รองนายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ลงพื้นที่ จ.แพร่ ติดตามโครงการขุดลอกอ่างเก็บน้ำห้วยแม่ปะยาง แก้ไขปัญหาอุทกภัย-ภัยแล้ง เพื่อประชาชนพร้อมปล่อยปลาตะเพียนขาว 5 หมื่นตัว เพื่อขยายพันธุ์-เป็นแหล่งอาหาร
เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2568 ที่ จ.แพร่ นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ลงพื้นที่ตรวจกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาคตามนโยบายรัฐบาล ในพื้นที่เขตตรวจราชการที่ 16 จ.แพร่ เพื่อตรวจความพร้อมและความเหมาะสมของโครงการที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 งบกลาง รายการเงินสำรองเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นตามอำนาจของรองนายกรัฐมนตรี
โดยนายภูมิธรรม ลงพื้นที่ติดตามโครงการขุดลอกอ่างเก็บน้ำห้วยแม่ปะยาง บ้านแม่ขมิง ต.สรอย อ.วังชิ้น เพื่อช่วยเหลือประชาชนในการบริหารจัดการน้ำและเพื่อการอุปโภคบริโภค และการเกษตร และปล่อยปลาตะเพียนขาว จำนวน 50,000 ตัว ลงอ่างเก็บน้ำห้วยแม่ปะยาง เพื่อขยายพันธ์ุสัตว์น้ำและเป็นแหล่งอาหารให้ประชาชนในพื้นที่
พร้อมกันนี้ นายภูมิธรรม ได้สำรวจโครงการซ่อมแซมฟื้นฟูเหตุจากอุทกภัย สะพานข้ามลำห้วยแม่ลาน ชุมชนบ้านใหม่ - ตลาด เชื่อมชุมชนบ้านบนนา หมู่ที่ 4 ต.บ้านปิน อ.ลอง เพื่อช่วยเหลือประชาชน จากเหตุน้ำท่วม เมื่อเดือนก.ย.66 ซึ่งได้รับความเดือดร้อนไม่สามารถใช้เส้นทางนี้สัญจรไปมาได้ รวมถึงส่งผลกระทบต่อการลำเลียงพืชผลทางการเกษตรในพื้นที่มากกว่า 1,000 ไร่ โดยจ.แพร่ ได้เสนอของบฯซ่อมแซมฟื้นฟูสะพานข้ามลำห้วยแม่ลาน เมื่อได้รับการจัดสรรงบฯแล้ว สามารถดำเนินการได้ทันที
สำหรับโครงการขุดลอกอ่างเก็บน้ำห้วยแม่ปะยาง สืบเนื่องจากปัญหาน้ำไม่เพียงพอต่อการอุปโภคบริโภค และการเกษตร ชาวบ้านจึงเริ่มฟื้นฟูป่าชุมชน และในปี 60 ถึงปัจจุบัน ชาวบ้านได้นำความรู้สารสนเทศน้ำที่ได้จากศูนย์บริหารจัดการน้ำจ.แพร่ และการเข้าร่วมโรงเรียนบริหารจัดการน้ำของอบจ.แพร่ และร่วมเรียนรู้การบริหารจัดการน้ำชุมชน ตามแนวพระราชดำริ กับมูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) มาวิเคราะห์ วางแผน DSLM แก้ปัญหาน้ำอย่างต่อเนื่อง และจัดตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำชุมชนขึ้นมาบริหารจัดการน้ำ มีการฟื้นฟูป่าต้นน้ำในพื้นที่ 389 ไร่ และสร้างฝายชะลอความชุ่มชื้น ปีละ 100 ฝาย มีสระแก้มลิงด้านล่างอีก 40 สระ ทำให้มีน้ำใช้ตลอดทั้งปี กระจายน้ำทั่วถึงและใช้น้ำซ้ำ น้ำที่เหลือใช้ ปล่อยไปใช้พื้นที่ตอนล่างต่อ รวมทั้งมีการปรับเปลี่ยนการปลูกพืชจากพืชเชิงเดี่ยว มาทำการเกษตร ตามแนวทฤษฎีใหม่ เกิดผลผลิตที่หลากหลาย สร้างรายได้รวมทั้งชุมชนมากถึง 7.75 ล้านบาทต่อปี
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี