วันนี้ (21 มกราคม 2563) เวลา 10.30 น. ณ ห้องประชุมเฉลิมพระเกียรติ ชั้น 1 อาคารเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ต.โคกเคียน อ.เมืองนราธิวาส จ.นราธิวาส พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ (ครม.สัญจร) ครั้งที่ 1/2563 ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้
กฎหมาย
1. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกำแพงเพชร เขตเลือกตั้งที่ 2 แทนตำแหน่งที่ว่าง พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกำแพงเพชร เขตเลือกตั้งที่ 2 แทนตำแหน่งที่ว่าง พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (สำนักงาน ก.ก.ต.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
ทั้งนี้ เนื่องด้วยศาลฎีกาได้อ่านคำพิพากษาเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2563 พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 โดยลงโทษจำคุกและปรับ พ.ต.ท. ไวพจน์ อาภรณ์รัตน์ ส.ส. กำแพงเพชร เขตเลือกตั้งที่ 2 ฐานร่วมกันทำให้ปรากฏแก่ประชาชนเพื่อให้เกิดความปั่นป่วนในหมู่ประชาชนถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักรและเพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน จึงเป็นเหตุให้สมาชิกภาพของ ส.ส. ของ
พ.ต.ท. ไวพจน์ฯ สิ้นสุดลงเมื่อต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 101 (13) และต้องตราพระราชกฤษฎีกาเพื่อจัดให้มีการเลือกตั้ง ส.ส. แทนตำแหน่งที่ว่าง ภายใน 45 วันนับแต่วันที่ตำแหน่งนั้นว่างลง (ภายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2563)
สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
กำหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกำแพงเพชร เขตเลือกตั้งที่ 2 แทนตำแหน่งที่ว่าง
2. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการขอรับการตรวจสอบและรับรอง และการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงการขอรับการตรวจสอบและรับรอง และการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
1. กำหนดให้ยกเลิกกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2553
2. กำหนดให้ผู้ผลิต ผู้ส่งออก และผู้นำเข้าสินค้าเกษตรยื่นคำขอต่อผู้ประกอบการตรวจสอบมาตรฐานตามแบบที่เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา พร้อมด้วยเอกสารหรือหลักฐานตามที่ระบุไว้ในแบบคำขอนั้น
3. กำหนดให้เมื่อผู้ประกอบการตรวจสอบมาตรฐานได้รับคำขอพร้อมทั้งเอกสารหรือหลักฐานถูกต้องและครบถ้วนแล้ว ให้ดำเนินการตรวจสอบมาตรฐานสินค้าเกษตรนั้นทันที เว้นแต่มีผู้ยื่นคำขอหลายรายให้ดำเนินการตรวจสอบตามลำดับที่ยื่นคำขอ และเพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบมาตรฐานสินค้าเกษตรที่นำเข้า ผู้ประกอบการตรวจสอบมาตรฐานอาจไปตรวจสอบ ณ สถานที่ผลิตสินค้าเกษตรนั้นในต่างประเทศเพื่อตรวจสอบให้เป็นไปตามมาตรฐานได้
ในกรณีที่มีการตรวจสอบมาตรฐานสินค้าเกษตรที่นำเข้า พนักงานเจ้าหน้าที่อาจไปตรวจประเมินวิธีการตรวจสอบมาตรฐานในต่างประเทศได้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด โดยผู้ประกอบการตรวจสอบมาตรฐานเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
3. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลปูโยะ และตำบลมูโนะ อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลปูโยะ และตำบลมูโนะ อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
กำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลปูโยะ และตำบลมูโนะ อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน
4. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลปะลุรู ตำบลโต๊ะเด็ง และตำบลริโก๋ อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. .... และร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลบางปอ อำเภอเมืองนราธิวาส และตำบลดุซงญอ ตำบลช้างเผือก ตำบลจะแนะ อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลปะลุรู ตำบลโต๊ะเด็ง และตำบลริโก๋ อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. .... และร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลบางปอ อำเภอเมืองนราธิวาส และตำบลดุซงญอ ตำบลช้างเผือก ตำบลจะแนะ อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วให้ดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
กำหนดเขตที่ดินในท้องที่ตำบลปะลุรู ตำบลโต๊ะเด็ง และตำบลริโก๋ อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส และในท้องที่ตำบลบางปอ อำเภอเมืองนราธิวาส และตำบลดุซงญอ ตำบลช้างเผือก ตำบลจะแนะ อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน อันจะทำให้เกษตรกรได้รับสิทธิประโยชน์จากที่ดินดังกล่าวได้ถูกต้องตามกฎหมายและส่งผลให้เกษตรกรมีความมั่นคงทางอาชีพและมีแรงจูงใจในการพัฒนาอาชีพต่อไป
เศรษฐกิจ - สังคม
5. เรื่อง ขออนุมัติกู้เงินเพื่อใช้ในการดำเนินงานและกู้เงินระยะสั้น วงเงิน 800.00 ล้านบาท (วงเงินกู้เบิกเกินบัญชี) ของการรถไฟแห่งประเทศไทยประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ การกู้เงินของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ตามพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 มาตรา 39 (4) โดยให้กระทรวงการคลัง (กค.) เป็นผู้ค้ำประกัน รวมทั้งพิจารณาวิธีการกู้เงิน เงื่อนไขและรายละเอียดตามความเหมาะสม สำหรับการขอยกเว้นค่าธรรมเนียมการกู้เงินให้ รฟท. พิจารณาดำเนินการตามความเห็นของ กค. ดังต่อไปนี้
1. เงินกู้เพื่อบรรเทาการขาดสภาพคล่องในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 วงเงิน 10,910.69
ล้านบาท
2. เงินกู้ระยะสั้น (วงเงินกู้เบิกเกินบุญชี) วงเงิน 800.00 ล้านบาท โดยให้ รฟท. พิจารณาคัดเลือก
สถาบันการเงินด้วยวิธีการประมูลตามความเห็นของ กค.
สาระสำคัญของเรื่อง
คค. รายงานว่า
คณะกรรมการรถไฟแห่งประเทศไทยได้มีมติเห็นชอบแล้ว เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2562 มีรายละเอียด ดังนี้
ได้ประมาณการกรอบวงเงินกู้เพื่อบรรเทาการขาดสภาพคล่องที่ได้รับการบรรจุวงเงินกู้ในแผนการบริหารหนี้สาธารณะประจำปีงบประมาณ 2563 จำนวน 10.910.69 ล้านบาท
ทั้งนี้ รฟท. มีผลประกอบการขาดทุน เนื่องจากรายได้ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานและ รฟท. ไม่มีการปรับเพิ่มรายได้การขนส่งให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน ตั้งแต่ปี 2528 ในขณะที่การชดเชยการขาดทุนฯ ของ รฟท. ตามพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 ที่รัฐต้องจ่ายให้การรถไฟแห่งประเทศไทยเท่าจำนวนที่ขาด ถ้ารายได้มีจำนวนไม่พอสำหรับรายจ่ายและการรถไฟแห่งประเทศไทยไม่สามารถหาเงินจากทางอื่นได้ ซึ่งภาครัฐมีเงินจำกัดไม่สามารถจัดสรรให้เพียงพอกับการขาดทุนจริง ทำให้ รฟท. ต้องกู้เงินโดยให้รัฐบาลค้ำประกันเพื่อมาใช้ในการดำเนินงานอันก่อให้เกิดภาระดอกเบี้ยจ่ายในการกู้เงิน
ในช่วงที่ประสบปัญหาเงินสดขาดมือ โดยได้ทำสัญญาเงินกู้ระยะสั้น วงเงิน 800 ล้านบาท อายุสัญญา 1 ปี โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 รฟท. ได้ต่ออายุสัญญาเงินกู้ดังกล่าวกับธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) แล้ว และจะครบกำหนดอายุสัญญาในวันที่ 29 มีนาคม 2563 รฟท.จึงมีความจำเป็นต้องต่ออายุสัญญาเงินกู้ระยะสั้นไว้สำหรับใช้ในกรณีที่ขาดเงินทุนหมุนเวียนในช่วงใดช่วงหนึ่ง เพื่อไม่ให้การดำเนินงานต้องหยุดชะงัก ต่อไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 30 มีนาคม 2563 ถึง 29 มีนาคม 2564
6. เรื่อง การกำหนดเบี้ยประชุมและประโยชน์ตอบแทนอื่น ตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติเทคโนโลยีป้องกันประเทศ พ.ศ. 2562
คณะรัฐมนตรีพิจารณาเรื่อง การกำหนดเบี้ยประชุมและประโยชน์ตอบแทนอื่น ตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติเทคโนโลยีป้องกันประเทศ พ.ศ. 2562 ตามที่กระทรวงกลาโหม (กห.) เสนอ แล้วมีมติดังนี้
1. เห็นชอบการกำหนดเบี้ยประชุมและประโยชน์ตอบแทนอื่น ในกรณีเดินทางไปปฏิบัติงานของสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศของประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการนโยบายเทคโนโลยีป้องกันประเทศ และอนุกรรมการที่คณะกรรมการฯ แต่งตั้ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2547
2. กรณีที่มีความจำเป็นต้องกำหนดอัตราเบี้ยประชุมและประโยชน์ตอบแทนอื่นของประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการนโยบายเทคโนโลยีป้องกันประเทศ และอนุกรรมการที่คณะกรรมการฯ แต่งตั้งที่แตกต่างไปจากที่กำหนดไว้ตามนัยมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว ให้กระทรวงกลาโหม (สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ) นำเสนอคณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนพิจารณาการกำหนดอัตราเบี้ยประชุมและประโยชน์ตอบแทนอื่นของประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการนโยบายเทคโนโลยีป้องกันประเทศ และอนุกรรมการที่คณะกรรมการฯ แต่งตั้ง เพื่อให้มีความเหมาะสมชัดเจนเป็นมาตรฐานเดียวกันต่อไป
สำหรับหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2547 สรุปได้ ดังนี้
หน่วย : บาท/คน/เดือนที่มีการประชุม
ตำแหน่ง |
คณะกรรมการบริหารสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ [มติคณะรัฐมนตรี (7 กันยายน 2547)] |
||
อัตราเบี้ยประชุม |
ประโยชน์ตอบแทนอื่น |
||
ระดับคณะกรรมการ |
|||
1) ประธานกรรมการ |
20,000 |
อัตราที่ข้าราชการกำหนดสำหรับข้าราชการพลเรือน ระดับ 10 (ข้าราชการพลเรือนประเภทบริหารระดับสูงในปัจจุบัน) |
|
2) กรรมการ |
16,000 |
||
3) รองประธานกรรมการ |
- |
- |
|
ระดับคณะอนุกรรมการที่คณะกรรมการฯ แต่งตั้ง |
|||
1) ประธานอนุกรรมการ |
10,000 |
ในอัตราที่ข้าราชการกำหนดสำหรับข้าราชการพลเรือน ระดับ 9 (ข้าราชการพลเรือนประเภทบริหารระดับต้นในปัจจุบัน) |
|
2) อนุกรรมการ |
8,000 |
||
เงื่อนไขสำหรับการได้รับเบี้ยประชุม : ให้ได้รับเฉพาะเดือนที่มีการประชุม โดยกำหนดให้มีการประชุมทุก 3 เดือน และจะต้องเข้าร่วมประชุมในเดือนนั้น |
|||
7. เรื่อง ขออนุมัติตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 สำหรับรายการงบประมาณที่มีวงเงินตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป ของกระทรวงคมนาคม
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ให้ตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 สำหรับรายการงบประมาณที่มีวงเงินตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป ของกระทรวงคมนาคม จำนวน 4 หน่วยงาน รวม 46 โครงการ ระยะเวลาดำเนินการ ปี 2564 – 2567 วงเงินรวมทั้งสิ้น 179,671.1980 ล้านบาท โดยมีวงเงินที่จะขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 จำนวน 36,384.2000 ล้านบาท ประกอบด้วย
2564 : 34,133 ล้านบาท ปีงบประมาณ 2565 : 51,199.5000 ล้านบาท ปีงบประมาณ 2566 : 51,199.5000 ล้านบาท และปีงบประมาณ 2567 : 34,133 ล้านบาท)
2564 : 630.2000 ล้านบาท ปีงบประมาณ 2565 : 1,260.4000 ล้านบาท และปีงบประมาณ 2566: 1,260.4000 ล้านบาท)
: 760 ล้านบาท ปีงบประมาณ 2565 : 760 ล้านบาท ปีงบประมาณ 2566 : 1,140 ล้านบาท และปีงบประมาณ 2567 : 1,140 ล้านบาท)
(ปีงบประมาณ 2564 : 861 ล้านบาท และปีงบประมาณ 2565 : 1,194.1980 ล้านบาท)
8. เรื่อง การขอรับการสนับสนุนงบประมาณการซื้อลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดการแข่งขันมหกรรมกีฬาระดับนานาชาติ 5 รายการ
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อจัดซื้อลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดการแข่งขันมหกรรมกีฬาระดับนานาชาติ 5 รายการ จากกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) วงเงิน 240,000,000 บาท โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. การถ่ายทอดสดการแข่งขันมหกรรมกีฬาระดับนานาชาติ 5 รายการดังกล่าวประกอบด้วย (1) การแข่งขันมหกรรมกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน (โตเกียว 2020) (2) การแข่งขันมหกรรมกีฬาโอลิมปิกเยาวชนฤดูหนาว (โลซาน 2020) (3) การแข่งขันมหกรรมกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว (ปักกิ่ง 2022) (4) การแข่งขันมหกรรมกีฬาโอลิมปิกเยาวชนฤดูร้อน (ดาการ์ 2022) และ (5) การแข่งขันมหกรรมกีฬาเอเชียนเกมส์ (หางโจว 2022) ซึ่ง กก. พิจารณาแล้วเห็นควรซื้อลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดการแข่งขันฯ ทั้ง 5 รายการดังกล่าวจากบริษัท แพลนบี มีเดีย จำกัด (มหาชน) ที่เป็นผู้บริหารจัดการลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดและการตลาด มูลค่ารวม 480,000,000 บาท (รวมภาษีทั้งหมดที่เกี่ยวข้องแล้วแต่ไม่รวมค่าดำเนินการด้านเทคนิคการออกอากาศ)
2. คณะกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่ 4/2562 เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2562 มีมติอนุมัติงบประมาณสนับสนุนค่าลิขสิทธิ์การถ่ายทอดการแข่งขันมหกรรมกีฬาระดับนานาชาติ เป็นเงิน 480,000,000 บาท โดยมีเงื่อนไขหากการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) สามารถหาผู้สนับสนุนได้มากกว่า 240,000,000 บาท ตามที่นำเสนอคณะกรรมการการบริหารกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติให้ใช้จ่ายจากแหล่งเงินที่จัดหามาได้เพื่อจะได้ไม่ต้องใช้งบประมาณของกองทุนทั้งหมด โดยหากมีรายได้จากการจัดหาให้นำกลับคืนมาให้กองทุนเพื่อเป็นทุนสนับสนุน ส่งเสริมกิจกรรมกีฬาของประเทศชาติต่อไป สำหรับค่าใช้จ่ายประชาสัมพันธ์เพื่อกระตุ้นการรับรู้จำนวน 20,000,000 บาท ให้ กกท. ใช้จ่ายจากแหล่งงบประมาณอื่นที่ไม่ใช่งบประมาณกองทุน* ดังนั้น กก. จึงจำเป็นต้องขอรับการสนับสนุนจาก กทปส. มาสมทบในวงเงินงบประมาณ 240,000,000 บาท
3. กก. แจ้งว่า การขอรับงบประมาณสนับสนุนในครั้งนี้สามารถดำเนินการได้ตามมาตรา 27 (21) และมาตรา 55 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 ที่บัญญัติให้คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) มีอำนาจหน้าที่พิจารณาและให้ความเห็นชอบเกี่ยวกับการจัดสรรเงิน กทปส. ตามที่คณะกรรมการบริหารกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (คณะกรรมการ กทปส.) เสนอ และมีความสอดคล้องกับมาตรา 52 (1) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวที่บัญญัติให้ กทปส. มีวัตถุประสงค์ในการดำเนินการให้ประชาชนได้รับบริการด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมอย่างทั่วถึง
* บริษัท แพลนบี มีเดีย จำกัด (มหาชน) จะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในส่วนดังกล่าวให้ก่อน และจะนำรายได้จากการบริหารจัดการการถ่ายทอดสดไปชดเชยในส่วนดังกล่าว
9. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคืนอากรและหลักประกันการชำระอากรตอบโต้การทุ่มตลาดและอากรตอบโต้การอุดหนุน พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคืนอากรและหลักประกันการชำระอากรตอบโต้การทุ่มตลาดและอากรตอบโต้การอุดหนุน พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงที่กระทรวงการคลังเสนอ เป็นการปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการคืนอากรหรือหลักประกันการชำระอากรตอบโต้การทุ่มตลาด และการอุดหนุนซึ่งสินค้าจากต่างประเทศ เกี่ยวกับสถานที่ที่จะขอคืนอากรหรือหลักประกันการชำระอากรตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนซึ่งสินค้าจากต่างประเทศ และการขอคืนอากรตอบโต้การทุ่มตลาดหรือการอุดหนุนกับการนำเข้าสินค้าที่หลบเลี่ยงมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุน เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนซึ่งสินค้าจากต่างประเทศ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 ซึ่งคณะกรรมการพิจารณาการทุ่มตลาดและการอุดหนุนพิจารณาแล้วไม่ขัดข้อง
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
ประเด็น |
รายละเอียด |
1. เพิ่มเติมสถานที่ที่จะขอคืนอากรแก่ผู้นำเข้าที่ขอคืนอากรตอบโต้การทุ่มตลาดหรือากรตอบโต้การอุดหนุน |
เดิมการขอรับคืนอากรตอบโต้การทุ่มตลาดหรืออากรตอบโต้การอุดหนุนต้องนำหลักฐานการชำระอากรชั่วคราวมาติดต่อขอรับคืน ณ ท่าหรือที่ หรือสนามบินศุลกากรที่ได้ชำระอากรดังกล่าวไว้ แก้ไขเป็นด่านศุลกากรหรือสถานที่ที่กรมศุลกากรกำหนดให้เป็นสถานที่ปฏิบัติพิธีการศุลกากรนำของเข้าที่ได้ชำระอากรดังกล่าวไว้ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ขอรับคืนอากร |
2. เพิ่มเติมกรณีผู้นำเข้าซึ่งมีการหลบเลี่ยงมาตรการตอบโต้ ขอคืนอากรตอบโต้การทุ่มตลาดหรืออากรตอบโต้การอุดหนุน ที่ถูกเรียกเก็บจากการขยายการเรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดหรือการอุดหนุน |
เดิมไม่มี กำหนดขึ้นใหม่เพื่อรองรับการเพิ่มบทบัญญัติหมวด 10/1 การหลบเลี่ยงมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนแห่งพระราชบัญญัติการตอบโต้การทุ่มตลาดและ การอุดหนุนซึ่งสินค้าจากต่างประเทศ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 |
3. เพิ่มเติมกรณีผู้นำเข้าขอคืนอากรตอบโต้การทุ่มตลาดหรืออากรตอบโต้การอุดหนุนที่ถูกเรียกเก็บไว้ เนื่องจากภายหลังมีการส่งสินค้าที่ได้ชำระอากรตอบโต้การทุ่มตลาดหรืออากรตอบโต้การอุดหนุนกลับออกไปนอกราชอาณาจักร โดยผู้นำเข้าต้องขอรับคืนภายในหกเดือน |
เดิมไม่มี กำหนดขึ้นใหม่เพื่อรองรับการเพิ่มบทบัญญัติหมวด 10/1 การหลบเลี่ยงมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนแห่งพระราชบัญญัติการตอบโต้การทุ่มตลาดและ การอุดหนุนซึ่งสินค้าจากต่างประเทศ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 |
10. เรื่อง สรุปผลการประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กพต.) ครั้งที่ 1/2562
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบผลการประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กพต.) ครั้งที่ 1/2562 ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) ประธานกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เสนอดังนี้
1. รับทราบ จำนวน 4 เรื่อง ได้แก่
1.1 การประกาศกำหนดให้อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ในฐานะเมืองต้นแบบที่ 4 “เมืองอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต” เป็นเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ
1.2 การแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน กรณีเร่งรัดออกเอกสารสิทธิ์ที่ดินทำกินในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
1.3 การพิจารณาให้ความช่วยเหลือด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน กรณีครอบครัวนายอับดุลเลาะ อีซอมูซอ
1.4 การแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายและอำนวยการการเยียวยา ผู้ได้รับผลกระทบสืบเนื่องจากสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้
2. เห็นชอบ จำนวน 3 เรื่อง ได้แก่
2.1 เห็นชอบในหลักการของแผนเร่งด่วนการลงทุนในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา เพื่อให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับแผนงานดังกล่าว ไปดำเนินการตามอำนาจหน้าที่และกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป
2.2 เห็นชอบในหลักการของกรอบแนวทางการพัฒนาเพื่อเสริมความมั่นคงผ่าน “โครงการตำบลมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” ของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.)
2.3 มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปดำเนินการตามแผนการบริหารจัดการที่ดินสำหรับการดำเนินงานในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษนราธิวาสตามที่ กพต. เสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) นำเสนอผลการประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กพต.) ครั้งที่ 1/2562 เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2562 เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อรับทราบในเรื่องต่าง ๆ เช่น 1) การประกาศให้อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ในฐานะเมืองต้นแบบที่ 4 “เมืองอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต” เป็นเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ โดยได้เสนอคณะรัฐมนตรีขอความเห็นชอบในหลักการของแผนเร่งด่วนการลงทุนในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา เนื่องจากเขตพื้นที่อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา และพื้นที่ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ยังไม่มีนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่สามารถรองรับแรงงานในพื้นที่จำนวนมาก และมีความพร้อมด้านกายภาพจากลักษณะทางกายภาพที่เป็นพื้นที่ชายฝั่ง จึงมีความเหมาะสมที่จะดำเนินการท่าเรือน้ำลึก เพื่อให้นิคมอุตสาหกรรมที่จะเกิดขึ้นสามารถใช้ประโยชน์จากการนำเข้าและส่งออกสินค้าได้อย่างสะดวก โดยสาระสำคัญของแผนเร่งด่วนการลงทุนฯ ครอบคลุม 4 แผนงาน สรุปได้ ดังนี้
แผนงาน |
รายละเอียด |
ด้านผังเมือง : ปรับปรุงผังการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ 3 ตำบล ได้แก่ (1) ตำบลนาทับ (2) ตำบลตลิ่งชัน และ (3) ตำบลสะกอม ซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่พัฒนาโครงการ ได้รับการกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินเป็นพื้นที่สีเขียวและสีเขียวคาดขาวทำให้ไม่สามารถจัดตั้งโรงงานและการประกอบอุตสาหกรรม บางประเภท ส่งผลให้เอกชนที่สนใจไม่สามารถลงทุนในโครงการได้ |
- ให้ ศอ.บต. มีอำนาจปรับปรุงผังการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ 3 ตำบล และให้ประกาศใช้ผังการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ได้รับการปรับปรุงแล้วใน 12 เดือน - ให้ ศอ.บต. สามารถดำเนินการยกเว้นกฎหมายผังเมืองในการจัดทำแผนผังการใช้ประโยชน์ในที่ดินของ 3 ตำบล เพื่อให้สามารถเกิดการลงทุนในพื้นที่ได้ทันที |
ด้านโครงข่ายการขนส่งสินค้าทางน้ำ (ท่าเรือ) : เป็นโครงการท่าเรือน้ำลึกสงขลาติดข้อจำกัดด้านงานมวลชลสัมพันธ์และสิ่งแวดล้อม |
ให้ ศอ.บต เชิญชวนเอกชนที่สนใจและมีความพร้อมในการร่วมพัฒนาและเสนอโครงการให้ภาครัฐพิจารณา |
ด้านโครงข่ายการขนส่งสินค้าทางบก (ถนนและราง) : ถนนส่วนใหญ่ในพื้นที่ตำบลที่อยู่ในเขตพื้นที่พัฒนาโครงการฯ เดิมมีวัตถุประสงค์เพื่อรองรับการเดินทางของประชาชนและการประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรม ทำให้ไม่สามารถรองรับความต้องการเดินทางของบุคลากรที่เป็นแรงงานและการขนส่งสินค้า |
ให้ ศอ.บต. ร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลาและ/หรือสำนักงานจังหวัดสงขลาจัดทำแผนแม่บทด้านการขนส่งและจราจรจังหวัดสงขลาและส่งมอบแผนงาน/โครงการตามแผนแม่บทดังกล่าวให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตั้งงบประมาณต่อไป |
ด้านพลังงาน : การสร้างโรงไฟฟ้ามั่นคงภาคใต้ ได้แก่ โรงไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ ณ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ขนาดกำลังผลิตไฟฟ้า 930 เมกะวัตต์ และโครงการโรงไฟฟ้าที่จะสร้างใหม่ ขนาดกำลังการผลิตไฟฟ้า 1,700 เมกะวัตต์ |
การกำหนดพื้นที่เพื่อจัดตั้งโรงไฟฟ้าที่เกี่ยวข้อง |
2) การแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน กรณีเร่งรัดออกเอกสารสิทธิ์ที่ดินทำกินในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เช่น การจัดทำแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาที่ดินป่าสงวน
3) การพิจารณาให้ความช่วยเหลือด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืนกรณีครอบครัวนายอับดุลเลาะ อีซอมูซอ โดยให้ความช่วยเหลือเยียวยาเป็นจำนวนเงินรวมทั้งสิ้น 1,568,400 บาท
4) การแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายและอำนวยการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบสืบเนื่องจากสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทำหน้าที่พิจารณากำหนดนโยบายและแนวทางปฏิบัติเพื่อให้รัฐบาลตกลงใจในการให้ความช่วยเหลือเยียวยาทั้งระบบแก่ทุกฝ่ายที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นต้น รวมทั้งเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาใน 2 ประเด็นหลัก ได้แก่
1. กรอบแนวทางการพัฒนาเพื่อเสริมความมั่นคงผ่าน “โครงการตำบลมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” ของ ศอ.บต. เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนการสร้างความเข้มแข็งให้กับประชาชน หมู่บ้าน และตำบล โดยมี “สภาสันติสุขตำบล” เป็นกลไกในการบริหารราชการระดับตำบล ซึ่งนายอำเภอแต่งตั้ง ประกอบด้วย 5 ภาคส่วน ได้แก่ (1) ภาคส่วนราชการที่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ตำบล (2) ผู้ปกครองท้องที่ในตำบล (3) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (4) ผู้นำศาสนาทุกศาสนาในพื้นที่ตำบล และ (5) ภาคประชาชน โดยการดำเนินการของสภาฯ สรุปได้ ดังนี้
การดำเนินการของสภาสันติสุขตำบล ที่ได้รับการแต่งตั้งโดยนายอำเภอ |
|||
คณะกรรมการบริหาร งานตำบลแบบบูรณาการจัดทำแผนตำบล (ปลัดอำเภอเป็นประธาน) |
สภาฯ พิจารณาและให้ ข้อเสนอแนะ รวมทั้ง ข้อคิดเห็นต่าง ๆ เพื่อขับเคลื่อน การสร้างความเข้มแข็ง ให้กับประชาชน และหมู่บ้าน |
นายอำเภออนุมัติแผนตำบล รวมถึงกำกับดูแลโครงการและรายงานความก้าวหน้าต่อ ศอ.บต. |
คณะทำงานในการตรวจติดตามการดำเนินงานของสภาฯ ที่จัดตั้งโดย ศอ.บต. ดำเนินการตรวจสอบในเรื่องต่าง ๆ เช่น ผลการเบิกจ่ายเงินตามโครงการที่เกี่ยวข้อง |
โดยมีศูนย์ประสานงานโครงการตำบลมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน ทำหน้าที่กำกับดูแลการดำเนินงานระดับอำเภอและตำบล รวมถึงเสนอแนะและยับยั้งการดำเนินงานที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายหรือเสียหายอย่างร้ายแรง หรือกระทบต่อการดำเนินชีวิตวิถีชีวิตของประชาชนและกระทบต่อความมั่นคงของชาติ |
2. แผนการขับเคลื่อนการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษนราธิวาส ซึ่งเป็นแผนบริหารจัดการที่ดินสำหรับการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษนราธิวาสโดยการจัดซื้อที่ดินจากบริษัทเอกชนจำนวน 1,683 ไร่ ในพื้นที่อำเภอยี่งอ และอำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส เพื่อบริหารจัดการที่ดินดังกล่าวโดยได้มีการแบ่งพื้นที่เป็น 3 ส่วน ได้แก่
ส่วนที่ 1 ให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเช่า จำนวน 600 ไร่ ในพื้นที่ตำบลละหาร อำเภอยี่งอ เพื่อจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมตามอำนาจหน้าที่ของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ส่วนที่ 2 ให้เอกชนเช่า โดยกรมธนารักษ์เปิดประมูลเพื่อสรรหาผู้ลงทุนตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด เนื้อที่รวม 1,003 ไร่ ประกอบด้วย 1) พื้นที่ตำบลละหาร อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส จำนวน 454 ไร่ และ 2) พื้นที่ตำบลโคกเคียน อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส เนื้อที่ 548 ไร่
ส่วนที่ 3 เป็นพื้นที่สำหรับใช้ประโยชน์ของทางราชการ ในพื้นที่ตำบลละหาร อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส พื้นที่รวม 79 ไร่ เช่น ศูนย์ฝึกอบรมพัฒนาทักษะแรงงานเพื่อรองรับนิคมอุตสาหกรรมและการลงทุนและการพัฒนาและส่งเสริมนักธุรกิจรุ่นใหม่ยุค 4.0 เป็นต้น
โดยมอบหมายให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ เช่น 1) ศอ.บต. เป็นหน่วยงานจัดซื้อที่ดินเอกชน และให้แจ้งกรมธนารักษ์เพื่อดำเนินการขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุ 2) กรมธนารักษ์ ที่ดินขึ้นทะเบียนที่ราชพัสดุ และนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี 3) การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษนราธิวาส เป็นต้น
11. เรื่อง การยกระดับมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษจากฝุ่นละอองในช่วงสถานการณ์วิกฤต
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอการยกระดับมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษจากฝุ่นละอองในช่วงสถานการณ์วิกฤต และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป
สาระสำคัญ
1. สถานการณ์ฝุ่นละออง PM2.5 พบเกินมาตรฐานต่อเนื่องและมีปริมาณอยู่ในระดับที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน จึงต้องจำกัดจำนวนและลดการระบายมลพิษจากแหล่งกำเนิด ทั้งนี้ แหล่งกำเนิดในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลมาจากยานพาหนะโดยเฉพาะที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซล โรงงานอุตสาหกรรม การเผาในที่โล่ง จึงต้องยกระดับมาตรการให้เข้มงวดขึ้นเพื่อลดมลพิษที่ระบายออกสู่บรรยากาศ
2. การยกระดับมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษฝุ่นละอองในช่วงสถานการณ์วิกฤต
คณะกรรมการควบคุมมลพิษ ในการประชุมครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2563 มีมติให้ยกระดับมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษจากฝุ่นละออง PM2.5 ในสถานการณ์วิกฤต โดยให้หน่วยงานรับผิดชอบดำเนินการโดยเร่งด่วนดังนี้
1) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
(1) ออกข้อบังคับเพิ่มเติมเพื่อขยายเขตพื้นที่จำกัดรถบรรทุกตั้งแต่ 10 ล้อขึ้นไป ห้ามเดินรถเข้ามาในพื้นที่กรุงเทพมหานครจากวงแหวนรัชดาภิเษกขยายเป็นวงแหวนกาญจนาภิเษก
(2) ออกข้อบังคับหรือระเบียบตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 เพื่อห้ามรถบรรทุกตั้งแต่ 10 ล้อขึ้นไป เข้ามาในพื้นที่ชั้นในของกรุงเทพมหานครในวันคี่ ระหว่างเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ 2563 สำหรับวันคู่ให้เข้าได้ตามช่วงเวลาที่กำหนด
(3) ยกระดับความเข้มงวดในการตรวจสอบตรวจจับรถยนต์ควันดำอย่างเคร่งครัด
(4) ออกคำสั่งห้ามการใช้รถที่มีมลพิษเกินมาตรฐานที่กำหนดมาใช้ในทางเดินรถและออกกฎกระทรวงเพื่อตรวจรับรองรถยนต์ที่ได้ปรับปรุงแก้ไขตามคำสั่งแล้วตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522
2) กรมการขนส่งทางบก
(1) ตรวจวัดควันดำอย่างเข้มงวดกับรถโดยสาร (ไม่ประจำทาง) ทุกคัน โดยเพิ่มชุดตรวจเป็น 50 ชุดใน 50 เขต (บูรณาการร่วมกันระหว่างกรมการขนส่งทางบก กรมควบคุมมลพิษ และกรุงเทพมหานคร)
(2) ปฏิบัติการร่วมกับกองบังคับการตำรวจจราจรในการยกระดับความเข้มงวดการตรวจสอบตรวจจับรถควันดำสำหรับรถโดยสารและรถบรรทุกเพื่อการออกคำสั่งห้ามใช้รถ
3) กรมโรงงานอุตสาหกรรม
(1) ตรวจสอบโรงงานอุตสาหกรรมที่ทำให้เกิดฝุ่นละออง หากตรวจสอบแล้วไม่เป็นไปตามค่ามาตรฐานที่กำหนด ให้สั่งปรับปรุงแก้ไขภายในระยะเวลาที่กำหนดหรือสั่งหยุดการประกอบกิจการ
(2) ขอความร่วมมือโรงงานอุตสาหกรรมลดกำลังการผลิตในช่วงวิกฤตสถานการณ์ฝุ่นละออง และสนับสนุนแรงจูงใจ (Incentive) ให้กับโรงงานอุตสาหกรรมที่ให้ความร่วมมือ
4) กรุงเทพมหานคร
(1) แก้ไขปัญหาการจราจรจากการก่อสร้างรถไฟฟ้าเพื่อช่วยลดปัญหาฝุ่นละออง โดยกำกับให้ปฏิบัติตามมาตรการ 12 ข้ออย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ หากไม่ปฏิบัติตามให้ระงับการก่อสร้าง โดยมีมาตรการทั้ง 12 ข้อ ได้แก่
- การวางแนวแบริเออร์ ให้จัดวางให้ตรงตามแนวเส้นทางจราจร
- ช่องทางกลับรถคับแคบ ให้เปิดช่อง U-Turn ให้กว้าง เพื่อให้รถยนต์กลับรถได้สะดวกขึ้น
- ให้ขนย้ายกองดิน เศษหิน เศษปูนทรายออกจากพื้นที่ก่อสร้างในทันที
- เร่งแก้ไขผิวจราจรให้เรียบร้อย
- แนวก่อสร้างที่ยังไม่เริ่มก่อสร้าง แต่ได้วางแผงแบริเออร์ ให้เปิดช่องทางชั่วคราว
- ให้เร่งก่อสร้างงานฐานราก เพื่อแก้ไขปัญหาคอขวดที่สะพาน
- ให้จัดระเบียบรถบรรทุกในพื้นที่
- ปรับผิวจราจรให้เป็นช่องจราจรชั่วคราวเพิ่มขึ้น
- พื้นที่ที่ยังไม่ได้เริ่มก่อสร้าง แต่ปิดช่องจราจร ให้เปิดช่องจราจรเป็นครั้งคราวในพื้นที่
- การเปิดแนวแบริเออร์แล้วไม่ปิดให้เรียบร้อย ให้ปิดกั้นให้เรียบร้อยเพื่อความปลอดภัย
- ติดตั้งไฟฟ้าชั่วคราวตามแนวการก่อสร้าง
- ปิดกั้นพื้นที่ก่อสร้างและจัดทำทางสัญจรอย่างปลอดภัย
(2) ไม่ให้มีการเผาในที่โล่ง และบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดกับผู้กระทำการเผา
(5) จังหวัดต่าง ๆ (ยกเว้น 9 จังหวัดภาคเหนือ)
(1) ออกเทศบัญญัติหรือข้อบัญญัติท้องถิ่น ควบคุมการเผาขยะมูลฝอย หญ้า พืชไร่ พืชสวน ตอซังข้าว หรือสิ่งอื่นใด ไม่ว่าจะเป็นที่ดินของตนเองหรือที่สาธารณะในช่วงวิกฤตสถานการณ์ฝุ่นละออง
(2) เข้มงวดการควบคุมยานพาหนะ โรงงานอุตสาหกรรมการก่อสร้างต่าง ๆ
(6) ข้อเสนออื่น
(1) ขอความร่วมมือหน่วยงานภาคราชการ ภาคเอกชน ประชาชน ลดการใช้รถยนต์ส่วนตัวมาทำงาน
(2) รถยนต์ของส่วนราชการต้องผ่านมาตรฐานควันดำทุกคัน โดยกำหนดให้เป็นตัวชี้วัดของหัวหน้าส่วนราชการ
(3) ให้กระทรวงพลังงานพิจารณาสนับสนุนการลดราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีปริมาณกำมะถันไม่เกิน 10 ppm
(4) ขอความร่วมมือกระทรวงพลังงาน กระทรวงคมนาคม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ภาคเอกชน และภาครัฐที่เกี่ยวข้อง สนับสนุนการให้บริการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องสำหรับรถยนต์ดีเซลที่มีอายุเกิน 5 ปี
(5) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมกับหน่วยงานอื่นสร้างการรับรู้และความเข้าใจให้แก่ประชาชนเกี่ยวกับสถานการณ์ปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 โดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์วิกฤต
ต่างประเทศ
12. เรื่อง การนำเสนอพื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจานเป็นมรดกโลก
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบเอกสารเพิ่มเติม (Additional Information) การนำเสนอพื้นที่กลุ่ม ป่าแก่งกระจานเป็นมรดกโลก และมอบหมายให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดำเนินการจัดส่งเอกสารเพิ่มเติม (Additional Information) การนำเสนอพื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจานเป็นมรดกโลก ต่อศูนย์มรดกโลก ภายในวันที่ 31 มกราคม 2563 ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
เอกสารเพิ่มเติม (Additional Information) การนำเสนอพื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจานเพื่อเป็นมรดกโลก เป็นการจัดทำคำชี้แจงประเด็นต่าง ๆ และรายงานผลการดำเนินงานตามข้อมติคณะกรรมการมรดกโลก ในการประชุมสมัยสามัญ ครั้งที่ 43 เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน – 9 กรกฎาคม 2562 วาระการประชุม 8B.5 การพิจารณาการนำเสนอพื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจานเป็นมรดกโลก ที่มีมติให้ส่งกลับเอกสาร (Referral) ให้ดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ สรุป ดังนี้
1. ปรับปรุงแนวขอบเขตการนำเสนอแหล่งมรดกทางธรรมชาติ โดยอยู่บนพื้นฐานของข้อตกลงระหว่างรัฐภาคีราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา
ราชอาณาจักรไทยได้ดำเนินการปรับขอบเขตพื้นที่การนำเสนอฯ ตามบันทึกการหารือ (Agreed Minutes) ในการประชุมหารือร่วมกันของคณะเจ้าหน้าที่เทคนิคไทย – เมียนมา วันที่ 25 – 26 เมษายน 2562 ณ กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ กรุงเทพมหานคร และตามที่ได้หารือร่วมกันในระหว่าง การประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 43 ณ กรุงบากู สาธารณรัฐอาเซอร์ไบจาน โดยพื้นที่นำเสนอฯ มีขนาด 4,089.4 ตารางกิโลเมตร
2. เตรียมการและนำเสนอข้อมูลที่ปรับปรุงด้านการศึกษาเปรียบเทียบที่แสดงให้เห็นว่าการลดขนาดของพื้นที่การนำเสนอแหล่งเป็นมรดกโลกยังคงมีคุณค่าความโดดเด่นเพียงพอตรงตามหลักเกณฑ์ในข้อที่ 10 และยังคงแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยงของความครบถ้วนสมบูรณ์ การปกป้องคุ้มครองและแผนการบริหารจัดการ
ราชอาณาจักรไทยได้ดำเนินการวิเคราะห์เปรียบเทียบคุณค่าของพื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจานในเรื่องส่วนความหลากหลายทางชีวภาพของสังคมพืชและสัตว์ ความเหมาะสมของถิ่นอาศัยของสัตว์ป่า ความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่นำเสนอใหม่ และแผนการป้องกันและการบริหารจัดการพื้นที่ที่ยังคงดำเนินการครอบคลุมเต็มพื้นที่และเป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการจัดให้มีการลาดตระเวนเชิงคุณภาพ (Smart Patrol) และการติดตั้งกล้องดักถ่ายสัตว์ป่าในการป้องกันและรักษาทรัพยากรในพื้นที่
3. แสดงให้เห็นว่าข้อห่วงกังวลทั้งหมดได้รับการแก้ไขโดยการปรึกษาอย่างเต็มที่ร่วมกับชุมชนท้องถิ่น ตามเอกสารแนวทางการอนุวัตตามอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก ย่อหน้าที่ 123
ราชอาณาจักรไทยมีความพยายามอย่างต่อเนื่องในการแก้ไขปัญหาตามข้อห่วงกังวลของสำนักข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติที่ได้หยิบยกประเด็นเกี่ยวกับชุมชนท้องถิ่นในพื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจาน และการรับฟังความคิดเห็นและข้อห่วงกังวลของชุมชนต่อการนำเสนอพื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจานเป็นมรดกโลก โดยจัดให้มีการประชุมรับฟังความคิดเห็นของชุมชนในพ้นที่ และชี้แจงทำความเข้าใจและให้ข้อมูลเกี่ยวกับการประกาศพื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจานเป็นมรดกโลก ทั้งนี้ ในปี พ.ศ. 2562 – 2563 ได้จัดกิจกรรมดังกล่าวในชุมชน ที่ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติและพื้นที่ต่อเนื่อง จำนวน 52 หมู่บ้าน ทั้งชุมชนชาวไทยและชุมชนชาวกะเหรี่ยง – กะหร่าง โดยมีชาวบ้านจำนวน 1,947 ราย จาก 40 หมู่บ้าน ให้การสนับสนุนการขึ้นทะเบียนพื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจานเป็นมรดกโลก
4. สนับสนุนให้หารืออย่างต่อเนื่องระหว่างราชอาณาจักรไทยและองค์กรที่ปรึกษาและเสนอแนะให้เชิญสหภาพสากลว่าด้วยการอนุรักษ์ (IUCN) ในฐานะองค์กรที่ปรึกษาปฏิบัติภารกิจในการให้คำปรึกษาในการดำเนินการจัดเตรียมเอกสารข้อมูลเพิ่มเติมตามที่ร้องขอตามข้อมติ
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้มีหนังสือถึงผู้อำนวยการศูนย์มรดกโลก เพื่อเชิญผู้แทนจากสหภาพสากลว่าด้วยการอนุรักษ์ (IUCN) ในฐานะองค์กรที่ปรึกษาทางธรรมชาติของคณะกรรมการมรดกโลกตรวจเยี่ยมพื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจาน และอยู่ระหว่างรอการตอบรับคำเชิญ
5. สนับสนุนให้รัฐภาคีสมาชิกไทยและเมียนมาดำเนินงานร่วมกันในการเชื่อมต่อแนวระบบนิเวศ และร่วมมือด้านการอนุรักษ์ระหว่างแหล่งที่อยู่ระหว่างการนำเสนอเป็นแหล่งมรดกโลก และพื้นที่อนุรักษ์ในฝั่งเมียนมา
ราชอาณาจักรไทยมีความพร้อมและยินดีที่จะร่วมกับเมียนมา เพื่อร่วมกันจัดทำเอกสารนำเสนอพื้นที่คุ้มครองข้ามพรมแดน เพื่อขอขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกข้ามพรมแดน (Trans boundary) ร่วมกัน
13. เรื่อง ขอความเห็นชอบร่างถ้อยแถลงร่วมของการประชุมรัฐมนตรีกลุ่มเครนส์ ครั้งที่ 41
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการต่อร่างถ้อยแถลงร่วมของการประชุมรัฐมนตรีกลุ่มเครนส์ ครั้งที่ 41 ทั้งนี้ หากมีการปรับปรุงแก้ไขเอกสารดังกล่าวที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้กระทรวงพาณิชย์ดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก รวมทั้งอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเข้าร่วมรับรองร่างถ้อยแถลงร่วมของการประชุมรัฐมนตรีกลุ่มเครนส์ ครั้งที่ 41 ตามที่กระทรวงพาณิชย์ เสนอ
สาระสำคัญของร่างถ้อยแถลงร่วมของการประชุมรัฐมนตรีกลุ่มเครนส์ ครั้งที่ 41 เน้นย้ำความสำคัญของการหาข้อสรุปการเจรจาเกษตรภายในการประชุมรัฐมนตรีองค์การการค้าโลก ครั้งที่ 12 ( Ministerial Conference: MC12) เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของ Article 20 ของความตกลงเกษตร โดยให้ความสำคัญกับเรื่องการอุดหนุนภายในมากที่สุด และผลักดันการหารือให้มีความคืบหน้าเพื่อนำไปสู่การเจรจาเรื่องการเปิดตลาดและประเด็นคงค้างในเรื่องการแข่งขันด้านการส่งออกต่อไป สรุป ดังนี้
1. สมาชิกกลุ่มเครนส์ให้ความสำคัญกับการจำกัดและลดการอุดหนุนภายในสินค้าเกษตรที่สมาชิก (World Trade Organization: WTO) ผูกพันไว้ เนื่องจากพบว่า มูลค่าโดยรวมของการอุดหนุนภายในที่ก่อให้เกิดการบิดเบือนการค้าของสมาชิก WTO ทุกประเทศเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และอาจมีมูลค่าสูงถึง 2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี 2573 อย่างไรก็ดีเมื่อพิจารณาที่มาของตัวเลขดังกล่าว พบว่า มูลค่าการอุดหนุนภายในที่บิดเบือนการค้า ส่วนใหญ่กระทำโดยสมาชิก WTO เพียงไม่กี่ประเทศ
2. สมาชิกกลุ่มเครนส์ผลักดันให้มีการเจรจาเพื่อลดมูลค่าการอุดหนุนภายในที่บิดเบือนการค้าโดยรวมที่สมาชิก WTO ทุกประเทศผูกพันไว้ อย่างน้อยร้อยละ 50 ภายในปี 2573 ซึ่งการลดดังกล่าวจะต้องครอบคลุมการอุดหนุนภายในที่บิดเบือนการค้าทุกประเภท
3. การลดมูลค่าการอุดหนุนภายในที่บิดเบือนการค้าโดยรวมที่สมาชิก WTO ทุกประเทศผูกพันไว้จะเป็นไปตามสัดส่วนของวงเงินการอุดหนุนภายในที่สมาชิก WTO แต่ละประเทศมีสิทธิ์ใช้และผลกระทบต่อตลาดโลก โดยคำนึงถึงความจำเป็นในการพัฒนาประเทศของสมาชิก WTO ด้วย
4. สมาชิกกลุ่มเครนส์ตระหนักถึงความสำคัญของระบบการค้าพหุภาคี และการปฏิรูปการค้าสินค้าเกษตรจะต้องสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนา
ทั้งนี้ การประชุมรัฐมนตรีกลุ่มเครนส์ (Cairns Group Ministerial Meeting: CGMM) ครั้งที่ 41 จะมีขึ้นในวันที่ 23 มกราคม 2563 ณ เมืองดาวอส สมาพันธรัฐสวิส
แต่งตั้ง
14. เรื่อง การแต่งตั้งโฆษกกระทรวงศึกษาธิการและรองโฆษกกระทรวงศึกษาธิการ
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอการแต่งตั้งโฆษก ศธ. และรองโฆษก ศธ. ตามคำสั่ง ศธ. ที่ สป 1176/2562 เรื่อง แต่งตั้งโฆษก ศธ. และรองโฆษก ศธ. สั่ง ณ วันที่ 6 ธันวาคม 2562 ดังนี้
1. นายประเสริฐ บุญเรือง ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นโฆษก ศธ.
2. นางรักขณา ตัณฑวุฑโฒ รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นรองโฆษก ศธ.
15. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี ให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ราย ตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม 2562 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ดังนี้
1. นางสาวธำรงลักษณ์ ลาพินี ผู้อำนวยการกองกฎหมายปกครอง สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ดำรงตำแหน่ง กรรมการร่างกฎหมายประจำ (นักกฎหมายกฤษฎีกาทรงคุณวุฒิ) สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
2. นางชื่นสุมน นิวาทวงษ์ ผู้อำนวยการกองกฎหมายการบริหารราชการแผ่นดิน สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ดำรงตำแหน่ง กรรมการร่างกฎหมายประจำ (นักกฎหมายกฤษฎีกาทรงคุณวุฒิ) สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
3. นายวิชิต จรัสสุขสวัสดิ์ ผู้อำนวยการกองกฎหมายการพาณิชย์และอุตสาหกรรม สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ดำรงตำแหน่ง กรรมการร่างกฎหมายประจำ (นักกฎหมายกฤษฎีกาทรงคุณวุฒิ) สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
16. เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการเจรจาการค้าและการลงทุน
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 19/2563 เรื่อง คณะกรรมการขับเคลื่อนการเจรจาการค้าและการลงทุน
เพื่อให้การขับเคลื่อนแผนการลงทุนของประเทศ ทั้งในส่วนของการลงทุนภาครัฐและรัฐวิสาหกิจในช่วงปี พ.ศ. 2563 – 2564 และกำหนดแนวทางหรือมาตรการด้านการเจรจาการค้าระหว่างประเทศด้านการคลัง ด้านการส่งเสริมการลงทุน รวมทั้งมาตรการด้านการร่วมทุน และมาตรการในการเชิญชวนภาคเอกชนเข้าร่วมลงทุนในโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐและรัฐวิสาหกิจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11 (6) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 จึงให้แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการเจรจาการค้าและการลงทุน โดยมีองค์ประกอบ หน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้
1.1 รองนายกรัฐมนตรี ที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย ประธานกรรมการ
1.2 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รองประธานกรรมการ
1.3 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กรรมการ
1.4 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กรรมการ
1.5 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กรรมการ
1.6 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานกรรมการ
1.7 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมกรรมการ
1.8 รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง กรรมการ
(นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล)
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีอาจแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิตามที่เห็นสมควรเป็นกรรมการก็ได้
1.1 กำกับและเร่งรัดการขับเคลื่อนแผนการลงทุนของประเทศ ทั้งในส่วนของการ
ลงทุนภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ ในช่วงปี พ.ศ. 2563 – 2561 ให้แล้วเสร็จตามห้วงเวลาที่กำหนด รวมทั้งกำหนดมาตรการกำกับและเร่งรัดการขับเคลื่อน
1.2 กำหนดแนวทางหรือมาตรการด้านการเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ด้านการคลัง
ด้านการส่งเสริมการลงทุน รวมทั้งมาตรการด้านการร่วมทุน และมาตรการในการเชิญชวนภาคเอกชนเข้าร่วมลงทุนในโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐและรัฐวิสาหกิจต่อนายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรี รวมทั้งให้ข้อเสนอแนะเพื่อประกอบการสั่งการให้หน่วยงานของรัฐและคณะกรรมการดำเนินการต่อไป
1.3 จัดทำโครงการและมาตรการด้านการเงินการคลัง พร้อมทั้งแผนปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจระยะเร่งด่วนเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ
1.4 รายงานผลความก้าวหน้าและปัญหาอุปสรรคการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้นายกรัฐมนตรีทราบอย่างสม่ำเสมอหรือมีเหตุอันควร
1.5 เชิญเจ้าหน้าที่ของรัฐ คณะกรรมการ และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงให้ข้อมูลและแสดงความคิดเห็นตามความจำเป็นหรือตามที่คณะกรรมการเห็นควร
1.6 แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงาน เพื่อช่วยปฏิบัติงานของคณะกรรมการได้ตามความจำเป็น
1.7 ดำเนินการอื่นใดตามที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
สำหรับการเบิกจ่ายเบี้ยประชุมหรือค่าใช้จ่ายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงาน ที่แต่งตั้งตามคำสั่งนี้ ให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. 2547 หรือตามระเบียบทางราชการ แล้วแต่กรณี โดยให้เบิกจ่ายจากงบประมาณของสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี