(ต่อจากอาทิตย์ที่แล้ว)
4) พ.ศ.2531
(1) การพิจารณาของก.พ.เกี่ยวกับพระราชบัญญัติล้างมลทินฯ อ.ก.พ.ฯวินัยฯ ประชุมครั้งที่ 10/2531 เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2531 ได้พิจารณากรณีที่นายกรัฐมนตรี ได้มีคำสั่งภายหลังจากที่พระราชบัญญัติล้างมลทินใช้บังคับแล้วให้กระทรวงมหาดไทยสั่งยกโทษลดขั้นเงินเดือนให้แก่ข้าราชการในสังกัดตามมติก.พ.ที่เห็นว่าข้าราชการรายนี้มิได้กระทำผิดวินัยว่า กระทรวงมหาดไทยสามารถดำเนินการตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีได้...
(2) อ.ก.พ.ฯกฎหมายฯประชุมครั้งที่ 18/2531 เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม2531 กรณีที่จังหวัดกาฬสินธุ์ได้สั่งลงโทษ ภาคทัณฑ์ข้าราชการแล้วได้มีการรายงานตามลำดับ จนถึงกระทรวงมหาดไทย ต่อมาภายหลังจากที่พระราชบัญญัติล้างมลทินฯใช้บังคับแล้ว กระทรวงมหาดไทยได้พิจารณาเห็นว่า ข้าราชการดังกล่าวมิได้กระทำผิดแต่อย่างใด ดังนี้ เมื่อข้าราชการผู้นี้มิได้กระทำผิดตามข้อกล่าวหา ก็ไม่ตกอยู่ในฐานะเป็นผู้ถูกลงโทษทางวินัยตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติล้างมลทินฯ โดยเหตุนี้กระทรวงมหาดไทยจึงมีอำนาจสั่งยกเลิกคำสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ข้าราชการผู้นี้ได้
(3) กรณีการล้างมลทินฯ ที่มีผลกระทบต่อการเลื่อนขั้นเงินเดือน
สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีหารือสาระสำคัญว่า จะสามารถเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2532 ให้แก่ข้าราชการซึ่งเป็นผู้ถูกลงโทษตัดเงินเดือน 10% เป็นเวลา 2 เดือน ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2530 ถึงเดือนมกราคม 2531 และข้าราชการผู้นี้ได้รับการล้างมลทินตามนัยมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติล้างมลทินฯ พ.ศ.2530 ไปแล้ว จะเป็นการขัดกับหลักเกณฑ์ตามกฎก.พ.ฉบับที่ 13 หรือไม่
สำนักงานก.พ.พิจารณาแล้วเห็นว่าโดยที่พระราชบัญญัติล้างมลทินฯ พ.ศ.2530 มาตรา 5 บัญญัติว่าให้ล้างมลทินให้แก่บรรดาผู้ถูกลงโทษทางวินัยในกรณีที่ได้กระทำผิดหรือในวันที่ 5 ธันวาคม 2530 และได้รับโทษหรือทัณฑ์ทั้งหมดหรือบางส่วนไปแล้วก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ โดยให้ถือว่าผู้นั้นไม่ได้เคยถูกลงโทษหรือลงทัณฑ์ทางวินัยในกรณีนั้นๆ ตามคำสั่งสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีดังกล่าว กรณีจึงถือได้ว่าข้าราชการผู้นี้ ไม่เคยถูกลงโทษตัดเงินเดือน 10% เป็นเวลา 2 เดือนตามพระราชบัญญัติล้างมลทินดังกล่าว ประกอบกับได้มีการแจ้งเหตุผลในประกาศใช้พระราชบัญญัติล้างมลทินฯ ข้างต้นไว้ชัดเจนในหมายเหตุท้ายพระราชบัญญัติว่า “เพื่อให้บุคคลเหล่านี้ได้มีสิทธิสมบูรณ์เช่นเดียวกับบุคคลทั้งหลายซึ่งไม่เคยรับโทษ” ดังนั้นข้าราชการรายนี้จึงอยู่ในหลักเกณฑ์อื่นที่อาจเลื่อนขั้นเงินเดือนให้ได้ ผู้บังคับบัญชาก็สามารถเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2532 ให้ได้ โดยไม่เป็นการขัดกับข้อ 7(2) ของกฎก.พ.ฉบับที่ 13 พ.ศ.2519 (เรียกว่าหากไม่ขัดกับหลักเกณฑ์อื่นก็สามารถเลื่อนขั้นเงินเดือนได้นะ)
(อ่านต่ออาทิตย์หน้า)
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี