พม่าอ้างกรรมสิทธิ
ยึด3เกาะ
น่านน้ำอันดามัน
ห้ามไทยเข้าไปจุ้น
หอค้าระนองห่วง
เกิดเหตุบานปลาย
จี้ทางการรีบเคลียร์
พ.ต.แพ๊ตทูซ่า ประธานคณะกรรมการชายแดนส่วนท้องถิ่นเมียนมาร์-ไทย ด้าน จ.เกาะสอง-ระนอง หรือทีบีซี ได้แจ้งคณะกรรมการชายแดนส่วนท้องถิ่นของ จ.ระนอง ระหว่างการประชุมคณะกรรมการชายแดนส่วนท้องถิ่น ว่า ห้ามฝ่ายไทยหรือประชาชนไทยเข้าไปทำประโยชน์หรือ ในพื้นที่เกาะที่ยังเป็นปัญหา 3 เกาะ คือ เกาะหลาม เกาะคัน และเกาะขี้นก เนื่องจากทางฝ่ายพม่าได้อ้างว่ามีการตรวจสอบแผนที่ของอังกฤษที่จัดทำเกี่ยวกับแผนที่น่านน้ำทะเลอันดามันเมื่อปี ค.ศ.1939 พบว่าเกาะทั้ง 3เกาะ อยู่ในน่านน้ำของเมียนมาร์ ดังนั้นจึงแจ้งให้ฝ่ายไทยรับทราบ
นายนิตย์ อุ่ยเต็กเค่ง ที่ปรึกษาคณะกรรมการหอการค้า จ.ระนอง เปิดเผยว่า ทางองค์กรภาคเอกชนจังหวัดระนอง กำลังหวั่นวิตกต่อกรณีปัญหาเขตพื้นที่ทับซ้อนตามแนวชายแดนไทย-พม่า ด้านจังหวัดระนอง ซึ่งมีอยู่เกือบตลอดแนวพรมแดน ส่งผลให้เกิดกรณีปัญหาราษฏรไทยเข้าไปบุกรุกในพื้นที่ที่ทับซ้อนจนเกิดปัญหาหลายครั้ง รวมถึงปัญหาเกาะแก่งหลายเกาะที่ทั้งสองประเทศยังหาข้อสรุปร่วมกันไม่ได้ ส่งผลให้เกิดปัญหาระหว่างกันเช่นกัน หากยังไม่มีการแก้ไขปัญหากรณีเขตพื้นที่ทับซ้อนที่มีอยู่หลายจุดเชื่อว่าในอนาคตจะกลายเป็นชนวนปัญหานำมาซึ่งความขัดแข้งเช่นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในแนวพรมแดนด้านประเทศกัมพูชาขณะนี้ โดยที่ผ่านมามีหลายเหตุการณ์ที่ทั้งฝ่ายไทย และฝ่ายพม่าเกิดการรุกล้ำ จนมีการประท้วงผ่านที่ประชุม ทีบีซี (TBC) อยากเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้หาทางคลี่คลายในเรื่องนี้
ด้านปัญหาชายแดนไทยกัมพูชาที่ นายนพดล ปัทมะ อดีตรมว.ต่างประเทศ ตกเป็นจำเลยของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เพราะถูก ปปช.ฟ้องข้อหาละเล้นการปฎิบัติหน้าที่ในกรณีที่ไปลงนามในแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา สนับสนุนให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารแต่ฝ่ายเดียว
โดยนายนพดล ได้เปิดแถลงข่าวอีกรอบว่า เชื่อว่าศาลจะให้ความยุติธรรม ซึ่งในวันที่ 5 ก.ค.นี้ ศาลได้เรียกตนไปสอบคำให้การ และยืนยันต่อศาลว่าปฏิบัติหน้าที่โดยชอบไม่ได้ละเว้น การปฏิบัติหน้าที่ และไม่มีเจตนาทำให้เกิดความเสียหายกับใคร
นอกจากนี้ ตนจะพูดถึงความเป็นมาของมาตรา190 ว่ามีข้อบกพร่องเพียงใด เพราะมาตราดังกล่าวคลุมเครือไม่ชัดเจน เต็มไปด้วยหลุมพราง และมาตรา 190 ก็มีการแก้ไขในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และตนก็ปฏิบัติตามที่ข้าราชการแนะนำมา และจะต่อสู้ว่าคำแถลงการณ์ร่วมเป็นประโยชน์ต่อประเทศอย่างไร ส่วนกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่าการลงนามในแถลงการณ์ร่วมฯจะต้องขอความเห็นชอบจากรัฐสภามาเป็นแนวทางการพิจารณาด้วยนั้น ตนคิดว่าถ้าศาลฎีกาฯจะหยิบยกขึ้นมาก็คงจะพิจารณาว่าเป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 190 หรือไม่ ซึ่งีงตนจะต่อสู้ว่าศาลรัฐธรรมนูญไปเติมคำว่า "อาจมีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขต"
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี