมภายใต้ปีแห่งวัฒนธรรมอาเซียนพ.ศ. 2562 ตลอดจนสนับสนุนการทำงานของศูนย์วัฒนธรรมอาเซียน ณ กรุงเทพมหานคร ให้ส่งเสริมปฏิสัมพันธ์และความร่วมมือกับศูนย์อื่นๆ ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันในประเทศสมาชิกอาเซียน ตลอดจนเสริมสร้างความร่วมมือกับศูนย์วัฒนธรรมในประเทศคู่เจรจา
12. เรื่อง การขอความเห็นชอบต่อร่างเอกสารที่จะมีการรับรองในที่ประชุมคณะมนตรีประชาสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ครั้งที่ 21
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการร่างเอกสารที่จะมีการรับรองในที่ประชุมคณะมนตรีประชาสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ครั้งที่ 21 โดยหากมีความจำเป็นที่ต้องแก้ไขเอกสารในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดผลประโยชน์ต่อประเทศไทย ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ดำเนินการได้ โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีก หลังจากนั้นให้รายงานผลเพื่อคณะรัฐมนตรีทราบต่อไป พร้อมทั้งให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการประชุมคณะมนตรีประชาสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ครั้งที่ 21 ร่วมรับรองเอกสาร ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เสนอ
สาระสำคัญ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมจะพิจารณารับรองร่างขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะผู้แทนประชาสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนในการเยือนติมอร์-เลสเต เพื่อค้นหาข้อเท็จจริง และร่างแถลงการณ์ร่วมรัฐมนตรีอาเซียน สำหรับการประชุมคณะมนตรีประชาสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ครั้งที่ 21 มีสาระสำคัญ
ร่างขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะผู้แทนประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนในการเยือนติมอร์-เลสเต เพื่อค้นหาข้อเท็จจริง 1) เพื่อตรวจสอบการปฏิบัติตามและความพร้อมในการปฏิบัติตามข้อผูกพันต่างๆภายในประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนของติมอร์-เลสเต โดยการทบทวนนโยบายระดับชาติ กฎหมาย กฎระเบียบ กระบวนการ และข้อริเริ่มต่างๆรวมถึงรับทราบแผนการดำเนินการ วัตถุประสงค์และหลักการของติมอร์-เลสเต ในการเป็นสมาชิกอาเซียน 2) เพื่อเพิ่มพูนความพึงพอใจ ความเข้าใจ และความตะหนักรู้ของติมอร์-เลสเต เกี่ยวกับแนวปฏิบัติและค่านิยมอาเซียน รวมถึงพันธกรณีและความรับผิดชอบต่างๆ เมื่อติมอร์-เลสเต เป็นประเทศสมาชิกอาเซียน 3) เพื่อทบทวนขีดความสามารถและสมรรถนะขององค์กรและทรัพยากรต่างๆ ของติมอร์-เลสเต ในการบรรลุเป้าหมายของอาเซียนและข้อผูกพันต่างๆ ของประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ตลอดจนความสามารถในการดำเนินการตามข้อผูกพันต่างๆ ในฐานะประเทศสมาชิกอาเซียน 4) เพื่อหารือถึงโอกาสและความท้าทายในการดำเนินการตามตราสารและข้อผูกพันของประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน และ 5) เพื่อระบุการเสริมสร้างขีดความสามารถและการให้ความร่วมมือด้านวิชาการที่จำเป็นต่อการเป็นประเทศสมาชิกอาเซียน
ร่างแถลงการณ์ร่วมรัฐมนตรีอาเซียนสำหรับการประชุมคณะรัฐมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ครั้งที่ 21 สนับสนุนการเป็นประธานอาเซียนของประเทศไทยและแนวคิด “ร่วมมือ ร่วมใจ ก้าวไกลยั่งยืน” พร้อมให้การสนับสนุนประเด็นสำคัญทางยุทธศาสตร์สำหรับประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนที่ประเทศไทยผลักดัน ซึ่งหมายรวมถึง การเตรียมความพร้อมและวางแผนด้านความมั่งคงของมนุษย์สำหรับอนาคต การส่งเสริมความเชื่อมโยงภาคประชาชนและหุ้นส่วนความร่วมมือและส่งเสริมความยั่งยืนทางสังคมและวัฒนธรรมในภูมิภาค พร้อมให้การสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์อาเซียนเพื่อการศึกษาและการหารือด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งจะเป็นกลไกในการขับเคลื่อนประเด็นสำคัญทางยุทธศาสตร์
ทั้งนี้ การประชุมคณะมนตรีประชาสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ครั้งที่ 21 มีกำหนดจัดขึ้นในวันศุกร์ที่ 17 พฤษภาคม 2562 ณ โรงแรมแชงกรี-ล่า จังหวัดเชียงใหม่
13. เรื่อง ความตกลงว่าด้วยการจัดตั้งศูนย์สมาคมแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) เพื่อผู้สูงอายุที่มีศักยภาพและนวัตกรรม
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบต่อความตกลงว่าด้วยการจัดตั้งศูนย์สมาคมแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) เพื่อผู้สูงอายุที่มีศักยภาพและนวัตกรรม และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้ลงนามในข้อตกลงการจัดตั้งศูนย์ฯ ทั้งนี้ หากมีการแก้ไขถ้อยคำหรือประเด็นที่มิใช่สาระสำคัญของข้อตกลงการจัดตั้งศูนย์ ฯ ให้คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้ผู้ลงนามเป็นผู้ใช้ดุลยพินิจในเรื่องนั้นๆ โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ
สาระสำคัญ
การจัดตั้งศูนย์อาเซียนเพื่อผู้สูงอายุที่มีศักยภาพและนวัตกรรมจะเป็นผลงานหนึ่งที่เป็นรูปธรรม ในช่วงที่ประเทศไทยเป็นประธานอาเซียนในปี พ.ศ. 2562 เพื่อเป็นศูนย์ความรู้ด้านผู้สูงอายุที่มีศักยภาพและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมที่จะสนับสนุนนโยบายผู้สูงอายุที่มีศักยภาพและการดำเนินการให้เกิดผล เสริมสร้างศักยภาพและอำนวยความสะดวกในการดำเนินความร่วมมือระหว่างรัฐสมาชิก องค์กรระหว่างประเทศ หรือหุ้นส่วนอื่นๆ เพื่อให้บรรลุการมีผู้สูงอายุที่มีศักยภาพในอาเซียน โดยในโอกาสที่ไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม Informal ASEAN Breakfast ในวันที่ 20 พฤษภาคม 2562 และได้เชิญรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขของประเทศสมาชิกอาเซียนเข้าร่วมประชุมฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขไทยจะลงนามในเอกสารความตกลงฯ ในระหว่างการประชุม เพื่อแสดงความมุ่งมั่นและความพร้อมของไทยในการจัดตั้งศูนย์
แต่งตั้ง
14. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาสำนักงบประมาณ (สำนักนายกรัฐมนตรี)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงบประมาณเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี ให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ราย ตั้งแต่วันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ดังนี้
1. นายเฉลิมพล เพ็ญสูตร ผู้อำนวยการกองจัดทำงบประมาณด้านเศรษฐกิจ 2 สำนักงบประมาณ ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาสำนักงบประมาณ (นักวิเคราะห์งบประมาณทรงคุณวุฒิ) สำนักงบประมาณ ตั้งแต่วันที่ 2 พฤศจิกายน 2561
2. นายอนันต์ แก้วกำเนิด ผู้อำนวยการกองจัดทำงบประมาณด้านเศรษฐกิจ 4 สำนักงบประมาณ ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาสำนักงบประมาณ (นักวิเคราะห์งบประมาณทรงคุณวุฒิ) สำนักงบประมาณ ตั้งแต่วันที่ 5 พฤศจิกายน 2561
3. นางอลิสา ปิ่นประเสริฐ ผู้อำนวยการกองนโยบายงบประมาณ สำนักงบประมาณ ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาสำนักงบประมาณ (นักวิเคราะห์งบประมาณทรงคุณวุฒิ) สำนักงบประมาณ ตั้งแต่วันที่ 5 พฤศจิกายน 2561
4. นายสาลี่ สุขเกิด ที่ปรึกษาสำนักงบประมาณ (นักวิเคราะห์งบประมาณเชี่ยวชาญ) สำนักงบประมาณ ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาสำนักงบประมาณ (นักวิเคราะห์งบประมาณทรงคุณวุฒิ) สำนักงบประมาณ ตั้งแต่วันที่ 29 พฤศจิกายน 2561
5. หม่อมราชวงศ์รณจักร์ จักรพันธุ์ ที่ปรึกษาสำนักงบประมาณ (นักวิเคราะห์งบประมาณเชี่ยวชาญ) สำนักงบประมาณ ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาสำนักงบประมาณ (นักวิเคราะห์งบประมาณทรงคุณวุฒิ) สำนักงบประมาณ ตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2562
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
15. เรื่อง การดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เสนอการดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ของ นายสรนิต ศิลธรรม ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (เดิม) ตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2562 บัญญัติให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน งบประมาณ สิทธิ หนี้ ภาระผูกพัน ข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้าง และอัตรากำลังของสำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมวิทยาศาสตร์บริการ และสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ไปเป็นของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
16. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงพาณิชย์)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เสนอแต่งตั้ง นายสุชาติ สินรัตน์ ที่ปรึกษาการพาณิชย์ (นักวิชาการพาณิชย์ทรงคุณวุฒิ) สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่ง รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงพาณิชย์ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง
17. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงแรงงาน)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงแรงงาน ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 2 ราย ดังนี้
1. นายสุทธิ สุโกศล อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ดำรงตำแหน่ง ปลัดกระทรวงแรงงาน สำนักงานปลัดกระทรวง
2. นายสุชาติ พรชัยวิเศษกุล ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง
18. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการการยาสูบแห่งประเทศไทย
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอแต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการการยาสูบแห่งประเทศไทย แทนผู้ที่ลาออกและผู้ที่จะพ้นจากตำแหน่งเนื่องจากมีอายุครบหกสิบห้าปีบริบูรณ์ จำนวน 3 คน ดังนี้
1. พลตำรวจตรี ศิร์ธัชเขต ครูวัฒนเศรษฐ์ กรรมการ แทน นายวีรศักดิ์ โฆสิตไพศาล
2. นางศรีวรรณ เอี่ยมรุ่งโรจน์ กรรมการ แทน พลตำรวจเอก รชต เย็นทรวง
3. นายธีรัชย์ อัตนวานิช (ผู้แทนกระทรวงการคลัง) (เป็นบุคคลในบัญชีรายชื่อกรรมการรัฐวิสาหกิจ) กรรมการ แทน นายยุทธนา หยิมการุณ
ตั้งแต่วันที่ 14 พฤษภาคม 2562 เป็นต้นไป ทั้งนี้ กรณีพลตำรวจตรี ศิร์ธัชเขต ครูวัฒนเศรษฐ์ และนางศรีวรรณ เอี่ยมรุ่งโรจน์ ให้มีผลไม่ก่อนวันที่ 18 มิถุนายน 2562 และวันที่ 24 กรกฎาคม 2562 ตามลำดับ และให้ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งแทนอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว
19. เรื่อง มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี ตามลำดับ ดังนี้
1. ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีไม่อาจปฏิบัติราชการได้ คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี ตามลำดับ ดังนี้
1.1 พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ
1.2 นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์
1.3 นายวิษณุ เครืองาม
2. ในระหว่างการรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี ผู้รักษาราชการแทนข้างต้น จะสั่งการใดเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลและการอนุมัติเงินงบประมาณอันอยู่ในอำนาจของนายกรัฐมนตรีได้ ต้องได้รับความเห็นชอบจากนายกรัฐมนตรีเสียก่อน
20. เรื่อง คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 105 /2562 เรื่อง มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี และมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนกัน
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 105 /2562 เรื่อง มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี และมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนกัน
ตามที่ได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 322/2560 เรื่อง มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี และมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนกัน ลงวันที่ 4 ธันวาคม 2560 นั้น
เพื่อให้การมอบหมายและมอบอำนาจเป็นไปอย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับโครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดินในปัจจุบัน อาศัยอำนาจตามความใน มาตรา 10 มาตรา 11 มาตรา 12 มาตรา 15 มาตรา 38 มาตรา 41 มาตรา 42 มาตรา 48 และมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประกอบกับมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2562 จึงให้ยกเลิกคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 322/2560 ลงวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2560 และนายกรัฐมนตรี โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ในการประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2562 จึงมีคำสั่งมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี และมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนกัน ดังต่อไปนี้
ส่วนที่ 1 คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี
1. ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีไม่อาจปฏิบัติราชการได้ คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี ตามลำดับ ดังนี้
1.1 พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ
1.2 นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์
1.3 นายวิษณุ เครืองาม
2. ในระหว่างการรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี ผู้รักษาราชการแทนข้างต้น จะสั่งการใดเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลและการอนุมัติเงินงบประมาณอันอยู่ในอำนาจของนายกรัฐมนตรีได้ต้องได้รับความเห็นชอบจากนายกรัฐมนตรีเสียก่อน
ส่วนที่ 2 นายกรัฐมนตรีมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการ แทนกัน
ในกรณีที่รองนายกรัฐมนตรีท่านใดท่านหนึ่งไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้
ให้รองนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนกันตามลำดับ ดังนี้
ลำดับที่ |
รองนายกรัฐมนตรี |
รองนายกรัฐมนตรีที่ปฏิบัติราชการแทนกันตามลำดับ |
1 |
พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ |
1. นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ |
2. นายวิษณุ เครืองาม |
||
2 |
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ |
1. นายวิษณุ เครืองาม |
|
|
2. พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ |
3 |
นายวิษณุ เครืองาม |
1. นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ |
|
|
2. พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ |
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ.2562 เป็นต้นไป
21. เรื่อง คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 106 /2562 เรื่อง มอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 106/2562 เรื่อง มอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี
ตามที่ได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 323/2560 เรื่อง มอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2560 และคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 33/2562 เรื่อง ปรับปรุงคำสั่งมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 นั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 10 และมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 มาตรา 11 และมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 ประกอบกับพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการมอบอำนาจ พ.ศ. 2550 นายกรัฐมนตรี จึงมีคำสั่งให้ยกเลิกคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 323/2560 ลงวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2560 และคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 33/2562 ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 และมีคำสั่งมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีกำกับการบริหารราชการแทนนายกรัฐมนตรี และให้รองนายกรัฐมนตรีสั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี และกำกับดูแลแทนนายกรัฐมนตรี สำหรับส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และหน่วยงานของรัฐ ตามลำดับ ดังต่อไปนี้
ส่วนที่ 1 นิยาม
ในคำสั่งนี้
“กำกับการบริหารราชการ” หมายความว่า กำกับโดยทั่วไปซึ่งการบริหารราชการแผ่นดินของส่วนราชการเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายและนโยบายของคณะรัฐมนตรีหรือนายกรัฐมนตรี มีอำนาจสั่งให้ส่วนราชการชี้แจงแสดงความคิดเห็นหรือรายงานเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการหรือการปฏิบัติงาน สั่งสอบสวนข้อเท็จจริง ตลอดจนอนุมัติให้นำเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี และอนุมัติตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2520 เกี่ยวกับการมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีที่ปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีอนุญาตหรืออนุมัติเรื่องต่าง ๆ ของส่วนราชการในกำกับการบริหารราชการไปก่อนได้ แล้วเสนอคณะรัฐมนตรีทราบ
“สั่งและปฏิบัติราชการ” หมายความว่า สั่ง อนุญาต หรืออนุมัติให้ส่วนราชการหรือข้าราชการหรือผู้ปฏิบัติงานในส่วนราชการ ปฏิบัติราชการหรือดำเนินการใด ๆ ได้ตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ประกาศ คำสั่ง หรือมติคณะรัฐมนตรี ในฐานะผู้บังคับบัญชา รัฐมนตรีเจ้าสังกัดหรือรัฐมนตรีเจ้ากระทรวง
“กำกับดูแล” หมายความว่า กำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หรือหน่วยงานของรัฐให้เป็นไปตามกฎหมาย และให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชนหรือหน่วยงานของรัฐ นโยบายของรัฐบาล และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการสั่งให้รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชนหรือหน่วยงานของรัฐชี้แจง แสดงความคิดเห็น ทำรายงาน หรือยับยั้งการกระทำของรัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชนหรือหน่วยงานของรัฐที่ขัดต่อวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งรัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หรือหน่วยงานของรัฐ นโยบายของรัฐบาลหรือมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง และสั่งสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการดำเนินการ
ส่วนที่ 2
1. รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ)
1.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้
1.1.1 กระทรวงกลาโหม
1.1.2 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
1.1.3 กระทรวงมหาดไทย
1.1.4 กระทรวงแรงงาน
1.2 การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการและสั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้
1.2.1 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
1.2.2 สำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
1.3 การมอบหมายและมอบอำนาจให้สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้
1.3.1 สำนักข่าวกรองแห่งชาติ
1.3.2 สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
1.3.3 ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้
1.4 การมอบหมายให้กำกับดูแลองค์การมหาชน ดังนี้
- สถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน)
1.5 ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการและลงนามในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการมีพระบรมราชโองการในเรื่องตามข้อ 1.1 – ข้อ 1.4 ยกเว้น
1.5.1 เรื่องที่เกี่ยวกับกฎหมาย
1.5.2 การสถาปนาพระอิสริยยศ อิสริยศักดิ์ สมณศักดิ์
1.5.3 การแต่งตั้ง ในกรณีการแต่งตั้งประธานศาลฎีกา ประธานศาลปกครองสูงสุด ข้าราชการตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวงและกรม เอกอัครราชทูตประจำต่างประเทศ กงสุล และกรรมการที่มีตำแหน่งหน้าที่สำคัญ
1.5.4 การพระราชทานยศทหาร ตำรวจ ชั้นนายพล
1.5.5 การพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์แก่พระบรมวงศานุวงศ์ และการพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ประจำปี
1.5.6 การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตหรือความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และการประกาศใช้ความตกลงระหว่างประเทศ
1.5.7 เรื่องสำคัญที่เคยมีประเพณีปฏิบัติให้เสนอนายกรัฐมนตรีลงนาม
2. รองนายกรัฐมนตรี (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
2.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้
2.1.1 กระทรวงการคลัง
2.1.2 กระทรวงการต่างประเทศ
2.1.3 กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
2.1.4 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
2.1.5 กระทรวงคมนาคม
2.1.6 กระทรวงพาณิชย์
2.1.7 กระทรวงอุตสาหกรรม
2.1.8 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
2.1.9 กระทรวงพลังงาน
2.1.10 กระทรวงศึกษาธิการ
2.1.11 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
2.2 การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการและสั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้
2.2.1 สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
2.2.2 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
2.3 การมอบหมายและมอบอำนาจให้สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้
- กรมประชาสัมพันธ์
2.4 การมอบหมายให้กำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ ดังนี้
- บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)
2.5 การมอบหมายให้กำกับดูแลองค์การมหาชนและหน่วยงานของรัฐ ดังนี้
2.5.1 สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
2.5.2 สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ
(องค์การมหาชน)
2.5.3 สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา
(องค์การมหาชน)
2.5.4 สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) 2.5.5 สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน)
2.5.6 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม
2.5.7 องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
(องค์การมหาชน)
2.6 ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการและลงนามในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการมีพระบรมราชโองการในเรื่องตามข้อ 2.1 - ข้อ 2.5 ยกเว้นการดำเนินการตามกรณีในข้อ 1.5.1 - ข้อ 1.5.7
ส่วนที่ 4
3. รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม)
3.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้
3.1.1 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
3.1.2 กระทรวงยุติธรรม
3.1.3 กระทรวงวัฒนธรรม
3.1.4 กระทรวงสาธารณสุข
3.1.5 กรมประชาสัมพันธ์
3.2 การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการและสั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้
3.2.1 สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
3.2.2 สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
3.2.3 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
3.2.4 สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
3.2.5 สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ
3.2.6 สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
3.2.7 สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
3.2.8 สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
3.3 การมอบหมายและมอบอำนาจให้สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้
3.3.1 สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
3.3.2 สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
3.4 การมอบหมายให้กำกับดูแลองค์การมหาชนและหน่วยงานของรัฐ ดังนี้
3.4.1 สำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน)
3.4.2 สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
3.4.3 กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
3.5 การดำเนินคดีปกครอง รวมทั้งลงนามมอบอำนาจให้พนักงานอัยการดำเนินคดีปกครองกรณีที่มีการฟ้องนายกรัฐมนตรี
3.6 ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการและลงนามในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการมีพระบรมราชโองการในเรื่องตามข้อ 3.1 - ข้อ 3.4 ยกเว้นการดำเนินการตามกรณีในข้อ 1.5.1 - ข้อ 1.5.7
ส่วนที่ 5
4. รองนายกรัฐมนตรีที่กำกับการบริหารราชการส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หรือหน่วยงานของรัฐแทนนายกรัฐมนตรี ย่อมมีอำนาจให้ความเห็นชอบและลงนามในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี หรือประกาศเกี่ยวกับเรื่องของหน่วยงานนั้น ๆ ดังนี้
4.1 การแต่งตั้งบุคคลหรือกรรมการในหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจนั้น
4.2 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์แก่ชาวต่างประเทศ ยกเว้น เป็นเรื่องระดับผู้นำรัฐบาลหรือประมุขของรัฐต่างประเทศ
4.3 การให้ความเห็นชอบในการรับเครื่องราชอิสริยาภรณ์หรือเหรียญตราจากต่างประเทศ
4.4 การประกาศภาพเครื่องหมายราชการ
5. รองนายกรัฐมนตรีที่ปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ให้มีอำนาจสั่งการเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยของข้าราชการในหน่วยงานที่สั่งและปฏิบัติราชการ
6. ราชการที่รองนายกรัฐมนตรีได้รับมอบหมายและมอบอำนาจตามคำสั่งนี้ หากรองนายกรัฐมนตรีพิจารณาเห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญ และอาจมีผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนเป็นส่วนรวม หรือต้องสั่งการแก่หลายส่วนราชการหรือหลายรัฐวิสาหกิจแต่บางส่วนมิได้อยู่ในอำนาจหน้าที่กำกับการบริหารราชการของรองนายกรัฐมนตรีผู้หนึ่งผู้ใดโดยตรง ให้นำเสนอนายกรัฐมนตรีเพื่อวินิจฉัยสั่งการ
7. เมื่อรองนายกรัฐมนตรีได้ดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมายและมอบอำนาจแล้วให้รายงานนายกรัฐมนตรีทราบเป็นระยะตามความเหมาะสม
8. ในการปฏิบัติหน้าที่รองนายกรัฐมนตรีตามที่ได้รับมอบหมายและมอบอำนาจตามคำสั่งนี้ ให้รองนายกรัฐมนตรีบริหารราชการโดยมุ่งมั่นจะสร้างความสามัคคี ปรองดอง ให้เกิดขึ้น ในสังคมไทย ซึ่งจะนำไปสู่ความร่วมมือกันในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองการปกครองของประเทศให้ก้าวหน้าเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนชาวไทยทุกคน
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป
22. เรื่อง คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 107 /2562 เรื่อง มอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่างๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีมีมติตามที่ได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 324/2560 เรื่อง มอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่างๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 4 ธันวาคม
พ.ศ.2560 ที่ 18/2561 เรื่อง ปรับปรุงคำสั่งมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2561 ที่ 99/2561 เรื่อง ปรับปรุงคำสั่งมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่างๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2561 ที่ 145/2561 เรื่อง ปรับปรุงคำสั่งมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่างๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2561 ที่ 67/2562 เรื่อง ปรับปรุงคำสั่งมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2562 และที่ 74/2562 เรื่อง มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ ในคณะกรรมการนโยบายการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2562 นั้น
เพื่อให้การบริหารราชการดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย เหมาะสม อาศัยอำนาจตามความ ในมาตรา 10 และมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 มาตรา 11 และมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 ประกอบกับพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการมอบอำนาจ พ.ศ. 2550 จึงให้ยกเลิกคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 324/2560 ลงวันที่ 4 ธันวาคม 2560 ที่ 18/2561 ลงวันที่ 18 มกราคม 2561 ที่ 99/2561 ลงวันที่ 26 เมษายน 2561 ที่ 145/2561 ลงวันที่ 8 มิถุนายน 2561 ที่ 67/2562 ลงวันที่ 29 มีนาคม 2562 และ ที่ 74/2562 ลงวันที่ 9 เมษายน 2562 และมีคำสั่งมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
ส่วนที่ 1
1. รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ)
1.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
1.1.1 คณะกรรมการข้าราชการตำรวจ
1.1.2 คณะกรรมการอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร
1.1.3 คณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน
1.1.4 คณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ
1.1.5 คณะกรรมการพิจารณาการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์
1.1.6 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
1.1.7 คณะกรรมการประสานและกำกับการดำเนินงานป้องกันและ
ปราบปราม การค้ามนุษย์
1.1.8 คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
1.1.9 คณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้
1.1.10 คณะกรรมการนโยบายและแผนการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติ
1.1.11 คณะกรรมการกำลังพลสำรอง
1.1.12 คณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย
1.1.13 คณะกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ
1.1.14 คณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการแร่แห่งชาติ
1.1.15 คณะกรรมการนโยบายการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล
1.1.16 สภาลูกเสือไทย
1.2 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
1.2.1 รองประธานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
1.2.2 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ
1.3 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
1.3.1 คณะกรรมการบริหารระบบการเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ
1.3.2 คณะกรรมการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค
1.3.3 คณะกรรมการนโยบายและอำนวยการพัฒนาเพื่อเสริมความมั่นคงของชาติ
1.3.4 คณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ
1.3.5 คณะกรรมการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ
1.3.6 คณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่า
1.3.7 คณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ
1.3.8 คณะกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ
1.3.9 คณะกรรมการกำหนดนโยบายและกำกับดูแลกิจการประปาแห่งชาติ
1.3.10 คณะกรรมการนโยบายการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนแห่งชาติ
1.3.11 คณะกรรมการพัฒนาพื้นที่โดยรอบท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
1.3.12 คณะกรรมการพัฒนาแรงงานและประสานงานการฝึกอบรมอาชีพแห่งชาติ
1.3.13 คณะกรรมการพิจารณาการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพาย
1.3.14 คณะกรรมการบริหารการพัฒนาพื้นที่ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ
1.3.15 คณะกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีแห่งชาติ
1.3.16 คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก
1.3.17 คณะกรรมการนโยบายป่าไม้แห่งชาติ
1.3.18 คณะกรรมการประสานงานเพื่อจัดให้มีโฉนดชุมชน
1.4 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
1.4.1 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ
1.4.2 รองประธานกรรมการ คนที่ 1 ในคณะกรรมการเตรียมการด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ
ส่วนที่ 2
2. รองนายกรัฐมนตรี (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
2.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
2.1.1 คณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก
2.1.2 คณะกรรมการส่งเสริมการพาณิชยนาวี
2.1.3 คณะกรรมการพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ
2.1.4 คณะกรรมการการมาตรฐานแห่งชาติ
2.1.5 คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ
2.1.6 คณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
2.1.7 คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน
2.1.8 คณะกรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติ
2.1.9 คณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
2.2 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ และกรรมการ ในคณะกรรมการต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
2.2.1 คณะกรรมการอำนวยการ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ แห่งชาติ
2.2.2 คณะกรรมการภูมิสารสนเทศแห่งชาติ
2.2.3 คณะกรรมการบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษถนนราชดำเนิน
2.2.4 คณะกรรมการอำนวยการจัดระบบศูนย์ราชการ
2.2.5 คณะกรรมการบริหารสินเชื่อเกษตรแห่งชาติ
2.2.6 คณะกรรมการช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจน
2.2.7 คณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร
2.2.8 คณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ
2.2.9 คณะกรรมการว่าด้วยการประสานงานในการบังคับใช้กฎหมายเพื่อป้องปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา
2.2.10 คณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งชาติ
2.2.11 คณะกรรมการประสานการบริการด้านการลงทุน
2.2.12 คณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ
2.3 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
2.3.1 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ
2.3.2 รองประธานกรรมการ คนที่ 1 ในคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
2.3.3 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการบริหารการพัฒนาพื้นที่ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ
2.3.4 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
2.3.5 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการพัฒนาการค้าระหว่างประเทศ
ส่วนที่ 3
3. รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม)
3.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
3.1.1 คณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
3.1.2 คณะกรรมการกฤษฎีกา
3.1.3 คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
3.1.4 คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
3.1.5 คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชน
3.1.6 คณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ
3.1.7 คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
3.1.8 คณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
3.1.9 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
3.1.10 คณะกรรมการคดีพิเศษ
3.1.11 คณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ
3.1.12 คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ
3.1.13 คณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ
3.1.14 คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ
3.1.15 คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ
3.1.16 คณะกรรมการนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ
3.1.17 คณะกรรมการสุขภาพจิตแห่งชาติ
3.1.18 คณะกรรมการอาหารแห่งชาติ
3.1.19 คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
3.1.20 คณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพแห่งชาติ
3.1.21 คณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
3.1.22 คณะกรรมการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ
3.1.23 คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
3.1.24 คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ
3.1.25 คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
3.1.26 คณะกรรมการมาตรฐานทางจริยธรรม
3.1.27 คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัย
3.1.28 คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดการเทียบตำแหน่ง
3.2 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
3.2.1 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก
3.2.2 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้
3.2.3 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
3.2.4 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
3.2.5 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
3.2.6 อุปนายกสภาลูกเสือไทย
3.3 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
3.3.1 คณะกรรมการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ
3.3.2 คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ
3.3.3 คณะกรรมการการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์
3.3.4 คณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ
3.3.5 คณะกรรมการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์แห่งชาติ
3.3.6 คณะกรรมการสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคมแห่งชาติ
3.3.7 คณะกรรมการนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาสถานภาพสตรีแห่งชาติ
3.3.8 คณะกรรมการนโยบายและยุทธศาสตร์ครอบครัวแห่งชาติ
3.3.9 คณะกรรมการนโยบายที่อยู่อาศัยแห่งชาติ
3.3.10 คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคม
3.3.11 คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์
3.3.12 คณะกรรมการป้องกันเจ้าหน้าที่ของรัฐมิให้เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์
3.3.13 คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ
3.3.14 คณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ
3.3.15 คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
3.3.16 คณะกรรมการเสริมสร้างความสมานฉันท์แห่งชาติ
3.3.17 คณะกรรมการพัฒนาระบบการติดตามคนหายและการพิสูจน์ศพนิรนาม
3.3.18 คณะกรรมการพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ
3.3.19 คณะกรรมการส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน
3.3.20 คณะกรรมการกองทุนเงินช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัยสำนักนายกรัฐมนตรี
3.3.21 คณะกรรมการควบคุมการเรี่ยไรของหน่วยงานของรัฐ
3.3.22 คณะกรรมการนโยบายรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ
3.3.23 คณะกรรมการพิจารณาการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย
3.3.24 คณะกรรมการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ
3.4 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
3.4.1 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการประสานงานเพื่อจัดให้มีโฉนดชุมชน
3.4.2 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ
3.4.3 รองประธานกรรมการคนที่ 2 ในคณะกรรมการเตรียมการด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ
3.5 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่กรรมการในคณะกรรมการต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
- กรรมการในคณะกรรมการบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษถนนราชดำเนิน
ส่วนที่ 4
4. ให้รองนายกรัฐมนตรีที่สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีในส่วนราชการใดเป็นประธาน อ.ก.พ. ทำหน้าที่ อ.ก.พ. กระทรวงของส่วนราชการนั้นด้วย ยกเว้น อ.ก.พ. สำนักนายกรัฐมนตรี ให้รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) เป็นประธาน
5. เมื่อรองนายกรัฐมนตรีได้ดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมายและมอบอำนาจแล้ว ให้รายงานนายกรัฐมนตรีทราบทุกสามสิบวัน
6. ให้รองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีในคำสั่งนี้ พิจารณาความจำเป็นและความเหมาะสมในการยุบเลิกคณะกรรมการดังกล่าว หากเห็นว่าหมดความจำเป็นหรือซ้ำซ้อนกับภารกิจของหน่วยงานอื่น หรืออาจยุบรวมคณะกรรมการ ชุดต่าง ๆ เข้าด้วยกัน หรือปรับปรุงองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการดังกล่าว โดยการยกเลิก หรือแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง หรือจัดทำระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีขึ้นใหม่ โดยยึดหลักการมีผู้รับผิดชอบภารกิจอย่างชัดแจ้ง การไม่ปฏิบัติงานซ้ำซ้อนกัน และการบูรณาการภารกิจให้เกิดการประสานและสอดคล้องรองรับกัน แล้วเสนอผลการพิจารณาและข้อเสนอแนะ ตลอดจนร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ขอแก้ไขเพิ่มเติมหรือจัดทำขึ้นใหม่ต่อคณะรัฐมนตรี ในกรณีที่เห็นควรให้คงระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีนั้น ๆ ไว้ตามเดิมให้รายงานเหตุผลและความจำเป็นด้วยเช่นกัน
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป
23. เรื่อง คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 108 /2562 เรื่อง มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 108 /2562 เรื่อง มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค
ตามที่ได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 232/2561 เรื่อง มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค ลงวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2561 นั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 มาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และ มาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 ประกอบกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค พ.ศ. 2547 ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ พ.ศ. 2560 ประกาศคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ เรื่อง การจัดตั้งกลุ่มจังหวัดและกำหนดจังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 และคำสั่ง สำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 221/2561 เรื่อง กำหนดพื้นที่การตรวจราชการของผู้ตรวจราชการ ลงวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2561 นายกรัฐมนตรีจึงมีคำสั่งให้ยกเลิกคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 232/2561 ลงวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2561 และมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค ดังต่อไปนี้
1. พื้นที่
1.1 รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการภาคกลาง ดังนี้
1) เขตตรวจราชการที่ 1 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน ประกอบด้วย จังหวัดชัยนาท จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดลพบุรี จังหวัดสระบุรี จังหวัดสิงห์บุรี และจังหวัดอ่างทอง
2) เขตตรวจราชการที่ 2 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัด ภาคกลางปริมณฑล ประกอบด้วย จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดนครปฐม และจังหวัดสมุทรปราการ
3) เขตตรวจราชการที่ 3 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัด ภาคกลางตอนล่าง 1 ประกอบด้วย จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดราชบุรี และจังหวัดสุพรรณบุรี
4) เขตตรวจราชการที่ 4 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัด ภาคกลางตอนล่าง 2 ประกอบด้วย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดสมุทรสงคราม
และจังหวัดสมุทรสาคร
1.2 รองนายกรัฐมนตรี (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดังนี้
1) เขตตรวจราชการที่ 8 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก 1 ประกอบด้วย จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดชลบุรี และจังหวัดระยอง
2) เขตตรวจราชการที่ 9 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก 2 ประกอบด้วย จังหวัดจันทบุรี จังหวัดตราด จังหวัดนครนายก จังหวัดปราจีนบุรี และจังหวัดสระแก้ว
3) เขตตรวจราชการที่ 10 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 ประกอบด้วย จังหวัดบึงกาฬ จังหวัดเลย จังหวัดหนองคาย จังหวัดหนองบัวลำภู และจังหวัดอุดรธานี
4) เขตตรวจราชการที่ 11 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัด
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2 ประกอบด้วย จังหวัดนครพนม จังหวัดมุกดาหาร และจังหวัดสกลนคร
5) เขตตรวจราชการที่ 12 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัด
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง ประกอบด้วย จังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดขอนแก่น จังหวัดมหาสารคาม และจังหวัดร้อยเอ็ด
6) เขตตรวจราชการที่ 13 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 ประกอบด้วย จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดบุรีรัมย์ และจังหวัดสุรินทร์
7) เขตตรวจราชการที่ 14 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 ประกอบด้วย จังหวัดยโสธร จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดอำนาจเจริญ และจังหวัดอุบลราชธานี
1.3 รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการภาคใต้ ภาคใต้ชายแดน และภาคเหนือ ดังนี้
1) เขตตรวจราชการที่ 5 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ประกอบด้วย จังหวัดชุมพร จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดพัทลุง จังหวัดสุราษฎร์ธานี และจังหวัดสงขลา
2) เขตตรวจราชการที่ 6 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน ประกอบด้วย จังหวัดกระบี่ จังหวัดตรัง จังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต จังหวัดระนอง และจังหวัดสตูล
3) เขตตรวจราชการที่ 7 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน ประกอบด้วย จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา
4) เขตตรวจราชการที่ 15 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 ประกอบด้วย จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดลำปาง และจังหวัดลำพูน
5) เขตตรวจราชการที่ 16 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 ประกอบด้วย จังหวัดเชียงราย จังหวัดน่าน จังหวัดพะเยา และจังหวัดแพร่
6) เขตตรวจราชการที่ 17 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 ประกอบด้วย จังหวัดตาก จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดสุโขทัย
และจังหวัดอุตรดิตถ์
7) เขตตรวจราชการที่ 18 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 2 ประกอบด้วย จังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดพิจิตร และจังหวัดอุทัยธานี
2. การกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาคตามคำสั่งนี้ หมายถึง การตรวจราชการ การขอให้เจ้าหน้าที่ของรัฐรายงานเหตุการณ์และผลการปฏิบัติงานตามนโยบายของรัฐบาล และนายกรัฐมนตรี ยุทธศาสตร์ชาติ ยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด และยุทธศาสตร์จังหวัด การประสานราชการเพื่อให้เกิดการบูรณาการยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด และยุทธศาสตร์จังหวัด ไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม การเร่งรัด การติดตามผล การให้คำแนะนำช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ของรัฐในพื้นที่ และการประเมิน ผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐ รวมถึงการตรวจสอบความถูกต้องในการดำเนินโครงการและการใช้จ่ายงบประมาณของรัฐ โดยให้คณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัดมีส่วนร่วมในการตรวจสอบด้วย
3. ให้รองนายกรัฐมนตรีรายงานปัญหาอุปสรรค แนวทางการแก้ไข ตลอดจนข้อเสนอแนะต่าง ๆ อันเนื่องจากการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในเขตตรวจราชการหรือพื้นที่ในความรับผิดชอบต่อนายกรัฐมนตรี
4. ให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีจัดให้ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีประจำเขตตรวจราชการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นฝ่ายเลขานุการของรองนายกรัฐมนตรี ในกรณีที่รองนายกรัฐมนตรีติดภารกิจจำเป็นเร่งด่วน สามารถมอบหมายให้ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีประจำเขตตรวจราชการปฏิบัติหน้าที่แทนแล้วรายงานผลการปฏิบัติงานให้ทราบต่อไป
5. ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้ตรวจราชการกระทรวง และหัวหน้าส่วนราชการในจังหวัดที่เกี่ยวข้องเสนอข้อมูล อำนวยความสะดวก และให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งนี้ด้วย
6. ให้เบิกค่าใช้จ่ายในการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาคของรองนายกรัฐมนตรี จากงบประมาณของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี หมวดเงินอุดหนุนทั่วไป โครงการเพิ่มขีดสมรรถนะในการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาคของรองนายกรัฐมนตรี
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป
24. เรื่อง คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 109/2562 เรื่อง มอบหมายให้รัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการในคณะกรรมการต่างๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 109 /2562 เรื่อง มอบหมายให้รัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการในคณะกรรมการต่างๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 10 และมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 มาตรา 11 และมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 ประกอบกับพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการมอบอำนาจ พ.ศ. 2550 จึงมีคำสั่งมอบหมายให้รัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (นายพิเชษฐ ดุรงคเวโรจน์) ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการในคณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
- รองประธานกรรมการในคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
2. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (นายวีระ โรจน์พจนรัตน์) ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการในคณะกรรมการต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
2.1 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ
2.2 รองประธานกรรมการคนที่ 1 ในคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคม
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ.2562 เป็นต้นไป
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี