‘สว.’สะดุ้ง! ‘ต่อตระกูล’ฟาดเปรี้ยง‘ข้อกังวล’หนักสุด ฉุด‘ป.ป.ช.’ปราบคอร์รัปชันเหลว
28 พฤศจิกายน 2567 นายต่อตระกูล ยมนาค อดีตนายกสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก “ต่อตระกูล ยมนาค” ระบุว่า...
ห่วง ป.ป.ช. ถึง 6 ข้อ จะปราบคอร์รัปชันไม่ได้ผล !
ใน 6 ข้อที่ประชาชนเป็นห่วง ป.ป.ช. มากที่สุดนั้น ก็คือ :
ข้อที่ 6 ความเป็นกลางของวุฒิสภาใหม่ ที่ได้รับการเลือกตั้งเข้ามาใหม่
สมาชิกวุฒิสภา มีอำนาจในการแต่งตั้ง คณะกรรมการ สูงสุดของ ป.ป.ช.
แต่วุฒิสภาใหม่มีเสียงข้างมาก อิงอยู่กับพรรคการเมือง !
ขณะนี้กำลังเลือก กรรมการ ป.ป.ช. ใหม่อีก 3 คน ( จำนวนถึง 1 ใน 3 ของกรรมการทั้งหมด) เพื่อทดแทนกรรมการผู้ที่ได้หมด วาระไป
สำหรับ 6 ข้อห่วงใยถึง ป.ป.ช.ข้างต้น เป็นข้อความที่นายไพศาล พืชมงคล นักกฎหมาย โพสต์เฟซบุ๊กเอาไว้ ระบุว่า สาเหตุที่การป้องกันและปราบปรามการทุจริตไม่ได้ผลไร้ประสิทธิภาพและพวก คนโกงคนชั่วหรือเหิมลำพอง อยู่ได้ก็เพราะ
1.ใช้หลักกฎหมาย ผู้กล่าวหาเป็นผู้พิสูจน์ ซึ่งล้าสมัยแล้ว ปัจจุบันนี้ หลายประเทศเปลี่ยนมาใช้หลักการ ผู้ได้ครองข้อมูลผู้นั้นมีหน้าที่พิสูจน์ เช่นที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมาย ศุลกากร กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคเป็นต้น
2. ผู้ทุจริตคอร์รัปชันมีเวลาเคลื่อนย้ายทรัพย์สินหลบหนี นานมาก ซึ่งหลายประเทศ ได้แก้ไขจุดอ่อนนี้ โดยให้อำนาจ ป.ป.ช. ทำการยึดทรัพย์หรืออายัดทรัพย์ได้ทันทีที่เริ่มการไต่สวน
3. กฎหมายปัจจุบันเปิดโอกาสให้ผู้กระทำความผิดอยู่ในอำนาจหน้าที่ ใช้อำนาจปกป้องคุ้มครอง การกระทำความผิด และพูดสนับสนุนการกระทำความผิด เป็นเวลานาน จนกระทั่งออกจากราชการไปแล้ว ดังนั้นต้องปรับปรุงกฎหมาย ให้ ป.ป.ช.สามารถ สั่งพักราชการได้ทันทีที่รับไต่สวนตรวจสอบ เพื่อไม่ให้ใช้อำนาจหน้าที่ปกป้องคุ้มครองการกระทำความผิดนั้นต่อไป
4. ควรมีระบบให้สินบน แก่ประชาชนที่แจ้งเบาะแสการกระทำความผิด และให้สินบนในอัตราส่วน 10-20% ของมูลค่าทรัพย์สินที่ยึดเป็นของรัฐได้ และให้ได้รับยกเว้นภาษีด้วย
5. การบริหารจัดการในการตรวจสอบไต่สวน ต้องให้โอกาส กรรมการป.ป.ช. ในการจัด ตรวจสอบไปสวนว่าเรื่องใดเป็นเรื่องเร่งด่วน เรื่องใดเป็นเรื่องใหญ่สำคัญและอยู่ในความสนใจประชาชน ก็สามารถสั่งให้ตรวจสอบไปสวนเป็นการด่วนก่อนได้
ดังนั้นจึงควรปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตให้เป็นแบบให้เป็นลักษณะนี้ ก็จะมีประสิทธิภาพมากขึ้น
6. ที่มาของกรรมการป.ป.ช. ต้องได้รับความเชื่อถือมากกว่านี้ ปัจจุบันนี้ขาดความเชื่อถือ เพราะสว. ถูกกล่าวหาว่า เป็นเครื่องมือทางการเมือง ของนักการเมืองไปแล้ว ดังนั้นจึงทำให้ป.ป.ช. ไม่ได้รับความเชื่อมั่นว่าดำรงความเป็นกลาง ในเฉพาะหน้านี้ต้อง แก้ไขแหล่งที่มาของกรรมการป.ป.ช.โดยเปลี่ยนเป็นคณะ ที่ได้รับความเชื่อถือ เป็นผู้ให้ความเห็นชอบแทนสว. ประกอบด้วย ประธานศาลฎีกา ประธานศาลปกครอง สูงสุด อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ ประธานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และประธานองคมนตรี และเมื่อใดที่มีการปรับปรุง สว. จนมีความเชื่อมั่นว่า เป็นผู้แทนของประชาชนที่แท้จริงแล้ว จึงค่อยแก้ไขกฎหมายกลับไปให้สว.ให้ความเห็นชอบ
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี