เปิดมุมมอง‘เจิมศักดิ์’ ทำไมสังคมต้อง #saveพิรงรอง
9 กุมภาพันธ์ 2568 เฟซบุ๊ก The Publisher โพสต์ข้อความ ระบุว่า...
เมื่อคนทำเพื่อประชาชนต้องติดคุก
“เจิมศักดิ์” เปิดมุมมอง ทำไมสังคมต้อง #saveพิรงรอง?
ในช่วงหลายวันที่ผ่านมา เราได้เห็นกระแส #saveพิรงรอง ที่พุ่งขึ้นเป็นประเด็นร้อน หลายคนอาจสงสัยว่า ทำไมเรื่องนี้ถึงสำคัญ? รศ.ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง นักวิชาการและสื่อสารมวลชนอาวุโส ได้ออกมาพูดถึงเรื่องนี้ผ่าน YT Watchdog Channel ในมุมที่หลายคนอาจยังไม่ทันคิด
“นี่ไม่ใช่แค่เรื่องของพิรงรอง แต่มันคือหลักการของระบบกำกับดูแลที่อาจถูกสั่นคลอน” เป็นข้อความตั้งคำถามให้สังคมได้คิดจาก รศ.ดร.เจิมศักดิ์
ย้อนกลับไป ศ.ดร.พิรงรอง รามสูต ในฐานะกรรมการ กสทช. ออกหนังสือตักเตือน True ID ว่าต้องปฏิบัติตามกฎ Must Carry ซึ่งเป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับการเผยแพร่ช่องทีวีสาธารณะ แต่ปัญหาคือ แพลตฟอร์ม OTT อย่าง True ID ยังไม่ถูกกำหนดชัดเจนว่าต้องอยู่ภายใต้กฎนี้หรือไม่ กฎหมายยังไม่เคลียร์ 100% ทำให้ศาลฯ ชี้ว่า True ID ไม่ต้องขออนุญาต ไม่อยู้ภายใต้กำกับของ กสทช. สุดท้าย “พิรงรอง” ต้องโทษจำคุก 2 ปี ไม่รอลงอาญา ฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
ในมุมของ รศ.ดร. เจิมศักดิ์ มีคำถามสำคัญคือ เมื่อกฎหมายไม่ชัด แล้วเจ้าหน้าที่รัฐต้องทำอย่างไร?,หากการทำเพื่อคุ้มครองประชาชนถูกตีความว่า “ผิด” แล้วใครจะกล้าทำงาน? และ นี่อาจเป็นสัญญาณอันตราย ว่าต่อไปอำนาจทางธุรกิจอาจครอบงำการกำกับดูแลภาครัฐ
“มันทำให้เกิดบรรยากาศที่ว่า ถ้าใครทำหน้าที่จริงจังไปแตะต้องอำนาจบางอย่าง อาจต้องรับโทษเสียเอง”
ถ้าคดีนี้เป็นบรรทัดฐาน ต่อไปใครจะกล้าตัดสินใจ?
รศ.ดร.เจิมศักดิ์ ชวนคิดต่อว่า หากคำตัดสินนี้กลายเป็นบรรทัดฐาน จะส่งผลอะไรต่ออนาคต เจ้าหน้าที่รัฐอาจ เลือกที่จะไม่ทำอะไรเลย แทนที่จะเสี่ยงกับการถูกดำเนินคดี ผู้มีอำนาจทางธุรกิจอาจ มีอิทธิพลมากขึ้น เพราะไม่มีใครกล้าตรวจสอบ และกฎหมายที่คลุมเครืออาจกลายเป็น เครื่องมือที่ใช้จัดการฝ่ายตรงข้าม ถ้าการทำหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐถูกทำให้กลายเป็นความผิด ใครจะกล้าเข้ามาทำงานในระบบนี้? คดีนี้สะท้อนปัญหาเชิงโครงสร้าง ไม่ใช่แค่คนๆ เดียว ถ้าคดีนี้ผ่านไปแบบเงียบๆ ต่อไประบบกำกับดูแลอาจไม่มีอยู่จริง เราจึงควรตั้งคำถามกับ หลักการของกฎหมาย ว่ามันถูกใช้เป็นเครื่องมือหรือไม่ จับตาดู ว่าคดีนี้จะถูกทบทวนหรือไม่ และติดตามว่า การกำกับดูแล OTT ในอนาคตจะเดินไปในทิศทางไหน
“คดีพิรงรองไม่ใช่เรื่องของ OTT แต่มันคืออำนาจทางธุรกิจและกฎหมายที่ถูกใช้เพื่อควบคุม วันนี้อาจเป็นพิรองรอง แต่วันหน้ามันอาจเป็นพวกเราทุกคน”
“การปกป้องประโยชน์สาธารณะ” กำลังถูกตั้งคำถาม ความท้าทายเรื่องปรับปรุงกฎหมายยังรอคอยการผลักดันอย่างจริงจัง “คดีพิรงรอง” จึงเป็นประเด็นสาธารณะ ไม่ใช่เรื่องส่วนบุคคลของ “พิรงรอง”
ดูบทสัมภาษณ์ฉบับเต็มที่นี่: ทำไม #saveพิรงรอง โดย ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี