(ต่อจากอาทิตย์ที่แล้ว)
2) ผู้ที่จะได้รับพระราชทานเหรียญจักรมาลาต้อง (มาตรา 6)
(1) เป็นข้าราชการที่มียศทหารหรือตำรวจตลอดจนว่าที่ยศนั้น
(2) ต้องเป็นผู้รับราชการประจำการหรือในกองประจำการ
(3) ต้องมีเวลาราชการรวมกันเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 15 ปี
(4) เวลาราชการให้นับตั้งแต่อายุครบ 18 ปีบริบูรณ์หรือ ตั้งแต่วันที่ทะเบียนกองประจำการตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร แล้วแต่กรณี
6.ส่วนเหรียญจักรพรรดิมาลา (มาตรา 7) มีลักษณะเป็นเหรียญเงินกลมรูปจักร
- ด้านหน้า มีรูปครุฑพ่าห์อยู่ในวงจักร
- ด้านหลัง มีรูปช้างอยู่ในวงจักร จารึกอักษรโดยรอบว่า “บำเหน็จแห่งความยั่งยืนและมั่นคงในราชการ”
- เบื้องบน เหรียญมีเครื่องหมายพระวชิราวุธห้อยกับแพรแถบกว้าง 3 เซนติเมตรสีแดงขอบสีเหลืองกับสีเขียว
- ประดับที่อกเสื้อเบื้องซ้าย (ผู้ชาย) สำหรับพระราชทานสตรีใช้ห้อยกับแพรแถบผูกเป็นรูปแมลงปอประดับที่หน้าบ่าซ้าย
ผู้ที่จะได้รับพระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา (มาตรา 8) ต้อง
1) เป็นข้าราชการฝ่ายพลเรือน
2) เป็นผู้รับราชการมาด้วยความสงบเรียบร้อย เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 25 ปี
3) เวลาราชการให้นับโดยคำนวณเวลาราชการทั้งหมดของผู้นั้น รวมกันแต่ถ้าผู้นั้นเข้ารับราชการก่อนอายุครบ 18 ปีบริบูรณ์ ก็ให้เริ่มนับตั้งแต่วันอายุครบ 18 ปีบริบูรณ์เป็นต้นไป
7. กรณีพิเศษ หากข้าราชการรายใดรับราชการเป็นทหารและตำรวจรวมเวลาราชการด้วยกันแล้วไม่น้อยกว่า 25 ปี หากไม่เข้าเกณฑ์ที่จะได้รับพระราชทานเหรียญจักรมาลาตามมาตรา 6 ก็ให้ได้รับพระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลาตามมาตรา 8 (มาตรา 9)
8.ผู้ซึ่งได้รับพระราชทานเหรียญแต่ละประเภท จะได้รับประกาศนียบัตร ทรงลงพระปรมาภิไธย และประทับพระราชลัญจกร (มาตรา 10)
9.การพระราชทานเหรียญทั้งสองประเภท เป็นการพระราชทานให้เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ได้รับพระราชทาน เมื่อผู้ได้รับพระราชทานวายชนม์ให้ทายาทโดยธรรมรักษาไว้เป็นที่ระลึก แต่ถ้าผู้ได้รับพระราชทานหรือทายาทโดยธรรมแล้วแต่กรณี ประพฤติตนไม่สมเกียรติ อาจทรงเรียกคืนได้ถ้าส่งคืนไม่ได้ด้วยประการใดๆ ภายในกำหนด30 วันจะต้องใช้ราคาเหรียญนั้น (คงจะต้องนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการเรียกคืนนะ) (มาตรา 11)
10. เหรียญทั้งสองประเภทดังกล่าว จะพระราชทานให้แก่ผู้ควรได้รับเพียงประเภทใดประเภทหนึ่งเท่านั้น (มาตรา 12)
11. ผู้ซึ่งได้รับพระราชทานเหรียญจักรมาลา หรือเหรียญจักรพรรดิมาลาอยู่ก่อน (ตามพระราชบัญญัติเดิม (มาตรา 3))มีสิทธิ์และหน้าที่ตามพระราชบัญญัติใหม่(พ.ศ.2484) ทุกประการ (มาตรา 13)
12. เมื่อบอกกล่าวเกี่ยวกับเหรียญทั้ง 2 ประเภทตามพระราชบัญญัติเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา พุทธศักราช 2484 และที่แก้ไขเพิ่มเติมแล้ว ก็มาถึงการเสนอขอพระราชทานเหรียญทั้งสองประเภทดังกล่าวทางส่วนราชการเจ้าสังกัดจะต้องปฏิบัติประการใดบ้าง ตรงนี้ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้เคยกำหนดแนวทางปฏิบัติมาเป็นเวลานาน และมีการปรับปรุงแนวทางมาเป็นระยะๆ จนกระทั่งพ.ศ.2561 ตามหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ นร 0508/ว(ท)2509 ลงวันที่ 30 มีนาคม 2561
13. แนวทางปฏิบัติในการเสนอขอพระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา โดยทางปฏิบัติที่ผ่านมา การเสนอขอพระราชทานเหรียญทั้งสองประเภทมักจะมีปัญหาเกี่ยวกับคุณสมบัติของข้าราชการหรือพนักงานไม่ครบถ้วน เช่น ระยะเวลารับราชการไม่ครบหรือมิได้รับราชการมาด้วยความเรียบร้อยตลอดจนส่วนราชการหลายแห่งมีปัญหาเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้สมควรได้รับการเสนอขอพระราชทานจนต้องหารือมายังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ซึ่งทางราชการก็ได้กำหนดแนวทางปฏิบัติและซักซ้อมความเข้าใจมาโดยตลอด
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี