l หากประชาชนเห็นเด็กเล็กขี้มูกโป่ง ออกมาโวยวายเรื่องกฎระเบียบของโรงเรียน ลงโทษนักเรียนมาสายนักเรียนที่มาเช้าก่อนเวลาเคารพธงชาติ ด้วยความเคารพกฎระเบียบ เพราะเรามีหน้าที่มาโรงเรียนใช่ไหมอีกภาพหนึ่ง ผู้ใหญ่มีความรู้มากประสบการณ์ในการเลือกตั้งที่สังกัดพรรคการเมืองเก่าๆ ออกมาวิจารณ์ระบบการคัดเลือกกลั่นกรองสมาชิกพรรค ตามกฎหมายการเลือกตั้ง ตามรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติอ้างว่า เป็นการทำลายระบบพรรคการเมืองและการเมือง และว่าต่อว่า เพราะผู้ออกกฎหมาย ไม่เข้าใจ
l จึงขอโอกาสที่มีประสบการณ์เล็กน้อย ร่วมห้าสิบปี ที่ผ่านการสร้างและพัฒนาพรรคการเมือง มาแลกเปลี่ยนหลังเหตุการณ์ ๑๔ ตุลา ๑๖ ได้ร่วมกับเพื่อนพ้องน้องพี่ จัดตั้งกลุ่มปช.ปช. (ประชาชนเพื่อประชาธิปไตย) ปลายปี ๒๕๑๖ และปี ๒๕๑๗ โดยรับผิดชอบงานกิจกรรมมวลชน ลงไปพื้นที่ในชนบททั้งภาคใต้กลางเหนือนอกจากการร่วมออกเวทีสัญจรประชาธิปไตย กับ อ.ธีรยุทธ บุญมี, ธัญญา ชุนชฎาธาร และพวกพ้องไปพูดตามจังหวัดต่างๆ โดยเฉพาะที่มีมหาวิทยาลัย และในเขตตัวเมืองของจังหวัดใหญ่ๆ
2) ปี๒๕๑๗-๒๕๑๙ได้ร่วมก่อตั้ง “พรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย” ที่มี พ.อ.สมคิด ศรีสังคม ประธานพรรค และดร.บุญสนอง บุณโยทยาน เป็นเลขาธิการพรรคฯ ผมได้รับเลือกเป็นกก.บริหารพรรครับผิดชอบฝ่ายกิจกรรมมวลชนที่ต้องรับเรื่องร้องเรียนจากชาวบ้าน และพี่น้องเกษตรกรในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะทางภาคเหนือและช่วงปลายปี ๒๕๑๘ ได้เดินทางไปศึกษางานมวลชน จากพรรคต้นตำรับ ในเขตภูพาน ภาคอีสาน
3) ปี ๒๕๑๙-๒๕๒๔ ได้เข้าร่วมต่อสู้ด้วยกำลังอาวุธกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ที่มีนักศึกษาประชาชนหลายพันคนเดินทางเข้าร่วม เพราะไม่สามารถอยู่ในเมืองภายใต้รัฐบาลขวาจัดที่ปราบประชาชน โดยพรรคสังคมนิยมแห่งประเทศ เป็นแนวร่วมประชาชาติประชาธิปไตยในองค์กร กป.ปช (คณะกรรมการประสานงานผู้รักชาติรักประชาธิปไตย) ที่มีอาจารย์ธีรยุทธ บุญมี เป็นผู้ประสานงานฯผมได้รับผิดชอบเป็นตัวแทนของพรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทยไปทำงานในองค์กรอำนาจรัฐที่ภูพานในฐานะรองประธานอำนาจรัฐเขตเพชรบุรีทำงานร่วมกับพคท.ผู้รักชาติรักประชาธิปไตยและประชาชนและได้เดินทางไปประชุมของพรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทยในหลายเขตงานที่มีสมาชิกพรรคงานมวลชนและงานแนวร่วมที่ยึดหลัก “การร่วมมือ ร่วมคิดร่วมทำระหว่างพรรคและแนวร่วมต่างๆ อย่างเสมอภาค”
4) ปี ๒๕๓๕-๒๕๔๑ ได้เข้าร่วมกับพรรคพลังธรรมภายหลังจากการเข้าร่วมในเหตุการณ์ ๑๗ พฤษภา ๒๕๓๕ ได้เสนอความคิดในการจัดตั้ง “สำนักนโยบายและแผน” ของพรรคพลังธรรมและได้รับแต่งตั้ง เป็นผู้อำนวยการโดยเป็นเจ้าหน้าของพรรคคนเดียวที่ได้เข้าร่วมประชุมกับ ครม.ของพรรค ในยุคหัวหน้าบุญชู โรจนเสถียร ได้นำเสนอความคิดและแผนงานต่างๆ ที่โดดเด่น คือ “การจัดโรงเรียนการเมืองสำหรับรัฐมนตรีและสส.พรรค” ใช้เวลา ๔ เดือน และได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่างๆ มาเป็นวิทยากร ซึ่งรวมทั้ง พลเอกสุรยุทธ์ จุฬานนท์ ฯลฯ และการเป็นผู้ประสานงาน ในการเลือกตั้งใหญ่ ในส่วนของภาคเหนือ ร่วมกับ รมช.จรัส พั้วช่วย ซึ่งร่วมประชุม และเดินทางไปช่วยหาเสียงกับหัวหน้าทักษิณ ซึ่งผมได้เสนอความคิดและให้กำลังใจในยามมีปัญหาฯ (หากจะแถมก็มีเกร็ดย่อย คือ เป็นผู้ประสานให้ “พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เข้าพบและร่วมคุยกับรองนายกบุญชู) การได้มีโอกาส เดินทางไปเข้าร่วมโรงเรียนชาวนาคานาอาน ที่เกาหลีใต้ ของ ดร.คิม ยอง กี (ผู้ตั้งรางวัลอิลก้าที่เทียบเท่ากับรางวัลแมกไซไซของเอเชีย) ที่พลตรีจำลอง ศรีเมือง และคุณชู ชวนจันทร์ สองคนไทยที่ได้รับเป็นโรงเรียนผู้นำที่โดดเด่น สร้างผู้นำเกาหลีใต้มีคุณภาพทุกภาคส่วนการเมืองข้าราชการธุรกิจ กรรมกร ชาวนาฯและการเข้าเรียนในสถาบันพระปกเกล้า หลักสูตรหลัก ปปร.๒ (๒๕๓๙-๒๕๔๐) การเข้าร่วมก่อตั้งสถาบันพัฒนาการเมืองและคุณภาพคน ที่ทำงานด้านความคิดและการพัฒนาคุณภาพคนร่วมกับ ดร.ภูษณ ปรีย์มาโนช ที่สร้างผลงานในภาคประชาชนและเกษตรกรมากมาย ในปี ๒๕๔๒-๒๕๔๘, และถัดมาในช่วงที่สอง ของสถาบันพัฒนการเมืองและคุณภาพคนใน ปี ๒๕๕๔-๒๕๕๖, รวมทั้งได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติชุดแรกที่ท่านอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธาน(๒๕๔๔-๒๕๔๘) และการเป็นเลขาธิการองค์กรเกษตรกรเพื่อการพัฒนา(สกพ.) ซึ่งเป็นองค์กรระหว่างประเทศที่ได้ร่วมบริหารงานกับตัวแทนเกษตรกรทั่วประเทศ และการร่วมประชุมสัมมนาระหว่างประเทศที่เอเชียและยุโรปในปี ๒๕๔๗-๒๕๕๑ รวมทั้งการเคลื่อนไหวทางด้านความคิดและการเมือง ในเหตุการณ์พธม. เสธ.อ้าย กปปส.และการให้ความสนใจในเรื่องความคิดวิธีคิดและการบริหารจัดการฯ โดยการออกบรรยายให้นักศึกษาประชาชนการออกรายการทีวี วิทยุ และเป็นคอลัมนิสต์ประจำหนังสือพิมพ์รายวัน ทั้งหมดที่กล่าวมา ทำให้เกิดประสบการณ์ทางด้านความคิดและการเคลื่อนไหวในเชิงคุณภาพ เพราะผ่านมาทั้งทฤษฎีและการปฏิบัติ และกลับมาสรุปบทเรียน ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม รวมทั้งการติดตามสถานการณ์ตลอด จึงพอเข้าใจระดับหนึ่ง ที่เป็นเหตุของการที่ระบอบประชาธิปไตย และการนำมาใช้ในการเลือกตั้งในสังคมไทย มีปัญหา เดินไปไม่ถึงเป้าหมาย เพื่อการแก้ทุกข์สร้างสุขอย่างเสมอภาคของประชาชนไทยประสบการณ์ความรู้ความคิดทีสะสมมาร่วมห้าสิบปี ที่จะนำมาวิเคราะห์ การเมืองและสภาพพรรคการเมืองไทย
l ประชาชนที่มีคุณภาพจะเลือกพรรคการเมืองของมวลมหาประชาชน ที่มีคุณภาพ ได้อย่างไร จากการสรุปบทเรียนที่เป็นหัวใจสำหรับระบบประชาธิปไตยจากการเลือกตั้ง ที่จะพัฒนาประชาธิปไตยได้จริง โดยการยอมรับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นมา 85 ปี ถึงความอ่อนแอของระบบพรรคการเมืองไทย ที่ยังไม่บรรลุเพราะเรามีแต่พรรคการเมืองเลือกตั้ง เพื่อตัวเอง แต่ยังไม่มีพรรคการเมืองของมวลมหาประชาชนที่มีคุณภาพ ซึ่งประชาชนที่มีคุณภาพ ที่ต้องการเปลี่ยนแปลงไปสู่ประชาธิปไตยที่แท้จริง จะต้องศึกษาทำความเข้าใจ
ซึ่งมีหลักการที่สำคัญ 10 ประการ ที่ควรได้รับการพิจารณาและการแก้ไข คือ
1.หลักการของความเป็นเจ้าของ
2.หลักการของการเคารพประเพณีวัฒนธรรมและสถาบันหลักที่มีคุณูปการต่อบ้านเมือง
3.หลักการของความจริง ความดีและการมีประโยชน์ ต่อประชาชนและประเทศชาติ
4.หลักการของความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพ
5.หลักการและความสัมพันธ์ของพรรค รัฐบาล และประชาชนประเทศชาติ
6.หลักการในเรื่องแนวทาง นโยบาย ยุทธศาสตร์ ยุทธวิธี จังหวะก้าวขั้นตอน ที่เป็นจริง
7.หลักการของธรรมนูญ ระเบียบข้อบังคับ
8.หลักการของวินัยและจรรยาบรรณของนักการเมืองและสมาชิกพรรค
9.หลักการการร่วมมือพัฒนาบ้านเมืองของสตรี เยาวชน ผู้สูงอายุ โดยการมีองค์กรสังกัด
10.หลักการโรงเรียนการเมือง ในการอบรมพัฒนาให้รู้แนวทาง นโยบาย และความเข้าใจการเมืองไทย
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี