(ต่อจากอาทิตย์ที่แล้ว)
(ผู้ถูกลงโทษทางวินัยหมายความว่า ข้าราชการ...ซึ่งถูกลงโทษหรือลงทัณฑ์เพราะกระทำผิดวินัยตามกฎหมาย) และข้าราชการจะถูกลงโทษทางวินัยได้ต่อเมื่อกระทำผิดวินัย ดังนั้น เมื่อมีการวินิจฉัยว่าข้าราชการผู้ใดไม่ได้กระทำผิดวินัยตามข้อกล่าวหาแล้ว คำสั่งลงโทษข้าราชการผู้นั้นจึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ที่สุด ก.พ.โดยอ.ก.พ.ฯวินัยฯ ในการประชุมครั้งที่ 28/2539 เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2539 ได้กำหนดแนวทางปฏิบัติของก.พ.เกี่ยวกับพระราชบัญญัติล้างมลทินฯ พ.ศ.2539 (โดยเสียงข้างมาก) ว่าเรื่องที่ควรจะได้รับการพิจารณาในทางเป็นคุณ แต่อยู่ในเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติล้างมลทินฯ พ.ศ.2539 นั้น ก.พ.(อ.ก.พ.ฯ วินัยฯ) จะไม่หยิบยกขึ้นมาพิจารณาอีก (ซึ่งก็เป็นไปตามแนวทางของคณะกรรมการกฤษฎีกาที่ได้เคยพิจารณาไว้ ครั้งใช้พระราชบัญญัติล้างมลทินฯ พ.ศ.2526 ตามหนังสือตอบข้อหารือของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาที่นร 0501/116 ลงวันที่ 23 มกราคม 2527)
(พระราชบัญญัติล้างมลทินในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี พ.ศ. ย่อว่า พระราชบัญญัติล้างมลทินฯ พ.ศ.2539)
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี