รัฐเตรียมขึ้นทะเบียนสัตว์เลี้ยงหมา - แมว ตัวละ 450 บาท หากละเลยฝ่าฝืนปรับตัวละ 25,000 บาท กฎหมายอยู่ระหว่างดำเนินการ แต่ประชาชนคนตามข่าว ร้องเป็นเสียงเดียวกัน “แพงเกินไป”
ดีที่ยุคนี้คนนิยมการสื่อสารแบบดิจิทัล ทำให้ประชาชนทราบข่าวได้เร็ว และเกิดการคัดค้านในแนวคิดนี้อย่างกว้างขวาง ซึ่งช่วยได้มากกับสถานการณ์ “รัฐราชการ” ที่คนออกกฎหมายไม่ได้มีที่มาจากประชาชน
ความมีว่า คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไปพิจารณา และจัดทำร่างกฎหมายเพิ่มเนื้อหาให้มีการ“ขึ้นทะเบียนสัตว์เลี้ยง” ใน พ.ร.บ.ป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ.2557 โดยค่าใช้จ่ายรวม 450 บาทต่อ 1 ตัว ประกอบด้วยค่าคำร้องขอขึ้นทะเบียน 50 บาท, สมุดประจำตัวสัตว์เลี้ยง 100 บาท และเครื่องหมายประจำตัวสัตว์เลี้ยงตัวละ 300 บาท อีกทั้งมีโทษหากไม่ขึ้นทะเบียนสัตว์เลี้ยงถึง 25,000 บาทต่อตัว โดย ครม. อนุมัติหลักการไปแล้วเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2561 ที่ผ่านมา
งานนี้ถ้าลองเทียบกับข้อมูลจำนวนหมา - แมวที่มีเจ้าของ ที่กรมปศุสัตว์เคยสำรวจไว้เมื่อปี 2559 มีประมาณ 10 ล้านตัว ถ้าต้องจ่ายค่าลงทะเบียนสัตว์เลี้ยงทั้งหมด ก็จะหาเงินเข้ารัฐได้ถึง 4,500 ล้านบาท
โลกดิจิทัลกระจายข่าวนี้ไปเร็วมาก จนเกิดกระแสคัดค้าน จนทำให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ต้นเรื่อง ต้องส่งร่างกฎหมายกลับไปให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาช่วยขัดเกลามาใหม่อีกครั้ง เพราะหากเดินหน้าต่อไป คงมีปัญหาแน่
ปัญหาที่น่าคิด
1.ในทางปฏิบัติของส่วนราชการ ถ้าจะทำต้องพร้อม! องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ต้องเข้ามารับผิดชอบเรื่องนี้โดยตรง ไปถามความเห็นเค้ารึยังว่าพร้อมแค่ไหน เอาเฉพาะกทม.ก็ยังไม่เคยบอกชัดเจนถึงความพร้อมเลย
2.กฎหมายประกาศแล้วต้องบังคับใช้ได้จริง จับจริง ปรับจริงนะครับ หากเห็นแล้วไม่จับปรับ ข้าราชการโดนละเว้นปฏิบัติหน้าที่อีก
3.หากประชาชนที่เลี้ยงสัตว์ไว้เยอะๆ แต่ไม่มีเงินไปจ่ายทันทีจะทำอย่างไร เช่น สงเคราะห์เลี้ยงแมวไว้ 10 ตัว ต้องจ่ายค่าขึ้นทะเบียนตัวละ 450 บาท ก็โดน 4,500 บาท นะครับ หากไม่มีจ่ายโดนค่าปรับสูงถึง 25,000 บาทต่อตัว ก็เท่ากับ 250,000 บาทนะครับ แบบนี้เป็นนโยบายสนับสนุน “ให้ใจดำ ฆ่าทิ้ง ชัดชัด”
4.ผมเดาว่าถ้าคนที่ไม่มีเงินมาจ่าย คงจะไม่ฆ่าทิ้งแน่เพราะความผูกพัน แต่คงปล่อยทิ้งหมาแมวจำนวนมากในปีแรกที่กฎหมายบังคับใช้ เพราะไม่อยากมีภาระดูแล แล้วรัฐมีนโยบายอย่างไรกับหมาแมวจรจัดเหล่านั้น เวลาเจอตามทาง อยากให้ กทม. รับไปดูแลก็ยังไม่มารับเลย และสถานที่รับเลี้ยงสุนัขจรจัดของ กทม. ทั้งที่เขตประเวศ และ อ.ทัพทัน จ.อุทัยธานี ไม่มีความพร้อมรองรับหมาแมวจรจัดที่จะเพิ่มขึ้นอีกจำนวนมหาศาล จากการบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้
เขียนกฎหมายมันไม่ยากหรอกครับ แต่ต้องยืนอยู่บนหลักความเป็นจริงของสังคม ถ้าจะลงทะเบียนก็ต้อง “ฟรี” มาตรการต่างๆ ต้องปฏิบัติได้จริง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น - หน่วยงานอื่นๆ ที่รับผิดชอบต้องมีความพร้อม มีงบประมาณรองรับที่ชัดเจน เพราะถ้ามีกฎหมายออกมาแล้วก็ต้องบังคับใช้ให้ได้ และไม่สร้างภาระกับประชาชน หากกฎหมายอะไรที่ออกมาแล้วมีคนผิด “เกินกว่าครึ่ง” ถือเป็นกฎหมายที่ไม่ดี แถมจะเป็นเครื่องมือให้เจ้าหน้าที่ “ขูดรีด” ประชาชน ... ทบทวนให้ดีๆ นะครับ
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี