หวนไปมอง ความคิด การกระทำ ของผู้คนหลากหลายในสังคม เพื่อประเมินอนาคตหลังเลือกตั้ง
l เจี๊ยบ & โจ๊ก ลูกรัก
หัวใจหลักของการทำงาน หรือ การบริหารงาน ที่สำคัญ ประการหนึ่ง คือ “การสรุปและประเมินผลงานที่ผ่านไป” ซึ่งคนไม่น้อย ในส่วนที่ตั้งใจทำงาน ละเลยเรื่องสำคัญนี้เพราะอาจจะทำงานหนัก ผ่านปัญหาอุปสรรคมากมาย กว่าจะทำงานผ่านไปได้เสร็จหลังจากงานเสร็จ จึงอยากจะพักผ่อน หรือ เพียงแต่ได้ดูความสำเร็จ หรือ ความล้มเหลวอาจจะเพราะ ไม่เห็นความสำคัญ ไม่รู้ถึงคุณค่าและความหมายของ “การสรุปและประเมินผลงาน”การสรุปและประเมินผล ที่ต้องทำด้วยหลักของการเคารพความจริง และการซื่อสัตย์ต่อตนเองและองค์กรเรา จึงจะได้ “ความจริงออกมา” ทั้งด้านที่ดี ไม่ดี มีจุดแข็ง และจุดอ่อน ข้อบกพร่อง
แล้วนำมาสรุปว่า “ที่ดี เพราะอะไร” และ “ที่ไม่ดี หรือไม่สำเร็จ เพราะอะไร” แล้วเสริมข้อดี ปรับปรุงข้ออ่อน แก้ไขไปตลอด ในช่วงของการทำงานข้างหน้า และอย่าลืมว่า “ปัจจัยที่สำคัญ คือ สถานการณ์และสภาพของสังคม และเหตุการณ์ ฯลฯ เป็นตัวกำหนด “และเมื่อปัจจัยนี้ เปลี่ยนแปลงไป เราก็ต้องเข้าใจ และปรับการทำงาน ให้สอดคล้องกับปัจจัยใหม่ๆ ด้วย”
หลักการที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ “ความขัดแย้งที่ต่างกัน ต้องแก้ไข ด้วยวิธีการที่ต่างกันด้วย”
วิธีการ หรือหลักการเดิม ซึ่งใช้ไม่ได้ผล เราต้อง “คิดใหม่” และคิดนอกกรอบเดิมด้วย
l พ่อจะขอพูดถึง “การเลือกตั้ง วันที่ 24มีนาคม 2562” ที่ผ่านไป
1.ระบบรัฐสภา “จากการเลือกตั้งทั่วไป” ที่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำ ไม่เป็นธรรมในสังคมได้เพราะ “ตัวระบบการเลือกตั้ง” มัน คือ “ความเหลื่อมล้ำของสังคม” โดยคนส่วนน้อยได้เปรียบคนส่วนใหญ่ทั้งในเรื่อง “ทุนมหาศาล นักการเมืองในสังกัด นักวิชาการ มวลชน หัวคะแนน ข้าราชการในสังกัด” และที่สำคัญคือ “สื่อ” (ยิ่งมีความสำคัญมากขึ้นในสังคมปัจจุบัน)ที่มีการจัดการเป็นระบบกระบวนการรวมทั้งปัจจัยใหญ่ คือ “ความคิดและความเชื่อของระบอบประชาธิปไตยตะวันตกที่ครอบงำสังคมไทย” ผ่านพรรคการเมือง นักการเมือง หรือนักเลือกตั้ง นักวิชาการ ข้าราชการ และชาวบ้า รวมทั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญที่ยังมีความเห็นแตกต่างกัน ระหว่าง “ความคิดใหม่และเก่า”อีกทั้ง “การแทรกแซงทางความคิดทางการเมืองและเศรษฐกิจ” จากโลกประชาธิปไตยต่างประเทศที่ไม่เข้าใจ และไม่เคารพ “หลักการประชาธิปไตยของไทยที่ต้องดำเนินการตามสภาพสังคมไทย”
2.แม้การเลือกตั้งครั้งนี้ เป็นครั้งประวัติศาสตร์ จากการมีรัฐธรรมนูญ ฉบับลงประชามติ 2560 ที่ทำให้สิทธิของชาวบ้านทุกคน ที่ได้ไปใช้สิทธิ มีคุณค่าความหมาย (ไม่เป็นคะแนนตกน้ำ) ทำให้พรรคการเมืองเก่าใหญ่ ลดความได้เปรียบลง และเปิดโอกาสให้พรรคการเมืองของประชาชนเกิดขึ้นมีกฎเกณฑ์ กติกา และกลไกใหม่ๆ ที่เอื้อต่อการขจัดระบบการเมืองเก่าที่ใช้กลไกความคิดและวิธีเก่าแต่ก็ยังมีปัญหาใหญ่ หลายประการ คือ
1) ขาดยึดหลักกติกาสูงสุดของบ้านเมือง (รธน.) และกฎหมายเกี่ยวกับการเลือกตั้ง อย่างเคร่งครัดหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น กกต. ฯลฯ ยังไม่สามารถนำมาบังคับพรรคการเมืองได้เต็มที่ พรรคการเมืองผู้สมัครฯ ยังรณรงค์ผ่านการโฆษณาเวทีต่างๆ ที่สื่อ สถาบัน หน่วยงานฯ จัดขึ้นล้วนเป็นสิ่งที่ขัดและไม่เป็นไปตามกติกาใหม่ของรัฐธรรมนูญ เช่น การไม่ยอมรับ และกล่าวหา “เรื่อง สว.” นายฯกคนนอกที่ถูกพรรคการเมืองเสนอชื่อ ฯลฯ ซึ่งถูกกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ และบทเฉพาะกาล
2) กระแส และกรอบความคิดเก่า ยังครอบงำสังคม นักวิชาการ มวลชนเคลื่อนไหวอ้างประชาธิปไตย สื่อ (รวมทั้งนักเลือกตั้ง) ยังอ้างวาทกรรม “ตัวเองเป็นประชาธิปไตย” และ “รัฐบาลลุงตู่และพรรคสนับสนุน เป็นเผด็จการ” ซึ่งการใช้ “ทุนมหาศาล”จัดจ้างฯ สื่อในและนอก ที่รณรงค์อย่างต่อเนื่อง เหนือกว่า “ฝ่ายรัฐบาล” ทำให้ชาวบ้านชาวเมืองสับสน และส่วนไม่น้อย กลับไปเชื่อไปยอมรับ “วาทกรรมที่ผิดเหล่านี้”
3.การไม่เคารพ และไม่ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ และกฎหมายเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งโดย พรรคการเมืองเก่าและใหม่ ที่มีขนาดใหญ่ ที่ทุนมหาศาล มีการใช้เงินเกิน ทั้งๆ มีข้อกำหนดเช่น ค่าใช้จ่ายพรรค ไม่เกิน 35 ล้าน, ค่าใช้จ่าย สส. 1.5 ล้าน/คน เพราะค่าโฆษณาหาเสียง บางพรรคใช้ไปร่วม 1,000 ล้าน, การจ่ายให้ สส.ตัวเก็ง หลายสิบล้าน/คน และไม่แถลงแจ้ง ที่มาของรายได้ที่เป็นพันล้านเหล่านี้ ได้มาอย่างไร
4.ความไม่พร้อมของพรรคการเมืองและนักการเมืองส่วนใหญ่ เพราะขาดการศึกษาทำความเข้าใจและการปรับตัว ให้ถูกต้องสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญใหม่ และกฎเกณฑ์ และปัจจัยที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้ “นักการเมืองเก่า หรือนักการเมืองใหม่” ไม่ได้ใช้โอกาส ในการปรับตัวให้รับใช้ประชาชน และสำหรับพรรคการเมืองเก่าใหม่ ส่วนใหญ่ยังคงดำรงการเป็นพรรคการเมืองของชนชั้นนำแต่ก็มีบางพรรค ที่ได้มีการสรุปบทเรียน มีประวัติการต่อสู้ ที่ต้องการแก้ไขวิกฤติของประเทศอย่างแท้จริงได้ “ลงทุนศึกษา และพัฒนาการสร้างพรรคของประชาชน ที่สมาชิก เป็นเจ้าของมีอุดมการณ์ นโยบายมีที่ประชุม
สมัชชาใหญ่ ที่สมาชิกเลือกกรรมการบริหารและหัวหน้าพรรคกรรมการวินัยจรรยาบรรณมีโรงเรียนการเมือง มีคณะทำงานเยาวชนและสตรี ฯลฯ เช่น พรรครวมพลังประชาชาติไทย ที่จะเป็นแบบอย่าง ให้เกิดการพัฒนาของพรรคการเมืองของประชาชนมากขึ้นต่อไป
5.เรื่อง GOOGLE TRENDS การใช้ให้ได้ผลดี ต้องมีปัจจัยหลักของสังคม อย่างน้อย 2 ประการ คือโครงสร้างและระบบของสังคมเป็นธรรม และประชาชน มีคุณภาพ สังคมไทยมีคนใช้ “การบริหารจัดการทางสื่อ โฆษณา อย่างเป็นระบบ ทำต่อเนื่อง ไม่หยุด” จึงมีผลมากแต่ต้องมีการจัดการอย่างอื่นๆ อีก เช่น มวลชน ข้าราชการ นักวิชาการ นักการเมือง หัวคะแนน และ “ทุน”
6. การเลือก พรรคใด เลือกใคร เรายึด หลักอะไร ยังมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ คือ
1) ยึดผลประโยชน์ของประชาชน และบ้านเมือง รัฐธรรมนูญ ฉบับลงประชามติ 2560เป็นหลัก
2) ยึดผลประโยชน์เฉพาะหน้า ตัวบุคคล การขาดข้อมูลที่ถูกต้อง ฯลฯ ซึ่งควรจะได้มีการแก้ไข ปรับปรุงต่อไป สำหรับผู้ที่รักชาติรักประชาธิปไตย ต้องการนำบ้านเมืองให้พ้นทุกข์มีสุข
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี