รองโฆษกฯย้ำรัฐบาลระดมมาตรการเยียวยาช่วยเหลือหลังน้ำท่วมคลี่คลายโดยเร็ว เตรียมเปิดขึ้นทะเบียน-จัดอาชีพเสริมระว่างฟื้นฟู ซ่อมแซมถนนหนทางให้ใช้งานภายใน7วัน ย้ำอย่าเชื่อเฟคนิวส์พายุจะกลับมา ห่วงปชช.เครียดจากการสูญเสียสิ้นเนื้อประดาตัว ต้องรีบลงไปเยียวยาทางจิตใจ
เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2562 น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยในรายการ Government Weekly ช่วง Live Talk จัดโดยสำนักโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ทุกวันศุกร์ ในเวลา 15.00 น.ผ่านเฟสบุ๊ก "ไทยคู่ฟ้า" โดย น.ส.ไตรศุลี กล่าวถึงมาตรการช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่ประสบอุทกภัยภายหลังสถานการณ์คลี่คลายและเข้าสู่ภาวะปกติ เนื่องจากขณะนี้พายุได้ผ่านพ้นไปแล้ว อาจมีฝนบางในบางพื้นที่ จากข้อมูลล่าสุดจากพื้นที่น้ำท่วม 32 จัหวัด เหลือ 10 จังหวัด โดยทางภาครัฐจะเร่งระดมมาตรการให้ความช่วยเหลือโดยเร็วที่สุด
ทั้งนี้ เมื่อสถานการณ์ท่วมคลี่คลายทางภาครัฐจะให้พี่น้องประชาชนลงทะเบียบเพื่อรับความช่วยเหลือ ทั้งครอบครัวที่มีผู้เสียชีวิต บ้านพัง เรือกสวนไร่นา หรือ สัตว์เลี้ยง ประสบน้ำท่วมเสียหายจะได้รับการเยียวยาเชื่อเหลือตามหลักเกณฑ์ โดยทุกหน่วยงานจะทำงานร่วมกันจากหลายภาคส่วน ที่จะเข้าไปช่วยเหลือพี่น้องประชาชนหลังน้ำลด อาทิ กระทรวงคมนาคม จะเร่งซ่อมแซมถนนให้กลับมาใช้ได้ปกติภายใน 7 วัน อาทิ ถนน สะพาน หรือ บางเส้นทางที่ถูกตัดขาดโดยน้ำท่วมสูง จนไม่อาจสัญจรไปมาได้ กระทรวงคมนาคมจะแจ้งเตือนพี่น้องประชาชนในพื้นที่ให้รับทราบข้อมูลผ่านทางโซเซียลมิเดียของกระทรวง อาทิ เว็ปไซด์ หรือเฟสบุ๊ก เพื่อให้ประชาชนได้หลีกเลี่ยงเส้นทางดังกล่าว ถือเป็นแนวทางการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า พร้อมกับทำงานบูรณาการกับกองทัพในการสร้างสะพานแบริ่ง หรือสะพานข้ามชั่วคราวในบางจุดที่น้ำท่วมสูง เป็นต้น
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรี และรัฐบาล เตรียมหามาตรการช่วยเหลือเสริมผ่านการฝึกอาชีพ หรืออาชีพเสริม อาทิ เลี้ยงสัตว์น้ำ หรือ โคกระบือ เป็นต้น รวมถึงมาตรการระยะยาวในการแก้ปัญหาน้ำท่วม หรือน้ำแล้งด้วย โดยเฉพาะในพื้นที่น้ำท่วม หรือแล้งซ้ำซาก ดังนั้น ขอให้พี่น้องประชาชนมั่นใจว่ารัฐบาลวางมาตรการแก้ปัญหาทั้งระยะสั้น กลาง และยาว เพราะสถานการณ์ภัยพิบัติปัจจุบันเปลี่ยนแปลงรุนแรงและรวดเร็ว การเตรียมความพร้อมรับมือเป็นสิ่งสำคัญ เพราะเมื่อสองสัปดาห์ก่อนหน้านี้ ประสบปัญหาภัยแล้ง แต่ต่อมาอีก 2 - 3 สัปดาห์ถัดมาประสบปัญหาน้ำท่วม
น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า สิ่งที่ประชาชนต้องระมัดระวังในช่วงน้ำท่วมขัง คือ โรคที่มากับน้ำท่วม อาทิ "โรคฉี่หนู" หากมีบาดแผลควรหลีกเลี่ยงแช่น้ำเป็นเวลานานๆ เพราะเกษตรกรในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เสียชีวิตจากโรคฉี่หนูจำนวนมาก ดังนั้นหากเกิดอาการปวด หัว ตัวร้อน อาเจียน อย่าเพิ่งไปซื้อยารับประทานเอง ควรไปพบแพทย์โดยด่วน อีกโรคที่่มากับน้ำท่วม คือ โรคน้ำกัดเท้า โรคตาแดง โรคทางเดินหายใจ ดังนั้นหากพี่น้องประชาชนเป็นโรคดังกล่าวควรรีบไปพบแพทย์ใกล้บ้านโดยด่วน
รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า มาตรการให้ความช่วยเหลือที่รัฐบาลให้ความสำคัญที่สุด คือ การให้ "กำลังใจ" แก่พี่น้องประชาชน ในยามประสบความทุกข์ยากลำบาก จึงเป็นเหตุผลที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่ากากระทรวงกลาโหม เดินทางลงพื้นที่ไปตรวจเยี่ยมและให้กำลังพี่น้องประชาชน ในช่วงวันที่ 4 ก.ย.ที่ผ่านมา และล่าสุดในวันจันทร์ที่ 9 ก.ย.นี้ นายกรัฐมนตรีพร้อมคณะเตรียมเดินทางลงพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อไปให้กำลังใจพี่น้องประชาชน และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานที่ทำงานด้วยความเสียสละ
น.ส.ไตรศุลี กล่าวอีกว่า จากประสบการณ์การลงพื้นที่ตรวจน้ำท่วม ไปกับ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ที่จังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็นพื้นที่ที่น้ำท่วมตลอดทุกปี เพราะเป็นพื้นที่รับน้ำ ดังนั้น มาตรการเตือนภัยและการช่วยเหลืออพยพพี่น้องประชาชนถือเป็นมาตรการสำคัญมากๆ โดยเฉพาะการระดมกำลังเจ้าหน้าที่เคลื่อนย้าย ผู้ป่วยติดเตียง เด็กสตรีหรือหญิงตั้งครรภ์ ต้องได้รับการช่วยเหลือเร่งด่วนก่อน รวมถึงการเยียวยาดูแลจิตใจถือเป็นเรื่องสำคัญด้วย เพราะพี่น้องประชาชนบางคนไม่เคยประสบอุทกภัยมาก่อน บ้านพัง น้ำท่วมไร่นา จนสิ้นเนื้อประดาตัว และ ต้องสูญเสียญาติพี่้น้องไปกับน้ำท่วม ดังนั้นการให้กำลังเป็นสิ่งสำคัญ จึงมีข้อแนะนำ 3 ส. ดังนี้ 1. "สอดส่อง" คอยดูแลคนใกล้ชิดว่ากินไม่ได้นอนไม่หลับหรือไม่ เพราะเป็นสัญญาของโรคเครียด 2. "ใส่ใจ" เข้าไปพูดคุยปลอบโยนหรือแม้แต่การจับมือแล้วนั่งพูดคุยรับฟังปัญหาสามารถช่วยเยียวยาทางจิตใจได้อย่างมาก และ 3. "ส่งต่อ" หากมีอาการเครียดหนักมากๆ อาจต้องส่งตัวไปกรมสุขภาพจิต หรือ ปรึกษาทางสายด่วน 1323
นอกจากนี้ สิ่งที่อยากแนะนำพี่น้องประชาชน เมื่อประสบภัยน้ำท่วม คือ อย่าหวงแต่ทรัพย์สินส่วนตัวหรือของมีค่า แต่ควรเก็บเอกสารหลักฐานส่วนตัวทางราชการด้วย เพื่อยืนยันตัวตนในการขึ้นทะเบียบรับความช่วยเหลือ และการรับข้อมูลข่าวสารต้องระวังข่าวปลอม หรือเฟคนิวส์ โดยไม่อ้างอิงแหล่งที่มาของข่าวสาร เช่น เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมาประชาชนในพื้นที่ โทรศัพท์มาสอบถามว่าพายุจะกลับเข้ามาอีก จนสร้างความตื่นตระหนกในพื้นที่ แต่เมื่อตรวจสอบจากรมอุตุนิยมวิทยา ปรากฎว่าข้อความที่เผยแพร่ในเฟสบุ๊กไม่เป็นความจริง ดังนั้น ผู้ที่เผยแพร่ไม่ว่าจะเป็นบุคคลใด ไม่ควรมีพฤติกรรมแบบนั้นในสถานกาณ์เช่นนี้
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี