วันนี้ 12 พฤศจิกายน 2567 เวลา 10.00 น. นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้
กฎหมาย
1. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาโครงการอนุรักษ์และดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติภายในอุทยานแห่งชาติตามมาตรา 64 แห่งพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 พ.ศ. .... และร่างพระราชกฤษฎีกาโครงการอนุรักษ์และดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติภายในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าหรือเขตห้ามล่าสัตว์ป่าตามมาตรา 121 แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ ดังนี้
1. ร่างพระราชกฤษฎีกาโครงการอนุรักษ์และดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติภายในอุทยานแห่งชาติตามมาตรา 64 แห่งพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 พ.ศ. .... (จำนวน 4 แห่ง)
2. ร่างพระราชกฤษฎีกาโครงการอนุรักษ์และดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติภายในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าหรือเขตห้ามล่าสัตว์ป่าตามมาตรา 121 แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 พ.ศ. .... (จำนวน 2 แห่ง)
รวม 2 ฉบับ ซึ่ง ทส. ได้แก้ไขในส่วนบัญชีท้ายและแผนที่ท้ายจากร่างที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) ตรวจพิจารณา ให้สอดคล้องกับผลการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ มาตราส่วน 1 : 4000
(One Map)
สาระสำคัญ
1. ร่างพระราชกฤษฎีกาทั้ง 2 ฉบับ ที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ เป็นร่างพระราชกฤษฎีกาที่คณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติอนุมัติหลักการเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2566 และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติได้มีการแก้ไขในส่วนบัญชีท้ายและแผนที่ท้ายจากร่างที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยเป็นการกำหนดให้มีโครงการอนุรักษ์และดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติภายในอุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและเขตห้ามล่าสัตว์ป่า เพื่อให้ช่วยเหลือประชาชนที่ไม่มีที่ดินทำกินและได้อยู่อาศัยหรือทำกินในอุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า หรือเขตห้ามล่าสัตว์ป่าที่มีการประกาศกำหนดมาก่อนวันที่พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 และพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 ใช้บังคับ สามารถอยู่อาศัยหรือทำกินในพื้นที่นั้นเพื่อการดำรงชีพต่อไปได้โดยรัฐไม่ได้ให้สิทธิในที่ดินนั้นแต่อย่างใด และบุคคลดังกล่าวต้องมีหน้าที่ในการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ให้มีความสมบูรณ์และมีระบบนิเวศที่เหมาะสม โดยกำหนดให้มีการจัดทำโครงการดังกล่าวภายในอุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตห้าม ล่าสัตว์ป่า จำนวน 6 แห่ง (อุทยานแห่งชาติ จำนวน 4 แห่ง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า จำนวน 1 แห่ง เขตห้ามล่าสัตว์ป่า จำนวน 1 แห่ง) ซึ่งแผนที่โครงการฯ จำนวน 6 แห่งดังกล่าวมีความสอดคล้องกับผลการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ มาตราส่วน 1 : 4000 (One Map) ของพื้นที่กลุ่มที่ 2 จังหวัดจันทบุรีและจังหวัดลพบุรี ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2565 และของพื้นที่กลุ่มที่ 3 จังหวัดเพชรบูรณ์ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 แล้ว ทั้งนี้ คณะกรรมการอุทยานแห่งชาติและคณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าได้ให้ความเห็นชอบในหลักการของร่างพระราชกฤษฎีกา รวม 2 ฉบับ ดังกล่าวแล้ว
2. ทส. ได้แก้ไขบัญชีท้ายและแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาในเรื่องนี้ รวม 2 ฉบับ ดังนี้
1. ร่างพระราชกฤษฎีกาโครงการอนุรักษ์และดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติภายในอุทยานแห่งชาติตามมาตรา 64 แห่งพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 พ.ศ. .... |
|
อุทยานแห่งชาติตามร่างพระราชกฤษฎีกาเดิม จำนวน 7 แห่ง |
อุทยานแห่งชาติตามร่างพระราชกฤษฎีกาที่แก้ไขให้สอดคล้องกับผลการดำเนินการ One Map จำนวน 4 แห่ง |
1. อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์ 2. อุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี 3. อุทยานแห่งชาติเขาสิบห้าชั้น จังหวัดจันทบุรี 4. อุทยานแห่งชาติเฉลิมรัตนโกสินทร์ จังหวัดกาญจนบุรี 5. อุทยานแห่งชาติต้นสักใหญ่ จังหวัดอุตรดิตถ์ 6. อุทยานแห่งชาติตาดหมอก จังหวัดเพชรบูรณ์ 7. อุทยานแห่งชาติลานสาง จังหวัดตาก |
1. อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์ 2. อุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี 3. อุทยานแห่งชาติเขาสิบห้าชั้น จังหวัดจันทบุรี
6. อุทยานแห่งชาติตาดหมอก จังหวัดเพชรบูรณ์
|
2. ร่างพระราชกฤษฎีกาโครงการอนุรักษ์และดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติภายในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าหรือเขตห้ามล่าสัตว์ป่าตามมาตรา 121 แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 พ.ศ. .... |
|
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าหรือเขตห้ามล่าสัตว์ป่า ตามร่างพระราชกฤษฎีกาเดิม จำนวน 7 แห่ง |
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าหรือเขตห้ามล่าสัตว์ป่า ตามร่างพระราชกฤษฎีกาที่แก้ไขให้สอดคล้องกับผลการดำเนินการ One Map จำนวน 2 แห่ง |
1. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูผาแดง จังหวัดเพชรบูรณ์ 2. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าลำน้ำน่านฝั่งขวา จังหวัดอุตรดิตถ์ 3. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี 4. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทับพญาลอ จังหวัดเชียงราย 5. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จังหวัดลพบุรี 6. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำผาท่าพล จังหวัดพิษณุโลก 7. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำประทุน จังหวัดอุทัยธานี |
1. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูผาแดง จังหวัดเพชรบูรณ์
5. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จังหวัดลพบุรี
|
2. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมสรรพากร กระทรวงการคลัง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีรับทราบร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมสรรพากร กระทรวงการคลัง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่สำนักคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีส่งร่างกฎกระทรวงดังกล่าวให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังลงนาม และประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป
สาระสำคัญ
ร่างกฎกระทรวงฯ ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วมีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมสรรพากร กระทรวงการคลัง พ.ศ. 2560 โดย 1) ยุบเลิกกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก และรวมภารกิจงานด้านการบริหารภาษีธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กให้กองวิชาการแผนภาษี เพื่อให้การกำหนดนโยบายและมาตรการภาษีสำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs) มีความคล่องตัวและมีการบูรณาการในภาพรวม และ 2) จัดตั้งกองภาษีระหว่างประเทศ เพื่อกำหนดภารกิจงานด้านภาษีระหว่างประเทศและเพิ่มขีดความสามารถในการขับเคลื่อนระบบภาษีให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งนี้
ในการปรับปรุงโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการและหน้าที่และอำนาจของกรมสรรพากรดังกล่าว ไม่มีการเพิ่มจำนวนกองและอัตรากำลังในภาพรวม
3. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดความผิดร้ายแรงในอากาศยานในระหว่างการบิน พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดความผิดร้ายแรงในอากาศยานในระหว่างการบิน พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
คค. ยกร่างกฎกระทรวง ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้ความผิดอาญาที่มีอัตราโทษจำคุกขั้นสูงตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปเป็นความผิดร้ายแรงในอากาศยานในระหว่างการบิน เพื่อให้ผู้ควบคุมอากาศยานตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความรับผิดบางประการต่อการเดินอากาศ พ.ศ. 2558 มีอำนาจหน้าที่ส่งตัวบุคคลผู้กระทำความผิดร้ายแรงในอากาศยานให้เจ้าหน้าที่เกี่ยวกับความผิดในอากาศยานดำเนินคดีอาญา เพื่อให้ผู้ควบคุมอากาศยานปฏิบัติหน้าที่ถูกต้องเป็นมาตรฐาน และลดการใช้ดุลพินิจของผู้ควบคุมอากาศยานในการกำหนดความผิดร้ายแรงในอากาศยาน ตลอดจนอนุวัติอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยความผิดและการกระทำอื่น ๆ บางประการที่กระทำบนอากาศยาน ที่ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคีซึ่งจะทำให้การบินพลเรือนของประเทศไทยมีมาตรฐานมีแนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจนสอดคล้องและเป็นที่ยอมรับของสากล
การออกกฎกระทรวงในเรื่องนี้เป็นการออกกฎหมายลำดับรองตามความในมาตรา 30 (2) แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดบางประการต่อการเดินอากาศ พ.ศ. 2558 ซึ่งเป็นไปตามมาตรา 22 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 สำหรับกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ ให้นับแต่เมื่อพ้นกำหนด 2 ปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ (นับแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2564) ซึ่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดบางประการต่อการเดินอากาศ พ.ศ. 2558 เป็นกฎหมายที่มีผลใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายฯ ใช้บังคับ (ก่อนวันที่ 27 พฤศจิกายน 2562) คค. จึงต้องดำเนินการออกกฎหมายลำดับรองให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 และต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2566 เห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองออกไปอีก 1 ปี ดังนั้น คค. จึงต้องดำเนินการออกกฎกระทรวงในเรื่องนี้ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2567 ทั้งนี้ คค. ได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว
4. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าเดินทางและค่าธรรมเนียมสำหรับการเดินทางไปตรวจเรือนอกสถานที่ราชการ พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าเดินทางและค่าธรรมเนียมสำหรับการเดินทางไปตรวจเรือนอกสถานที่ราชการ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วนอีกครั้งหนึ่ง โดยให้รับข้อสังเกตของกระทรวงการคลังไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ รวมทั้งให้กระทรวงคมนาคมรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
สาระสำคัญ
1. ร่างกฎกระทรวงฉบับนี้เป็นการกำหนดอัตราค่าเดินทางและค่าธรรมเนียมสำหรับการเดินทางไปตรวจเรือนอกสถานที่ราชการของเจ้าท่าและเจ้าพนักงานตรวจเรือในการออกใบสำคัญ เช่น ใบสำคัญรับรองการตรวจเรือเพื่ออนุญาตให้ใช้เรือ ตามมาตรา 164 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2525 โดยกำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมมีอำนาจในการออกกฎกระทรวงดังกล่าว และให้ผู้ยื่นขอรับใบสำคัญ (ผู้ประกอบการ) เสียค่าเดินทางและค่าธรรมเนียมตามที่กำหนดในกฎกระทรวงนี้ ซึ่งการกำหนดค่าเดินทางนั้นสอดคล้องกับพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. 2526 และที่แก้ไขเพิ่มเติมตามมาตรา 14 ซึ่งกำหนดรายการค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการชั่วคราว1 ทั้งนี้ อัตราค่าเดินทางตามร่างกฎกระทรวงฉบับนี้ได้ใช้ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เป็นเกณฑ์ แต่ได้ปรับลดลงบางรายการเพื่อให้มีความเหมาะสมและไม่เป็นการสร้างภาระให้กับผู้ประกอบการมากจนเกินไป เนื่องจากจะมีการชำระค่าอื่น ๆ อีกด้วย เช่น โดยปกติค่าเบี้ยเลี้ยงรายวันของราชการในการไปราชการในราชอาณาจักรมีอัตรา 240 บาท ต่อวัน แต่ในร่างกฎกระทรวงนี้กำหนดไว้ 100 บาทต่อวัน
2. ในทางปฏิบัติพบว่า ผู้ประกอบการจะอำนวยความสะดวกในการออกค่าเดินทางและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางทั้งหมดในการไปตรวจเรือนอกสถานที่ราชการ เนื่องจากยังมิได้ออกกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าเดินทางและค่าธรรมเนียมสำหรับการเดินทางไปตรวจเรือนอกสถานที่ราชการตามพระราชบัญญัติดังกล่าว ดังนั้น ร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้จะทำให้เกิดความชัดเจนเกี่ยวกับการกำหนดอัตราค่าเดินทางและค่าธรรมเนียมสำหรับการเดินทางไปตรวจเรือนอกสถานที่ราชการ เพื่อประโยชน์สำหรับผู้ประกอบการในการคำนวณต้นทุนค่าใช้จ่ายในทางธุรกิจและให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ดังนี้
2.1 กำหนดให้ “ค่าเดินทางไปตรวจเรือ” หมายความว่า ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าที่พัก ค่าพาหนะ และค่าใช้จ่ายในการตรวจเรือ เช่น ค่าผ่านทางพิเศษ ค่าธรรมเนียมสนามบิน ค่าใช้บริการโทรศัพท์ ค่าประกันภัย ค่าเสี่ยงภัยในการตรวจเรือ ค่าตรวจเรือล่วงเวลา เป็นต้น ร่างกฎกระทรวงฯ จึงได้กำหนดค่าเบี้ยเลี้ยงเป็นเงินจำนวน 100 บาท ต่อวัน สำหรับการตรวจเรือภายในประเทศ และเป็นเงินจำนวน 3,100 บาท ต่อวัน สำหรับการตรวจเรือต่างประเทศ ค่าเช่าที่พักจ่ายตามจริง ไม่เกินจำนวน 2,500 บาท ต่อวัน สำหรับการตรวจเรือภายในประเทศ และจ่ายตามจริงไม่เกินจำนวน 10,000 บาท ต่อวัน สำหรับการตรวจเรือต่างประเทศ ซึ่งจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ประกอบการในการคำนวณต้นทุนค่าใช้จ่ายในทางธุรกิจ เนื่องจากผู้ประกอบการจะเป็นผู้รับภาระในการจ่ายค่าเดินทางและค่าธรรมเนียมตามร่างกฎกระทรวงฉบับนี้ และเป็นการดำเนินการให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติไว้
2.2 กำหนดให้ “ค่าธรรมเนียมสำหรับการเดินทางไปตรวจเรือ” หมายความว่า เงินที่ต้องชำระในกรณีที่เจ้าพนักงานตรวจเรือเดินทางไปตรวจเรือนอกสถานที่ราชการไม่ว่าในหรือนอกเวลาราชการ ตามคำขอของผู้ยื่นเรื่องราว ร่างกฎกระทรวงฯ จึงได้กำหนดให้ได้รับการยกเว้นไม่เก็บค่าธรรมเนียม สำหรับขนาดเรือไม่เกิน 500 ตันกรอส ขนาดเรือเกิน 500 ตันกรอสแต่ไม่เกิน 1,000 ตันกรอส เสียค่าธรรมเนียม 100 บาท เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม การกำหนดอัตราค่าเดินทางและค่าธรรมเนียมสำหรับการเดินทางไปตรวจเรือนอกสถานที่ราชการตามร่างกฎกระทรวงนี้ได้พิจารณาตามหลักเกณฑ์ว่าด้วยการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมและค่าบริการ2 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2564 เห็นชอบหลักเกณฑ์ว่าด้วยการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมและค่าบริการตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ
_____________________________
1 มาตรา 14 บัญญัติให้ ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการชั่วคราว ได้แก่
(1) เบี้ยเลี้ยงเดินทาง
(2) ค่าเช่าที่พัก
(3) ค่าพาหนะ รวมถึงค่าเช่ายานพาหนะ ค่าเชื้อเพลิงหรือพลังงานสำหรับยานพาหนะ ค่าระวางบรรทุก ค่าจ้างคนหาบหาม และอื่น ๆ ทำนองเดียวกัน
(4) ค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็นต้องจ่ายเนื่องในการเดินทางไปราชการ
2 คณะรัฐมนตรีมีมติ (14 ธันวาคม 2564) เห็นชอบหลักเกณฑ์ว่าด้วยการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมและค่าบริการตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ มีสาระสำคัญในการกำหนดค่าธรรมเนียมและอัตราค่าธรรมเนียม ที่หน่วยงานของรัฐต้องพิจารณาวัตถุประสงค์ของกฎหมาย ต้นทุนในการควบคุมหรือกำกับดูแลของรัฐ นโยบายของรัฐในเรื่องนั้นว่าต้องการส่งเสริมหรือควบคุม ภาระและความยุ่งยากที่จะเกิดขึ้นแก่ประชาชน ต้นทุนทางธุรกิจที่จะเกิดขึ้นแก่ผู้ประกอบการ และความคุ้มค่าประกอบกัน โดยเฉพาะในกรณีที่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมเพียงเล็กน้อย ควรพิจารณาว่า ค่าธรรมเนียมที่ได้รับจะคุ้มกับค่าใช้จ่ายในการเรียกเก็บหรือไม่ อีกทั้ง
การกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมให้คำนึงถึงค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนในการดำเนินการเรื่องนั้นและในการจัดเก็บค่าธรรมเนียม ประโยชน์ที่บุคคลนั้นจะได้รับ ความสามารถของประชาชนในการจ่ายค่าธรรมเนียม การเทียบเคียงกับอัตราเดิมที่เคยเรียกเก็บ อัตราค่าธรรมเนียมอื่นในลักษณะเดียวกัน
5. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการวางหลักประกันและการดำเนินการเกี่ยวกับหลักประกัน พ.ศ. .... ร่างกฎกระทรวงการอนุญาตเกี่ยวกับวัสดุกัมมันตรังสี พ.ศ. .... และร่างกฎกระทรวงการอนุญาตเกี่ยวกับวัสดุนิวเคลียร์และเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ใช้แล้ว พ.ศ. .... รวม 3 ฉบับ
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงการวางหลักประกันและการดำเนินการเกี่ยวกับหลักประกัน พ.ศ. .... ร่างกฎกระทรวงการอนุญาตเกี่ยวกับวัสดุกัมมันตรังสี พ.ศ. .... และร่างกฎกระทรวงการอนุญาตเกี่ยวกับวัสดุนิวเคลียร์และเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ใช้แล้ว พ.ศ. .... รวม 3 ฉบับ ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) ตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
1. ร่างกฎกระทรวงการวางหลักประกันและการดำเนินการเกี่ยวกับหลักประกัน พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้ผู้รับใบอนุญาตมีหน้าที่วางหลักประกันตั้งแต่ได้รับใบอนุญาตเกี่ยวกับวัสดุกัมมันตรังสี เครื่องกำเนิดรังสี วัสดุนิวเคลียร์ สถานประกอบการทางนิวเคลียร์ หรือสถานที่ให้บริการจัดการกากกัมมันตรังสี เพื่อเป็นหลักประกันในการจัดการกากกัมมันตรังสี การเข้าดำเนินการของพนักงานเจ้าหน้าที่
การจัดการเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ใช้แล้ว และการดำเนินการตามแผนการเลิกดำเนินการสถานประกอบการทางนิวเคลียร์ เพื่อให้เป็นหลักประกันในความปลอดภัยของประชาชนและสิ่งแวดล้อม และเป็นไปตามหลักมาตรฐานสากล ซึ่งทรัพย์สินที่สามารถนำมาใช้วางเป็นหลักประกันได้ ได้แก่ เงินสดหรือเช็คเงินสดที่ธนาคารสั่งจ่าย พันธบัตรของรัฐบาลไทย สัญญาค้ำประกันของธนาคาร กรมธรรม์ประกันภัยชนิดประกันหน้าที่ และความรับผิดของผู้รับใบอนุญาต สแตนบายเลตเตอร์ออฟเครดิตประเภทเพิกถอนไม่ได้ และตั๋วสัญญาใช้เงิน โดยผู้รับใบอนุญาตต้องวางหลักประกันเต็มจำนวนตามประมาณการค่าใช้จ่ายในการดำเนินการตามที่ได้รับอนุญาต ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับใบอนุญาต เช่น ผู้รับใบอนุญาตเกี่ยวกับวัสดุกัมมันตรังสี ให้คำนวณในอัตรา 15 บาท ต่อ 1 จิกะเบ็กเคอเรล แต่ต้องไม่น้อยกว่า 5,000 บาท และไม่เกิน 10,000,000 บาท เป็นต้น ผู้รับใบอนุญาตจะได้รับหลักประกันคืนในกรณีที่จัดการกากกัมมันตรังสีแล้วเสร็จ ส่งวัสดุกัมมันตรังสี เครื่องกำเนิดรังสี หรือวัสดุนิวเคลียร์คืนแก่ประเทศผู้ชายหรือผู้รับ ณ ประเทศปลายทาง สถานประกอบการทางนิวเคลียร์หรือสถานที่ให้บริการจัดการกากกัมมันตรังสีตามที่ได้รับใบอนุญาตนั้นพ้นจากการควบคุม เป็นต้น ทั้งนี้ ผู้รับใบอนุญาตซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐแต่ไม่รวมถึงรัฐวิสาหกิจได้รับยกเว้นไม่ต้องวางหลักประกันตามร่างกฎกระทรวงนี้
2. ร่างกฎกระทรวงการอนุญาตเกี่ยวกับวัสดุกัมมันตรังสี พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้ผู้ผลิต มีไว้ในครอบครอง ใช้ นำเข้า ส่งออก หรือนำผ่านวัสดุกัมมันตรังสีจำนวน 5 ประเภท ต้องได้รับใบอนุญาต (การขอรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาต) จากเลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ โดยผู้ขออนุญาตจะต้องเป็นผู้มีศักยภาพทางเทคนิคตามกฎกระทรวงว่าด้วยศักยภาพทางเทคนิคของผู้ขอรับใบอนุญาตเกี่ยวกับวัสดุกัมมันตรังสี ซึ่งผู้ขออนุญาตสามารถยื่นคำขอและเอกสาร และแบบต่าง ๆ ได้ตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น อีเมลกลางของหน่วยงาน เว็บไซต์หน่วยงาน หรือ ณ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ
3. ร่างกฎกระทรวงการอนุญาตเกี่ยวกับวัสดุนิวเคลียร์ และเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ใช้แล้ว พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้ผู้ใดประสงค์มีวัสดุนิวเคลียร์ไว้ในครอบครองหรือใช้วัสดุนิวเคลียร์ หรือนำเข้า ส่งออก หรือนำผ่านวัสดุนิวเคลียร์ต้องได้รับใบอนุญาต จากเลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ทั้งนี้ ห้ามผู้ใดนำเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ใช้แล้วเข้ามาในราชอาณาจักร เว้นแต่เป็นการนำกลับเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ใช้แล้วที่เกิดขึ้นในราชอาณาจักรและส่งออกไป และห้ามผู้ใดส่งออกเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ใช้แล้วไปนอกราชอาณาจักรหรือนำผ่านราชอาณาจักรเว้นแต่ได้รับใบอนุญาตจากเลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ (ขอรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาต) โดยผู้ขออนุญาตจะต้องเป็นผู้มีศักยภาพทางเทคนิคตามกฎกระทรวงว่าด้วยศักยภาพทางเทคนิคของผู้ขอรับใบอนุญาตเกี่ยวกับวัสดุนิวเคลียร์ ซึ่งผู้ขออนุญาตสามารถยื่นคำขอเอกสาร และแบบต่าง ๆ ได้ตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น อีเมลกลางของหน่วยงาน เว็บไซต์หน่วยงาน หรือ
ณ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ
ร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้ รวม 3 ฉบับ เป็นกฎหมายลำดับรองที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในพระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ พ.ศ. 2559 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งมีผลใช้บังคับก่อนวันที่พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 มีผลใช้บังคับ จึงอยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติดังกล่าวที่กำหนดให้ ต้องมีการออกกฎหมายลำดับรองตามพระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ พ.ศ. 2559 และที่แก้ไขเพิ่มเติมภายในระยะเวลา 2 ปี นับแต่วันที่พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 มีผลใช้บังคับ (ภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566)
ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2566 เห็นชอบให้ขยายระยะเวลาในการออกกฎหมายลำดับรอง ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ พ.ศ. 2559 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องตัวเนินการให้ร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้มีผลใช้บังคับก่อนวันที่ 27 พฤศจิกายน 2567
6. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการดำเนินการด้านความปลอดภัยของผู้รับใบอนุญาตกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินทางนิวเคลียร์และรังสี พ.ศ. .... และร่างกฎกระทรวงการก่อสร้างสถานประกอบการทางนิวเคลียร์และสถานที่ให้บริการจัดการกากกัมมันตรังสี พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ ดังนี้
1. ร่างกฎกระทรวงการดำเนินการด้านความปลอดภัยของผู้รับใบอนุญาตกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินทางนิวเคลียร์และรังสี พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) ตรวจพิจารณาแล้ว
2. ร่างกฎกระทรวงการก่อสร้างสถานประกอบการทางนิวเคลียร์และสถานที่ให้บริการจัดการกากกัมมันตรังสี พ.ศ. .... ที่ สคก. ตรวจพิจารณาแล้ว
สาระสำคัญ
1. ร่างกฎกระทรวงการดำเนินการด้านความปลอดภัยของผู้รับใบอนุญาตกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินทางนิวเคลียร์และรังสี พ.ศ. .... ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการดำเนินการด้านความปลอดภัยของผู้รับใบอนุญาตกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินทางนิวเคลียร์และรังสี ทั้งในกรณีมีเหตุฉุกเฉินทางนิวเคลียร์และรังสีที่เกิดขึ้นในหรือนอกสถานประกอบการ หรือในระหว่างการขนส่งซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของความปลอดภัยทางนิวเคลียร์และรังสี โดยผู้รับใบอนุญาตดังกล่าวซึ่งเป็นผู้ใช้ประโยชน์ทางนิวเคลียร์และรังสีต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการด้านความปลอดภัยในการจัดทำและดำเนินการให้เป็นไปตามแผนป้องกันอันตรายจากรังสี กรณีเกิดเหตุฉุกเฉินทางนิวเคลียร์และรังสี เช่น จัดทำแผนป้องกันอันตรายจากรังสี มีการฝึกซ้อมการตอบสนองฉุกเฉินทางนิวเคลียร์และรังสีตามแผนป้องกันอันตรายจากรังสีในระดับสูงสุด และมีการทบทวนแผนป้องกันอันตรายจากรังสีอย่างน้อยทุก 5 ปี
2. ร่างกฎกระทรวงการก่อสร้างสถานประกอบการทางนิวเคลียร์และสถานที่ให้บริการจัดการกากกัมมันตรังสี พ.ศ. .... ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ความปลอดภัยทางนิวเคลียร์สำหรับก่อสร้างสถานประกอบการทางนิวเคลียร์และสถานที่ให้บริการจัดการกากกัมมันตรังสี เพื่อให้ผู้ขอรับใบอนุญาตก่อสร้างสถานประกอบการทางนิวเคลียร์หรือผู้ขอรับใบอนุญาตสถานที่ให้บริการจัดการกากกัมมันตรังสี แล้วแต่กรณี ต้องปฏิบัติตามโดยกำหนดให้สถานประกอบการทางนิวเคลียร์และสถานที่ให้บริการจัดการกากกัมมันตรังสีต้องได้รับการออกแบบให้เป็นไปตามหลักความปลอดภัยทางนิวเคลียร์และรังสีให้มีมาตรฐานความมั่นคงแข็งแรงและความปลอดภัยในการก่อสร้าง เช่น มีการป้องกันเพลิงไหม้ มีระบบระบายอากาศ ระบบกรองอากาศและระบบน้ำทิ้ง และมีการออกแบบและติดตั้งถังปฏิกรณ์ บ่อปฏิกรณ์ บ่อเก็บเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ที่ผ่านการใช้งาน บ่อเก็บเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ใช้แล้ว และคอนเทนเมนต์ให้มีคุณสมบัติและลักษณะที่กำหนด
ร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้ รวม 2 ฉบับ เป็นกฎหมายลำดับรองที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ พ.ศ. 2559 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งมีผลใช้บังคับก่อนวันที่พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 มีผลใช้บังคับ จึงอยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติดังกล่าวที่กำหนดให้ต้องมีการออกกฎหมายลำดับรองตามพระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ พ.ศ. 2559 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ภายในระยะเวลา 2 ปี นับแต่วันที่พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 มีผลใช้บังคับ (ภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566) ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2566 เห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการจัดทำกฎหมายลำดับรองซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ พ.ศ. 2559 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการให้ร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้รวม 2 ฉบับ มีผลใช้บังคับก่อนวันที่ 27 พฤศจิกายน 2567
7. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของเจ้าหน้าที่ผู้รักษาความปลอดภัยในอากาศยาน พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของเจ้าหน้าที่ผู้รักษาความปลอดภัยในอากาศยาน พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วนอีกครั้งหนึ่ง โดยให้รับความเห็นของกระทรวงกลาโหมไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง เป็นการกำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของเจ้าหน้าที่ผู้รักษาความปลอดภัยในอากาศยาน ประกอบด้วย คุณสมบัติทั่วไป การทดสอบร่างกายและจิตใจ และการฝึกอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ รวมทั้งให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ประกาศคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามอื่นเพิ่มเติมได้ โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. กำหนดคุณสมบัติหน้าที่ผู้รักษาความปลอดภัยในอากาศยาน
1.1 คุณสมบัติทั่วไป เช่น เป็นข้าราชการทหารหรือตำรวจซึ่งมีอายุไม่เกิน 50 ปี มีทักษะทางสังคมและการสื่อสารที่ดีมาก มีสุขภาพร่างกายและจิตใจที่แข็งแรงสมบูรณ์โดยได้รับใบสำคัญแพทย์ชั้นหนึ่ง จากสถาบันเวชศาสตร์การบินกองทัพอากาศมีทักษะในการต่อสู้และป้องกันตัวโดยใช้อาวุธปืน และโดยปราศจากอาวุธ ผ่านการตรวจสอบประวัติอาชญากรรมซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขการตรวจสอบประวัติและไม่มีความเกี่ยวข้องกับองค์กรก่อการร้ายจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่มีพฤติการณ์ที่มีความเสี่ยงต่อการรักษาความปลอดภัยในการเดินอากาศ ที่เป็นไปตามเอกสารแนะนำว่าด้วยการตรวจสอบประวัติการรักษาความปลอดภัย (Guidance Material on Security Background Check) ที่สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยกำหนด
1.2 ผ่านการทดสอบร่างกายและจิตใจจากสถาบันเวชศาสตร์การบินกองทัพอากาศเพื่อทดสอบความแข็งแรงของร่างกายและความมั่นคงของจิตใจสำหรับการทำงานที่ต้องอยู่ภายใต้สภาวะกดดัน
และตึงเครียด
1.3 ผ่านการฝึกอบรมจากหน่วยงานของรัฐซึ่งมีความเชี่ยวชาญเฉพาะสำหรับฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ผู้รักษาความปลอดภัยในอากาศยานซึ่งสำนักงานรับรอง เช่น กองทัพอากาศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
1.4 คุณสมบัติอื่นตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
2. กำหนดลักษณะต้องห้าม เช่น เป็นผู้เคยต้องโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ เป็นผู้ถูกลงโทษให้ออกปลดออก หรือไล่ออกจากราชการ รัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ เป็นผู้มีร่างกายทุพพลภาพไร้ความสามารถ หรือจิตฟั่นเฟือน
ไม่สมประกอบเป็นผู้มีลักษณะต้องห้ามอื่นตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
ทั้งนี้ การออกกฎกระทรวงในเรื่องนี้เป็นการออกกฎหมายลำดับรองตามความในมาตรา มาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดบางประการต่อการเดินอากาศ พ.ศ. 2558 ซึ่งเป็นไปตามมาตรา 22 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 สำหรับกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ ให้นับแต่เมื่อพ้นกำหนด 2 ปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ (นับแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2564) ซึ่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดบางประการต่อการเดินอากาศ พ.ศ. 2558 เป็นกฎหมายที่มีผลใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายฯ ใช้บังคับ (ก่อนวันที่ 27 พฤศจิกายน 2562) คค. จึงต้องดำเนินการออกกฎหมายลำดับรองให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 และต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2566 เห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองออกไปอีก 1 ปี ดังนั้น คค. จึงต้องดำเนินการออกกฎกระทรวงในเรื่องนี้ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2567
8. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการใช้ประโยชน์ที่ดินที่อาจส่งผลกระทบกับทรัพยากรน้ำสาธารณะ พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงการใช้ประโยชน์ที่ดินที่อาจส่งผลกระทบกับทรัพยากรน้ำสาธารณะ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
ร่างกฎกระทรวงการใช้ประโยชน์ที่ดินที่อาจส่งผลกระทบกับทรัพยากรน้ำสาธารณะ พ.ศ. .... ตามมาตรฐานคุณภาพน้ำทิ้งขั้นต่ำของกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารโดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. กำหนดวันมีผลใช้บังคับ โดยกำหนดให้เมื่อพ้นกำหนด 90 วัน นับแต่วันถัดจากวันประกาศใน
ราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
2. กำหนดบทนิยาม เช่น อาคาร หมายความว่า อาคารตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร รวมทั้งสิ่งก่อสร้างทุกชนิดหรือสิ่งอื่นใดที่วางบนใต้ หรือผ่านเหนือพื้นดินหรือพื้นน้ำ “น้ำเสีย” หมายความว่า ของเหลวที่ผ่านการใช้แล้วทุกชนิดทั้งที่มีกากไม่มีกาก เป็นต้น
3. กำหนดให้มีระบบระบายน้ำและระบบบำบัดน้ำเสียและมาตรฐานคุณภาพน้ำทิ้ง โดยกำหนดให้การใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อสร้างอาคารเพื่อประกอบกิจการต่างๆ ต้องจัดให้มีระบบระบายน้ำและระบบบำบัดน้ำเสีย และต้องมีมาตรฐานคุณภาพน้ำทิ้งตามหลักที่กำหนด เช่น ความเป็นกรดและด่าง (pH) ตั้งแต่ 5-9 บีโอดี (Biochemical Oxygen Demand) ไม่เกิน 50 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เดซิเมตร น้ำมันและไขมัน (Oil and Grease) ไม่เกิน 20 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เดซิเมตร เป็นต้น ก่อนที่จะทิ้งน้ำลงสู่แหล่งรองรับน้ำทิ้ง รวมถึงการระบายน้ำทิ้งจากอาคารเพื่อการศาสนาที่ใช้ในการพักอาศัย หรือการปฏิบัติศาสนกิจ และการระบายน้ำทิ้งจากอาคารประกอบกิจการในลักษณะโรงงาน ต้องจัดให้มีระบบระบายน้ำและระบบบำบัดน้ำเสียและต้องมีมาตรฐานคุณภาพน้ำทิ้งตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้เช่นเดียวกัน เพื่อเป็นการป้องกันความเสียหายต่อทรัพยากรน้ำสาธารณะหรือเพื่อประโยชน์ในการอนุรักษ์และการพัฒนาทรัพยากรน้ำสาธารณะ ทั้งนี้ ให้มาตรฐานคุณภาพน้ำทิ้งตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวงนี้มีผลใช้บังคับจนกว่าจะมีกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารหรือกฎหมายอื่นใดใช้บังคับแทนในเรื่องเดียวกัน
4. กำหนดหลักเกณฑ์การใช้ประโยชน์ที่ดินที่อาจส่งผลกระทบกับทรัพยากรน้ำสาธารณะโดยให้
การใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณพื้นที่ที่เป็นแหล่งทรัพยากรน้ำสาธารณะ ให้ใช้เพื่อการอนุรักษ์หรือการพัฒนาทรัพยากรน้ำสาธารณะ การสาธารณูปโภค สาธารณูปการบริการสาธารณะ การคมนาคมและการขนส่ง เป็นส่วนใหญ่ แต่การใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการอื่นให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กฎหมายเฉพาะกำหนด เช่น กฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร กฎหมายว่าด้วยการผังเมือง เป็นต้น และการใช้ประโยชน์ที่ดินในบริเวณนอกเขตพื้นที่ที่เป็นทรัพยากรน้ำสาธารณะ ให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กฎหมายเฉพาะกำหนด เช่น กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม กฎหมายว่าด้วยการผังเมือง เป็นต้น หากไม่มีกฎหมายเฉพาะควบคุมในบริเวณนั้นให้เป็นไปตามกฎกระทรวงฉบับนี้
5. กำหนดหลักเกณฑ์การจัดการขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูลและสารอินทรียวัตถุโดยให้การใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการใดๆ ที่ก่อให้เกิดขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูลและสารอินทรียวัตถุต้องมีการจัดเก็บ ขนย้ายและกำจัด
ให้ถูกต้องและต้องห่างจากทรัพยากรน้ำสาธารณะไม่น้อยกว่า 10 เมตร ทั้งนี้ ห้ามทิ้งขยะดังกล่าวลงในทรัพยากรน้ำสาธารณะ
6. กำหนดหลักเกณฑ์การใช้ประโยชน์ที่ดินที่มีการใช้ หรือเติมสารเคมีหรือวัตถุอันตราย
ซึ่งกำหนดให้ห้ามทิ้งหรือทำให้เกิดการรั่วไหลของสารเคมีหรือวัตถุอันตรายลงในทรัพยากรน้ำสาธารณะ ต้องมีระบบการบำบัด จัดเก็บ ขนย้าย หรือกำจัดให้ถูกต้อง และสถานที่บำบัดจัดเก็บ หรือกำจัด ต้องอยู่ห่างจากทรัพยากรน้ำสาธารณะไม่น้อยกว่า 10 เมตร
7. กำหนดบทเฉพาะกาลโดยกำหนดให้กรณีที่มีการใช้ประโยชน์ที่ดินก่อนวันที่กฎกระทรวงฉบับนี้ใช้บังคับให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เรื่องระบบระบายน้ำระบบบำบัดน้ำเสีย มาตรฐานคุณภาพน้ำทิ้ง
ที่กำหนดในกฎกระทรวงฉบับนี้ ทั้งนี้ ในการประชุม กนช. ครั้งที่ 3/2567 เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2567 กนช. ได้มีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงฉบับนี้ และ มท. ให้มีการรับฟังความเห็นของประชาชนและผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วยแล้ว
9. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าทดแทนหรือค่าชดเชยความเสียหายเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ที่ดินมาก่อนการกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดิน พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าทดแทนหรือค่าชดเชยความเสียหายเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ที่ดินมาก่อนการกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดิน พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าทดแทนหรือค่าชดเชยความเสียหายเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ที่ดินมาก่อนการกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดิน พ.ศ. .... มีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
1. กำหนดให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินจะมีสิทธิได้รับค่าทดแทนกรณีขาดประโยชน์ในการใช้ประโยชน์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และค่าชดเชยความเสียหายกรณีเสียโอกาสในการประกอบกิจการเมื่อเป็นไปตามเงื่อนไข ดังนี้
1.1 การใช้ประโยชน์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย
1.2 พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนดให้แก้ไข เปลี่ยนแปลงหรือระงับการใช้ประโยชน์ที่ดินเกินกว่ามาตรฐานที่กฎหมายเฉพาะกำหนด
1.3 การขาดประโยชน์ในการใช้ประโยชน์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง หรือการเสียโอกาสใน
การประกอบกิจการโดยชอบด้วยกฎหมายในขณะนั้นยกเว้นกรณีที่กฎหมายเฉพาะเรื่องนั้น ๆ ได้มีการแก้ไขปรับปรุงให้มีเกณฑ์มาตรฐานเข้มงวดเพิ่มขึ้นและกำหนดเป็นภาระที่เจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินนั้นต้องรับผิดชอบเอง
2. กำหนดให้ค่าทดแทนหรือค่าชดเชยความเสียหายตามความเป็นจริงโดยคำนึงถึงความเป็นธรรม ดังนี้
2.1 ค่าทดแทนให้จ่ายจากค่าใช้จ่ายในการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินเฉพาะที่เกินกว่าค่าทดแทนตามที่กฎหมายเฉพาะกำหนดไว้ เช่น กรณีการใช้ประโยชน์ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างให้คำนวณจากการรื้อถอน ค่าแรงงาน ค่าใช้จ่าย ในการดำเนินการก่อนสร้าง ฯลฯ โดยให้ดำเนินการตามวิธีการที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ สำหรับค่าธรรมเนียมขออนุญาตรื้อถอนและปลูกสร้างค่าป้องกันอุบัติภัย และค่าใช้จ่ายอื่น ให้จ่ายได้ไม่เกินจำนวนที่จ่ายจริง ค่าเสียสิทธิในการประกอบกิจการให้คำนวณจากกำไรสุทธิของการประกอบกิจการตลอดทั้งปีที่ล่วงมาแล้วมาคำนวณเป็นรายวัน โดยให้จ่ายตามกำหนดระยะเวลาที่หยุดประกอบกิจการชั่วคราว
2.2 ค่าชดเชยความเสียหายให้จ่ายจากการถูกสั่งให้ระงับการใช้ประโยชน์รื้อที่ดิน เช่น กรณีอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างที่ถูกสั่งให้ระงับการใช้ประโยชน์ที่ดินโดยมีการรื้อถอนอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างให้คำนวณจากค่าวัสดุก่อสร้าง ค่าแรงงาน ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง ฯลฯ โดยให้ดำเนินการตามวิธีการที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารวัสดุภาครัฐ และค่าใช้จ่ายอื่น ให้จ่ายได้ไม่เกินจำนวนที่จ่ายจริง หรือกรณีอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างที่ถูกสั่งให้ระงับการใช้ประโยชน์ที่ดินโดยไม่มีการรื้อถอนอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างให้คำนวณตามอัตราค่าเสื่อมอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างตามราคาประเมินของกรมธนารักษ์ค่าเสียโอกาสในการประกอบกิจการให้คำนวณจากกำไรสุทธิของการประกอบกิจการตลอดทั้งปีที่ล่วงมาแล้วคำนวณเป็นรายวัน โดยให้จ่ายเป็นจำนวน 180 วัน
การออกกฎกระทรวงในเรื่องนี้เป็นการออกกฎหมายลำดับรองที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 มาตรา 75 วรรคสาม เป็นการกำหนดค่าทดแทนและค่าชดเชยตามมาตรา 75 วรรคสอง ซึ่งเป็นไปตามมาตรา 22 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 สำหรับกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ ให้นับแต่เมื่อพ้นกำหนด 2 ปี นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ (นับแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2564) ซึ่งพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำฯ เป็นกฎหมายที่มีผลใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายฯ ใช้บังคับ (ก่อนวันที่ 27 พฤศจิกายน 2562) มท. จึงต้องดำเนินการออกกฎหมายลำดับรองให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2563 เห็นชอบให้ขยายระยะเวลาดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองดังกล่าวออกไปอีก 1 ปี ดังนั้น มท. จึงต้องดำเนินการออกกฎกระทรวงในเรื่องนี้ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2567
10. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าใช้เขตทางหลวงท้องถิ่น พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าใช้เขตทางหลวงท้องถิ่น พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วนอีกครั้งหนึ่ง โดยให้รับความเห็นของกระทรวงคมนาคมไปประกอบพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ รวมทั้ง ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
สาระสำคัญ
1. สืบเนื่องจากกฎกระทรวงกำหนดค่าใช้เขตทางหลวงพิเศษ ทางหลวงแผ่นดิน ทางหลวงชนบท และทางหลวงสัมปทาน พ.ศ. 2564 ได้กำหนดอัตราค่าใช้เขตทางหลวงพิเศษ ทางหลวงแผ่นดิน ทางหลวงชนบท และทางหลวงสัมปทาน แต่ไม่รวมถึงทางหลวงท้องถิ่น ทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่สามารถจัดเก็บค่าใช้เขตทางหลวงท้องถิ่นให้สอดคล้องกับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงและการควบคุมดูแลในปัจจุบันได้ อีกทั้งการก่อสร้างหรือติดตั้งสิ่งอื่นใด การปักเสา พาดสาย วางท่อที่รุกล้ำเข้ามาในเขตพื้นที่ทางหลวงท้องถิ่นมีปริมาณมากและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
2. กระทรวงมหาดไทยจึงได้เสนอร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าใช้เขตทางหลวงท้องถิ่น พ.ศ. ... มาเพื่อดำเนินการ เพื่อกำหนดอัตราค่าใช้เขตทางหลวงท้องถิ่น สำหรับผู้ได้รับอนุญาตให้ดำเนินการสร้างอาคารหรือสิ่งอื่นใด หรือการปักเสา พาดสาย วางท่อในเขตทางหลวงท้องถิ่นหรือรุกล้ำเข้าไปในเขตทางหลวงท้องถิ่น และผู้ใช้ทางหลวงท้องถิ่นที่มุ่งหวังประโยชน์ทางธุรกิจ เช่น ภาคเอกชน และหน่วยงานต่าง ๆ โดยมีอัตราที่แตกต่างกันในแต่ละกิจกรรม เช่น (1) การใช้เขตทางหลวงท้องถิ่นเพื่อกิจกรรมประโยชน์สาธารณะแก่ประชาชนทั่วไปที่ประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้บริการได้โดยไม่ถูกเรียกเก็บเงิน ให้ชำระค่าใช้เขตทางหลวงท้องถิ่นในอัตรา 500 บาท ต่อการอนุญาตแต่ละครั้ง (2) กิจกรรมของหน่วยงานของรัฐที่ให้บริการสาธารณะอันเป็นประโยชน์แก่งานทางเพื่อกิจกรรมให้บริการสาธารณะขั้นพื้นฐานที่ประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้บริการได้และถูกเรียกเก็บเงินให้ชำระค่าใช้เขตทางหลวงท้องถิ่นในอัตรา 500 บาท ต่อการอนุญาตแต่ละครั้ง (3) กิจกรรมของผู้ได้รับอนุญาตใช้เขตทางหลวงท้องถิ่น ในกรณีอื่นนอกจากกิจกรรมที่ให้บริการสาธารณะอันเป็นประโยชน์แก่งานทาง ให้ชำระค่าใช้เขตทางหลวงท้องถิ่นเป็นรายปีในอัตรากึ่งหนึ่งของอัตราที่กำหนดท้ายกฎกระทรวงนี้ และ (4) กรณีใช้เพื่อกิจกรรมที่มุ่งหวังประโยชน์ทางธุรกิจซึ่งเป็นการใช้เพื่อแสวงหากำไรหรือเอื้อประโยชน์ธุรกิจของผู้ได้รับอนุญาตใช้เขตทางหลวงท้องถิ่นให้ชำระค่าใช้เขตทางหลวงห้องถิ่นเป็นรายปีในอัตราที่กำหนดท้ายกฎกระทรวงนี้ เช่น กำหนดให้ต้องชำระค่าใช้เขตทางหลวงท้องถิ่น สำหรับกรณีผู้ได้รับอนุญาตให้สร้างอาคารหรือสิ่งอื่นใดในเขตทางหลวงหรือรุกล้ำเข้าไปในเขตทางหลวง กรณีป้ายบอกทางตั้งแต่ 7,000 - 124,000 บาทต่อปี หรือสะพาน ตารางเมตรละ 1,600 บาทต่อปี หรืออุโมงค์ตารางเมตรละ 110 บาทต่อปี เป็นต้น และผู้ได้รับอนุญาตให้ปักเสา พาดสาย วางท่อ หรือกระทำการใด ๆ ในเขตทางหลวง เช่น การปักเสา 30 - 200 บาทต่อปี หรือการพาดสาย 80 - 300 บาท ต่อปี หรือการร้อยสายไปในท่อ 10 - 40 บาทต่อปี เป็นต้น ซึ่งอัตราการจัดเก็บตามร่างกฎกระทรวงฯ เป็นอัตราเดียวกับกฎกระทรวงกำหนดค่าใช้เขตทางหลวงพิเศษ ทางหลวงแผ่นดิน ทางหลวงชนบท และทางหลวงสัมปทาน พ.ศ. 2564
11. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตจัดตั้งและประกอบกิจการสวนสัตว์ พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตจัดตั้งและประกอบกิจการสวนสัตว์ พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) ตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตจัดตั้งและประกอบกิจการสวนสัตว์ สรุปได้ ดังนี้
ประเด็น |
รายละเอียด |
1. นิยาม |
|
“ใบอนุญาต” |
· ใบอนุญาตจัดตั้งและประกอบกิจการสวนสัตว์ |
“หนังสือรับรอง” |
· หนังสือที่อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติฯ หรืออธิบดีกรมประมง แล้วแต่กรณีออกให้แก่ผู้ประสงค์ที่จะจัดตั้งและประกอบกิจการสวนสัตว์เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาขออนุญาตตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งสวนสัตว์ตามมาตรา 33 วรรคสอง |
“มาตรฐานการจัดการสวนสัตว์” |
· มาตรฐานการจัดการสวนสัตว์ที่อธิบดีประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการตามมาตรา 33 วรรคสอง |
2. การยื่นคำขอและการดำเนินการอื่นตามร่างกฎกระทรวงนี้ให้ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลัก |
|
3. คุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม |
|
กรณีบุคคลธรรมดา |
· เช่น เป็นผู้บรรลุนิติภาวะ มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ สิทธิครอบครอง ในที่ดินหรือสถานที่ เพื่อประกอบกิจการสวนสัตว์โดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย หรือไม่อยู่ระหว่างรับโทษจำคุก เป็นต้น |
กรณีนิติบุคคล |
· ต้องมีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ สิทธิครอบครองในที่ดินหรือสถานที่ เพื่อประกอบกิจการสวนสัตว์โดยชอบด้วยกฎหมายและกรรมการหรือผู้จัดการนิติบุคคลต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามเช่นเดียวกับกรณีบุคคลธรรม |
4. ขั้นตอนการออกใบอนุญาต อายุใบอนุญาต เหตุสิ้นผลใบอนุญาต ค่าธรรมเนียม และบทเฉพาะกาล |
|
ก่อนออกใบอนุญาต |
· เมื่อคำขอรับใบอนุญาต รวมทั้งเอกสารหรือหลักฐานถูกต้องและครบถ้วนแล้วให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบโครงการจัดตั้งและประกอบกิจการสวนสัตว์แบบแปลนและแผนผังของสวนสัตว์ ตามมาตรฐานการจัดการสวนสัตว์และเสนอความเห็นต่ออธิบดี · กรณีอธิบดีเห็นชอบ ให้ออกหนังสือรับรองให้แก่ผู้ขอรับใบอนุญาต เพื่อนำไปใช้ประกอบการพิจารณาขออนุญาตตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องต่อไป เช่น การก่อสร้างอาคาร หรือสิ่งปลูกสร้างกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร เป็นต้น และในกรณีที่เห็นว่ายังไม่เป็นไปตามมาตรฐานการจัดการสวนสัตว์ให้แจ้งให้ผู้ขอรับใบอนุญาตแก้ไขหรือปรับปรุงให้เป็นไปตามมาตรฐานการจัดการสวนสัตว์ภายในระยะเวลาที่กำหนด |
การออกใบอนุญาต |
· เมื่อดำเนินการก่อสร้างสวนสัตว์เรียบร้อยแล้ว ก่อนการเปิดให้บริการสวนสัตว์ให้ผู้ขอรับใบอนุญาตมีหนังสือแจ้งความพร้อมของสถานที่พร้อมแบบแจ้งชนิดและจำนวนของสัตว์ป่าและซากสัตว์ป่าไปยังพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อตรวจสอบและรายงานอธิบดี และในกรณีที่อธิบดีพิจารณาแล้วเห็นว่าถูกต้องและเหมาะสมเป็นไปตามมาตรฐานการจัดการสวนสัตว์ และผู้ขอรับใบอนุญาตได้ชำระค่าธรรมเนียมแล้ว ให้อธิบดีออกใบอนุญาต |
อายุใบอนุญาต |
· มีอายุไม่เกินคราวละ 5 ปี |
เหตุสิ้นผลใบอนุญาต |
· เช่น อธิบดีมีคำสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต สวนสัตว์ที่ไม่ได้เปิดให้ผู้เข้าชมสวนสัตว์เป็นระยะเวลาต่อเนื่องกันเกิน 1 ปี โดยไม่มีเหตุอันสมควร นิติบุคคลเลิกกัน ถูกเพิกถอนใบอนุญาต เป็นต้น |
ค่าธรรมเนียม |
· ฉบับละ 10,000 บาท ซึ่งไม่เกินอัตราตามที่กำหนดไว้ในบัญชีท้ายพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 |
บทเฉพาะกาล |
· กำหนดให้ใบอนุญาตให้จัดตั้งและดำเนินกิจการสวนสัตว์สาธารณะที่ออกตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2540) ออกตามความในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้มีผลใช้บังคับให้ยังคงใช้ได้ต่อไปจนกว่าจะสิ้นอายุ |
12. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ว่าด้วยโครงการอนุรักษ์และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนในอุทยานแห่งชาติ พ.ศ...
คณะรัฐมนตรีรับทราบร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมว่าด้วยโครงการอนุรักษ์และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนในอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ..... ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ โดยให้รับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
สาระสำคัญของร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ว่าด้วยโครงการอนุรักษ์ฯ ที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ เป็นการดำเนินการตามมาตรา 65 วรรคสอง
แห่งพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 ซึ่งร่างประกาศมีสาระสำคัญเป็นการจัดทำโครงการอนุรักษ์และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนในอุทยานแห่งชาติ จำนวน 7 แห่ง ที่กรมการปกครองตรวจสอบแนวเขตการปกครองแล้ว ได้แก่ 1) อุทยานแห่งชาติขุนพะวอ จังหวัดตาก 2) อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ จังหวัดพังงา 3) อุทยานแห่งชาติภูจอง - นายอย จังหวัดอุบลราชธานี 4) อุทยานแห่งชาติเฉลิมรัตนโกสินทร์ จังหวัดกาญจนบุรี 5) อุทยานแห่งชาติขุนน่าน จังหวัดน่าน 6) อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า จังหวัดพิษณุโลก และจังหวัดเลย และ 7) อุทยานแห่งชาติลานสาง จังหวัดตาก ซึ่งมีกำหนดระยะเวลา 20 ปี นับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ เพื่อให้ประชาชนที่อยู่อาศัยหรือทำกินในอุทยานแห่งชาติ หรืออยู่อาศัยโดยรอบอุทยานแห่งชาติ สามารถเข้าไปเก็บหาหรือใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติที่สามารถเกิดใหม่ทดแทนได้ตามฤดูกาลในอุทยานแห่งชาติได้ซึ่งจะเป็นประเภทจำพวกพืช เห็ด สัตว์ สมุนไพร และแมลง เช่น ผักหวาน เห็ดเผาะหนัง ปลากดคัง มะขามป้อม ผึ้ง โดยจะต้องเป็นไปเพื่อการดำรงชีพอย่างเป็นปกติธุระ กล่าวคือ เพื่อการบริโภคหรือใช้สอยภายในครัวเรือน รวมถึงการค้าขายซึ่งจะต้องเป็นไปตามวิถีชีวิต ไม่ใช่เป็นการประกอบธุรกิจของนายทุน อันเป็นการแก้ไขปัญหาการดำรงชีพตามวิถีชุมชนหรือวิถีชีวิตตั้งเดิมของประชาชนดังกล่าวและควบคุมการใช้ประโยชน์ซึ่งทรัพยากรธรรมชาติดังกล่าวให้มีความเหมาะสมและไม่ส่งผลกระทบต่อธรรมชาติ สัตว์ป่า ความหลากหลายทางชีวภาพ และระบบนิเวศ โดยได้กำหนดให้หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแต่ละแห่งสำรวจชุมชนที่อยู่อาศัยหรือทำกินในอุทยานแห่งชาติ หรืออยู่อาศัยโดยรอบอุทยานแห่งชาติ (ไม่ได้กำหนดพื้นที่หรือรัศมีไว้ โดยจะพิจารณาวิถีชุมชนหรือวิถีชีวิตดั้งเดิมในการดำรงชีพประกอบ เช่น มีการเข้าไปเก็บผัก พืช หรือทำประมงพื้นบ้าน ซึ่งจะอยู่ในระยะทางที่สามารถเดินทางได้ปกติ) และประกาศรายชื่อชุมชนดังกล่าว รวมถึงประกาศพื้นที่โครงการซึ่งจะต้องอยู่ในแนวเขตโครงการตามที่กำหนดไว้ท้ายประกาศนี้ และจัดทำบัญชีประเภท ชนิด จำนวน ปริมาณ ฤดูกาลช่วงระยะเวลาการเก็บหาหรือใช้ประโยชน์ (บัญชีดังกล่าวจะมีความแตกต่างไปตามพื้นที่อุทยานแห่งชาติ) สำหรับบุคคลที่จะได้รับอนุญาตให้เข้าไปเก็บหาหรือใช้ประโยชน์จะต้องมีชื่อในทะเบียนบ้านของหมู่บ้านที่ได้ทำการสำรวจชุมชน และจะต้องเก็บหาหรือใช้ประโยชน์ได้เฉพาะตามประเภท ชนิด จำนวน ปริมาณ ฤดูกาลช่วงระยะเวลาที่อุทยานแห่งชาติกำหนด โดยไม่สามารถให้บุคคลอื่นที่ไม่ใช่บุคคลในครัวเรือนเก็บหาหรือใช้ประโยชน์ดังกล่าวแทนได้ อีกทั้งยังมีหน้าที่จะต้องปฏิบัติ อาทิ จะต้องดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่โครงการ ไม่บุกรุก แผ้วถาง หรือขยายพื้นที่ ไม่เคลื่อนย้ายหรือทำลายหลักเขต รวมถึงกำหนดให้มีการประเมินผลการดำเนินโครงการซึ่งให้อำนาจรัฐมนตรีในการสั่งให้ยุติการดำเนินโครงการ และให้นำพื้นที่มาฟื้นฟูหรือดำเนินการอนุรักษ์ให้คงความสมบูรณ์ตามธรรมชาติต่อไป
13. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการอนุญาตเป็นผู้ชำนาญการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงการอนุญาตเป็นผู้ชำนาญการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) ตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอและให้ดำเนินการต่อไปได้
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอใบอนุญาต การออกใบอนุญาต คุณสมบัติของผู้ชำนาญการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานการควบคุมการปฏิบัติงานของผู้ได้รับใบอนุญาต รวมถึงการต่ออายุใบอนุญาต การออกใบแทนใบอนุญาต การสั่งพักใช้ การเพิกถอนใบอนุญาต และการกำหนดและยกเว้นค่าธรรมเนียม มีสาระสำคัญ ดังนี้
ประเด็น |
รายละเอียด |
บทนิยาม |
• “ผู้ชำนาญการ” หมายความว่า ผู้ชำนาญการด้านความปลอดภัย อาชีว • “ใบอนุญาต” หมายความว่า ใบอนุญาตเป็นผู้ชำนาญการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน |
หมวด 1 การขอใบอนุญาตและการออกใบอนุญาต |
• กำหนดคุณสมบัติของผู้ประสงค์จะขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ชำนาญการที่สำคัญ เช่น (1) มีสัญชาติไทย (2) มีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี (3) มีความรู้ ความเข้าใจ และมีประสบการณ์เกี่ยวกับการประเมินอันตรายการศึกษาผลกระทบของสภาพแวดล้อมในการทำงานที่มีผลต่อลูกจ้าง การจัดทำแผน การดำเนินงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน และการจัดทำแผนการควบคุมดูแลลูกจ้างและสถานประกอบกิจการ ไม่น้อยกว่า 5 ปี และต้องมีคุณสมบัติอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ (1) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี สาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย หรือเทียบเท่า (2) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางวิทยาศาสตร์ สาธารณสุขศาสตร์ หรือวิศวกรรมศาสตร์ ที่มีการเรียนการสอนทางด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยและการประเมินอันตรายหรือการประเมินความเสี่ยง ไม่น้อยกว่า 18 หน่วยกิต (3) เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม สาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย หรือเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเกี่ยวกับอาชีวอนามัยและความปลอดภัยอื่นตามที่อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (อธิบดี) ประกาศกำหนด (4) เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค หรือระดับเทคนิคชั้นสูง หรือระดับวิชาชีพ ในสถานประกอบกิจการตามประเภทและขนาดของกิจการที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด ทั้งนี้ ให้มีสิทธิดำเนินการเป็นผู้ชำนาญการได้เฉพาะในสถานประกอบกิจการที่ตนขึ้นทะเบียนเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานไว้เท่านั้น • ต้องผ่านการฝึกอบรมและผ่านการประเมิน เพื่อให้มีคุณสมบัติเป็นผู้ชำนาญการตามหลักเกณฑ์ที่อธิบดีประกาศกำหนด • ใบอนุญาตมีอายุ 5 ปี นับแต่วันที่ออกใบอนุญาต |
หมวด 2 การขอต่ออายุใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาต |
• กำหนดให้ผู้ได้รับใบอนุญาตซึ่งประสงค์จะต่ออายุใบอนุญาต ต้องยื่นคำขอพร้อมด้วยเอกสารและหลักฐานที่กำหนดต่ออธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานภายใน 90 วัน ก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ |
หมวด 3 การพักใช้และการเพิกถอนใบอนุญาต |
• กำหนดให้ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตที่ฝ่าฝืนหรือไม่ดำเนินการตามข้อปฏิบัติในการปฏิบัติงาน ให้อธิบดีพักใช้ใบอนุญาตได้ไม่เกิน 60 วัน • กำหนดเหตุแห่งการถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต เช่น ขาดคุณสมบัติ ของผู้ชำนาญการจัดทำรายงานหรือให้การรับรองอันเป็นเท็จ |
หมวด 4 การควบคุมการปฏิบัติงาน |
• กำหนดให้ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องดำเนินการ ดังนี้ (1) ให้คำแนะนำและรับรองผลในการดำเนินการของนายจ้างได้แก่ การจัดให้มีการประเมินอันตราย การศึกษาผลกระทบของสภาพแวดล้อม ในการทำงานที่มีผลต่อลูกจ้าง การจัดทำแผนการดำเนินงานด้านความปลอดภัยฯ และแผนควบคุมดูแลลูกจ้างและสถานประกอบการ (2) แจ้งกำหนดการดำเนินการให้คำแนะนำและรับรองผล (ตาม (1) ต่ออธิบดีไม่น้อยกว่า 7 วัน ก่อนดำเนินการ และส่งรายงานสรุปผลการปฏิบัติงานต่ออธิบดีภายใน 30 วัน นับแต่วันที่เสร็จสิ้นการปฏิบัติงาน (3) ไม่เปิดเผยความลับของนายจ้างซึ่งล่วงรู้หรือได้มาจากการปฏิบัติงาน • กำหนดให้ผู้ชำนาญการต้องได้รับการฝึกอบรมหรือเพิ่มความรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพในการปฏิบัติหน้าที่ตามหลักเกณฑ์ที่อธิบดีประกาศกำหนด |
หมวด 5ค่าธรรมเนียม |
• 1. ใบอนุญาต ฉบับละ 5,000 บาท • 2. ใบแทนใบอนุญาต ฉบับละ 500 บาท • 3. การต่ออายุใบอนุญาตครั้งละเท่ากับค่าธรรมเนียมใบอนุญาต หมายเหตุ ให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมแก่ผู้ขอรับใบอนุญาตที่เป็นเจ้าหน้าที่ ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค หรือระดับเทคนิคขั้นสูง หรือระดับวิชาชีพ (ร่างฯ ข้อ 6 (4)) |
14. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการแจ้งกำหนดวัน เวลา และสถานที่ที่พาหนะจะเข้ามาถึงด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ พ.ศ. ... และร่างกฎกระทรวงการยื่นเอกสารต่อเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อประจำด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงการแจ้งกำหนดวัน เวลา และสถานที่ที่พาหนะจะเข้ามาถึงด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ พ.ศ. ... และร่างกฎกระทรวงการยื่นเอกสารต่อเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อประจำด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ พ.ศ. ..... รวม 2 ฉบับ ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
1. ร่างกฎกระทรวงการแจ้งกำหนดวัน เวลา และสถานที่ที่พาหนะจะเข้ามาถึงด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ พ.ศ. ... มีสาระสำคัญ ดังนี้
1.1 เป็นการกำหนดให้เจ้าของพาหนะหรือผู้ควบคุมพาหนะแจ้งกำหนดวัน เวลา
และสถานที่พี่พาหนะนั้นจะเข้ามาถึงด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ โดยมีหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังนี้
(1) กรณีพาหนะทางน้ำ
(1.1) เรือเดินทะเลระหว่างประเทศ ให้แจ้งไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมงก่อนพาหนะนั้นจะเข้ามาถึงด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ
(1.2) เรือเดินลำน้ำระหว่างประเทศ ให้แจ้งไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมงก่อนพาหนะนั้นจะเข้ามาถึงด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ
(2) กรณีพาหนะทางบก
(2.1) รถไฟ รถโดยสารสาธารณะ และรถบรรทุกสินค้า และพาหนะทางบกอื่น ๆ ให้แจ้งไม่น้อยว่า 1 ชั่วโมงก่อนพาหนะนั้นจะเข้ามาถึงด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ เว้นแต่กรณีต้นทางนอกราชอาณาจักรที่พาหนะนั้นจะเข้ามาในราชอาณาจักรใช้ระยะเวลาเดินทางไม่เกิน 1 ชั่วโมง ให้แจ้งเมื่อพาหนะนั้นเข้ามาถึงด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ
(2.2) รถยนต์ส่วนบุคคลและรถพยาบาล ให้แจ้งเมื่อพาหนะนั้นเข้ามาถึงด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ
(3) กรณีพาหนะทางอากาศ ได้แก่ เครื่องบิน เฮลิคอปเตอร์ และอากาศยานอื่นที่รับขนส่งทางอากาศ ให้แจ้งภายใน 15 นาทีนับแต่พาหนะนั้นบินขึ้นเหนือพื้นดิน
1.2 การแจ้งให้ดำเนินการโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ หากไม่สามารถดำเนินการได้
ให้ดำเนินการ ณ สถานที่หรือโดยวิธีการ ดังต่อไปนี้
(1) แจ้งต่อเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อประจำด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ ณ ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศที่พาหนะนั้นเข้ามาถึง
(2) แจ้งทางโทรสารตามหมายเลขโทรสารของด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศที่พาหนะนั้นเข้ามาถึง
(3) สถานที่อื่นหรือโดยวิธีการอื่นตามที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศใน
ราชกิจจานุเบกษา
ทั้งนี้ รายการเกี่ยวกับพาหนะที่จะเข้ามาในราชอาณาจักร รายงานสุขลักษณะของพาหนะทางน้ำ และเอกสารสำแดงสุขอนามัยของการเดินทางโดยพาหนะทางน้ำให้เป็นไปตามแบบที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศใน
ราชกิจจานุเบกษา
2. ร่างกฎกระทรวงการยื่นเอกสารต่อเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อประจำด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ พ.ศ. ..... มีสาระสำคัญ ดังนี้
2.1 กำหนดให้เจ้าของพาหนะหรือผู้ควบคุมพาหนะยื่นเอกสารต่อเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อประจำด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศเมื่อพาหนะเข้ามาถึงด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ โดยมีหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังนี้
(1) กรณีพาหนะทางน้ำ ได้แก่ เรือเดินทะเลระหว่างประเทศและเรือเดินลำน้ำระหว่างประเทศ ให้ยื่นเอกสาร ดังนี้
(1.1) เอกสารรับรองการยกเว้นการควบคุมสุขาภิบาลเรือหรือเอกสารรับรองการควบคุมสุขาภิบาลเรือ
(1.2) ใบรับรองสุขลักษณะของคอนเทนเนอร์ ในกรณีที่บรรทุกคอนเทนเนอร์
(1.3) รายชื่อผู้เดินทาง
(2) กรณีพาหนะทางบก ให้ยื่นเอกสาร ดังนี้
(2.1) รถไฟ รถบรรทุกสินค้า และพาหนะทางบกอื่น ๆ
(2.1.1) ใบรับรองสุขลักษณะของคอนเทนเนอร์ในกรณีที่บรรทุกคอนเทนเนอร์
(2.1.2) รายชื่อผู้เดินทาง
(2.1.3) รายงานเรื่องสุขภาพของผู้เดินทางโดยพาหนะทางบก
(2.2) รถโดยสารสาธารณะ รถพยาบาล และรถยนต์ส่วนบุคคล
(2.2.1) รายชื่อผู้เดินทาง
(2.2.2) รายงานเรื่องสุขภาพของผู้เดินทางโดยพาหนะทางบก
(3) กรณีพาหนะทางอากาศ ได้แก่ เครื่องบิน เฮลิคอปเตอร์และอากาศยานอื่นที่รับขนส่งทางอากาศ ให้ยื่นเอกสาร ดังนี้
(3.1) ใบรับรองสุขลักษณะของคอนเทนเนอร์ ในกรณีที่บรรทุกคอนเทนเนอร์
(3.2) รายชื่อผู้เดินทาง
(3.3) รายงานเรื่องสุขภาพของผู้เดินทางโดยพาหนะทางอากาศ
2.2 กำหนดให้พาหนะที่มาจากท้องที่หรือเมืองท่าใดนอกราชอาณาจักรที่มีโรคระบาด ซึ่งได้ระบุไว้ในรายงานระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ขององค์การอนามัยโลก ให้เจ้าของพาหนะหรือผู้ควบคุมพาหนะดำเนินการให้ผู้เดินทางมากับพาหนะนั้นกรอกข้อมูลลงในแบบคำถามสำหรับผู้เดินทาง และยื่นต่อเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อประจำด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ
2.3 การยื่นเอกสารให้ดำเนินการโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หากไม่สามารถดำเนินการได้ ให้ดำเนินการ ณ สถานที่หรือโดยวิธีการ ดังต่อไปนี้
(1) ยื่นต่อเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อประจำด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ ณ ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศที่พาหนะนั้นเข้ามาถึง
(2) สถานที่อื่นหรือโดยวิธีการอื่นตามที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศใน
ราชกิจจานุเบกษา
ทั้งนี้ เอกสารรับรองการยกเว้นการควบคุมสุขาภิบาลเรือหรือเอกสารรับรองการควบคุมสุขาภิบาลเรือ ใบรับรองสุขลักษณะของคอนเทนเนอร์ รายชื่อผู้เดินทาง รายงานเรื่องสุขภาพของผู้เดินทางโดยพาหนะทางบก รายงานเรื่องสุขภาพของผู้เดินทางโดยพาหนะทางอากาศ และแบบคำถามสำหรับผู้เดินทาง ให้เป็นไปตามแบบที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
15. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการชดเชยความเสียหายจากการดําเนินการเฝ้าระวัง ป้องกัน หรือควบคุมโรคติดต่อหรือโรคระบาด พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงการชดเชยความเสียหาย จากการดําเนินการเฝ้าระวัง ป้องกัน หรือควบคุมโรคติดต่อหรือโรคระบาด พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ และให้ดําเนินการต่อไปได้
สาระสําคัญของร่างกฎกระทรวง เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการชดเชยความเสียหายให้แก่บุคคลหรือทรัพย์สินของบุคคลซึ่งได้รับความเสียหายอันเนื่องมาจากการดำเนินการเฝ้าระวัง ป้องกัน หรือควบคุมโรคติดต่อหรือโรคระบาดของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ มีสาระสําคัญ ดังนี้
ประเด็น |
รายละเอียด |
1. นิยาม |
|
ผู้เสียหาย |
• บุคคลซึ่งได้รับความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย อนามัย เสรีภาพ หรือทรัพย์สิน เนื่องจากการดําเนินการของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อในการเฝ้าระวังป้องกัน หรือควบคุมโรคติดต่อหรือโรคระบาด |
ค่าทดแทน |
• เงินที่ผู้เสียหายมีสิทธิได้รับเพื่อเป็นการชดเชยความเสียหาย |
ผู้มีอำนาจกำหนดค่าตอบแทน |
• ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือผู้ว่าราชการจังหวัด ในกรณีที่ความเสียหายเกิดขึ้นจากการดําเนินการของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อในเขตท้องที่รับผิดชอบของตน • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในกรณีที่ความเสียหายเกิดขึ้นจากการดําเนินการของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อในตําแหน่งไม่ต่ำกว่าอธิบดี หรือเทียบเท่า ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือผู้ว่าราชการจังหวัด (เดิม เป็นหน้าที่และอำนาจคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดและคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร) |
2. การขอรับค่าทดแทน (ดำเนินการทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลัก) |
|
เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อรายงานผู้มีอำนาจกำหนดค่าทดแทน |
• กรณีมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าความเสียหายเกิดจากการดำเนินการของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ ให้เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อรายงานต่อผู้มีอำนาจกำหนดค่าทดแทนภายใน 7 วันนับแต่วันที่รู้หรือควรจะได้รู้ถึงความเสียหายที่เกิดขึ้น |
ผู้เสียหายยื่นคำขอ |
• ให้ผู้เสียหายยื่นคําขอรับค่าทดแทนต่อผู้มีอํานาจกําหนดค่าทดแทนได้ภายใน 90 |
3. ผู้มีอำนาจกำหนดค่าตอบแทน |
|
อำนาจและหน้าที่ของผู้มีอํานาจกําหนดค่าทดแทน |
• เมื่อได้รับรายงานจากเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ หรือได้รับคําขอจาก ผู้เสียหายแล้ว ให้แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อทําหน้าที่พิจารณาเสนอความเห็น เกี่ยวกับผู้เสียหายซึ่งมีสิทธิได้รับค่าทดแทนและจํานวนค่าทดแทน • มีอํานาจสั่งให้คณะกรรมการทบทวนหรือสอบสวนเพิ่มเติม • ความเห็นของคณะกรรมการไม่ผูกมัดผู้มีอํานาจกําหนดค่าทดแทนที่จะมีความเห็นเป็นอย่างอื่น • ให้พิจารณากําหนดค่าทดแทนตามหลักเกณฑ์ตามกฎกระทรวงนี้ให้แล้วเสร็จภายใน 14 วันนับแต่วันที่ได้รับความเห็นของคณะกรรมการ และแจ้งผล การพิจารณาพร้อมกับแจ้งสิทธิอุทธรณ์ตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการ ทางปกครองให้แก่ผู้เสียหายทราบภายใน 7 วันนับแต่วันที่ผู้มีอํานาจกําหนด ค่าทดแทนพิจารณาเรื่องดังกล่าวเสร็จ |
4. คณะกรรมการ |
|
อำนาจและหน้าที่ ของคณะกรรมการ |
• เสนอความเห็นเกี่ยวกับผู้เสียหายซึ่งมีสิทธิได้รับค่าทดแทนให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับการแต่งตั้ง ซึ่งสามารถ ขยายระยะเวลาออกไปได้อีกไม่เกิน 30 วันนับแต่วันที่ครบกําหนดระยะเวลาดังกล่าว • จัดทําบัญชีรายชื่อผู้เสียหาย รายละเอียดความเสียหาย และตรวจสอบข้อเท็จจริง พยานหลักฐาน หรือเอกสารที่เกี่ยวข้อง • พิจารณาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทําของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อว่าได้กระทําไปตามหน้าที่และอํานาจ และได้กระทําให้เกิดความเสียหายหรือไม่ รวมทั้งความร้ายแรงแห่งความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ผู้เสียหาย • เสนอความเห็นเกี่ยวกับการกําหนดค่าทดแทนตามหลักเกณฑ์ในกฎกระทรวงนี้พร้อมข้อเท็จจริงและเอกสารหลักฐานต่อผู้มีอำนาจกำหนดค่าทดแทนเพื่อพิจารณาต่อไป |
5. ค่าทดแทน |
|
หลักเกณฑ์การกําหนดค่าทดแทน |
• ให้พิจารณาตามความจําเป็น โดยคำนึงถึงความร้ายแรงและสภาพความเสียหายที่ผู้เสียหายได้รับและประโยชน์ที่ผู้เสียหายได้รับหรือจะได้รับจากการบรรเทาหรือเยียวยาความเสียหายโดยทางอื่นด้วย • ค่าเสียหายที่เกิดแก่ทรัพย์สินของผู้เสียหาย ให้คํานึงถึงความเสียหายตามความเป็นจริง สภาพของทรัพย์สิน ราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาด หรือราคากลางที่ราชการกําหนดในวันที่เกิดความเสียหาย ค่าเสื่อมราคาทรัพย์สิน การที่ทางราชการได้บรรเทาหรือเยียวยาความเสียหายไปแล้ว และให้พิจารณา ข้อมูล เอกสาร หรือหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง |
ประเภทค่าทดแทน |
• ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ให้จ่ายเท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 30,000 บาท • ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกาย ให้จ่ายเท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 50,000 บาท • ค่าขาดประโยชน์ทํามาหาได้ในระหว่าง ให้จ่ายในอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ที่ไม่สามารถประกอบการงานได้ตามปกติ ในท้องที่จังหวัดที่ประกอบ การงาน ณ วันที่ไม่สามารถ ประกอบการงานได้เป็นระยะเวลา ไม่เกิน 30 วันนับแต่วันที่ไม่สามารถ ประกอบการงานได้ตามปกติ • กรณีที่ผู้เสียหายถึงแก่ความตาย ได้แก่ (1) ค่าทดแทน ให้จ่ายได้ตั้งแต่ 30,000 บาท แต่ไม่เกิน 100,000 บาท (2) ค่าจัดการศพ ให้จ่ายเป็นจํานวน 20,000 บาท (3) ค่าขาดอุปการะเลี้ยงดู ให้จ่ายได้ไม่เกิน 30,000 บาท • ค่าเสียหายที่เกิดแก่ทรัพย์สินของผู้เสียหาย ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ การกำหนดค่าตอบแทน • ค่าเสียหายอื่นนอกจากที่กําหนดไว้ ที่จําเป็น ให้จ่ายได้ไม่เกิน 30,000 บาท ต้องจ่ายเพื่อชดเชยความเสียหายให้แก่ผู้เสียหาย |
16. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง อัตราค่าใช้จ่ายสูงสุดในการประเมินเอกสารวิชาการ
การตรวจวิเคราะห์ การตรวจสอบสถานประกอบการ หรือการตรวจสอบเครื่องมือแพทย์ ในการติดตาม ตรวจสอบ หรือเฝ้าระวัง เพื่อควบคุมการผลิต นำเข้า และขายเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง อัตราค่าใช้จ่ายสูงสุดในการประเมินเอกสารวิชาการ การตรวจวิเคราะห์ การตรวจสอบสถานประกอบการ หรือการตรวจสอบเครื่องมือแพทย์ ในการติดตาม ตรวจสอบ หรือเฝ้าระวัง เพื่อควบคุมการผลิต นำเข้า และขายเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. .... ที่คณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 5 ตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
สาระสำคัญ
ร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง อัตราค่าใช้จ่ายสูงสุดในการประเมินเอกสารวิชาการฯ ที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ คณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติ (เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2567) เห็นชอบในหลักการ และคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 5 ได้ตรวจพิจารณาแล้ว ซึ่งมีสาระสำคัญ เป็นการกำหนดอัตราค่าใช้จ่ายสูงสุดในการติดตาม ตรวจสอบ หรือเฝ้าระวัง เพื่อควบคุบคุม นำเข้า และขายเครื่องมือแพทย์ เมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่าเครื่องมือแพทย์ใดอาจผิดมาตรฐาน หรือไม่ปลอดภัยในการใช้ ประกอบด้วย 1) การประเมินเอกสารทางวิชาการเครื่องมือแพทย์ 2) การตรวจสอบเครื่องมือแพทย์/การตรวจวิเคราะห์ และ 3) การตรวจสถานประกอบการเครื่องมือแพทย์ที่ต้องให้ผู้เชี่ยวชาญร่วมตรวจประเมิน เพื่อให้กระบวนการติดตาม ตรวจสอบ หรือเฝ้าระวังในการกำกับดูแลเครื่องมือแพทย์ในส่วนของการกำกับดูแลหลังออกสู่ตลาดมีประสิทธิภาพ และคุ้มครองความปลอดภัยของประชาชนจากการใช้เครื่องมือแพทย์ สำหรับอัตราค่าใช้จ่ายสูงสุดตามร่างประกาศฉบับนี้เป็นเพียง การกำหนดอัตราเพดานสูงสุดเท่านั้น ซึ่งอัตราค่าใช้จ่ายที่จะจัดเก็บจริงจะมีการออกประกาศเพื่อกำหนดอัตราที่จะจัดเก็บอีกครั้งหนึ่งในภายหลัง โดยเป็นอัตราที่ไม่เกินตามที่กำหนดไว้ในร่างประกาศในเรื่องนี้ และได้กำหนดให้อาจมีการพิจารณาทบทวนอัตราค่าใช้จ่ายสูงสุดทุก 5 ปีหรือเมื่อมีเหตุจำเป็น ทั้งนี้ การออกร่างประกาศในเรื่องนี้กระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินการวิเคราะห์การกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมโดยกำหนดขึ้นตามโครงสร้างต้นทุน ซึ่งจะไม่ทำให้ภาครัฐสูญเสียรายได้ เนื่องจากไม่เคยมีการจัดเก็บมาก่อน และจะเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายของงบประมาณแผ่นดินเนื่องจากที่ผ่านมารัฐต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในกระบวนการกำกับดูแลเครื่องมือแพทย์ภายหลังออกสู่ตลาด
17. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะ วัตถุประสงค์ และขอบเขตแห่งการดำเนินกิจการของสหกรณ์แต่ละประเภทที่จะรับจดทะเบียน พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะ วัตถุประสงค์ และขอบเขตแห่งการดำเนินกิจการของสหกรณ์แต่ละประเภทที่จะรับจดทะเบียน พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) ตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวงฯ เป็นการกำหนดลักษณะของสหกรณ์ที่จะรับจดทะเบียนวัตถุประสงค์ และขอบเขตแห่งการดำเนินกิจการที่จะพึงดำเนินการได้ของสหกรณ์แต่ละประเภท ที่ออกตามความในมาตรา 33/1 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสหกรณ์
(ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562 ดังนี้
1. กำหนดลักษณะของสหกรณ์ที่จะรับจดทะเบียน วัตถุประสงค์ และขอบเขตแห่งการดำเนินกิจการที่จะพึงดำเนินการได้ของสหกรณ์แต่ละประเภท โดยแบ่งเป็น 7 หมวด สรุปดังนี้
1) หมวด 1 สหกรณ์การเกษตร จัดตั้งขึ้นจากการรวมตัวกันของผู้ประกอบอาชีพหลักทางเกษตรกรรม ภายในพื้นที่อำเภอเดียวกัน เว้นแต่มีเหตุอันสมควร อาจจัดตั้งขึ้นจากการรวมตัวกันของผู้ประกอบอาชีพหลักทางเกษตรกรรมซึ่งอยู่ต่างพื้นที่กันได้ โดยมีวัตถุประสงค์ที่กำหนด เช่น ส่งเสริมการดำเนินธุรกิจ การผลิต การค้า การบริการ และอุตสาหกรรมทางการเกษตรอันจำเป็นในการประกอบอาชีพและการดำรงชีพ แก้ไขปัญหาและพัฒนาการประกอบอาชีพ ส่งเสริมการออม ส่งเสริมและเผยแพร่อาชีพเกษตรกรรม หัตถกรรม และอุตสาหกรรมในครัวเรือนหรือการประกอบอาชีพอย่างอื่นที่เกี่ยวกับเกษตรกรรม และดำเนินกิจการภายใต้ขอบเขตที่กำหนด เช่น จัดหาทุน ฝากเงิน จัดให้มีเงินกู้ สินเชื่อ จัดให้มีบริการด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการทางการเกษตร
2) หมวด 2 สหกรณ์ประมง จัดตั้งขึ้นจากการรวมตัวกันของผู้ประกอบอาชีพหลักทางการประมงที่เกี่ยวกับการจับสัตว์น้ำ การเลี้ยงหรือเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำโดยมีวัตถุประสงค์ที่กำหนด เช่น ส่งเสริมการดำเนินธุรกิจ การผลิต การค้า และการบริการอันจำเป็นในการประกอบอาชีพหลักทางการประมงและการดำรงชีพ แก้ไขปัญหาและพัฒนาการประกอบอาชีพ ส่งเสริมการออม ส่งเสริมและเผยแพร่อาชีพการประมง อุตสาหกรรมในครัวเรือนหรือการประกอบอาชีพอย่างอื่นที่เกี่ยวกับการประมง และดำเนินกิจการภายใต้ขอบเขตที่กำหนด เช่น จัดหาทุน ฝากเงิน จัดให้มีเงินกู้ สินเชื่อ จัดให้มีบริการด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการทางการประมง
3) หมวด 3 สหกรณ์นิคม จัดตั้งขึ้นในเขตนิคมสหกรณ์ ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ หรือในพื้นที่ที่หน่วยงานภาครัฐกำหนด เพื่อให้สมาชิกได้รับที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยและประกอบอาชีพทางเกษตรกรรม โดยมีวัตถุประสงค์ที่กำหนด เช่น แก้ไขปัญหาเกี่ยวกับที่ดินเพื่อใช้ในการทำกินและเป็นที่อยู่อาศัย รวมทั้งพัฒนาการประกอบอาชีพของสมาชิก ส่งเสริมการดำเนินธุรกิจ การผลิต การค้า และการบริการ อันจำเป็นในการประกอบอาชีพหลักและการดำรงชีพ ส่งเสริมการออมของสมาชิก และดำเนินกิจการภายใต้ขอบเขตที่กำหนด เช่น จัดหาทุน ฝากเงิน ครอบครองและจัดที่ดินให้สมาชิกใช้เป็นที่อยู่อาศัยและประกอบอาชีพโดยการเช่า หรือการเช่าซื้อ พัฒนาหมู่บ้าน การคมนาคม บริการสาธารณะต่าง ๆ ตลอดจนพัฒนาที่ดิน เพื่อให้เกิดความสะดวกและเหมาะสมในการใช้งาน
4) หมวด 4 สหกรณ์ร้านค้า จัดตั้งขึ้นจากการรวมตัวกันของคณะบุคคลเพื่อจัดหาและรวบรวมสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ของสมาชิกเพื่อจำหน่าย โดยต้องไม่มีลักษณะเป็นธุรกิจขายตรงหรือธุรกิจอื่นในลักษณะเดียวกัน โดยมีวัตถุประสงค์ที่กำหนด เช่น แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนจากความต้องการสินค้าอุปโภคบริโภคและสินค้าอันจำเป็นร่วมกัน ส่งเสริมและเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ ส่งเสริมธุรกิจการค้า และดำเนินกิจการภายใต้ขอบเขตที่กำหนด เช่น จัดหาทุน ฝากเงิน จัดให้มีเงินกู้ สินเชื่อ ให้บริการเป็นตัวแทนของผู้ประกอบธุรกิจให้บริการรับชำระเงินด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยระบบการชำระเงิน
5) หมวด 5 สหกรณ์บริการ จัดตั้งขึ้นจากการรวมตัวกันของผู้มีอาชีพหลักอย่างเดียวกัน หรือผู้ที่มีความต้องการรับบริการด้านเดียวกัน ดังต่อไปนี้
ก. ผู้มีอาชีพหลักอย่างเดียวกันหรือกลุ่มเดียวกัน นอกเหนือจากผู้ประกอบอาชีพหลักทางเกษตรกรรมหรือทางการประมง เพื่อดำเนินกิจการร่วมกันที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพของสมาชิก
และต้องไม่เป็นการจัดตั้งสหกรณ์เพื่อดำเนินกิจการทางการเงินเพียงอย่างเดียว
ข. ผู้ที่อาศัยอยู่ในชุมชนเดียวกันหรือใกล้เคียงกันภายในพื้นที่จังหวัดเดียวกัน
ที่มีความต้องการรับบริการอย่างเดียวกัน เพื่อดำเนินกิจการร่วมกันในการให้บริการเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของสมาชิก หรือเป็นผู้ที่มีความเดือดร้อนเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยและไม่มีที่ดินเป็นของตนเอง เพื่อดำเนินกิจการร่วมกัน
ในการจัดหาหรือจัดสรรที่ดิน หรือที่อยู่อาศัยโดยวิธีใดวิธีหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ เช่าซื้อ เช่า หรือใช้ที่ดินที่รัฐหรือเอกชนยกให้ เพื่อให้สมาชิกได้มีที่อยู่อาศัยเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเอง
โดยมีวัตถุประสงค์ที่กำหนด เช่น ส่งเสริมการดำเนินธุรกิจ การผลิต การค้า และการบริการอันจำเป็นในการประกอบอาชีพหลักและการดำรงชีพ ส่งเสริมการออม แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนตามความต้องการในการรับบริการร่วมกันของสมาชิก และดำเนินกิจการภายใต้ขอบเขตที่กำหนด เช่น จัดหาทุน ฝากเงิน จัดให้มีเงินกู้ สินเชื่อ ดำเนินงานของสหกรณ์ที่มีสมาชิกอาชีพหลักด้านเดียวกัน หรือสมาชิกที่มีความต้องการรับบริการด้านเดียวกัน
6) หมวด 6 สหกรณ์ออมทรัพย์ จัดตั้งขึ้นจากการรวมตัวกันของบุคคลที่ประกอบอาชีพหลักในสังกัดหน่วยงาน องค์กร หรือสถานประกอบการเดียวกันหรือในเครือเดียวกัน และเป็นผู้มีเงินได้รายเดือนหรือเงินได้ประจำที่หน่วยงานต้นสังกัดหรือนายจ้างในสถานประกอบการสามารถหักเงิน ณ ที่จ่ายส่งให้แก่สหกรณ์ได้ ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด เช่น ส่งเสริมการออม ให้บริการทางการเงิน และดำเนินกิจการภายใต้ขอบเขตที่กำหนด เช่น จัดหาทุน ฝากเงิน จัดให้มีเงินกู้ สินเชื่อ
7) หมวด 7 สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน จัดตั้งขึ้นจากการรวมตัวกันของบุคคลหรือกลุ่มบุคคล ดังต่อไปนี้
ก. ผู้ที่อยู่อาศัยในชุมชนเดียวกันหรือชุมชนใกล้เคียงกัน ภายในพื้นที่อำเภอเดียวกัน
ข. ผู้ประกอบอาชีพหลักเดียวกันหรืออยู่ในสังกัดหน่วยงาน องค์กร หรือสถานประกอบการเดียวกัน แต่ไม่มีเงินได้ประจำหรือมีรายได้ไม่แน่นอน หรือหน่วยงานต้นสังกัดไม่สามารถหักเงิน
ณ ที่จ่ายส่งให้แก่สหกรณ์ได้
ค. กลุ่มบุคคลในพื้นที่จังหวัดเดียวกันที่มีความเชื่อมโยงกันตามวงสัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่งทางสังคม และมีการพบปะหรือทำกิจกรรมร่วมกันอย่างสม่ำเสมอ
โดยมีวัตถุประสงค์ที่กำหนด เช่น ส่งเสริมการออม ให้บริการทางการเงิน และดำเนินกิจการภายใต้ขอบเขตที่กำหนด เช่น จัดหาทุน ฝากเงิน จัดให้มีเงินกู้ สินเชื่อ ดำเนินการอื่นใดที่เกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์
2. กำหนดให้สหกรณ์ประเภทอื่นนอกจากสหกรณ์ร้านค้าที่ประสงค์จะดำเนินการให้บริการเป็นตัวแทนของผู้ประกอบธุรกิจให้บริการรับชำระเงินด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ต้องได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียนสหกรณ์ (อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์) โดยสหกรณ์ดังกล่าวต้องดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยระบบการชำระเงินอย่างเคร่งครัด
3. กำหนดลักษณะชื่อของสหกรณ์ที่จะรับจดทะเบียน รวมถึงลักษณะชื่อที่ไม่สามารถรับจดทะเบียน เช่น ต้องไม่ซ้ำกับชื่อของสหกรณ์อื่นซึ่งได้รับจดทะเบียนไว้ก่อน ไม่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” ไว้ท้ายชื่อหรือเป็นส่วนหนึ่งของชื่อ รวมทั้งไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายอื่น ไม่คล้ายหรือสอดคล้องกับสถาบัน องค์กร หรือหน่วยงาน ที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกับหน่วยงานต้นสังกัดของสมาชิก
4. กำหนดบทเฉพาะกาล เช่น 1) หากสมาชิกรายใดมีคุณสมบัติไม่เป็นไปตามกฎกระทรวงนี้ แต่มีคุณสมบัติเป็นไปตามข้อบังคับสหกรณ์ที่ใช้อยู่ในวันก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับให้ยังคงเป็นสมาชิกของสหกรณ์นั้นต่อไปได้ และ 2) กิจการของสหกรณ์ที่ได้ดำเนินการอยู่ในวันก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ ให้ถือว่าเป็นการดำเนินกิจการของสหกรณ์ตามกฎกระทรวงนี้ ทั้งนี้ กรณีการดำเนินกิจการของสหกรณ์ที่ไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์และขอบเขตแห่งการดำเนินกิจการตามกฎกระทรวงนี้ ให้เป็นอำนาจของนายทะเบียนสหกรณ์พิจารณาเป็นรายกรณี
เศรษฐกิจ-สังคม
18. เรื่อง การแยกบัญชีโครงการสินเชื่อสร้างงานสร้างอาชีพของธนาคารออมสินเป็นบัญชีธุรกรรมนโยบายรัฐ (Public Service Account : PSA)
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการแยกบัญชีโครงการสินเชื่อสร้างงานสร้างอาชีพของธนาคารออมสิน (โครงการสินเชื่อฯ) เป็นบัญชีธุรกรรมนโยบายรัฐ [Public Service Account : (PSA)] พร้อมทั้งมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
1. จากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว รวมถึงต้นทุนการผลิตและระดับราคาสินค้าทั่วไปปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ค่าครองชีพและต้นทุนในการประกอบอาชีพของประชาชนปรับตัวสูงขึ้นตามไปด้วย ส่งผลให้ประชาชนประสบกับปัญหาด้านสภาพคล่องและมีรายได้ไม่เพียงพอที่จะชำระหนี้ได้ตามกำหนด ทั้งผู้ที่เป็นหนี้ในระบบและหนี้นอกระบบจนเกิดเป็นปัญหาเรื้อรัง ดังนั้น เพื่อให้ปัญหาดังกล่าวบรรเทาลงและได้รับการแก้ไขธนาคารออมสินจึง
ขอดำเนินโครงการสินเชื่อฯ (ซึ่งเป็นโครงการที่ธนาคารออมสินดำเนินการเองโดยไม่ได้ของบประมาณจัดสรรเพิ่มเติม) โดยมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
หัวข้อ |
รายละเอียด |
1. วัตถุประสงค์ |
เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียน เสริมสร้างสภาพคล่องในการประกอบอาชีพและนำไปชำระหนี้นอกระบบหรือหนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงที่กู้ยืมมาใช้ในการประกอบอาชีพและดำรงชีพ |
2. วงเงินโครงการ |
ไม่เกิน 15,000 ล้านบาท |
3. วงเงินสินเชื่อต่อราย |
สูงสุดไม่เกินรายละ 50,000 บาท |
4. กลุ่มเป้าหมาย |
(1) ผู้ประกอบการรายย่อย ผู้ประกอบอาชีพอิสระ ผู้มีรายได้ประจำ ลูกจ้าง พ่อค้า แม่ค้า หรือผู้รับจ้างให้บริการต่าง ๆ ที่มีรายได้ (2) ผู้มีสัญชาติไทย มีถิ่นที่อยู่แน่นอนและสามารถติดต่อได้ รวมถึงมีอายุครบ 20 ปี บริบูรณ์ขึ้นไป แต่ไม่เกิน 65 ปี บริบูรณ์ ณ วันยื่นขอกู้ |
5. ระยะเวลากู้ยืม |
(1) ชำระเงินต้นและดอกเบี้ยเป็นงวดรายเดือน (2) ระยะเวลาการชำระคืนสูงสุดไม่เกิน 5 ปี (60 งวด) |
6. อัตราดอกเบี้ย |
อัตราดอกเบี้ยคงที่ร้อยละ 0.75 ต่อเดือน (Flat Rate) |
7. หลักประกัน |
ไม่มีหลักประกัน (Clean Loan) |
8. ช่องทางการให้บริการ |
ให้บริการผ่านช่องทางที่ธนาคารกำหนด |
9. เงื่อนไขการพิจารณาสินเชื่อ |
พิจารณาเงื่อนไขที่ผ่อนปรนกว่าสินเชื่อของธนาคาร โดยมีหลักเกณฑ์เงื่อนไขเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด |
10.ระยะเวลาการยื่นขอสินเชื่อ |
ยื่นขอสินเชื่อและจัดทำนิติกรรมสัญญาภายใน 30 ธันวาคม 2568 หรือจนกว่าจะครบวงเงินโครงการ หรืออย่างใดอย่างหนึ่งถึงก่อน |
11. ความเสี่ยงของโครงการ |
ธนาคารออมสินรองรับความเสียหายที่เกิดจากหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ [Non - Performing Loans (NPLs)] ประมาณร้อยละ 30 ของสินเชื่อที่อนุมัติทั้งหมด |
2. การแยกบัญชีโครงการสินเชื่อฯ เป็นบัญชี PSA จะทำให้เกิดความโปร่งใส ในการกำกับดูแล การตรวจสอบและการประเมินผลการดำเนินงานของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ในการทำหน้าที่เป็นกลไกของรัฐเพื่อฟื้นฟูและช่วยเหลือกลุ่มประชาชนและธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งป้องกันความเสี่ยงทางเศรษฐกิจที่อาจเกิดขึ้น
3. การดำเนินการดังกล่าวไม่เข้าข่ายลักษณะของกิจกรรม มาตรการ หรือโครงการตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 เนื่องจากเป็นโครงการที่ธนาคารออมสินดำเนินการเองโดยไม่ได้ขอรับงบประมาณชดเชยเพิ่มเติมจากรัฐบาลแต่อย่างใด
19. เรื่อง การแยกบัญชีมาตรการสินเชื่อซื้อ – สร้าง และการแยกบัญชีมาตรการสินเชื่อซ่อม – แต่ง ภายใต้มาตรการสินเชื่อซื้อ – ซ่อม – สร้าง ของธนาคารอาคารสงเคราะห์เป็นบัญชีธุรกรรมนโยบายรัฐ (Public Service Account : PSA)
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบมาตรการสินเชื่อซื้อ – ซ่อม – สร้าง ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) (ตามข้อ 1) และอนุมัติงบประมาณวงเงินรวม 6,372.88 ล้านบาท จากงบประมาณจ่ายประจำปี เพื่อดำเนินมาตรการฯ พร้อมทั้งมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป เพื่อเป็นการสนับสนุนภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์รองรับความต้องการที่อยู่อาศัยของประชาชน ส่งเสริม และสร้างโอกาสให้กับผู้มีรายได้น้อยถึงปานกลางได้เข้าถึงสินเชื่อที่อยู่อาศัยภายใต้เงื่อนไขที่ผ่อนปรน เหมาะกับศักยภาพการผ่อนชำระหนี้ รวมทั้งเป็น
การเสริมสร้างวินัยทางการเงินของประชาชน เพื่อไม่ให้เกิดภาระทางการเงินในอนาคต ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
1. ธอส. ได้ดำเนินโครงการสินเชื่อบ้าน Happy Home และโครงการสินเชื่อบ้าน Happy Life ซึ่งได้รับผลตอบรับจากประชาชนเป็นอย่างดี โดยปัจจุบัน ธอส.สามารถปล่อยสินเชื่อเต็มกรอบวงเงินโครงการแล้ว และยังคงมีประชาชนสนใจยื่นขอสินเชื่อที่อยู่อาศัยอีกจำนวนมาก ดังนั้น เพื่อเป็นการสนับสนุนภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ รวมทั้งรองรับความต้องการที่อยู่อาศัยของประชาชนให้มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองด้วยอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสมกับศักยภาพการชำระหนี้ และเพื่อเป็นการสร้างวินัยทางการเงินให้กับประชาชน โดย ธอส. สนับสนุนให้ลูกค้าเดิมมีวินัยในการผ่อนชำระหนี้สามารถยื่นขอสินเชื่อเพิ่ม เพื่อต่อเติมหรือซ่อมแซมอาคารหรือเพื่อซื้ออุปกรณ์ที่เกี่ยวเนื่องเพื่อประโยชน์ในการอยู่อาศัย ธอส. จึงได้เสนอมาตรการฯ ซึ่งประกอบด้วย 1) มาตรการสินเชื่อซื้อ - สร้าง วงเงินโครงการ 50,000 ล้านบาท และ 2) มาตรการสินเชื่อซ่อม - แต่ง วงเงินโครงการ 5,000 ล้านบาท โดยมีสาระสำคัญของหลักเกณฑ์และเงื่อนไขมาตรการสรุปได้ ดังนี้
1.1 มาตรการสินเชื่อซื้อ – สร้าง
หลักเกณฑ์และเงื่อนไข |
รายละเอียด |
วัตถุประสงค์ |
เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองในราคาไม่เกิน |
กลุ่มเป้าหมาย |
ประชาชนที่ต้องการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองในราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท |
ประเภทสินเชื่อ |
สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย |
วงเงินตามมาตรการ |
50,000 ล้านบาท |
วงเงินสินเชื่อต่อรายต่อหลักประกัน |
ไม่เกินรายละ 3 ล้านบาท (ราคาตามสัญญาจะซื้อจะขายและ/หรือค่าก่อสร้างไม่เกิน |
ระยะเวลากู้ยืมเงิน |
ระยะเวลากู้สูงสุดไม่เกิน 40 ปี |
อัตราดอกเบี้ย |
ปีที่ 1 - 5 : อัตราดอกเบี้ยคงที่ร้อยละ 3 ต่อปี ปีที่ 6 - 7 : อัตราดอกเบี้ยร้อยละ MRR - 2 ต่อปี ปีที่ 8 - 9 : อัตราดอกเบี้ยร้อยละ MRR – 1.5 ต่อปี ปีที่ 10 จนถึงตลอดอายุสัญญากู้เงิน - กรณีลูกค้ารายย่อยทั่วไป : อัตราดอกเบี้ยร้อยละ MRR – 0.75 ต่อปี - กรณีลูกค้าสวัสดิการ : อัตราดอกเบี้ยร้อยละ MRR - 1 ต่อปี - กรณีลูกค้ากู้ซื้ออุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกที่เกี่ยวเนื่องกับที่อยู่อาศัย : อัตราดอกเบี้ยร้อยละ MRR (ข้อมูล ณ วันที่ 1 พฤษภาคม 2567 อัตราดอกเบี้ย MRR ของ ธอส. เท่ากับ ร้อยละ 6.55 ต่อปี) |
ค่าประเมินหลักประกัน |
ธอส. รับภาระค่าประเมินหลักประกันไม่เกิน 2,300 บาท |
ระยะเวลายื่นขอสินเชื่อ |
ตั้งแต่วันถัดไปหลังจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบจนถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2568 หรือก่อนกำหนดระยะเวลาดังกล่าว หาก ธอส. ให้สินเชื่อเต็มตามกรอบวงเงินของมาตรการสินเชื่อชื่อ - สร้างแล้ว ทั้งนี้ ธอส. สามารถพิจารณาปรับเปลี่ยนระยะเวลาดำเนินมาตรการสินเชื่อซื้อ - สร้าง ได้ตามความเหมาะสม |
การขอรับการสนับสนุนจากรัฐบาล |
ธอส. ขอรับการชดเชยส่วนต่างระหว่างรายได้ดอกเบี้ยรับตามแผนวิสาหกิจของธนาคารกับรายได้ดอกเบี้ยรับจากมาตรการสินเชื่อซื้อ - สร้าง จำนวน 5,959.97 ล้านบาท |
เงื่อนไขอื่น ๆของธอส. |
(1) ขอแยกบัญชีมาตรการสินเชื่อซื้อ-สร้าง เป็นบัญชี PSA (2) ขอนำผลกระทบรายได้และค่าใช้จ่ายจากการจัดทำมาตรการสินเชื่อ ซื้อ - สร้าง (3) ขอนำผลกระทบรายได้และค่าใช้จ่ายในการจัดทำมาตรการสินเชื่อซื้อ – สร้าง (4) ขอไม่นับรวมหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non-Performing Loans : NPLs) ที่เกิดจากการดำเนินมาตรการสินเชื่อซื้อ - สร้าง ในการคำนวณตัวชี้วัดด้านความสามารถในการบริหาร NPLs ตามบันทึกข้อตกลงการประเมินผลการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจ (5) เงื่อนไขอื่น ๆ ให้เป็นไปตามที่ ธอส. กำหนด |
1.2 มาตรการสินเชื่อซ่อม – แต่ง
หลักเกณฑ์และเงื่อนไข |
รายละเอียด |
วัตถุประสงค์ |
เพื่อสนับสนุนลูกค้าเดิมของ ธอส. ที่มีวินัยในการผ่อนชำระหนี้ สามารถกู้เพิ่ม เพื่อต่อเติมหรือซ่อมแซมอาคาร หรือเพื่อซื้ออุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกที่เกี่ยวเนื่องเพื่อประโยชน์ในการอยู่อาศัย |
กลุ่มเป้าหมาย |
(1) ลูกค้าเดิมของ ธอส. ที่มีการผ่อนชำระหนี้มาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี นับตั้งแต่วันที่ทำสัญญาครั้งแรกและมีประวัติการผ่อนชำระดีทุกเดือนไม่น้อยกว่า 1 ปี (2) วงเงินกู้เดิมภายใต้หลักประกันเดิมสูงสุดไม่เกิน 5 ล้านบาท |
ประเภทสินเชื่อ |
สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย |
วงเงินตามมาตรการ |
5,000 ล้านบาท |
วงเงินสินเชื่อต่อรายต่อหลักประกัน |
ไม่เกินรายละ 100,000 บาท ทั้งนี้ เงื่อนไขการให้สินเชื่อให้เป็นไปตามระเบียบ ปฏิบัติงานสินเชื่อรายย่อยของ ธอส. |
ระยะเวลากู้ยืมเงิน |
ระยะเวลากู้สูงสุดไม่เกิน 3 ปี |
อัตราดอกเบี้ย |
ปีที่ 1 - 3 : อัตราดอกเบี้ยคงที่ร้อยละ 1 ต่อปี |
ค่าประเมินหลักประกัน |
ธอส. รับภาระค่าประเมินหลักประกันไม่เกิน 1,900 บาท |
ระยะเวลายื่นขอสินเชื่อ |
ตั้งแต่วันถัดไปหลังจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบเป็นต้นไปจนกว่า ธอส. ให้สินเชื่อเต็มตามกรอบวงเงินของมาตรการสินเชื่อซ่อม - แต่งแล้ว ทั้งนี้ ธอส.สามารถพิจารณาปรับเปลี่ยนระยะเวลาดำเนินมาตรการสินเชื่อซ่อม - แต่งได้ตามความเหมาะสม |
การขอรับการสนับสนุนจากรัฐบาล |
ธอส. ขอรับการชดเชยส่วนต่างระหว่างรายได้ดอกเบี้ยรับตามแผนวิสาหกิจ ของธนาคารกับรายได้ดอกเบี้ยรับจากมาตรการสินเชื่อซ่อม – แต่ง จำนวน412.91 ล้านบาท |
เงื่อนไขอื่น ๆ ของ ธอส. |
(1) ขอแยกบัญชีมาตรการสินเชื่อซ่อม-แต่ง เป็นบัญชี PSA (2) ขอนำผลกระทบรายได้และค่าใช้จ่ายจากการจัดทำมาตรการสินเชื่อซ่อม-แต่ง มาปรับตัวชี้วัดทางการเงินที่เกี่ยวข้องตามบันทึกข้อตกลงการประเมินผลการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจ (3) ขอนำผลกระทบรายได้และค่าใช้จ่ายในการจัดทำมาตรการสินเชื่อซ่อม-แต่ง (4) ขอไม่นับรวมหนี้ (NPLs) ที่เกิดจากการดำเนินมาตรการสินเชื่อซ่อม-แต่ง ในการคำนวณตัวชี้วัดด้านความสามารถในการบริหาร NPLs ตามบันทึกข้อตกลงการประเมินผลการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจ (5) เงื่อนไขอื่น ๆ ให้เป็นไปตามที่ ธอส. กำหนด |
20. เรื่อง ขออนุมัติเพิ่มวงเงินและขยายระยะเวลาก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณรายการก่อสร้างอาคารปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ตำบลท่าช้าง อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี ของมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการเพิ่มวงเงินก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ รายการอาคารปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ตำบลท่าช้าง อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี จำนวน 1 หลัง ของมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี (มหาวิทยาลัยฯ) จากเดิมจำนวน 169.67 ล้านบาท เป็นจำนวน 215.29 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 45.62 ล้านบาท) และขอขยายระยะเวลาก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ สำหรับรายการดังกล่าว จากเดิมปีงบประมาณ พ.ศ. 2555-2561 เป็นปีงบประมาณ พ.ศ. 2555-2569 ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ
สาระสำคัญ
อว. เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติการเพิ่มวงเงินก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ รายการอาคารปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ตำบลท่าช้าง อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี จำนวน 1 หลัง ของมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จากเดิมที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติ (22 กุมภาพันธ์ 2555) จำนวน 169.67 ล้านบาท เป็นจำนวน 215.29 ล้านบาท (วงเงินเพิ่มขึ้น 45.62 ล้านบาท) และขอขยายระยะเวลาผูกพันข้ามปีงบประมาณ จากเดิมปีงบประมาณ พ.ศ. 2555-2561 เป็นปีงบประมาณ พ.ศ. 2555-2569 เนื่องจากมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณีได้บอกเลิกสัญญาจ้างที่ผู้รับจ้างไม่สามารถก่อสร้างให้แล้วเสร็จตามสัญญามาแล้ว จำนวน 2 ครั้ง (ผู้รับจ้างเบิกจ่ายค่าก่อสร้างไปแล้วรวมจำนวน 106.85 ล้านบาท) ส่วนครั้งที่ 3 มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณีไม่สามารถทำสัญญาได้เนื่องจากผู้รับจ้างไม่สามารถขยายระยะเวลายืนราคาได้ อย่างไรก็ตาม มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณีจำเป็นต้องก่อสร้างอาคารปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ให้แล้วเสร็จเพื่อให้มีอาคารเรียนสามารถใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์ จึงได้จัดทำประมาณราคากลางสิ่งก่อสร้างใหม่ที่ปรับราคาวัสดุก่อสร้างและค่าแรงงานในปัจจุบันและดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างครั้งที่ 4 โดยมีผลการจัดซื้อจัดจ้าง (งานส่วนที่เหลือจากผู้รับจ้างรายเดิม) ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) (ครั้งล่าสุด) เป็นจำนวนเงิน 108.44 ล้านบาท ซึ่งเมื่อรวมกับวงเงินค่าก่อสร้างที่ผู้รับจ้างเบิกจ่ายไปแล้ว จำนวน 106.85 ล้านบาท คิดเป็นวงเงินทั้งสิ้น 215.29 ล้านบาท ซึ่งเกินกว่าที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติไว้ จำนวน 45.62 ล้านบาท โดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกระทรวงมหาดไทยพิจารณาแล้วไม่ขัดข้อง/อนุมัติในหลักการตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอ โดยมีความเห็นเพิ่มเติมบางประการ (1) การก่อสร้างอาคารปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยฯ ควรพิจารณาความสอดคล้องกับประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดโครงการ กิจการหรือการดำเนินการ ซึ่งต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2566 หากมีลักษณะเป็นโครงการ กิจการ หรือการดำเนินการตามประกาศกระทรวงดังกล่าว จะต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและจะต้องจัดกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนตามประกาศสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2566 ด้วย (2) ขอให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด ส่วนสำนักงบประมาณเห็นสมควรที่คณะรัฐมนตรีจะพิจารณาอนุมัติให้มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณีเพิ่มวงเงินรายการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณและขยายระยะเวลาก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณรายการดังกล่าวตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอ โดยให้มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณีดำเนินการตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับมติคณะรัฐมนตรี และหนังสือเวียนที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนมาตรฐานของทางราชการให้ถูกต้องครบถ้วนในทุกขั้นตอน โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของทางราชการเป็นสำคัญ
21. เรื่อง โครงการกองทุนการศึกษาระดับอุดมศึกษา (ระยะที่ 2)
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ ดังนี้
1. โครงการกองทุนการศึกษาระดับอุดมศึกษา (ระยะที่ 2) (โครงการฯ ระยะที่ 2) โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปีการศึกษา 2568-2579 จำนวน 7 รุ่น รุ่นละ 4 ปีการศึกษา รวมจำนวนทั้งสิ้น 163 คน ในอัตราทุนละ 55,000 บาท/คน/ปีการศึกษา ตามระยะเวลาของหลักสูตร
2. ค่าใช้จ่ายในวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568-2580 จำนวนทั้งสิ้น 55.09 ล้านบาท
ทั้งนี้ อว. จะขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมจากสำนักงบประมาณ (สงป.) สำหรับทุนการศึกษาของโครงการฯ ระยะที่ 2 รุ่นที่ 1 (ปีการศึกษา 2568) วงเงิน 747,900 บาท เนื่องจากไม่มีวงเงินดังกล่าวบรรจุไว้ในพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ส่วนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2569-2580 สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) จะขอรับการจัดสรรงบประมาณจาก สงป. เป็นรายปีตามความจำเป็นและเหมาะสมต่อไป
สาระสำคัญของเรื่อง
1. โครงการฯ เป็นโครงการที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ดำเนินการจัดตั้งและได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ส่วนหนึ่งเป็นทุนการศึกษาสำหรับนักเรียนที่มีความประพฤติดีแต่มีฐานะยากจน ตั้งแต่ระดับประถมศึกษาจนถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย/อาชีวศึกษา และเป็นทุนการศึกษาต่อเนื่องจนสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ดำเนินการตั้งแต่ปีการศึกษา 2555 ผ่านการจัดสรรทุนการศึกษาให้ผู้รับทุนที่เริ่มเข้าศึกษาในระดับประถมศึกษา จำนวน 305 คน ซึ่งนักเรียนทุนบางส่วนที่เข้าศึกษาต่อเนื่องในระดับอุดมศึกษาในมหาวิทยาลัยสังกัด อว. จะได้รับทุนการศึกษา คนละ 55,000 บาท/คน/ปีการศึกษา แต่เนื่องจากทุนการศึกษาพระราชทานดังกล่าวเป็นทุนต่อเนื่อง สป.อว. (สกอ. ในขณะนั้น) จึงพิจารณาจัดสรรงบประมาณเพื่อรองรับผู้รับทุนการศึกษาตามโครงการฯ เพื่อทดแทนเงินส่วนพระองค์ที่ได้พระราชทาน
2. ผลการดำเนินโครงการฯ ที่ผ่านมา (ข้อมูล ณ วันที่ 20 มิถุนายน 2567) สรุปได้ ดังนี้
2.1 ปัจจุบันมีผู้รับทุนที่อยู่ในความดูแลของ สป.อว.จำนวน 8 รุ่น จากทั้งหมด 11 รุ่น โดยอยู่ระหว่างศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา 54 แห่ง รวมจำนวนทั้งสิ้น 142 คน มีรายละเอียด ดังนี้
2.2 สป.อว. ได้ติดตามผู้รับทุนรุ่นที่ 1-5 ปีการศึกษา 2559-2563 ที่สำเร็จการศึกษา จำนวน 97 คน แบ่งเป็น ผู้รับทุนที่มีงานทำแล้ว (ภาครัฐและเอกชน) จำนวน 61 คน (ร้อยละ 62.89) และผู้รับทุนที่ยังไม่ได้ทำงาน (เตรียมสอบเข้าทำงานในหน่วยงานภาครัฐและอยู่ระหว่างสมัครงานในภาคเอกชน) จำนวน 36 คน (ร้อยละ 37.11)
2.3 สป.อว ได้แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานโครงการฯ และทำงานติดตามและประเมินผลการดำเนินงานโครงการฯ เพื่อกำกับ ดูแล ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานโครงการ เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2567 โดยได้ติดตามผลการเรียนและดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งลงพื้นที่เพื่อติดตามดูแลผู้รับทุนในสถาบันอุดมศึกษา 35 แห่ง ซึ่งมีผู้รับทุน จำนวน 94 คน ในช่วงปีงบประมาณ พ.ศ. 2560-2566
3. โครงการฯ ระยะที่ 2 เป็นเงินทุนการศึกษาให้แก่นักเรียนทุนโครงการฯ ระยะที่ 2 ที่จะเข้าศึกษาต่อเนื่องในระดับอุดมศึกษา ในปีการศึกษา 2568-2579 จำนวน 163 คน จากนักเรียนทุนโครงการฯ ระยะที่ 2 ทั้งหมด 229 คน ดังนั้น อว. จึงได้จัดทำโครงการฯ ระยะที่ 2 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
3.1 รายละเอียดโครงการฯ ระยะที่ 2
หัวข้อ |
สาระสำคัญ |
หลักการและเหตุผล
|
เป็นการดำเนินการต่อเนื่องจากโครงการฯ ระยะที่ 1 ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม ประเด็นการลดความเหลื่อมล้ำสร้างความเป็นธรรมในทุกมิติ สร้างความเป็นธรรมในการเข้าถึงบริการสาธารณสุขและการศึกษา โดยเฉพาะผู้มีรายได้น้อยและกลุ่มผู้ด้อยโอกาส ซึ่งโครงการฯ จะสนับสนุนเงินทุนการศึกษาให้กับนักเรียนที่มีฐานะยากจน ขาดแคลนทุนทรัพย์ อาศัยอยู่ในพื้นที่ห่างไกล ทุรกันดารและมีศักยภาพในการเรียนต่อระดับปริญญาตรี ให้มีโอกาสเข้าถึงการศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีคุณภาพและเป็นมาตรฐานเดียวกัน |
วัตถุประสงค์ |
(1) เพื่อเปิดโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาของผู้มีฐานะยากจน ผู้มีรายได้น้อยหรือขาดแคลนทุนทรัพย์ โดยการสนับสนุนทุนการศึกษาให้แก่ผู้รับทุนการศึกษาตามโครงการฯ ที่สามารถสอบเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีได้ (2) เพื่อส่งเสริมให้ผู้รับทุนการศึกษากลับไปปฏิบัติงานในพื้นที่ภูมิลำเนาของตนเองหลังสำเร็จการศึกษา |
กลุ่มเป้าหมาย |
ผู้รับทุนการศึกษาตามโครงการฯ ที่สำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ รวมทั้งผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงที่มีความประสงค์จะเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี |
ระยะเวลาการดำเนินโครงการ |
ปีการศึกษา 2568-2579 (จำนวน 7 รุ่น) รุ่นละ 4 ปีการศึกษา |
3.2 กรอบวงเงินงบประมาณ รวมทั้งสิ้น 55.09 ล้านบาท เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปีการศึกษา 2568-2579 (จำนวน 7 รุ่น) รุ่นละ 4 ปีการศึกษา รวมทั้งสิ้น 163 คน ในอัตราทุนละ 55,000 บาท/คน/ปีการศึกษา ซึ่งจะขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568-2580 ประกอบด้วย
(1) เงินทุนการศึกษา จำนวน 7 รุ่น คนละ 55,000 บาท/คน/ ปีการศึกษา รวมทั้งสิ้น 35.59 ล้านบาท
(2) ค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการ เช่น ค่าจ้างลูกจ้างโครงการ การจัดโครงการปฐมนิเทศ/ปัจฉิมนิเทศ การจัดการประชุมชี้แจงการดำเนินงานโครงการ การติดตามและประเมินผล ค่าวัสดุอุปกรณ์ วงเงิน 19.50 ล้านบาท
4. ประโยชน์ของโครงการฯ ระยะที่ 2 เพื่อลดความเหลื่อมล้ำและสร้างโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาผ่านการสนับสนุนทุนการศึกษาสำหรับนักเรียน นักศึกษาที่มีฐานะยากจน มีรายได้น้อย หรือขาดแคลนทุนทรัพย์ ที่มีความสามารถในการศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี ได้มีโอกาสเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาจนสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีและได้รับการพัฒนาให้เป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพ สามารถประกอบอาชีพและรับใช้สังคมและประเทศชาติ รวมทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปพัฒนาท้องถิ่นภูมิลำเนาของตนเองต่อไป
22. เรื่อง (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านภูมิสารสนเทศแห่งชาติ พ.ศ. 2566 – 2570
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่คณะกรรมการภูมิสารสนเทศแห่งชาติ (กภช.) เสนอ ดังนี้
1. เห็นชอบ (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านภูมิสารสนเทศแห่งชาติ พ.ศ. 2566 -2570 [(ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ]
2. มอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปใช้เป็นกรอบทิศทางและแนวทางดำเนินงาน รวมทั้งใช้เป็นกรอบแนวทางจัดทำและเสนอคำของบประมาณของหน่วยงานตามห้วงระยะเวลาการบังคับใช้ของแผนปฏิบัติการฯ
3. ให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (สทอภ.) ในฐานะกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ กภช. ประสาน รวบรวม และกลั่นกรองโครงการต่าง ๆ ของภาครัฐที่เกี่ยวกับระบบภูมิสารสนเทศเสนอ กภช. และนำเสนอต่อสำนักงบประมาณ (สงป.) เพื่อประกอบการพิจารณาจัดสรรงบประมาณประจำปีต่อไป
4. ให้สำนักงานสภาการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และ สงป. สนับสนุนโครงการ/กิจกรรมที่สอดคล้องและสนับสนุนเป้าหมายของ (ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ และใช้เป็นแนวทางการจัดสรรงบประมาณแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามห้วงระยะการบังคับใช้ของแผนปฏิบัติการฯ
สาระสำคัญของเรื่อง
1. (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านภูมิสารสนเทศแห่งชาติ พ.ศ. 2566-2570 [(ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ]
ที่ กภช. เสนอคณะรัฐมนตรีให้เห็นชอบในครั้งนี้ เป็นแผนที่ต่อเนื่องจากแผนแม่บทภูมิสารสนเทศแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2564 [มีการแก้ไขชื่อจากแผนแม่บท เป็น (ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ เพื่อให้สอดคล้องกับการจัดทำแผนระดับที่ 3] โดยมีวิสัยทัศน์ คือ ไทยมีระบบข้อมูลภูมิสารสนเทศกลางที่เอื้อต่อการนำไปใช้ประโยชน์และสร้างสรรค์นวัตกรรม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน ประกอบด้วย
4 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ (1) การพัฒนาชั้นข้อมูลพื้นฐาน ด้านภูมิสารสนเทศของประเทศให้มีความพร้อม (2) พัฒนาระบบให้บริการทางภูมิสารสนเทศกลางและส่งเสริมการเปิดเผยข้อมูลภูมิสารสนเทศ (3) พัฒนาทรัพยากรมนุษย์และกลไกการขับเคลื่อนนวัตกรรมภูมิสารสนเทศ และ (4) ขับเคลื่อนและส่งเสริมการสร้างเศรษฐกิจด้วยภูมิสารสนเทศเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปใช้เป็นกรอบทิศทางและแนวทางดำเนินงานด้านภูมิสารสนเทศลดความซ้ำซ้อนและมุ่งเน้นการใช้ประโยชน์จากระบบภูมิสารสนเทศร่วมกัน รวมทั้งใช้เป็นกรอบการจัดทำและเสนอคำของบประมาณของหน่วยงานตามห้วงระยะเวลาการบังคับใช้ของแผนปฏิบัติการดังกล่าว โดย (ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ ฉบับนี้มีประเด็นการดำเนินการต่อเนื่องจากแผนแม่บทภูมิสารสนเทศแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2564 ที่เน้นการบูรณาการแผนที่ ภาพถ่ายทางอากาศ ภาพถ่ายจากดาวเทียม และภูมิสารสนเทศอื่น ๆ ของหน่วยงานภาครัฐในรูปแบบแผนที่ออนไลน์ รวมถึงการพัฒนาระบบสืบค้นและบริการภูมิสารสนเทศกลางของประเทศ และได้มีการเพิ่มเติมประเด็นการผลักดันให้ทุกภาคส่วนสามารถเข้าถึงข้อมูลภูมิสารสนเทศตามแนวทางการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐในรูปแบบดิจิทัลต่อสาธารณะ โดยสามารถดาวน์โหลดและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อใช้ประโยชน์และต่อยอดในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศให้ดีขึ้น ซึ่งสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้เห็นชอบ (ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ แล้วเมื่อวันที่
4 ตุลาคม 2566 ประกอบกับกระทรวงกลาโหม กระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงคมนาคมกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงพลังงาน กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม กระทรวงแรงงาน กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักงาน ก.พ. สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงาน ก.พ.ร. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) พิจารณาแล้วเห็นชอบด้วย โดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงสาธารณสุข สำนักงบประมาณ สำนักงาน ก.พ. สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงาน ก.พ.ร. สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ และสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) มีความเห็นเพิ่มเติมบางประการ เช่น การเพิ่มเติมรายละเอียดสถานการณ์ปัจจุบันของค่าเป้าหมายในแต่ละตัวชี้วัดให้มีความครบถ้วน การสำรวจชุดข้อมูลที่ภาครัฐต้องการใช้งานข้อมูลจากภาคเอกชนและมีแนวทางการบูรณาการข้อมูลร่วมกับภาคเอกชน การปรับบทบาทภารกิจและระบบวิธีการทำงานของหน่วยงานที่มีอยู่เดิมเป็นลำดับแรกแทนการจัดตั้งส่วนราชการขึ้นใหม่
2. (ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ มีเป้าหมายเพื่อบริหารจัดการระบบข้อมูลภูมิสารสนเทศกลางของประเทศเพื่อให้การจัดทำและการใช้งานภูมิสารสนเทศของหน่วยงานภาครัฐเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งมุ่งเน้นการใช้ประโยชน์จากระบบภูมิสารสนเทศกลางมิติต่าง ๆ ซึ่งแผนงาน/โครงการภายใต้ (ร่าง) แผนปฏิบัติการดังกล่าว มีความสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาของประเทศหลายประการ เช่น การปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ มาตราส่วน 1 : 4000 (One Map) เพื่อใช้เป็นบรรทัดฐานในการพิจารณากำหนดแนวเขตที่ดินในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศให้เป็นมาตรฐานเดียวกันและสามารถแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ [คณะรัฐมนตรีมีมติ เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2566 เรื่อง การปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ มาตราส่วน 1 : 4000 (One Map)] การนำเทคโนโลยีภาพถ่ายดาวเทียมมาใช้ประโยชน์ในการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ โดยเฉพาะเรื่องฝุ่นละออง PM2.5 และจุดความร้อน (hotspots) ในพื้นที่ต่าง ๆ [คณะรัฐมนตรีมีมติ เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2567 เรื่อง ขอรับจัดสรรงบกลาง รายการเงินสำรองจ่าย เพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น สำหรับดำเนินการแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละออง PM2.5 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567] ดังนั้น เพื่อให้เป็นการขับเคลื่อนนโยบายสำคัญของรัฐบาลและการแก้ไขปัญหาของประเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพโดยเร็ว กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) ในฐานะกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการภูมิสารสนเทศแห่งชาติ สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรพิจารณากลั่นกรองโครงการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ อย่างรอบด้าน โดยให้ความสำคัญกับแผนงาน/โครงการที่ตอบสนองต่อนโยบายของรัฐบาลเป็นอันดับแรก
23. เรื่อง การกำหนดวันหยุดราชการเพิ่มเป็นกรณีพิเศษ ประจำปี 2568 และ 2569 และภาพรวมวันหยุดราชการประจำปี 2568
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการกำหนดวันหยุดราชการเพิ่มเป็นกรณีพิเศษ ประจำปี 2568 จำนวน
2 วัน ได้แก่ วันจันทร์ที่ 2 มิถุนายน 2568 และวันจันทร์ที่ 11 สิงหาคม 2568 และการกำหนดวันหยุดราชการเพิ่มเป็นกรณีพิเศษ ประจำปี 2569 จำนวน 1 วัน คือ วันศุกร์ที่ 2 มกราคม 2569 และรับทราบภาพรวมวันหยุดราชการ ประจำปี 2568 จำนวน 21 วัน ตามที่ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) เสนอ
ทั้งนี้ ในกรณีที่หน่วยงานใดมีภารกิจในการให้บริการประชาชน หรือมีความจำเป็นหรือราชการสำคัญในวันหยุดดังกล่าว ที่ได้กำหนดหรือนัดหมายไว้ก่อนแล้ว ซึ่งหากยกเลิกหรือเลื่อนจะเกิดความเสียหายหรือกระทบต่อการให้บริการประชาชน ให้หัวหน้าหน่วยงานนั้นพิจารณาดำเนินการตามที่เห็นสมควร โดยมิให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการและกระทบต่อการให้บริการประชาชน
ในส่วนของรัฐวิสาหกิจ สถาบันการเงิน และภาคเอกชน ให้รัฐวิสาหกิจแต่ละแห่ง ธนาคารแห่งประเทศไทย และกระทรวงแรงงานพิจารณาความจำเป็นเหมาะสมของการกำหนดให้วันดังกล่าวข้างต้นเป็นวันหยุดให้สอดคล้องกับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง แล้วแต่กรณีต่อไป
สาระสำคัญของเรื่อง
การกำหนดวันหยุดราชการเพิ่มเป็นกรณีพิเศษ ประจำปี 2568 และ 2569 โดยที่การกำหนดวันหยุดราชการเพิ่มเป็นกรณีพิเศษในแต่ละปี เพื่อให้มีวันหยุดต่อเนื่องกันหลายวันซึ่งจะเป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดการเดินทางและส่งผลดีต่อการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศ รวมทั้งเพื่อเป็นการสนับสนุนนโยบายที่จะกำหนดให้ปี 2568 เป็นปีแห่งการท่องเที่ยวและกีฬาของประเทศไทย (Amazing Thailand Grand Tourism and Sports Year 2025) จึงเห็นควรกำหนดวันหยุดราชการเพิ่มเป็นกรณีพิเศษ ประจำปี 2568 จำนวน 2 วัน ได้แก่ วันจันทร์ที่ 2 มิถุนายน 2568 และวันจันทร์ที่ 11 สิงหาคม 2568 และกำหนดวันหยุดราชการเพิ่มเป็นกรณีพิเศษ ประจำปี 2569 จำนวน 1 วัน คือ วันศุกร์ที่ 2 มกราคม 2569
ทั้งนี้ การกำหนดให้วันจันทร์ที่ 11 สิงหาคม 2568 เป็นวันหยุดราชการเพิ่มเป็นกรณีพิเศษอีก 1 วัน จะให้ทำมีวันหยุดราชการติดต่อกัน รวม 4 วัน (วันเสาร์ที่ 9 –อังคารที่ 12 สิงหาคม 2568) และการกำหนดให้วันศุกร์ที่ 2 มกราคม 2569 เป็นวันหยุดราชการเพิ่มเป็นกรณีพิเศษอีก 1 วัน จะทำให้มีวันหยุดราชการติดต่อกัน รวม 5 วัน (วันพุธที่ 31 ธันวาคม 2568 - วันอาทิตย์ที่ 4 มกราคม 2569)
24. เรื่อง การจัดประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 1/2567
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบการจัดประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 1/2567ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เสนอ
สาระสำคัญ
นายกรัฐมนตรีได้เห็นชอบกำหนดการจัดประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่
ครั้งที่ 1/2567 ณ จังหวัดเชียงใหม่ ในวันศุกร์ที่ 29 พฤศจิกายน 2567 และการตรวจราชการในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดเชียงราย ระหว่างวันพฤหัสบดีที่ 28 พฤศจิกายน - วันอาทิตย์ที่ 1 ธันวาคม 2567 ซึ่งมีประเด็นการตรวจราชการสำคัญ ประกอบด้วย (1) การเร่งฟื้นฟูและเยียวยาให้แก่ผู้ประสบอุทกภัยและภัยพิบัติ (2) การเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติในพื้นที่เสียงดินโคลนถล่ม และ (3) การบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบเพื่อแก้ไขปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งในระยะยาว
ต่างประเทศ
25. เรื่อง เอกสารผลลัพธ์การประชุมรัฐมนตรีเอเปค และการประชุมผู้นําเขตเศรษฐกิจเอเปค ประจําปี 2567
คณะรัฐมนตรีมีมติตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ ดังนี้
1. เห็นชอบต่อร่างเอกสาร จํานวน 4 ฉบับ ดังนี้
1.1) ร่างถ้อยแถลงร่วมรัฐมนตรีเอเปค ประจําปี 2567 (ร่างถ้อยแถลงร่วมฯ)
1.2) ร่างปฏิญญาผู้นําเขตเศรษฐกิจเอเปค ประจําปี 2567 (ร่างปฏิญญาฯ)
1.3) ร่างถ้อยแถลงอิชมาว่าด้วยมุมมองใหม่ในการขับเคลื่อนเขตการค้าเสรีเอเชีย-แปซิฟิก (ร่างถ้อยแถลงอิชมาฯ)
1.4) ร่างแผนงานลิมาเพื่อส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจในระบบและเศรษฐกิจโลกของเอเปค (ร่างแผนงานลิมาฯ)
ทั้งนี้ หากมีความจําเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขร่างเอกสารดังกล่าว ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสําคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้ กต. และกระทรวงพาณิชย์ (พณ.) ดําเนินการได้โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีอีก
2. ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ร่วมรับรองถ้อยแถลงร่วมฯ (ตามข้อ 1.1)
3. ให้นายกรัฐมนตรี หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีร่วมรับรองปฏิญญาฯ (ตามข้อ 1.2) ถ้อยแถลงอิชมาฯ (ตามข้อ 1.3) และแผนงานลิมาฯ (ตามข้อ 1.4)
สาระสำคัญ
เรื่องนี้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบร่างเอกสารจํานวน 4 ฉบับ โดยจะมีการรับรองเอกสารดังกล่าว ในการประชุมรัฐมนตรีเอเปค และการประชุมผู้นําเขตเศรษฐกิจเอเปค ประจําปี 2567 วันที่ 14 - 16 พฤศจิกายน 2567 ณ กรุงลิมา สาธารณรัฐเปรู ซึ่งมีสาระสําคัญ ดังนี้
1. ร่างถ้อยแถลงร่วมรัฐมนตรีเอเปค ประจําปี 2567 มีสาระสําคัญ เช่น (1) ผลักดันการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบเศรษฐกิจในระบบและเศรษฐกิจโลกผ่านการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัล (2) การมีส่วนร่วมของคนทุกกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง และวิสาหกิจ ขนาดกลาง ขนาดเล็ก และรายย่อย (MSMEs) ในด้านการค้า การเข้าถึงบริการทางการเงิน และระบบสาธารณสุข
2. ร่างปฏิญญาผู้นําเขตเศรษฐกิจเอเปค ประจําปี 2567 มีสาระสําคัญ เช่น (1) การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรมในการผลักดัน การเปลี่ยนผ่านสู่ระบบเศรษฐกิจในระบบและเศรษฐกิจโลก
(2) การบูรณาการทางเศรษฐกิจ ที่กว้างขวางและครอบคลุมมากขึ้น โดยส่งเสริมการค้าและการลงทุนที่เสรี เปิดกว้าง เป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ โปร่งใส
3. ร่างถ้อยแถลงอิชมาว่าด้วยมุมมองใหม่ในการขับเคลื่อน เขตการค้าเสรีเอเชีย-แปซิฟิก มีสาระสําคัญเป็นการแสดงความมุ่งมั่นในการขับเคลื่อนวาระ การจัดตั้งเขตการค้าเสรีเอเชีย-แปซิฟิก ในการรับมือกับความท้าทายในปัจจุบันที่กระทบต่อการค้าและการลงทุน โดยเน้นความร่วมมือในประเด็นใหม่ ๆ เช่น การใช้ประโยชน์จากดิจิทัล
4. ร่างแผนงานลิมาเพื่อส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจ ในระบบและเศรษฐกิจโลกของเอเปค มีสาระสําคัญเป็นการระบุแนวทางการเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจในระบบและเศรษฐกิจโลกอย่างยั่งยืน โดยเน้นการใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมและดิจิทัล เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจที่ครอบคลุม ทั้งนี้ กต. ได้สอบถามข้อคิดเห็นต่อร่างเอกสารทั้ง 4 ฉบับ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้วไม่มีข้อขัดข้อง และเห็นว่า ร่างเอกสารผลลัพธ์ฯ ทั้ง 4 ฉบับ ไม่เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศและไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
26. เรื่อง การจัดทําร่างพิธีสาร 5 ว่าด้วยสิทธิรับขนการจราจรพักค้างของตนระหว่างจุดใด ๆ ในอาณาเขตของรัฐสมาชิกอาเซียนอื่น ภายใต้ความตกลงพหุภาคีอาเซียนว่าด้วยการเปิดเสรี อย่างเต็มที่ของบริการขนส่งผู้โดยสารทางอากาศ
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ ดังนี้
1. เห็นชอบในหลักการต่อร่างพิธีสาร 5 ว่าด้วยสิทธิรับขนการจราจรพักค้างของตนระหว่างจุดใด ๆ ในอาณาเขตของรัฐสมาชิกอาเซียนอื่น (ร่างพิธีสาร 5ฯ) และหากมีความจําเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขเอกสารดังกล่าวในประเด็นที่ไม่ใช่สาระสําคัญ หรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้ คค. ดําเนินการต่อไปได้โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง
2. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายร่วมลงนามในร่างพิธีสาร 5ฯ
3. มอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ออกหนังสือมอบอํานาจเต็ม (Full Powers) ให้แก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายสําหรับการลงนามในร่างพิธีสาร 5ฯ
4. มอบหมายให้ กต. ดําเนินการจัดทําหนังสือไปยังเลขาธิการอาเซียน แจ้งการมีผลบังคับใช้ของร่างพิธีสาร 5ฯ เมื่อ คค. มีหนังสือยืนยันไปยัง กต. ว่าได้ดําเนินกระบวนการต่าง ๆ ที่จําเป็นเพื่อให้พิธีสาร มีผลบังคับใช้เสร็จสมบูรณ์แล้ว
สาระสำคัญ
1. ร่างพิธีสาร 5ฯ เป็นส่วนหนึ่งของความตกลงพหุภาคีอาเซียนว่าด้วยการเปิดเสรีอย่างเต็มที่ของบริการขนส่งผู้โดยสารทางอากาศ (ความตกลงพหุภาคีอาเซียนฯ) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความสามารถในการแข่งขันของสายการบินของรัฐสมาชิกอาเซียนในส่วนของการรับขนผู้โดยสาร โดยสิทธิรับขนการจราจรพักค้างตามร่างพิธีสาร 5ฯ เป็นสิทธิที่พัฒนาต่อเนื่องมาจากพิธีสาร 4 ว่าด้วยสิทธิการบินเชื่อมจุดในประเทศสมาชิกอาเซียน (พิธีสาร 4ฯ) ที่มีสาระสําคัญเป็นการอนุญาตให้สายการบินของรัฐสมาชิกอาเซียนสามารถให้บริการในอีกประเทศได้มากกว่า 1 จุด ในเส้นทางการบินระหว่างประเทศ โดยห้ามรับขนผู้โดยสารเพิ่มระหว่างจุดในอีกประเทศดังกล่าว ส่วนร่างพิธีสาร 5ฯ ที่กระทรวงคมนาคมเสนอมาในครั้งนี้ มีสาระสําคัญเป็นการอนุญาตให้สายการบินสามารถรับขนผู้โดยสารชุดเดียวกันของตนไปยังระหว่างสองจุด (หรือหลายจุด) ในอาณาเขตของประเทศภาคีอื่น โดยผู้โดยสารสามารถพักค้าง ณ จุดใดจุดหนึ่ง เป็นระยะเวลาชั่วคราว ก่อนจะรับขนจราจรชุดเดิมกลับประเทศต้นทาง โดยจะต้องเป็นการรับขนต่อเนื่องมาจากการเดินทางระหว่างประเทศเท่านั้น โดยห้ามสายการบินของประเทศหนึ่งรับขนผู้โดยสารอื่นเพิ่มเติมจากจุดใด ๆ ของประเทศปลายทาง (ผู้โดยสารจะต้องเป็นผู้โดยสารชุดเดิมที่ทําการซื้อตั๋วโดยสารเครื่องบินมาตั้งแต่ประเทศต้นทาง)
2. ร่างพิธีสาร 5ฯ รายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
หัวข้อ |
สาระสำคัญ |
2.1 คำจำกัดความ |
สิทธิรับขนการจราจรพักค้างของตน หมายถึง สิทธิของสายการบินในการรับขนผู้โดยสารของตนไปยังระหว่างสองจุดหรือหลายจุดในอาณาเขตของภาคีคู่ภาคีอื่น โดยการรับขนจราจรนั้น สามารถพักค้าง ณ จุดใดจุดหนึ่ง เป็นระยะเวลาชั่วคราว ก่อนจะรับขนจราจรชุดเดิมนี้ไปยังอีกหนึ่งจุดหรือหลายจุดภายในอาณาเขตภาคีคู่สัญญาอื่น และพักค้างเป็นระยะเวลาชั่วคราว ก่อนรับขนจราจรนั้นกลับประเทศตน โดยสิทธิพักค้างดังกล่าว ต้องเป็นการรับขนต่อเนื่องมาจากการเดินทางระหว่างประเทศเท่านั้น และอยู่ภายใต้สิทธิการบินเชื่อมจุดตามที่กําหนดไว้ในพิธีสาร 4ฯ (พิธีสาร 4ฯ มีสาระสําคัญเป็นการอนุญาตให้สายการบินทําการบินในรัฐสมาชิกอาเซียนอื่นได้มากกว่า 1 จุด โดยจะต้องเป็นเส้นทางระหว่างประเทศและห้ามรับขนผู้โดยสารเพิ่มระหว่างจุด ในประเทศอื่น ตามข้อ 5.7) |
2.2 การใช้สิทธิการรับรองขนการจราจรพักค้างของตน |
(1) สายการบินของแต่ละฝ่ายจะต้องไม่มีการใช้สิทธิกาโบตาจ* (2) สายการบินของแต่ละฝ่ายสามารถใช้สิทธิรับขนการจราจรพักค้างของตนระหว่างช่วงเส้นทางภายในประเทศ โดยมีเงื่อนไข ดังนี้ (2.1) สําหรับสาธารณรัฐอินโดนีเซีย สิทธิรับในการจราจรพักค้างของตน จะใช้ได้ระหว่าง 5 จุด ได้แก่ จาการ์ตา เดนปาซาร์ มากัสซาร์ เมดาน และสุราบายา เท่านั้น (2.2) สําหรับสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา จะไม่มีการใช้สิทธิรับขนการจราจร พักค้างของตนระหว่างย่างกุ้งกับมัณฑะเลย์ (2.3) สําหรับสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ จะไม่มีการใช้สิทธิรับขนการจราจรพักค้างของตนระหว่างมะนิลากับจุดอื่น ๆ ในฟิลิปปินส์ (2.4) สําหรับประเทศไทย จะไม่มีการใช้สิทธิรับขนการจราจรพักค้างของตนระหว่าง กรุงเทพมหานคร - ภูเก็ต กรุงเทพมหานคร - เชียงใหม่ และกรุงเทพมหานคร – เกาะ สมุย (2.5) สําหรับสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม สิทธิรับขนการจราจรพักค้างของตนจะใช้ได้เฉพาะจุดระหว่างเกิ่นเทอกับวันดอนได้ถึง 7 วัน |
2.3 ความจุและความถี่ |
รัฐสมาชิกตกลงกําหนดให้ไม่มีข้อจํากัดเกี่ยวกับความจุ ความถี่ และแบบของอากาศยาน ที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการผู้โดยสารทางอากาศที่ดําเนินการรับขนการจราจรพักค้างของตน |
2.4 การมีผลบังใช้ |
พิธีสารนี้จะมีผลใช้บังคับในวันที่มีการให้สัตยาบันหรือการยอมรับจาก 3 ภาคีคู่สัญญา และจะ มีผลบังคับใช้เฉพาะระหว่างภาคีคู่สัญญาที่ให้สัตยาบันหรือยอมรับ สําหรับภาคีคู่สัญญา ที่ให้สัตยาบันสารหรือการยอมรับหลังจากวันที่พิธีสารนี้มีผลใช้บังคับ พิธีสารนี้จะมีผลใช้บังคับสําหรับภาคีผู้ทําสัญญานั้นในวันที่มอบสัตยาบันสารหรือการยอมรับ |
3. ประโยชน์ที่ประเทศไทยจะได้รับ มีดังนี้
1. เพิ่มความยืดหยุ่นให้แก่สายการบินของไทยในการวางแผนการให้บริการขยายเครือข่ายเส้นทางบินระหว่างไทยและรัฐสมาชิกอาเซียนอื่น
2. เพิ่มแรงจูงใจให้สายการบินของรัฐสมาชิกอาเซียนอื่น ทําการบินมายังเมืองรองของไทยได้มากขึ้น โดยทําการบินมายังเมืองหลักก่อนแล้วจึงทำการบินต่อไปยังเมืองรอง หรือในทางกลับกัน สายการบินก็สามารถทําการบินมายังเมืองรองก่อนแล้วจึงทําการบินต่อไปยังเมืองหลักได้เช่นกัน
3. ช่วยอํานวยความสะดวกให้แก่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ในการเดินทางไปยังหลายจุดหมายในประเทศไทย ซึ่งเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวไปยังเมืองรองต่าง ๆ ของไทย และช่วยสร้างความเจริญเติบโตของอุตสาหกรรม การลงทุน การค้า และการท่องเที่ยวของเมืองรองได้ในอนาคต
*สิทธิกาโบตาจ (Cabotage) คือ การให้บริการขนส่งทางอากาศในเส้นทางภายในประเทศโดยสายการบินจากประเทศอื่น โดยพิธีสาร 5ฯ กําหนดห้ามไม่ให้แต่ละฝ่ายรับขนผู้โดยสารเพิ่มระหว่างทําการบิน เที่ยวบินภายในประเทศของประเทศอื่น
27. เรื่อง ขอความเห็นชอบต่อร่างพิธีสารแก้ไขเพิ่มเติมความตกลงว่าด้วยการลงทุนอาเซียน ฉบับที่ 5
(the Fifth Protocol to Amend the ASEAN Comprehensive Investment Agreement)
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) เสนอ ดังนี้
1. เห็นชอบต่อร่างพิธีสารแก้ไขเพิ่มเติมความตกลงว่าด้วยการลงทุนอาเซียน ฉบับที่ 5
(the Fifth Protocol to Amend the ASEAN Comprehensive Investment Agreement)
2. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ลงนามในร่างพิธีสารแก้ไขเพิ่มเติมความตกลงว่าด้วยการลงทุนอาเซียน ฉบับที่ 5 ทั้งนี้ หากมีการแก้ไขถ้อยคําที่มิใช่สาระสําคัญและไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้ผู้ลงนามเป็นผู้ใช้ดุลยพินิจในเรื่องนั้น ๆ โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีอีก
3. มอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ออกหนังสือมอบอํานาจเต็ม (Full Powers) ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ลงนามในร่างพิธีสารแก้ไขเพิ่มเติมความตกลงว่าด้วยการลงทุน อาเซียน ฉบับที่ 5
4. นําเสนอรัฐสภาเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อร่างพิธีสารแก้ไขเพิ่มเติมความ ตกลงว่าด้วยการลงทุนอาเซียน ฉบับที่ 5
5. มอบหมายให้ สกท. ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดําเนินการให้เป็นไปตามพันธกรณีที่กําหนดในพิธีสารแก้ไขเพิ่มเติมความตกลงว่าด้วยการลงทุนอาเซียน ฉบับที่ 5
6. มอบหมายให้ กต. แจ้งต่อสํานักเลขาธิการอาเซียนว่าไทยพร้อมที่จะให้พิธีสารแก้ไขเพิ่มเติมความตกลงว่าด้วยการลงทุนอาเซียน ฉบับที่ 5 มีผลผูกพัน เมื่อรัฐสภาเห็นชอบต่อพิธีสารดังกล่าวแล้ว
สาระสำคัญของเรื่อง
1. ความตกลงว่าด้วยการลงทุนฉบับสมบูรณ์ของอาเซียน หรือ ACIA (ASEAN Comprehensive Investment Agreement) เป็นกรอบความร่วมมือของประเทศสมาชิกอาเซียนที่จัดตั้งขึ้นและมีผลใช้บังคับมาตั้งแต่ปี 2555 มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการลงทุนและทําให้ภูมิภาคอาเซียนเป็นจุดหมายการลงทุนที่น่าสนใจยิ่งขึ้น โดยประเทศอาเซียนตกลงที่จะร่วมกันดำเนินการภายใต้หลักการสําคัญ 4 ประการ ได้แก่ (1) ส่งเสริมการลงทุน (2) อํานวยความสะดวกในการลงทุน (ลดขั้นตอนและอุปสรรคต่าง ๆ) (3) การคุ้มครองการลงทุน (ให้ความมั่นใจแก่นักลงทุนว่าจะได้รับการคุ้มครองจากการถูกยึดทรัพย์ และการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบที่ไม่เป็นธรรม)
(4) เสรีภาพในการลงทุน (ลดการจํากัดการลงทุน) ทั้งนี้ ACIA เป็นความตกลงที่อนุญาตให้ประเทศสมาชิกจัดทําข้อสงวน (Reservations) เพื่อระบุสาขาที่ไม่เปิดเสรี หรือข้อจํากัดของการลงทุนของแต่ละประเทศได้ตามความสมัครใจ (ข้อสงวนฯ) โดยไม่มีหลักการ ต่างตอบแทนหรือเจรจาแลกเปลี่ยน นอกจากนี้ ACIA ได้กําหนดวิธีการแก้ไขเพิ่มเติม ACIA โดยการจัดทําเป็นพิธีสาร (Protocol) เพื่อแก้ไข ACIA ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการจัดทําพิธีสารแก้ไขเพิ่มเติม ACIA ไปแล้ว 4 ครั้ง
เดิม ACIA ได้กําหนดสาขาการลงทุนที่อาเซียนจะร่วมกันดําเนินการ ภายใต้ ACIA ไว้ 7 สาขาหลัก ได้แก่ (1) การผลิต (2) การเกษตร (3) การประมง (4) การป่าไม้ (5) การทําเหมืองแร่และเหมืองหิน (6) การบริการเกี่ยวเนื่องกับสาขาต่าง ๆ ข้างต้น และ (๗) สาขาอื่นใดตามที่ทุกรัฐสมาชิกอาจตกลงกันซึ่งในการจัดทําข้อสงวนฯ แต่ละประเทศ จะต้องส่งรายการข้อสงวน (Reservation List) ให้แก่สํานักเลขาธิการอาเซียนภายหลังจาก ACIA มีผลใช้บังคับ โดยที่ผ่านมาประเทศไทยได้แจ้งข้อสงวนฯ ไปแล้ว เช่น การห้ามต่างชาติ จับสัตว์น้ำในน่านน้ำไทย หรือห้ามต่างชาติทําไร่ ทํานา ทําสวน เลี้ยงสัตว์ เป็นต้น ซึ่งการจัดทําพิธีสารฯ ฉบับที่ 5 ในเรื่องนี้ มีสาระสําคัญหลักเป็นการปรับปรุงแก้ไขวิธีการเขียน ACIA ให้มีความทันสมัย ตามรูปแบบการจัดทําความตกลงระหว่างประเทศในปัจจุบัน โดยเปลี่ยนจากการกําหนดสาขา ความร่วมมือ 7 สาขา เป็นไม่กําหนดสาขา เพื่อให้มีลักษณะเป็นการเปิดเสรีมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม แต่ละประเทศภาคียังคงสามารถกําหนดข้อสงวนฯ โดยการจัดส่งรายการข้อสงวนให้แก่สํานักเลขาธิการอาเซียนได้เช่นเดิม ส่วนที่เหลือเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมถ้อยคําเพื่อให้ สอดคล้องกับหลักการดังกล่าว หรือปรับปรุงเนื้อหาให้มีความเป็นปัจจุบันขึ้น สรุปดังนี้
ความตกลง ACIA เดิม |
แก้ไขเพิ่มเติมเป็น (ร่างพิธีสารฯ ฉบับที่ 5) |
เหตุผลในแก้ไขเพิ่มเติม |
|
ข้อ 3 |
• กำหนดสาขาการเปิดเสรีการลงทุนไว้ 7 สาขา |
• ไม่กำหนดสาขาการลงทุน |
• เพื่อปรับปรุงหลักการ ของ ACIA ให้มีลักษณะเปิดเสรี และเป็นสากลมากขึ้น สอดคล้องกับแนวทางการ จัดทําความตกลงในปัจจุบัน (เช่น ความตกลง RCEP) |
ข้อ 9 |
• กําหนดให้รัฐสมาชิกตั้งข้อสงวนฯ สําหรับมาตรการที่ไม่ต้องการปฏิบัติตาม ความตกลง |
• กําหนดให้รัฐสมาชิกตั้งข้อสงวนฯ เช่นเดิม แต่แยกเป็น - รายการเอ ข้อสงวนฯ เดิม - รายการบี ข้อสงวนฯ ที่จะเพิ่มเติมขึ้นต่อไป |
• แยกรายการข้อสงวนฯ ให้ชัดเจนขึ้น รองรับการเพิ่มเติมข้อสงวนฯ ที่จะเกิดขึ้นจากการปรับแก้ข้อ 3
|
ข้อ 22 |
• กําหนดให้รัฐสมาชิกต้องอนุญาตการเข้าเมืองให้แก่ ผู้ลงทุนของรัฐสมาชิกอื่นภายใต้ความตกลง AFAS (ASEAN Framework Agreement on Services)
|
• กําหนดให้รัฐสมาชิกต้องอนุญาตการเข้าเมืองให้แก่ผู้ลงทุนของรัฐสมาชิกอื่นภายใต้ความตกลง ATISA (ASEAN Trade in Services Agreement) |
• ปรับปรุงชื่อความตกลง ที่อ้างถึงให้เป็นชื่อปัจจุบัน |
2. ร่างพิธีสารฯ จะมีผลใช้บังคับใช้หลังจากสมาชิกทุกประเทศได้แจ้งความสมบูรณ์ของกระบวนการภายในของตน โดยการยื่นสัตยาบันสารให้ความยอมรับ แก่เลขาธิการอาเซียน
3. ประโยชน์และผลกระทบที่ประเทศไทยจะได้รับ เช่น 1) พิธีสารฉบับนี้เป็นการยกระดับความตกลง ACIA ให้มีมาตรฐานที่สูงและเป็นสากลมากขึ้น เพื่อดึงดูดให้นักลงทุนเข้ามาลงทุนในภูมิภาคเพิ่มมากขึ้น
2) เป็นการปรับรูปแบบแนวทางการระบุขอบเขตของความตกลง ACIA เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการจัดทำความตกลงยุคใหม่และเป็นสากลยิ่งขึ้น
แต่งตั้ง
28. เรื่อง การมอบหมายให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติเป็นหลักการมอบหมายให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ในกรณีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้ และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ตามความในมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 จำนวน 2 ราย ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ ดังนี้
1. นายนภินทร ศรีสรรพางค์
2. นายสุชาติ ชมกลิ่น
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 12 พฤศจิกายน 2567 เป็นต้นไป
29. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงคมนาคม)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงคมนาคม ให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ราย ตั้งแต่วันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ดังนี้
1. นายธนิต วงศ์ปิยนันทกุล ผู้อำนวยการศูนย์ (ผู้อำนวยการสูง) ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการขนส่งทางอากาศ (นักวิชาการขนส่งทรงคุณวุฒิ) สำนักงานปลัดกระทรวง ตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม 2567
2. นายศุภกร ภัพรวิเชียร ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านโยบายและยุทธศาสตร์ (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนเชี่ยวชาญ) กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการขนส่งทางน้ำ (นักวิชาการขนส่งทรงคุณวุฒิ) สำนักงานปลัดกระทรวง ตั้งแต่วันที่ 23 สิงหาคม 2567
3. นายธิติ เศรษฐมานพ ผู้อำนวยการสำนักงาน [ผู้อำนวยการเฉพาะด้าน (วิศวกรรมโยธา) สูง] สำนักงานทางหลวงที่ 14 กรมทางหลวง ให้ดำรงตำแหน่ง วิศวกรใหญ่ ที่ปรึกษาวิชาชีพเฉพาะด้านวิศวกรรมโยธา (ด้านบำรุงรักษา) (วิศวกรโยธาทรงคุณวุฒิ) กรมทางหลวง ตั้งแต่วันที่ 29 สิงหาคม 2567
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง
30. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (สำนักนายกรัฐมนตรี)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงาน ก.พ. เสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 2 ราย เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ดังนี้
1. นางสาวอลินี ธนะวัฒน์สัจจะเสรี ที่ปรึกษาระบบราชการ (นักทรัพยากรบุคคลทรงคุณวุฒิ) สำนักงาน ก.พ. ดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการ ก.พ. สำนักงาน ก.พ.
2. นางสาววราภรณ์ ตั้งตระกูล ที่ปรึกษาระบบราชการ (นักทรัพยากรบุคคลทรงคุณวุฒิ) สำนักงาน ก.พ. ดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการ ก.พ. สำนักงาน ก.พ.
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2567 ซึ่งเป็นวันที่มีคำสั่งให้รักษาราชการแทนในตำแหน่งดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
31. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงการต่างประเทศ)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเสนอแต่งตั้ง ข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงการต่างประเทศ ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 3 ราย เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่างและสับเปลี่ยนหมุนเวียน ดังนี้
1. นายณัฐวัฒน์ กฤษณามระ ตำแหน่ง เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ให้ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ
2. นายจิตติพัฒน์ ทองประเสริฐ ตำแหน่ง เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบิร์น สมาพันธรัฐสวิส ให้ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
3. นางสาวพรรณนภา จันทรารมย์ ตำแหน่ง เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเทลอาวีฟ รัฐอิสราเอล ให้ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบิร์น สมาพันธรัฐสวิส
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง
32. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอแต่งตั้ง นายปรากรมศักดิ์ ชุณหะวัณ เป็นข้าราชการการเมือง ตำแหน่งที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี (นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค)
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 12 พฤศจิกายน 2567 เป็นต้นไป
33. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงวัฒนธรรม)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมเสนอแต่งตั้ง นางสาวสกาวใจ พูนสวัสดิ์ เป็นข้าราชการการเมือง ตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 12 พฤศจิกายน 2567 เป็นต้นไป
34. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงการต่างประเทศ)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเสนอแต่งตั้ง นายชุตินทร คงศักดิ์ เป็นข้าราชการการเมือง ตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 12 พฤศจิกายน 2567 เป็นต้นไป
35. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงมหาดไทย)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเสนอแต่งตั้ง นางสาวกานต์กนิษฐ์ แห้วสันตติ เป็นข้าราชการการเมือง ตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย [ปฏิบัติหน้าที่เลขานุการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์]
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 12 พฤศจิกายน 2567 เป็นต้นไป
36. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี (สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอแต่งตั้ง นายสามารถ มะลูลีม เป็นกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่นายกรัฐมนตรีลงนามในประกาศแต่งตั้ง ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้เห็นชอบแล้ว
37. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง
(กระทรวงคมนาคม)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเสนอแต่งตั้ง นายชาญเชาวน์ ไชยานุกิจ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง แทน นายสุเมธ องกิตติกุล กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมที่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากขอลาออก
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 12 พฤศจิกายน 2567 เป็นต้นไป
38. เรื่อง ขออนุมัติแต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวง (กระทรวงมหาดไทย)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเสนอแต่งตั้ง นายอนุพงศ์ สุขสมนิตย์ เป็นกรรมการอื่นในคณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวง แทนกรรมการอื่นเดิมที่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากขอลาออก
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 12 พฤศจิกายน 2567 เป็นต้นไป
39. เรื่อง การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการศูนย์คุณธรรม (กระทรวงวัฒนธรรม)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมเสนอแต่งตั้ง ประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการศูนย์คุณธรรม รวม 6 คน เนื่องจากประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสี่ปี ดังนี้
1. คุณหญิงปัทมา ลีสวัสดิ์ตระกูล ประธานกรรมการ
2. ศาสตราจารย์เกียรติคุณรณชัย คงสกนธ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
3. ศาสตราจารย์สุรศักดิ์ ลิขสิทธิ์วัฒนกุล กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
4. นางเมธินี เทพมณี กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
5. นางสีลาภรณ์ บัวสาย กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
6. รองศาสตราจารย์ณกมล ปุญชเขตต์ทิกุล กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 12 พฤศจิกายน 2567 เป็นต้นไป
40. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ตามระเบียบ
สำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2550 (กระทรวงวัฒนธรรม)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอแต่งตั้ง กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ จำนวน 10 รูป/คน เนื่องจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสองปี ดังนี้
1. พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต)
2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์อับดุลเลาะ หนุ่มสุข
3. นายธงชัย ประดับชนานุรัตน์
4. นายอรุณ กุมาร
5. นายกิตติพันธ์ ใจดี
6. พลอากาศเอก วีรวิท คงศักดิ์
7. นายประเสริฐ เล็กสรรเสริญ
8. นายธาดา เศวตศิลา
9. นางพิมพ์กาญจน์ ชัยจิตร์สกุล
10. นายเกรียงศักดิ์ บุญประสิทธิ์
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 12 พฤศจิกายน 2567 เป็นต้นไป
41. เรื่อง คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี จำนวน 2 ฉบับ (คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 378/2567 และคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 407/2567 เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี จำนวน 2 ฉบับ (คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 378/2567 ลงวันที่ 24 ตุลาคม 2567 และคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 407/2567 ลงวันที่ 4 พฤศจิกายน 2567 เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค) (เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 315/2567 เรื่อง มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค ลงวันที่ 16 กันยายน 2567 ที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติรับทราบไว้เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2567)
สาระสำคัญ
สลน. รายงานว่า
1. นายกรัฐมนตรีได้ลงนามในคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค จำนวน 2 ฉบับ สรุปได้ ดังนี้
1.1 คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 378/2567 เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค ลงวันที่ 24 ตุลาคม 2567
(1) รองนายกรัฐมนตรี (นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค) กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการ ดังนี้
- เขตตรวจราชการที่ 3 กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 ประกอบด้วย จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดราชบุรี และจังหวัดสุพรรณบุรี
- เขตตรวจราชการที่ 5 กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ประกอบด้วย จังหวัดชุมพร จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดพัทลุง จังหวัดสุราษฎร์ธานี และจังหวัดสงขลา
- เขตตรวจราชการที่ 8 กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก 1 ประกอบด้วย จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดชลบุรี และจังหวัดระยอง
(2) รองนายกรัฐมนตรี (นายพิชัย ชุณหวชิร) กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการ ดังนี้
- เขตตรวจราชการที่ 1 กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน ประกอบด้วย จังหวัดชัยนาท จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดลพบุรี จังหวัดสระบุรี จังหวัดสิงห์บุรี และจังหวัดอ่างทอง
- เขตตรวจราชการที่ 2 กลุ่มจังหวัดภาคกลางปริมณฑล ประกอบด้วย จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดนครปฐม และจังหวัดสมุทรปราการ
- เขตตรวจราชการที่ 9 กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก 2 ประกอบด้วย จังหวัดจันทบุรี จังหวัดตราด จังหวัดนครนายก จังหวัดปราจีนบุรี และจังหวัดสระแก้ว
2. คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 407/2567 เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค ลงวันที่ 4 พฤศจิกายน 2567
(1) รองนายกรัฐมนตรี (นายภูมิธรรม เวชยชัย) กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการ ดังนี้
- เขตตรวจราชการที่ 10 กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 ประกอบด้วย จังหวัดบึงกาฬ จังหวัดเลย จังหวัดหนองคาย จังหวัดหนองบัวลำภู และจังหวัดอุดรธานี
- เขตตรวจราชการที่ 15 กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 ประกอบด้วย จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดลำปาง และจังหวัดลำพูน
- เขตตรวจราชการที่ 16 กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 ประกอบด้วย จังหวัดเชียงราย จังหวัดน่าน จังหวัดพะเยา และจังหวัดแพร่
(2) รองนายกรัฐมนตรี (นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ) กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการ ดังนี้
- เขตตรวจราชการที่ 11 กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2 ประกอบด้วย จังหวัดนครพนม จังหวัดมุกดาหาร และจังหวัดสกลนคร
- เขตตรวจราชการที่ 17 กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 ประกอบด้วย จังหวัดตาก จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดสุโขทัย และจังหวัดอุตรดิตถ์
- เขตตรวจราชการที่ 18 กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 2 ประกอบด้วย จังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดพิจิตร และจังหวัดอุทัยธานี
- 006
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี