(ต่อจากอาทิตย์ที่แล้ว)
สำนักงานก.พ.พิจารณาแล้วมีความเห็น ดังนี้
(6.1) ประเด็นหารือที่ว่า ข้าราชการที่อยู่ระหว่างรับโทษทางวินัยเช่นถูกลงโทษตัดเงินเดือน 10% เป็นเวลา 3 เดือน ตั้งแต่เดือน พ.ย.2530 เป็นต้นไปหรือถูกลดขั้นเงินเดือน ตั้งแต่เดือนพ.ย.2530 เป็นต้นไป เมื่อพระราชบัญญัตล้างมลทินดังกล่าวใช้บังคับ จะต้องยุติการตัดเงินเดือน หรือลดขั้นเงินเดือนตั้งแต่เดือนธันวาคม 2530 ใช่หรือไม่
สำนักงานก.พ.เห็นว่า โดยที่คณะกรรมการกฤษฎีกา (ที่ประชุมใหญ่กรรมการร่างกฎหมาย) ได้เคยวินิจฉัยเรื่องการลงโทษตัดเงินเดือนในทำนองเดียวกันนี้ตามพระราชบัญญัติล้างมลทินในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี พ.ศ.2526 ว่า เมื่อพระราชบัญญัติล้างมลทินฯพ.ศ.2526 มีผลใช้บังคับในวันที่ 2 มีนาคม 2526 แล้วย่อมทำให้ผู้ถูกลงโทษทางวินัยซึ่งได้กระทำก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ได้รับล้างมลทินตามนัยมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว และถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษหรือลงทัณฑ์ทางวินัย ตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม 2526 เป็นต้นไป แม้ว่าการตัดเงินเดือนตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม 2526 เป็นต้นไปจะกระทำมิได้ก็ตาม แต่สำหรับในวันที่ 1-11มีนาคม 2526 นั้น ยังต้องคำนวณตัดเงินเดือนตามเกณฑ์ที่คำสั่งลงโทษระบุไว้ด้วย
สำหรับกรณีตามข้อหารือนี้ ข้อเท็จจริงปรากฏว่า ข้าราชการถูกลงโทษตัดเงินเดือน10% เป็นเวลา 3 เดือน ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2530 เป็นต้นไป ดังนั้นมหาวิทยาลัยศิลปากรจึงมีอำนาจตัดเงินเดือนผู้นี้ได้ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2530 ถึงวันที่ 11 ธันวาคม 2530 เท่านั้น เพราะพระราชบัญญัติล้างมลทินฯ พ.ศ.2530มีผลใช้บังคับในวันที่ 5 ธันวาคม 2530
ส่วนข้อหารือที่ว่า ข้าราชการถูกลงโทษลดขั้นเงินเดือนตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2530 เป็นต้นไป จะต้องยุติการลดขั้นเงินเดือนตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2530 ใช่หรือไม่ นั้น สำนักงานก.พ.เห็นว่ากรณีเป็นเรื่องเกี่ยวกับการล้างมลทินเช่นเดียวกับปัญหาข้างต้น ซึ่งการพิจารณาตีความดังกล่าวอยู่ในอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการกฤษฎีกา มหาวิทยาลัยศิลปากรจึงควรจะได้หารือปัญหานี้ไปยังคณะกรรมการกฤษฎีกาโดยตรงต่อไป
(6.2) ประเด็นข้อหารือที่ว่า ข้าราชการถูกสอบสวนในกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง อธิการบดีเห็นชอบและสั่งการให้ลงโทษลดขั้นเงินเดือนแต่ก่อนจะมีการลงนามในคำสั่งลงโทษ ผู้ถูกกล่าวหารายนี้ถึงแก่ความตายในวันที่ 4 ธันวาคม 2530 เช่นนี้ กฎหมายล้างมลทินซึ่งมีผลใช้บังคับในวันที่ 5 ธันวาคม 2530 จะล้างมลทินโทษให้ผู้นี้ด้วยหรือไม่
สำนักงานก.พ.พิจารณาแล้วเห็นว่าพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนพ.ศ.2518 มาตรา 89 บัญญัติว่า “ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดมีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง...แม้ภายหลังผู้นั้นจะออกจากราชการไปแล้ว ผู้มีอำนาจตามมาตรา 86 วรรคสามแล้วแต่กรณีก็ยังมี....
(อ่านต่ออาทิตย์หน้า)
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี