ลุ้น‘คดีฮั้ว สว.’เป็นคดีพิเศษหรือไม่ จับตาบอร์ด DSI มติเอกฉันท์ 22 เสียง หรือ 15 เสียงผ่าน หลังลือสะพัดมีสายโทร.ล็อบบี้สกัดเรื่องไม่ให้รับเป็นคดีพิเศษ
25 กุมภาพันธ์ 2568 ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 10 กระทรวงยุติธรรม ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ มีการประชุมคณะกรรมการคดีพิเศษ (กคพ.) ครั้งที่ 2/2568 โดยมี นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ในฐานะกำกับหน่วยงานด้านความมั่นคง เป็นประธานกรรมการ ซึ่งการประชุมมี 2 วาระสำคัญที่จะมีการเสนอขอมติรับเป็นคดีพิเศษ คือ เรื่องสืบสวนที่ 151/2567 กรณี การคัดเลือกสมาชิกวุฒิสภาที่มีกระบวนการหรือพฤติการณ์ที่มิได้เป็นไปโดยสุจริตหรือเที่ยงธรรม ซึ่งมีพฤติการณ์อันอาจเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2561 และประมวลกฎหมายอาญา ส่วนอีกวาระ คือ เรื่องสืบสวนที่ 9/2568 กรณี การทุจริตสวมสิทธิ์ยางพาราไทย กระทบต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศและความมั่นคงของเกษตรกรไทย
สำหรับรายชื่อคณะกรรมการคดีพิเศษ (กคพ.) — Board of Special Case โดยมี นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ในฐานะกำกับหน่วยงานด้านความมั่นคง เป็นประธานกรรมการ ส่วนคณะกรรมการ ประกอบด้วย พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรม รองประธานกรรมการ ส่วนกรรมการโดยตำแหน่ง ประกอบด้วย นางพงษ์สวาท นีละโยธิน ปลัดกระทรวงยุติธรรม (หรือผู้แทนซึ่งปลัดกระทรวงยุติธรรมมอบหมาย) นายลวรณ แสงสนิท ปลัดกระทรวงการคลัง (หรือผู้แทนซึ่งปลัดกระทรวงการคลังมอบหมาย) นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย (หรือผู้แทนซึ่งปลัดกระทรวงมหาดไทยมอบหมาย) นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ (หรือผู้แทนซึ่งปลัดกระทรวงพาณิชย์มอบหมาย)
นายไพรัช พรสมบูรณ์ศิริ อัยการสูงสุด (หรือผู้แทนซึ่งอัยการสูงสุดมอบหมาย) พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (หรือผู้แทนซึ่ง ผบ.ตร.มอบหมาย) นายปกรณ์ นิลประพันธ์เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา (หรือผู้แทนซึ่งเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกามอบหมาย) พล.อ.พิสิษฐ์ นพเมือง เจ้ากรมพระธรรมนูญ (หรือผู้แทนซึ่งเจ้ากรมพระธรรมนูญมอบหมาย) นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (หรือผู้แทนซึ่งผู้ว่า ธปท.มอบหมาย) นายวิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ (หรือผู้แทนซึ่งนายกสภาทนายความมอบหมาย)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในด้านต่าง ๆ ที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งอีก 9 ราย ร่วมเป็นคณะกรรมการ ประกอบด้วย นายเพ็ชร ชินบุตร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านเศรษฐศาสตร์ นายณปกรณ์ ธนสุวรรณเกษม กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเงินการธนาคาร นางดวงตา ต้นโช กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ นายชาติพงษ์ จีระพันธุ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย นายนรินท์พงศ์ จินาภักดิ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย นางทัชมัย ฤกษะสุต กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย
พล.ต.อ.สุทิน ทรัพย์พ่วง กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการสอบสวนคดีอาญา พล.ต.ท.สำราญ นวลมา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พล.ต.อ.มนู เมฆหมอก กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการปราบปรามผู้มีอิทธิพล และมี พ.ต.ต.ยุทธนา แพรดำ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ เป็นกรรมการและเลขานุการ
ทั้งนี้ การประชุมของบอร์ดคณะกรรมการคดีพิเศษ (กคพ.) ทั้ง 22 ราย เพื่อมีมติเห็นชอบรับคดีพิเศษตามมาตรา 21 วรรคหนึ่ง (2) หรือเป็นคดีความผิดทางอาญาอื่น คณะกรรมการคดีพิเศษต้องมีมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 หรือ 15 เสียง หรือกึ่งหนึ่งของกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ กำหนดให้เป็นคดีพิเศษ โดยมีรายงานว่า นางพงษ์สวาท นีละโยธิน ปลัดกระทรวงยุติธรรม กรรมการโดยตำแหน่ง ได้มอบหมายให้นายโกมล พรมเพ็ง รองปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นผู้เเทนเข้าประชุม ขณะที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) ได้มีการแต่งตั้ง ร.ต.อ.สุรวุฒิ รังไสย์ รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ เป็นผู้ช่วยเลขานุการ
โดยตามกฎหมายได้กำหนดให้มีคดีพิเศษตาม พ.ร.บ.การสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547 มาตรา 21 วรรคหนึ่ง (2) ก็ด้วยความจำเป็นที่ว่า คดีความผิดทางอาญาในบางเรื่องหรือบางฐานความผิดอาจไม่ได้กำหนดให้เป็นคดีพิเศษไว้ในประเภทที่ 1 แต่โดยเหตุผลความจำเป็นเฉพาะรายอาจเป็นเรื่องที่รุนแรงก่อให้เกิดผลกระทบต่อสังคมหรือมีความยุ่งยากซับซ้อนในการสืบสวนสอบสวน หรือเหตุจำเป็นอันเหมาะสมอื่น จึงได้กำหนดให้คณะกรรมการคดีพิเศษ ซึ่งประกอบด้วยคณะกรรมการจำนวน 22 คน โดยมีที่มาจาก 3 ฝ่าย คือ
1.ฝ่ายการเมือง จำนวน 2 คน ได้แก่ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นรองประธานกรรมการ
2.ฝ่ายข้าราชการประจำหรือกรรมการโดยตำแหน่ง จำนวน 11 คน ได้แก่ ปลัดกระทรวงยุติธรรม ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงพาณิชย์ อัยการสูงสุด ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เจ้ากรมพระธรรมนูญ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย นายกสภาทนายความ และอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ
3.กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง จำนวน 9 คน ในการที่จะใช้ดุลพินิจกำหนดให้คดีความผิดทางอาญาบางเรื่องหรือบางฐานความผิ
ดนั้น ๆ เป็นคดีพิเศษขึ้น ซึ่งจะต้องดำเนินการนำมติของคณะกรรมการคดีพิเศษในเรื่องดังกล่าวนี้ไปประกาศในราชกิจจานุเบกษา
-005
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี