นายกฯถกหน่วยงานเศรษฐกิจ เน้นย้ำมาตรการสวมสิทธิ์สินค้าในไทยระยะสั้น-ระยะยาว กำชับเฝ้าระวัง 65 รายการ สั่งเพิ่มบทลงโทษแรงบริษัทสวมสิทธิ์
เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2568 น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กและทวิตผ่าน X ระบุว่า วันนี้ได้เชิญทางกระทรวงพาณิชย์ กรมศุลกากร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสภาหอการค้าไทย เพื่อมาพูดคุยและเน้นย้ำถึงมาตรการสวมสิทธิ์ของสินค้าในไทย และกระบวนการออกใบรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า (Certificate of Origin) ที่ส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของสินค้าไทยและการส่งออกของผู้ประกอบการไทย
นายกฯ ระบุต่อว่า โดยในระยะสั้น ทางกรมการค้าต่างประเทศจะเป็นผู้รับผิดชอบหลักในการหารือร่วมกับหน่วยงานศุลกากรและป้องกันชายแดนสหรัฐฯ หรือ US Custom and Border Protection (CBP) เพื่อวางหลักเกณฑ์ใหม่ในการออกใบรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า พร้อมทั้งเฝ้าระวังการสวมสิทธิ์เป็นสินค้าไทย จำนวน 65 รายการ 224 พิกัด ซึ่งส่วนมากเป็นสินค้าอุตสาหกรรม เพื่อให้การตรวจสอบเข้มงวดมากยิ่งขึ้น ส่วนในระยะยาว ขอให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งปรับปรุงกฎหมาย เพื่อเพิ่มบทลงโทษที่รุนแรงมากยิ่งขึ้นกับบริษัทที่มีการสวมสิทธิ์สินค้าไทยอย่างเด็ดขาด
“ดิฉันเชื่อมั่นว่า หากเกิดความเข้มงวดในการตรวจสอบถิ่นกำเนิดของสินค้า จะทำให้ปริมาณการสวมสิทธิ์สินค้าลดลงเป็นอย่างมากภายในระยะเวลา 90 วัน และนี่จะเป็นการเปิดโอกาสให้กับผู้ประกอบการในไทย รวมถึง SMEs ไทยในการดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้สินค้าไทยและวัตถุดิบไทย ส่งออกไปยังต่างประเทศได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นการเพิ่มมูลค่าทางการค้าของไทยอย่างแท้จริง” นายกฯ ระบุ
- 006
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี