วันนี้ (15 กุมภาพันธ์ 2565) เวลา 09.00 น. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้
กฎหมาย
1. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมสำหรับการประกอบกิจการเกี่ยวกับสินค้าเกษตร พ.ศ. ….
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมสำหรับการประกอบกิจการเกี่ยวกับสินค้าเกษตร พ.ศ. …. ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงที่ กษ. เสนอ เป็นการยกเว้นค่าธรรมเนียมการออกใบแทนใบอนุญาตเป็นผู้ผลิต ผู้ส่งออก หรือผู้นำเข้าสินค้าเกษตรตามมาตรฐานบังคับ และผู้ประกอบการตรวจสอบมาตรฐาน และการต่ออายุใบอนุญาตเป็นผู้ผลิต ผู้ส่งออก หรือผู้นำเข้าสินค้าเกษตรตามมาตรฐานบังคับเฉพาะกรณีบุคคลธรรมดาให้แก่ ผู้ประกอบกิจการดังกล่าว รวมทั้งกำหนดค่าธรรมเนียมสำหรับประกอบกิจการเกี่ยวกับสินค้าเกษตร เพื่อให้การจัดเก็บค่าธรรมเนียมสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน และลดภาระของผู้ประกอบกิจการสินค้าเกษตร
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
1. กำหนดค่าธรรมเนียมสำหรับการประกอบกิจการเกี่ยวกับสินค้าเกษตร ดังนี้
รายการ |
อัตราค่าธรรมเนียม (ฉบับ/บาท) |
|
1. ใบอนุญาตตามมาตรา 20 (ก) บุคคลธรรมดา (ข) นิติบุคคล |
100 1,000 |
อัตราเดิม อัตราเดิม อัตราเดิม อัตราเดิม |
2. ใบอนุญาตตามมาตรา 33 |
5,000 |
|
3. การต่ออายุใบอนุญาตตามมาตรา 20 (กรณีนิติบุคคล) หรือใบอนุญาตตามมาตรา 33 |
กึ่งหนึ่งของค่าธรรมเนียมใบอนุญาตนั้น |
2. กำหนดยกเว้นค่าธรรมเนียมการออกใบแทนใบอนุญาตเป็นผู้ผลิต ผู้ส่งออก หรือผู้นำเข้าสินค้าเกษตรตามมาตรฐานบังคับ และผู้ประกอบการตรวจสอบมาตรฐาน และการต่ออายุใบอนุญาตเป็นผู้ผลิต ส่งออก หรือผู้นำเข้าสินค้าเกษตรตามมาตรฐานบังคับเฉพาะ กรณีบุคคลธรรมดาให้แก่ผู้ประกอบกิจการดังกล่าว
รายการ |
อัตราค่าธรรมเนียม (ฉบับ/บาท) |
|
เดิม |
ปรับปรุง |
|
1. ใบแทนใบอนุญาตตามมาตรา 20 |
50 |
ยกเว้น ยกเว้น ยกเว้น
|
2. ใบแทนใบอนุญาตตามมาตรา 33 |
50 |
|
3. การต่ออายุใบอนุญาตตามมาตรา 20 (กรณีบุคคลธรรมดา) |
กึ่งหนึ่งของค่าธรรมเนียมใบอนุญาตนั้น |
2. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ และส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
มท. เสนอว่า
1. โดยที่ได้มีข้อบังคับสภาวิศวกรว่าด้วยการออกใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ประเภทนิติบุคคล (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2564 ได้แก้ไขเพิ่มเติมอายุใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ประเภทนิติบุคคล จากเดิม 1 ปี เป็น 3 ปี เพื่อให้อายุใบอนุญาตดังกล่าวมีความเหมาะสมกับระยะเวลาอายุใบอนุญาต และเป็นการลดภาระการยื่นคำขอใบอนุญาตฯ ของนิติบุคคล ที่แต่เดิมผู้ประกอบการต้องยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นประจำทุกปี และหากต่ออายุไม่ทันภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวจะส่งผลกระทบและความเสียหายต่อการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมของนิติบุคคลนั้น
2. มท. จึงเห็นสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม พ.ศ. 2544 เพื่อแก้ไขอัตราค่าธรรมเนียมค่าใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมและอัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมที่ขอต่ออายุใบอนุญาตก่อนใบอนุญาตหมดอายุ และหลังจากใบอนุญาตหมดอายุ ประเภทนิติบุคคล ให้มีความสอดคล้องกับข้อบังคับสภาวิศวกรฯ ตามข้อ 1.
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
แก้ไขอัตราค่าธรรมเนียมค่าใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม และอัตราค่าธรรมเนียมค่าใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมที่ขอต่ออายุใบอนุญาตก่อนใบอนุญาตหมดอายุและหลังจากใบอนุญาตหมดอายุ ประเภทนิติบุคคล ตามกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม พ.ศ. 2544 ดังนี้
รายการ |
อัตราค่าธรรมเนียมท้าย พ.ร.บ. (ฉบับ/บาท) |
อัตราค่าธรรมเนียมตามกฎกระทรวง (ฉบับ/บาท) |
|
เดิม |
ปรับปรุง |
||
1. ค่าใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ประเภทนิติบุคคล |
100,000 |
10,000 |
16,000 |
2. ค่าต่ออายุใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมที่ขอต่ออายุใบอนุญาตก่อนใบอนุญาตหมดอายุ ประเภทนิติบุคคล |
30,000 |
3,000 |
9,000 |
3. ค่าต่ออายุใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมที่ขอต่ออายุใบอนุญาตหลังใบอนุญาตหมดอายุ ประเภทนิติบุคคล |
50,000 |
5,000 |
11,000 |
3. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน และแขวงบางบอนใต้ เขตบางบอน กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ….
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน และแขวงบางบอนใต้ เขตบางบอน กรุงเทพมหานคร พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้ มท. รับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปถือปฏิบัติโดยเคร่งครัดต่อไป และรับความเห็นของกระทรวงคมนาคมและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
ทั้งนี้ ร่างพระราชกฤษฎีกาที่ มท. เสนอ เป็นการกำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน และแขวงบางบอนใต้ เขตบางบอน กรุงเทพมหานคร เพื่อดำเนินโครงการขยายคลองและก่อสร้างเขื่อนคอนกรีตเสริมเหล็กคลองลุงหน่าง ช่วงทางรถไฟสายวงเวียนใหญ่ถึงมหาชัยและถึงคลองบางบอน เพื่อสร้างระบบป้องกันน้ำท่วมและระบบระบายน้ำอันเป็นกิจการเพื่อประโยชน์สาธารณะ อันเป็นการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังเป็นเวลานาน และช่วยให้การระบายน้ำหลากผ่านพื้นที่ไปยังโครงการแก้มลิงคลองมหาชัย – คลองสนามชัย อันเนื่องมาจากพระราชดำริได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้งเพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีสิทธิเข้าไปสำรวจเพื่อให้ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องได้มาโดยแน่ชัดภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกา โดยสำนักงบประมาณแจ้งว่าร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว ใช้จ่ายจากงบประมาณของกรุงเทพมหานคร ซึ่งกรุงเทพมหานครได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่โครงการแล้ว
สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
กำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน และแขวงบางบอนใต้ เขตบางบอน กรุงเทพมหานคร เพื่อดำเนินโครงการขยายคลองและก่อสร้างเขื่อนคอนกรีตเสริมเหล็กคลองลุงหน่าง ช่วงทางรถไฟสายวงเวียนใหญ่ถึงมหาชัยและถึงคลองบางบอน เพื่อสร้างระบบป้องกันน้ำท่วมและระบบระบายน้ำอันเป็นกิจการเพื่อประโยชน์สาธารณะ มีกำหนดใช้บังคับ 4 ปี โดยเริ่มต้นเข้าสำรวจที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ภายในแนวเขตที่ดินที่จะเวนคืน ภายใน 180 วันนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ
4. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงยกเลิกการกำหนดเขตทะเลชายฝั่ง พ.ศ. …. และร่างกฎกระทรวงกำหนดเขตทะเลชายฝั่ง แยกเป็นรายจังหวัด 23 จังหวัด รวมทั้งสิ้น 24 ฉบับ
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการ 1. ร่างกฎกระทรวงยกเลิกการกำหนดเขตทะเลชายฝั่ง พ.ศ. …. 2. ร่างกฎกระทรวงกำหนดเขตทะเลชายฝั่ง แยกเป็นรายจังหวัด 23 จังหวัด
รวม 24 ฉบับ ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้ กษ. รับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงคมนาคม สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
สาระสำคัญของกฎกระทรวง
1. ร่างกฎกระทรวงยกเลิกการกำหนดเขตทะเลชายฝั่ง พ.ศ. …. เป็นการยกเลิกกฎกระทรวงกำหนดเขตทะเลชายฝั่ง พ.ศ. 2560 กฎกระทรวงกำหนดเขตทะเลชายฝั่ง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2563 และกฎกระทรวงกำหนดเขตทะเลชายฝั่ง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2563
2. ร่างกฎกระทรวงกำหนดเขตทะเลชายฝั่ง แยกเป็นรายจังหวัด 23 จังหวัด
2.1 กำหนดเขตทะเลชายฝั่งของจังหวัดกระบี่ จังหวัดชลบุรี จังหวัดตรัง จังหวัดตราด จังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต จังหวัดระนอง จังหวัดสตูล จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดจันทบุรี จังหวัดระยอง จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดกรุงเทพมหานคร จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสงคราม จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดชุมพร จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดสงขลา จังหวัดปัตตานี และจังหวัดนราธิวาส รวม 23 จังหวัด ดังนี้
ลำดับ |
รายชื่อร่างกฎกระทรวงกำหนดเขตทะเลชายฝั่งในบริเวณจังหวัดต่าง ๆ |
สาระสำคัญ |
1 |
ตราด |
กำหนดให้ จ.ตราด มีเขตทะเลชายฝั่ง ดังต่อไปนี้ 1) ระยะ 3 – 6.5 ไมล์ทะเล นับจากแนวชายฝั่งทะเลที่น้ำทะเลจรดแผ่นดินบริเวณชายฝั่ง 2) ระยะ 3 – 6.5 ไมล์ทะเล นับจากแนวชายฝั่งทะเลที่น้ำทะเลจรดแผ่นดินบริเวณชายเกาะ |
2 |
จันทบุรี |
กำหนดให้ จ.จันทบุรี มีเขตทะเลชายฝั่งระยะ 3 – 10.4 ไมล์ทะเลนับจากแนวชายฝั่งทะเลที่น้ำทะเลจรดแผ่นดินบริเวณชายฝั่ง |
3 |
ระยอง |
กำหนดให้ จ.ระยอง มีเขตทะเลชายฝั่งระยะ 3 – 10.8 ไมล์ทะเลนับจากแนวชายฝั่งทะเลที่น้ำทะเลจรดแผ่นดินบริเวณชายฝั่ง |
4 |
ชลบุรี |
กำหนดให้ จ.ชลบุรี มีเขตทะเลชายฝั่ง ดังต่อไปนี้ 1) ระยะ 2.7 – 9.6 ไมล์ทะเล นับจากแนวชายฝั่งทะเลที่น้ำทะเลจรดแผ่นดินบริเวณชายฝั่ง 2) ระยะ 1.6 – 2.4 ไมล์ทะเล นับจากแนวชายฝั่งทะเลที่น้ำทะเลจรดแผ่นดินบริเวณชายเกาะ |
5 |
ฉะเชิงเทรา |
กำหนดให้ จ.ชลบุรี มีเขตทะเลชายฝั่งระยะ 3 – 3.9 ไมล์ทะเล นับจากแนวชายฝั่งทะเลที่น้ำทะเลจรดแผ่นดินบริเวณชายฝั่ง |
6 |
สมุทรปราการ |
กำหนดให้ จ.สมุทรปราการ มีเขตทะเลชายฝั่งระยะ 1.5 – 2.8 ไมล์ทะเล นับจากแนวชายฝั่งทะเลที่น้ำทะเลจรดแผ่นดินบริเวณชายฝั่ง |
7 |
กรุงเทพมหานคร |
กำหนดให้กรุงเทพมหานคร มีเขตทะเลชายฝั่งระยะ 3 – 3.1 ไมล์ทะเล นับจากแนวชายฝั่งทะเลที่น้ำทะเลจรดแผ่นดินบริเวณชายฝั่ง |
8 |
สมุทรสาคร |
กำหนดให้ จ.สมุทรสาคร มีเขตทะเลชายฝั่งระยะ 3 – 3.2 ไมล์ทะเล นับจากแนวชายฝั่งทะเลที่น้ำทะเลจรดแผ่นดินบริเวณชายฝั่ง |
9 |
สมุทรสงคราม |
กำหนดให้ จ.สมุทรสงคราม มีเขตทะเลชายฝั่งระยะ 3 – 3.2 ไมล์ทะเล นับจากแนวชายฝั่งทะเลที่น้ำทะเลจรดแผ่นดินบริเวณชายฝั่ง |
10 |
เพชรบุรี |
กำหนดให้ จ.เพชรบุรี มีเขตทะเลชายฝั่งระยะ 3 – 3.7 ไมล์ทะเล นับจากแนวชายฝั่งทะเลที่น้ำทะเลจรดแผ่นดินบริเวณชายฝั่ง |
11 |
ประจวบคีรีขันธ์ |
กำหนดให้ จ.ประจวบคีรีขันธ์ มีเขตทะเลชายฝั่ง ดังต่อไปนี้ 1) ระยะ 3 – 5.5 ไมล์ทะเล นับจากแนวชายฝั่งทะเลที่น้ำทะเลจรดแผ่นดินบริเวณชายฝั่ง 2) ระยะ 1.5 – 2 ไมล์ทะเล นับจากแนวชายฝั่งทะเลที่น้ำทะเลจรดแผ่นดินบริเวณชายเกาะ |
12 |
ชุมพร |
กำหนดให้ จ.ชุมพร มีเขตทะเลชายฝั่ง ดังต่อไปนี้ 1) ระยะ 1.5 – 5 ไมล์ทะเล นับจากแนวชายฝั่งทะเลที่น้ำทะเลจรดแผ่นดินบริเวณชายฝั่ง 2) ระยะ 1.6 – 2.5 ไมล์ทะเล นับจากแนวชายฝั่งทะเลที่น้ำทะเลจรดแผ่นดินบริเวณชายเกาะ |
13 |
สุราษฎร์ธานี |
กำหนดให้ จ.สุราษฎร์ธานี มีเขตทะเลชายฝั่ง ดังต่อไปนี้ 1) ระยะ 3 – 7.2 ไมล์ทะเล นับจากแนวชายฝั่งทะเลที่น้ำทะเลจรดแผ่นดินบริเวณชายฝั่ง 2) ระยะ 1.5 – 4.3 ไมล์ทะเล นับจากแนวชายฝั่งทะเลที่น้ำทะเลจรดแผ่นดินบริเวณชายเกาะ |
14 |
นครศรีธรรมราช |
กำหนดให้ จ.นครศรีธรรมราช มีเขตทะเลชายฝั่ง ดังต่อไปนี้ 1) ระยะ 1.5 – 4.2 ไมล์ทะเล นับจากแนวชายฝั่งทะเลที่น้ำทะเลจรดแผ่นดินบริเวณชายฝั่ง 2) ระยะ 1.6 – 2.3 ไมล์ทะเล นับจากแนวชายฝั่งทะเลที่น้ำทะเลจรดแผ่นดินบริเวณชายเกาะ |
15 |
สงขลา |
กำหนดให้ จ.สงขลา มีเขตทะเลชายฝั่งระยะ 3 – 5.4 ไมล์ทะเล นับจากแนวชายฝั่งทะเลที่น้ำทะเลจรดแผ่นดินบริเวณชายฝั่ง |
16 |
ปัตตานี |
กำหนดให้ จ.ปัตตานี มีเขตทะเลชายฝั่ง ดังต่อไปนี้ 1) ระยะ 3 – 6.8 ไมล์ทะเล นับจากแนวชายฝั่งทะเลที่น้ำทะเลจรดแผ่นดินบริเวณชายฝั่ง 2) ระยะ 4.2 – 4.5 ไมล์ทะเล นับจากแนวชายฝั่งทะเลที่น้ำทะเลจรดแผ่นดินบริเวณชายเกาะ |
17 |
นราธิวาส |
กำหนดให้ จ.นราธิวาส มีเขตทะเลชายฝั่งระยะ 3 – 3.2 ไมล์ทะเล นับจากแนวชายฝั่งทะเลที่น้ำทะเลจรดแผ่นดินบริเวณชายฝั่ง |
18 |
ระนอง |
กำหนดให้ จ.ระนอง มีเขตทะเลชายฝั่ง ดังต่อไปนี้ 1) ระยะ 3 – 6.2 ไมล์ทะเล นับจากแนวชายฝั่งทะเลที่น้ำทะเลจรดแผ่นดินบริเวณชายฝั่ง 2) ระยะ 1.5 – 2.7 ไมล์ทะเล นับจากแนวชายฝั่งทะเลที่น้ำทะเลจรดแผ่นดินบริเวณชายเกาะ |
19 |
พังงา |
กำหนดให้ จ.ปัตตานี มีเขตทะเลชายฝั่ง ดังต่อไปนี้ 1) ระยะ 3 – 3.6 ไมล์ทะเล นับจากแนวชายฝั่งทะเลที่น้ำทะเลจรดแผ่นดินบริเวณชายฝั่ง 2) ระยะ 1.5 – 3 ไมล์ทะเล นับจากแนวชายฝั่งทะเลที่น้ำทะเลจรดแผ่นดินบริเวณชายเกาะ |
20 |
ภูเก็ต |
กำหนดให้เขตทะเลชายฝั่งของ จ.ภูเก็ต มีระยะ 1.5 – 2.6 ไมล์ทะเล นับจากแนวชายฝั่งทะเลจรดแผ่นดินบริเวณชายเกาะ |
21 |
กระบี่ |
กำหนดให้ จ.กระบี่ มีเขตทะเลชายฝั่ง ดังต่อไปนี้ 1) ระยะ 2.5 – 3.7 ไมล์ทะเล นับจากแนวชายฝั่งทะเลที่น้ำทะเลจรดแผ่นดินบริเวณชายฝั่ง 2) ระยะ 1.5 – 4.4 ไมล์ทะเล นับจากแนวชายฝั่งทะเลที่น้ำทะเลจรดแผ่นดินบริเวณชายเกาะ |
22 |
ตรัง |
กำหนดให้ จ.ตรัง มีเขตทะเลชายฝั่ง ดังต่อไปนี้ 1) ระยะ 3 – 3.9 ไมล์ทะเล นับจากแนวชายฝั่งทะเลที่น้ำทะเลจรดแผ่นดินบริเวณชายฝั่ง 2) ระยะ 1.6 – 3.1 ไมล์ทะเล นับจากแนวชายฝั่งทะเลที่น้ำทะเลจรดแผ่นดินบริเวณชายเกาะ |
23 |
สตูล |
กำหนดให้ จ.สตูล มีเขตทะเลชายฝั่ง ดังต่อไปนี้ 1) ระยะ 3 – 5.5 ไมล์ทะเล นับจากแนวชายฝั่งทะเลที่น้ำทะเลจรดแผ่นดินบริเวณชายฝั่ง 2) ระยะ 1.5 – 8.2 ไมล์ทะเล นับจากแนวชายฝั่งทะเลที่น้ำทะเลจรดแผ่นดินบริเวณชายเกาะ |
5. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง มาตรการคุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในพื้นที่เกาะราชาใหญ่ และเกาะราชาน้อย ตำบลราไวย์ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต พ.ศ. ….
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง มาตรการคุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในพื้นที่เกาะราชาใหญ่ และเกาะราชาน้อย ตำบลราไวย์ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของกระทรวงกลาโหม และกระทรวงพลังงานไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้ ทส. รับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงคมนาคม กระทรวงพลังงาน สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
ทั้งนี้ ร่างประกาศที่ ทส. เสนอ เป็นการกำหนดเขตพื้นที่ให้ใช้มาตรการคุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในพื้นที่เกาะราชาใหญ่ และเกาะราชาน้อย ตำบลราไวย์ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต เพื่อเป็นการสงวน คุ้มครอง อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และจัดระบบการใช้ประโยชน์ที่ยั่งยืน อันเพื่อประโยชน์หรือสร้างความสมบูรณ์ของระบบนิเวศ เช่น บริเวณที่ 1 ได้แก่ พื้นที่แผ่นดินทั้งหมดและชายหาด ห้ามเททิ้งขยะ ห้ามทำการก่อสร้าง บริเวณที่ 2 ได้แก่ พื้นที่แนวปะการังธรรมชาติ ห้ามเททิ้งขยะ ทิ้งสมอเรือ ห้ามจอดเรือ บริเวณที่ 3 ได้แก่ พื้นที่ทะเลถัดจากบริเวณแนวปะการังธรรมชาติ ห้ามเททิ้งขยะ ห้ามจอดเรือ เป็นต้น ซึ่งคณะกรรมการนโยบายและแผนการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติได้เห็นชอบด้วยแล้ว และ ทส. ได้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขร่างประกาศฉบับนี้ในส่วนของพื้นที่ให้ใช้มาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมที่มีพื้นที่ทับซ้อนกับกฎหมายอื่นและการใช้มาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมตามข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว
สาระสำคัญของร่างประกาศ
เป็นการกำหนดเขตพื้นที่ให้ใช้มาตรการคุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในพื้นที่เกาะราชาใหญ่ และเกาะราชาน้อย ตำบลราไวย์ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ตเป็นเขตพื้นที่ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเพื่อเป็นการสงวน คุ้มครอง อนุรักษ์ และจัดระบบการใช้ประโยชน์ที่ยั่งยืน รวมทั้งการสร้างความสมบูรณ์ของระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่ง ดังนี้
1. กำหนดนิยามคำว่า “แนวชายฝั่งทะเล” “ชายหาด” “บริเวณแนวปะการัง” “กิจกรรมท่องเที่ยวดำน้ำ” “ผู้ประกอบกิจกรรมท่องเที่ยวดำน้ำ” และ “อธิบดี”
2. กำหนดให้บริเวณหมู่เกาะราชาใหญ่ และเกาะราชาน้อย ตำบลราไวย์ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต และพื้นที่ทะเลรอบเกาะดังกล่าวภายในแนวเขตตามแผนที่แนบท้ายประกาศหมายเลข 1/3 หมายเลข 2/3 และหมายเลข 3/3 เป็นพื้นที่ให้ใช้มาตรการคุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
3. กำหนดให้บริเวณหมู่เกาะราชาใหญ่ และเกาะราชาน้อย ตำบลราไวย์ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต และพื้นที่ทะเลรอบเกาะดังกล่าวให้จำแนกพื้นที่ออกเป็น 3 บริเวณ ดังต่อไปนี้
(1) บริเวณที่ 1 ได้แก่ พื้นที่บนแผ่นดินนับจากแนวชายฝั่งทะเลเข้าไปในแผ่นดินทั้งหมด รวมถึงชายหาดของเกาะราชาใหญ่ และเกาะราชาน้อย
(2) บริเวณที่ 2 ได้แก่ พื้นที่ตั้งแต่แนวชายฝั่งทะเลลงมาจนถึงแนวปะการังธรรมชาติและบริเวณต่อเนื่อง
(3) บริวเวณที่ 3 ได้แก่ พื้นที่ทะเลถัดจากบริเวณที่ 2 ออกไปภายในบริเวณเส้นตรงที่เชื่อมต่อจุดพิกัดดังนี้
(ก) จุดที่ 1 ละติจูด 7 ํ 38 ่ 38.1012" เหนือลองจิจูด 98 ํ 16 ่ 28.834" ตะวันออก
(ข) จุดที่ 2 ละติจูด 7 ํ 38 ่ 38.8464" เหนือลองจิจูด 98 ํ 24 ่ 38.408" ตะวันออก
(ค) จุดที่ 3 ละติจูด 7 ํ 25 ่ 04.0476" เหนือลองจิจูด 98 ํ 16 ่ 38.187" ตะวันออก
(ง) จุดที่ 4 ละติจูด 7 ํ 25 ่ 04.7712" เหนือลองจิจูด 98 ํ 24 ่ 39.506" ตะวันออก
4. กำหนดให้ภายในพื้นที่บริเวณหมู่เกาะราชาใหญ่ และเกาะราชาน้อย ตำบลราไวย์ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต และพื้นที่ทะเลรอบเกาะดังกล่าวห้ามกระทำการดังต่อไปนี้
4.1 ภายในบริเวณที่ 1 ถึง บริเวณที่ 3 ห้ามทิ้งขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูล น้ำเสีย มลสาร หรือวัตถุอันตรายอื่นใด ตลอดจนส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมของชายหาด แนวปะการัง ซากปะการัง กัลปังหา หรือสัตว์น้ำในแนวปะการัง
4.2 ภายในบริเวณที่ 1 ห้ามการดำเนินการใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่บนชายหาด เช่น การก่อสร้าง การใช้ประโยชน์ เว้นแต่การดำเนินการของหน่วยงานราชการเพื่อประโยชน์สาธารณะ ทั้งนี้ ต้องแจ้งให้อธิบดีทราบล่วงหน้าก่อนเริ่มดำเนินการไม่น้อยกว่า 30 วัน และห้ามการก่อให้เกิดตะกอนลงสู่แนวปะการังอันส่งผลกระทบให้เกิดความเสียหายต่อปะการัง
4.3 ภายในบริเวณที่ 2 ห้ามทิ้งสมอ การท่องเที่ยวดำน้ำด้วยการเดิน หรือลอยตัวอยู่ใต้ทะเลโดยใช้เครื่องช่วยหายใจอยู่บนผิวน้ำ หรือใช้เครื่องยนต์ช่วยในการเคลื่อนที่ใต้น้ำ (สกู๊ตเตอร์ใต้น้ำ) เจ็ทสกี เรือลากร่ม เรือลากกล้วยที่มีผลกระทบกับบริเวณแนวปะการัง เว้นแต่ในบริเวณที่อธิบดีประกาศกำหนด ห้ามการจับ เก็บ ขัง ล่อปลา ให้อาหารปลา หรือครอบครองสัตว์น้ำเพื่อให้นักท่องเที่ยวดู ห้ามทำประมงทุกชนิด เว้นแต่การทำประมงที่อธิบดีประกาศกำหนด ห้ามสร้างสิ่งปลูกสร้างใด ๆ เว้นแต่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
5. กำหนดให้การนำเรือเข้าออกและการจอดเรือในบริเวณที่ 2 และบริเวณที่ 3 จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการดังนี้ (1) การจอดเรือเทียบทุ่น หรือสะพานท่าเทียบเรือ หรือบริเวณโป๊ะจอดเรือจะต้องจอด เพื่อรับส่งผู้โดยสารห้ามจอดถาวร จอดในจุดหรือบริเวณที่กำหนด และต้องไม่ทำให้เกิดความเสียหายหรือก่อให้เกิดความชำรุด แก่ ทุ่น ท่าเทียบเรือ หรือโป๊ะจอดเรือ (2) การนำเรือเข้าออกต้องไม่ก่อให้เกิดความเสียหายหรือเป็นอันตรายต่อแนวปะการัง ซากปะการัง กัลปังหา และสัตว์น้ำในแนวปะการัง และเป็นไปตามเส้นทางการนำเรือเข้าออกที่อธิบดีประกาศกำหนด ตลอดจนเรือท่องเที่ยวที่จะเข้าไปในบริเวณดังกล่าวต้องจดแจ้งการขอเข้าไปในพื้นที่กับเจ้าหน้าที่หน่วยงานของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากอธิบดี และผู้ที่ทำหน้าที่ควบคุมเรือ นายท้ายเรือ หรือกัปตันเรือท่องเที่ยวจะต้องมีใบรับรองผ่านการฝึกอบรมการควบคุมเรือท่องเที่ยวของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
6. กำหนดให้การประกอบกิจกรรมท่องเที่ยวดำน้ำในบริเวณแนวปะการังต้องปฏิบัติตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกรณีมีความจำเป็นต้องกำหนดจำนวนนักท่องเที่ยวหรือจำนวนเรือท่องเที่ยวที่เข้าไปใช้จุดดำน้ำแต่ละแห่งสามารถดำเนินการได้โดยเป็นอำนาจของอธิบดี ผู้ประกอบการท่องเที่ยวดำน้ำหรือกิจกรรมเรือนำเที่ยวที่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขและดำเนินการอยู่ก่อนประกาศนี้มีผลบังคับใช้จะต้องขออนุญาตหรือจดแจ้งกับหน่วยงานของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลบังคับใช้
7. กำหนดให้เพื่อการศึกษาและวิจัยทางวิชาการ เพื่อการดำเนินการหรือกิจกรรมใดเพื่อประโยชน์ทางวิชาการซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชาโดยแจ้งให้อธิบดีทราบล่วงหน้าก่อนเริ่มดำเนินการไม่น้อยกว่า 30 วันพร้อมยื่นแบบแผนดำเนินการหรือโครงการศึกษาและวิจัยทางวิชาการประกอบด้วย
8. กำหนดให้กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งดำเนินการ (1) กำหนดพื้นที่บริเวณที่ 2 ให้จัดทำเครื่องหมายแสดงขอบเขตพื้นที่ให้ชัดเจนให้แล้วเสร็จภายใน 90 วันนับแต่ประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้ (2) กำหนดพื้นที่ดำเนินกิจกรรมท่องเที่ยวดำน้ำ กำหนดพื้นที่จอดเรือ กำหนดพื้นที่เข้าออกของเรือ หรือพื้นที่อื่นใด กำหนดรูปแบบทุ่นจอดเรือ ทุ่นแสดงแนวเขตให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน นับแต่ประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้ และ (3) จัดทำแผนการบริหารจัดการ กำกับ ติดตามผลการดำเนินงานตามมาตรการจัดทำรายงานและข้อเสนอแนะในการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในพื้นที่เสนอต่อคณะกรรมการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งจังหวัดภูเก็ต และคณะกรรมการนโยบายและแผนบริหารจัดการทรัพยากรทะเลและชายฝั่งแห่งชาติปีละ 1 ครั้ง
6. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงระบบการป้องกันและควบคุมโรคระบาด (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงระบบการป้องกันและควบคุมโรคระบาด (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของกระทรวงสาธารณสุขไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
ทั้งนี้ สธ. เสนอว่า
1. โดยที่พระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 มาตรา 7 บัญญัติให้เจ้าของสัตว์ ได้แก่ (1) ช้าง ม้า โค กระบือ แพะ แกะ กวาง สุกร หมูป่า (2) สุนัข แมว (3) นก ไก่ เป็ด ห่าน และ (4) สัตว์ชนิดอื่นตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด ปฏิบัติตามระบบการป้องกันและควบคุมโรคระบาด เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและควบคุมโรคระบาด ทั้งนี้ ระบบการป้องกันและควบคุมโรคระบาด ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง และให้คำนึงถึงความเหมาะสมเกี่ยวกับสภาพของสัตว์ และวัตถุประสงค์ของการเลี้ยงสัตว์แต่ละชนิด และมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว บัญญัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจกำหนดกิจการอื่นเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้ กษ. จึงได้ออกกฎกระทรวงระบบการป้องกันและควบคุมโรคระบาด พ.ศ. 2561 มีสาระสำคัญเพื่อกำหนดระบบป้องกันและควบคุมโรคระบาดให้มีความเหมาะสมเกี่ยวกับสภาพของสัตว์และวัตถุประสงค์ของการเลี้ยงสัตว์แต่ละชนิด เพื่อให้เจ้าของสัตว์ปฏิบัติตามระบบการป้องกันและควบคุมโรคระบาด
2. ต่อมาได้มีประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดสัตว์ชนิดอื่นตามมาตรา 7 (4) แห่งพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 พ.ศ. 2563 กำหนดให้ “ม้าลาย” เป็นสัตว์ชนิดอื่นตามมาตรา 7 (4) แห่งพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 อันส่งผลให้เจ้าของม้าลายต้องปฏิบัติตามระบบการป้องกันและควบคุมโรคระบาดตามกฎกระทรวงระบบการป้องกันและควบคุมโรคระบาด พ.ศ. 2561 ด้วย เพื่อลดการสูญเสียจากปัญหาการเกิดโรคระบาดในม้าลาย ลดภาระค่าใช้จ่ายจากการรักษาสัตว์ป่วยของเกษตรกร จึงควรต้องกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการให้เจ้าของม้าลายปฏิบัติตามระบบการป้องกันและควบคุมโรค การดูแลสุขภาพม้าลายขั้นพื้นฐาน การจัดให้มีการป้องกันโรคด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
กำหนดให้เจ้าของม้าลายดำเนินการตามระบบการป้องกันโรคระบาดและระบบการควบคุมโรคระบาดในม้าลาย ดังนี้
1. ดำเนินการดูแลสุขภาพสัตว์โดยการถ่ายพยาธิสัตว์ ให้วัคซีนป้องกันโรค การทดสอบโรค และการจดบันทึกข้อมูลการให้วัคซีน การตรวจ และการรักษาโรค
2. ดำเนินการให้มีการป้องกันโรคด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ โดยจัดให้มีคอกหรือโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสม ทำความสะอาด และทำลายเชื้อโรคในคอกหรือโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่างเหมาะสม เก็บอาหารให้สะอาด สามารถป้องกันพาหะ
3. ในกรณีที่มีโรคระบาดในสถานที่หรือบริเวณที่ใช้เลี้ยงสัตว์ หรือพื้นที่ใกล้เคียง ให้เจ้าของสัตว์ดำเนินการตามระบบการควบคุมโรคระบาดจนกว่าโรคจะสงบและสัตวแพทย์มีคำสั่งเป็นอย่างอื่น โดยต้องจัดให้สัตว์อยู่ในคอกหรือโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ มีอาหารและน้ำอย่างเพียงพอ ห้ามยานพาหนะ หรือบุคคลภายนอกเข้าไปในคอกหรือโรงเรือนเลี้ยงสัตว์โดยเด็ดขาด เว้นแต่เข้าไปเพื่อควบคุมโรค
7. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงออกตามความในประมวลกฎหมายยาเสพติดและพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2564 รวม 3 ฉบับ
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการ
1. ร่างกฎกระทรวงการตรวจสอบทรัพย์สินและการแจ้งสิทธิ การยื่นคำร้องขอผ่อนผัน การยึดหรืออายัด การประเมินราคาทรัพย์สินที่ยึดหรืออายัดไว้ และการขอรับทรัพย์สินคืน และการคืนทรัพย์สิน พ.ศ. ….
2. ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการดำเนินการเพื่อประโยชน์ในการบำบัดรักษาของเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. หรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ พ.ศ. ....
3. ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการขออนุมัติ การอนุมัติ และการรายงานการแจ้งข้อหาในความผิดฐานสมคบ และสนับสนุนช่วยเหลือตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2564 พ.ศ. ....
รวม 3 ฉบับ ตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของกระทรวงมหาดไทย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานศาลยุติธรรม และสำนักงานอัยการสูงสุดไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้ ยธ. รับความเห็นของสำนักงานตำรวจแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวง รวม 3 ฉบับ ที่ ยธ. เสนอ เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการตรวจสอบทรัพย์สินและการแจ้งสิทธิ การยื่นคำร้องขอผ่อนผัน การยึดหรืออายัด การประเมินราคาทรัพย์สินที่ยึดหรืออายัดไว้ และการขอรับทรัพย์สินคืนและการคืนทรัพย์สิน การดำเนินการกับบุคคลผู้มีพฤติการณ์อันควรสงสัยว่ากระทำความผิดฐานเสพ หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดเพื่อเสพ และกำหนดตำแหน่งหรือระดับของเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. หรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ที่จะมีหน้าที่และอำนาจดำเนินการในเรื่องดังกล่าว และการขออนุมัติ การอนุมัติ และการรายงาน การแจ้งข้อหาในความผิดฐานสมคบ และสนับสนุนช่วยเหลือ ซึ่งเป็นการออกกฎกระทรวงตามประมวลกฎหมายยาเสพติดและพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2564 ทั้งนี้ เพื่อให้กฎหมายแม่บทมีผลใช้บังคับได้โดยสมบูรณ์และสามารถปฏิบัติให้เกิดผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
1. ร่างกฎกระทรวงการตรวจสอบทรัพย์สินและการแจ้งสิทธิ การยื่นคำร้องขอผ่อนผัน การยึดหรืออายัด การประเมินราคาทรัพย์สินที่ยึดหรืออายัดไว้ และการขอรับทรัพย์สินคืน และการคืนทรัพย์สิน พ.ศ. .... มีสาระสำคัญ ดังนี้
1.1 กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการตรวจสอบทรัพย์สิน ในกรณีมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่า ทรัพย์สินอาจมีการโอน ยักย้าย ซุกซ่อน เจ้าพนักงาน ป.ป.ส. อาจร้องขอให้คณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินสั่งยึดหรืออายัดทรัพย์สินไว้ชั่วคราว และในกรณีปรากฏว่า ทรัพย์สินเป็นของบุคคลอื่นหรือบุคคลอื่นอาจอ้างตัวเป็นเจ้าของทรัพย์สินนั้นให้แจ้งบุคคลดังกล่าวทราบถึงการตรวจสอบทรัพย์สินนั้น โดยในระหว่างที่ยังไม่มีคำสั่งยึดหรืออายัดทรัพย์สิน เจ้าของทรัพย์สินอาจไปแสดงตัวต่อเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. เพื่อขอรับทรัพย์สินคืนได้
1.2 กำหนดให้ผู้ถูกตรวจสอบทรัพย์สินหรือผู้ซึ่งอ้างว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินอาจยื่นคำร้องขอผ่อนผันเพื่อขอรับทรัพย์สินดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ในเวลาใด ๆ ก็ได้ ก่อนที่จะมีคำสั่งให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินนั้น การผ่อนผันให้นำทรัพย์สินไปใช้ประโยชน์โดยไม่มีประกันนั้น เมื่อผู้ได้รับอนุญาตได้ทำสัญญารับมอบทรัพย์ไปใช้ประโยชน์แล้ว ให้ส่งมอบทรัพย์สินนั้นแก่ผู้ได้รับอนุญาตการผ่อนผันให้นำทรัพย์สินไปใช้ประโยชน์โดยมีหลักประกันนั้น เมื่อผู้ได้รับอนุญาตได้ทำสัญญารับมอบทรัพย์สินไปใช้ประโยชน์พร้อมทั้งส่งมอบหลักประกันแก่สำนักงานแล้วให้ส่งมอบทรัพย์สินนั้นแก่ผู้ได้รับอนุญาต
1.3 เมื่อคณะกรรมการหรือเลขาธิการมีคำสั่งให้ยึดอสังหาริมทรัพย์ใดแล้วให้เจ้าพนักงาน ป.ป.ส. มีหนังสือแจ้งให้เจ้าพนักงานที่ดินหรือเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจหน้าที่ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์นั้นทราบโดยเร็ว ให้หน่วยงานที่มีหน้าที่แจ้งผลการอายัดบัญชี หรือหุ้นหรือทรัพย์สินที่กฎหมายกำหนดให้ดำเนินการทางทะเบียนมายังคณะกรรมการหรือเลขาธิการทราบโดยเร็ว
1.4 กำหนดให้ก่อนทำการยึดทรัพย์สิน ให้เจ้าพนักงาน ป.ป.ส. แสดงเอกสารการมอบหมาย และคำสั่งยึดทรัพย์สินต่อผู้ถูกตรวจสอบหรือเจ้าของทรัพย์สินถ้าไม่พบตัวผู้นั้นก็ให้แสดงต่อบุคคลผู้ครอบครอง หรือบุคคลในครอบครัวของผู้ครอบครองทรัพย์สิน หากไม่พบตัวบุคคลใด ๆ ณ ที่ทำการยึดนั้น ก็ให้ดำเนินการยึด โดยให้มีเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือพนักงานฝ่ายปกครองในท้องที่นั้นมาร่วมเป็นพยานด้วย
1.5 กำหนดให้เจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ดำเนินการยึดทรัพย์สินได้ทุกวันในระหว่างเวลากลางวัน เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าหากไม่ได้ดำเนินการในทันทีทรัพย์สินนั้นจะสูญหายหรือถูกยักย้าย ก็ให้มีอำนาจดำเนินการยึดในเวลากลางคืนได้ กรณียึดสังหาริมทรัพย์ที่มีทะเบียนกรรมสิทธิ์ เช่น เรือกำปั่น หรือเรือที่มีระวางตั้งแต่หกตันขึ้นไป เรือกลไฟ หรือเรือยนต์ที่มีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป แพคนอยู่อาศัย เครื่องจักร อากาศยาน ยานพาหนะ อาวุธปืน ให้แจ้งการยึดไปยังนายทะเบียนแห่งทรัพย์สินนั้นและให้นายทะเบียนบันทึกการยึดนั้นไว้และคำสั่งอายัดนั้น อาจออกได้ไม่ว่าหนี้ของบุคคลภายนอกนั้นจะมีข้อโต้แย้ง ข้อจำกัดหรือเงื่อนไข หรือว่าได้กำหนดจำนวนไว้แน่นอนหรือไม่
1.6 เมื่อมีการยึดหรืออายัดทรัพย์สินรายใดแล้ว ให้เจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ผู้ได้รับมอบหมายดำเนินการประเมินราคาทรัพย์สินดังกล่าวโดยเร็ว และในการประเมินราคาทรัพย์สินบางประเภท เจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ผู้ได้รับมอบหมายอาจขอความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญหรือผู้มีความรู้เชี่ยวชาญ เพื่อตรวจสอบประเภท ชนิด และประเมินราคาทรัพย์สินนั้นได้
1.7 ในกรณีที่ต้องคืนทรัพย์สิน ให้สำนักงานมีหนังสือแจ้งให้ผู้ซึ่งมีสิทธิได้รับทรัพย์สินนั้น คืนตามที่อยู่ครั้งหลังสุดของผู้นั้นเท่าที่ปรากฏในสำนวนการสอบสวนทราบเพื่อมารับทรัพย์สินดังกล่าวคืนไป เว้นแต่ทรัพย์สินนั้นจะมีผู้มายื่นคำร้องขอคืนไว้แล้ว และให้ผู้ซึ่งอ้างว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สิน อาจยื่นคำร้องต่อเลขาธิการเพื่อขอรับทรัพย์สินของตนคืนในเวลาใด ๆ ก็ได้ ก่อนที่คณะกรรมการจะมีคำสั่งให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินนั้น
2. ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการดำเนินการเพื่อประโยชน์ในการบำบัดรักษาของเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. หรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญ ดังนี้
2.1 กำหนดตำแหน่งหรือระดับของเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. หรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจที่จะมีหน้าที่และอำนาจดำเนินการในเรื่องดังกล่าว เช่น ผู้ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวงมหาดไทย ผู้ตรวจราชการกรมการปกครอง
2.2 กำหนดให้การตรวจหรือค้นผู้มีพฤติการณ์อันควรสงสัยว่าเสพยาเสพติดในเคหสถาน สถานที่ใด ๆ หรือยานพาหนะ ให้มีการแสดงบัตรประจำตัวหรือบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐต่อบุคคลที่เกี่ยวข้องทุกครั้ง และรายงานผลการปฏิบัติหน้าที่ตามที่กำหนด
2.3 ในกรณีเจ้าพนักงานพบผู้มีพฤติการณ์อันควรสงสัยว่ากระทำความผิดฐานมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดเพื่อเสพและสมัครใจเข้ารับการบำบัดรักษา มีสิ่งของต้องสงสัยว่าเป็นยาเสพติดให้เจ้าพนักงานผู้ยึดรีบนำยาเสพติดส่งพนักงานสอบสวนเพื่อการเก็บรักษาและการทำลาย
2.4 กำหนดขั้นตอนการเตรียมการ การตรวจหรือทดสอบสารเสพติดในปัสสาวะและเกณฑ์การตัดสินผลการตรวจพิสูจน์ว่าเป็นผู้มีสารเสพติดอยู่ในร่างกาย
2.5 กำหนดขั้นตอนการดำเนินการกรณีให้ผู้ต้องสงสัยอยู่ในความดูแลเป็นการชั่วคราวไม่เกิน 24 ชั่วโมง เพื่อตรวจสอบข้อมูลและสอบถามความสมัครใจเข้ารับการบำบัดรักษา ก่อนส่งตัวไปสถานพยาบาลยาเสพติดหรือศูนย์คัดกรองในกรณีสมัครใจหรือบันทึกพฤติการณ์เพื่อส่งไปยังพนักงานสอบสวนในกรณีที่ไม่เข้าเงื่อนไขการเข้ารับการบำบัดรักษา
3. ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการขออนุมัติ การอนุมัติ และการรายงานการแจ้งข้อหาในความผิดฐานสมคบ และสนับสนุนช่วยเหลือตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2564 พ.ศ. .... มีสาระสำคัญ ดังนี้
3.1 กำหนดให้หัวหน้าพนักงานสอบสวน เป็นผู้มีอำนาจยื่นคำขออนุมัติแจ้งข้อหาแก่ผู้กระทำความผิดตามมาตรา 125 หรือมาตรา 127 แห่งประมวลกฎหมายยาเสพติด ต่อเลขาธิการ ป.ป.ส. และให้อัยการจังหวัดเป็นผู้มีอำนาจอนุมัติแจ้งข้อหาแก่ผู้กระทำความผิดเพิ่มเติม โดยกำหนดให้มีเอกสารหลักฐานประกอบคำขออนุมัติแจ้งข้อหาแก่ผู้กระทำความผิด เช่น รายงานการสืบสวนพฤติการณ์สำคัญ พยานหลักฐานที่ยืนยันการกระทำความผิด
3.2 กำหนดให้เลขาธิการ ป.ป.ส. มีอำนาจเรียกบุคคลใดมาให้ถ้อยคำหรือส่งพยานหลักฐานเพิ่มเติม หรือให้แต่งตั้งบุคคลหรือคณะบุคคลทำหน้าที่กลั่นกรองพยานหลักฐานในคำขออนุมัติแจ้งข้อหา มีอำนาจเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมให้แต่งตั้งบุคคลหรือคณะบุคคลทำหน้าที่กลั่นกรองพยานหลักฐานในคำขออนุมัติแจ้งข้อหา
3.3 กำหนดให้เลขาธิการ ป.ป.ส. หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายพิจารณาคำขออนุมัติแจ้งข้อหาให้แล้วเสร็จภายในห้าวันทำการ นับแต่วันที่ได้รับคำขอ เว้นแต่มีเหตุจำเป็นจะขยายเวลาออกไปอีกได้ไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินห้าวันทำการ แล้วให้พนักงานสอบสวนรีบดำเนินการตามที่ได้รับอนุมัติ แล้วรายงานการแจ้งข้อหาให้เลขาธิการ ป.ป.ส. หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายทราบโดยเร็ว แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินสามวันนับแต่วันที่ได้ดำเนินการตามที่ได้รับอนุมัตินั้น ในกรณีได้รับอนุมัติให้แจ้งข้อหาจากพนักงานอัยการ ให้พนักงานสอบสวนรายงานการแจ้งข้อหาพร้อมทั้งส่งสำเนาสำนวนคดีดังกล่าว ให้เลขาธิการ ป.ป.ส. หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายทราบทันที ทั้งนี้ การรายงานข้อมูลหรือหลักฐานเกี่ยวกับทรัพย์สิน ให้กระทำได้ทุกขณะที่ได้รับข้อมูลหรือหลักฐาน
8. เรื่อง ร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง ตามที่สำนักนายกรัฐมนตรี (นร.) โดยสำนักงานราชบัณฑิตยสภาเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา โดยให้รับข้อสังเกตของกระทรวงการต่างประเทศไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
ทั้งนี้ นร. โดยสำนักงานราชบัณฑิตยสภาเสนอว่า
1. สำนักงานราชบัณฑิตยสภา (ชื่อเดิม ราชบัณฑิตยสถาน) โดยคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมชื่อภูมิศาสตร์สากลได้ปรับปรุงการเขียนชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ปัจจุบัน และเสนอคณะรัฐมนตรีจัดทำประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเพิ่มเติม แต่ปัจจุบันมีชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวงเปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง สถานะ และเขตการปกครองบางประเทศหรือบางเขตการปกครองได้ย้ายที่ตั้งและเปลี่ยนชื่อเมืองหลวง ประกอบกับสำนักงานราชบัณฑิตยสภาได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาต่างประเทศและมีการประกาศใช้หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาต่างประเทศเพิ่มเติม
2. สำนักงานราชบัณฑิตยสภาโดยคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมชื่อภูมิศาสตร์สากลได้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขการกำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง ให้ถูกต้องและชัดเจนโดยมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขาวิชาจากกระทรวงการต่างประเทศร่วมพิจารณาด้วย เพื่อให้ส่วนราชการนำการกำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวงดังกล่าวไปใช้ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันและสอดคล้องกับสภาพการณ์ปัจจุบัน จึงได้เสนอร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง มาเพื่อดำเนินการ
สาระสำคัญของร่างประกาศ
ยกเลิกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดนเขตการปกครอง และเมืองหลวง ลงวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 และให้ใช้ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง ลงวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2564 รายละเอียดดังนี้
ปรับปรุงแก้ไขการกำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง เช่น
ประกาศราชบัณฑิตยสถานฯ พ.ศ. 2544 |
ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภาฯ พ.ศ. 2564 |
หมายเหตุ |
||
ประเทศ |
เมืองหลวง |
ประเทศ |
เมืองหลวง |
|
Malaysia มาเลเซีย |
Kuala Lumpur กัวลาลัมเปอร์ |
Malaysia มาเลเซีย |
Kuala Lumpur กัวลาลัมเปอร์,กัวลาลุมปูร์ |
เพิ่มชื่อเมืองหลวงตามหลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษามลายู |
Thailand : Kingdom of Thailand ไทย : ราชอาณาจักรไทย |
Krung Thep Maha Nakhon; Bangkok กรุงเทพมหานคร |
Thailand : Kingdom of Thailand ไทย : ราชอาณาจักรไทย |
Krung Thep Maha Nakhon; (Bangkok) กรุงเทพมหานคร |
แก้ไขชื่อเมืองหลวงโดยเก็บชื่อเดิมไว้ในวงเล็บ |
Italy : Republic of Italy อิตาลี : สาธารณรัฐอิตาลี |
Rome โรม |
Italy : Italian Republic อิตาลี : สาธารณรัฐ อิตาลี |
Rome, Roma โรม,โรมา |
แก้ไขชื่อประเทศที่เป็นทางการตามที่ใช้ในปัจจุบันและเพิ่มชื่อเมืองหลวงตามการออกเสียง |
Myanmar : Union of Myanmar พม่า : สหภาพพม่า |
Yangon ย่างกุ้ง
|
Myanmar : Republic of the Union of Myanmar เมียนมา, พม่า : สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา |
Nay Pyi Taw เนปยีดอ |
แก้ไขชื่อประเทศตามการเปลี่ยนแปลงการปกครองและการออกเสียง และแก้ไขชื่อเมืองหลวงตามการย้ายที่ตั้งเมืองหลวง |
Nepal : Kingdom of Nepal เนปาล : ราชอาณาจักรเนปาล |
Kathmandu กาฐมาณฑุ |
Nepal : Federal Democratic Republic of Nepal เนปาล : สหพันธ์ สาธารณรัฐ ประชาธิปไตย เนปาล |
Kathmandu กาฐมาณฑุ |
แก้ไขชื่อประเทศตามการเปลี่ยน แปลงการปก ครอง |
|
|
Palestine : State of Palestine ปาเลสไตน์ : รัฐปาเลสไตน์ |
- |
เพิ่มเติมชื่อ ประเทศ |
ประกาศราชบัณฑิตยสถานฯ พ.ศ. 2544 |
ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภาฯ พ.ศ. 2564 |
หมายเหตุ |
||||
ดินแดน |
เมืองหลวง |
สถานภาพ |
ดินแดน |
เมืองหลวง |
ประเทศ |
|
Channel Islands หมู่เกาะ แชนเนล |
Saint Helier เซนต์เฮลเยอร์ |
ดินแดนของ สหราช อาณาจักร |
Channel Islands หมู่เกาะแชเนิล |
Saint Helier เซนต์เฮลิเยอร์ |
สหราช อาณาจักร |
แก้ไขชื่อดินแดนและเมืองหลวงตามการออกเสียง |
Saint Pierre and Miquelon แซงปีแยร์และมีเกอลง |
Saint Pierre แซงปีแยร์ |
ดินแดนของฝรั่งเศส |
Saint Pierre and Miquelon แซ็งปีแยร์และ มีเกอลง |
Saint Pierre แซ็งปีแยร์ |
ฝรั่งเศส |
แก้ไขชื่อเมืองหลวงตามหลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาฝรั่งเศส |
9. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมเมืองปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช พ.ศ. …. (แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมเมืองปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช พ.ศ. 2555)
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมเมืองปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ และให้ มท. รับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
ทั้งนี้ ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย ที่ มท. เสนอ เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมเมืองปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช พ.ศ. 2555 เนื่องจากสภาพข้อเท็จจริงในพื้นที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปส่งผลต่อการพัฒนาพื้นที่ของจังหวัดนครศรีธรรมราช จึงต้องมีการปรับปรุงให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน เช่น ปรับปรุงข้อห้ามการใช้ประโยชน์เกี่ยวกับโรงงานในที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย และที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม ให้สามารถประกอบกิจการโรงงานการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ โรงงานปรับปรุงคุณภาพของเสียรวม โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการคัดแยกหรือฝังกลบสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว รวมทั้งเพิ่มเติมข้อกำหนดเกี่ยวกับที่ว่างตามแนวขนานริมเขตทางของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4013 ช่วงนครศรีธรรมราช – ปากพนัง และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4013 (ตอนเลี่ยงเมือง) ในที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย และที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม ตลอดจนปรับปรุงบัญชีท้ายกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมเมืองปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช พ.ศ. 2555 ซึ่งมิใช่เป็นกรณีการจัดทำผังเมืองรวมฉบับใหม่ จึงไม่มีผลกระทบต่อหลักการในการใช้ประโยชน์ที่ดินของผังเมืองรวมฉบับที่ใช้บังคับอยู่ นอกจากนี้ การแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวจะทำให้กิจการบางประเภทหรือการใช้ประโยชน์ที่ดินบางกรณีสามารถดำเนินการได้ในบางพื้นที่ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน และเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของภาครัฐอันจะเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะโดยรวมต่อไป ซึ่ง มท. ได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 แล้ว และคณะกรรมการผังเมืองได้มีมติเห็นชอบด้วยแล้ว
สาระสำคัญของร่างประกาศ
แก้ไขเพิ่มเติมข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย (สีเหลือง) และที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว) ดังนี้
1. แก้ไขเพิ่มเติมโรงงานตามประเภท ชนิด และจำพวกที่กำหนดในบัญชีท้ายประกาศ เช่น
(1) ตัดโรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการทำมะขามอัดเม็ด มะนาวอัดเม็ด หรือผลไม้อัดเม็ด หรือการเคลือบถั่วหรือเมล็ดผลไม้ ด้วยน้ำตาล กาแฟ โกโก้หรือช็อกโกแลต และการทำลูกกวาดหรือทอฟฟี่ ออกจากบัญชีท้ายฯ เนื่องจากไม่มีผลผลิตดังกล่าวในพื้นที่แล้ว จึงไม่มีความจำเป็นต้องมีการประกอบกิจการโรงงานประเภทดังกล่าว (เดิม กำหนดห้ามประกอบกิจการโรงงาน)
(2) เพิ่มโรงงานเกี่ยวกับอุตสาหกรรมพลังงานทางเลือก และอุตสาหกรรมสนับสนุนการจัดการขยะ ให้สามารถดำเนินการได้ เพื่อสนับสนุนนโยบายของภาครัฐ ได้แก่
(2.1) ลำดับที่ 88 (1) โรงงานการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ยกเว้น ที่ติดตั้งบนหลังคา ดาดฟ้า หรือส่วนหนึ่งส่วนใดบนอาคาร ซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือใช้สอยได้โดยมีขนาดกำลังการผลิตติดตั้งสูงสุดรวมกันของแผงเซลล์แสงอาทิตย์ไม่เกิน 1,000 กิโลวัตต์ (2) โรงงานการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานความร้อน และลำดับที่ 89 โรงงานผลิตก๊าซซึ่งมิใช่ก๊าซธรรมชาติ และโรงงานส่งหรือจำหน่ายก๊าซแต่ไม่รวมถึงโรงงานส่งหรือจำหน่ายก๊าซที่เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง ให้ดำเนินการได้เฉพาะที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว) แต่ไม่ให้ดำเนินการได้ในที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย (สีเหลือง) เนื่องจากอาจส่งผลกระทบต่อพื้นที่ชุมชน
(2.2) ลำดับที่ 101 โรงงานปรับคุณภาพของเสียรวม (Central Waste Treatment Plant) โรงงานจำพวกที่ 3 (โรงงานก็จะต้องได้รับใบอนุญาตก่อน) ให้ดำเนินการได้ในที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย (สีเหลือง) และที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว) ให้ดำเนินการได้เฉพาะเตาเผาขยะที่ไม่เป็นของเสียอันตรายเท่านั้น โดยการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย (สีเหลือง) ให้ดำเนินการได้เฉพาะหน่วยงานของรัฐ
(2.3) ลำดับที่ 105 โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการคัดแยก หรือฝังกลบสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว ให้ดำเนินการได้ในที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย (สีเหลือง) และที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว) โดยห้ามการคัดแยกประเภทที่เป็นอันตราย และการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย (สีเหลือง) ให้ดำเนินการได้เฉพาะคัดแยกเท่านั้น
(2.4) ลำดับที่ 106 โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการนำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ไม่ใช้แล้ว หรือของเสียจากโรงงานมาผลิตเป็นวัตถุดิบ หรือผลิตภัณฑ์ใหม่โดยผ่านกรรมวิธีการผลิตอุตสาหกรรม โรงงานจำพวกที่ 3 (โรงงานก็จะต้องได้รับใบอนุญาตก่อน) ให้ดำเนินการได้ในที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว) โดยห้ามขยะอิเล็กทรอนิกส์กากพิษ ห้ามผลิตอุตสาหกรรมหรือของเสียจากโรงงานที่เป็นอันตราย
2. เพิ่มข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย โดยกำหนดให้ในการใช้ประโยชน์ที่ดินริมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4013 ช่วงนครศรีธรรมราช – ปากพนัง ให้มีที่ว่างตามแนวขนานริมเขตทางไม่น้อยกว่า 6 เมตร
3. แก้ไขเพิ่มเติมข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม โดยกำหนดให้ในการใช้ประโยชน์ที่ดินริมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4013 ช่วงนครศรีธรรมราช – ปากพนัง และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4013 (ตอนเลี่ยงเมือง) ให้มีที่ว่างตามแนวขนานริมเขตทางไม่น้อยกว่า 6 เมตร (เดิมการใช้ประโยชน์ที่ดินริมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4013 (ตอนเลี่ยงเมือง) ให้มีที่ว่างตามแนวขนานริมเขตทางไม่น้อยกว่า 15 เมตร)
เศรษฐกิจ – สังคม
10. เรื่อง ขอความเห็นชอบให้การประปาส่วนภูมิภาคปรับเพิ่มเงินค่าตอบแทนพิเศษรายเดือนให้แก่พนักงานที่ปฏิบัติงานในพื้นที่เสี่ยงภัยจังหวัดชายแดนภาคใต้
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) ปรับเพิ่มเงินค่าตอบแทนพิเศษรายเดือนให้แก่พนักงานที่ปฏิบัติงานในพื้นที่เสี่ยงภัยจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ค่าตอบแทนพิเศษฯ) จาก “รายละ 5,000 บาทต่อเดือน” เป็น “รายละ 7,000 บาทต่อเดือน” โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
มท. รายงานว่า
1. กปภ. เป็นรัฐวิสาหกิจในกลุ่มสาธารณูปโภค ซึ่งมีภารกิจและอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติการประปาส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2522 โดยมีภารกิจหลักในการจัดหาแหล่งน้ำดิบเพื่อใช้ในการผลิต จัดส่ง และจำหน่ายน้ำประปาทั่วประเทศ ยกเว้นกรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ และดำเนินธุรกิจอื่นที่เกี่ยวข้องหรือต่อเนื่องกับธุรกิจการประปาโดยปัจจุบัน กปภ. ดำเนินการจ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษฯ อัตรารายละ 5,000 บาทต่อเดือน ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2554
2. ปัจจุบัน กปภ. มีหน่วยงานในสังกัดที่มีสถานที่ตั้งในพื้นที่เสี่ยงภัยจังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมถึงหน่วยบริการที่อยู่ในสำนักงานเขตพื้นที่พิเศษ จำนวน 10 แห่งโดยมีพนักงานที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ดังกล่าว จำนวนทั้งสิ้น 211 ราย จากกรอบอัตรากำลัง 212 ราย (ลาออกในปี 2564 จำนวน 1 ราย) (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2564) ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
หน่วย : ราย
ลำดับ |
หน่วยงาน ของ กปภ. |
ผู้จัดการ กปภ. สาขา |
หัวหน้างาน |
พนักงาน |
ลูกจ้าง |
รวม |
จังหวัดนราธิวาส |
||||||
1 |
กปภ. สาขานราธิวาส |
1 |
4 |
27 |
- |
32 |
2 |
กปภ. สาขารือเสาะ |
1 |
3 |
14 |
- |
18 |
3 |
กปภ. สาขาสุไหงโก – ลก |
1 |
4 |
22 |
- |
27 |
4 |
Lab Cluster นราธิวาส |
- |
1 |
2 |
- |
3 |
จังหวัดยะลา |
||||||
5 |
กปภ. สาขายะหา |
1 |
3 |
16 |
- |
20 |
6 |
กปภ. สาขาเบตง |
1 |
4 |
19 |
- |
24 |
จังหวัดปัตตานี |
||||||
7 |
กปภ. สาขาสายบุรี |
1 |
2 |
12 |
- |
15 |
จังหวัดสงขลา |
||||||
8 |
กปภ. สาขาสะเดา |
1 |
4 |
33 |
- |
38 |
9 |
กปภ. สาขานาทวี |
1 |
3 |
14 |
- |
18 |
10 |
กปภ. สาขาพังลา |
1 |
3 |
12 |
- |
16 |
รวมทั้งสิ้น |
9 |
31 |
171 |
- |
211 |
3. โดยที่สถานการณ์ปัจจุบันในพื้นที่เสี่ยงภัยจังหวัดชายแดนภาคใต้ยังคงมีเหตุการณ์ความไม่สงบเกิดขึ้นอยู่เป็นประจำและมีความเสี่ยงสูงสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกกลุ่มบุคคล โดยเฉพาะพนักงานบริการและควบคุม น้ำสูญเสียที่มีหน้าที่ซ่อมแซมท่อแตกท่อรั่ว ซึ่งเมื่อได้รับแจ้งเหตุต้องลงพื้นที่สำรวจหาน้ำสูญเสียและพนักงานผลิต เพื่อดำเนินการผลิตน้ำประปาอย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง รวมถึงงานอื่น ๆ ที่มีภารกิจจำเป็นต้องอยู่เวรประจำสำนักงาน ส่งผลให้การสรรหาบุคคลที่จะมาปฏิบัติงานในพื้นที่ค่อนข้างยากประกอบกับมีหน่วยงานรัฐวิสาหกิจอื่นที่จ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษฯ ในอัตรารายละ 7,000 บาทต่อเดือน ได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) และธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ดังนั้น กปภ. จึงเสนอขอปรับเพิ่มเงินพิเศษฯ จากเดิมรายละ 5,000 บาทต่อเดือน เป็นรายละ 7,000 บาทต่อเดือน เพื่อให้สอดคล้องหรือเป็นไปในแนวทางเดียวกันกับหน่วยงานรัฐวิสาหกิจอื่นและเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดแรงงาน รวมทั้งสามารถรักษาบุคลากรที่มีคุณภาพให้อยู่ปฏิบัติงานกับ กปภ. ได้
4. กปภ. ได้จัดทำข้อมูลหลักเกณฑ์เพื่อใช้ในการพิจารณากำหนดค่าตอบแทน ระบบแรงจูงใจ และสวัสดิการต่าง ๆ ในภาพรวม ตามแนวทางและหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2560 แล้ว
5. คณะกรรมการ กปภ. ในคราวประชุมครั้งที่ 6/2561 เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2561 เห็นชอบให้ กปภ. ปรับเพิ่มเงินค่าตอบแทนพิเศษฯ จากเดิมรายละ5,000 บาทต่อเดือน เป็นรายละ 7,000 บาทต่อเดือน โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ และให้ กปภ. นำเสนอให้คณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (ครรส.) และคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป
6. ครรส. (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานเป็นประธาน) ในคราวประชุมครั้งที่ 4/2564 เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2564 มีมติเห็นชอบให้ กปภ. ปรับเพิ่มเงินค่าตอบแทนพิเศษฯ เพิ่มจากเดิมรายละ 5,000 บาทต่อเดือน เป็นรายละ 7,000 บาทต่อเดือนแล้ว รวมทั้งสำนักงาน ก.พ. พิจารณาแล้วเห็นด้วยในหลักการตามมติ ครรส. ข้างต้น โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ
11. เรื่อง (ร่าง) แผนปฏิบัติการ ด้านการควบคุมยาสูบแห่งชาติ ฉบับที่สาม พ.ศ. 2565 - 2570
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ (ร่าง) แผนปฏิบัติการ ด้านการควบคุมยาสูบแห่งชาติ ฉบับที่สาม พ.ศ. 2565 – 2570 [(ร่าง) แผนการควบคุมยาสูบฯ ฉบับที่ 3] และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำแผนปฏิบัติการ ด้านการควบคุมยาสูบแห่งชาติ ฉบับที่สาม พ.ศ. 2565 – 2570 ไปดำเนินการตามขั้นตอนที่เกี่ยวข้อง ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
สธ. รายงานว่า
1. สืบเนื่องมาจากมาตรา 10 (1) แห่งพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 ซึ่งบัญญัติให้คณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบแห่งชาติ (คณะกรรมการฯ) โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธานกรรมการ มีอำนาจหน้าที่ในการเสนอนโยบายและแผนยุทธศาสตร์เกี่ยวกับการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ การคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่และการบำบัดรักษาและพื้นฟูสุขภาพของผู้เสพติดผลิตภัณฑ์ยาสูบต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การควบคุมยาสูบมาแล้ว จำนวน 2 ฉบับได้แก่ แผนยุทธศาสตร์การควบคุมยาสูบแห่งชาติ พ.ศ. 2555 - 2557 (แผนการควบคุมยาสูบฯ ฉบับที่ 1) และแผนยุทธศาสตร์การควบคุมยาสูบแห่งชาติ ฉบับที่สอง พ.ศ. 2559 - 2562 (แผนการควบคุมยาสูบฯ ฉบับที่ 2)
2. ภายหลังการสิ้นสุดของแผนการควบคุมยาสูบฯ ฉบับที่ 2 คณะกรรมการฯ ในการประชุมครั้งที่ 2/22563 เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2563 มีมติเห็นชอบกรอบการดำเนินงานควบคุมยาสูบของประเทศไทยและแนวทางการดำเนินงานควบคุมยาสูบของประเทศ พ.ศ. 2563 – 2570 โดยเห็นชอบแผนปฏิบัติการด้านการควบคุมยาสูบแห่งชาติ พ.ศ. 2563 - 25641 ซึ่งมียุทธศาสตร์และยุทธวิธีสอดคล้องกับแผนการควบคุมยาสูบฯ ฉบับที่ 2 เพื่อให้เกิดความครอบคลุมและสอดคล้องกับเป้าหมายที่ยังไม่บรรลุตามที่กำหนดไว้ อีกทั้งมอบหมายให้ สธ. จัดทำ (ร่าง) แผนการควบคุมยาสูบฯ ฉบับที่ 32 ตามกรอบการดำเนินงานควบคุมยาสูบของประเทศไทย โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ซึ่ง สธ. ได้จัดทำ (ร่าง) แผนดังกล่าวและคณะกรรมการฯ ในการประชุมครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2564 เห็นชอบด้วยแล้ว
3. (ร่าง) แผนการควบคุมยาสูบฯ ฉบับที่ 3 ที่ สธ. ได้เสนอมาในครั้งนี้ต่อเนื่องจากแผนการควบคุมยาสูบฯ ฉบับที่ 2 และแผนปฏิบัติการด้านการควบคุมยาสูบแห่งชาติ พ.ศ. 2563 - 2564 ซึ่งสิ้นสุดลงแล้ว มีวัตถุประสงค์เพื่อลดความชุกของการบริโภคยาสูบของประชากรและคุ้มครองสุขภาพของประชาชนจากอันตรายจากควันบุหรี่ ประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์ ภายใต้กรอบวงเงิน 498.039 ล้านบาท3 โดยมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่ 1
สร้างเสริมความเข้มแข็งและยกระดับขีดความสามารถการควบคุมยาสูบของประเทศ
ตัวชี้วัด เช่น เกิดความเข้มแข็งของกลไกการควบคุมยาสูบระดับประเทศ จังหวัด ท้องถิ่น มีการพัฒนา ปรับปรุงกฎหมาย และแนวปฏิบัติที่เอื้อต่อการควบคุมยาสูบของประเทศ
งบประมาณรวม : 138.800 ล้านบาท
ตัวอย่างยุทธวิธี
- การผลักดันนโยบาย ปรับปรุงกฎหมาย ระบบการบังคับใช้กฎหมาย และการดำเนินงานของทุกภาคส่วนให้เป็นไปตามพันธกรณีภายใต้กรอบอนุสัญญาควบคุมยาสูบ (WHO FCTC) รวมทั้งความตกลงระหว่างประเทศอื่นที่เกี่ยวข้อง (22 ล้านบาท)
หน่วยงานที่รับผิดชอบ เช่น กรมควบคุมโรค กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ และศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ
- พัฒนาระบบเฝ้าระวัง วิจัย การจัดการความรู้ การควบคุมกำกับ และติดตามประเมินผลการควบคุมยาสูบในทุกระดับ (76 ล้านบาท)
หน่วยงานที่รับผิดชอบ เช่น กรมควบคุมโรค สำนักงานสถิติแห่งชาติ และมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่
ยุทธศาสตร์ที่ 2
ป้องกันมิให้เกิดผู้เสพยาสูบรายใหม่ และเฝ้าระวังธุรกิจยาสูบ
ตัวชี้วัด เช่น เด็กและเยาวชนเข้าถึงบุหรี่จากร้านค้าปลีกลดลง ภาคีเครือข่ายมีความเข้มแข็งในการดำเนินงานป้องกันนักสูบหน้าใหม่ ได้ร้อยละ 70
งบประมาณรวม : 99.186 ล้านบาท
ตัวอย่างยุทธวิธี
- การให้ความรู้เรื่อง โทษ พิษภัย และผลกระทบจากผลิตภัณฑ์ยาสูบให้กับเด็กเยาวชน และนักสูบหน้าใหม่ (60.84 ล้านบาท)
หน่วยงานที่รับผิดชอบ เช่น กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กรมควบคุมโรค และกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
- การเฝ้าระวัง และบังคับใช้กฎหมาย การเข้าถึงผลิตภัณฑ์ยาสูบรูปแบบต่าง ๆ การตอบโต้ การโฆษณา การสื่อสารการตลาดของกลยุทธ์ อุตสาหกรรมยาสูบ และรู้เท่าทันกลยุทธ์ของอุตสาหกรรมยาสูบ (12.03 ล้านบาท)
หน่วยงานที่รับผิดชอบ เช่น กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ศธ. สธ. กรุงเทพมหานคร (กทม.) กรมกิจการเด็กและเยาวชน กรมประชาสัมพันธ์ และสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
ยุทธศาสตร์ที่ 3
บำบัดรักษาผู้เสพให้เลิกใช้ยาสูบ
ตัวชี้วัด เช่น ผู้เสพยาสูบเข้าสู่ระบบบำบัดเลิกเสพได้สำเร็จอย่างต่อเนื่องใน 6 เดือน ร้อยละ 30 มีระบบการให้บริการเลิกยาสูบที่มีคุณภาพ [คลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ร้อยละ 100]
งบประมาณรวม : 51.832 ล้านบาท
ตัวอย่างยุทธวิธี
- การสร้างเสริมพลังชุมชนและเครือข่ายที่เข้มแข็งเพื่อการบำบัดผู้เสพยาสูบ (10 ล้านบาท)
หน่วยงานที่รับผิดชอบ เช่น กรมควบคุมโรค กรมการปกครอง กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน สำนักอนามัย กทม. และศูนย์บริการเลิกบุหรี่ทางโทรศัพท์แห่งชาติ
- พัฒนาคุณภาพระบบบริการเลิกยาสูบและสายด่วนเลิกบุหรี่ (27.14 ล้านบาท)
หน่วยงานที่รับผิดชอบ เช่น กรมควบคุมโรค กรมการแพทย์ สำนักงานประกันสังคม และสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน)
ยุทธศาสตร์ที่ 4
การควบคุม ตรวจสอบ เฝ้าระวัง และเปิดเผยรายการส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ยาสูบ
ตัวชี้วัด เช่น ผลิตภัณฑ์ยาสูบที่จำหน่ายในประเทศไทย ไม่มีสารต้องห้ามตามที่หน่วยงานของรัฐกำหนด มีกระบวนการตรวจสอบส่วนประกอบผลิตภัณฑ์ยาสูบ/เปิดเผยสารอันตรายในผลิตภัณฑ์ยาสูบ
งบประมาณรวม : 12.500 ล้านบาท
ตัวอย่างยุทธวิธี
- ปรับปรุงกฎหมาย/แนวทางการดำเนินการให้สอดคล้องตามกรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบขององค์การอนามัยโลก (1.5 ล้านบาท)
หน่วยงานที่รับผิดชอบ กรมควบคุมโรค
- สร้างกระบวนการบริหารจัดการข้อมูลส่วนประกอบผลิตภัณฑ์ยาสูบ เพื่อวัดสารที่อยู่ในยาสูบและสารที่ปล่อยออกมา (5.5 ล้านบาท)
หน่วยงานที่รับผิดชอบ เช่น กรมควบคุมโรค กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และ WHO Tobacco Laboratory Network (TobLabNet)
ยุทธศาสตร์ที่ 5
ทำสิ่งแวดล้อมให้ปลอดควันบุหรี่
ตัวชี้วัด เช่น มีสถานที่ตามกฎหมายกำหนดให้มีการคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่เพิ่มขึ้น ประชาชนรับรู้/รับทราบ สถานที่สาธารณะเป็นเขตปลอดบุหรี่ตามกฎหมาย ร้อยละ 80
งบประมาณรวม : 165.721 ล้านบาท
ตัวอย่างยุทธวิธี
- ออกประกาศกระทรวง กฎ ระเบียบ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้สถานที่สาธารณะและสถานที่ทำงานทุกแห่งปลอดควันบุหรี่ (ไม่ใช้งบประมาณ)
หน่วยงานที่รับผิดชอบ ทุกกระทรวงที่มีกฎหมายเกี่ยวข้อง
- ปรับเปลี่ยน ทัศนคติ พฤติกรรมและค่านิยมของการเสพยาสูบ เพื่อให้การไม่สูบบุหรี่ในบ้าน สถานที่ทำงาน และสถานที่สาธารณะเป็นบรรทัดฐานของสังคมไทย (100.98 ล้านบาท)
หน่วยงานที่รับผิดชอบ เช่น สธ. กระทรวงแรงงาน (รง.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) กระทรวงคมนาคม (คค.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และสำนักอนามัย กทม.
ยุทธศาสตร์ที่ 6
มาตรการภาษี การป้องกันและปราบปรามเพื่อควบคุมยาสูบ
ตัวชี้วัด เช่น มีการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวกับภาษียาสูบและระบบบริหารการจัดเก็บภาษีที่สามารถควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
งบประมาณรวม 30 ล้านบาท
ตัวอย่างยุทธวิธี
- ปรับปรุงโครงสร้างภาษียาสูบและระบบการบริหารการจัดเก็บภาษียาสูบ (ไม่ใช้งบประมาณ)
หน่วยงานที่รับผิดชอบ กรมสรรพสามิต กรมศุลกากร สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และกรมควบคุมโรค
- ป้องกัน ปราบปรามยาสูบที่ผิดกฎหมาย และการดำเนินการสำหรับผู้กระทำความผิด (30 ล้านบาท)
หน่วยงานที่รับผิดชอบ กรมสรรพสามิตและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
- มาตรการลดผลกระทบต่อชาวไร่ยาสูบอันเนื่องมาจากมาตรการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ
หน่วยงานที่รับผิดชอบ เช่น กระทรวงการคลัง (กค.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกรมควบคุมโรค
4. การดำเนินการควบคุมปัญหาการบริโภคยาสูบตาม (ร่าง) แผนการควบคุมยาสูบ ฉบับที่ 3 จะส่งผลกระทบเชิงบวกทั้งในมิติเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง เช่น (1) ทำให้ต้นทุนค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ที่เกิดจากโรคทุกโรคที่เกี่ยวข้องกับยาสูบลดลง และลดความสูญเสียทางเศรษฐกิจในภาพรวม (2) ประชาชนมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยผู้สูบบุหรี่สามารถลดละเลิกบุหรี่ได้และผู้ที่ไม่สูบบุหรี่จะได้รับการคุ้มครองสุขภาพจากการที่สิ่งแวดล้อมปลอดควันบุหรี่และ (3) ประเทศไทยได้รับการยอมรับการเป็นผู้นำการควบคุมยาสูบในระดับประเทศและนานาชาติ
5. สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในคราวประชุมครั้งที่ 8/2564 เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2564 ได้มีมติเห็นชอบในหลักการ (ร่าง) แผนการควบคุมยาสูบฯ ฉบับที่ 3 เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางในการขับเคลื่อนการลดบริโภคผลิตภัณฑ์ยาสูบของประชาชนและคุ้มครองสุขภาพของประชาชนจากอันตรายจากควันบุหรี่ โดยมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ซึ่ง สธ. (กรมควบคุมโรค) ได้ดำเนินการปรับแก้ไขแผนดังกล่าวตามข้อเสนอแนะของสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเรียบร้อยแล้ว และคณะกรรมการฯ เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2564 ได้มีมติรับทราบและเห็นชอบการดำเนินการปรับแก้ไขดังกล่าวด้วยแล้ว
_________________
1แผนปฏิบัติการด้านการควบคุมยาสูบแห่งชาติ พ.ศ. 2563 - 2564 เป็นการดำเนินการต่อเนื่องจากแผนการควบคุมยาสูบฯ ฉบับที่ 2 ซึ่งสิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2562 ระหว่างที่ สธ. ดำเนินการจัดทำ (ร่าง) แผนการควบคุมยาสูบฯ ฉบับที่ 3
2เปลี่ยนชื่อจาก “แผนยุทธศาสตร์” เป็น “แผนปฏิบัติการ” เพื่อให้สอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2562 (เรื่อง การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติสู่การปฏิบัติ)
3ใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี
12. เรื่อง รายงานสถานการณ์การส่งออกของไทย เดือนธันวาคม ทั้งปี 2564 และแนวโน้มปี 2565
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานสถานการณ์การส่งออกของไทย เดือนธันวาคม ทั้งปี 2564 และแนวโน้มปี 2565 ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ ดังนี้
สาระสำคัญ
1. สรุปสถานการณ์การส่งออกของไทย เดือนธันวาคม 2564
การส่งออกของไทยในเดือนธันวาคม 2564 มีมูลค่าสูงสุดเป็นประวัติการณ์
ที่ 24,930.3 ล้านเหรียญสหรัฐ (810,712 ล้านบาท) ขยายตัวร้อยละ 24.2 หากหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย ขยายตัวร้อยละ 23.0 การส่งออกของไทยเติบโตอย่างแข็งแกร่งท่ามกลางการระบาดของโควิด-19 โดยได้รับอานิสงส์จากการเร่งนำเข้าในหลายประเทศเพื่อสต็อกสินค้าให้ทันช่วงเทศกาลปีใหม่ สถานการณ์อุปทานเซมิคอนดักเตอร์ปรับตัวดีขึ้น และการดำเนินการตามแผนส่งเสริมการส่งออกเชิงรุกของกระทรวงพาณิชย์ ทั้งนี้ การส่งออกทั้งปี 2564 มีมูลค่าสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 271,173.5 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีอัตราการเติบโตที่ร้อยละ 17.1 ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตสูงที่สุดในรอบ 11 ปี เมื่อหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย ขยายตัวร้อยละ 19.8
มูลค่าการค้ารวมมูลค่าการค้าในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐ เดือนธันวาคม 2564 การส่งออก มีมูลค่า 24,930.3 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 24.2 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 25,284.5 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 33.4 ดุลการค้าขาดดุล 354.2 ล้านเหรียญสหรัฐ ภาพรวมทั้งปี 2564 การส่งออก มีมูลค่า 271,173.5 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 17.1 การนำเข้า มีมูลค่า 267,600.3 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 29.8 ดุลการค้า ปี 2564 เกินดุล 3,573.2 ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการค้าในรูปเงินบาท เดือนธันวาคม 2564 การส่งออก มีมูลค่า 810,711.8 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 34.5 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 833,237.4 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 44.4 ดุลการค้าขาดดุล 22,525.6 ล้านบาท ภาพรวมทั้งปี 2564 การส่งออก มีมูลค่า 8,542,102.7 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 18.9 การนำเข้า มีมูลค่า 8,549,082.3 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 32.0 ดุลการค้าปี 2564 ขาดดุล 6,979.6 ล้านบาท
การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร
มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัวร้อยละ 22.4 (YoY) ขยายตัวต่อเนื่อง 13 เดือน สินค้าที่ขยายตัวดี ได้แก่ ยางพารา ขยายตัวร้อยละ 22.7 (ขยายตัวในตลาดจีน มาเลเซีย สหรัฐฯ ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้) ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ขยายตัวร้อยละ 48.1 (ขยายตัวในตลาดจีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ และเวียดนาม) ข้าว ขยายตัวร้อยละ 24.9 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ฮ่องกง อังโกลา เซเนกัล และโกตดิวัวร์) ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง ขยายตัว 23.7 (ขยายตัวในตลาดจีน สหรัฐฯ มาเลเซีย เมียนมา และฟิลิปปินส์) น้ำตาลทราย ขยายตัวร้อยละ 123.9 (ขยายตัวในตลาดอินโดนีเซีย กัมพูชา เกาหลีใต้ ไต้หวัน และจีน) ไก่สดแช่เย็น แช่แข็ง และแปรรูป ขยายตัวร้อยละ 17.6 (ขยายตัวในตลาดญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร จีน เนเธอร์แลนด์ มาเลเซีย และสิงค์โปร์) อาหารสัตว์เลี้ยง ขยายตัวร้อยละ 35.4 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น มาเลเซีย ออสเตรเลีย และอินเดีย) ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่น ๆ ขยายตัวร้อยละ 18.5 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ จีน กัมพูชา เมียนมา และเวียดนาม) ผลไม้กระป๋องและแปรรูป ขยายตัวร้อยละ 25.8 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ จีน เนเธอร์แลนด์ ออสเตรเลีย แคนาดา) ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ ขยายตัวร้อยละ 169.6 (ขยายตัวในตลาดมาเลเซีย อินเดีย เมียนมา เวียดนาม และจีน) สินค้าที่หดตัว ได้แก่ เครื่องดื่ม หดตัวร้อยละ 1.4 (หดตัวในตลาดกัมพูชา เมียนมา ลาว และจีน) สุกรสด แช่เย็น แช่แข็ง หดตัวร้อยละ 79.3 (หดตัวในตลาดฮ่องกง ลาว และกัมพูชา) ทั้งปี 2564 การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัวร้อยละ 15.7
การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม
มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 24.0 (YoY) ขยายตัวต่อเนื่อง 10 เดือน สินค้าที่ขยายตัวดี ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 45.0 (ขยายตัวในตลาดออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ จีน สหรัฐฯ และนิวซีแลนด์) สินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ขยายตัวร้อยละ 34.0 (ขยายตัวในตลาดจีน เวียดนาม สิงคโปร์ มาเลเซีย และอินเดีย) เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 28.6 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ฮ่องกง จีน เนเธอร์แลนด์ และญี่ปุ่น) แผงวงจรไฟฟ้า ขยายตัวร้อยละ 11.5 (ขยายตัวในตลาดสิงคโปร์ จีน ฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น และมาเลเซีย) เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ ขยายตัวร้อยละ 28.4 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย อินเดีย และไต้หวัน) อัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) ขยายตัวร้อยละ 29.3 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ฮ่องกง อินเดีย เยอรมนี และสหราชอาณาจักร) เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 25.8 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย ไต้หวัน สิงคโปร์) สินค้าที่หดตัว ได้แก่ ถุงมือยาง หดตัวร้อยละ 46.7 (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น เยอรมนี และเบลเยียม) เครื่องซักผ้า เครื่องซักแห้งและส่วนประกอบ หดตัวร้อยละ 8.5 (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และไต้หวัน) ปูนซีเมนต์ หดตัวร้อยละ 15.4 (หดตัวในตลาดเมียนมา และกัมพูชา) ทั้งปี 2564 การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 16.0
ตลาดส่งออกสำคัญ
การส่งออกขยายตัวในทุกตลาดสำคัญ สอดคล้องกับทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและการค้าโลก ภาพรวมการส่งออกไปยังกลุ่มตลาดต่าง ๆ สรุป ดังนี้ 1) ตลาดหลัก ขยายตัวร้อยละ 20.8
โดยขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ร้อยละ 36.5 จีน ร้อยละ 14.0 ญี่ปุ่น ขยายตัวร้อยละ 1.0 อาเซียน (5) ร้อยละ 35.0 CLMV ร้อยละ 11.4 และ สหภาพยุโรป (27) ร้อยละ 19.3 2) ตลาดรอง ขยายตัวร้อยละ 32.5 ขยายตัวในตลาดเอเชียใต้ ร้อยละ 22.9 ทวีปออสเตรเลีย ร้อยละ 54.4 ตะวันออกกลาง ร้อยละ 29.5 ทวีปแอฟริกา ร้อยละ 34.1 ลาตินอเมริกา ร้อยละ 36.5 และรัสเซียและกลุ่มประเทศ CIS ร้อยละ 45.8 และ 3) ตลาดอื่น ๆ ขยายตัวร้อยละ 32.1
2. แนวโน้มและแผนส่งเสริมการส่งออกในปี 2565
การส่งออกปี 2565 คาดการณ์ว่าจะขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 3.0 – 4.0 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจาก (1) การขยายตัวของเศรษฐกิจและการนำเข้าของประเทศคู่ค้า (2) เงินบาทช่วงครึ่งปีแรก
มีแนวโน้มอ่อนค่าต่อเนื่อง จากแนวโน้มการใช้มาตรการทางการเงินที่เข้มงวดขึ้น รวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ลดลง (3) ราคาสินค้าอาหาร และวัตถุดิบที่ใช้ในภาคอุตสาหกรรมยังคงขยายตัวตามอุปสงค์ที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง (4) จำนวนตู้คอนเทนเนอร์ และเรือขนส่งจะเพิ่มขึ้นตั้งแต่ช่วงกลางปี 2565 (5) ความรุนแรงของไวรัส
โควิด-19 ลดน้อยลง และจะกลายเป็นโรคประจำถิ่น (Endemic) (6) ความตกลง RCEP ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 65 และ (7) การเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) ช่วยเพิ่มโอกาสในการขยายตลาดสินค้าไปยังต่างประเทศได้ง่ายและกว้างขวางขึ้น
สำหรับแผนส่งเสริมการส่งออกในปี 2565 กระทรวงพาณิชย์จะดำเนินกิจกรรมส่งเสริมการส่งออกอย่างต่อเนื่องจากปีก่อน ได้แก่ (1) เร่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการส่งออก และส่งเสริมแนวทาง
การส่งออกสินค้าผ่านรูปแบบผสมผสานระหว่างออนไลน์และออฟไลน์ (2) การจัดเจรจาการค้าผ่านช่องทางออนไลน์ (OBM) และร่วมมือกับแพลตฟอร์มออนไลน์ส่งเสริมการขายสินค้าไทย (3) ประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ประเทศไทย (Trust Thailand) รวมถึงแบรนด์สินค้าไทย ผ่านตรา Thailand Trust Mark (T Mark) (4) เจาะตลาดเมืองรอง โดยมีเป้าหมายขยายมูลค่าการค้าการลงทุน และเข้าถึงผู้บริโภคในพื้นที่เพื่อเพิ่มส่วนแบ่งตลาดสินค้าไทย และ (5) เร่งรัดการเจรจา FTA ที่คงค้าง อาทิ ไทย-ปากีสถาน ไทย-ตุรกี ไทย-ศรีลังกา
13. เรื่อง รายงานสรุปผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ ประจำปี 2564 และรายงานสรุปผลการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศ ประจำปี 2564
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ และคณะกรรมการปฏิรูปประเทศเสนอ รายงานสรุปผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ ประจำปี 2564 และรายงานสรุปผลการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศ ประจำปี 2564 (เป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560 มาตรา 24 และพระราชบัญญัติแผนและขั้นตอนการดำเนินการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. 2560 มาตรา 25 ที่บัญญัติให้ สศช. จัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ) สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. รายงานสรุปผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ ประจำปี 2564
1.1 ผลการประเมินความก้าวหน้าตามเป้าหมายของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์ 23 ประเด็น 37 เป้าหมาย และเป้าหมายระดับแผนแม่บทย่อย 140 เป้าหมาย พบว่า สถานะการบรรลุเป้าหมายของแผนแม่บทฯ ระดับประเด็นมีการพัฒนาลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับปี 2563 สรุปได้ ดังนี้
1.1.1 เป้าหมายระดับประเด็นที่บรรลุตามค่าเป้าหมายที่กำหนดแล้วมีจำนวน 7 เป้าหมาย (เท่ากับปี 2563) ประกอบด้วย (1) โครงสร้างพื้นฐาน ระบบโลจิสติกส์ และดิจิทัล (เป้าหมาย : ความสามารถในการแข่งขันด้านโครงสร้างพื้นฐานของประเทศดีขึ้น) (2) เขตเศรษฐกิจพิเศษ (เป้าหมาย : การลงทุนในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษทั้งหมดได้รับการยกระดับ) (3) การเสริมสร้างให้คนไทยมีสุขภาวะที่ดี (เป้าหมาย : คนไทยมีสุขภาวะที่ดีและมีความเป็นอยู่ดีเพิ่มขึ้น) (4) ศักยภาพการกีฬา (เป้าหมาย : คนไทยมีสุขภาพดีขึ้น มีน้ำใจนักกีฬา และมีวินัย เคารพกติกา) (5) พลังทางสังคม (เป้าหมาย : ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมเพิ่มขึ้น) (6) การเติบโตอย่างยั่งยืน (เป้าหมาย : สภาพแวดล้อมของประเทศไทยมีคุณภาพดีขึ้นอย่างยั่งยืน) และ (7) การบริการประชาชนและประสิทธภาพภาครัฐ (เป้าหมาย : ภาครัฐมีการดำเนินการที่มีประสิทธิภาพด้วยการนำนวัตกรรม)
1.1.2 เป้าหมายระดับประเด็นที่บรรลุเป้าหมายต่ำกว่าค่าเป้าหมายที่กำหนด จำนวน 15 เป้าหมาย (เพิ่มขึ้นจากปี 2563 ซึ่งมีจำนวน 13 เป้าหมาย) โดยมีประเด็นที่มีสถานะการดำเนินการในทิศทางที่ดีขึ้น เช่น การท่องเที่ยว (เป้าหมาย : รายได้จากการท่องเที่ยวเมืองรองเพิ่มขึ้น) ความเสมอภาคและหลักประกันทางสังคม (เป้าหมาย : คนไทยทุกคนได้รับการคุ้มครองและมีหลักประกันทางสังคมเพิ่มขึ้น) และการบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ (เป้าหมาย : ด้านความมั่นคงด้านน้ำของประเทศเพิ่มขึ้นและแม่น้ำลำคลองและแหล่งน้ำธรรมชาติได้รับการอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพให้มีระบบนิเวศที่ดี) และการบรรลุเป้าหมายระดับเสี่ยง จำนวน 4 เป้าหมาย (ลดลงจากปี 2563 ซึ่งมีจำนวน 8 เป้าหมาย) ซึ่งเป็นเป้าหมายระดับเดิมจากปี 2563
1.1.3 การบรรลุเป้าหมายในระดับวิกฤต จำนวน 11 เป้าหมาย (เพิ่มขึ้นจากปี 2563 ซึ่งมีจำนวน 9 เป้าหมาย) เช่น อุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต (เป้าหมาย : ผลิตภาพการผลิตของภาคอุตสาหกรรมและภาคการบริการเพิ่มขึ้น) และการบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ (เป้าหมาย : ผลิตภาพของน้ำทั้งระบบเพิ่มขึ้นในการใช้น้ำอย่างประหยัดและสร้างมูลค่าเพิ่มจากการใช้น้ำ)
1.2 ประเด็นท้าทายที่ส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายและการดำเนินการในระยะต่อไป เช่น
มิติ |
ประเด็นท้าทายที่สำคัญ |
1. ความอยู่ดีมีสุขของคนไทย : ประชาชนไทยมีความอยู่ดีและมีความสุขลดลงจากปี 2563 เล็กน้อย |
- การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ส่งผลให้เศรษฐกิจชะลอตัว ประชาชนประสบปัญหาภาวะว่างงานเพิ่มขึ้นและรายได้ลดลงรวมทั้งมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตใหม่ ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหา เช่น ปัญหาความเครียดและปัญหาสุขภาพจิต - ความพร้อมของบุคลากรที่มีทักษะความเชี่ยวชาญในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบดิจิทัลที่เกี่ยวข้องกับการเสริมสร้างสมรรถภาพในการรับมือภัยความมั่นคงที่มีความซับซ้อน อาจส่งผลต่อการป้องกันภัยในรูปแบบต่าง ๆ แก่ประชาชน |
2. ขีดความสามารถในการแข่งขัน การพัฒนาเศรษฐกิจ และการกระจายรายได้ : ความสามารถในการแข่งขันของประเทศเพิ่มขึ้นจากปี 2563 |
- การท่องเที่ยวที่เปลี่ยนแปลงตามวิถีใหม่ส่งผลต่อรายได้ภาพรวมของประเทศ - เศรษฐกิจชะลอตัวจากความไม่แน่นอนของสถานการณ์โควิด-19 - การแข่งขันทางการค้าในรูปแบบออนไลน์เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ผู้ประกอบการบางกลุ่มไม่สามารถปรับตัวให้สอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนไปได้ |
3. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ : คนไทยมีคุณภาพชีวิต สุขภาวะและความเป็นอยู่ที่ดีเพิ่มขึ้นจากปี 2563 |
- ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาภายใต้สถานการณ์โควิด-19 เช่น ความพร้อมและอุปกรณ์การเรียนของเด็กและเยาวชน - ผลกระทบทางเศรษฐกิจจากสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลให้ความสัมพันธ์ทางครอบครัวเริ่มลดลงและเกิดความเหลื่อมล้ำทางการรักษาพยาบาล |
4. ความเท่าเทียมและความเสมอภาคของสังคม : ภาพรวมปัญหาความเหลื่อมล้ำในหลายมิติลดลงจากปี 2563 |
- สถานการณ์โควิด-19 ส่งผลให้ผู้มีรายได้น้อยไม่มีเงินออมเพียงพอ - กลุ่มคนเปราะบางต้องการความช่วยเหลือเพิ่มขึ้น เกิดความเหลื่อมล้ำในสิทธิการรักษาพยาบาลและสิทธิอื่น ๆ - การเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ ส่งผลให้ภาครัฐและเอกชนต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น |
5. ความหลากหลายทางชีวภาพ คุณภาพสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติ : การอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นจากปี 2563 |
- ปริมาณของขยะติดเชื้อและพลาสติกมีปริมาณเพิ่มขึ้นส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและความหลากหลายทางชีวภาพ - ปัญหาน้ำท่วมและภัยแล้งที่มีความรุนแรงขึ้น ส่งผลต่อปริมาณการผลิตภาคการเกษตรและอุตสาหกรรม |
6. ประสิทธิภาพการบริหารจัดการและการเข้าถึงการให้บริการภาครัฐ : ประสิทธิภาพภาครัฐในการตอบสนองความต้องการของประชาชนมีการพัฒนาค่อนข้างคงที่จากปี 2563 |
- บุคลากรไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีดิจิทัล - การขาดความยืดหยุ่นในการบริหารจัดการภาครัฐส่งผลต่อความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการของหน่วยงานภาครัฐ - การขาดการบูรณาการการดำเนินงานระหว่างหน่วยงานทำให้เกิดความซ้ำซ้อนทั้งบทบาทและภารกิจ |
1.3 ข้อเสนอแนะในการดำเนินการระยะต่อไป หน่วยงานของรัฐควรดำเนินการตามหลักการบริหารงานคุณภาพ (Plan-Do-Check-Act: PDCA) ในการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติ เช่น
1.3.1 มองเป้าหมายการพัฒนาประเทศเป็นเป้าหมายการทำงานร่วมกันของหน่วยงานตามหลักความสัมพันธ์เชิงเหตุและผล
1.3.2 จัดทำแผนระดับที่ 3 โดยเฉพาะแผนปฏิบัติราชการราย 5 ปี และแผนปฏิบัติราชการรายปีที่สอดคล้องกับห้วงเวลาของแผนแม่บทฯ รวมทั้งวางแผนจัดทำโครงการ/การดำเนินงานที่สามารถส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติและแผนระดับที่ 2 ที่เกี่ยวข้อง
1.3.3 นำเข้าแผนระดับที่ 3 และรายงานผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานตามแผนรวมทั้งโครงการ/การดำเนินงานในระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (eMENSCR) และรายงานผลการดำเนินการตามกรอบระยะเวลาที่กำหนดอย่างเคร่งครัด
1.3.4 นำข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ประกอบการประมวลและวิเคราะห์เชิงลึก รวมทั้งใช้เป็นข้อมูลประกอบการปรับปรุง แก้ไข และพัฒนากระบวนการจัดทำแผนระดับที่ 3 โครงการ และการดำเนินงานเพื่อปิดช่องว่างการพัฒนา
2. รายงานสรุปผลการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศ ประจำปี 2564
2.1 การบรรลุเป้าหมายของการปฏิรูปประเทศ แผนการปฏิรูปประเทศ 13 ด้าน ได้กำหนดเป้าหมายอันพึงประสงค์จำนวน 31 เป้าหมาย สรุปได้ ดังนี้
2.1.1 สถานะการบรรลุเป้าหมายเมื่อเทียบกับค่าเป้าหมายในปี 2564 พบว่า สถานะการบรรลุเป้าหมายส่วนใหญ่ใกล้เคียงหรือบรรลุค่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ จำนวน 26 เป้าหมายจากเป้าหมายทั้งหมด 31 เป้าหมาย หรือคิดเป็นร้อยละ 84 โดยอยู่ในระดับบรรลุเป้าหมายแล้ว จำนวน 10 เป้าหมาย ระดับใกล้เคียงในการบรรลุเป้าหมาย จำนวน 16 เป้าหมาย ระดับยังคงมีความเสี่ยงในการบรรลุเป้าหมาย จำนวน 3 เป้าหมาย และระดับยังคงมีความเสี่ยงในขั้นวิกฤตในการบรรลุเป้าหมาย จำนวน 2 เป้าหมาย
2.1.2 สถานะการบรรลุเป้าหมายเมื่อเทียบกับค่าเป้าหมายในปี 2565 พบว่า มีเป้าหมายที่บรรลุค่าเป้าหมายแล้ว จำนวน 7 เป้าหมาย ระดับใกล้เคียงในการบรรลุเป้าหมาย จำนวน 15 เป้าหมาย โดยยังมีเป้าหมายที่ค่าสถานการณ์ยังคงมีความเสี่ยงในการบรรลุเป้าหมาย จำนวน 7 เป้าหมาย และอยู่ในขั้นวิกฤตในการบรรลุเป้าหมาย จำนวน 2 เป้าหมาย ทั้งนี้ จากสถานะการดำเนินงานปัจจุบันเทียบกับการบรรลุค่าเป้าหมายประจำปี 2565 พบว่า มีเป้าหมายที่มีความเสี่ยงหรืออยู่ในขั้นวิกฤตในการบรรลุเป้าหมาย รวมจำนวน 9 เป้าหมาย เช่น ด้านกฎหมาย (เป้าหมาย : ความสะดวกในการเข้าถึง รับรู้ และปฏิบัติตามกฎหมายของประชาชน) ที่ต้องเร่งสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายแก่หน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ออกกฎหมาย เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงตัวบทกฎหมายได้โดยสะดวก และด้านวัฒนธรรม กีฬา แรงงาน และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (เป้าหมาย : เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจฐานวัฒนธรรม) ที่ต้องเร่งส่งเสริมและสนับสนุนการนำทุนทางวัฒนธรรมมาต่อยอดและสร้างสรรค์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจฐานวัฒนธรรมและส่งเสริมการนำวิถีชีวิต ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบริการด้านวัฒนธรรมพื้นถิ่นให้เป็นวัฒนธรรมสร้างสรรค์ที่มีศักยภาพ
ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่าประเด็นปฏิรูปส่วนหนึ่งที่ยังคงมีความเสี่ยงและอาจไม่สามารถดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายอันพึงประสงค์ ในปี 2565 จำเป็นต้องให้ความสำคัญ เร่งรัด กำกับ และติดตามการดำเนินงานอย่างใกล้ชิดเพื่อกำหนดมาตรการเป็นการเฉพาะ รวมถึงสรุปประเด็นปัญหาเพื่อนำไปทบทวนและกำหนดวิธีการดำเนินงานที่เหมาะสมและมีความเป็นไปได้เพื่อให้สำเร็จตามเป้าประสงค์ในช่วงเวลาที่กำหนดได้ต่อไป
2.1.3 สรุปสถานะความคืบหน้าในการดำเนินงานตามกิจกรรมปฏิรูปประเทศที่จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อประชาชนอย่างมีนัยสำคัญ (Big Rock) จำนวนทั้งสิ้น 62 กิจกรรม ดำเนินการได้ตามแผน จำนวน 53 กิจกรรม หรือคิดเป็นร้อยละ 85 และดำเนินการได้ล่าช้ากว่าแผน จำนวน 9 กิจกรรม หรือคิดเป็นร้อยละ 15 ประกอบด้วย ด้านการเมือง จำนวน 2 กิจกรรม ด้านกฎหมาย จำนวน 2 กิจกรรม ด้านกระบวนการยุติธรรม จำนวน 1 กิจกรรม ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จำนวน 2 กิจกรรม และด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ จำนวน 2 กิจกรรม ทั้งนี้ จะมีการประสานหน่วยงานรับผิดชอบหลักและหน่วยงานร่วมเพื่อเร่งรัดการขับเคลื่อนการดำเนินการให้เป็นไปตามเป้าหมายและระยะเวลาที่กำหนดต่อไป
2.2 ประเด็นท้าทายที่สำคัญ ประกอบด้วย (1) สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้การดำเนินงานตามแผนการปฏิรูปประเทศเกิดความล่าช้าเนื่องจากหน่วยงานภาครัฐต้องปรับตัวในการทำงานเพื่อให้สอดคล้องและเป็นไปตามมาตรการการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ (2) การเร่งรัดดำเนินโครงการที่ส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายอันพึงประสงค์ โดยบางโครงการยังมีการดำเนินการที่ล่าช้ากว่าที่กำหนดไว้ ส่งผลให้การดำเนินการไม่บรรลุเป้าหมายตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด (3) การผลักดันกฎหมายที่เอื้อต่อการพัฒนาประเทศ กฎหมาย และกระบวนงานที่มีความล้าสมัยทำให้เกิดอุปสรรคในการพัฒนาประเทศ ต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินการจึงทำให้เกิดความล่าช้า และ (4) หน่วยงานภาครัฐยังขาดการบูรณาการการทำงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการร่วมวางแผน แก้ไขปัญหา และการพัฒนาไปในทิศทางเดียวกัน จึงอาจไม่มีการบูรณาการกันอย่างครอบคลุมระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในประเด็นต่าง ๆ
2.3 การดำเนินการในระยะต่อไป หน่วยงานรับผิดชอบหลัก หน่วยงานร่วมดำเนินการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรประสานและบูรณาการร่วมกันอย่างใกล้ชิดเพื่อเร่งรัดการขับเคลื่อนการดำเนินการให้เกิดผลตามเป้าหมาย โดยใช้ประโยชน์จากแผนขับเคลื่อนกิจกรรม Big Rock ในการกำกับและติดตาม รวมทั้งวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาเพื่อเร่งรัด กำกับ และติดตามการดำเนินงานอย่างใกล้ชิด
14. เรื่อง (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ ปี พ.ศ. 2564 – 2580
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอ ดังนี้
1. อนุมัติ (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ ปี พ.ศ. 2564 - 2580 [(ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ]
2. ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามยุทธศาสตร์ นำ (ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ ไปใช้เป็นกรอบแนวทางการบริหารเชิงนโยบายให้เป็นเอกภาพ และมีเป้าหมายร่วมกันในการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ (ผู้มีความสามารถพิเศษฯ) ในภาพรวมอย่างเป็นระบบ เพื่อตอบสนองวิสัยทัศน์ประเทศไทย 4.0 ยุทธศาสตร์ มาตรการ ที่กำหนดขึ้น
3. ให้สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) (ศธ.) และสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) [กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)] เป็นหน่วยงานประสานหลักและให้อำนาจ (authority) ในการติดตามและสั่งการ เพื่อให้หน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องดำเนินงานให้เหมาะสม
สาระสำคัญของเรื่อง
ศธ. รายงานว่า
1. บุคลากรวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นปัจจัยสำคัญของการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งเป็นพื้นฐานในการสร้างความสามารถในการแข่งขันด้านเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยองค์ความรู้และนวัตกรรม (Innovation-driven Economy) อย่างไรก็ตามประเทศไทยยังมีจำนวนนักวิจัยชั้นนำและกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพสูงไม่เพียงพอที่จะพัฒนานวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยเฉพาะในสาขาอุตสาหกรรม ดังนั้น เพื่อให้ประเทศไทยมีความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจและนวัตกรรมจึงมีความจำเป็นต้องเร่งรัดการสรรหาและพัฒนาผู้มีความสามารถพิเศษฯ เพื่อนำไปสู่การเพิ่มจำนวนบุคลากรด้านวิจัยและพัฒนาที่มีความสามารถผลิตผลงานวิจัย ยกระดับคุณภาพสู่มาตรฐานโลก (World class) และทำให้เกิดการพัฒนาประเทศอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ (ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ จึงเปรียบเสมือนแผนที่นำทางในการบริหาร การพัฒนา และการส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษฯ ให้ได้รับการพัฒนาอย่างเต็มตามศักยภาพในทุกช่วงชั้นอย่างเป็นระบบ และมีการส่งต่อผู้มีความสามารถพิเศษฯ สู่แผนกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นภายใต้บริบทเศรษฐกิจและสังคมของประเทศและของโลกที่ขับเคลื่อนด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์ โดยมุ่งให้เป็นแนวทางสำหรับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน นำไปกำหนดแนวทางการปฏิบัติงานอย่างเป็นรูปธรรมในการค้นหา พัฒนาและส่งเสริมตลอดจนจัดระบบบริหารจัดการผู้มีความสามารถพิเศษฯ ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และสามารถสนับสนุนการพัฒนาประเทศเข้าสู่ประเทศไทย 4.0 โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งต่อผู้มีความสามารถพิเศษฯ ที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพแล้วไปปฏิบัติงานวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมโดยตรง เพื่อเป็นกำลังหลักในการพัฒนาประเทศในอนาคตต่อไป
2. (ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
2.1 วิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมาย
หัวข้อ |
สาระสำคัญ |
วิสัยทัศน์ |
ผู้มีความสามารถพิเศษฯ ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ สามารถสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรม อันนำไปสู่ผลิตภัณฑ์ใหม่ กระบวนการผลิตใหม่ บริการใหม่ มากขึ้นตามลำดับในระยะ 20 ปี |
พันธกิจ |
สรรหา พัฒนา และส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษฯ ให้ได้รับการพัฒนาด้านการศึกษาอย่างเต็มศักยภาพต่อเนื่องตั้งแต่แรกเกิดจนถึงระดับการศึกษาสูงสุด และส่งเสริมให้มีโอกาสในการค้นคว้า วิจัยทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาตนเองให้มีศักยภาพสูงขึ้น เพื่อเป็นนักวิจัยชั้นนำของประเทศ สามารถสร้างองค์ความรู้ ผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรม เพื่อสนองตอบความต้องการของประเทศ |
เป้าหมาย |
มุ่งยกระดับการพัฒนาผู้มีความสามารถพิเศษฯ ให้ได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพและมีความต่อเนื่องในทุกช่วงวัย ตั้งแต่ระดับปฐมวัย ประถมศึกษา มัธยมศึกษา อาชีวศึกษา ระดับอุดมศึกษา และหลังสำเร็จการศึกษา อีกทั้งสนับสนุนและส่งเสริมให้เข้าสู่การปฏิบัติงานในระบบการพัฒนาวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อเป็นกำลังหลักในการพัฒนาประเทศ โดยตั้งเป้าให้เกิดการผลิตนักวิจัย จำนวน 4,000 คนต่อปี เข้าสู่ภาคส่วนต่าง ๆ ของประเทศ |
2.2 ยุทธศาสตร์การสร้างกลไกและการบริหารจัดการ ประกอบด้วย 5 ยุทธศาสตร์หลัก สรุปได้ ดังนี้
มาตรการ |
ตัวชี้วัดที่สำคัญ เช่น |
โครงการและการดำเนินการ ที่สำคัญ เช่น |
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับการศึกษาปฐมวัย การศึกษาขั้นพื้นฐานและอาชีวศึกษา เป้าประสงค์ 1) พัฒนาและส่งเสริมเยาวชนผู้มีความสามารถพิเศษทางด้านวิทยาศาสตร์ ตั้งแต่ระดับปฐมวัยจนถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย 2) มีหน่วยงานที่รับผิดชอบหลักในการเสาะหาและพัฒนาส่งเสริมเยาวชนอย่างเป็นระบบ ถูกต้อง เหมาะสม และเต็มศักยภาพเป็นรายบุคคล |
||
1) การจัดการศึกษาในระดับปฐมวัยให้เกิดความเบ่งบาน ทั้งร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม โดยสร้างความร่วมมือระหว่างครู ผู้ปกครองและชุมชน ให้เกิดการพัฒนาและส่งเสริมเด็กที่มีลักษณะเด่นที่จะแสดงความสามารถพิเศษออกมาได้อย่างถูกต้อง |
1) จำนวนสถานศึกษา สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยจัดกิจกรรมกระตุ้นการแสดงศักยภาพที่สอดคล้องกับหลักสูตรปฐมวัยและสมรรถนะของเด็ก ที่เชื่อมโยงกับมาตรฐานคุณภาพเด็กปฐมวัยของอาเซียนและมาตรฐานสากล 2) จำนวนครูที่มีความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ใหม่ ๆ รวมทั้งเทคนิคและแนวทางจัดกิจกรรมที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนเพื่อกระตุ้นการแสดงศักยภาพของเด็ก |
1) โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย 2) โครงการพัฒนาและส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สะเต็มศึกษา1 (STEM) สำหรับครูและนักเรียน
|
2) การจัดการศึกษาในระดับชั้น ประถมศึกษา บทบาทของมหาวิทยาลัยราชภัฏ เช่น วิทยากร และการร่วมมือกับครูผู้สอน โดยส่งเสริมพัฒนาเด็กให้เต็มศักยภาพ โดยไม่กำหนดเงื่อนไขในการผูกมัดผู้เรียน แต่เป็นการจัดกิจกรรมที่สามารถกระตุ้นศักยภาพของเด็กให้ฉายแววความสามารถที่มีอยู่ออกมาครูและผู้ปกครองควรได้รับการอบรมให้มีความรู้ความสามารถในการจัดกิจกรรมเพื่อกระตุ้นศักยภาพของเด็ก |
1) จำนวนเด็กในวัยเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ได้รับการศึกษา/พัฒนาเต็มศักยภาพ หรือระบุว่าเป็นผู้มีความสามารถพิเศษฯ เพิ่มขึ้น 2) จำนวนผลงานวิชาการของผู้มีความสามารถพิเศษฯ จากการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมเพิ่มขึ้น
|
1) โครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ 2) โครงการวิทยาศาสตร์พลังสิบ 3) โครงการพัฒนาหลักสูตรเสริมวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ |
3) การจัดการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โดยจัดกิจกรรมเสริมในเวลาเรียนปกติ นอกเวลาเรียนหรือช่วงปิดภาคเรียน และมีครูหรือนักวิชาการเฉพาะทางเป็นพี่เลี้ยงดูแลพิเศษเพื่อมุ่งเน้นกิจกรรมที่บ่มเพาะผู้มีความสามารถพิเศษฯ ให้พัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ และสำหรับผู้ที่มีความสามารถพิเศษฯ เกินศักยภาพของโรงเรียนปกติ ควรจัดให้มีโรงเรียนที่เป็นศูนย์รับช่วงต่อ โดยมีโครงการพิเศษรองรับ และควรมีการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ (Professional Learning Community: PLC) เพื่อสังเกต เก็บข้อมูลและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนานักเรียนผู้มีความสามารถพิเศษฯ ภายในโรงเรียน |
1) จำนวนสถานศึกษา/สถาบันการศึกษา/องค์กรที่จัดการศึกษาตามรูปแบบ/หลักสูตรสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษฯ เพิ่มขึ้น 2) จำนวนผลงานวิชาการของผู้มีความสามารถพิเศษฯ จากการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมเพิ่มขึ้น
|
1) โครงการโรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค (กลุ่มโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย 12 แห่ง) 2) โครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับเด็กและเยาวชนระยะยาว (Junior Science Talent Project: JSTP) 3) โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 4) โครงการคณิตศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ (International Mathematical Olympiad: IMO) 5) โครงการมหาวิทยาลัยเด็กประเทศไทย |
4) การจัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยมุ่งเน้นการส่งเสริมและพัฒนาผู้มีความสามารถพิเศษฯ ให้พัฒนาศักยภาพของตนเองได้อย่างเต็มที่ และควรมีการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้เพื่อสังเกต เก็บข้อมูล และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในโรงเรียน |
จำนวนผู้มีความสามารถพิเศษฯ ได้รับการพัฒนาและส่งเสริมตามศักยภาพเลือกเข้าศึกษาระดับอุดมศึกษาในสาขาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพิ่มขึ้น
|
1) ทุนพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2) โครงการสนับสนุนการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน 3) โครงการโอลิมปิกวิชาการระหว่างประเทศ |
5) การจัดการศึกษาในระดับอาชีวศึกษา เพื่อให้นิสิต/นักศึกษาใช้ชีวิตอย่างมีเป้าหมาย กำกับตนเองให้ลงมือทำ มีความมุ่งมั่นตั้งใจ ประสบความสำเร็จตามที่ตนตั้งเป้าหมายไว้ วิเคราะห์และมองปัญหาเป็นเรื่องที่ท้าทาย |
1) จำนวนผู้มีความสามารถ พิเศษฯ ที่สำเร็จการศึกษาได้รับการส่งเสริมและศึกษาเต็มตามศักยภาพ และมีคุณภาพมาตรฐานตามหลักสูตรที่กำหนด 2) จำนวนผู้มีความสามารถ พิเศษฯ สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรภายในระยะเวลาที่กำหนด |
1) โครงการวิทยาลัยเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ 2) โครงการอาชีวศึกษายกกำลังสอง “สู่มิติใหม่ อาชีวศึกษาไทย” มุ่งผลิตและพัฒนาทุนมนุษย์(Human Capital) 3) โครงการจัดทัพอาชีวศึกษาสู่การเป็นเกษตรกรแม่นยำ2 (Digital Farming) |
หน่วยงานที่รับผิดชอบหลัก : อว. [สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.)] ศธ. [สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) สสวท.] |
||
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับอุดมศึกษา เป้าประสงค์ 1) ต้องผลิตบัณฑิตระดับปริญญาตรีในหลักสูตรที่เข้มข้นและตรงกับความต้องการของประเทศ เพื่อรองรับนักเรียนที่สำเร็จระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ประมาณปีละ 21,000 คน จากผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (หรือผู้ที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพ) 2) ต้องผลิตบัณฑิตระดับปริญญาโท - เอก (หรือผู้มีทักษะการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมขั้นสูง) จากผู้มีความสามารถพิเศษฯ เพื่อเป็นนักวิทยาศาสตร์ นักเทคโนโลยี นักวิจัย และนักนวัตกรรม เพิ่มสูงขึ้นเป็นลำดับ โดยมีเป้าหมายในปี พ.ศ. 2579 จะต้องผลิตได้ปีละไม่ต่ำกว่า 4,000 คน |
||
1) การจัดการศึกษาในระดับปริญญาตรี เพื่อให้นิสิต/ นักศึกษาสามารถสร้างมุมมองและค่านิยมใหม่ให้กับตนเอง มีความสามารถในการประสานความคิดที่แตกต่างและจัดการความขัดแย้ง เมื่อเจอปัญหาที่ไม่สามารถแก้ไขได้ ยอมรับกับสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อต้องเผชิญกับภาวะวิกฤตหรือความขัดแย้งต่าง ๆ สามารถฟื้นคืนจากสภาพปัญหาได้อย่างรวดเร็ว
|
1) ร้อยละของสถาบันอุดมศึกษาที่มีการผลิตบัณฑิต และวิจัยตามความเชี่ยวชาญ และความเป็นเลิศเฉพาะด้านเพิ่มขึ้น 2) จำนวนสถาบันอุดมศึกษาที่จัดหลักสูตรเฉพาะสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษฯ ที่เน้นการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในระดับปริญญาตรีเพิ่มขึ้น
|
1) โครงการทุนโอลิมปิกวิชาการ 2) โครงการส่งเสริมการผลิตครูที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ 3) โครงการทุนรัฐบาลด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
|
2) การจัดการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา (ปริญญาโท - เอก) ให้มีภาวะผู้นำ และมีคุณลักษณะของผู้ที่สร้างการเปลี่ยนแปลง รับผิดชอบต่อสังคม และสร้างสังคมที่พัฒนาอย่างยั่งยืน |
1) จำนวนผู้สำเร็จการศึกษาในสาขาตามกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ตรงตามความต้องการกำลังคนในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เพิ่มขึ้น 2) จำนวนบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ที่มาจากผู้มีความสามารถพิเศษฯ ที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพต่อประชากร 10,000 คน เพิ่มขึ้น 3) จำนวนผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในระดับนานาชาติ ทรัพย์สินทางปัญญา และรางวัลทางวิชาการที่สร้างสรรค์โดยผู้มีความสามารถพิเศษฯ เพิ่มขึ้น |
1) โครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก 2) โครงการทุนสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทย (TGIST) 3) โครงการพัฒนาบัณฑิตศึกษาและวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในศูนย์ความเป็นเลิศต่าง ๆ |
หน่วยงานที่รับผิดชอบหลัก : อว. [สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.)] ศธ. (สสวท.) สำนักงาน ก.พ. |
||
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสศร์และเทคโนโลยีเข้าปฏิบัติงานในหน่วยวิจัยและนวัตกรรม เป้าประสงค์ 1) มีผู้มีความสามารถพิเศษฯ เป็นกำลังคนที่มีทักษะขั้นสูงด้านการวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมไปสู่ประเทศไทย 4.0 ในปี พ.ศ. 2579 จำนวนทั้งสิ้นประมาณ 200,000 คน โดยมีสัดส่วนบุคลากรภาครัฐ : ภาคเอกชน เป็น 60 : 40 2) มีหน่วยงานรองรับการทำงานผู้สำเร็จการศึกษาที่มีศักยภาพเพียงพอในการส่งเสริมและสนับสนุนให้กำลังคนที่มีทักษะขั้นสูงเหล่านี้ได้ปฏิบัติงานอย่างเต็มศักยภาพและสอดคล้องกับการพัฒนาประเทศ |
||
1) การเตรียมความพร้อมบัณฑิตผู้มีความสามารถพิเศษฯ ก่อนเข้าปฏิบัติงาน เช่น จัดให้มีการฝึกประสบการณ์ในหน่วยงานวิจัยหรือศูนย์ความเป็นเลิศก่อนสำเร็จการศึกษา มีการแนะแนวข้อมูลที่เหมาะสมให้กับผู้มีความ สามารถพิเศษฯ ก่อนเข้าปฏิบัติ งาน
|
1) ร้อยละของผู้มีความสามารถพิเศษฯ ที่ได้รับการฝึกประสบ การณ์ในหน่วยงานวิจัย/ศูนย์ความเป็นเลิศ หรือในภาคอุตสาหกรรมก่อนสำเร็จการศึกษา 2) ระดับความพึงพอใจของหน่วยงานผู้ใช้บัณฑิตผู้มีความ สามารถพิเศษฯ และบัณฑิตต่อระบบการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าปฏิบัติงาน |
1) โครงการส่งเสริมสนับสนุนการทำวิจัยระดับหลังสำเร็จการศึกษาปริญญาเอก (Postdoctoral Research) ของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน 2) โครงการให้ผู้มีความสามารถพิเศษฯ ที่รับทุนผูกมัดได้ฝึกประสบการณ์/การเรียนรู้ร่วมกับการทำงาน (Work - integrated Learning) ก่อนสำเร็จการศึกษา
|
2) การเตรียมหน่วยงานรองรับเพื่อบรรจุผู้มีความสามารถ พิเศษฯ เข้าทำงาน เพื่อให้ได้ทำงานและประกอบอาชีพในหน่วยงานที่เหมาะสมกับความเชี่ยวชาญ โดยมีเส้นทางอาชีพ (Career Path) ที่ชัดเจน และมีค่าตอบแทนที่เหมาะสม สร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการให้กับสังคมไทยได้อย่างเต็มศักยภาพ |
1) ร้อยละของหน่วยงานผู้ใช้ที่ผู้มีความสามารถพิเศษฯ ได้ฝึกประสบการณ์การเรียนรู้ร่วมกับการทำงานก่อนสำเร็จการศึกษาและมีความยินดีที่จะรับผู้มีความสามารถพิเศษฯ นั้น เข้าปฏิบัติงาน 2) ระดับความสมบูรณ์ของระบบข้อมูลสารสนเทศสำหรับตำแหน่งรองรับผู้มีความสามารถพิเศษฯ ในหน่วยงานวิจัยและศูนย์ความเป็นเลิศ 3) ระดับความพึงพอใจของหน่วยงานในทักษะที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของผู้มีความ สามารถพิเศษฯ นั้นที่ปฏิบัติงานระหว่างรอบรรจุในโครงการรองรับ (ระยะสั้น) |
1) โครงการเสริมศักยภาพวิชาการ 2) การพัฒนาระเบียบหรือแนวปฏิบัติให้นักเรียนทุนมีอัตรา/ตำแหน่งติดตัว เมื่อได้รับทุนกรณีไปปฏิบัติงานภาครัฐ |
หน่วยงานที่รับผิดชอบหลัก : อว. (สป.อว.สอวช.) ศธ. (สสวท.) |
||
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การสร้างเส้นทางอาชีพ (Career Path) สภาพแวดล้อมและระบบสนับสนุน (Ecosystem) ที่เหมาะสมสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป้าประสงค์ เช่น 1) จัดทำแผนพัฒนาบุคลากร ทุนการศึกษา และทุนศึกษาวิจัยสำหรับบุคลากรด้านการวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ 2) จัดทำแผนพัฒนาทักษะและมาตรฐานวิชาชีพด้านการวิจัยและนวัตกรรมให้กับบุคลากรในระดับต่าง ๆ 3) ขับเคลื่อนการดำเนินงานตามแผนพัฒนาบุคลากร ทุนการศึกษา และทุนศึกษาวิจัยสำหรับบุคลากรด้านการวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ |
||
1) การสร้างสภาพแวดล้อมและระบบสนับสนุนที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดการบูรณาการความร่วมมือด้านการวิจัย โดยสนับสนุนให้อาจารย์ทำวิจัย และสร้างระบบที่เอื้ออำนวยในการทำวิจัย ผลักดันให้มหาวิทยาลัยวิจัยไทยสร้างความเข้มแข็งในสาขาวิชาที่โดดเด่น และสนับสนุนงบประมาณ สนับสนุนให้มหาวิทยาลัยไทยมีรายได้จากการรับทำวิจัย โดยมีเป้าหมายให้ได้รับงบประมาณจากการทำวิจัยมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจนถึงร้อยละ 20จากงบประมาณที่มหาวิทยาลัย ได้รับภายใน 20 ปี ข้างหน้า สนับสนุนและเปิดโอกาสการทำอาชีพที่หลากหลายมากกว่าการทำในสายงานวิจัย |
1) ร้อยละของสถาบันการศึกษาและหน่วยงานวิจัยที่กำหนดนโยบายและผลักดันให้เกิดระบบสิทธิประโยชน์สำหรับนักวิจัย 2) จำนวนสิทธิบัตร อนุสิทธิบัตรวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) การอนุญาตให้ใช้ประโยชน์จากงานวิจัยที่ประสบความสำเร็จ และ/หรือรายได้ที่เกิดจากการอนุญาตให้ใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัยที่สร้างสรรค์ โดยผู้มีความสามารถพิเศษฯ
|
1) โครงการพัฒนาศักยภาพและคุณภาพชีวิตทรัพยากรบุคคล 2) โครงการฝึกอบรม “วิทยากรหลักสูตรการพัฒนานักวิจัย”(Training for the trainers) 3) โครงการฝึกอบรม “สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่” 4) โครงการฝึกอบรม “แนวทางปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพ หลักสูตรสำหรับวิทยากร” 5) โครงการรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ: รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ รางวัลผลงานวิจัย รางวัลวิทยานิพนธ์และรางวัลผลงานประดิษฐ์
|
2) การบูรณาการศูนย์ความเป็นเลิศและสถาบันวิจัยและสร้างระบบโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการพัฒนานวัตกรรม โดยยกระดับมหาวิทยาลัยไทยที่มีศักยภาพสูงให้อยู่ในระดับโลก โดยใช้วิธีเสริมจุดแข็งที่มีอยู่แล้วให้มหาวิทยาลัยที่ต้องการเสนอตัว เป็นศูนย์ความเป็นเลิศ (Center of Excellence) ในด้านที่มีศักย ภาพ และรัฐบาลให้การสนับสนุนงบประมาณอย่างเพียงพอ รวมถึงสนับสนุนห้องปฏิบัติการวิจัยระดับสูง ยกระดับศูนย์ความเป็นเลิศ เพื่อพัฒนางานวิจัยขั้นสูงเฉพาะด้านและเป็นแหล่งรองรับกำลังคนผู้มีความสามารถพิเศษฯ |
1) ร้อยละของเงินสนับสนุนการวิจัย และนวัตกรรมภาค อุตสาหกรรม 2) มูลค่าการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานวิจัยและนวัตกรรมเพิ่มขึ้น 3) ร้อยละของผลงานวิจัยและผลงานสร้างสรรค์ของผู้มีความสามารถพิเศษฯ ที่ถูกนำไปใช้ประโยชน์ในภาคการผลิต และสังคม 4) จำนวนเครือข่ายพันมิตรที่มีความร่วมมือทั้งในและต่าง ประเทศต่อศูนย์ความเป็นเลิศ 5) ร้อยละของผู้มีความสามารถพิเศษฯ ที่เข้าร่วมขับเคลื่อนวิสาหกิจด้วยนวัตกรรม (Innovation Driven Entrepreneurship : IDE) |
1) โครงการศูนย์นวัตกรรมเพื่อชุมชน 2) จัดทำฐานข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐด้านวิทยา ศาสตร์และเทคโนโลยี |
3) การสร้างแรงจูงใจให้นักวิจัยและนักเทคโนโลยีระดับสูงในภาครัฐมีผลตอบแทนที่สูงอย่างมีศักดิ์ศรี และส่งเสริมการลงทุนด้านการวิจัยภาคเอกชน โดยส่งเสริม สนับสนุนให้นักวิจัยมีค่าตอบแทนอย่างเพียงพอ ส่งเสริมการจัดตั้งศูนย์วิจัยของภาคเอกชน พัฒนาอุตสาหกรรมไทยให้ลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ ส่งเสริมการได้รับสิทธิประโยชน์จากการร่วมทำวิจัยกับภาคเอกชน |
1) ร้อยละสถานประกอบการที่มีศักยภาพเพิ่มขึ้น เนื่องจากการที่มีนักวิจัยภาครัฐไปทำวิจัย และพัฒนากลุ่มวิจัยฯ ให้กับสถานประกอบการต่อปี 2) มูลค่าเงินสนับสนุนจากภาครัฐ ต่อการพัฒนาบุคลากรห้องปฏิบัติการวิจัย และโครงสร้างพื้นฐานด้านการวิจัยและนวัตกรรมในภาคอุตสาหกรรม |
1) การแก้ไขระเบียบ ออกแบบงาน และเส้นทางความก้าวหน้าทางอาชีพของบุคลากรวิจัยและพัฒนา และบุคลากรที่มีบทบาทในกิจกรรมนวัตกรรม/ระบบสนับสนุนการพัฒนาของประเทศ ผู้มีความสามารถพิเศษ (Talents) ในภาครัฐให้เติบโตในสายอาชีพได้อย่างก้าวกระโดด (Fast-track) ที่อาจริเริ่มโดย อว. 2) โครงการส่งเสริมบุคลากรจากมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยของภาครัฐไปปฏิบัติงานในภาคเอกชน (Talent Mobility) |
หน่วยงานที่รับผิดชอบหลัก : อว. (สป.อว. สอวช.) |
||
ยุทธศาสตร์ที่ 5 กลไกการบริหารการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่แผนพัฒนากำลังคนของประเทศ เป้าประสงค์ ให้มีศูนย์ประสานงานการจัดการศึกษาและการส่งต่อปฏิบัติงานที่จะเห็นภาพรวมในการพัฒนาและส่งเสริมศักยภาพผู้มีสามารถพิเศษฯ เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาการให้การศึกษาแก่ผู้มีความสามารถพิเศษฯ และการสร้างกำลังคนผู้มีศักยภาพและทักษะขั้นสูงเข้าสู่การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมของประเทศตรงตามเป้าหมายและเท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ของประเทศและโลก |
||
1) การพัฒนาโครงสร้างการทำงานให้ครอบคลุมกลุ่ม เป้าหมาย โดยจัดทำโครงสร้างคณะกรรมการกำหนดนโยบายและคณะกรรมการชุดต่าง ๆ ให้ครอบคลุมการพัฒนาและส่งเสริม ผู้มีความสามารถพิเศษฯ สร้างความร่วมมือกับภาคเอกชนและภาคส่วนอื่น ๆ ในเรื่องของบุคลากรและสาขาวิชาที่ต้องการ รวมถึงขอรับการสนับสนุนงบประมาณ |
มีคณะกรรมการการทำงานเชิงบูรณาการเพื่อพัฒนาผู้มีความสามารถพิเศษฯ สู่แผนการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ |
แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการบูรณาการทุนการศึกษา และคณะกรรมการบริหารบูรณาการ ผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี |
2) การพัฒนาให้มีหน่วยงานประสานงานการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษฯ สู่การเป็นกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้เกิดความเชื่อมโยงของแต่ละหน่วยงาน โดยมีศูนย์ประสาน งานการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษฯ ของประเทศเป็น One Stop Service ที่สามารถเชื่อมการทำงานของหน่วยงาน |
ระดับความสำเร็จของการจัดตั้งหน่วยงานกลางเพื่อประสานงานการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษฯ
|
1) รูปแบบศูนย์ประสานงานการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประเทศไทย 2) โครงสร้างการทำงานโดยคณะอนุกรรมการในระดับต่าง ๆ และประสานการส่งต่ออย่างต่อเนื่อง |
3) ประสานงานการจัดทำงบประมาณและบูรณาการแผนในภาพรวมของประเทศด้านการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความ สามารถพิเศษฯ โดยแต่ละหน่วยงานดำเนินการของบประมาณตามแผนของตนเอง และมีศูนย์ประสานงานการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (ศูนย์ประสานงานฯ) ที่มีบทบาทหน้าที่สำหรับประสานงานการจัดทำงบประมาณ |
1) ระดับความสำเร็จของการจัดทำแผนงบประมาณและแผนการบูรณาการทุนการศึกษาระดับประเทศที่สอดคล้องกับความต้องการบุคลากรวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมของหน่วยงานอย่างแท้จริง 2) การมีคณะกรรมการกลาง ซึ่งมีตัวแทนร่วมมาจากหน่วยงาน ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง |
1) ระบบฐานข้อมูลกำลังคนภาครัฐระดับปริญญาเอกของประเทศ 2) ระบบฐานข้อมูลนักเรียนทุนรัฐบาลด้านวิทยาศาสตร์ เทคโน โลยีและนวัตกรรม 3) ระบบฐานข้อมูลนักเรียนทุนโครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (พสวท.) และโอลิมปิกวิชาการ 4) ระบบฐานข้อมูลความต้องการกำลังคนผู้มีศักยภาพและทักษะขั้นสูงสำหรับการวิจัยและพัฒนา |
4) การสร้างและการถ่ายทอดองค์ความรู้ โดยศูนย์ประสาน งานฯ มีบทบาทในด้านวิจัยและพัฒนาเพื่อเผยแพร่ สร้างองค์ความรู้ และสนับสนุนให้หน่วยงานต่าง ๆ ได้มีการวิจัยและพัฒนาหลักสูตรกิจกรรม และรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับนักเรียน |
ระดับความสำเร็จของการวิจัยและพัฒนา การพัฒนาคลังความรู้ในการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษฯ |
1) หลักสูตรกิจกรรมต้นแบบและนำร่องระดับปฐมวัย 2) โครงการวิทยาศาสตร์พลังสิบ 3) ทุนการศึกษาระดับอุดมศึกษาในระดับปริญญาโท - เอก สำหรับผู้มีความสามารถพิเศษฯ ที่ศึกษาตรงตามสาขาที่เป็นที่ต้องการของประเทศ เช่น โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากร STEM (Science, Technology, Engineering, Mathematics) เพื่อการวิจัยและพัฒนาสำหรับภาคอุตสาหกรรม |
หน่วยงานที่รับผิดชอบหลัก : อว. (สป.อว.สอวช.) ศธ. [สพฐ. สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) สสวท. โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน)] |
2.3 แผนขับเคลื่อนการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษฯ สรุปได้ ดังนี้
หัวข้อ |
สาระสำคัญ |
วัตถุประสงค์ |
1) เพื่อพัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีให้มีความรู้ความสามารถ ทันต่อความก้าวหน้าของโลก มีศักยภาพในการใช้เทคโนโลยี มีกระบวนการจัดการเรียนการสอนและการวัดผล ประเมินผลอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพผู้มีความสามารถพิเศษฯ 2) เพื่อเร่งรัดพัฒนาเด็กและเยาวชนที่มีความสามารถพิเศษ ที่มีทักษะด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี ให้เป็นนักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย นักเทคโนโลยีและนักนวัตกรรม เป็นการเพิ่มปริมาณนักวิทยาศาสตร์ ภายในประเทศให้มากขึ้น สามารถเพิ่มขีดความสามารถของประเทศไทยในการแข่งขันกับนานาประเทศได้ 3) เพื่อขยายฐานองค์ความรู้สู่การพัฒนานักเรียนอย่างเป็นระบบให้ทั่วทั้งสถานศึกษา และเป็นศูนย์อบรมครูและขยายผลสู่สถานศึกษาในเครือข่ายอย่างเป็นระบบ เพื่อสร้างฐานกำลังคนของประเทศในอนาคต |
เป้าหมายการดำเนินงาน |
เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนแผนการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษฯ สู่การพัฒนากำลังคนด้านการวิจัย นวัตกรรม และเทคโนโลยีอย่างยั่งยืน โดยมีหน่วยงานหลักรวม 10 หน่วยงาน ได้แก่ อว. (สวทช. อพวช. สอวช. สป.อว.) ศธ. [สสวท. สพฐ. โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) สอศ. สกศ.] และสำนักงาน ก.พ. และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เป็นต้น เป็นหน่วยงานในการขับเคลื่อน (ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ นี้ และมีเป้าหมายการดำเนินงานในระยะ 10 ปี แบ่งเป็น 1) เป้าหมายระยะสั้น 1 ปี (การเตรียมความพร้อมของแผนการพัฒนา) 2) เป้าหมายระยะกลาง 5 ปี (สถานศึกษามีความพร้อมในการพัฒนาศักยภาพผู้เรียน) 3) เป้าหมายระยะยาว 10 ปี (ผลผลิตอย่างยั่งยืนในการพัฒนาผู้เรียนอย่างเป็นระบบ) |
แนวทางการดำเนินงาน/กิจกรรมที่สำคัญ |
1) การจัดการศึกษาในระดับปฐมวัยให้เกิดความเบ่งบานทั้งร่างกาย สติปัญญา อารมณ์และสังคม 2) การจัดการศึกษาในระดับประถมศึกษาให้เกิดความเบ่งบานทั้งร่างกาย สติปัญญา อารมณ์และสังคม 3) การจัดการศึกษาระดับประถมศึกษา โดยขยายฐานการพัฒนาในรูปแบบศูนย์พัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ตามแนวทาง สสวท. ให้ครอบคลุมทุกจังหวัด 4) การจัดการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในรูปแบบห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ตามแนวทาง สสวท. 5) การจัดการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในรูปแบบห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ 6) การจัดการศึกษาในระดับอาชีวศึกษาในรูปแบบโรงเรียนฐานวิทยาศาสตร์ 7) การจัดหลักสูตรโปรแกรมเฉพาะสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษ หรือโปรแกรมการศึกษาเกียรตินิยม (Honor Program), หลักสูตร Advance Placement และ Dual-Degree Programs ในระดับปริญญาตรี ให้สอดคล้องกับศักยภาพนักเรียน และความต้องการพัฒนากำลังคนของประเทศ 8) การเพิ่มจำนวนทุนระดับปริญญาโท - เอก ให้เพียงพอต่อความต้องการ 9) การส่งเสริม สนับสนุนให้ศึกษาต่างประเทศ สำหรับผู้แทนนักเรียนโอลิมปิกวิชาการระหว่างประเทศ พสวท. และนักเรียนที่มีความสามารถโดดเด่นด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี 10) การพัฒนาและส่งเสริมผู้สำเร็จการศึกษาที่มีศักยภาพสูงเข้าสู่หน่วยงานภาครัฐ 11) การสร้างสิ่งแวดล้อมและระบบสนับสนุน (Ecosystem) ที่เหมาะสมเพื่อให้เกิดการบูรณาการความร่วมมือด้านการวิจัย 12) การพัฒนาระบบการเงินสนับสนุนผู้มีความสามารถพิเศษให้เข้าถึงการพัฒนาศักยภาพอย่างเต็มที่ |
__________________
1สะเต็มศึกษา คือ แนวทางการจัดการศึกษาที่บูรณาการวิทยาศาสตร์ วิศวกรรม เทคโนโลยี และคณิตศาสตร์ โดยเน้นการนำความรู้ไปแก้ปัญหาในชีวิตจริง รวมทั้งพัฒนากระบวนการหรือผลผลิตใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตและการทำงาน
2เกษตรกรแม่นยำ คือ การนำเทคโนโลยีมาผสมผสานเพื่อการเกษตรยุคดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัลเพื่อเพิ่มปริมาณและคุณภาพของผลผลิต อันนำไปสู่การแข่งขันในระดับสากล
15. เรื่อง สรุปผลการดำเนินการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2565
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปผลการดำเนินการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาล ปีใหม่ พ.ศ. 2565 ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน เสนอ
สาระสำคัญ
คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2564 รับทราบแผนบูรณาการป้องกัน และลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาล และช่วงวันหยุด พ.ศ. 2565
โดยศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน ได้ร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่าย ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ดำเนินการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2565 ภายใต้ชื่อ “ชีวิตวิถีใหม่ ขับขี่อย่างปลอดภัย ไร้อุบัติเหตุ” ระหว่างวันที่ 29 ธันวาคม 2564 - 4 มกราคม 2565 เสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยสรุปผลการดำเนินการ ดังนี้
สถิติอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2565 (รวม 7 วัน)
จำนวนครั้งการเกิดอุบัติเหตุ (ครั้ง) |
จำนวนผู้บาดเจ็บ (คน) (admit) |
จำนวนผู้เสียชีวิต (ราย) |
2,707 |
2,672 |
333 |
โดยผลการดำเนินงานช่วงควบคุมเข้มข้น ระหว่างวันที่ 29 ธันวาคม 2564 - 4 มกราคม 2565
เปรียบเทียบกับเทศกาลปีใหม่ 3 ปีย้อนหลัง ส่วนใหญ่เป็นไปตามเป้าหมายตัวชี้วัดที่กำหนด ในภาพรวม ประกอบด้วย 1. การเกิดอุบัติเหตุ 2,707 ครั้ง ลดลงร้อยละ 22.99 ผู้บาดเจ็บ (admit) 2,672 คน ลดลงร้อยละ 25.20 ผู้เสียชีวิต 333 ราย ลดลงร้อยละ 18.65
2. การเกิดอุบัติเหตุใหญ่ 23 ครั้ง ลดลงร้อยละ 33.65
3. การเสียชีวิต ณ ที่เกิดเหตุ 179 ราย ลดลงร้อยละ 22.51
4. ผู้เสียชีวิตในพฤติกรรมเสี่ยงหลัก ได้แก่ ดื่มแล้วขับ ลดลงร้อยละ 49.69 ไม่สวมหมวกนิรภัย ลดลงร้อยละ 11.76 และไม่คาดเข็มขัดนิรภัย ลดลงร้อยละ 43.40
ส่วนผลการดำเนินการที่ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย 2 ประเด็น ได้แก่ ผู้เสียชีวิตในพฤติกรรมเสี่ยงหลัก จากการขับรถเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนด เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.64 และดัชนีความรุนแรงของการเกิดอุบัติเหตุ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.76
แม้ว่าสถิติในภาพรวมจะเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด แต่เมื่อพิจารณาดัชนีความรุนแรง ของอุบัติเหตุช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2565 เพิ่มขึ้น และปัจจัยด้านพฤติกรรมยังเป็นความเสี่ยงหลักที่ส่งผลให้มีการ เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการขับรถเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนด ซึ่งเมื่อนำปัจจัยที่เกี่ยวกับ ลักษณะถนนและบริเวณจุดเกิดเหตุมาพิจารณารวมด้วย พบว่ามีการเกิดอุบัติเหตุบริเวณทางแยก ร้อยละ 13.77 ของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นทั้งหมด เกิดอุบัติเหตุในบริเวณจุดกลับรถ ร้อยละ 3.69 ของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นทั้งหมด และจะมีการนำผลข้อมูลไปวิเคราะห์ถอดบทเรียน ค้นหาข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์ดังกล่าว เพื่อกำหนดมาตรการดำเนินงานป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนให้ครอบคลุมความเสี่ยงทุกมิติต่อไป
16. เรื่อง การแก้ไขข้อขัดข้องการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2564
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงแรงงานเสนอการแก้ไขข้อขัดข้องการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2564 เรื่อง การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว 3 สัญชาติ (กัมพูชา ลาว และเมียนมา) เพื่อสนับสนุนการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังนี้
1. กระทรวงมหาดไทย ออกประกาศปรับปรุงแก้ไข ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาวและเมียนมา ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2564 ให้นายจ้างที่ได้ยื่นคำขออนุญาตทำงานแทนคนต่างด้าว นับแต่วันที่ได้จัดทำข้อมูลไว้แล้ว ชำระค่าธรรมเนียมค่ายื่นคำขอ และชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทำงานภายใน 120 วัน นับแต่วันที่ได้ยื่นคำขอดังกล่าว แต่ต้องไม่เกินวันที่ 15 มีนาคม 2565 สามารถอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษได้จนถึงวันที่ 15 มีนาคม 2565
ทั้งนี้ กระทรวงมหาดไทยได้ยกร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2564 (ฉบับที่ ..)
2. กระทรวงแรงงาน ออกประกาศปรับปรุงแก้ไข ประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2564 ให้นายจ้างที่ได้ยื่นคำขออนุญาตทำงานแทนคนต่างด้าว พร้อมเอกสารหรือหลักฐานตามที่ระบุไว้ในแบบคำขอที่อธิบดีกำหนดต่อนายทะเบียนภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้จัดทำข้อมูลไว้แล้ว จำนวน 19,489 ราย ชำระค่าธรรมเนียมค่ายื่นคำขอฉบับละ 100 บาท และชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทำงานฉบับละ 1,350 บาท ภายใน 120 วัน นับแต่วันที่ได้ยื่นคำขอดังกล่าว แต่ต้องไม่เกินวันที่ 15 มีนาคม 2565 ณ ท้องที่อันเป็นที่ตั้งของสถานที่ทำงานของคนต่างด้าว
ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานได้ยกร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2564 (ฉบับที่ ..)
สาระสำคัญ
การแก้ไขข้อขัดข้องการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2564 มีรายละเอียด ดังนี้
1. ให้นายจ้างที่ได้ยื่นคำขออนุญาตทำงานแทนคนต่างด้าว พร้อมเอกสารหรือหลักฐานตามที่ระบุไว้ในแบบคำขอที่อธิบดีกำหนดต่อนายทะเบียนภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้จัดทำข้อมูลไว้แล้วจำนวน 19,489 ราย ชำระค่าธรรมเนียมค่ายื่นคำขอฉบับละ 100 บาท และชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทำงานฉบับละ 1,350 บาท ภายใน 120 วัน นับแต่วันที่ได้ยื่นคำขอดังกล่าว แต่ต้องไม่เกินวันที่ 15 มีนาคม 2565 ณ ท้องที่อันเป็นที่ตั้งของสถานที่ทำงานของคนต่างด้าว
2. สำนักงานจัดหางานจังหวัด และสำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1 - 10 ออกใบรับคำขออนุญาตทำงานแทนคนต่างด้าว พร้อมกับใบเสร็จรับเงินค่าธรรมเนียมให้กับนายจ้างและให้คนต่างด้าวใช้ใบรับคำขอดังกล่าวคู่กับใบเสร็จรับเงิน เพื่อเป็นหลักฐานแสดงว่าคนต่างด้าวได้รับการผ่อนผันให้ทำงานจนกว่าจะได้รับใบอนุญาตทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทำงานของคนต่าวด้าว
3. กระทรวงมหาดไทย ออกประกาศปรับปรุงแก้ไข ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2564 ให้นายจ้างที่ได้ยื่นคำขออนุญาตทำงานแทนคนต่างด้าว นับแต่วันที่ได้จัดทำข้อมูลไว้แล้ว ชำระค่าธรรมเนียมค่ายื่นคำขอ และชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทำงานภายใน 120 วัน นับแต่วันที่ได้ยื่นคำขอดังกล่าว แต่ต้องไม่เกินวันที่ 15 มีนาคม 2565 สามารถอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษได้จนถึงวันที่ 15 มีนาคม 2565
4. กระทรวงแรงงาน ออกประกาศปรับปรุงแก้ไข ประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2564 ให้นายจ้างที่ได้ยื่นคำขออนุญาตทำงานแทนคนต่างด้าว พร้อมเอกสารหรือหลักฐานตามที่ระบุไว้ในแบบคำขอที่อธิบดีกำหนดต่อนายทะเบียนภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้จัดทำข้อมูลไว้แล้ว จำนวน 19,489 ราย ชำระค่าธรรมเนียมค่ายื่นคำขอฉบับละ 100 บาท และชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทำงานฉบับละ 1,350 บาท ภายใน 120 วัน นับแต่วันที่ได้ยื่นคำขอดังกล่าว แต่ต้องไม่เกินวันที่ 15 มีนาคม 2565 ณ ท้องที่อันเป็นที่ตั้งของสถานที่ทำงานของคนต่างด้าว
ทั้งนี้ การแก้ไขข้อขัดข้องตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2564 ดังกล่าว เป็นการดำเนินการเพื่อให้นายจ้างที่ไม่สามารถชำระค่าธรรมเนียมค่ายื่นคำขอ และค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทำงานได้ทันภายในระยะเวลาที่กำหนด สามารถชำระค่าธรรมเนียมเพื่อนำใบรับคำขอและใบเสร็จรับเงินไปเป็นหลักฐานในการจัดเก็บอัตลักษณ์ข้อมูลบุคคล ตรวจสุขภาพ 6 โรค ภายในวันที่ 31 มีนาคม 2565 และขอรับการตรวจลงตราหรือประทับตราอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวภายในวันที่ 1 สิงหาคม 2565 อันจะส่งผลให้คนต่างด้าวสามารถอยู่ในราชอาณาจักรและทำงานได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย นายจ้างมีแรงงานผลิตสินค้าและบริการ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ และภาครัฐสามารถนำข้อมูลคนต่างด้าวดังกล่าวไปประกอบการดำเนินการตามมาตรการควบคุมโรค เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ต่อไป
17. เรื่อง (ร่าง) แผนรองรับวิกฤตการณ์ด้านน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2563 - 2567 (ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 1)
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ การทบทวนมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2563 ที่ได้เห็นชอบมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2563 (ครั้งที่ 150) เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2563 ในส่วนของแผนรองรับวิกฤตการณ์ด้านน้ำมันเชื้อเพลิงและแผนยุทธศาสตร์กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ดังนี้
แผนรองรับวิกฤตการณ์ด้านน้ำมันเชื้อเพลิง : หลักเกณฑ์การบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2563 |
แผนรองรับวิกฤตการณ์ด้านน้ำมันเชื้อเพลิง : หลักเกณฑ์การบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (ในส่วนที่ขอปรับปรุงตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ครั้งที่ 3/2564 (ครั้งที่ 155) เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2564) |
4. การบริหารจัดการกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ต้องมีจำนวนเงินเพียงพอเพื่อใช้ในการบริหารจัดการกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเมื่อรวมกับเงินกู้ (จำนวนเงินไม่เกิน 20,000 ล้านบาท) แล้วต้องไม่เกินจำนวน 40,000 ล้านบาท ตามมาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2562 การใช้จ่ายเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ในกรอบวงเงิน 40,000 ล้านบาท ตามมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2562 ให้จ่ายได้เพื่อกิจการ ดังต่อไปนี้ 1) เพื่อรักษาเสถียรภาพระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิง 2) ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานกองทุนน้ำมันฯ หรือการบริหารกองทุนน้ำมันฯ และกิจการอื่นที่เกี่ยวกับหรือเกี่ยวเนื่องกับการจัดการกิจการของกองทุนน้ำมันฯ |
4. การบริหารจัดการกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ต้องการจำนวนเงินเพียงพอเพื่อใช้ในการบริหารจัดการกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเมื่อรวมกับเงินกู้ 1) เพื่อรักษาเสถียรภาพระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิง 2) ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานกองทุนน้ำมันฯ หรือการบริหารกองทุนน้ำมันฯ และกิจการอื่นที่เกี่ยวกับหรือเกี่ยวเนื่องกับการจัดการกิจการของกองทุนน้ำมันฯ |
5. เมื่อเกิดวิกฤตการณ์ด้านราคาน้ำมันเชื้อเพลิงให้ใช้เงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อรักษาเสถียรภาพระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ตามแนวทางดังนี้ 5) กรณีฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงติดลบ 20,000 ล้านบาท ให้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง หยุดการชดเชย |
5) กรณีฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงติดลบ 20,000 ล้านบาท หรือติดลบตามจำนวนที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา ตามมาตรา 26 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2562 ให้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง หยุดการชดเชย |
สาระสำคัญ
1. จากสถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง สำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงได้ตราพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงกรอบวงเงินกู้เพื่อรักษาเสถียรภาพระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศ พ.ศ. 2564 เพื่อให้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมีเงินเพียงพอในการบริหารจัดการกองทุนอย่างมีประสิทธิภาพ และรักษาเสถียรภาพระดับราคาน้ำมันในประเทศไม่ให้กระทบต่อค่าครองชีพของประชาชน ดังนั้น จึงได้จัดทำ (ร่าง) แผนรองรับวิกฤตการณ์ด้านน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2563 - 2567 (ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 1) โดยทบทวนหลักเกณฑ์การบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อรักษาเสถียรภาพระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมในกรณีเกิดวิกฤตการณ์ด้านน้ำมันเชื้อเพลิง ดังนี้
1.1 ทบทวนกรอบวงเงินกู้ จากเดิม “...ต้องมีจำนวนเงินเพียงพอเพื่อใช้ในการบริหารจัดการกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเมื่อรวมกับเงินกู้ (จำนวนเงินไม่เกิน 20,000 ล้านบาท) แล้วต้องไม่เกินจำนวน 40,000 ล้านบาท...” แก้ไขเป็น “...ต้องมีจำนวนเงินเพียงพอเพื่อใช้ในการบริหารจัดการกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเมื่อรวมกับเงินกู้แล้วต้องไม่เกินจำนวน 40,000 ล้านบาท...”
1.2 ทบทวนกรณีฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงติดลบ จากเดิม “ข้อ 5 5) กรณีฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงติดลบ 20,000 ล้านบาท ให้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงหยุดการชดเชย” แก้ไขเป็น “กรณีฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงติดลบ 20,000 ล้านบาท หรือติดลบตามจำนวนที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา ตามมาตรา 26 วรรคสามแห่งพระราชบัญญัติกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2562 ให้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงหยุดการชดเชย”
2. กระทรวงพลังงานได้เสนอ (ร่าง) แผนรองรับวิกฤตการณ์ด้านน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2563 - 2567 (ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 1) ซึ่งเป็นแผนระดับที่ 3 ต่อสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) พิจารณาให้ความเห็นประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี ก่อนหน่วยงานนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณา ซึ่งสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้มีความเห็น ดังนี้
2.1 เห็นควรรับทราบการทบทวนแผนฯ ในส่วนของหลักเกณฑ์การบริหารจัดการกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนแปลงในรายละเอียดที่ไม่ใช่สาระสำคัญของแผนระดับที่ 3 ตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2560
2.2 อย่างไรก็ดี เพื่อให้การเสนอเรื่องให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาตามมาตรา 14 (1) เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เห็นควรให้สำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พิจารณาจัดทำแผนรองรับวิกฤตการณ์ด้านน้ำมันเชื้อเพลิง และแผนยุทธศาสตร์กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีลักษณะเป็นกรอบนโยบาย เนื่องจากมาตรา 14 (3) แห่งพระราชบัญญัติกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2562 ได้กำหนดให้คณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมีหน้าที่ในการพิจารณากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกองทุน และกำกับดูแลการดำเนินงานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และสอดคล้องกับนโยบายการบริหารกองทุน ตามที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติกำหนดแล้ว
18. เรื่อง ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ 4/2565 และผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 5/2565
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เสนอผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ (คกง.) ในคราวประชุมครั้งที่ 4/2565 เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2565 และผลการพิจารณาของ คกง. ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 (พระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564) ในคราวประชุมครั้งที่ 5/2565 เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2565 ดังนี้
1. ผลการพิจารณาของ คกง. ในคราวประชุมครั้งที่ 4/2565
1.1 เห็นชอบให้สถาบันวิทยาลัยชุมชนเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการเสริมศักยภาพสมาชิกสหกรณ์ผู้ทำนาเกลือทะเล (เกษตรกรนาเกลือ) (โครงการเกษตรนาเกลือ) โดยขยายเวลาดำเนินโครงการเป็นสิ้นสุดเดือนมิถุนายน 2565 ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้ให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดหนักของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โรคโควิด 19) ในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร พร้อมทั้งเห็นควรให้ความเห็นชอบให้สถาบันวิทยาลัยชุมชนสามารถถัวเฉลี่ยค่าใช้จ่ายของโครงการเกษตรนาเกลือภายใต้กรอบวงเงินโครงการเกษตรนาเกลือ เพื่อให้สามารถจัดหาครุภัณฑ์ที่ใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้ายที่ได้มาตรฐานของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ซึ่งจะช่วยให้โครงการเกษตรนาเกลือเป็นต้นแบบแก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนอื่น ๆ ต่อไปได้ตามวัตถุประสงค์ที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี
1.2 เห็นชอบให้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก (มทร.ตะวันออก) เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการแปลงใหญ่กระบือชลบุรีครบวงจร (โครงการแปลงใหญ่ กระบือฯ) โดยขยายเวลาดำเนินโครงการเป็นสิ้นสุดเดือนกุมภาพันธ์ 2565 ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมได้ให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว
1.3 เห็นชอบให้จังหวัดกระบี่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดมุกดาหาร จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดลำพูน และจังหวัดตากเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการ/ยกเลิกโครงการที่ได้รับอนุมัติให้ใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากระบาดการของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 (พระราชกำหนดฯ กู้เงินฯ พ.ศ. 2563) ตามข้อ 1 (2) ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว
1.4 มอบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการ ตามข้อ 1.1 - 1.3 เร่งแก้ไขข้อมูลโครงการในระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (Electronic Monitoring and Evaluation System of National Strategy and Country Reform : eMENSCR) (ระบบ eMENSCR) ให้สอดคล้องกับการปรับปรุงรายละเอียดของโครงการโดยเร็ว พร้อมทั้งเร่งดำเนินโครงการฯ ให้แล้วเสร็จและปฏิบัติตามข้อ 19 และข้อ 20 ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการดำเนินการตามแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากกระระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 พ.ศ. 2563 ต่อไป (ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี กู้เงินฯ พ.ศ. 2563) รับความเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติมของ คกง. ไปดำเนินการโดยเคร่งครัดต่อไป
2. ผลการพิจารณาของ คกง. ภายใต้พระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 5/2565
2.1 อนุมัติให้นำวงเงินกู้เพื่อการตามมาตรา 5 (3)1 มาใช้เพื่อการตามมาตรา 5 (1)2 เพิ่มเติม (ครั้งที่ 3) จำนวน 5,700 ล้านบาท เพื่อรองรับค่าใช้จ่ายในการแก้ไขปัญหาระบาดของโรคโควิด 19
2.2 อนุมัติโครงการในส่วนของการจัดหาครุภัณฑ์ที่มุ่งเน้นการรองรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง (ผู้ป่วยสีเหลือง สีแดง) ที่เข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลเป็นหลักและสอดคล้องกับแนวทาง/รูปแบบการรักษาผู้ป่วยในปัจจุบัน จำนวน 17 โครงการ กรอบวงเงินรวม 5,731.3133 ล้านบาท โดยให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ภายใต้แผนงานหรือโครงการกลุ่มที่ 1 ตามบัญชีท้ายพระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564
2.3 อนุมัติโครงการบริหารจัดการนำส่งผู้ป่วยโรคโควิด 19 เพื่อเป็นค่าชดเชยปฏิบัติการฉุกเฉินพิเศษระดับพื้นฐานของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน (สพฉ.) (2-A013) (โครงการบริหารจัดการนำส่งผู้ป่วยโรคโควิด 19 ของ สพฉ.) จำนวน 5 เดือน กรอบวงเงิน 37.5 ล้านบาท (ปรับลดจาก 76.752 ล้านบาท) พร้อมทั้งมอบหมายให้ สพฉ. ดำเนินการจัดทำบัญชีแยกค่าใช้จ่ายในการนำส่งผู้ป่วยโรคโควิด 19 และค่าใช้จ่ายในการนำส่งผู้ป่วยจากโรคอื่น ๆ ที่เบิกจ่ายผ่านกองทุนการแพทย์ฉุกเฉินให้ชัดเจน เพื่อให้การใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
2.4 มอบหมายให้หน่วยงานที่รับผิดชอบตามข้อ 2.2 (1) เป็นหน่วยงานรับผิดชอบโครงการตามข้อ 2.2 และ สพฉ. เป็นหน่วยงานรับผิดชอบโครงการตามข้อ 2.3 ดำเนินการจัดทำความต้องการใช้จ่ายเป็นรายเดือน เพื่อให้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) สามารถจัดหาเงินกู้เพื่อใช้จ่ายโครงการตามแผนการใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง พร้อมทั้งปฏิบัติตามข้อ 15 ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการดำเนินการตามแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 พ.ศ. 2564 (ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี กู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564) ทั้งนี้ หน่วยงานรับผิดชอบต้องปฏิบัติตามขั้นตอนของระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 รวมทั้งกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี และหนังสือเวียนที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนมาตรฐานของทางราชการให้ถูกต้องครบถ้วนในทุกขั้นตอนโดยเคร่งครัด รวมทั้งต้องดำเนินการจัดซื้อครุภัณฑ์/เบิกจ่ายเงินกู้ให้แล้วเสร็จภายในเดือนธันวาคม 2565
2.5 มอบหมายให้ส่วนราชการที่จะจัดทำข้อเสนอโครงการที่เกี่ยวกับการจัดหาวัสดุและครุภัณฑ์ทางการแพทย์ เพื่อขอรับการสนับสนุนเงินกู้ตามพระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในระยะต่อไป ต้องจัดทำรายงานแสดงจำนวนครุภัณฑ์ที่มีในปัจจุบัน ทั้งที่อยู่ระหว่างจัดหาและที่ต้องการจัดหาเพิ่มเติม เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาของ คกง. ภายใต้พระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ซึ่งจะช่วยให้การพิจารณาข้อเสนอโครงการเป็นไปอย่างรอบคอบและเหมาะสมต่อไป ทั้งนี้ หากหน่วยงานไม่ได้ดำเนินการดังกล่าวจะถือว่าข้อเสนอโครงการไม่สมบูรณ์เพียงพอสำหรับการพิจารณากลั่นกรองข้อเสนอโครงการ
2.6 อนุมัติให้สำนักงานประกันสังคม (สปส.) กระทรวงแรงงาน เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการเยียวยาผู้ประกันตน ในกิจการสถานบันเทิงและผู้ประกอบอาชีพอิสระที่ทำงานเกี่ยวข้องกับสถานบันเทิง ที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐ (โครงการเยียวยากิจการสถานบันเทิง) ดังนี้ (1) ปรับเพิ่มจำนวนกลุ่มเป้าหมายผู้ประกันตนมาตรา 39 และมาตรา 40 ของโครงการเยียวยากิจการสถานบันเทิง จากเดิม 110,669 คน เป็น 138,669 คน (เพิ่มขึ้น 28,000 คน) และ (2) ปรับเพิ่มกรอบวงเงินของโครงการเยียวยา กิจการสถานบันเทิง จากเดิม 607.1550 ล้านบาท เป็น 747.1150 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 140 ล้านบาท) เพื่อให้ครอบคลุมกลุ่มผู้ประกันตนและผู้ประกอบอาชีพอิสระในสถานบันเทิงที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานได้ให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว พร้อมทั้งมอบหมายให้ สปส. เร่งแก้ไขข้อมูลโครงการในระบบ eMENSCR ให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีโดยเร็วและดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จตามที่กำหนดไว้
2.7 อนุมัติให้สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการมาตรการลดภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของนิสิตนักศึกษา ในสถาบันอุดมศึกษาภาครัฐและเอกชน (โครงการมาตรการการลดภาระฯ) โดยขยายระยะเวลาโครงการมาตรการการลดภาระฯ จากเดิมสิ้นสุดเดือนมกราคม 2565 เป็น เดือนมีนาคม 2565 ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้ให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว พร้อมทั้งมอบหมายให้ สป.อว. เร่งแก้ไขข้อมูลโครงการในระบบ eMENSCR ให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีโดยเร็ว และดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จตามที่กำหนดไว้
___________________________
1 เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด 19
2 เพื่อแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคโควิด 19
ต่างประเทศ
19. เรื่อง ผลการหารือระหว่างรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกับ นางเอลิซาเบท ทรัสส์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหราชอาณาจักรในโอกาสเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการหารือระหว่างรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (นายดอน ปรมัตถ์วินัย) กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหราชอาณาจักร (นางเอลิซาเบท ทรัสส์) และมอบหมายให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องติดตามและเร่งรัดดำเนินการตามผลการหารือฯ ให้เกิดผลเป็นรูปธรรมต่อไปตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
กต. รายงานว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหราชอาณาจักร (นางเอลิซาเบทฯ) ได้เยือนประเทศไทยในฐานะแขกของ กต. เมื่อวันที่ 8 – 10 พฤศจิกายน 2564 เพื่อกระชับความเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ (Strategic Partnership) ระหว่างไทยกับสหราชอาณาจักรให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น โดยในระหว่างการเยือนประเทศไทย นางเอลิซาเบทฯ ได้เข้าเยี่ยมคารวะและพบหารือกับบุคคลสำคัญต่าง ๆ ได้แก่ นายกรัฐมนตรี เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ซึ่งรวมถึงรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (นายดอนฯ) ด้วย โดยทั้งสองฝ่ายได้หารือกันเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2564 มีผลการหารือฯ สรุปได้ ดังนี้
ผลการหารือฯ
ประเด็น |
สาระสำคัญ |
1) ความร่วมมือทวิภาคี |
1.1 ด้านการแลกเปลี่ยนการเยือน ให้มีการแลกเปลี่ยนการเยือนระดับสูงระหว่างกัน โดยสหราชอาณาจักรได้เชิญไทยเข้าร่วมการหารือเชิงยุทธศาสตร์ไทย-สหราชอาณาจักร ครั้งที่ 4 (Strategic Dialogue: SD4) ณ สหราชอาณาจักรในช่วงครึ่ง ปีแรกของปี 2565 1.2 ด้านการเมืองและความมั่นคง ให้มีการลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการป้องกันประเทศในโอกาสแรก และเห็นควรกระชับความร่วมมือ ด้านความมั่นคงทางไซเบอร์ เพื่อยกระดับความร่วมมือด้านการป้องกันประเทศ 1.3 ด้านเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุน สหราชอาณาจักรพร้อมเข้าร่วม การประชุมคณะกรรมการร่วมด้านเศรษฐกิจและการค้า (Joint Economic and Trade Committee: JETCO) ไทย-สหราชอาณาจักร ครั้งที่ 1 ซึ่งไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมฯ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 นอกจากนี้ ไทยได้เชิญชวน สหราชอาณาจักรขยายการลงทุนในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) 1.4 ด้านการอำนวยความสะดวกในการเดินทางระหว่างกัน สหราชอาณาจักรได้ปรับมาตรการเดินทางเข้าประเทศและให้การรับรองวัคซีนโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ทุกชนิดที่องค์การอนามัยโลกให้การรับรอง ซึ่งรวมถึงวัคซีนซิโนแวคและซิโนฟาร์ม โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 22 พฤศจิกายน 2564 และไทยได้ย้ำกับ สหราชอาณาจักรเรื่องการจัดทำความตกลงยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางทูตระหว่างกัน |
2) ประเด็นพหุภาคี |
2.1 การเข้าร่วมเป็นภาคีความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (Comprehensive and Progressive Agreement for Trans-Pacific Partnership: CPTPP) โดยสหราชอาณาจักรได้สอบถามถึงโอกาสที่ไทยจะเข้าร่วมเป็นภาคี CPTPP ภายในปี 2564 ซึ่งไทยแจ้งว่า อยู่ระหว่างการพิจารณาศึกษาในรายละเอียด 2.2 กระบวนการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชน (Universal Periodic Review: UPR) ภายใต้คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (Human Rights Council: HRC) ไทยได้เสนอรายงาน UPR รอบที่ 3 ซึ่งได้แสดงถึงความมุ่งมั่นของไทยในการส่งเสริมสิทธิมนุษยชน ทั้งนี้สหราชอาณาจักรได้ แจ้งว่า รัฐบาล สหราชอาณาจักรได้จัดสรรงบประมาณจำนวนมากเพื่อส่งเสริมสิทธิมนุษยชนเช่นกัน 2.3 สถานการณ์ในเมียนมา สหราชอาณาจักรประสงค์ให้เมียนมายึดมั่นตามกฎกติกาสากล หลักมนุษยธรรม และให้ความร่วมมือกับนานาชาติ และขอให้อาเซียนหารือกับเมียนมาเพื่อหาทางออกที่สันติ 2.4 บทบาทของจีน สหราชอาณาจักรได้แสดงความกังวลต่อท่าทีจีนในประเด็นไต้หวัน โดยเกรงว่าจะเกิดการคาดการณ์สถานการณ์ที่ผิดพลาด ซึ่งไทยเห็นว่า ส่วนใหญ่เป็นการโต้ตอบกันทางวาทกรรมและทั้งสองฝ่ายทราบดีว่าจะไม่เกิดประโยชน์ ใด ๆ หากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดใช้กำลังก่อน 2.5 บทบาทของอินเดีย ยินเดียเป็นแหล่งผลิตที่สำคัญในห่วงโซ่อุปทานเช่นเดียวกับจีน แต่ได้รับผลกระทบจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีนและเสียดุลการค้ากับจีนมาก ดังนั้น อินเดียควรมีบทบาทที่แข็งขันเพิ่มขึ้นในภูมิภาค 2.6 การจัดตั้งหุ้นส่วนไตรภาคีด้านความมั่นคงระหว่างออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร์ และสหรัฐอเมริกา (AUKUS) สหราชอาณาจักรเน้นย้ำว่าแก่นของความร่วมมือ AUKUS คือ การส่งเสริมความร่วมมือด้านเทคโนโลยีระหว่างมิตรประเทศ และมองว่า AUKUS เป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายความตกลงด้านความมั่นคงที่สหราชอาณาจักรมีกับมิตรประเทศทั่วโลก โดยสหราชอาณาจักรประสงค์ขยายความร่วมมือด้านความมั่นคงกับไทยและอาเซียน โดยเฉพาะด้านความมั่นคงทางไซเบอร์ การส่งสริมเสรีภาพในการเดินเรือ และความมั่นคงทางทะเล ซึ่งไทยได้เชิญชวนให้สหราชอาณาจักรร่วมมีบทบาทที่สร้างสรรค์ในกรอบการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับรัฐมนตรีกลาโหมประเทศคู่เจรจา |
3) กิจกรรมอื่น ๆ |
นางเอลิซาเบทฯ ได้เข้าร่วมสัมมนา Roundtable: Clean and Green Initiative-Financing Infrastructure for Recovery and Growth in Thailand กับผู้แทน EEC ธนาคารชั้นนำ และผู้บริหารภาคเอกชน รวมทั้งได้เป็นประธานในพิธีเปิดสถานเอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักรประจำประเทศไทยแห่งใหม่เยี่ยมชมโรงงาน Triumph Motorcycles (Thailand) ที่นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี และมอบรางวัลให้แก่นางสาวบุษยาภา ศรีสมพงษ์ สตรีไทยคนแรกที่ได้รับรางวัล Women of the Future Awards Southeast Asia ในสาขา Professions |
20. เรื่อง ความคืบหน้าการดำเนินงานเกี่ยวกับการประชุมรัฐมนตรีองค์การการค้าโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 12 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง
คณะรัฐมตรีมีมติรับทราบความคืบหน้าการดำเนินงานเกี่ยวกับการประชุมรัฐมนตรีองค์การการค้าโลก (World Trade Organization: WTO) สมัยสามัญครั้งที่ 12 (the Twelfth Ministerial Conference: MC12) และการประชุมที่เกี่ยวข้องตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) นำเสนอ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. เดิม WTO ร่วมกับสาธารณรัฐคาซัคสถานกำหนดจัดการประชุม MC12 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายน - 3 ธันวาคม 2564 ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส และคณะรัฐมนตรีได้มีมติ (23 พฤศจิกายน 2564) เห็นชอบท่าที่ของไทยสำหรับการประชุมดังกล่าว
2. เมื่อวันที่ 26 พฤจิกายน 2564 ประธานคณะมนตรีใหญ่และผู้อำนวยการใหญ่ของ WTO ได้แจ้งว่า เห็นควรเลื่อนการจัดประชุม MC12 ออกไปจนกว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จะเอื้ออำนวย
3. ประเทศสมาชิก WTO ได้มีการหารือประเด็นสำคัญ โดยมีความคืบหน้า ดังนี้
1) ประธานและรองประธานการประชุม MC12 ได้ขอให้ประเทศสมาชิก WTO ร่วมกันรักษาแรงผลักดันในการเจรจาประเด็นต่าง ๆ เพื่อให้สามารถสรุปผลการเจรจาได้โดยเร็วและเสนอให้มีการพิจารณาจัดการประชุมแบบกายภาพในสัปดาห์แรกของเดือนมีนาคม 2565 หากสถานการณ์เอื้ออำนวย
2) ประเทศสมาชิก WTO ได้หารือในประเด็นสำคัญอย่างต่อเนื่อง เช่น การประมง การเกษตร และการรับมือกับโรคระบาดใหญ่ โดยสามารถบรรลุฉันทามติในประเด็นสำคัญซึ่งสอดคล้องกับท่าทีไทยและคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบแล้ว ดังนี้ (1) การต่ออายุการยกเว้นการฟ้องร้องภายใต้กลไกระงับข้อพิพาทของ WTO เป็นการชั่วคราว กรณีได้รับความเสียหายหรือเสียประโยชน์อันพึงได้รับจากพันธกรณี แม้มิได้มีการละเมิดความตกลงทริปส์1 และ (2) ข้อตัดสินใจรัฐมนตรีเกี่ยวกับแผนการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจขนาดเล็กโดยจะมีการนำเสนอ 2 ประเด็นดังกล่าว ต่อที่ประชุม MC12 ต่อไป
___________________________
1ความตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า (Agreements on Trade Related Aspects of Intellectual Property Rights: TRIPS) มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดกฎเกณฑ์ระหว่างประเทศสำหรับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา
21. เรื่อง สรุปการดำเนินโครงการ Country Programme (CP) ระยะที่ 1 ระหว่างไทยกับ OECD
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอดังนี้
1. รับทราบรายงานความก้าวหน้าการดำเนินโครงการภายใต้ Country Programme (CP) ระยะที่ 1
2. เห็นชอบมอบหมาย สศช. และกระทรวงต่างประเทศ (กต.) ดำเนินการร่วมกันในการหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและจัดทำโครงการภายใต้ CP ระยะที่ 2 โดยพิจารณาจากประโยชน์ที่ประเทศไทยจะได้รับ ความสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาของไทยและความคุ้มค่าด้านงบประมาณ ทั้งนี้ เห็นควรให้ กต. เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการจัดทำร่างบันทึกความเข้าใจ (MoU) เกี่ยวกับ CP ระยะที่ 2 ระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organisation for Economic Co-operation and Development: OECD) โดยคำนึงถึงความต่อเนื่องและความสอดคล้องกับนโยบายและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ตลอดจนพันธกรณีของไทยภายใต้ความตกลงที่เกี่ยวข้องและ สศช. เป็นหน่วยงานหลักในการขอรับการพิจารณาจัดสรรงบประมาณเพื่อจ่ายเป็นเงินอุดหนุนให้กับ OECD และงบดำเนินการที่เกี่ยวข้อง โดยให้หารือกับสำนักงบประมาณ (สงป.) เพื่อพิจารณาความเป็นไปได้ในการใช้งบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อดำเนินโครงการ CP ระยะที่ 2 ตลอดจนดำเนินการติดตามผลการดำเนินโครงการและบูรณาการการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ
3. เห็นชอบมอบหมาย กต. ศึกษาถึงความพร้อมและความเป็นไปได้ในการเข้าร่วมเป็นประเทศสมาชิก OECD ตลอดจนประโยชน์ในการเข้าร่วมเป็นประเทศสมาชิก OECD ที่ไทยจะได้รับ เนื่องด้วยการมีส่วนร่วมกับ OECD จะช่วยให้ไทยสามารถเข้าถึงองค์ความรู้และแนวปฏิบัติที่ดีของ OECD ในการยกระดับมาตรฐานนโยบายและมาตรการต่าง ๆ ของไทยให้ทัดเทียมสากล ซึ่งจะช่วยส่งเสริมพัฒนาขีดความสามารถและปฏิรูปกฎระเบียบภายในประเทศให้ดียิ่งขึ้น
สาระสำคัญของเรื่อง
1. โครงการ CP ระยะที่ 1 มีระยะเวลาดำเนินการ 2-3 ปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระชับความร่วมมือระหว่าง OECD กับไทยอย่างบูรณาการ เพื่อให้ไทยสามารถเข้าถึงองค์ความรู้และแนวปฏิบัติที่ดีของ OECD ซึ่งจะช่วยพัฒนาแนวนโยบายภาครัฐของไทยที่จำเป็นเร่งด่วนต่อการส่งเสริมศักยภาพ พัฒนาขีดความสามารถ และปฏิรูปกฎระเบียบภายในประเทศ
2. องค์ประกอบสำคัญของโครงการ CP ระยะที่ 1 ได้แก่
2.1 การสนับสนุนให้มีการรับรองตราสารทางกฎหมายของ OECD เพื่อยกระดับมาตรฐานของไทยให้ทัดเทียมสากล
2.2 การจัดทำรายงานการศึกษาและบทวิเคราะห์นโยบาย
2.3 การเพิ่มการมีส่วนร่วมของหน่วยงานไทยใน OECD ในฐานะสมาชิกหรือผู้สังเกตการณ์ในคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องเพื่อแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติที่ดี
2.4 การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ สัมมนา และการฝึกอบรมแก่หน่วยงานของไทย
2.5 การส่งเจ้าหน้าที่ของไทยไปประจำการที่สำนักงาน OECD ซึ่งประกอบด้วยประเด็นความร่วมมือ 4 สาขาความร่วมมือหลัก ได้แก่ (1) ธรรมาภิบาลภาครัฐและความโปร่งใส (2) สภาพแวดล้อมทางธุรกิจและความสามารถในการแข่งขัน (3) ประเทศไทย 4.0 และ (4) การเติบโตอย่างทั่วถึง เพื่อตอบโจทย์การพัฒนาประเทศตามแผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2565) และนโยบายประเทศไทย 4.0 รวมทั้งสอดรับกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals: SDGs)
3. ผลการดำเนินโครงการ Country Programme ระยะที่ 1
3.1 สาขาหลักที่ 1 ธรรมาภิบาลภาครัฐและความโปร่งใส
โครงการ/หน่วยงานที่รับผิดชอบ |
ผลการดำเนินการ |
(1) โครงการ Improving Integrity and Governance in the Public Sector Designing Effective Anti-corruption Policies (Integrity Review of Thailand Phase 2) [สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (สำนักงาน ก.พ.ร.)] |
จัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อเสริมสร้างความซื่อตรงในการบริหารงานภาครัฐของไทย ระยะที่ 2 แล้วเสร็จ โดยครอบคลุม 3 เรื่อง ดังนี้ 1) การจัดการความเสี่ยง การควบคุมภายในและการตรวจสอบจากหน่วยงานภายนอก 2) มาตรการทางวินัยและจริยธรรม และ 3) หลักประกันความซื่อตรงในกระบวนการตัดสินใจและความโปร่งใสในการกำหนดนโยบาย |
(2) โครงการ Supporting Open and Connected Governance and Stakeholder Engagement : (Government at a Glance Thailand) (สำนักงาน ก.พ.ร.) |
จัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อสร้างความพร้อมในการบริหารงานภาครัฐให้เข้าสู่การเป็นระบบราชการไร้รอยต่อ เปิดกว้าง เชื่อมโยงกัน และเทียบเคียงมาตรฐานสากลโดยครอบคลุม 2 เรื่อง ได้แก่ 1) รัฐบาลดิจิทัลและ 2) รัฐบาลเปิด ซึ่งมุ่งเน้นการกำหนดกรอบนโยบายในทุกระดับให้เชื่อมโยงและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน รวมทั้งการออกแบบยุทธศาสตร์การพัฒนารัฐบาลเปิดที่ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางและการสร้างขีดความสามารถและศักยภาพของข้าราชการไทย |
(3) โครงการ Advancing Budget Reform (สงป.) |
จัดทำรายงานระบบงบประมาณของไทยและแผนปฏิบัติการด้านการจัดทำงบประมาณที่เสริมสร้างความเสมอภาคทางเพศแล้วเสร็จ โดย OECD ได้ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้ช่องทางออนไลน์ในกระบวนการจัดทำงบประมาณเพื่อตอบสนองต่อความต้องการที่แท้จริงของประชาชน |
3.2 สาขาหลักที่ 2 สภาพแวดล้อมทางธุรกิจและความสามารถในการแข่งขัน
โครงการ/หน่วยงานที่รับผิดชอบ |
ผลการดำเนินการ |
(1) โครงการ Improving the Business Climate through an OECD Investment Policy Review (กต.) |
- จัดทำรายงานผลการประเมินกรอบนโยบายการลงทุนและข้อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงนโยบายการลงทุนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของไทย - วิเคราะห์ประเด็นท้าทายและนโยบายที่จำเป็นเพื่อพัฒนาสภาพแวดล้อมด้านการลงทุน โดยเฉพาะการลงทุนจากต่างประเทศซึ่งจะสนับสนุนให้ไทยบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างทั่วถึงและยั่งยืน |
(2) โครงการ Implementing Regulatory Reform and Mainstreaming Good Regulatory Practice [สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.)] |
จัดทำรายงาน Thailand Regulatory Management and Oversight Refoms : A Diagnostic Scan 2020 ซึ่งได้ศึกษาและวิเคราะห์เกี่ยวกับการพัฒนาระบบกฎหมายของไทยในด้านการจัดการและกำกับดูแลด้านกฎหมายแล้วเสร็จ โดย OECD ได้เสนอแนวทาง 3 ประการ ได้แก่ 1) เร่งดำเนินการตามบทบัญญัติและหลักการตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 2) จัดทำและเผยแพร่แนวปฏิบัติเรื่องการมีกฎหมายที่ดีให้หน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่เสนอนโยบายและมาตรการทางกฎหมาย และ 3) ประเมินและพิจารณาความเป็นไปได้ในการพัฒนาระบบกฎหมายเชิงโครงสร้างอย่างต่อเนื่องในระยะกลางและระยะยาว |
(3) โครงการ Developing Competition Policy (สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า) |
- จัดทำรายงานการศึกษาเพื่อพัฒนาแนวทางการกำกับดูแลการรวมธุรกิจแล้วเสร็จ - จัดกิจกรรมในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนนโยบายการแข่งขันทางการค้าที่เสรีและเป็นธรรม การเสริมสร้างประสิทธิภาพในการดำเนินงานขององค์กร - พัฒนาศักยภาพของบุคลากรให้บังคับใช้กฎหมายการแข่งขันทางการค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ |
(4) โครงการการดำเนินธุรกิจที่มีความรับผิดชอบ (Fostering Responsible Business Conduct: RBC) (กต.) |
- จัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเกี่ยวกับ RBC - จัดทำร่างนโยบาย RBC และแนวปฏิบัติพร้อมข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย - จัดทำคู่มือตรวจสอบ วิเคราะห์สถานะ และประเมินทรัพย์สินและหนี้สินของบริษัทในภาคการเกษตร - จัดทำโครงการนำร่องเพื่อพัฒนาธุรกิจภาคการเกษตรของไทยแล้วเสร็จ |
(5) โครงการ Supporing SME Policy: Strengthening Regional Innovation Clusters [สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.)] |
ศึกษาแนวทางพัฒนาเครือข่ายคลัสเตอร์นวัตกรรมในระดับท้องถิ่นและแนวทางพัฒนาระบบผู้ให้การบริการทางธุรกิจและการเชื่อมโยงให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises: SMEs) โดยเลือกจังหวัดเชียงใหม่และเชียงรายเป็นพื้นที่เก็บข้อมูล รวมทั้งได้จัดทำรายงาน Entrepreneurship in Regional Innovation Clusters: Case Study of Chiang Mai and Chiang Rai, Thailand แล้วเสร็จเมื่อเดือนกรกฎาคม 2564 |
(6) โครงการ Supporting SME Policy: the ASEAN SME Policy Index (สสว.) |
จัดทำรายงาน Micro Enterprises in Thailand แล้วเสร็จซึ่งเป็นการศึกษาวิเคราะห์ตัวชี้วัดด้านนโยบายการส่งเสริม SME ของอาเซียนที่ OECD จัดทำเพิ่มเติม เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะการปรับปรุงนโยบายและการดำเนินงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย (Micro-entrepreneurs, Small and Medium-sized Enterprises: MSMEs) ของไทยให้เป็นรูปธรรมใน 3 มิติการพัฒนาได้แก่ 1) การเงินระดับจุลภาค 2) การเข้าสู่ระบบของ MSME และ 3) มาตรการที่เหมาะสมกับ MSME |
3.3 สาขาหลักที่ 3 ประเทศไทย 4.0
โครงการ/หน่วยงานที่รับผิดชอบ |
ผลการดำเนินการ |
(1) โครงการ Enhancing Science, Technology and Innovation Policies (สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ) |
- รวบรวมข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมของไทยและข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อเผยแพร่ในฐานข้อมูลของ OECD โดยไทยสามารถใช้ฐานข้อมูลนี้ในการเปรียบเทียบนโยบายด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ตลอดจนเรียนรู้นโยบายการรับมือการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ของประเทศต่าง ๆ - จัดทำรายงาน A Biorefining Sector in Thailand ซึ่งมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมโรงกลั่นชีวภาพและการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและเทคโนโลยี โดยเน้นการขยายโอกาสให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs |
(2) โครงการ Developing Teaching and Learning (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน) |
- จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ 3 ครั้ง ดังนี้ ครั้งที่ 1 การออกแบบหลักสูตรโดยมุ่งเน้นการเชื่อมโยงการปฏิรูประดับชาติกับแนวปฏิบัติที่ดีด้านการออกแบบหลักสูตรระดับสากล ครั้งที่ 2 การฝึกอบรมครูขั้นต้นและพัฒนาวิชาชีพให้เกิดการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในระดับสูงขึ้น ครั้งที่ 3 การประเมินและทดสอบโดยมุ่งเน้นการใช้ข้อมูลที่ถูกต้องและเชื่อถือได้ในการประเมินผลสำเร็จของผู้เรียน - แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับประเทศอื่น ๆ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการออกแบบและจัดทำหลักสูตรและการจัดทำแนวปฏิบัติในการประเมินผล เพื่อเพิ่มทักษะและความเข้าใจของบุคลากรทางการศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบหลักสูตรสมัยใหม่ |
(3) โครงการ Supporting the Digital Economy (กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม) |
- เข้าร่วมเป็นหนึ่งในประเทศที่ OECD จะสำรวจเพื่อจัดทำรายงาน Digital Economy Outlook 2020 เพื่อวิเคราะห์โอกาสและความท้าทายด้านเศรษฐกิจดิจิทัลของไทย - การดำเนินโครงการ Thailand Digital Outlook เพื่อเปรียบเทียบสถานะการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจที่ได้รับการยอมรับในระดับโลกและนำผลที่ได้ไปปรับปรุงการพัฒนานโยบายด้านดิจิทัลของประเทศ - โครงการวัดมูลค่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจดิจิทัล เพื่อให้ทราบมูลค่าเพิ่มที่สอดคล้องตามมาตรฐานสากล |
(4) โครงการ Modernising Education and Skills Development (สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา) |
จัดทำรายงานการศึกษาและทบทวนการเรียนการสอนและระบบอาชีวศึกษาและสายอาชีพของไทยแล้วเสร็จ ซึ่ง OECD ได้ให้ข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาอาชีวศึกษาและอบรมวิชาชีพ (Vocation Education and Traing: VET ดังนี้ 1) การยกระดับและพัฒนาการเข้าถึง VET 2) การลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงและคุณภาพของ VET 3) การประยุกต์ใช้ข้อมูลทักษะที่เป็นความต้องการของตลาดในการจัดทำนโยบาย และ 4) การให้ความสำคัญกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการออกแบบและถ่ายทอดองค์ความรู้ VET |
3.4 สาขาหลักที่ 4 การเติบโตอย่างทั่วถึง
โครงการ/หน่วยงานที่รับผิดชอบ |
ผลการดำเนินการ |
(1) โครงการจัดทำรายงานประเทศไทยเชื่อมโยงหลายมิติ (Multi-Dimensional Country Review: Thailand’s MDCR) (สศช.) |
จัดทำรายงานทบทวนและประเมินสถานการณ์ประเทศโดยรวมในหลายมิติ ซึ่งนำไปสู่ข้อเสนอแนะเพื่อยกระดับศักยภาพในระดับภูมิภาคและการบริหารจัดการน้ำและความเสี่ยงจากภัยพิบัติ โดย OECD ได้เสนอแนะการพัฒนาศักยภาพในภาคเหนือ เช่น การจัดตั้งห้องทดลองอัจฉริยะเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์สำหรับพื้นที่ และการยกระดับการบริหารจัดการความมั่นคงด้านทรัพยากรน้ำในภาคเหนือของไทย |
(2) โครงการ Thailand’s Economic Assessment (สศช.) |
จัดทำรายงานการศึกษาเพื่อประเมินสถานะทางเศรษฐกิจของไทยแล้วเสร็จ ประกอบด้วย 3 ส่วน ดังนี้ 1) ภาพรวมสถานการณ์เศรษฐกิจของไทยและผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 และข้อเสนอแนะในการปฏิรูปโครงสร้างเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่ดี 2) การพัฒนาทักษะที่เหมาะสมเพื่อสร้างความมั่งคั่ง โดยเสนอให้มีการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตและพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับการประกอบอาชีพในอนาคต และ 3) การใช้ประโยชน์จากการค้าภาคบริการระหว่างประเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุด |
(3) โครงการ Strategic Co-ordination and Monitoring (สศช. และ กต.) |
- ติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการย่อยทั้ง 16 โครงการภายใต้ MoU CP เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และกรอบระยะเวลาที่กำหนดไว้ - จัดการประชุมเผยแพร่ความก้าวหน้าการดำเนินโครงการ CP ระหว่างไทยกับ OECD ภายใต้หัวข้อ “The Concludind Event of the OECD Thailand Country Programme” ผ่านระบบการประชุมทางไกล เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2564 เพื่อสรุปผลการดำเนินโครงการ CP ร่วมกับ OECD รวมทั้งแลกเปลี่ยนผลการดำเนินงานและแนวปฏิบัติที่ดีในการยกระดับแนวทางการพัฒนามาตรฐานของไทยให้ทัดเทียมสากล - การหารือทวิภาคีระหว่างรองนายกรัฐมนตรี (นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานกับเลขาธิการ OECD เพื่อเน้นย้ำความสำคัญของการร่วมมือกับ OECD อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการสนับสนุนการดำเนินการเพื่อตอบโจทย์การปฏิรูปประเทศ เพื่อบรรลุวิสัยทัศน์การพัฒนาของไทยตามยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี และได้กำหนดทิศทางความร่วมมือกับ OECD ในระยะต่อไปให้สอดคล้องกับประเด็นการพัฒนาประเทศในร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570) และการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจหลังจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ตลอดจนสนับสนุนการดำเนินงานเพื่อบรรลุประเด็นที่ไทยให้ความสำคัญในปี 2565 ที่ไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเอเปค |
4. สศช. มีความเห็น สรุปได้ ดังนี้
4.1 การดำเนินโครงการ CP ระยะที่ 1 กับ OECD จะทำให้ไทยสามารถเข้าถึงองค์ความรู้และแนวปฏิบัติที่ดีของ OECD ซึ่งจะช่วยพัฒนาและยกระดับแนวทางการพัฒนาและมาตรฐานของไทยให้ทัดเทียมสากล ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งต่อการส่งเสริมศักยภาพการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน การขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ครอบคลุมและยั่งยืน การส่งเสริมหลักธรรมาภิบาลและความโปร่งใส และการปฏิรูปกฎระเบียบภายในประเทศให้ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้ การแปลงผลจากข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของ OECD ไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ จะสามารถฟื้นฟูประเทศจากวิกฤตโควิด-19 ได้อย่างเข้มแข็งและยั่งยืน
4.2 ความร่วมมือระหว่างไทยกับ OECD ในระยะต่อไปควรเป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกับบริบทการพัฒนาประเทศตามกรอบยุทธศาสตร์ชาติ โดยเฉพาะประเด็นการต่างประเทศที่มุ่งเน้นส่งเสริมสถานะและบทบาทของไทยในประชาคมโลก รวมทั้งส่งเสริมให้ไทยมีการพัฒนาที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากลในทุกมิติและสามารถมีบทบาทเชิงรุกในการร่วมกำหนดมาตรฐานสากลมากขึ้น ดังนั้น จึงควรพิจารณาสนับสนุนการดำเนินโครงการ CP ระยะที่ 2 เพื่อให้ไทยมีการพัฒนาตามมาตรฐานสากลในทุกมิติ
22. เรื่อง ร่างหนังสือแสดงเจตจำนง (Letter of Intent: LOI) สำหรับข้อริเริ่มความต้องการใช้พลังงานสะอาด (Clean Energy Demand Initiative: CEDI) ระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและภาคเอกชนของประเทศสหรัฐอเมริกา
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างหนังสือแสดงเจตจำนง (Letter of Intent: LOI) สำหรับข้อริเริ่มความต้องการใช้พลังงานสะอาด (Clean Energy Demand Initiative: CEDI) ระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและภาคเอกชนของประเทศสหรัฐอเมริกา และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (หรือผู้แทนที่ได้รับมอบอำนาจจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน) เป็นผู้ลงนามในหนังสือแสดงเจตจำนงฯ ดังกล่าว ทั้งนี้หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงหนังสือแสดงเจตจำนงฯ ดังกล่าวในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญ หรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทยและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ ให้กระทรวงพลังงานนำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้งตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอ
สาระสำคัญ
1. การดำเนินความร่วมมือภายใต้หนังสือแสดงเจตจำนงนี้ เป็นการแสดงความมุ่งมั่นร่วมกันของประเทศไทยและประเทศสหรัฐฯ ในการส่งเสริมการลงทุนสำหรับธุรกิจที่สนใจและมีศักยภาพในการจัดหาและใช้พลังงานสะอาดโดยฝ่ายสหรัฐฯ จะชักชวนนักลงทุนมาดำเนินธุรกิจในประเทศไทย และฝ่ายไทยจะอำนวยความสะดวกสำหรับการดำเนินธุรกิจของสหรัฐฯ ดังกล่าว ทั้งนี้ฝ่ายสหรัฐฯ โดย Bureau of Energy Resources (ENR) ได้เสนอให้มีการลงนามใน LOI ว่าด้วยข้อริเริ่ม CEDI ระหว่างรัฐบาลไทยและภาคเอกชนของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นข้อตกลงในลักษณะที่ไม่ผูกมัด (Non-Binding Agreement) โดยความร่วมมือภายใต้หนังสือแสดงเจตจำนงฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการลงทุนจากภาคเอกชนสหรัฐฯ ที่ประกาศจะแสวงหาพลังงานสะอาดในประเทศไทยเพื่อตอบสนองความต้องการใช้พลังงานของธุรกิจ โดยประเทศไทยจะดำเนินการอำนวยความสะดวกสนับสนุนการจัดหาพลังานสะอาดให้กับธุรกิจดังกล่าวภายใต้เงื่อนไขและข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการพัฒนาทางเลือกอื่น ๆ ที่มีความเหมาะสม เพื่อผลักดันให้เกิดการลงทุนจากนักลงทุนสหรัฐฯ ในประเทศไทยต่อไป
2. ขอบเขตของความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างประเทศไทยและสหรัฐฯ ภายใต้หนังสือแสดงเจตจำนงฯ เป็นการแสดงความประสงค์ของบริษัทเอกชนสหรัฐฯ ที่จะมาลงทุนดำเนินธุรกิจด้านต่าง ๆ รวมถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและโครงการพลังงานสะอาดในไทย และภาครัฐของไทยจะเป็นผู้อำนวยความสะดวกและสนับสนุนในการจัดหาพลังงานสะอาดให้กับการดำเนินธุรกิจเหล่านั้น โดยเงินลงทุนที่บริษัทสหรัฐฯ แสดงความประสงค์จะนำมาลงทุนคิดเป็นมูลค่าประมาณ 229.5 – 2,384 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ ใน LOI มีการระบุหลักการเกี่ยวกับการจัดหาพลังงานสะอาด (Procurement Principle) ที่ฝ่ายไทยควรพิจารณาดำเนินการต่อไปในอนาคตเพื่ออำนวยความสะดวกให้เกิดการลงทุนจากสหรัฐฯ ในประเทศไทย ประกอบด้วย (1) การผลักดันให้เกิดตลาดพลังงานสะอาดที่มีศักยภาพและสามารถแข่งขันด้านราคาได้ (2) การกำหนดนโยบายด้านพลังงานสะอาดให้มีความเหมาะสม (3) การส่งเสริมระบบการรับรองสถานะด้านสิ่งแวดล้อมมาปรับใช้ในการซื้อขายพลังงานสะอาด (4) การสนับสนุนการพัฒนานโยบายและโครงสร้างพื้นฐานของด้านไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพและสามารถรองรับการผลิตและการใช้พลังงานสะอาด ทั้งนี้การดำเนินการภายใต้หนังสือแสดงเจตจำนงดังกล่าว จะเป็นไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ และข้อบังคับของภาครัฐของไทยที่เกี่ยวข้อง เป็นประโยชน์และไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อประเทศไทย
3. ภาคเอกชนของประเทศสหรัฐฯ ได้แจ้งความประสงค์เบื้องต้นที่จะร่วมลงนามใน LOI จำนวน 19 บริษัท ได้แก่ 1) HP Inc. 2) Apple 3) Akamai 4) Meta Platforms, Inc. 5) Johnson & Johnson 6) Nike 7) Dow Inc. 8) Iron Mountain 9) Inter IKEA Group 10) Lululemon 11) Spiber Inc. 12) Ralph Lauren Corporation 13) Unilever 14) TAL Apparel 15) Amer Sports 16) RIFE International 17) Amazon 18) WeWork 19) TCI CO., LTD ทั้งนี้ ในขั้นตอนต่อไป จะมีการประชุมหารือร่วมกับบริษัทภาคเอกชนที่ได้ลงนามในหนังสือแสดงเจตจำนงฯ เพื่อกำหนดแนวทาง แผนงาน โครงการและดำเนินความร่วมมือในการลงทุนในประเทศไทยที่มีความชัดเจนและเป็นรูปธรรมต่อไป
แต่งตั้ง
23. เรื่อง การแต่งตั้งผู้แทนไทยในคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน สำหรับวาระระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2565 – 31 ธันวาคม 2567
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ ดังนี้
1. เห็นชอบต่อการแต่งตั้งศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. อมรา พงศาพิชญ์ ดำรงตำแหน่งผู้แทนไทยในคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (ASEAN Intergovernmental Commission on Human Rights: AICHR) สำหรับวาระระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2565 – 31 ธันวาคม 2567 โดยให้เริ่มปฏิบัติหน้าที่ตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ
2. ให้ กต. มีหนังสือแจ้งการแต่งตั้งศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. อมรา พงศาพิชญ์ ดำรงตำแหน่งผู้แทนไทยใน AICHR สำหรับวาระระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2565 – 31 ธันวาคม 2567 ให้เลขาธิการอาเซียนและประเทศสมาชิกอาเซียนทราบ
24. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงสาธารณสุข)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ จำนวน 4 ราย ตั้งแต่วันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ดังนี้
1. นายกฤตเตโช สิริภัสสร นายแพทย์เชี่ยวชาญ (ด้านเวชกรรม สาขาอายุกรรม) สถาบันบำราศ นราดูร กรมควบคุมโรค ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรม สาขาอายุรกรรม) สถาบันบำราศนราดูร กรมควบคุมโรค ตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน 2564
2. นายประจักษ์ จริยพงศ์ไพบูลย์ ทันตแพทย์เชี่ยวชาญ (ด้านทันตกรรม) โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ ดำรงตำแหน่ง ทันตแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านทันตกรรม) โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ ตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2564
3. นายวิเชียร เทียนจารุวัฒนา ผู้อำนวยการกอง (ผู้อำนวยการระดับสูง) กองตรวจราชการ สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ (ด้านกำลังคนสาธารณสุข) กลุ่มที่ปรึกษาระดับกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ตั้งแต่วันที่ 23 สิงหาคม 2564
4. นางสาวสิริวรรณ จันทนจุลกะ ผู้อำนวยการสำนัก (ผู้อำนวยการระดับสูง) สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย ดำรงตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุขทรงคุณวุฒิ (ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม) กรมอนามัย ตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน 2564
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
25. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (สำนักนายกรัฐมนตรี)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอแต่งตั้ง นายสุรพงษ์ มาลี ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำด้านยุทธศาสตร์ (นักทรัพยากรบุคคลเชี่ยวชาญ) สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำด้านยุทธศาสตร์และการวางแผน (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 6 สิงหาคม 2564 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
26. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (สำนักนายกรัฐมนตรี)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เสนอแต่งตั้งนายโสภณ แท่งเพ็ชร์ ผู้อำนวยการสำนัก (ผู้อำนวยการระดับสูง) สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคเหนือ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนงาน (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 9 กรกฎาคม 2564 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
27. เรื่อง การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เสนอแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา รวม 6 คน เนื่องจากประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสามปี เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2565 ดังนี้
1. ศาสตราจารย์สมคิด เลิศไพฑูรย์ ประธานกรรมการ
2. นายขภัช นิมมานเหมินท์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
3. นายดามพ์ สุคนธทรัพย์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
4. นางพิลาสลักษณ์ ยุคเกษมวงศ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
5. นายมนตรี มหาพฤกษ์พงศ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
6. นายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2565 เป็นต้นไป
28. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการสภาสถาปนิก
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเสนอแต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการสภาสถาปนิก จำนวน 5 คน เนื่องจากกรรมการเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสามปี เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2564 ดังนี้
1. นายคธาทิพย์ เอี่ยมกมลา
2. นางดวงขวัญ จารุดุล
3. นายสิงห์ชัย ทุ่งทอง
4. นายสมชาย วัฒนะวีระชัย
5. นายบัณฑิต จุลาสัย
29. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการเสนอแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ จำนวน 8 คน เนื่องจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสี่ปี เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2564 ดังนี้
1. นายประสัณห์ เชื้อพานิช (ด้านการบัญชี)
2. นางสาววลัยรัตน์ ศรีอรุณ (ด้านการตรวจสอบและประเมินผล)
3. ศาสตราจารย์กิตติคุณบวรศักดิ์ อุวรรณโณ (ด้านกฎหมาย)
4. นายมนัส แจ่มเวหา (ด้านการเงิน)
5. รองศาสตราจารย์วรากรณ์ สามโกเศศ (ด้านเศรษฐศาสตร์)
6. นายเดชาภิวัฒน์ ณ สงขลา (ด้านการบริหารและการจัดการ การวางแผน)
7. นายพันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ (ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ)
8. นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร (ด้านวิศวกรรมศาสตร์ หรือสถาปัตยกรรมศาสตร์)
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2565 เป็นต้นไป
- 006
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี