12 พ.ย.67 จากกรณี นายเชาว์ มีขวด ทนายความ ได้ออกมาโพสต์แสดงความคิดเห็นเรื่อง นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง ขาดคุณสมบัตินั่งประธานบอร์ดแบงก์ชาติ โดยชี้ให้เห็นว่า ตำแหน่งประธานที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรีของนายกิตติรัตน์ แม้โดยนิตินัยจะไม่ได้เป็นข้าราชการการเมือง โดยเลี่ยงใช้คำว่าที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี แต่โดยพฤตินัย ตามคำสั่ง สำนักนายกรัฐมนตรีที่ 214 / 2566 ระบุให้ นายกิตติรัตน์ ทำหน้าที่ในการให้คำปรึกษา และพิจารณาเสนอความเห็นหรือข้อเสนอแนะต่าง ๆ ตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย และให้ส่วนราชการสนับสนุนงานของที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรีตามที่ได้รับการร้องขอและให้สำนักเลขาธิการนายกฯอำนวยความสะดวกในการปฎิบัติหน้าที่ของที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี สำหรับค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามระเบียบของราชการโดยให้เบิกจ่ายจากสำนักเลขานายกรัฐมนตรี
"ตำแหน่งประธานที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี ของนายกิตติรัตน์ จึงอยู่ในความหมายของ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตามความใน ข้อ 16 (4) ของระเบียบว่าด้วยการประชุมของคณะกรรมการคัดเลือกฯ เพราะนายกิตติรัตน์ ยังพ้นตำแหน่งประธานที่ปรึกษาของนายกฯ ไม่ถึงหนึ่งปี โดยพ้นตำแหน่งไปในวันที่นายเศรษฐา ทวีสิน หลุดตำแหน่งนายกฯ เมื่อวันที่ 14 ส.ค.67 เท่ากับเพิ่งพ้นหน้าที่มาเพียงแค่ไม่ถึงสามเดือน" ตามข่าวที่เสนอไปแล้วนั้น ( อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง : 'เชาว์'ฟันธง!!! 'กิตติรัตน์'ขาดคุณสมบัตินั่ง ปธ.บอร์ดแบงก์ชาติ แนะฟ้องศาลเอาผิด คกก.คัดเลือกฯ)
ล่าสุด แหล่งข่าวได้ระบุว่า สำหรับความหมายของ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง นั้น ก่อนหน้านี้ได้มีความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งเป็นบันทึกสำนักงานคณะกรรมกากฤษฎีกา เรื่อง ฐานะและการดำรงตำแหน่งของผู้ช่วยรัฐมนตรี คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 1) เรื่องเสร็จที่ 139/ 2547 มีเนื้อหาดังนี้
"ข้าราชการการเมือง" เป็น" สถานะที่กำหนดให้มีขึ้นตามกฎหมายและเป็นผู้ดำรงตำแหน่งที่กำหนดไว้ในกฎหมาย เช่น ตามมตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการการเมือง
พ.ศ. 2535
ทั้งนี้ สำหรับ "ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง" ได้มีบันทึกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่อง การดำรงตำแหน่งทางการเมืองของกรรมการและผู้บริหารรัฐวิสาหกิจ คณะกรรมการกฤษฎีกา (ที่ประชุมใหญ่กรรมการร่างกฎหมาย) เรื่องเสร็จที่ 481/2535 ว่า "ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง" หมายถึง ผู้ดำรงตำแหน่งที่มีหน้าที่อำนวยการบริหารประเทศหรือควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน รวมถึงบรรดาผู้ที่รับผิดชอบงานด้านการเมืองทั้งหมดอันเป็นงานที่เกี่ยวกับการกำหนดนโยบายให้ฝ่ายปกครองที่มีหน้าที่ปฏิบัติงานประจำรับไปบริหารให้เป็นไปตามนโยบายจึงหมายถึง คณะรัฐมนตรี สมาชิกรัฐสภา และผู้ดำรงตำแหน่งอื่นที่มีลักษณะทำนองเดียวกันจึงมีความหมายกว้างกว่าคำว่า "ข้าราชการการเมือง" ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการการเมือง พ.ศ. 2535 ดังนั้น คำว่า "ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง" นี้ จึงหมายถึงคณะรัฐมนตรี สมาชิกรัฐสภา และผู้ดำรงตำแหน่งอื่นที่มีลักษณะทำนองเดียวกันที่มีอำนาจหน้าที่ในการอำนวยการบริหารประเทศหรือควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินและเมื่อระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยคณะกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี พ.ศ. 2546 ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของผู้ช่วยรัฐมนตรีในการช่วยเหลือในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีต่าง ๆ ของกระทรวงตามที่ได้รับมอบหมาย ในการอำนวยการบริหารประเทศหรือการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน ผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้ช่วยรัฐมนตรีจึงอยู่ในความหมายของคำว่า"ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง" ด้วย
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี