หมายเหตุ บก.
ศาสตราจารย์ ดร.โกศล เพ็ชร์สุวรรณ์ อดีตอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าลาดกระบัง อดีตประธานสมาพันธ์เทคโนโลยีสารสนเทศแห่งประเทศไทย ส่งข่าวดีมาให้แก่คนไทยได้ทราบว่า กลุ่มโรงเรียน วิทยาศาสตร์จุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย (กลุ่ม รร. จภ.) ได้รับการประเมินผลแบบ OECD อยู่ในอันดับต้นๆ ของโลก สูงกว่า สิงคโปร์ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ เอสโตเนีย ฟินแลนด์ แคนาดา ฯลฯ
จึงเป็นที่คาดหมายได้ว่า หากขยายวิธีการที่ใช้อยู่กับกลุ่ม รร. จภ. ไปยังโรงเรียน สพฐ. ทั้งประเทศได้ ประเทศไทยก็จะสามารถอยู่ในแนวหน้าของการศึกษา STEM (Science, Technology, Engineering, Mathematics) อันเป็นอนาคตของชาติที่เจริญแล้วได้ ในยุค 4.0
ขอฝากข้อคิดไว้กับ รมว. และ รมช. กระทรวงศึกษาธิการด้วย
----------------
การเรียนการสอนของกลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย (กลุ่ม รร. จภ.) ได้รับการประเมินคุณภาพการศึกษาด้วยตัวชี้วัด PISA หรือ Program for International Student Assessment ที่จัดขึ้นโดยกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ที่เรียกว่า OECD มีผลคะแนนเฉลี่ยอยู่ในอันดับต้นๆ ของโลก
ตารางที่ 1 แสดงผลคะแนนเฉลี่ยของการประเมิน PISA 2018 เมื่อเดือนสิงหาคม 2561 ตามตัวชี้วัด 3 ด้านของ OECD คือ ด้านความรู้การใช้คณิตศาสตร์ในปัญหาของชีวิตจริง
(Mathematical literacy) ด้านความรู้การใช้วิทยาศาสตร์ในปัญหาของชีวิตจริง (Scientific literacy) และด้านการอ่าน
รู้เรื่องข่าวสารในชีวิตจริง (Reading literacy)
ตารางที่ 1 เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ย PISA 2018 ของกลุ่มโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยกับประเทศต่างๆ
การใช้คณิตศาสตร์ การใช้วิทยาศาสตร์ การอ่านรู้เรื่อง
(Mathematical (Scientific (Reading
literacy) literacy) literacy)
กลุ่มรร.จภ. 595 579 535
รวมทุกประเทศ 489 489 487
ประเทศไทย 419 426 393
การใช้คณิตศาสตร์ การใช้วิทยาศาสตร์ การอ่านรู้เรื่อง
(Mathematical literacy) (Scientific literacy) (Reading literacy)
กลุ่ม รร. จภ. 595 1.จีน (4 มณฑล) 590 1.จีน (4 มณฑล) 555
1.จีน (4 มณฑล) 591 กลุ่ม รร. จภ. 577 2.สิงคโปร์ 549
2.สิงคโปร์ 569 2.สิงคโปร์ 551 กลุ่ม รร.จภ. 535
3.มาเก๊า (จีน) 558 3.มาเก๊า (จีน) 544 3.มาเก๊า (จีน) 525
4.ฮ่องกง (จีน) 551 4.เอสโตเนีย 530 4.ฮ่องกง (จีน) 524
5.จีนไทเป 531 5.ญี่ปุ่น 529 5.เอสโตเนีย 523
6.ญี่ปุ่น 527 6.ฟินแลนด์ 522 6.ฟินแลนด์ 520
7.เกาหลีใต้ 526 7.เกาหลีใต้ 519 7.แคนาดา 520
8.เอสโตเนีย 523 8.แคนาดา 518 8.ไอร์แลนด์ 518
9.โปแลนด์ 516 9.ฮ่องกง (จีน) 517 9.โปแลนด์ 512
66.ไทย 419 66.ไทย 426 66.ไทย 393
กลุ่ม รร. จภ. ได้รับการประเมินคุณภาพการศึกษาด้วยตัวชี้วัด PISA มาแล้ว 3 ครั้ง คือ PISA 2012, PISA 2015 และ PISA 2018 ในเดือนสิงหาคม 2555 เดือนสิงหาคม 2558 และเดือนสิงหาคม 2561 ตามลำดับ และมีคะแนนเฉลี่ยสูงขึ้นมากกว่าคะแนนเฉลี่ยรวมของทุกประเทศ มากขึ้นทุกครั้ง ดังแสดงในตารางที่ 2
ตารางที่ 2 ผลการประเมินกลุ่ม รร. จภ. ใน PISA 2012,
PISA 2015 และ PISA 2018
การใช้คณิตศาสตร์ การใช้วิทยาศาสตร์ การอ่านรู้เรื่อง
(Mathematical (Scientific (Reading
literacy) literacy) literacy)
PISA 2018
กลุ่ม รร. จภ. คะแนนเฉลี่ย 595 577 535
รวมทุกประเทศ คะแนนเฉลี่ย 489 489 487
กลุ่ม รร. จภ. มีคะแนนสูงกว่า 106 88 48
PISA 2015
กลุ่ม รร. จภ. คะแนนเฉลี่ย 551 562 533
รวมทุกประเทศ คะแนนเฉลี่ย 490 493 493
กลุ่ม รร. จภ. มีคะแนนสูงกว่า 61 6* 40
PISA 2012
กลุ่ม รร. จภ. คะแนนเฉลี่ย 570 565 554
รวมทุกประเทศ คะแนนเฉลี่ย 494 501 496
กลุ่ม รร. จภ. มีคะแนนสูงกว่า 76 64 58
ครูของกลุ่ม รร. จภ. ได้จัดการเรียนการสอนให้นักเรียนคุ้นเคยกับการตอบปัญหาแบบอัตนัย ด้วยการใช้ความรู้ในการให้เหตุผลของคำตอบ และได้จัดให้นักเรียนฝึกฝนทำความคุ้นเคยและมีประสบการณ์ในข้อสอบเก่าๆ ของ PISA จึงได้ทำให้ กลุ่ม รร. จภ. ได้รับคะแนนเฉลี่ยของการประเมิน PISA ออกมาดี และสูงขึ้นตามลำดับ
ประสบการณ์ของนักเรียนจากการตอบปัญหาแบบอัตนัย ได้ทำให้นักเรียนของ กลุ่ม รร. จภ. สามารถสอบ O-Net ที่มีคำถามส่วนใหญ่เป็นแบบปรนัย ได้คะแนนสูง ดังผลการสอบ O-Net ในปีการศึกษา 2561 ของมัธยมปีที่ 3 ในตารางที่ 3 และของมัธยมปีที่ 6 ใน ตารางที่ 4
ตารางที่ 3 โรงเรียน สพฐ. ที่มีคะแนนเฉลี่ย O-Net สูง 10 อันดับแรก (Top10) ของมัธยมปีที่ 3
ในวิชาคณิตศาสตร์/วิชาวิทยาศาสตร์/วิชาภาษาอังกฤษปีการศึกษา 2561
ลำดับที่ วิชาคณิตศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์ วิชาภาษาอังกฤษ
1 จุฬาภรณฯ ชลบุรี จุฬาภรณฯ นครศรีฯ สามเสนวิทยาลัย
2 จุฬาภรณฯ นครศรีธรรมราช จุฬาภรณฯ ตรัง สตรีวิทยา
3 จุฬาภรณฯ ตรัง จุฬาภรณฯ ชลบุรี สวนกุหลาบวิทยาลัย
4 จุฬาภรณฯ ปทุมธานี จุฬาภรณฯ ปทุมธานี จุฬาภรณฯ ตรัง
5 จุฬาภรณฯ เพชรบุรี จุฬาภรณฯ พิษณุโลก จุฬาภรณฯ ชลบุรี
6 จุฬาภรณฯ พิษณุโลก จุฬาภรณฯ เชียงราย จุฬาภรณฯ ปทุมธานี
7 จุฬาภรณฯ มุกดาหาร จุฬาภรณฯ เพชรบุรี บดินทรเดชา
8 จุฬาภรณฯ บุรีรัมย์ จุฬาภรณฯ มุกดาหาร จุฬาภรณฯ พิษณุโลก
9 จุฬาภรณฯ เชียงราย จุฬาภรณฯ บุรีรัมย์ หอวัง
10 จุฬาภรณฯ เลย สามเสนวิทยา จุฬาภรณฯ มุกดาหาร
ตารางที่ 4 โรงเรียน สพฐ. ที่มีคะแนนเฉลี่ย O-Net สูง 10 อันดับแรก (Top10) ของมัธยมปีที่ 6
ในวิชาคณิตศาสตร์/วิชาวิทยาศาสตร์/วิชาภาษาอังกฤษปีการศึกษา 2561
ลำดับที่ วิชาคณิตศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์ วิชาภาษาอังกฤษ
1 จุฬาภรณฯ ตรัง เตรียมอุดมศึกษา เตรียมอุดมศึกษา
2 จุฬาภรณฯ ชลบุรี จุฬาภรณฯ ตรัง สามเสนวิทยาลัย
3 เตรียมอุดมศึกษา จุฬาภรณฯ ชลบุรี สตรีวิทยา
4 จุฬาภรณฯ ปทุมธานี จุฬาภรณฯ มุกดาหาร มัธยมวัดนายโรง
5 จุฬาภรณฯ มุกดาหาร จุฬาภรณฯ ปทุมธานี จุฬาภรณฯ ตรัง
6 สตรีวิทยา จุฬาภรณฯ พิษณุโลก สวนกุหลาบวิทยาลัย
7 จุฬาภรณฯ นครศรีธรรมราช สตรีวิทยา เตรียมอุดมฯพัฒนาการ
8 จุฬาภรณฯ เพชรบุรี จุฬาภรณฯ นครศรีธรรมราช จุฬาภรณฯ ชลบุรี
9 สวนกุหลาบวิทยาลัย จุฬาภรณฯ บุรีรัมย์ หอวัง
10 สามเสนวิทยาลัย สามเสนวิทยาลัย จุฬาภรณฯ ปทุมธานี
ตารางที่ 5 โรงเรียน สพฐ. ที่มีคะแนนเฉลี่ย O-Net รวมสูง 10 อันดับแรก (Top10) ของมัธยมศึกษาปีที่ 6
รวมทั้งหมด 5 วิชา คือ ภาษาไทย/คณิตศาสตร์/วิทยาศาสตร์/สังคมศึกษา/ภาษาอังกฤษ ปีการศึกษา 2561
ลำดับที่ โรงเรียน จังหวัด คะแนนเฉลี่ย
1 เตรียมอุดมศึกษา กรุงเทพฯ 360.85
2 จุฬาภรณฯ ตรัง ตรัง 332.55
3 จุฬาภรณฯ ชลบุรี ชลบุรี 322.68
4 สตรีวิทยา กรุงเทพฯ 308.47
5 จุฬาภรณฯ ปทุมธานี ปทุมธานี 306.39
6 สามเสนวิทยาลัย กรุงเทพฯ 304.16
7 จุฬาภรณฯ มุกดาหาร มุกดาหาร 302.06
8 จุฬาภรณฯ พิษณุโลก พิษณุโลก 293.18
9 สวนกุหลาบวิทยาลัย กรุงเทพฯ 290.01
10 จุฬาภรณฯ นครศรีธรรมราช นครศรีธรรมราช 288.43
ในปีการศึกษา 2561 มีข้อสังเกตว่า ใน 10 อันดับแรก ของผลการสอบ O-Net ของมัธยมปีที่ 6 ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เป็นโรงเรียนในกรุงเทพมหานคร เพียง 4 แห่ง คือ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา โรงเรียนสตรีวิทยา โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย และโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เป็นโรงเรียนในต่างจังหวัด 6 แห่ง ซึ่งล้วนเป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย คือ รร. จภ. ตรัง รร. จภ.มุกดาหาร รร. จภ.นครศรีธรรมราช รร. จภ. พิษณุโลก รร. จภ. ชลบุรีและรร. จภ.ปทุมธานี
สามารถกล่าวได้ว่า กลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ที่ส่วนใหญ่อยู่ในท้องที่ห่างไกลจากชุมชนในต่างจังหวัด และมีข้าราชกาครูสังกัด สพฐ. เหมือนโรงเรียนทั่วไป มีคุณภาพการศึกษาอยู่ในระดับต้นๆ ของประเทศ ได้มีส่วนในการกระจายการศึกษาที่มีคุณภาพไปสู่พื้นที่ห่างไกล ทำให้มีส่วนในการนำร่องลดช่องว่าง “ความเหลื่อมล้ำ” ของประเทศ
กลุ่ม รร. จภ. ในระดับมัธยมต้น รับนักเรียนผ่านการสอบแข่งขันที่จัดโดยสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) และในระดับมัธยมปลาย รับนักเรียนผ่านการสอบคัดเลือกร่วมกับโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) และแต่ละ รร. จภ. สามารถรับนักเรียนจากจังหวัดใกล้เคียงเท่านั้น จึงสามารถกล่าวได้ว่า กลุ่ม รร. จภ. รับนักเรียนเข้าเรียนได้ด้วยความโปร่งใส และได้ทำให้นักเรียนในจังหวัดต่างๆ ที่ผู้ปกครองส่วนใหญ่มีฐานะทางเศรษฐกิจอยู่ในกลุ่มปานกลางถึงค่อนข้างยากจน ได้มีโอกาสเข้าเรียนอย่างทัดเทียมกัน
ถึงแม้ว่า กลุ่ม รร. จภ. จะรับนักเรียนผู้มีความสามารถพิเศษด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์เข้าเรียน แต่กลุ่มรร. จภ. 12 แห่ง สามารถรับนักเรียนกลุ่มดังกล่าวได้จำนวนเพียง7-8 เปอร์เซ็นต์ ของนักเรียนผู้มีความสามารถพิเศษด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์เท่านั้น นอกจากนี้ยังมีนักเรียนผู้มีความสามารถพิเศษด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์อีกจำนวนมากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ ที่กระจายอยู่ในโรงเรียนต่างๆทั่วประเทศ ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นการปฏิบัติจริง (Hands-on) การฝึกกระบวนการคิดขั้นสูงและการวัดผลด้วยการประเมินที่เน้นแบบอัตนัย จึงทำให้นักเรียนของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยสามารถพัฒนาได้อย่างเต็มศักยภาพ
กลุ่ม รร. จภ. เป็นโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาของ สพฐ. ที่ได้รับงบประมาณประจำปี เป็นปกติเหมือนโรงเรียนสังกัด สพฐ. ทั่วไป เพียงแต่ได้รับเงินงบประมาณหมวดอุดหนุน เพื่อดำเนินใน 2 ด้าน ที่เป็นพิเศษกว่าโรงเรียนปกติทั่วไปของ สพฐ. คือ งบประมาณหมวดอุดหนุนส่วนที่หนึ่ง สำหรับการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรโรงเรียนวิทยาศาสตร์ เพื่อให้นักเรียนที่จบ ไปศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้ได้ผลการเรียนที่ดีมากในระดับปริญญาตรี จนได้รับทุนการศึกษาต่อในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก มาเป็นนักวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในภาคอุตสาหกรรม และนักนวัตกรรม เพื่อให้มีมูลค่าสูงขึ้น (Added value) ตามความต้องการของการพัฒนาประเทศไปสู่ความเป็นประเทศพัฒนาแล้ว (เป็นสมาชิกของ OECD) งบประมาณหมวดอุดหนุนส่วนที่สอง สำหรับการบริหารจัดการหอพัก ด้วย รร. จภ. เป็นโรงเรียนประจำที่เปิดโอกาสให้นักเรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ในจังหวัดต่างๆ มีโอกาสเข้าเรียน ในกลุ่ม รร. จภ.อย่างทัดเทียมกัน
โดย ศาสตราจารย์ ดร.โกศล เพ็ชร์สุวรรณ์
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี