เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2568 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติอนุมัติแต่งตั้งข้าราชการ ดังนี้
เรื่อง การมอบหมายให้รัฐมนตรีเป็นผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติเป็นหลักการมอบหมายให้รัฐมนตรีเป็นผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ตามความในมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 จำนวน 2 ราย ตามลำดับ ดังนี้
1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล)
2. รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นางสาวจิราพร สินธุไพร)
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2568 เป็นต้นไป
เรื่อง คณะกรรมการต่างๆ ที่แต่งตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรี (กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอแต่งตั้งคณะกรรมการต่างๆ ที่แต่งตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรี จำนวน 3 คณะ ดังนี้
1. คณะกรรมการกำหนดนโยบายและกำกับดูแลโครงการห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนโดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย (โครงการ วมว.) ประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นที่ปรึกษา ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็น ประธานกรรมการ รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นรองประธานกรรมการ โดยมีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ประกอบด้วย คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ นายกฤษณพงศ์ กีรติกร รองศาสตราจารย์พาสิทธิ์ หล่อธีรพงศ์ และกรรมการ ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีผู้อำนวยการโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย ประธานสภาคณบดีวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย โดยผู้อำนวยการกองส่งเสริมและพัฒนากำลังคน สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นกรรมการและเลขานุการ เจ้าหน้าที่สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ เจ้าหน้าที่สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
หน้าที่และอำนาจ (คงเดิม)
1. กำหนดนโยบาย กรอบและทิศทางการพัฒนาโครงการห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนโดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย (โครงการ วมว.) ในภาพรวม
2. เสนอแนะแนวทางการดำเนินงานโครงการห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนโดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย (โครงการ วมว.) ให้บรรลุตามนโยบาย วัตถุประสงค์ และเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ
3. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ ในการดำเนินงานโครงการห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนโดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย (โครงการ วมว.) ได้ตามความเหมาะสม
2. คณะกรรมการบริหารโครงการห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนโดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย (โครงการ วมว.) มีองค์ประกอบ ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานกรรมการ รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นรองประธานกรรมการ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ประกอบด้วย คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ นายกฤษณพงศ์ กีรติกร รองศาสตราจารย์พาสิทธิ์ หล่อธีรพงศ์ กรรมการ ประกอบด้วย อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร อธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม อธิการบดีมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตกำแพงแสน อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร อธิการบดีมหาวิทยาลัยบูรพา อธิการบดีมหาวิทยาลัยทักษิณ อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี ประธานสภาคณบดีวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ผู้อำนวยการโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ผู้แทนสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ผู้แทนสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้แทนสำนักงบประมาณ ผู้แทนสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมีผู้อำนวยการกองส่งเสริมและพัฒนากำลังคน สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นกรรมการและเลขานุการ รวมทั้งมีเจ้าหน้าที่สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
หน้าที่และอำนาจ (คงเดิม)
1. กำหนดหลักการ หลักเกณฑ์ ให้คำแนะนำหรือข้อเสนอแนะในการส่งเสริมการดำเนินการโครงการ วมว.ระยะที่ 3
2. กำหนดแนวทางและกลไกการบริหารจัดการในภาพรวม เพื่อให้การดำเนินการของแต่ละมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมดำเนินงานโครงการ วมว.มีการจัดการหลักสูตรที่ได้มาตรฐานและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
3. กำกับดูแลและติดตามผลการดำเนินงาน เพื่อปรับปรุงแนวทางและพัฒนากลไกบริหารจัดการให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม
4. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงาน เพื่อดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องได้ตามความจำเป็น
5. ดำเนินการเรื่องอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย
3. คณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลสถาบันไทยโคเซ็น ประกอบด้วย องค์ประกอบคงเดิม (มติคณะรัฐมนตรี 18 มิถุนายน 2567) ดังนี้ เป็นที่ปรึกษา ประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และนายกอบศักดิ์ ภูตระกูล โดยปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานกรรมการ รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นรองประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หัวหน้าผู้แทนองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น สำนักงานประเทศไทย ประธานหอการค้าญี่ปุ่น - กรุงเทพฯ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ประกอบด้วย ศาสตราจารย์ผดุงศักดิ์ รัตนเดโช รองศาสตราจารย์พินิติ รตะนานุกูล รองศาสตราจารย์กิตติชัย ไตรรัตนศิริชัย รองศาสตราจารย์รัตติกร วรากูลศิริพันธุ์ นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ นายสัมพันธ์ ศิลปนาฎ โดยมีผู้อำนวยการโครงการสถาบันไทยโคเซ็น สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นกรรมการและเลขานุการ รวมทั้งเจ้าหน้าที่สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นผู้ช่วยเลขานุการ
หน้าที่และอำนาจ (คงเดิม)
1. กำหนดเป้าหมาย นโยบาย และทิศทางในการพัฒนาสถาบันไทยโคเซ็น เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
2. กำหนดแผนงานบริหารโครงการและงบประมาณในภาพรวมให้เป็นไปตามนโยบายและทิศทางการพัฒนาสถาบันไทยโคเซ็น
3. กำกับดูแลการดำเนินงานและการติดตามประเมินผลโครงการสถาบันไทยโคเซ็น
4. ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างเครือข่ายและบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างสถานศึกษาหน่วยงานภาครัฐและภาคอุตสาหกรรม เพื่อให้เกิดการผลิตและพัฒนากำลังคนรองรับภาคการผลิตและภาคอุตสาหกรรมให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ
5. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ คณะทำงานหรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งเพื่อกระทำการใดๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลสถาบันไทยโคเซ็น รวมทั้งมอบอำนาจให้คณะอนุกรรมการ คณะทำงานหรือบุคคลดังกล่าว ทำการแทนแล้วรายงานให้คณะกรรมการทราบ
6. ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มอบหมาย
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2568 เป็นต้นไป
เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงศึกษาธิการ)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเสนอแต่งตั้ง นายราตรีสวัสดิ์ ธนานันต์ ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนัก (ผู้อำนวยการสูง) สำนักอำนวยการ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาด้านมาตรฐานอาชีวศึกษาช่างอุตสาหกรรม (นักวิชาการศึกษาทรงคุณวุฒิ) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งแต่วันที่ 28 พฤศจิกายน 2567 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงสาธารณสุข)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้ง นางสาวอัจฉรา รอดเกิด ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่ง นายแพทย์เชี่ยวชาญ (ด้านเวชกรรม สาขาอายุรกรรม) กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุราษฎร์ธานี สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรม สาขาอายุรกรรม) โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดนครศรีธรรมราช สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2567 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (สำนักนายกรัฐมนตรี)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักข่าวกรองแห่งชาติเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี ให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ จำนวน 2 ราย ตั้งแต่วันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ดังนี้
1. นางสาวสุรีย์พร อินทุเศรษฐ ผู้อำนวยการสำนัก (ผู้อำนวยการสูง) สำนัก 9 สำนักข่าวกรองแห่งชาติ ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านการดำเนินงานข่าวกรองในต่างประเทศ (นักการข่าวทรงคุณวุฒิ) กลุ่มงานที่ปรึกษา สำนักข่าวกรองแห่งชาติ ตั้งแต่วันที่ 24 ตุลาคม 2567
2. นายรัชภูมิ เวียงสิมา ผู้อำนวยการศูนย์ (ผู้อำนวยการสูง) ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักข่าวกรองแห่งชาติ ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านข่าวกรองความมั่นคงและสถาบันหลัก (นักการข่าวทรงคุณวุฒิ) กลุ่มงานที่ปรึกษา สำนักข่าวกรองแห่งชาติ ตั้งแต่วันที่ 28 ตุลาคม 2567
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงการต่างประเทศ)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเสนอแต่งตั้ง พิจารณา นายเบญจมินทร์ สุกาญจนัจที ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่ง รองอธิบดี กรมการกงสุล ให้ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงคมนาคม)
คณะรัฐมนตรีมีมตินุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเสนอแต่งตั้ง นายประภูศักดิ์ จินตะเวช เป็นข้าราชการการเมือง ตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม [ปฏิบัติหน้าที่เลขานุการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (นางมนพร เจริญศรี)]
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2568 เป็นต้นไป
เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาล
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอแต่งตั้ง พลเอก ยุทธเกียรติ ล้วนไพรินทร์ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านสังคม) ในคณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาล แทน พลเอก ธนะศักดิ์ ชื่นอิ่ม กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมที่ขอลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2567 โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2568 เป็นต้นไป และผู้ได้รับแต่งตั้งแทนนี้อยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่ตนได้รับแต่งตั้งแทน
เรื่อง การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เสนอแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ รวม 6 คน เนื่องจากประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสี่ปี เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2566 ดังนี้
1. นายพันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ ประธานกรรมการ
2. นายชิดชนก เหลือสินทรัพย์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
3. นายเกรียงไกร เธียรนุกุล กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
4. นางสาวสิริวรรณ พงษ์ไพโรจน์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
5. นางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
6. นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2568 เป็นต้นไป
เรื่อง แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการองค์การสะพานปลา
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เสนอแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการองค์การสะพานปลารวม 6 คน แทนประธานกรรมการและกรรมการอื่นเดิมที่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากขอลาออก ดังนี้
1. พลโท นุกูล นรฉันท์ ประธานกรรมการ
2. นายวิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข กรรมการอื่น (ผู้แทนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์)
3. นางธาราพร สิงหพันธุ์ มหิทธาฟองกุล กรรมการอื่น (ผู้แทนกระทรวงการคลัง)
4. นายอำพันธุ์ เวฬุตันติ กรรมการอื่น
5. นายทวีวัฒน์ สุรสิทธิ์ กรรมการอื่น
6. นายศิริพงษ์ รัสมี กรรมการอื่น
และผู้ได้รับแต่งตั้งแทนนี้อยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่ากำหนดเวลาของผู้ซึ่งตนแทน
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2568 เป็นต้นไป
- 006
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี