กลุ่มผลประโยชน์กับกลุ่มอิทธิพลมีความหมายที่ใช้ปะปนกันอย่างไรก็ดีนักรัฐศาสตร์ได้ให้คำจำกัดความไว้ว่า กลุ่มอิทธิพลเป็นการรวมกลุ่มของผู้มีผลประโยชน์อย่างเดียวกันเพื่อแสวงหาอิทธิพล กลุ่มอิทธิพลนั้นจะเข้มแข็งและมีประสิทธิภาพก็ต่อเมื่อมีวัตถุประสงค์ที่แน่ชัดและเป็นแนวเดียวกัน ซึ่งตรงกันข้ามกับพรรคการเมืองที่เป็นการรวมกลุ่มต่างๆ ที่มีความเห็นไม่เหมือนกับที่เดียวกันเข้าด้วยกัน แต่รวมกันเพื่อแสวงหาอำนาจทางการเมืองโดยวางนโยบายในการทำกิจกรรมทางการเมืองและเมื่อมีอำนาจทางการเมืองก็นำนโยบายของพรรคมาใช้ในการบริหารกิจการทางการเมือง
สรุปรวมความว่า กลุ่มผลประโยชน์หรือกลุ่มอิทธิพลต่อสู้ป้องกันผลประโยชน์ของกลุ่มโดยใช้อิทธิพลทางอ้อมต่อศูนย์กลางแห่งอำนาจมากกว่าที่ต้องการมีอำนาจโดยตรง แต่พรรคการเมืองพยายามที่จะเข้าไปมีอำนาจไม่ว่าจะโดยวิธีการเลือกตั้ง หรือโดยวิธีรุนแรง เช่น กระทำการปฏิวัติรัฐประหาร
1.ลักษณะขององค์กรกลุ่มผลประโยชน์อาจแบ่งได้อย่างกว้างๆ 4 ประการ คือ
1.1 กลุ่มที่มีสมาชิกน้อย แต่มีเงินใช้ดำเนินการมาก ได้แก่ สมาคมนายจ้าง
1.2 มีเงินน้อยแต่มีสมาชิกมาก เช่น กลุ่มลูกจ้างชั้นผู้บริหารระดับกลาง
1.3 มีเงินมากพอสมควรและมีสมาชิกมากพอสมควร เช่น สมาคมข้าราชการ และกลุ่มลูกจ้างชั้นผู้บริหารระดับสูง
1.4 มีเงินไม่มากแต่มีสมาชิกจำนวนมาก ได้แก่ สมาคมลูกจ้าง
2.เป้าหมายของกลุ่มผลประโยชน์ คือ พยายามที่จะมีอิทธิพลต่อนโยบายสาธารณะที่พอจะรวบรวมได้ 5 ประการ คือ
2.1 พยายามให้มติมหาชนสนับสนุนโครงการของตน
2.2 พยายามมีอิทธิพลสนับสนุนผู้สมัครรับเลือกตั้งที่มีนโยบายที่กลุ่มตนสนับสนุน
2.3 พยายามหาวิธีที่จะทำให้กลุ่มของตนมีส่วนสำคัญในการวางนโยบายของพรรคการเมืองใหญ่ๆ
2.4 พยายามทำให้สภาผู้แทนราษฎรเห็นว่ากลุ่มของตนมีความสำคัญ
3.อำนาจของกลุ่มผลประโยชน์
โดยทั่วไปแล้วผู้นำของกลุ่มผลประโยชน์มักจะกล่าวอ้างอำนาจของกลุ่มเกินความเป็นจริง เพื่อเรียกร้องให้นักการเมืองและประชาชนสนใจและเห็นด้วยกับความเห็นของกลุ่มตนโดยหวังว่าจะทำให้กลุ่มตนมีอิทธิพลมากขึ้น ทั้งนี้ จุดประสงค์มิได้สร้างอิทธิพลเพื่อประโยชน์ของกลุ่มแต่หวังผลที่จะให้เกิดแก่สังคมทั้งมวล
4.ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มผลประโยชน์กับพรรคการเมือง
โดยทั่วไปแล้วกลุ่มผลประโยชน์ที่มีรากฐานสำคัญของพรรคการเมือง คือ กลุ่มผู้ประกอบการกับกลุ่มผู้ใช้แรงงานโดยเฉพาะกลุ่มลูกจ้าง กล่าวคือ พรรคการเมืองที่มีความเกี่ยวพันกับผู้ประกอบการ ได้แก่ พรรคการเมืองที่มีแนวทางอนุรักษ์นิยม ส่วนกลุ่มผู้ใช้แรงงานก็จะสนับสนุนพรรคการเมืองที่มีนโยบายสนับสนุนผู้ใช้แรงงาน
สรุปรวมความว่า กลุ่มผลประโยชน์หรือกลุ่มอิทธิพลในประเทศมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยนั้น การแสดงออกของกลุ่มเป็นไปเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของสังคมมิใช่เพื่อผลประโยชน์ของตน ซึ่งส่งผลไปถึงพรรคการเมืองเช่นกัน การแสดงออกดังกล่าวนี้จะไม่เกิดขึ้นในสังคมการเมืองในระบอบอื่นโดยเฉพาะในสังคมที่มีการปกครองไม่ใช่ระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริงหรือระบอบประชาธิปไตย “ฟันปลอม” ตามความหมายที่หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช อดีตนายกรัฐมนตรีได้ให้ความหมายถึงระบอบเผด็จการในคราบประชาธิปไตย ดังนั้น กลุ่มผลประโยชน์หรือกลุ่มพลังเป็นรากฐานสำคัญของพรรคการเมืองในสังคมระบอบประชาธิปไตย
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี