'เศรษฐา' แถลงวิสัยทัศน์ IGNITE AGRICULTURE HUB พร้อมดันไทยสู่ศูนย์กลางเกษตรและอาหารของโลก รุก 2 มาตรการ สร้างภูมิคุ้มกัน ยกระดับสินค้าเกษตร เพิ่มเงินเข้ากระเป๋าเกษตรกร 3 เท่า ใน 4 ปี
31 พฤษภาคม 2567 ที่ทำเนียบรัฐบาล นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แถลงวิสัยทัศน์และแนวทางเพื่อขับเคลื่อน IGNITE THAILAND จุดพลัง รวมใจ ไทยต้องเป็นหนึ่ง ยกระดับประเทศไทยสู่ศูนย์กลางเกษตรและอาหารของโลก โดยมีคณะรัฐมนตรี หัวหน้าส่วนราชการ ภาคส่วนต่าง ๆ พร้อมด้วยสื่อมวลชนเข้าร่วม
โอกาสนี้ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้แถลงวิสัยทัศน์ "IGNITE Agriculture 2025" ปลุกพลังเกษตรกรไทย ปลูกความยิ่งใหญ่ระดับโลก โดยสรุปว่า นโยบายเรื่องการเกษตร เป็นเรื่องใหญ่ที่รัฐบาลให้ความสำคัญเป็นอย่างมากเพราะภาคเกษตรเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยประชากรไทยกว่าร้อยละ 40 ล้วนเกี่ยวข้องกับภาคเกษตร ซึ่งรัฐบาลมีความพร้อม มุ่งมั่นยกระดับภาคเกษตรกรรม ส่งเสริมเกษตรกรไทย ให้มีรายได้มากขึ้น 3 เท่าใน 4 ปี ดูแลตั้งแต่ต้นน้ำในภาคการผลิต จนไปถึงการแปรรูปส่งออกไปยังตลาดโลกตลอดห่วงโซ่ ด้วยนโยบายและมาตรการสำคัญ
ทั้งมาตรการสร้างความเข้มแข็งภาคการเกษตร เริ่มตั้งแต่ปัจจัยการผลิตทั้งดิน น้ำ ปุย และพันธุ์ให้เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย ผลิตสินค้าที่ราคาดีเป็นที่ต้องการของตลาด พัฒนาและปรับปรุงพันธุ์พีช พันธุ์สัตว์ไม่ว่าจะเป็นถั่วเหลือง ข้าว มันสำปะหลัง และพืชอื่นๆ ที่สำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ แก้ปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง เพื่อให้เกษตรกร
สามารถประกอบอาชีพได้อย่างเต็มที่ มุ่งสู่ผลสำเร็จที่ตามมาก็คือภาคเกษตรเติบโต นำรายได้เข้าสู่ประเทศอย่างมหาศาล
นอกจากนี้ รัฐบาลเน้นให้ความสำคัญกับมาตรการการใช้เทคโนโลยี และนวัตกรรม ผลักดันการทำเกษตรแม่นยำซึ่งไม่ได้แต่มุ่งเฉพาะเรื่องการใช้เครื่องจักรกล หรือ โดรนทางการเกษตรเท่านั้น แต่ยังต้องรู้แนวโน้มตลาด และผลิตพืชสินค้าที่แนวโน้มดี เช่น ทิศทางพืชอาหารสัตว์ พืชที่มีศักยภาพ ไม่ว่าจะเป็น โกโก้ กาแฟ การบริหารจัดการสภาพดิน บริหารจัดการน้ำ
ให้เหมาะสมกับพื้นที่ ส่งเสริมการใช้ปุ๋ยอย่างถูกต้องเหมาะสม รู้สภาพอากาศ รวมไปถึงเรื่องการสร้างความแข็งแกร่งทางการเงินจัดการกับปัญหา Cimate Change อย่างประกันภัยให้แก่เกษตรกร รวมถึงเพิ่มมูลค่าจากการแปรรูป ทั้งนี้ การทำเกษตร แม่นยำ จะทำให้เราสามารถยกระดับสินค้าเกษตรและศักยภาพเกษตรกรไทยได้
และถัดมาที่รัฐบาลมุ่งให้เกิดการปฏิบัติจริง นั่นคือ มาตรการความยั่งยืน ไม่เผา ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายจะต้องตระหนัก และช่วยเหลือเกษตรกรให้ทำได้จริง การรณรงค์ลดเผาที่ก่อให้เกิดทั้ง PM2.5 ในช่วงที่ผ่านมา ประเทศไทยเราสามารถดำเนินการได้จริง แต่ยังไม่เพียงพอ เราต้องมีมาตรการเพิ่มเติมด้วย อีกทั้งยังช่วยภาคการเกษตรไทยลดผลกระทบจากมาตรการ
กีดกันทางการค้า ที่จะทำให้เราไม่สามารถแข่งขันได้ในเรื่องของ Carbon Emission
ทั้งนี้ ยังมีมาตรการต่างๆ อีกมากมายที่รัฐบาลให้ความสำคัญและพร้อมดำเนินการเพื่อขับเคลื่อนวิสัยทัศน์ IGNITETHAILAND ต้องขอขอบคุณรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และทุกฝ่าย ที่ ร่วมบูรณาการจนเกิดเป็นผลสำเร็จเพื่อนำพาภาคการเกษตไทยไปสู่การเป็นศูนย์กลางการเกษตรและอาหารของโลก และเชื่อมั่นว่าผลสำเร็จจากการพัฒนาภาค
การเกษตร ไม่เพียงแต่จะทำให้ประเทศไทยเป็นที่ยอมรับในระดับโลกเท่านั้น แต่ยังช่วยให้เกษตรกรไทยมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นมีรายได้ดี ปลดหนี้ มีภูมิคุ้มกันและสามารถยืนได้ด้วยลำแข้งของตัวเองอย่างมั่นคงและยั่งยืน
ด้าน ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่าแนวทางยุทธศาสตร์"IGNITE THAILAND จุดประกายเกษตรไทยสู่การเป็นศูนย์กลางการเกษตรและอาหารของโลก" นั้นประเทศไทยถิอเป็นผู้ผลิตสินค้าเกษตรและอาหารที่สำคัญของโลก ผลผลิตมีคุณภาพดีเป็นที่ยอมรับ และภาคเกษตรยังสามารถเชื่อมโยงภาคเศรษฐกิจอื่นๆ
ในหลายมิติ อย่างไรก็ตาม ภาคเกษตรต้องเผชิญกับปัญหานานับประการที่รอการแก้ไข โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกษตรกรยังคงมีรายได้ต่ำเมื่อเทียบกับภาคการผลิตอื่นๆ
โดยรัฐบาลให้ความสำคัญในการทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น ด้วยการใช้"ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้" พร้อมผลักดันเป้าหมายสร้างรายได้เพิ่มขึ้น 3 เท่า ใน 4 ปี ผ่านการขับเคลื่อนด้วย2 มาตรการ ได้แก่ 1. มาตรการสร้างภูมิคุ้มกันและความยั่งยืน และ 2. มาตรการยกระดับสินค้าเกษตรสู่การเพิ่มรายได้ มาตรการสร้างภูมิคุ้มกันและความยั่งยืน มุ่งเน้นเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน เสริมความแข็งแกร่งให้กับเกษตรกร โดยจะมีการดำเนินการในเรื่องต่างๆ ประกอบด้วย
1) ด้านปัจจัยการผลิต พันธุ์ ดิน ปุ่ย น้ำ พัฒนาพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ ส่งเสริมการนำเทคนิค การปรับแต่งหรือแก้ไขยืน (Gene editing: GEd) ปรับเปลี่ยนชนิดพืชให้เหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่ (Agi-Map) ส่งเสริมให้ไทยเป็นแหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์ที่มีศักยภาพและใหญ่ที่สุดในอาเซียน ส่งเสริมการใช้ปุ๋ยแม่นยำ ถูกสูตร ถูกอัตรา ถูกเวลา และถูกวิธีเพิ่มพื้นที่ชลประทานเป็น 40 ล้านไร่ ภายในปี 2570 และการเพิ่มแหล่งน้ำนอกเขตชลประทาน
2) ด้านเทคโนโลยี ส่งเสริมการนำเครื่องจักรกลการเกษตรมาใช้เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงาน แรงงานสูงวัย และสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร ส่งเสริมการทำเกษตรแม่นยำ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปัจจัยการผลิต ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิตทั้งปริมาณและคุณภาพ
3) สร้างอาชีพที่มั่นคงและยั่งยืน อาทิ การลดการเผาในพื้นที่เกษตร ส่งเสริมมาตรการจูงใจลดการเผาแบบมีเงื่อนไข และ การพักหนี้เกษตรกรและมาตรการประกันภัยการเกษตร โดยจะนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในระบบประกันภัยเพื่อช่วยประเมินความเสียหาย เช่นการใช้ดาวเทียม เครื่องวัดความเร็วลม และเครื่องวัดความชื้นของอากาศ เป็นต้น
ส่วนมาตรการยกระดับสินค้าเกษตรสู่การเพิ่มรายได้ ประกอบด้วยการดำเนินงานใน 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 สินค้าที่มีการผลิตมากกว่าความต้องการของตลาดภายในประเทศ ประกอบด้วย ข้าว ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ลำไย ไก่ กุ้ง มุ่งเน้นนโยบายสร้างสมดุลระหว่างปริมาณการผลิตกับความต้องการใช้ การควบคุมปริมาณการผลิตพร้อมสินค้าทางเลือก การสร้างมูลค่าเพิ่ม
การสร้างตลาดใหม่ และการส่งเสริมการตลาด กลุ่มที่ 2 สินค้าที่ตลาดมีความต้องการ ได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลังและทุเรียน มุ่งเน้นนโยบายการเพิ่มผลผลิตในประเทศ ทั้งการเพิ่มผลผลิตต่อไร่และการขยายพื้นที่ปลูกที่เหมาะสม ตลอดจนการผลิตด้วยพันธุ์ดีคุณภาพสูง การเพิ่มซ่องทาง และการเข้าถึงตลาดทั้งในและต่างประเทศ และ กลุ่มที่ 3 สินค้าศักยภาพ ได้แก่ถั่วเหลือง กาแฟ ซา โคเนื้อ และโคนม มุ่งเน้นการเพิ่มผลผลิต ทดแทนการนำเข้า จะสนับสนุนทั้งพันธุ์ดี เทคโนโลยีนวัตกรรมที่เหมาะสม และการเข้าถึงตลาด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะดำเนินการร่วมกับทุกภาคส่วน ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษาโดยเฉพาะพี่น้องเกษตรกร ที่จะร่วมกันชับเคลื่อนทั้ง 2 มาตรการ เพื่อนำพาภาคเกษตรไทยสู่ "ศูนย์กลางการเกษตรและอาหารของโลก" ควบคู่ไปกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตความกินดีอยู่ดีของเกษตรกรไทย คนในภาคการเกษตรจะต้องมีเงินในกระเป๋า
เพิ่มขึ้น 3 เท่า ภายใน 4 ปีผึ้ ซึ่งในระยะเวลา 6 เดือนต่อจากนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะเน้นมาตรการเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการเพื่อสนับสนุนภาคเกษตร ได้แก่ 1) การบริหารจัดการน้ำ ภายใต้โครงการเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา 2) การประกันภัยข้าวนาปี และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ โดยรัฐสนับสนุนค่าเบี้ยประกันภัยร้อยละ 60 และ ธ.ก.ส. สนับสนุนค่าเบี้ยประกันภัยให้ลูกค้าร้อยละ 40 เกษตรกรจะได้รับการชดเชยเมื่อได้รับความเสียหายจากภัยธรรมชาติ 3) การผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยดำเนินมาตรการลดเผา 4ป 3R เป็นการดำเนินการตามแผนอย่างต่อเนื่อง 4) การพัฒนาพันธุ์พืชใหม่ และเร่งศึกษาการใช้เทคโนโลยีการปรับแต่งจีโนม (Genome Editing, GEd)5) การปรับเปลี่ยนพื้นที่ปลูกพืซที่ไม่เหมาะสมเป็นพืชชนิด
อื่นที่ตลาดมีความต้องการ ได้แก่ ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และ 6 ส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตสินค้าที่ได้มาตรฐานเช่น มาตรฐาน GAP มาตรฐาน EUDR มาตรฐาน RSPO
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี