บอร์ดไตรภาคีมติเอกฉันท์ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำทุกจังหวัด สูงสุด 400 บาทเฉพาะ 4 จังหวัดกับอีก 1 อำเภอ มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2568
23 ธ.ค.67 ที่กระทรวงแรงงาน ได้มีการประชุมคณะกรรมการค่าจ้าง (บอร์ดค่าจ้าง) ชุดที่ 22 ประกอบด้วยฝ่ายภาครัฐ ฝ่ายนายจ้าง และฝ่ายลูกจ้าง มาประชุมครบองค์ประชุมเพื่อพิจารณาการปรับค่าจ้าง 400 บาททั่วประเทศในบางอาชีพ และบางกิจการ ตามนโยบายของรัฐบาล โดยเป็นการประชุมบอร์ดไตรภาคีครั้งที่ 2 หลังเลื่อนจากวันที่ 12 ธันวาคม 2567 ที่ผ่านมา โดยก่อนหน้านี้นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ออกมาระบุว่า ต้องการที่จะได้ตัวเลข 400 บาททั่วประเทศ
ล่าสุด หลังประชุมเครียดนาน 5 ชั่วโมง ปรากฏว่าบอร์ดไตรภาคี มีมติปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำปี 2568 พิ่มขึ้นวันละ 7–55 บาท หรือเฉลี่ยร้อยละ 2.9 โดยแบ่งออกเป็น 17 อัตรา
1. ค่าแรงขั้นต่ำวันละ 400 บาท สำหรับ 4 จังหวัด ได้แก่ ภูเก็ต, ฉะเชิงเทรา, ชลบุรี, ระยอง และ 1 อำเภอ คือ อ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี
2. ค่าแรงขั้นต่ำวันละ 380 บาท สำหรับ อ.เมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ และ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
3. ค่าแรงขั้นต่ำวันละ 372 บาท สำหรับกรุงเทพฯ และปริมณฑล รวม 6 จังหวัด
4. ค่าแรงขั้นต่ำใน 67 จังหวัดที่เหลือ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0
ทั้งนี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2568 เป็นต้นไป
นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการค่าจ้าง ระบุว่า มติดังกล่าว จะทำให้แรงงาน 3,760,697 คน ได้ประโยชน์ มีค่าครองชีพที่เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน ซึ่งกระทรวงแรงงานจะนำเรื่องนี้เสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) เพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้มีผลบังคับใช้ต่อไป
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี