ภิกษุ หรือ พระภิกขุ ภาษาบาลีจะใช้คำว่า ภิกขุ ส่วนภาษาสันสกฤตใช้คำว่า ภิกษุเป็นคำใช้เรียก นักบวชชายในพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะซึ่งในปทานุกรมภาษาไทยนั้นหมายถึงศัพท์บัญญัติที่ใช้เรียกนักบวชชายในพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะไม่เป็นสาธารณะทั่วไปสำหรับทุกศาสนามีความหมายว่า ผู้ขอและแปลว่า ผู้เห็นภัยในวัฏฏสงสาร
ในไทยและในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวมีคำเรียกภิกษุเถรวาทว่า “พระ” แปลว่าผู้ประเสริฐ เป็นคำที่เรียกกันมาแต่โบราณเพื่อเป็นการยกย่องนักบวชในพระพุทธศาสนาและเป็นชื่อเรียกวิธีอุปสมบทเป็นภิกษุในสมัยพุทธกาลยุคต้นๆ โดยพระพุทธเจ้าประทานให้ด้วยพระองค์เอง
ด้วยการตรัสว่า เอหิภิกขุ ซึ่งแปลว่า จงมาเป็นภิกษุเถิด ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว ท่านจงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำที่ดีที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบเถิด ตรัสเท่านี้ ก็เป็นภิกษุแล้ว เพราะคำตรัสขึ้นต้นว่า เอหิ ภิกขุ จึงเรียกการอุปสมบทแบบนี้ว่า เอหิภิกขุอุปสัมปทา เรียกผู้ได้รับการอุปสมบทว่า เอหิภิกขุ
เป็นการอุปสมบทที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือเจ้าชายสิทธัตถะทรงประทานแก่พระอัญญาโกณฑัญญะเป็นท่านแรกจึงถือว่าท่านเป็นปฐมสาวกหรือเป็นปฐมภิกษุในพระพุทธศาสนาเมื่อมีผู้มาขอบวชมากขึ้นได้ทรงเลิกวิธีอุปสมบทแบบนี้ ทรงเปลี่ยนเป็นวิธีติสรณคมนูปสัมปทา และเป็นวิธีญัตติจตุตถกรรมวาจาซึ่งใช้มาจนถึงปัจจุบัน
ปัจจุบันมีการแต่งตั้งพระอุปัชฌาย์ให้ติสรณคมนูปสัมปทาแก่ผู้บวชเป็นสามเณรหมายความถึงว่าการอุปสมบทด้วยการเข้าถึงไตรสรณะหมายถึงการบวชเป็นภิกษุโดยการรับไตรสรณคมน์ หมายถึงการอุปสมบทเป็นภิกษุแบบหนึ่งในพระพุทธศาสนากล่าวคือในสมัยต้นพุทธกาล พระพุทธเจ้าทรงประทานอุปสมบทเองที่เรียกว่าเอหิภิกขุอุปสัมปทา
ต่อมาสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงอนุญาตให้พระสาวกบวชกุลบุตรให้เป็นภิกษุได้โดยวิธีให้กุลบุตรนั้นรับไตรสรณคมน์เท่านั้น ซึ่งการบวชแบบนี้สำเร็จได้โดยบุคคล คือพระสาวกรูปใดรูปหนึ่งก็สามารถบวชกุลบุตรได้ ต่อมาภายหลังทรงอนุญาตวิธีการอุปสมบทโดยสงฆ์
คือการทำให้เป็นสังฆกรรมที่เรียกว่า แบบญัตติจตุตถกรรมวาจา จึงเลิกวิธีบวชพระแบบติสรณคมนูปสัมปทา แต่ทรงอนุญาตให้ใช้วิธีนี้บวชสามเณร ซึ่งถือปฏิบัติกันมาตราบเท่าทุกวันนี้ การมีญัตติจตุตถกรรมวาจา เป็นสังฆกรรม 1 ใน 4 อย่างของภิกษุสงฆ์ที่ทำร่วมกันจัดเป็นสังฆกรรมที่มีน้ำหนักมากที่สุด หนักแน่นที่สุด
พระภิกษุนอกจากเป็นผู้ขอแล้วก็ต้องเป็นผู้ให้และถือศีล 227 ข้อ โดยเคร่งครัดสำหรับกรณีพระธัมมชโยหรือพระเทพญาณมหามุนีที่ตกเป็นผู้ต้องหาตามหมายจับของกรมสอบสวนคดีพิเศษนั้นท่านจะต้องเป็นผู้ให้นั่นคือให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่แต่โดยดุษณีแล้วต้องไปสู้คดีในชั้นศาลต่อไปจึงจะเป็นความชอบธรรม
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี