"ซาบีดา"พร้อมผู้เชี่ยวชาญด้านวิศกรม ลงพื้นที่ตรวจสอบตึก A ศูนย์ราชการ ย้ำปลอดภัยดี อาฟเตอร์ช็อกไม่กระทบโครงสร้างอาคาร ยอมรับรอยแยกเกิดจากรอยเชื่อมระหว่างอาคาร เมื่อเกิดแรงสั่นสะเทือนก็จะเกิดรอยร้าวเป็นเรื่องปกติ
เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2568 ภายหลังจากเกิดเหตุการณ์มีรอยร้าวที่บริเวณชั้น 5 และชั้น 7 อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ศูนย์ราชการอาคาร A ซึ่งเกิดเป็นรอยต่อระหว่างอาคารเกิดการแยกตัวและมีเสียงดัง รวมถึงมีแต่คุณร่วงลงมา มีการอพยพประชาชนออกนอกพื้นที่ จากนั้นทีมวิศวกรผู้เชี่ยวชาญของกรมธนารักษ์ได้เข้าตรวจสอบและประกาศให้ข้าราชการพนักงานที่อยู่ภายในอาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ หรือตึก A กลับเข้าทำงานได้ตามปกติ
ขณะที่การตรวจสอบอาคารนั้น นางสาวซาบีดา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย พร้อมด้วย นายพงษ์นรา เย็นยิ่ง อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง นายธเนศ วิระศิริ นายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย กรมธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ พร้อมด้วยผู้บริหารหน่วยงานราชการ ได้มีการร่วมตรวจสอบและมีการประชุมประเมินสถานการณ์
โดย นางสาวซาบีดา ได้ให้สัมภาษณ์ว่าการประชุมในวันนี้เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้อาคาร เนื่องจากอาการอาฟเตอร์ช็อก แต่ไม่รุนแรงส่งผลกระทบต่อมั่นคงแข็งแรงของอาคาร และประชาชน โดยทางอาคารก็ได้มีการตรวจสอบจากวิศวกรผู้ดชี่ยวชาญ ในช่วงวันหยุดเสาร์อาทิตย์ที่ผ่านมา ส่วนอาคารหน่วยงานราชการอื่นๆก็พยายามจะไล่ตรวจสอบให้ครบถ้วนทุกอาคาร ซึ่งกรมโยธาธิการและผังเมืองมีศูนย์รับแจ้งเข้าตรวจสอบอาคารของหน่วยงานภาครัฐ
รมช.มหาดไทย ยืนยันว่า after shock ไม่ส่งผลกับประเทศไทย และอาคารนี้ได้มีทีมวิศวกรของตึกตรวจสอบ 1 รอบ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับอาคารกรมโยธาธิการและผังเมืองก็จะเข้าตรวจสอบอีกครั้ง จะสร้างความมั่นใจในการกลับเข้าใช้ตึกได้ ส่วนการเปิดให้บริการประชาชนที่จะมาติดต่อขึ้นอยู่กับหน่วยงานราชการ
ด้าน นายพงษ์นรา เย็นยิ่ง อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง เปิดเผยว่า สาเหตุมาจากเมื่อเวลา 08.46 - 10.28 น.เกิดอาฟเตอร์ช็อก 15 ครั้งต่อเนื่อง ขนาด 2 - 3.4 ริกเตอร์ จากการตรวจสอบมีเพียงรอยร้าวที่เกิดขึ้นจากแผ่นดินไหว เมื่อวันที่ 28 มีนาคมที่ผ่านมา รอยร้าวภายนอก ซึ่งไม่มีผลต่อโครงสร้างของอาคาร
ส่วนที่มีการแชร์ภาพและข้อมูลในโซเชียล ว่า อาคารศูนย์ราชการอาคาร A เอียง แท้ที่จริงแล้วเป็นการออกแบบที่มีลักษณะเอียงอยู่แล้ว ไม่ได้เกิดจากความเสียหายแต่อย่างใด ทั้งนี้ ทางกรมโยธาธิการและผังเมืองจะส่งทีมวิศวกรมาตรวจซ้ำอีกที เพื่อสำรวจว่ามีความเสียหายเพิ่มเติมหรือไม่ แต่จากการที่ตรวจสอบเบื้องต้นยังไม่พบความเสียหายแต่อย่างใด
อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบอาคารหน่วยงานรัฐ โรงพยาบาลรัฐ และสถานศึกษา ในกรุงเทพมหานคร กว่า 200 อาคาร มีการสั่งห้ามใช้อาคาร 4 แห่ง คือ อาคารทศมินทราธิราช โรงพยาบาลราชวิถี, โรงพยาบาลเลิด มีปัญหาที่บริเวณทางเชื่อมอาคาร สั่งห้ามใช้ถังเชื่อมอาคารแต่ตัวอาคารยังใช้งานได้ตามปกติ, สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (อาคาร 30 ชั้น เมืองทอง) มีความเสียหายเกิดขึ้นที่ชั้น 3 และอาคารกรมสรรพากร ซอยอารีย์
นายธเนศ วีระศิริ นายกสภาวิศวกร ยืนยันว่า อาฟเตอร์ช็อกที่เกิดขึ้นไม่มีผลต่อโครงสร้างอาคาร ซึ่งตนเองนั้นทำงานอยู่ที่ชั้น 7 ของอาคารนี้มานานกว่า 10 ปี ได้รับรู้และได้เห็นรอยร้าวต่างๆ ที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ เช่น ที่บริเวณชั้น 7 ของอาคาร ซีกที่ตนเองทำงานอยู่ เป็นรอยร้าวผนังที่มีมาเดิมอยู่แล้ว
หลังเกิดเหตุแผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 28 มีนาคมที่ผ่านมา ก็มีรอยร้าวเกิดขึ้นในอาคาร ซึ่งเป็นผิวด้านนอกที่ฉาบปูนไม่เกี่ยวข้องกับโครงสร้าง รอยต่อระหว่างคานกับเสาไม่มีรอยแตกร้าว แต่การเกิดอาฟเตอร์ช็อกในวันนี้ไม่ได้มีรอยร้าวเพิ่มเติมแต่อย่างใด ส่วนที่เผยอหรือหลุดออกมาภายนอกนั้น เป็นชิ้นส่วนตกแต่งภายนอกอาคาร ไม่มีผลต่อโครงสร้างเช่นกัน
- 006
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี