วันนี้ (7 มกราคม 2568) เวลา 10.00 น. น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้
กฎหมาย
1. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินอุดหนุนตามโครงการยกระดับแปลงใหญ่ด้วยเกษตรสมัยใหม่และเชื่อมโยงตลาด)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินอุดหนุนตามโครงการยกระดับแปลงใหญ่ด้วยเกษตรสมัยใหม่และเชื่อมโยงตลาด) ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ
สาระสำคัญ
ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (15 กันยายน 2563) และรัฐบาลได้จ่ายเงินอุดหนุนให้แก่กลุ่มเกษตรแปลงใหญ่ตามโครงการยกระดับแปลงใหญ่ด้วยเกษตรสมัยใหม่และเชื่อมโยงตลาด จำนวนสูงสุดแปลงละ 3 ล้านบาท (รวม 3,377 แปลง) ซึ่งได้จ่ายแล้วตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 กลุ่มเกษตรแปลงใหญ่ ที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้นำเงินสนับสนุนดังกล่าวไปดำเนินการจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือต่าง ๆ เพื่อมาดำเนินกิจกรรมการผลิตและให้บริการในแปลงสมาชิก โดยยังไม่ก่อให้เกิดรายได้ จึงไม่ถือว่าเงินอุดหนุนดังกล่าวเป็นรายได้ที่ต้องเสียภาษี แต่เป็นการส่งเสริมให้กลุ่มเกษตรแปลงใหญ่มีการนำเทคโนโลยีเกษตรสมัยใหม่มาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดต้นทุนการผลิต ส่งผลให้ผลผลิตมีคุณภาพมาตรฐานสอดคล้องกับความต้องการของตลาดและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ตลอดจนเป็นการสร้างโอกาสให้เกษตรกรมีรายได้อย่างยั่งยืนต่อไป กระทรวงการคลังพิจารณาแล้วเห็นควรยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จดทะเบียนวิสาหกิจชุมชนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน สำหรับเงินอุดหนุนที่ได้รับตามโครงการยกระดับแปลงใหญ่ด้วยเกษตรสมัยใหม่และเชื่อมโยงตลาดที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 ตามมติคณะรัฐมนตรี (15 กันยายน 2563) เพื่อให้กลุ่มเกษตรกรสามารถนำเงินสนับสนุนที่ได้รับจากภาครัฐไปใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและให้บริการในแปลงของสมาชิก รวมทั้งยกระดับการผลิตไปสู่สินค้าที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานสอดคล้องกับความต้องการของตลาดต่อไป
2. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลโซง และตำบลสีวิเชียร อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลโซง และตำบลสีวิเชียร อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ รวมทั้ง ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับความเห็นของกระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
สาระสำคัญของเรื่อง
3. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดหน่วยงานของรัฐที่สามารถขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับทางปกครอง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดหน่วยงานของรัฐที่สามารถขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับทางปกครอง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) เสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้
สาระสำคัญของเรื่อง
1. มาตรา 63/15 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562 กำหนดให้หน่วยงานของรัฐสามารถยื่นคำขอฝ่ายเดียวต่อศาลภายใต้เงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด เพื่อให้ศาลออกหมายบังคับคดี ตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อบังคับให้เป็นไปตามคำสั่งทางปกครองที่กำหนดให้ชำระเงินได้ โดย “หน่วยงานของรัฐ” ตามบทบัญญัติดังกล่าว หมายถึง กระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานอื่นของรัฐตามที่กำหนดในกฎกระทรวง สำหรับ การกีฬาแห่งประเทศไทยนั้นเป็นนิติบุคคลซึ่งมีทุนส่วนหนึ่งมาจากเงินที่ได้จากงบประมาณแผ่นดินให้เป็นทุนหรือเพื่อดำเนินงาน จึงมีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ.2561 แต่ไม่ใช่หน่วยงานของรัฐตามบทนิยามคำว่า “หน่วยงานของรัฐ” ตามมาตรา 63/15 วรรคหก แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ ที่จะขอให้พนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับทางปกครองแทนได้ ทำให้ไม่สามารถขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับทางปกครองแทนได้ อาทิ สโมสรกีฬาอาชีพหรือสมาคมกีฬาอาชีพไม่จดแจ้งการดำเนินการต่อนายทะเบียน หรือไม่แจ้งการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดข้อมูล หรือรายการหลักฐานที่ได้เคยยื่นขอจดแจ้งไว้แล้ว หรือไม่จัดทำสัญญาจ้างหรือความตกลงร่วมกันเป็นหนังสือ หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานการจ้างที่คณะกรรมการประกาศกำหนด ซึ่งการบังคับคดีให้ชำระค่าปรับทางปกครองกรณีดังกล่าวมีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้น
2. ด้วยเหตุดังกล่าว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาจึงให้เสนอร่างกฎกระทรวงกำหนดหน่วยงานของรัฐที่สามารถขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับทางปกครอง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มาเพื่อดำเนินการ ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้การกีฬาแห่งประเทศไทยเป็นหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ ที่จะขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับให้เป็นไปตามคำสั่งทางปกครองได้ เพื่อให้การบังคับทางปกครองมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
4. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราความเร็วของยานพาหนะบนทางหลวงสัมปทาน พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราความเร็วของยานพาหนะบนทางหลวงสัมปทาน พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
สาระสำคัญของเรื่อง
1. ปัจจุบันทางหลวงสัมปทานมีเพียงสายเดียวคือ ทางหลวงสัมปทานหมายเลข 5 สายทางยกระดับอุตราภิมุข (ดินแดง - อนุสรณ์สถาน) และไม่มีกฎหมายกำหนดอัตราความเร็วสำหรับยานพาหนะที่วิ่งบนทางหลวงสัมปทานไว้เป็นการเฉพาะ มีเพียงกฎกระทรวงกำหนดอัตราความเร็วสำหรับการขับรถในทางเดินรถ พ.ศ. 2564 ซึ่งเป็นกฎหมายทั่วไปในลักษณะกฎหมายกลางที่กำหนดความเร็วสำหรับการขับรถในทางเดินรถไว้ จึงยังไม่เหมาะสมกับลักษณะของทางหลวงสัมปทาน ส่งผลให้การจราจรบนทางหลวงสัมปทานเกิดความไม่คล่องตัวเท่าที่ควรและมักเกิดกรณีการกระทำความผิดที่ผู้ขับขี่ขับรถเร็วเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดจึงมีความจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงเพื่อรองรับการดำเนินการดังกล่าว เพื่อให้เกิดความคล่องตัว ความสะดวก และความปลอดภัยในสัญจรบนทางหลวงดังกล่าว
2. ร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราความเร็วของยานพาหนะบนทางหลวงสัมปทาน พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้มีกฎหมายสำหรับการกำหนดอัตราความเร็วของยานพาหนะบนทางหลวงสัมปทานที่สอดคล้องกับการใช้ความเร็วที่เหมาะสมบนทางสัมปทาน ดังนี้
2.1 กำหนดอัตราความเร็วของยานพาหนะบนทางหลวงสัมปทานตามประเภทของยานพาหนะ ดังนี้
2.1.1 รถบรรทุกที่มีน้ำหนักรถเกิน 2,200 กิโลกรัม หรือรถบรรทุกคนโดยสารที่มีที่นั่งคนโดยสารเกิน 15 คน ให้ใช้อัตราความเร็วไม่เกิน 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (ปัจจุบัน ใช้อัตราความเร็วไม่เกิน 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
2.1.2 รถขณะที่ลากจูงรถอื่น หรือรถยนต์สี่ล้อเล็ก ให้ใช้อัตราความเร็วไม่เกิน 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (ปัจจุบัน ใช้อัตราความเร็วไม่เกิน 45 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
2.1.3 รถโรงเรียนหรือรถรับส่งนักเรียน ให้ใช้อัตราความเร็วไม่เกิน 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (ปัจจุบัน ใช้อัตราความเร็วไม่เกิน 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
2.1.4 รถอื่นนอกจากข้อ 2.1.1 ถึงข้อ 2.1.3 ให้ใช้อัตราความเร็วไม่เกิน 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (ปัจจุบัน ใช้อัตราความเร็วไม่เกิน 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
2.2 กำหนดให้รถที่อยู่ในช่องเดินรถช่องขวาสุด ต้องใช้ความเร็วไม่ต่ำกว่า 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เว้นแต่ในกรณีที่ช่องเดินรถนั้นมีข้อจำกัดด้านการจราจรหรือทัศนวิสัย มีสิ่งกีดขวาง หรือมีเหตุขัดข้องอื่น (ปัจจุบัน ไม่มีกำหนดไว้ในกฎกระทรวงกำหนดอัตราความเร็วสำหรับการขับรถในทางเดินรถ พ.ศ. 2564)
5. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงถังขนส่งก๊าซธรรมชาติเหลว พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงถังขนส่งก๊าซธรรมชาติเหลว พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอ
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวงฯ
พน. โดยกรมธุรกิจพลังงาน เสนอว่า
1. โดยที่มาตรา 7 (1) (3) (5) และ (7) แห่งพระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 บัญญัติให้เพื่อประโยชน์แก่การป้องกันหรือระงับเหตุเดือดร้อนรำคาญหรือความเสียหายหรืออันตรายที่จะมีผลกระทบต่อบุคคล สัตว์ พืช ทรัพย์ หรือสิ่งแวดล้อม หรือการกำหนดแนวทางการดำเนินการเกี่ยวกับการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิงให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานมีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดการขนส่ง ลักษณะของถังหรือภาชนะที่ใช้ในการบรรจุหรือขนส่ง การบำรุงรักษาถังหรือภาชนะดังกล่าว วิธีการปฏิบัติงานและการจัดให้มีและบำรุงรักษาอุปกรณ์หรือเครื่องมืออื่นใด รวมทั้งกำหนดการอื่นใดอันจำเป็นเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติดังกล่าว จึงสมควรจัดทำร่างกฎกระทรวง ถังขนส่งก๊าซธรรมชาติเหลว พ.ศ. .... กำหนดหลักเกณฑ์ ลักษณะ วิธีการและเงื่อนไขในการออกแบบ สร้าง ติดตั้ง ทดสอบและตรวจสอบ การรับ การจ่าย การถ่ายเท การเคลื่อนย้ายถังขนส่งก๊าซธรรมชาติเหลว การป้องกันและระงับอัคคีภัย รวมถึงแนวทางปฏิบัติเมื่อเกิดอุบัติเหตุและการเลิกใช้งานถังขนส่งก๊าซธรรมชาติเหลว ทั้งถังขนส่งก๊าซธรรมชาติเหลวที่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 3 ตามพระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม อยู่เดิมและที่มีความประสงค์จะประกอบกิจการใหม่ เพื่อให้มีความปลอดภัยในการประกอบกิจการถังขนส่งก๊าซธรรมชาติเหลว และสอดคล้องกับสภาพการประกอบกิจการ ถังขนส่งก๊าซธรรมชาติเหลวในปัจจุบัน รวมทั้งเพื่อให้มีการบังคับใช้กฎหมายสำหรับกิจการถังขนส่งก๊าซธรรมชาติเหลวและมีแนวปฏิบัติที่ชัดเจน เป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัยสากลโดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
หลักเกณฑ์ |
รายละเอียด |
1. วันบังคับใช้ |
|
2. คำนิยาม |
|
3. การขนส่งก๊าซธรรมชาติเหลว |
|
4.ลักษณะของถังฯ |
(1) ถังขนส่งก๊าซธรรมชาติเหลวแบบติดตรึง (2) ถังขนส่งก๊าซธรรมชาติเหลวแบบยกและเคลื่อนที่ได้
|
5.การบรรทุกถังฯ |
|
6.การติดตั้งถังฯ |
|
7.การทดสอบและการตรวจสอบ |
|
8.ระบบไฟฟ้า |
|
9.การรับและการจ่ายก๊าซธรรมชาติเหลว |
|
10. การป้องกันและระงับอัคคีภัย |
|
11. การปฏิบัติเมื่อเกิดอุบัติเหตุ |
|
12. การเลิกใช้งานถังขนส่งก๊าซธรรมชาติเหลว |
|
6. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงสถานที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงสถานที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ พ.ศ. .... สถานที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ (พน.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วดำเนินการต่อไปได้ รวมทั้งให้กระทรวงพลังงานรับความเห็นของกระทรวงคมนาคมและสำนักงาน สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
สาระสำคัญของเรื่อง
1. ตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 ได้กำหนดให้รัฐมนตรีมีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดที่ตั้ง แผนผัง รูปแบบ ลักษณะของสถานที่ใช้ก๊าซธรรมชาติลักษณะของถังในการบรรจุก๊าซธรรมชาติและารบำรุงรักษาดังกล่าว วิธีการปฏิบัติงานและการจัดให้มีและการบำรุงรักษาอุปกรณ์หรือเครื่องมืออื่นใดภายในสถานที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ รวมทั้งการอื่นใดอันจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่การป้องกันหรือระงับเหตุเดือดร้อนรำคาญ หรือความเสียหายหรืออันตรายที่จะมีผลกระทบต่อบุคคล สัตว์ พืช ทรัพย์ หรือสิ่งแวดล้อมจากการประกอบกิจการสถานที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ
2. ต่อมาได้มีประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และมาตรฐานความปลอดภัยของสถานที่ใช้ก๊าซธรรมชาติที่กรมธุรกิจพลังงานรับผิดชอบ พ.ศ. 2550 ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ซึ่งใช้บังคับเพื่อกำกับดูแลการประกอบกิจการสถานที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเฉพาะที่นำก๊าซธรรมชาติ (Natural Gas) ในสถานะไอก๊าซมาเป็นเชื้อเพลิง แต่ประกาศดังกล่าวไม่ครอบคลุมถึงการกำกับดูแลสถานที่ใช้ก๊าซธรรมชาติที่นำก๊าซธรรมชาติเหลว (Liquefied Natural Gas - LNG) มาใช้เป็นเชื้อเพลิง ซึ่งในปัจจุบันได้มีการนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงอย่างแพร่หลายภายในโรงงานอุตสาหกรรม
3. พน. โดยกรมธุรกิจพลังงานพิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์และมาตรฐานความปลอดภัยของสถานที่ใช้ก๊าซธรรมชาติให้มีความชัดเจนและครอบคลุมทั้งก๊าซธรรมชาติ (Natural Gas) ในสถานะไอก๊าซและก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) เป็นเชื้อเพลิงประกอบกับในเรื่องดังกล่าวยังไม่มีกฎหมายที่ใช้กำกับดูแลการประกอบกิจการสถานที่ใช้ก๊าซธรรมชาติที่นำก๊าซธรรมชาติทั้ง 2 สถานะมาเป็นเชื้อเพลิง (ซึ่งเป็นการควบคุมประเภทที่ 3 โดยผู้ประกอบการต้องดำเนินการขอรับใบอนุญาตก่อนเริ่มประกอบกิจการ ตามพระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม) จึงได้ดำเนินการยกร่างกฎกระทรวงสถานที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ พ.ศ. .... โดยได้ปรับปรุงจากร่างประกาศกระทรวงพลังงานฯ ตามข้อ 2 ให้สามารถกำกับดูแลการประกอบกิจการสถานที่ใช้ก๊าซธรรมชาติให้ครอบคลุมถึง LNG ด้วย ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบกิจการสถานที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ เช่น การออกแบบสร้าง ติดตั้ง การทดสอบและตรวจสอบ การป้องกันและระงับอัคคีภัย ตลอดจนแนวทางปฏิบัติในการเลิกประกอบกิจการสถานที่ใช้ก๊าซธรรมชาติให้เป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัยสากล เพื่อป้องกันและระงับเหตุเดือดร้อนรำคาญหรือความเสียหาย หรืออันตรายที่มีผลกระทบจากการประกอบกิจการสถานที่ใช้ก๊าซธรรมชาติตลอดจนสอดคล้องกับสภาพการประกอบกิจการสถานที่ใช้ก๊าซธรรมชาติในปัจจุบัน สรุปได้ดังนี้
ประเด็น |
รายละเอียด |
1) กำหนดบทนิยามที่สำคัญ (ร่างฯ ข้อ2) |
|
2) กำหนดมาตรฐานการออกแบบการทดสอบและตรวจสอบของสถานที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ (หมวด 1 บททั่วไป ร่างฯ ข้อ 3 - 6) |
|
3) กำหนดองค์ประกอบหรือลักษณะของแผนผังและแบบก่อสร้างสถานที่ใช้ก๊าซธรรมชาติและอื่น ๆ (หมวด 2 ลักษณะแผนผังและแบบก่อสร้าง ร่างฯ ข้อ7 - 15) |
|
4) กำหนดที่ตั้ง ลักษณะ และระยะปลอดภัยของสถานที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ (หมวด 3 ที่ตั้ง ลักษณะ และระยะปลอดภัย ร่างฯ ข้อ 16 - 17) |
- ตำแหน่งที่มีโอกาสรั่วไหลของก๊าซธรรมชาติ ต้องมีระยะปลอดภัยจากเขตดิน หรือเขตสถานที่ใช้ก๊าซธรรมชาติและริมผนังอาคาร ดังนี้ 1) ตำแหน่งที่มีความดันก๊าซธรรมชาติไม่เกิน 1,900 กิโลปาสคาล (275 ปอนด์ ต่อตารางนิ้ว) ต้องมีระยะห่างไม่น้อยกว่า 3 เมตร 2) ตำแหน่งที่ความดันก๊าซธรรมชาติเกิน 1,900 กิโลปาสคาล (275 ปอนด์ ต่อตารางนิ้ว) ต้องมีระยะห่างไม่น้อยกว่า 7.5 เมตร - ตำแหน่งที่มีโอกาสรั่วไหลขอก๊าซธรรมชาติต้องอยู่ห่างจากผนังถังเก็บน้ำมัน ผนังถังเก็บและจ่ายก๊าซปิโตรเลียม ผนังถังเก็บวัสดุติดไฟ หรือบริเวณที่ก่อให้เกิดประกายไฟได้ง่ายไม่น้อยกว่า 7.5 เมตร - กำหนดให้ในด้านของสถานีควบคุมก๊าซธรรมชาติที่ยานพาหนะสามารถเข้าถึงได้ต้องจัดให้มีเสากันภัยที่มีความแข็งแรงทุกระยะ 1.5 เมตร หรือ ราวเหล็ก (guard rail) ตลอดแนวของสถานีควบคุมก๊าซธรรมชาติในด้านดังกล่าว |
5) กำหนดการออกแบบ ก่อสร้างและติดตั้งสำหรับระบบภายในของสถานที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ (หมวด 4 การออกแบบ ก่อสร้างและติดตั้ง ภายในสถานที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ ร่างฯ ข้อ 18 - 22) |
|
6) กำหนดมาตรการด้านความปลอดภัยของสถานที่ใช้ก๊าซธรรมชาติและระบบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง (หมวด 5 อุปกรณ์ไฟฟ้าเครื่องใช้ไฟฟ้า ระบบไฟฟ้า และระบบป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่าและหมวด 6 การทดสอบและตรวจสอบ ร่าง ข้อ 23 และ 24) |
|
7) กำหนดมาตรการป้องกันและระงับอัคคีภัย รวมถึงมาตรการควบคุมของสถานที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ (หมวด 7 การป้องกันและระงับอัคคีภัย และหมวด 8 การควบคุม ร่างฯ ข้อ 25 - 36) |
|
8) กำหนดวิธีการเลิกประกอบกิจการสถานที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ (หมวด 9 การเลิกประกอบกิจการสถานที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ ร่างฯ ข้อ 37) |
|
9) กำหนดบทเฉพาะกาล (หมวด 10 บทเฉพาะกาล ร่างฯ ข้อ 38 - 41) |
เว้นแต่ในกรณี ดังต่อไปนี้ เข่น 1) การรับ จ่าย และใช้ก๊าซธรรมชาติ รวมถึงการควบคุมดูแลระบบที่เกี่ยวกับก๊าซธรรมชาติ ต้องดำเนินการโดยผู้ปฏิบัติงานสถานที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ 2) ถังขนส่งก๊าซธรรมชาติที่นำมาใช้ในสถานที่ใช้ก๊าซธรรมชาติต้องได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 3 สำหรับถังขนส่งก๊าซธรรมชาติด้วย และ 3) การห้ามเก็บวัตถุไวไฟหรือห้ามอยู่อาศัยภายในอาคารคลุมสถานีควบคุมก๊าซธรรมชาติ อาคารคลุมถังเก็บและจ่ายก๊าซธรรมชาติ โดยต้องดำเนินการให้ถูกต้องนับแต่วันที่ร่างกฎกระทรวงนี้มีผลบังคับใช้ แต่ในบางกรณีให้ดำเนินการให้ถูกต้องภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ร่างกฎกระทรวงมีผลบังคับใช้ เช่น 1) การจัดให้มีเครื่องดับเพลิงภายในสถานที่ใช้ก๊าซธรรมชาติในบริเวณต่าง ๆ 2) การติดตั้งระบบดับเพลิงด้วยน้ำภายในสถานที่ใช้ก๊าซธรรมชาติที่มีถังเก็บและจ่ายก๊าซธรรมชาติเหลว และ 3) การจัดให้มีป้ายแสดงขั้นตอนในการรับหรือจ่ายก๊าซธรรมชาติจากถังขนส่งก๊าซธรรมชาติ |
10) กำหนดวันที่มีผลบังคับใช้ |
|
ทั้งนี้ เนื่องจากก๊าซธรรมชาติถูกจัดให้เป็นวัตถุอันตรายตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535พน. จึงได้ออกกฎหมายที่เกี่ยวกับการควบคุมความปลอดภัยของก๊าซธรรมชาติภายใต้พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535ประกอบกับมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว บัญญัติให้ในกรณีที่มีกฎหมายว่าด้วยการใดบัญญัติเรื่องใดไว้โดยเฉพาะแล้วให้บังคับตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการนั้น ต่อมาเมื่อพระราชบัญญัติควบคุมน้ำนั้นซื้อเพลิง พ.ศ. 2542 ที่มีผลใช้บังคับได้มีการกำหนดนิยามคำว่า “น้ำมันเชื้อเพลิง” ให้หมายรวมถึงก๊าซธรรมชาติด้วย ดังนั้น กฎหมายลำดับรองที่ออกตามพระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิงฯ จึงเป็นกฎหมายที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะตามมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติวัตถุอันตรายฯ (หมายความว่า เมื่อร่างกฎกระทรวงที่ พน. เสนอมีผลใช้บังคับแล้ว จะนำมาใช้แทนประกาศกระทรวงพลังงานตามข้อ 2 ที่ใช้กำกับดูแลสถานที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอยู่เดิม โดยไม่มีผลเป็นการยกเลิกประกาศกระทรวงพลังงานดังกล่าวแต่อย่างใด) ประกอบกับ พน. อยู่ระหว่างดำเนินการยกร่างกฎหมายลำดับรองตามพระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิงฯ เพื่อนำมาใช้เป็นหลักเกณฑ์ควบคุมความปลอดภัยของก๊าซธรรมชาติ และเมื่อ พน. ดำเนินการออกกฎหมายดังกล่าวแล้วเสร็จ จะได้มีการแก้ไขคำนิยามตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตรายฯ และจะได้ยกเลิกกฎหมายที่เกี่ยวกับการควบคุมความปลอดภัยของก๊าซธรรมชาติภายใต้พระราชบัญญัติวัตถุอันตรายฯ ต่อไป
7. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดกิจการอื่นที่ไม่อยู่ภายใต้พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดกิจการอื่นที่ไม่อยู่ภายใต้พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้
สาระสำคัญของเรื่อง
1. ร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้ออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 เพื่อกำหนดกิจการอื่นที่ไม่ต้องใช้บังคับพระราชบัญญัติดังกล่าว (นอกเหนือจากราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และราชการส่วนท้องถิ่น) ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้หน่วยงานรัฐในกำกับของฝ่ายบริหารที่มีสถานะเป็นนิติบุคคล ได้แก่ องค์การมหาชน และหน่วยงานของรัฐรูปแบบใหม่ เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กองทุนประกันชีวิต และหน่วยงานที่ใช้อำนาจรัฐหรือเป็นกลไกของรัฐแต่ไม่เป็นองค์กรของรัฐ ได้แก่ สภาวิชาชีพที่มีสถานะเป็นนิติบุคคล และสถาบันภายใต้มูลนิธิ เช่น สถาบันอาหาร สถาบันยานยนต์ เป็นหน่วยงานที่ไม่ต้องใช้บังคับพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 แต่ต้องจัดให้มีมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานในหน่วยงานของตนไม่ต่ำกว่ามาตรฐานความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานตามพระราชบัญญัติดังกล่าว เพื่อให้บุคลากรและผู้เกี่ยวข้องในหน่วยงานมีความปลอดภัยในการทำงานที่สอดคล้องกับสภาวการณ์ในปัจจุบันที่มีการนำเทคโนโลยี เครื่องมือ อุปกรณ์ สารเคมี รวมทั้งงานก่อสร้าง หรืองานบริการที่ส่งผลกระทบต่อบุคลากรซึ่งทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยในการทำงาน และอาจก่อให้เกิดอันตรายจากการทำงานได้ และให้แต่ละหน่วยงานได้พิจารณาสภาพแวดล้อมในการทำงานและออกกฎหมายให้เหมาะสมกับหน่วยงานนั้น ๆ ซึ่งจะทำให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด เช่น การติดประกาศสัญลักษณ์อันตรายและเครื่องหมายเตือนเกี่ยวกับความปลอดภัย เป็นต้น
2. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาแล้วเห็นชอบด้วยกับร่างกฎกระทรวงดังกล่าว และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้ เป็นการล่วงหน้าเสร็จแล้ว โดยแก้ไขชื่อร่างกฎกระทรวงเป็น “ร่างกฎกระทรวงกำหนดกิจการอื่นที่ไม่อยู่ภายใต้บังคับกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. ....” และได้แก้ไขรายชื่อกิจการตามบัญชีรายชื่อกิจการตามบัญชีท้ายร่างกฎกระทรวงฯ ให้เป็นไปตามการจำแนกประเภทหน่วยงานของรัฐในกำกับของฝ่ายบริหารตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2552 และวันที่ 1 มีนาคม 2565 โดยตัดหน่วยบริการรูปแบบพิเศษและนิติบุคคลเฉพาะกิจออก และปรับหัวข้อในบัญชีท้ายฯ บางส่วน ซึ่งยังคงสาระสำคัญเดิมไว้ เช่น สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติเฉพาะ (เดิมใช้หัวข้อว่า “รายชื่อมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ซึ่งมีฐานะเป็นองค์การมหาชนที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติเฉพาะ”)
8. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดการประพฤติของนักเรียนและนักศึกษา (ฉบับที่..) พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดการประพฤติของนักเรียนและนักศึกษา (ฉบับที่..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วดำเนินการต่อไปได้
สาระสำคัญของเรื่อง
ร่างกฎกระทรวงกำหนดการประพฤติของนักเรียนและนักศึกษา (ฉบับที่..) พ.ศ. .... เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงกำหนดความประพฤติของนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. 2548 ที่ใช้บังคับมาเป็นเวลานาน และไม่สอดคล้องกับสภาพสังคมในปัจจุบัน กล่าวคือ เดิมกฎกระทรวงฯ ได้กำหนดห้ามมิให้นักเรียน และนักศึกษา ซื้อ จำหน่าย แลกเปลี่ยน เสพสุราหรือสิ่งมึนเมา บุหรี่ หรือยาเสพติด หากแต่ปัจจุบันมีการแพร่ระบาดของสารเสพติดชนิดอื่น ๆ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นบุหรี่ไฟฟ้า บารากู่ไฟฟ้า หรือวัตถุออกฤทธิ์อื่น ๆ ซึ่งเป็นภัยคุกคามและส่งผลกระทบต่อพัฒนาการด้านสติปัญญา และอารมณ์ของเด็กและเยาวชน กระทรวงศึกษาธิการจึงได้เสนอร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้เพื่อปรับปรุงแก้ไขในรายละเอียดโดยเพิ่มเติมลักษณะของการกระทำที่ต้องห้าม เช่น แจก ให้ส่งมอบ มีไว้เพื่อขาย สูบ ครอบครอง หรือการกระทำอื่นใดในลักษณะเดียวกัน และเพิ่มเติมสิ่งเสพติดที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น บุหรี่ไฟฟ้า บารากู่ไฟฟ้า วัตถุออกฤทธิ์อื่นใดตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท เช่น อัลปราโซแลม (นำไปเสพร่วมกับยาน้ำแก้ไอ น้ำใบกระท่อมต้ม) โดยหากนักเรียนหรือนักศึกษาฝ่าฝืนข้อห้ามดังกล่าวจะมีบทลงโทษตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. 2548 ซึ่งมี 4 สถาน ได้แก่ 1) ว่ากล่าวตักเตือน 2) ทำทัณฑ์บน 3) ตัดคะแนนความประพฤติ และ 4) ทำกิจกรรมเพื่อให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ทั้งนี้ การกำหนดเพิ่มเติมดังกล่าวจะทำให้อัตราการใช้บุหรี่ไฟฟ้า บารากู่ไฟฟ้า หรือวัตถุออกฤทธิ์อื่นใดของนักเรียนและนักศึกษาลดน้อยลงซึ่งจะเกิดผลกระทบเชิงบวกต่องบประมาณด้านสาธารณสุข ลดภาระงบประมาณด้านการรักษาพยาบาล รวมถึงจะทำให้นักเรียนและนักศึกษาห่างไกลจากสิ่งเสพติด และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ทั้งนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานตำรวจแห่งชาติพิจารณาแล้วเห็นชอบหรือไม่ขัดข้องในหลักการ
9. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 พ.ศ. .... ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วให้ดำเนินการต่อไปได้
สาระสำคัญของเรื่อง
โดยที่มาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 บัญญัติให้หน่วยงานของรัฐ หมายความว่า ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ ส่วนราชการสังกัดรัฐสภา ศาลเฉพาะในส่วนที่ไม่เกี่ยวกับการพิจารณาพิพากษาคดี องค์กรควบคุมการประกอบวิชาชีพ หน่วยงานอิสระของรัฐและหน่วยงานอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง แต่โดยที่ปัจจุบันได้มีการจัดตั้งหน่วยงานของรัฐในรูปแบบใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น ประกอบกับความหมายตามบทนิยามดังกล่าวมีความหมายค่อนข้างแคบ เนื่องจากอ้างอิงมาจากการจัดรูปแบบหน่วยงานของรัฐในอดีต จึงส่งผลให้เกิดปัญหาการตีความว่ามหาวิทยาลัยของรัฐที่ออกนอกระบบ องค์กรมหาชน รวมทั้งกองทุนต่าง ๆ ที่รัฐตั้งขึ้นนั้น อาจไม่อยู่ภายใต้คำนิยามหรือภายใต้บังคับพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ดังนั้น เพื่อให้เกิดความชัดเจนและเป็นไปตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติดังกล่าวที่ต้องการให้การดำเนินงานของหน่วยงานของรัฐเป็นไปด้วยความโปร่งใส ตรวจสอบได้ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีจึงได้เสนอร่างกฎกระทรวงกำหนดหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารฯ มาเพื่อดำเนินการ ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้ 1) องค์การมหาชนตามกฎหมายว่าด้วยองค์การมหาชน เช่น สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) และศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) 2) หน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายเฉพาะที่เป็นองค์การมหาชนตามมติคณะรัฐมนตรีตามข้อเสนอของคณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชน เช่น สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข และสถาบันอนุญาโตตุลาการ 3) สถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการแต่อยู่ในกำกับของรัฐ เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และ 4) หน่วยธุรการขององค์การของรัฐที่เป็นอิสระ เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจาย เสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติเป็นหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 เพื่อให้ประชาชนมีโอกาส เข้าถึงและรับทราบข้อมูลข่าวสารที่อยู่ในความครอบครองของหน่วยงานดังกล่าว ประกอบกับคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นชอบในหลักการร่างกฎกระทรวงดังกล่าว
10. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ รวมทั้งให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปได้
สาระสำคัญของเรื่อง
1. มท. ได้รับรายงานจากกรมโยธาธิการและผังเมืองว่าได้ดําเนินการวางและจัดทําผังเมืองรวมชุมชนวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว ในท้องที่ตําบลวัฒนานคร และตําบลห้วยโจด อําเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว ตามพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518 โดยเป็นผังพื้นที่เปิดใหม่ เพื่อสอดคล้องกับนโยบาย และมาตรการในการส่งเสริมและพัฒนาด้านที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรมให้สอดคล้องกับการขยายตัวของชุมชน และระบบเศรษฐกิจ ส่งเสริมและพัฒนาชุมชนวัฒนานครให้เป็นศูนย์กลางด้านการศึกษา ด้านการค้า และการบริการ รวมทั้งการสงวนและรักษาพื้นที่เกษตรกรรม
2. ในการประชุมคณะกรรมการผังเมือง (ตามพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518) ครั้งที่ 4/2560 เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2560 ได้มีมติเห็นชอบผังเมืองรวมดังกล่าว และนําไปปิดประกาศเพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสียแสดงข้อคิดเห็นปรากฏว่าไม่มีผู้มีส่วนได้เสีย ยื่นคําร้อง
3. ต่อมาได้มีการประกาศใช้บังคับพระราชบัญญัติการผังเมืองพ.ศ. 2562 โดยมีผลใช้บังคับเมื่อ วันที่ 25 พฤศจิกายน 2562 ซึ่งพระราชบัญญัติดังกล่าว บัญญัติให้ยกเลิกพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518 ทั้งฉบับ และได้แก้ไขรูปแบบการประกาศใช้บังคับกฎหมายในส่วนของผังเมืองรวมที่กรมโยธาธิการและผังเมืองเป็นผู้วางและจัดทําผังขึ้นใหม่ โดยให้ดําเนินการประกาศใช้บังคับเป็นประกาศกระทรวงมหาดไทย (เดิมประกาศใช้บังคับเป็นกฎกระทรวง) ประกอบกับมาตรา 110 แห่งพระราชบัญญัติการผังเมืองฯ บัญญัติให้บรรดาผังเมืองรวมที่อยู่ระหว่างดําเนินการวางและจัดทําตามพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัติ การผังเมือง พ.ศ. 2562 ใช้บังคับการดําเนินการต่อไปสําหรับการนั้นให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการผังเมืองกําหนด และในการประชุมคณะกรรมการผังเมือง ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2564 ได้มีมติเห็นชอบให้ผังเมืองรวมที่กรมโยธาธิการและผังเมืองเป็นผู้วางและจัดทําผัง ซึ่งคณะกรรมการผังเมือง (ตามพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518) ได้ให้ความเห็นชอบแล้วและอยู่ในขั้นตอนการยกร่างกฎหมายให้ดําเนินการออกเป็นประกาศกระทรวงมหาดไทยเพื่อใช้บังคับต่อไป
4. ร่างประกาศดังกล่าวมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้ใช้บังคับผังเมืองรวมในท้องที่ตําบลวัฒนานคร ตําบลห้วยโจด อําเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว มีพื้นที่รวมทั้งหมด 67.81 ตารางกิโลเมตร มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา และการดํารงรักษาเมืองและบริเวณที่เกี่ยวข้องหรือชนบทในด้านการใช้ประโยชน์ในที่ดิน การคมนาคมและการขนส่ง การสาธารณูปโภค บริการสาธารณะ และสภาพแวดล้อม เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาระบบเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยมีนโยบายและมาตรการเพื่อจัดระบบการใช้ประโยชน์ที่ดิน โครงข่ายคมนาคมขนส่งและบริการสาธารณะ
ให้มีประสิทธิภาพ สามารถรองรับและสอดคล้องกับการขยายตัวของชุมชนในอนาคต รวมทั้งส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจ โดยมีสาระสําคัญดังต่อไปนี้
4.1 ส่งเสริมและพัฒนาด้านที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรมให้สอดคล้องกับการขยายตัวของชุมชนและระบบเศรษฐกิจ
4.2 ส่งเสริมและพัฒนาชุมชนวัฒนานครให้เป็นศูนย์กลางด้านการศึกษา ด้านการค้าและการบริการและเหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่
4.3 บริหารจัดการการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพ
4.4 ส่งเสริมและพัฒนาการบริการทางสังคม การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการให้เพียงพอและได้มาตรฐาน
4.5 สงวนและรักษาพื้นที่เกษตรกรรม
4.6 อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
5. กําหนดประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินออกเป็น 12 ประเภท ดังนี้
ประเภท |
วัตถุประสงค์ |
1. ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย (สีเหลือง) |
เป็นพื้นที่รอบนอกชุมชนเมืองต่อจากพื้นที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลางและพื้นที่พาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้เป็นที่อยู่อาศัยที่เบาบาง เพื่อรองรับการขยายตัวของการอยู่อาศัย ที่มีสภาพแวดล้อมที่ดีรวมทั้งรองรับการขยายตัวด้านการอยู่อาศัยในอนาคต ซึ่งมีการก่อสร้างอาคารอยู่อาศัยได้หลายประเภทเช่น บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ห้องแถว ตึกแถว บ้านแถว โดยมีข้อจํากัดเรื่องขนาดของอาคาร ซึ่งต้องไม่ใช่อาคารขนาดใหญ่ |
2. ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัย หนาแน่นปานกลาง (สีส้ม) |
เป็นพื้นที่บริเวณต่อเนื่องกับพื้นที่พาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก |
3. ที่ดินประเภทพาณิชยกรรม และที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก |
เป็นพื้นที่ศูนย์กลางด้านพาณิชยกรรมของชุมชน มีวัตถุประสงค์ |
4. ที่ดินประเภทอุตสาหกรรมและคลังสินค้า (สีม่วง) |
เป็นอุตสาหกรรมที่กําหนดให้อยู่นอกชุมชน พื้นที่ราบ และอยู่ในบริเวณ |
5. ที่ดินประเภทคลังสินค้า (สีเม็ดมะปราง) |
เป็นพื้นที่สําหรับคลังสินค้าที่มีการก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่เพื่อจัดเก็บสิ่งของเป็นจํานวนมาก รวมถึงการใช้พื้นที่เป็นลานโล่งเพื่อจัดเก็บกล่องพัสดุขนาดใหญ่ซึ่งมีเฉพาะพื้นที่ที่มีบทบาทพิเศษ กล่าวคือเป็นเมืองศูนย์กลางขนส่งทางบก ทางอากาศ และเป็นพื้นที่ที่มีการคมนาคม สะดวก ซึ่งอยู่ใกล้กับทางรถไฟสายตะวันออก และสนามบินวัฒนานคร มีมาตรการคุ้มครองพื้นที่ต่อเนื่องกับเขตคลังสินค้าซึ่งกําหนดให้มีที่ว่าง โดยรอบภายในแนวเขตของที่ดินประเภทนี้ไม่น้อยกว่า 12 เมตร เว้น แต่เป็นการก่อสร้างเพื่อการคมนาคม เพื่อเป็นแนวป้องกันพื้นที่อื่นโดยรอบพื้นที่นี้ |
6. ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว) |
มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นพื้นที่เกษตรกรรม เช่น การทํานาทําไร่ เลี้ยงสัตว์ |
7. ที่ดินประเภทปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (สีเขียวมีกรอบและเส้นทแยงสีน้ำตาล) |
เป็นพื้นที่เขตดําเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดิน เพื่อเกษตรกรรม ซึ่งมีวัตถุประสงค์ให้มีการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม |
8. ที่ดินประเภทที่โล่ง |
เป็นพื้นที่โล่งที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสงวนไว้เป็นที่โล่งสําหรับนันทนาการ การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสาธารณประโยชน์ กรณีที่ดินซึ่งเป็นของรัฐ ได้แก่ สวนสาธารณะเทศบาลตําบลวัฒนานคร สําหรับกรณีที่ดิน ซึ่งเอกชน |
9 ที่ดินประเภทอนุรักษ์ป่าไม้ |
เป็นพื้นที่ตามกฎหมายว่าด้วยการป่าไม้ และพื้นที่ของเอกชนที่เป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งอยู่ในบริเวณดังกล่าว กรณีที่ดินของป่าไม้มีวัตถุประสงค์ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการสงวนและคุ้มครองดูแลรักษาหรือบํารุงป่าไม้ สัตว์ป่า ต้นน้ำ ลําธาร และทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ |
10. ที่ดินประเภทสถาบันการศึกษา (สีเขียวมะกอก) |
มีวัตถุประสงค์เพื่อกําหนดพื้นที่ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาตามการใช้ |
11. ที่ดินประเภทสถาบันศาสนา (สีเทาอ่อน) |
มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นพื้นที่สถาบันศาสนาตามการใช้ประโยชน์ที่ดิน |
12. ที่ดินประเภทสถาบันราชการการสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ (สีน้ำเงิน) |
มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นสถาบันราชการ การดําเนินกิจการของรัฐ |
6. กําหนดประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ให้ดําเนินการได้ในที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย (สีเหลือง) ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง (สีส้ม) ที่ดินประเภทพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก (สีแดง) ที่ดินประเภทคลังสินค้า (สีม่วง) ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว) ตามบัญชีท้ายประกาศกระทรวงมหาดไทย ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์การใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละประเภท
7. กําหนดการใช้ที่ดินในบริเวณแนวถนนสาย ก 1 ถนนสาย ก 2 ถนนสาย ก 3 ถนนสาย ก 4 ถนนสาย ข ถนนสาย ค 1 ถนนสาย ค 2 ถนนสาย ค 3 ถนนสาย ค 4 ถนนสาย ค 5 ถนนสาย ง 1 และถนนสาย ง 2 ตามแผนผังแสดงโครงการคมนาคมและขนส่งท้ายประกาศ โดยให้ใช้ประโยชน์เพื่อกิจการตามที่กําหนดดังต่อไปนี้
7.1 การสร้างถนนหรือเกี่ยวข้องกับถนน และการสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ
7.2 การสร้างรั้วหรือกําแพง
7.3 เกษตรกรรมหรือเกี่ยวข้องกับเกษตรกรรมที่มีความสูงของอาคารไม่เกิน 9 เมตร หรือไม่ใช่อาคารขนาดใหญ่
11. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาการได้รับเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการตำรวจ พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาการได้รับเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการตำรวจ พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติเสนอและ
ให้ดำเนินการต่อไปได้
สาระสำคัญของเรื่อง
1. สืบเนื่องมาจากมาตรา 98 แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 บัญญัติให้อัตราเงินเดือนข้าราชการตำรวจ อัตราเงินประจำตำแหน่งและการรับเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการตำรวจให้
เป็นไปตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้ ข้าราชการตำรวจตำแหน่งใดจะได้รับเงินประจำตำแหน่งท้ายพระราชบัญญัตินี้ในอัตราใด ให้เป็นไปตามกำหนดในพระราชกฤษฎีกา จึงต้องมีการตราพระราชกฤษฎีกาการได้รับเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการตำรวจใหม่ เพื่อให้สอดคล้องและเป็นไปตามความในมาตรา 98 แห่ง พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565
2.ร่างพระราชกฤษฎีกาการได้รับเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการตำรวจ พ.ศ. .... ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติเสนอ มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดประเภทตำแหน่งและการได้รับเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการตำรวจ ให้ครอบคลุมกับกฎหมายที่ใช้บังคับในปัจจุบัน เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกันกับการได้รับเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการประเภทอื่น และเพื่อให้เป็นไปตามความในมาตรา 98 แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
2.1 เพิ่มสายงานที่ปฏิบัติหน้าที่ในวิชาชีพเฉพาะให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะ (วช.) จำนวน 5 สายงาน จากเดิมที่มีอยู่แล้ว 28 สายงาน ได้แก่ (1) วิชาชีพเฉพาะกายอุปกรณ์ (2) วิชาชีพเฉพาะกิจกรรมบำบัด (3) วิชาชีพเฉพาะเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก (4) วิชาชีพเฉพาะแพทย์แผนไทย (5) วิชาชีพเฉพาะเวชศาสตร์การสื่อความหมาย ทั้งนี้ เพื่อเป็นการรองรับการปรับปรุงภารกิจที่จำเป็นต้องใช้บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในวิชาชีพเฉพาะดังกล่าวในอนาคตและเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานเดียวกับ กฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และพระราชกฤษฎีกาการได้รับเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการทหาร พ.ศ. 2553 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
2.2 เพิ่มลักษณะงานเชี่ยวชาญเฉพาะด้านให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งประเภทผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ (ชช.) จำนวน 2 ด้าน จากเดิมที่เคยมีอยู่ 46 ด้าน ได้แก่
2.2.1 ด้านการสืบสวนสอบสวน เพื่อให้สอดคล้องกับสายงานสืบสวนสอบสวนตามพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 และเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานเดียวกันกับกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และพระราชกฤษฎีกาการได้รับเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการทหาร พ.ศ. 2553 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
2.2.2 ด้านความมั่นคงและกิจการพิเศษ เพื่อให้สอดคล้องกับการกำหนดลักษณะงานบริหารของ ตร. ซึ่งมีลักษณะการทำงาน ดังนี้
(1) งานด้านความมั่นคง ได้แก่ ความมั่นคงต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี
พระรัชทายาทฯ (สถาบันพระมหากษัตริย์) ความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร ความมั่นคงของรัฐภายนอกราชอาณาจักร เช่น การถวายความปลอดภัยการปฏิบัติงานเกี่ยวกับความมั่นคงชายแดน การรักษาความสงบเรียบร้อยด้านการชุมนุมการเดินขบวน การต่อต้านการก่อการร้ายสากล การป้องกันปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติ
(2) งานด้านกิจการพิเศษ ได้แก่ งานโครงการในพระราชดำริ การอำนวยการจราจรและสัญจรของประชาชน การบรรเทาสาธารณภัย และการต่างประเทศตลอดจนความร่วมมือระหว่างประเทศและองค์กรระหว่างประเทศ เช่น การปฏิบัติหน้าที่งานตามโครงการพระราชดำริ การอำนวยการ ควบคุม กำกับดูแล และสั่งการเกี่ยวกับการจราจรทั่วประเทศ การพัฒนาเทคโนโลยีด้านการจราจร การปฏิบัติงานการต่างประเทศ และตำรวจสากล กิจการตำรวจที่เกี่ยวข้องกับประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) และ
การให้บริการและอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวตามอำนาจหน้าที่
2.2.3 กำหนดให้ข้าราชการตำรวจซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารของสถาบันการศึกษาของ ตร. ที่จัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา ระดับปริญญา ที่กำหนดให้เป็นตำแหน่งประเภทวิชาการอีกประเภทหนึ่ง ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งประเภทบริหารโดยไม่ตัดสิทธิการได้รับเงินประจำตำแหน่งประเภทวิชาการตามตำแหน่งวิชาการที่ตนครองอยู่เพื่อให้สอดคล้องกับข้าราชการทหารและข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ทั้งนี้ ในส่วนของสถาบันการศึกษาที่จัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา ระดับปริญญาในสังกัด ตร. ได้แก่ โรงเรียนนายร้อยตำรวจและวิทยาลัยพยาบาลตำรวจ
2.2.4 กำหนดบทเฉพาะกาล ให้ข้าราชการตำรวจซึ่งดำรงตำแหน่งที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งอยู่ก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ให้ยังคงได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตราของตำแหน่งนั้นต่อไปจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง
3. ตร. ได้ดำเนินการตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงิน การคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 แล้ว และรายงานว่า การตราพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ไม่ก่อให้เกิดการสูญเสียรายได้ของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐ
12. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขในการตรวจ การยกเว้น และการเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขในการตรวจการยกเว้น และการเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ รวมทั้งให้กระทรวงการต่างประเทศแจ้งต่อสหภาพยุโรปเป็นลายลักษณ์อักษร เมื่อร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขในการตรวจ การยกเว้น และการเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีผลใช้บังคับ เพื่อให้ความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับสหภาพยุโรปว่าด้วยการยอมรับแลสเซ-ปาสเซที่ออกโดยสหภาพยุโรปว่าเป็นเอกสารเดินทางที่สมบูรณ์มีผลใช้บังคับต่อไป
สาระสำคัญของเรื่อง
1. โดยที่ปัจจุบันบุคลากรซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในสหภาพยุโรปต้องใช้หนังสือเดินทางของประเทศตนเองในการตรวจลงตราหนังสือเดินทางประเภททูต ประเภทราชการและประเภทอัธยาศัยไมตรี เพื่อปฏิบัติหน้าที่ในทางการทูตหรือกงสุล หรือการปฏิบัติหน้าที่ทางราชการ หรือปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่ง ตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการตรวจ การยกเว้น และการเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา พ.ศ. 2545 ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศพิจารณาเห็นว่า หากกำหนดให้มีหนังสือเดินทางสหภาพยุโรปเป็นการเฉพาะเพื่อใช้สำหรับการตรวจลงตราประเภททูต ประเภทราชการ และประเภทอัธยาศัยไมตรีได้นั้น จะเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่บุคลากรของสหภาพยุโรปเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในทางการทูตหรือกงสุล หรือการปฏิบัติหน้าที่ทางราชการ หรือปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งได้อย่างประสิทธิภาพ เช่น การเข้ามาในประเทศไทยโดยเป็นแขกของรัฐบาลหรือพระราชอาคันตุกะ ฯลฯ ประกอบกับเพื่อให้สอดคล้องกับความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับสหภาพยุโรปว่าด้วยการยอมรับแลสเซ-ปาสเซ (Laissez-Passer) ที่ออกโดยสหภาพยุโรป ว่าเป็นเอกสารการเดินทางที่สมบูรณ์ซึ่งรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย ได้ลงนามในความตกลงฯ ดังกล่าวแล้ว เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2566 กระทรวงการต่างประเทศจึงได้เสนอขอแก้ไขกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการตรวจ การยกเว้น และการเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา พ.ศ. 2545 มาเพื่อดำเนินการ เพื่อกำหนดให้หนังสือเดินทางสหภาพยุโรปใช้เป็นเอกสารในการตรวจลงตราประเภททูต ประเภทราชการและประเภทอัธยาศัยไมตรี ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นแบบแผนเดียวกัน อันทำให้การปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานไทยเกี่ยวกับการตรวจลงตราในหนังสือเดินทางสหภาพยุโรป และพิธีการตรวจคนเข้าเมืองของผู้ถือหนังสือเดินทางสหภาพยุโรปมีความชัดเจน รวมทั้งจะช่วยเพิ่มการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับสหภาพยุโรปและอำนวยความสะดวกให้เกิดการเยือนระดับสูง การแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญ และการหารือความร่วมมือในสาขาต่างๆ มากยิ่งขึ้น
2. ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขในการตรวจ การยกเว้น และการเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการตรวจ การยกเว้น และการเปลี่ยนประเภทตรวจลงตรา พ.ศ. 2545 โดยปรับเพิ่มเฉพาะถ้อยคำว่า “หรือหนังสือเดินทางสหภาพยุโรป” และ “หรือหน่วยงานสหภาพยุโรป” เพื่อให้สอดคล้องกับความตกลงฯ ดังนี้
กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการตรวจ การยกเว้น และการเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา พ.ศ. 2545 |
ร่างกฎกระทรวงฯ ที่ สคก. ตรวจเสร็จแล้ว |
ข้อ 3 การตรวจลงตราประเภททูต ให้จำกัดเฉพาะการขอรับการตรวจลงตราเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (1) การปฏิบัติหน้าที่ทางทูตหรือกงสุล (2) การปฏิบัติหน้าที่ทางราชการ
ข้อ 3 วรรคสอง “ทั้งนี้ ให้ผู้ถือหนังสือเดินทางทูต หรือหนังสือเดินทางสหประชาชาติที่เทียบเท่าหนังสือเดินทางทูตยื่นขอรับการตรวจลงตราต่อสถานทูตหรือสถานกงสุลไทย พร้อมกับหนังสือขอรับการตรวจลงตราสำหรับผู้นั้นจากกระทรวงการต่างประเทศ สถานทูตหรือสถานกงสุลของประเทศผู้ถือหนังสือเดินทางทูตหรือองค์การหรือหน่วยงานสหประชาชาติ แล้วแต่กรณี” |
ㆍ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 3 แห่งกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขในการตรวจ การยกเว้น และการเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา พ.ศ. 2545 และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน
“ทั้งนี้ ให้ผู้ถือหนังสือเดินทางทูต หนังสือเดินทางสหประชาชาติที่เทียบเท่าหนังสือเดินทางทูต
(เหตุผล : เพิ่มหนังสือทางสหภาพยุโรป และหน่วยงานสหภาพยุโรป เพื่อให้บุคลากรซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในสหภาพยุโรป สามารถใช้หนังสือทางสหภาพยุโรปตรวจลงตราเข้ามาในประเทศไทยได้ อีกทั้ง เพื่อให้สอดคล้องกับความตกลงฯ ด้วย)
|
ข้อ 4 การตรวจลงตราประเภทราชการ
การตรวจลงตราประเภทราชการ ให้จำกัดเฉพาะการขอรับการตรวจลงตราเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อการปฏิบัติหน้าที่ทางราชการโดยผู้ถือหนังสือเดินทางราชการ หรือหนังสือเดินทางสหประชาชาติที่เทียบเท่าหนังสือเดินทางราชการต้องยื่นขอรับการตรวจลงตราต่อสถานทูตหรือสถานกงสุลไทย พร้อมกับหนังสือขอรับการตรวจลงตราสำหรับผู้นั้นจากกระทรวงการต่างประเทศ สถานทูต หรือสถานกงสุลของประเทศผู้ถือหนังสือเดินทางราชการ หรือองค์การหรือหน่วยงานสหประชาชาติแล้วแต่กรณี |
ㆍให้ยกเลิกความในข้อ 4 แห่งกฎกระทรวงกำหนด หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการตรวจ การยกเว้น และการเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา พ.ศ. 2545 และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน
ข้อ 4 การตรวจลงตราประเภทราชการ ให้จำกัดเฉพาะการขอรับการตรวจลงตราเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อการปฏิบัติหน้าที่ทางราชการ โดยผู้ถือหนังสือเดินทางราชการ หนังสือเดินทางสหประชาชาติที่เทียบเท่าหนังสือเดินทางราชการ หรือหนังสือเดินทางสหภาพยุโรป ต้องยื่นขอรับการตรวจลงตราต่อสถานทูตหรือสถานกงสุลไทย พร้อมกับหนังสือขอรับการตรวจลงตราสำหรับผู้นั้น จากกระทรวงการต่างประเทศ สถานทูต หรือสถานกงสุลของประเทศผู้ถือหนังสือเดินทางราชการ องค์การหรือหน่วยงานสหประชาชาติ หรือหน่วยงานสหภาพยุโรป (เหตุผล : เพิ่มหนังสือทางสหภาพยุโรป และหน่วยงานสหภาพยุโรป เพื่อให้บุคลากรซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในสหภาพยุโรป สามารถใช้หนังสือทางสหภาพยุโรปตรวจลงตราเข้ามาในประเทศไทยได้ อีกทั้ง เพื่อให้สอดคล้องกับความตกลงฯ ด้วย) |
ข้อ 10 การตรวจลงตราประเภทอัธยาศัยไมตรี ให้จำกัดเฉพาะการขอรับการตรวจลงตราเข้ามา ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อปฏิบัติการ อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ ข้อ 10 (1) “การขอรับการตรวจลงตราของผู้ถือ หนังสือเดินทางทูต หรือหนังสือเดินทางราชการ หรือหนังสือเดินทางสหประชาชาติที่เทียบเท่าหนังสือเดินทางทูตหรือหนังสือเดินทางราชการ เพื่อการอื่น นอกจากที่ระบุในข้อ 3 (1) หรือ (2) หรือข้อ 4” |
ㆍให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 10 แห่งกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการตรวจ การยกเว้น และการเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา พ.ศ. 2545 และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน “(1) การขอรับการตรวจลงตราของผู้ถือหนังสือเดินทางทูต หนังสือเดินทางราชการ หนังสือเดินทางสหประชาชาติที่เทียบเท่าหนังสือเดินทางทูตหรือหนังสือเดินทางราชการ หรือหนังสือเดินทางสหภาพยุโรป เพื่อการอื่นนอกจากที่ระบุในข้อ 3 (1) หรือ (2) หรือข้อ 4” (เหตุผล : เพิ่มหนังสือทางสหภาพยุโรป เพื่อให้บุคลากรซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในสหภาพยุโรป สามารถใช้หนังสือทางสหภาพยุโรปตรวจลงตราเข้ามาในประเทศไทยได้ อีกทั้ง เพื่อให้สอดคล้องกับความ |
ทั้งนี้ ผู้ถือหนังสือเดินทางสหภาพยุโรปสามารถยื่นขอรับการตรวจลงตราตามบทบาทและหน้าที่และวัตถุประสงค์ของการพำนักในประเทศไทย แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ (ก.) ประเภททูต (ข.) ประเภทราชการ และ (ค.) ประเภทอัธยาศัยไมตรี โดยจะบังคับใช้กับบุคคลในครอบครัวที่ถือหนังสือเดินทางสหภาพยุโรปด้วย
เศรษฐกิจ – สังคม
13. เรื่อง การทบทวนหลักการและแนวทางการพิจารณาการออกสลากการกุศล
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการทบทวนหลักการฯ ตามข้อ 2 ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
1. เหตุผลความจำเป็นที่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีได้ประชุมปรึกษาเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2564 ลงมติเห็นชอบหลักการและแนวทางการพิจารณาการออกสลากการกุศล (หลักการฯ) โดยให้มีวงเงินที่ใช้ในการสนับสนุนโครงการสลากการกุศล รวมไม่เกินครั้งละ10,000 ล้านบาท และการพิจารณาออกสลากการกุศลในครั้งถัดไปจะดำเนินการภายหลังจากสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล (สำนักงานสลากฯ) ออกสลากการกุศลครบวงเงินตามโครงการที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติครั้งก่อน ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ซึ่งต่อมาคณะรัฐมนตรีได้ประชุมปรึกษาเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2565 เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2566 และเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2567 ลงมติเห็นชอบให้มีการออกสลากการกุศลเพื่อสนับสนุนโครงการที่ขอรับการสนับสนุนเงินจากโครงการสลากการกุศล รวมจำนวน 30 โครงการ วงเงิน 9,999.03 ล้านบาท โดยมอบหมายให้สำนักงานสลากฯ ดำเนินการออกสลากการกุศล ซึ่งปัจจุบันสำนักงานสลากฯ ดำเนินการออกสลากการกุศลเพื่อสนับสนุนโครงการสลากการกุศลข้างต้นเสร็จสิ้นแล้วเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2567 ดังนั้น เพื่อให้การพิจารณาและการติดตามการออกสลากการกุศลครั้งต่อไปเป็นไปอย่างเหมาะสม มีความรอบคอบ ชัดเจนยิ่งขึ้น และสอดคล้องกับสถานการณ์และข้อเท็จจริงในปัจจุบัน จึงเห็นควรทบทวนหลักการฯ สำหรับการออกสลากการกุศลครั้งต่อไปเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา
2. สาระสำคัญและข้อเท็จจริง
เนื่องจากสำนักงานสลากฯ ได้ดำเนินการออกสลากการกุศลเพื่อสนับสนุนโครงการสลากการกุศลตามมติคณะรัฐมนตรีตามข้อ 1 เสร็จสิ้นแล้วเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2567 และเพื่อให้การพิจารณาและการติดตามการออกสลากการกุศลครั้งต่อไปเป็นไปอย่างเหมาะสม มีความรอบคอบ ชัดเจนยิ่งขึ้นและสอดคล้องกับสถานการณ์และข้อเท็จจริงในปัจจุบัน จึงเห็นควรเสนอทบทวนหลักการฯ ดังนี้
2.1 ให้องค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการฯ เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2564 เช่นเดิม
2.2 ให้มีการทบทวนหลักเกณฑ์และแนวทางในการพิจารณาการออกสลากการกุศล (หลักเกณฑ์ฯ) เป็นดังนี้
2.2.1 ประเภทของหน่วยงานที่ขอรับการสนับสนุน ต้องเป็นหน่วยงานของรัฐ ตามพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 หรือมูลนิธิที่ได้จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร
2.2.2 ลักษณะของโครงการที่ขอรับการสนับสนุน
1) เป็นโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาด้านการศึกษา การสาธารณสุขหรือการลดความเหลื่อมทางสังคม รวมถึงเป็นโครงการที่ก่อประโยชน์แก่ประชาชนและสังคมอย่างทั่วถึงในวงกว้าง
2) เป็นโครงการที่ไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณจากภาครัฐ หรือได้รับการจัดสรรแต่ไม่เพียงพอ และไม่มีการดำเนินงานซ้ำซ้อนกับโครงการที่เสนอขอรับเงินงบประมาณจากภาครัฐ ทั้งทางตรงและทางอ้อม รวมทั้งไม่มีลักษณะเป็นเงินหมุนเวียนเพื่อใช้ในการบริหารจัดการหรือดำเนินกิจกรรมส่งเสริมทั่วไป
3) เป็นโครงการที่ไม่ได้รับการสนับสนุนเงินจากการออกสลากการกุศล มาก่อน
2.2.3 การพิมพ์สลากการกุศลกำหนดให้ไม่เกินจำนวน งวดละ 11 ล้านฉบับ
2.2.4 วงเงินที่จะให้การสนับสนุนโครงการต้องไม่เกินโครงการละ 1,000 ล้านบาท และการพิจารณาสนับสนุนโครงการที่ขอออกสลากการกุศลจะต้องมีวงเงินรวมไม่เกิน 10,000 ล้านบาท
2.2.5 การพิจารณาออกสลากการกุศลในครั้งถัดไป จะดำเนินการภายหลังจากสำนักงานสลากฯ ออกสลากการกุศลครบวงเงินตามโครงการที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติครั้งก่อนโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
2.2.6 รายละเอียดข้อเสนอโครงการที่ขอรับการสนับสนุน อย่างน้อยต้องประกอบด้วยความเป็นมาของโครงการ เหตุผลความจำเป็น วัตถุประสงค์ เป้าหมาย รวมถึงผลลัพธ์และผลสัมฤทธิ์ของโครงการที่สะท้อนถึงประโยชน์ต่อประชาชนและสังคมอย่างทั่วถึงในวงกว้าง แผนการดำเนินงาน ผลประกอบการและการวิเคราะห์สถานะทางการเงินของหน่วยงานที่ขอรับการสนับสนุน ตัวชี้วัดความสำเร็จของการดำเนินโครงการและแนวทางการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงานของโครงการ เป็นต้น
2.2.7 การกำกับและติดตามโครงการสลากการกุศล
1) หน่วยงานที่ได้รับการสนับสนุนเงินจากการออกสลากการกุศล ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การกำกับและติดตามโครงการสลากการกุศลหรือตามแนวทางการกำกับและติดตามโครงการสลากการกุศลอื่นใด ตามที่คณะกรรมการฯ กำหนด
2) ให้คณะกรรมการฯ มีอำนาจในการกำหนดระยะเวลาผูกพันวงเงิน ขยายระยะเวลาผูกพันวงเงิน หรือขยายระยะเวลาดำเนินการตามแผนเบิกจ่ายตามเหตุผลความจำเป็นแล้วแต่กรณี ทั้งนี้ หากคณะกรรมการฯ พิจารณาแล้วเห็นว่า โครงการดังกล่าวไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ได้ให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณายกเลิกการสนับสนุนเงินจากการออกสลากการกุศลให้โครงการดังกล่าว
ทั้งนี้ หากประเภทของหน่วยงานหรือลักษณะโครงการที่ขอรับการสนับสนุนแตกต่างจากหลักเกณฑ์และแนวทางในการพิจารณาดังกล่าวข้างต้น ให้คณะกรรมการฯ พิจารณาเหตุผลและความจำเป็นเสนอกระทรวงการคลังเพื่อพิจารณานำเสนอคณะรัฐมนตรี
2.3 ช่องทางการยื่นข้อเสนอขอรับการสนับสนุนเงินจากการออกสลากการกุศล
2.3.1 ให้มีการประชาสัมพันธ์เผยแพร่กำหนดระยะเวลาการยื่นข้อเสนอขอรับการสนับสนุนเงินจากการออกสลากการกุศลและหลักเกณฑ์ฯ บนเว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) และสำนักงานสลากฯ
2.3.2 หน่วยงานที่ประสงค์ขอรับการสนับสนุนเงินจากการออกสลากการกุศล ยื่นข้อเสนอที่ สคร.
2.4 การเปิดเผยโครงการที่ได้รับการสนับสนุน ให้มีการประชาสัมพันธ์เผยแพร่รายชื่อหน่วยงานที่ได้รับการสนับสนุน ชื่อโครงการและวงเงินที่ได้รับการสนับสนุน บนเว็บไซต์ของ สคร. และสำนักงานสลากฯ
2.5 สัดส่วนการจัดสรรรายได้จากการจำหน่ายสลากการกุศล
2.5.1 ร้อยละ 60 เป็นเงินรางวัล
2.5.2 ไม่เกินกว่าร้อยละ 22.5 เป็นเงินรายได้ที่ให้กับหน่วยงานที่ได้รับการสนับสนุน
2.5.3 ร้อยละ 0.5 เป็นค่าภาษีการพนัน
2.5.4 ไม่เกินกว่าร้อยละ 17 เป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารงาน ซึ่งรวมถึงค่าใช้จ่ายในการจำหน่ายสลากการกุศลด้วย
กรณีมีเงินคงเหลือภายหลังจากการจัดสรรการสนับสนุนโครงการสลากการกุศลให้สำนักงานสลากฯ นำส่งเงินดังกล่าวคืนเป็นรายได้แผ่นดิน
ประโยชน์และผลกระทบ
การดำเนินการโครงการสลากการกุศลจะช่วยสนับสนุนโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาด้านการศึกษา การสาธารณสุข หรือการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนและสังคมอย่างทั่วถึงในวงกว้าง ที่ไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณจากภาครัฐหรือได้รับการจัดสรรแต่ไม่เพียงพอ ให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินเพื่อดำเนินการโครงการดังกล่าวได้อย่างทันท่วงทีซึ่งจะทำให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น
14. เรื่อง การขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีและขอปรับกรอบวงเงินโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต – มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ของการรถไฟแห่งประเทศไทย
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ ดังนี้
1. อนุมัติการขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีและขอปรับกรอบวงเงินโครงการระบบรถไฟชานเมือง สายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต – มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต (โครงการ) ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ดังนี้
รายละเอียด |
มติคณะรัฐมนตรี (26 กุมภาพันธ์ 2562) |
คค. เสนอในครั้งนี้ |
กรอบวงเงิน |
6,570.40 ล้านบาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 7) |
6,473.98 ล้านบาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 7) (ลดลง 96.42 ล้านบาท) |
ระยะเวลาโครงการ |
5 ปี |
4 ปี |
โดยให้ รฟท. ดำเนินการประกวดราคาจ้างก่อสร้างด้วยวิธีการอิเล็กทรอนิกส์ (E-Bidding) หรือที่ประกาศใช้ล่าสุด
2. อนุมัติรายละเอียดอื่นที่มิได้มีการเปลี่ยนแปลง ให้ยึดถือตามมติคณะรัฐมนตรีเดิมเมื่อ วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2562
สาระสำคัญของเรื่อง
1. เดิมคณะรัฐมนตรีได้มีมติ (26 กุมภาพันธ์ 2562) อนุมัติในหลักการให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ดำเนินโครงการระบบรถไฟชานเมือง สายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต - มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต (โครงการฯ) ในกรอบวงเงิน 6,570.4 ล้านบาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 7) ระยะเวลาดำเนินการ 5 ปี อย่างไรก็ตาม โดยที่ขณะนั้น พระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 ได้มีผลบังคับใช้กระทรวงคมนาคม (คค.) จึงได้มีนโยบายให้ รฟท. ทบทวนแนวทางการลงทุนโครงการฯ โดยพิจารณาการให้เอกชนร่วมลงทุนตามขั้นตอนของกฎหมายดังกล่าวก่อน รฟท. จึงศึกษาแนวทางการลงทุนใหม่ และได้เปลี่ยนรูปแบบการลงทุนจากเดิมรัฐเป็นผู้ลงทุนทั้งหมด เป็นรัฐลงทุนในส่วนของโครงสร้างพื้นฐานและงานระบบไฟฟ้า ส่วนเอกชนลงทุนในส่วนของการจัดซื้อขบวนรถไฟฟ้าและงานให้บริการเดินรถพร้อมการบำรุงรักษา ส่งผลให้โครงการฯ เกิดความล่าช้า และกรอบวงเงินของโครงการฯ ได้เปลี่ยนแปลงไป โดยค่างานโยธาและระบบรางเพิ่มขึ้นจากเดิม 3,874.29 ล้านบาท เป็น 4,060.80 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 186.51 ล้านบาท) อย่างไรก็ตาม โดยที่ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เช่น ค่าจ้างที่ปรึกษาต่าง ๆ ค่างานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล ค่าเวนคืนที่ดิน มีค่าใช้จ่ายที่ลดลง ส่งผลให้กรอบวงเงินรวมของโครงการฯ ลดลง จากเดิม 6,570.4 ล้านบาท เป็น 6,473.98 ล้านบาท (ลดลง 96.42 ล้านบาท) คค. จึงเสนอขอปรับลดกรอบวงเงินรวมของโครงการมาในครั้งนี้ ตลอดจนขอปรับระยะเวลาโครงการฯ จากเดิม 5 ปีเป็น 4 ปี ทั้งนี้ กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพิจารณาแล้วเห็นชอบ/ไม่ขัดข้องต่อการปรับกรอบวงเงินโครงการดังกล่าว
2. เดิมโครงการฯ มีแผนจะเริ่มการก่อสร้างประมาณเดือนสิงหาคม 2562 ซึ่งคาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จในเดือนกันยายน 2565 และจะเปิดให้บริการประชาชนได้ในเดือนตุลาคม 2565 อย่างไรก็ตาม ขณะนี้โครงการดังกล่าวมีความล่าช้าไปจากแผนการดำเนินงานที่กำหนดไว้ข้างต้น จึงเห็นควรให้ คค. กำกับการดำเนินงานโครงการฯให้เป็นไปตามกรอบระยะเวลาที่กำหนดไว้ เพื่อให้โครงการฯ สามารถเปิดให้บริการได้ในปี 2571 ตามที่กำหนดในแผนงาน ตลอดจนให้ คค. บริหารจัดการโครงการฯให้อยู่ภายในกรอบวงเงินที่ได้ขอปรับลดลงด้วย
ประโยชน์จากการก่อสร้างโครงการฯ
โครงการฯ เป็นส่วนต่อขยายโครงข่ายจากโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ - รังสิต ที่จะรองรับและอำนวยความสะดวกให้กับประชาชน และนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยที่อยู่ในจังหวัดปทุมธานีในการเข้าสู่กรุงเทพมหานคร ซึ่งจะช่วยลดระยะเวลาในการเดินทางและแบ่งเบาภาระการจราจรทางถนนในการรับส่งประชาชนที่มาจากชานเมืองได้มากยิ่งขึ้น รวมถึงช่วยเพิ่มขีดความสามารถและประสิทธิภาพของระบบขนส่งทางรถไฟในกรุงเทพมหานครในการเชื่อมโยงกับระบบขนส่งอื่น ๆ เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการด้านการเดินรถไฟทางไกล รถไฟชานเมือง รวมทั้งรถไฟฟ้าชานเมืองของ รฟท. โดยจะช่วยประหยัดและลดต้นทุนด้านพลังงานของประเทศ และส่งเสริมการเดินทางด้วยระบบราง ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกให้ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณรอยต่อของกรุงเทพมหานครกับจังหวัดปทุมธานีให้สามารถเข้าถึงระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ส่งผลให้การบริการด้านการขนส่งสาธารณะเกิดประโยชน์แก่ประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
15. เรื่อง โครงการสินเชื่อปลุกพลัง SME และโครงการสินเชื่อ Beyond ติดปีก SME ของธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบโครงการสินเชื่อปลุกพลัง SME (โครงการสินเชื่อปลุกพลังฯ) และโครงการสินเชื่อ Beyond ติดปีก SME (โครงการสินเชื่อ Beyondฯ) ของธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ ภายในกรอบวงเงินงบประมาณ 1,800 ล้านบาท โดยให้ปรับระยะเวลาการชดเชยดอกเบี้ย ทั้ง 2 โครงการ เป็น 3 ปี อัตรา 3% แล้วให้ประเมินผลก่อนพิจารณาการชดเชยในระยะต่อไป
สาระสำคัญของเรื่อง
เรื่องนี้กระทรวงการคลังนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาโครงการสินเชื่อปลุกพลัง SME (โครงการสินเชื่อปลุกพลังฯ) และโครงการสินเชื่อ Beyond ติดปีก SME (โครงการสินเชื่อ Beyondฯ) ของธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายชดเชยส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยของทั้ง 2 โครงการ ทั้งนี้ โครงการสินเชื่อปลุกพลังฯ จะมุ่งเน้นการสนับสนุนสินเชื่อให้แก่ผู้ประกอบการ SME รายย่อย เพื่อเป็นเงินทุนเสริมสภาพคล่อง หรือลงทุน ขยาย ปรับปรุงกิจการ ให้กับผู้ประกอบการ SME รายย่อย และมีความเปราะบางให้เข้าถึงสินเชื่อต้นทุนต่ำผ่านกลไกสถาบันการเงินของรัฐ โดยการลดข้อจำกัดคุณสมบัติ และการใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน เพื่อให้มีสภาพคล่อง และเงินทุนเพียงพอในการฟื้นฟู ปรับปรุงกิจการขยายธุรกิจ รวมถึงเพิ่มศักยภาพพัฒนาขีดความสามารถในการดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง โดยกลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้ประกอบการ SME รายย่อยทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ที่อยู่ในภาคการผลิต ภาคบริการ และค้าส่งค้าปลีกที่มีรายได้ต่อปีไม่เกิน 2 ล้านบาท และประกอบกิจการมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี โดยสามารถนับรวมประสบการณ์การทำงานที่เกี่ยวข้องกับกิจการที่ขอสินเชื่อหรือประสบการณ์การบริหารธุรกิจที่ผ่านมาของผู้บริหารได้ หรือผู้ประกอบการ SME ที่ต้องการเป็นเจ้าของธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชส์
ในขณะที่โครงการสินเชื่อ Beyondฯ จะเป็นการสนับสนุนสินเชื่อให้แก่ผู้ประกอบการ SME ขนาดเล็กและขนาดกลาง โดยสนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพื่อเสริมสภาพคล่อง ลงทุน ขยาย ปรับปรุงกิจการ หรือปรับเปลี่ยนทรัพย์สิน หรือเครื่องจักรที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการดำเนินธุรกิจให้กับผู้ประกอบการ SME โดยกลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้ประกอบการ SME ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ทุกประเภทธุรกิจ ที่มีรายได้ต่อปีไม่น้อยกว่า 2 ล้านบาทและดำเนินกิจการมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี สามารถนับรวมประสบการณ์การทำงานที่เกี่ยวข้องกับกิจการขอสินเชื่อ หรือประสบการณ์การบริหารธุรกิจที่ผ่านมาของผู้บริหารได้
ต่างประเทศ
16. เรื่อง ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในโครงการภายใต้กองทุนพิเศษแม่โขง-ล้านช้าง ประจําปี พ.ศ. 2567 (Memorandum of Understanding on the Cooperation on Projects of the Mekong-Lancang Cooperation Special Fund 2024)
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในโครงการภายใต้กองทุนพิเศษแม่โขง-ล้านช้าง (กองทุนฯ) ประจําปี พ.ศ. 2567 (Memorandum of Understanding on the Cooperation on Projects of the Mekong-Lancang Cooperation Special Fund 2024) (ร่างบันทึกความเข้าใจฯ) ทั้งนี้ หากมีความจําเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงถ้อยคําของร่างบันทึกความเข้าใจฯ ในส่วนที่มิใช่สาระสําคัญเพื่อให้สอดคล้องกับผลประโยชน์และนโยบายของประเทศไทย (ไทย) ให้ อว. หารือร่วมกับกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เพื่อพิจารณา ดําเนินการในเรื่องนั้น ๆ โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาอีก รวมทั้ง อนุมัติให้ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจฯ ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม นําเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในโครงการภายใต้กองทุนพิเศษแม่โขง-ล้านช้าง ประจําปี พ.ศ. 2567 (ร่างบันทึกความเข้าใจฯ) และอนุมัติให้ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าว เพื่อใช้เป็นแนวทางการบริหารจัดการงบประมาณของโครงการที่ได้รับการอนุมัติจากสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทยให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด รวมจํานวน 10 โครงการ รวมเป็นเงินจํานวน 2,656,900 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 91.69 ล้านบาท เช่น โครงการส่งเสริมการเกษตรที่ยั่งยืนในอนุภูมิภาคล้านช้าง-แม่โขง : การบูรณาการปุ๋ยชีวภาพเพื่อการผลิตพืชเศรษฐกิจ และการแปรรูปอาหารเพื่อการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy: BCG Economy) โดยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จํานวนเงิน 388,400 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 13.40 ล้านบาท โครงการเส้นทางเครื่องเทศลุ่มน้ำโขง : การพัฒนาแพลตฟอร์มการท่องเที่ยวเชิงศิลปวิทยาการอาหารและการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยมหาวิทยาลัยแม่โจ้จํานวนเงิน 327,200 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 11.29ล้านบาท ซึ่งกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงพลังงาน กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม สํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสํานักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติพิจารณาแล้ว เห็นชอบ/เห็นควรให้ความเห็นชอบ/ไม่มีข้อขัดข้อง
17. เรื่อง บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในโครงการภายใต้กองทุนพิเศษแม่โขง – ล้านช้าง ประจำปี 2567 ระหว่างกระทรวงอุตสาหกรรมและสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือ ในโครงการภายใต้กองทุนพิเศษแม่โขง - ล้านช้าง (กองทุนฯ) (ร่างบันทึกความเข้าใจฯ) ประจําปี พ.ศ. 2567 ระหว่างกระทรวงอุตสาหกรรม กับสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจําประเทศไทย (สถานเอกอัครราชทูตจีนฯ) ทั้งนี้ หากมีความจําเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าว ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสําคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้ อก. สามารถดําเนินการได้ โดยไม่ต้องนําเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้งรวมทั้งอนุมัติให้ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจฯ ประจําปี พ.ศ. 2567 ระหว่าง อก. กับ สถานเอกอัครราชทูตจีนฯ ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอ
(สถานเอกอัครราชทูตจีนฯ เสนอขอลงนามในบันทึกความเข้าใจฯ กับหน่วยงานไทยหลังจากคณะรัฐมนตรีมีมติ)
สาระสำคัญ
กองทุนพิเศษแม่โขง - ล้านช้าง จัดตั้งขึ้นในปี 2559 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นกองทุนสําหรับการดําเนินกิจกรรม/โครงการความร่วมมือต่าง ๆ ของประเทศสมาชิก (กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา เวียดนาม ไทย และจีน) ในสาขาหลักของกรอบความร่วมมือ 5 สาขา ได้แก่ (1) ความเชื่อมโยง (2) ศักยภาพในการผลิต (3) เศรษฐกิจข้ามพรมแดน (4) ทรัพยากรน้ำ และ (5) การเกษตรและการขจัดความยากจนซึ่งที่ผ่านมามีหน่วยงานของไทยหลายหน่วยงานได้ขอรับการสนับสนุนจากกองทุนดังกล่าว เพื่อดําเนินโครงการต่าง ๆ เช่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม กระทรวงพาณิชย์ เป็นต้น สําหรับกระทรวงอุตสาหกรรมได้เคยขอรับการสนับสนุนจากกองทุนดังกล่าวมาแล้ว 3 ครั้ง ในปี 2562 2565 และ 2566 รวมวงเงิน ทั้งสิ้น 709,492 ดอลลาร์สหรัฐ (ไม่เกิน 4.73 ล้านหยวน หรือประมาณ 22.18 ล้านบาท) ในครั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมได้รับการสนับสนุนจากกองทุนดังกล่าวเป็นเงิน จํานวน 683,600 ดอลลาร์สหรัฐ (ไม่เกิน 4.93 ล้านหยวน หรือประมาณ 23.12 ล้านบาท) เพื่อดําเนินโครงการ 2 โครงการ ได้แก่ (1) โครงการการยกระดับวัสดุที่ยั่งยืนในอุตสาหกรรมสิ่งทอในประเทศประเทศกัมพูชา ลาว เมียนมา เวียดนาม และไทย (CLMVT) : การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันเพื่อจัดการกับความท้าทายของการปรับคาร์บอนก่อนเข้าพรมแดน (Carbon Border Adjustment Mechanism : CBAM) และการบรรลุเป้าหมายการพัฒนา อย่างยั่งยืน (SDGs) และ (2) โครงการประเมินความพร้อมของตลาดในภูมิภาคล้านช้าง - แม่โขง สําหรับการใช้งานยานยนต์พลังงานใหม่และยานยนต์อัจฉริยะ ทั้งนี้ การส่งมอบงบประมาณเพื่อดําเนินโครงการดังกล่าว จะต้องจัดทําเป็นบันทึกความเข้าใจ ซึ่งมีสาระสําคัญเป็นการกําหนดรายละเอียดแนวทาง การดําเนินโครงการดังกล่าว เช่น วงเงินงบประมาณของแต่ละโครงการ การจัดสรร และการบริหารจัดการงบประมาณ การกํากับดูแลและประเมินผลโครงการ การมีผลใช้บังคับ เป็นต้น
18. เรื่อง ร่างเอกสาร Guidelines and Minimum Standards ด้านโภชนาการระดับอาเซียน 5 ฉบับ
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างเอกสาร Guidelines and Minimum Standards ด้านโภชนาการระดับอาเซียน (ร่างเอกสารด้านโภชนาการฯ) จํานวน 5 ฉบับ ทั้งนี้ หากมีความจําเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงร่างเอกสารดังกล่าว ในประเด็นที่มิใช่สาระสําคัญ หรือไม่ขัดผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้ สธ. สามารถดําเนินการได้ โดยไม่ต้องนําเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกครั้ง รวมทั้ง อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขร่วมรับรองร่างเอกสารด้านโภชนาการฯ จํานวน 5 ฉบับ ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ
(ทั้งนี้ จะรับรองเมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ ผ่านทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์)
สาระสําคัญของเรื่อง
สธ. รายงานว่า
1. สํานักเลขาธิการอาเซียน มีแผนการเปิดตัวร่างเอกสารด้านโภชนาการฯ จํานวน 5 ฉบับ ซึ่งจัดทําตามวาระอาเซียนด้านการพัฒนาสาธารณสุข ภายใต้กรอบวาระ การพัฒนาที่ 1 เรื่องการส่งเสริมวิถีชีวิตที่มีสุขภาพดี ที่กําหนดให้ประเทศสมาชิกอาเซียน สร้างกลไกในการติดตามและประเมินผลการดําเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการมีสุขภาพที่ดีของประชาชนในประเทศสมาชิกอาเซียน โดยร่างเอกสารด้านโภชนาการฯ ดังกล่าว เป็นเอกสารที่รวบรวมผลการศึกษาและวิจัยด้านโภชนาการ เพื่อเสนอแนะแนวทางและมาตรฐานในการกําหนดนโยบายและการดําเนินการของประเทศสมาชิกอาเซียน ในด้านโภชนาการ เนื่องจากปัจจุบันมีการพัฒนาทางเศรษฐกิจและความเป็นเมืองใหญ่เพิ่มมากขึ้น ทําให้พฤติกรรมการบริโภคและรูปแบบด้านโภชนาการเปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้การดําเนินงานด้านอาหารและโภชนาการระดับประเทศไม่สามารถบรรลุเป้าหมายการดําเนินงานโภชนาการระดับโลก (Global Nutrition Target 2025) และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs)
2 ร่างเอกสารด้านโภชนาการฯ จํานวน 5 ฉบับ ประกอบด้วย
2.1 ฉบับที่ 1 เอกสารหลักเกณฑ์และมาตรฐานขั้นต่ำด้านโภชนาการมารดาในอาเซียน (ASEAN Guidelines and Minimum Standards for Maternal Nutrition) มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมโภชนาการที่ดีตลอดช่วงชีวิต โดยให้ความสําคัญกับภาวะสุขภาพ ของกลุ่มมารดาและผู้หญิงเป็นหลัก เนื่องจากมารดาและผู้หญิงจะมีความต้องการสารอาหารเพิ่มขึ้นในช่วงมีประจําเดือน ระหว่างตั้งครรภ์ ช่วงคลอดบุตร และช่วงที่ต้องให้นมบุตร จึงมีความเสี่ยงที่จะได้รับสารอาหารไม่เพียงพอในช่วงเวลาดังกล่าว
2.2 ฉบับที่ 2 เอกสารหลักเกณฑ์และมาตรฐานขั้นต่ำด้านการเสริมสารอาหารปริมาณมากที่จําเป็น (ASEAN Guidelines and Minimum Standards for implementation of Mandatory Large – scale Food Fortification) มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางให้ประเทศสมาชิกอาเซียนนําไปใช้สําหรับการวางแผน และปรับใช้ข้อบังคับเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ด้านการเสริมสารอาหาร
2.3 ฉบับที่ 3 เอกสารหลักเกณฑ์และมาตรฐานขั้นต่ำการจัดการปัญหาเด็กที่มีภาวะผอมในระบบสุขภาพแห่งชาติ (ASEAN Regional Guidelines on Minimum Standards for Management of Child Wasting in National Health Systems) มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางให้ประเทศสมาชิกอาเซียนใช้ในการเร่งขับเคลื่อนการดําเนินงานป้องกันและจัดการภาวะผอมในเด็กผ่านระบบสุขภาพแห่งชาติ รวมถึงการบูรณาการการรักษาภาวะผอมในเด็กให้เป็นงานประจําในระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ
2.4 ฉบับที่ 4 เอกสารหลักเกณฑ์และมาตรฐานขั้นต่ำด้านโภชนาการในโรงเรียนแบบองค์รวม (Minimum Standards and Guidelines for the ASEAN School Nutrition Package) มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางให้ประเทศสมาชิกอาเซียนใช้ในการสนับสนุนให้เด็กวัยเรียน อายุ 3 - 18 ปี ในโรงเรียน ได้รับอาหารที่ปลอดภัย มีโภชนาการเหมาะสม และมีสุขภาพดี
2.5 ฉบับที่ 5 เอกสารหลักเกณฑ์และมาตรฐานขั้นต่ำการป้องกันเด็กผอมจากผลกระทบอันตรายของการตลาดเกี่ยวกับอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ในอาเซียน (Minimum standards and guidelines on actions to protect children from the harmful impact of marketing, of food and non-alcoholic beverages in the ASEAN region) มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นข้อมูลทางวิชาการและเป็นแนวทางให้ประเทศสมาชิกอาเซียนใช้ในการลดปัจจัยเปิดรับ (exposure) และปกป้องเด็กจากอันตรายที่เกิดจากตลาดอาหาร และเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ที่ไม่ดีต่อสุขภาพ (มีปริมาณไขมัน น้ำตาล และโซเดียมสูง) (Junk food)
ทั้งนี้ สธ. เห็นว่า ร่างเอกสารด้านโภชนาการฯ ทั้ง 5 ฉบับดังกล่าวมีความเหมาะสม โดยประเทศไทยสามารถปฏิบัติตามได้ภายใต้อํานาจหน้าที่ตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และพันธกรณีของประเทศไทยภายใต้ความตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องที่มีอยู่ในปัจจุบัน
19. เรื่อง การขอขยายระยะเวลาการดําเนินโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย กับโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme UNDP) ในการดําเนินงานศูนย์นวัตกรรมระดับภูมิภาค กรุงเทพมหานคร - UNDP (Bangkok - UNDP Regional Innovation Center: RIC) หรือห้องปฏิบัติการนโยบายประเทศไทย (Thailand Policy Lab: TPLab)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและเห็นชอบตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ดังนี้
1. อนุมัติขยายระยะเวลาดําเนินโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาล แห่งราชอาณาจักรไทยกับโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme: UNDP) ในการดําเนินงานศูนย์นวัตกรรมระดับภูมิภาค กรุงเทพมหานคร - UNDP (Bangkok - UNDP Regional Innovation Center: RIC) หรือห้องปฏิบัติการนโยบายประเทศไทย (TPLab) (โครงการความร่วมมือ RIC) นับแต่วันสิ้นสุดความตกลงความเป็นหุ้นส่วนระหว่างรัฐบาลไทยกับ UNDP ในการดําเนินงานศูนย์ RIC ในประเทศไทย (ความตกลงความเป็นหุ้นส่วนฯ) ในวันที่ 30 กันยายน 2567 เป็นวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2568 ภายใต้กรอบวงเงินโครงการความร่วมมือ RIC ที่ได้รับอนุมัติไว้เดิม
2. เห็นชอบร่างพิธีสารเพื่อแก้ไขความตกลงความเป็นหุ้นส่วนระหว่าง รัฐบาลไทยกับ UNDP ในการดําเนินงานศูนย์ RIC ในประเทศไทย (ร่างพิธีสารฯ) ทั้งนี้ หากมีความจําเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงถ้อยคําของร่างพิธีสารฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสําคัญ และไม่ขัดผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้ สศช. ดําเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก
3. อนุมัติให้เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายลงนามในร่างพิธีสารฯ ของฝ่ายไทย พร้อมทั้งมอบหมายให้กระทรวง การต่างประเทศ (กต.) จัดทําหนังสือมอบอํานาจเต็ม (Full Powers) ให้แก่ผู้ลงนาม
สาระสำคัญของเรื่อง
เรื่องนี้เป็นการเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติขยายระยะเวลาดําเนินโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ในการดําเนินงานศูนย์นวัตกรรมระดับภูมิภาค (RIC) กรุงเทพมหานคร - UNDP หรือห้องปฏิบัติการนโยบายประเทศไทย (TPLab) (โครงการความร่วมมือ RIC) นับแต่วันสิ้นสุดความตกลงความเป็นหุ้นส่วนระหว่างรัฐบาลไทยกับ UNDP ในการดําเนินงานศูนย์ RIC ในประเทศไทย จากในวันที่ 30 กันยายน 2567 เป็นวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2568 (ครั้งนี้เป็นการขยายระยะเวลาดําเนินโครงการความร่วมมือ RC ครั้งที่ 3) ภายใต้กรอบวงเงินโครงการความร่วมมือ RIC ที่ได้รับอนุมัติไว้เดิม เนื่องจากยังคงมีงบประมาณในการดําเนินโครงการความร่วมมือ RIC คงเหลือ และยังคงมีกิจกรรมที่ต้องดําเนินการร่วมกับภาคีเครือข่าย รวมถึงจะต้องมีการถอดบทเรียนจากการใช้นวัตกรรมเชิงนโยบายให้เสร็จสมบูรณ์ โดยในปี 2566 - 2567 โครงการความร่วมมือ RIC มีการดําเนินการทั้งสิ้น 33 ชิ้นงาน เช่น การทดลองใช้เครื่องมือกับนโยบาย/แผนของหน่วยงานต่าง ๆ การเผยแพร่องค์ความรู้ ด้านนวัตกรรมเชิงนโยบาย นอกจากนี้ สํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) มีแนวทางในการดําเนินโครงการความร่วมมือ RIC ในระยะต่อไป เช่น การเร่งสังเคราะห์ประสบการณ์จากการประยุกต์ใช้กระบวนการนโยบายสาธารณะ 8 ขั้นตอน การนําแพลตฟอร์นวัตกรรมเชิงนโยบายไปสู่การใช้งานจริง เป็นต้น ทั้งนี้ การขยายระยะเวลาดังกล่าวทั้งสองฝ่ายจะต้องจัดทําเป็นร่างพิธีสารเพื่อแก้ไขความตกลงความเป็นหุ้นส่วนระหว่างรัฐบาลไทย กับ UNDP ในการดำเนินงานศูนย์ RIC ในประเทศไทย (ร่างพิธีสารฯ) โดยให้เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามฝ่ายไทย รวมทั้งให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) จัดทําหนังสือมอบอํานาจเต็ม (Full Powers) ให้แก่ผู้ลงนามด้วย
20. เรื่อง ขอความเห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์สำคัญของการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านดิจิทัล ครั้งที่ 5 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์สำคัญของการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านดิจิทัล ครั้งที่ 5 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง จำนวน 8 ฉบับ โดยหากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงถ้อยคำที่มิใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ขอให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก รวมทั้ง อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือผู้แทนที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมมอบหมาย ร่วมรับรองเอกสารในข้อ 2.1-2.8 รวม 8 ฉบับ ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) เสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
1. ประเทศไทย โดยกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านดิจิทัล ครั้งที่ 5 (The 5th ASEAN Digital Ministers’ Meeting : The 5 th ADGMIN) การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านดิจิทัล ครั้งที่ 5 (The 5 th ASEAN Digital Senior Officials’ Meeting : The 5th ADGSOM) และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ 12-17 มกราคม 2568 ณ โรงแรมอนันตราริเวอร์ไซด์ และโรงแรมอวานี พลัส ริเวอร์ไซด์ กรุงเทพมหานคร ภายใต้หัวข้อหลัก (Theme) “มั่นคง นวัตกรรม ครอบคลุม : ร่วมกำหนดอนาคตดิจิทัลของอาเซียน” (Secure, Innovative, Inclusive : Shaping ASEAN’s Digital Future)
2. กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เสนอร่างเอกสารผลลัพธ์ที่จะรับรองระหว่างการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านดิจิทัล ครั้งที่ 5 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง รวม 8 ฉบับ ดังนี้
2.1 ร่างปฏิญญาดิจิทัลกรุงเทพ (Bangkok Digital Declaration) สาระสำคัญ ได้แก่ การมุ่งเน้นผลงานความร่วมมือระดับภูมิภาคที่สำคัญ ได้แก่ การจัดตั้งคณะทำงานอาเซียนด้านการป้องกันปัญหาการหลอกลวงผ่านสื่อออนไลน์ (WG - AS) พร้อมผลักดันรายงานและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับภัยคุกคามออนไลน์ การพัฒนาแนวทางเพื่อประสานงานด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ การส่งเสริมนวัตกรรมและการเติบโตของวิสาหกิจในเศรษฐกิจดิจิทัล การสนับสนุนระบบนิเวศปัญญาประดิษฐ์ผ่านคณะทำงานอาเซียนด้านธรรมาภิบาลปัญญาประดิษฐ์ (WG - AI) การไหลเวียนข้อมูลภายในอาเซียนผ่านคณะทำงานอาเซียน ด้านการกำกับดูแลข้อมูลดิจิทัล (WG - DDG) การลดความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัล การพัฒนาทักษะดิจิทัลเพื่อเพิ่มขีดความสามารถระดับภูมิภาค การเร่งสร้างโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่ครอบคลุม การกำหนดอนาคตด้วยแผนแม่บทดิจิทัลฉบับใหม่ และการกระชับความสัมพันธ์กับคู่เจรจาและหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาของอาเซียน
2.2 ร่างถ้อยแถลงข่าวร่วมสำหรับการประชุม ADGMIN ครั้งที่ 5 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง (Joint Media Statement) เป็นเอกสารที่ระบุถึงสาระสำคัญของผลการประชุม ADGMIN ครั้งที่ 5 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการยกระดับความร่วมมือด้านดิจิทัลระหว่างอาเซียนกับคู่เจรจาและภาคีภายนอก เพื่อสนับสนุนการดำเนินการตามแผนแม่บทอาเซียนด้านดิจิทัล ค.ศ. 2025
2.3 ร่างรายงานโครงการศึกษาขั้นตอนการพัฒนาระบบพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล (Digital Identification in ASEAN - Baseline study on how ASEAN leverage the digitalization of ID) เป็นรายงานผลการดำเนินโครงการศึกษาขั้นตอนการพัฒนาระบบพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล (Digital ID) ของแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียน
2.4 ร่างเอกสารแผนปฏิบัติการสำหรับกฎระเบียบความเป็นส่วนตัวข้ามพรมแดนระดับสากล และการรับรองความเป็นส่วนตัวระดับสากลสำหรับผู้ประมวลผลข้อมูล (Operational Framework for Global Cross -Border Privacy Rules : Global CBPR and Global Privacy Recognition for Processors : Global PRP) เป็นแผนปฏิบัติการสำหรับกฎระเบียบความเป็นส่วนตัวข้ามพรมแดนระดับสากล (Global CBPR) และการรับรองความเป็นส่วนตัวระดับสากลสำหรับผู้ประมวลผลข้อมูล (Global PRP) เพื่อสนับสนุนการส่งผ่านข้อมูลข้ามพรมแดนในอาเซียน
2.5 ร่างเอกสารเพิ่มเติมแนวปฏิบัติธรรมาภิบาลและจริยธรรมปัญญาประดิษฐ์ของอาเซียนโดยครอบคลุมถึงปัญญาประดิษฐ์เชิงสร้างสรรค์ (Expanded ASEAN Guide on AI Governance and Ethics - Generative AI) เป็นเอกสารเพิ่มเติมเพื่อใช้ประกอบแนวปฏิบัติธรรมาภิบาลและจริยธรรมปัญญาประดิษฐ์ของอาเซียน โดยคำนึงถึงนโยบายที่เกี่ยวข้องกับปัญญาประดิษฐ์เชิงสร้างสรรค์ (Generative AI : Gen AI) 2.6 ร่างรายงานการสำรวจกิจกรรมการหลอกลวงออนไลน์ในอาเซียน (พ.ศ. 2566-2567) ภายใต้คณะทำงานอาเซียนด้านการป้องกันปัญหาการหลอกลวงผ่านสื่อออนไลน์ (Report of the Online Scams Activities in ASEAN (2023 - 2024) under the ASEAN Working Group on Anti - Online Scam : WG -AS) เป็นการสำรวจกิจกรรมการหลอกลวงออนไลน์ในอาเซียน เพื่อระบุประเภทและรูปแบบของการหลอกลวงออนไลน์ กลุ่มเป้าหมาย ความสูญเสียทางการเงิน และประสิทธิภาพของมาตรการที่ใช้ในการตอบโต้อาชญากรรมเหล่านี้ ข้อมูลรวบรวมจากการสำรวจเชิงโครงสร้าง โดยมุ่งเน้นที่หน่วยงานกำกับดูแลหลักและหน่วยงานต่อต้านอาชญากรรมไซเบอร์ในแต่ละประเทศ เพื่อให้เข้าใจถึงแนวโน้มความท้าทายและการตระหนักรู้
ของการหลอกลวงออนไลน์ในภูมิภาค
2.7 ร่างเอกสารข้อแนะนำของอาเซียนในการต่อต้านการหลอกลวงออนไลน์ (ASEAN Recommendations on Ant - Online Scam) เป็นเอกสารข้อเสนอแนะสำหรับประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อจัดการกับปัญหาการหลอกลวงออนไลน์ผ่านช่องทางดิจิทัลและโทรคมนาคม เช่น การยกระดับการฝึกอบรมระดับชาติและพัฒนาศักยภาพให้กับเจ้าหน้าที่ การจัดกิจกรรมระดับภูมิภาคเพื่อให้ความรู้กับประชาชน การแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับมาตรการป้องกันการหลอกลวงและข้อมูลเชิงกลยุทธ์อย่างทันท่วงที การทบทวนและปรับปรุงกฎหมายการคุ้มครองข้อมูลและธุรกรรมทางดิจิทัล ส่งเสริมการสร้างความรับผิดชอบของสื่อสังคมออนไลน์และแพลตฟอร์มออนไลน์ให้เพิ่มมากขึ้น การพัฒนากลไกและยุทธ์ศาสตร์ เพื่อสร้างความร่วมมือกับภาคเอกชน รวมถึงหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายของประเทศสมาชิกอาเซียนและองค์กรรายสาขาอื่นของอาเซียน
2.8 ร่างเอกสารกรอบการบูรณาการบริการรัฐบาลดิจิทัลของอาเซียน (ASEAN Digital Government Interoperability Framework) มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการบริการดิจิทัลข้ามพรมแดน และเป้าหมายการปรับเปลี่ยนไปสู่ดิจิทัลของภูมิภาค โดยเน้นความเชื่อมโยงกันในด้านการเมือง กฎหมาย องค์กร และเทคนิค
ประโยชน์และผลกระทบ
ร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมดังกล่าว เป็นเอกสารแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของประเทศสมาชิกอาเซียนในการเสริมสร้างความร่วมมือด้านดิจิทัลในภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ โดยมีเป้าหมาย เพื่อสนับสนุนการปรับเปลี่ยนไปสู่ดิจิทัลในระดับภูมิภาค รวมถึงสร้างระบบนิเวศดิจิทัลที่เข้มแข็งและครอบคลุม ลดความเหลื่อมล้ำและพัฒนาทักษะด้านดิจิทัล ตลอดจนสร้างความเชื่อมโยงของโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลในภูมิภาค นอกจากนี้ ยังเน้นย้ำถึงความสำคัญของการพัฒนากรอบการบริหารจัดการข้อมูล การป้องกันภัยคุกคามไซเบอร์ การลดปัญหาการหลอกลวงออนไลน์ การกำกับดูแลการใช้ปัญญาประดิษฐ์ และการทำงานร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อรับมือกับความท้าทายทางเศรษฐกิจและสังคมในโลกไซเบอร์ พร้อมผลักดันการบรรลุเป้าหมายตามแผนแม่บทอาเซียนด้านดิจิทัล ค.ศ. 2025 อย่างเป็นรูปธรรม และส่งเสริมความเชื่อมั่นในการเป็นผู้นำด้านดิจิทัลในระดับโลก
แต่งตั้ง
21. เรื่อง คณะกรรมการต่างๆ ที่แต่งตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรี (กระทรวงการคลัง)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอแต่งตั้งคณะกรรมการต่างๆ ที่แต่งตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรี จำนวน 1 คณะ ได้แก่ คณะกรรมการพิจารณาโครงการสลากการกุศล
คณะกรรมการพิจารณาโครงการสลากการกุศล |
|
องค์ประกอบ (คงเดิม) ตามมติคณะรัฐมนตรี 6 กุมภาพันธ์ 2567 |
ตำแหน่ง |
1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง |
ประธานกรรมการ |
2. ปลัดกระทรวงการคลัง |
รองประธานกรรมการ |
3. ปลัดกระทรวงมหาดไทย |
กรรมการ |
4. เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา |
กรรมการ |
5. เลขาธิการคณะรัฐมนตรี |
กรรมการ |
6. เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ |
กรรมการ |
7. ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ |
กรรมการ |
8. ประธานกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาล |
กรรมการ |
9. ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ |
กรรมการและเลขานุการ |
10. ผู้อำนวยการสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล |
กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ |
หน้าที่และอำนาจ (คงเดิม) 1. กำหนดแนวทางการพิจารณารายละเอียดของหลักการและแนวทางการพิจารณาการออกสลากการกุศล ภายใต้กรอบหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ 2. พิจารณากลั่นกรองโครงการสลากการกุศลของหน่วยงานต่าง ๆ และประสานงานหน่วยงานที่กำกับดูแลการ ดำเนินงานหรือการให้บริการของโครงการนั้น ๆ เพื่อให้ความเห็นประกอบการพิจารณาก่อนเสนอกระทรวง การคลังเพื่อพิจารณานำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป 3. กำหนดแนวทางในการกำกับ ติดตามการดำเนินโครงการของหน่วยงานที่ได้รับการจัดสรรการออกสลากการกุศล ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดไว้ด้วยความโปร่งใส 4. แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการพิจารณาโครงการสลากการกุศล 5. ดำเนินการอื่นๆ ตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย |
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 7 มกราคม 2568 เป็นต้นไป
22. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงสาธารณสุข)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้ง นายกิตติ ชื่นยง ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่ง นายแพทย์เชี่ยวชาญ (ด้านเวชกรรม สาขาอายุรกรรม) กลุ่มงานอายุรศาสตร์ ภารกิจด้านวิชาการและการแพทย์ โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ ให้ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรม สาขาอายุรกรรม) โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 28 มิถุนายน 2567 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง เป็นต้นไป
23. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงแรงงาน)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานเสนอแต่งตั้ง นายเกริกไกร นาสมยนต์ ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกรม (ผู้ตรวจราชการกรมสูง) กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษากฎหมาย (นิติกรทรงคุณวุฒิ) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงแรงงาน ตั้งแต่วันที่ 18 ตุลาคม 2567 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง เป็นต้นไป
24. เรื่อง ขออนุมัติต่อเวลาการดำรงตำแหน่งของผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (ครั้งที่ 1) (กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เสนอต่อเวลาการดำรงตำแหน่งของ นางสาววิภารัตน์ ดีอ่อง ข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ซึ่งจะดำรงตำแหน่งดังกล่าวครบ 4 ปี ในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2568 ต่อไปอีก 1 ปี (ครั้งที่ 1) ตั้งแต่วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2568 ถึงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2569
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 7 มกราคม 2568 เป็นต้นไป
25. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 5 ราย เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ดังนี้
1. นายศรัญญู พูลลาภ รองอธิบดีกรมหม่อนไหม ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
2. นายประภาส ภิญโญชีพ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
3. นายธิติ โลหะปิยะพรรณ ผู้ช่วยปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
4. นายนิรันดร์ มูลธิดา รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
5. นายอานนท์ นนทรีย์ รองอธิบดีกรมการข้าว ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 7 มกราคม 2568 ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
26. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันคุ้มครองเงินฝาก
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เสนอแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันคุ้มครองเงินฝาก จำนวน 4 คน เนื่องจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมได้พ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระเนื่องจากมีอายุครบเจ็ดสิบปีบริบูรณ์และดำรงตำแหน่งครบวาระสี่ปี ดังนี้
1. นายชูฉัตร ประมูลผล กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย
2. นางสาวจอมขวัญ คงสกุล กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเงินการคลัง
3. นางสาวบัณฑรโฉม แก้วสอาด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเงินการคลัง
4. นายปิยวัฒน์ ศิวรักษ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเงินการคลัง
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 7 มกราคม 2568 เป็นต้นไป
27. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารออมสิน
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการคลัง เสนอแต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารออมสิน จำนวน 3 คน แทนกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารออมสิน จำนวน 3 คน แทนกรรมการอื่นเดิมที่พ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระเนื่องจากมีอายุครบหกสิบห้าปีบริบูรณ์และขอลาออก ดังนี้
1. นายวินิจ วิเศษสุวรรณภูมิ (ผู้แทน กค.)
2. นายชูรัฐ เลาหพงศ์ชนะ
3. นางสาวนัทรียา ทวีวงศ์
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 7 มกราคม 2568 เป็นต้นไป และผู้ได้รับแต่งตั้งแทนนี้อยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว
- 006
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี