ฐากร-ไทยสร้างไทย ห่วงข้อมูลคนไทยรั่วไหล จี้กระทรวงดีอีเอสรับผิดชอบ ต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน แนะใช้เทคโนโลยียืนยันตัวตน
วันที่ 31 มีนาคม 2566 นายฐากร ตัณสิทธิ์ อดีตเลขาธิการ กสทช. ในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพเศรษฐกิจของประเทศ พรรคไทยสร้างไทย โพสต์เฟตบุ๊คส่วนตัวระบุว่าจากกรณีที่มีข่าวในเว็บไซต์ชื่อ Breach Forums ประกาศขายข้อมูลส่วนตัวคนไทย 55 ล้านคน ซึ่งมีตั้งแต่ชื่อ สกุล เบอร์โทรศัพท์ เลขประจำตัวประชาชน ที่อยู่โดยอ้างว่าขโมยจากหน่วยงานของรัฐนั้น
ตนเองในนามประธานคณะกรรมการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพเศรษฐกิจของประเทศ พรรคไทยสร้างไทย ขอเสนอแนะรัฐบาลเร่งดำเนินการต่อกรณีดังกล่าวดังนี้
1) ข้อมูลส่วนบุคคล ที่รั่วไหลออกไปนั้น สคส (สำนักงานคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล) กระทรวงดีอีเอส มีหน้าที่ดูแลข้อมูลส่วนบุคคลของคนไทยทั้งหมด จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ
2) การยืนยันตัวตน (หรือในอุตสาหกรรมการเงินเรียกว่า kyc -know your customer) ในระดับสากล มีสองแบบ คือ จากสิ่งที่คุณมี (what you have) และ จากสิ่งที่คุณเป็น (who you are)
What you have ก็มี เลขบัตรประชาชน เลขรหัสPIN หรือ รหัสผ่าน ต่างๆ นั่นเป็นของที่ใช้ทั่วไป
แต่หลายปีที่ผ่านมา เทคโนโลยีพัฒนาขึ้นมากมาย จนสามารถใช้ สิ่งที่คุณเป็น (Who you are) ได้ ซึ่งประกอบไปด้วย ลายนิ้วมือ ม่านตา เสียง และ ใบหน้าแทนได้
จะสังเกตว่าการลงทะเบียนซิมในช่วงที่ตนเองเป็นเลขาธิการ กสทช. ในปี 2561-62 ใช้การตรวจสอบใบหน้า เทียบกับรูปในบัตรประชาชนที่เสียบเข้าเครื่อง เพราะเทคโนโลยี พัฒนาไปจนทำได้ในมาตรฐานที่ดี ราคาไม่แพง ก่อนที่ภาคธนาคารจะนำมาใช้แพร่หลายในเวลาต่อมา
ปัจจุบันระบบการตรวจสอบใบหน้านั้นแม่นยำในระดับ99% ไม่ว่าจะใส่หน้ากากซิลิโคนมาก็สามารถแยกแยะได้
ปัญหาการรั่วไหลของข้อมูลเป็นเรื่องที่น่ากังวลมากเพราะประชาชนมีเลขบัตรประชาชน 13 เลขเดียวที่ได้มาตั้งแต่เกิด ไม่สามารถเปลี่ยนได้ ที่น่ากังวลไปกว่านั้นคือ หน่วยงานหลักๆ ไม่ว่าจะเป็น ประกันสังคม สรรพากร ต่างอ้างอิงเลขบัตรประชาชนทั้งสิ้น
ที่ผ่านมาทุกหน่วยงานใช้การยืนยันตัวแต่what you have (จากสิ่งที่คุณมี) เท่านั้น ไม่ได้ใช้ who you are (สิ่งที่คุณเป็น) แต่อย่างใด
สำหรับแนวทางแก้ไขต้องใช้การยืนยันตัวตน จากสิ่งที่คุณเป็น (who you are) ในการทำธุรกรรม โดยผู้เป็นเจ้าของข้อมูลสามารถกำหนดสิทธิในการเข้าใช้ข้อมูลได้ด้วยตนเอง
พรรคไทยสร้างไทย จะเสนอกฎหมายแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน และสามารถทำให้ประชาชน มีความปลอดภัยในเรื่องนี้ ภายใน 6 เดือน
ทั้ง กสทช. กระทรวงดีอีเอส คณะกรรมการประกันภัย ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องบูรณาการทำงานร่วมกัน
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง : ดีอีเอสไล่ล่าแฮกเกอร์ขโมยข้อมูล 55 ล้านชื่อ เร่งปิด9near ฮึ่มโทษหนักติดคุก 100 ปี
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี