ต้องปฏิวัติการศึกษาเท่านั้น! ‘กมธ.การศึกษา’ จัดติวเข้มสรุป ‘ร่างพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ’ ยันเท่าเทียม ทั่วถึง ทันยุค พลิกโฉมการศึกษาไทย
7 ก.ย.2567 ที่วังยาวรีสอร์ท จ.นครนายก นายโสภณ ซารัมย์ สส.บุรีรัมย์ พรรคภูมิใจไทย จังหวัดบุรีรัมย์ ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ(กมธ.)การศึกษา สภาผู้แทนราษฎร พร้อมด้วยนายสฤษดิ์ บุตรเนียร สส.ปราจีนบุรี พรรคภูมิใจไทย ในฐานะกรรมาธิการ พร้อมด้วยคณะกรรมาธิการและอนุกรรมาธิการ จัดประชุมสรุปร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ....
โดยนายโสภณ กล่าวว่า เป็นการยกร่าง พ.ร.บ. ที่ต้องตอบโจทย์อนาคตของประเทศ รวมทั้งเสริมสร้างคุณภาพให้กับผู้เรียน การจัดการศึกษาของประเทศจำเป็นต้องสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม การเปลี่ยนแปลงของประชากร รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของโลกในด้านต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว และลดความเหลื่อมล้ำในการศึกษา ยกระดับคุณภาพการศึกษา สร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ จึงต้องปฏิวัติการศึกษา เท่าเทียม ทั่วถึง ทันยุค เพื่อพลิกโฉมการศึกษาไทย
นายโสภณ กล่าวอีกว่า คณะกรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร ได้จัดประชุมเสวนาการยกร่าง พรบ.การศึกษาแห่งชาติ โดยลงพื้นที่ทุกภาคของประเทศ และได้นำข้อมูลมาวิภาค นับ 10,000 คนทั่วประเทศ ร่วมกันหลายภาคส่วน อาทิ คณะกรรมาธิการ นักวิชาการ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้นำองค์ต่างๆ ผู้ปกครอง นักเรียน นักศึกษา และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และในระหว่างวันที่ 6-8ก.ย. 2567 ได้นำข้อมูลจากการวิภาคที่ผ่านมาหลายครั้ง นำมาหาข้อสรุปทบทวนในแต่ละประเด็น มีประเด็นสำคัญๆ ดังนี้ 1.ระบบการศึกษา ได้ปรับปรุงให้เป็น 2 ระบบ ได้แก่ ในระบบ กับ การศึกษาตามอัธยาศัย และได้เน้นให้เกิดความชัดเจน ทั่วถึง มีคุณภาพ 2.การถ่ายโอนภารกิจในการจัดการศึกษา ระดับปฐมวัย ของ สพฐ ให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3.การจัดตั้งกลุ่มโรงเรียน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารทรัพยากร ได้แก่ บุคลากร และวัสดุ อุปกรณ์ สื่อ สถานที่ ให้ใช้ร่วมกันให้เกิดความคุ้มค่าและมีคุณภาพ
นายโสภณ กล่าวด้วยว่า 4.หลักสูตร ได้กำหนดให้มีการปรับปรุงหลักสูตร แกนกลาง ทั้ง 3 ระดับ ได้แก่ ปฐมวัย การศึกษาขั้นพื้นฐาน และอาชีวศึกษา 5.สำหรับปัญหาเรื่องโครงสร้างการบริหาร และภารงานที่ซ้ำซ้อนที่เป็นอุปสรรคต่อการจัดการศึกษา ทางคณะกรรมาธิการ ได้รับฟังจากหลายภาคส่วน และจะดำเนินการให้ลงตัวที่สุด 6.สำหรับปัญหาเรื่องโครงสร้างการบริหาร และภาระงานที่ซ้ำซ้อนที่เป็นอุปสรรคต่อการจัดการศึกษาทางคณะกรรมาธิการ ได้รับฟังจากหลายภาคส่วน และได้รับปรับโครงสร้างดังกล่าวให้ชัดเจนขึ้น และ7.การศึกษาระบบทวิภาคีเป็นการสร้างข้อตกลงร่วมกันของสถานศึกษา กับสถานประกอบการ หรือสถานศึกษาอาชีวศึกษา เพื่อเพิ่มโอกาศให้กับผู้เรียนได้ใช้เวลาส่วนหนึ่ง เรียนรู้ เพื่อเกิดทักษะในการทำงาน ค้นพบตนเอง ผู้จัดการศึกษา มีใบรับรองผลการศึกษาตามความเหมาะสม ร่างพ.ร.บ.ชุดนี้เป็นความร่วมมือจากทุกพรรคการเมือง ใช้เวลา 1 ปี ถือว่าเป็นการพลิกโฉมการศึกษาไทย
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี