วันและเวลาผ่านไปเร็วแค่พักเดียว การนองเลือดในประเทศไทยเมื่อเดือนพ.ค. 2553 ในวันที่ 10 เม.ย.ถึงวันที่ 19 พ.ค.ได้ถูกกลุ่มการเมืองที่ไม่หวังดีต่อชาตินำมาปลุกระดมอีกครั้งเมื่อครบหนึ่งทศวรรษในวันที่ 19 พ.ค. 2563 นี้ ครบวาระที่ถูกบันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์ที่ไม่น่าจดจำจนนำไปสู่การจับอาวุธเข้าเข่นฆ่ากันเองระหว่างคนไทยที่มีนายใหญ่เป็นนักการเมืองซึ่งฝ่ายหนึ่งก็คือประชาชนที่ต่อต้านระบอบการเมืองของนายทักษิณ ชินวัตร กับอีกฝ่ายคือประชาชนที่สนับสนุนระบอบทักษิณผู้ต้องหาหนีคดีอาญาในข้อหาทุจริตหลายคดีโดยอ้างว่าทักษิณไม่ผิดแต่กลับไม่ยอมเดินทางมาต่อสู้คดีในชั้นศาล
คณะรัฐบาลที่บริหารประเทศอยู่ในวันที่ 17 ธันวาคม2551 ถึงวันที่ 5 สิงหาคม 2554 ได้แก่ รัฐบาลผสมของนายกรัฐมนตรีหนุ่มที่ชื่อ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เมื่อเข้ามาบริหารประเทศ นายอภิสิทธิ์ก็ถูกขบวนการ นปช.ซึ่งเป็นที่ทราบว่าเป็นขบวนการที่สนับสนุนระบอบทักษิณในปี 2552 ถึง 2553 นั้นรัฐบาลถูกการเมืองฝ่ายทักษิณต่อต้านมีการชุมนุมทางการเมืองตลอดปี 2552 โดยขบวนการ นปช.ได้ประท้วงการประชุมสุดยอดของประชาคมอาเซียนที่เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี มาจนถึงการชุมนุมในกรุงเทพมหานคร
ปี 2553 ขบวนการ นปช.เคลื่อนไหวเพื่อขับไล่รัฐบาลอภิสิทธิ์ตั้งแต่เดือนเมษายน 2553 จนเกิดการสลายการชุมนุมที่สี่แยกราชประสงค์เป็นเหตุการณ์ในวันที่ 7 ถึงวันที่ 19 พฤษภาคม ซึ่งรัฐบาลได้ส่งทหารและรถหุ้มเกราะเข้าปิดล้อมพื้นที่การชุมนุมของสมุนคนโกงที่ใช้ชื่อว่าแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติที่สี่แยกราชประสงค์ระหว่างการชุมนุมเรียกร้องให้นายอภิสิทธิ์ยุบสภาและจัดเลือกตั้งใหม่ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตตั้งแต่วันที่ 10เมษายน รวม 99 ศพ และมีผู้ได้รับบาดเจ็บอีก 1,855 คน
เหตุนองเลือดในการต่อสู้ทางการเมืองเคยเกิดในเวลา 88 ปี หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่24 มิ.ย. 2475 เริ่มครั้งแรกวันที่ 11-20ต.ค. 2476 เป็นการต่อสู้ด้วยอาวุธที่เรียกว่าการกบฏบวรเดชระหว่างทหาร 2 ฝ่าย ฝ่ายแรก คือ ทหารรัฐบาลพลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนาที่เรียกว่าคณะราษฎรกับทหารฝ่ายของพลเอกพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดชที่เป็นฝ่ายผู้จงรักภักดีต่อสถาบัน การปะทะครั้งนั้นฝ่ายกบฏไม่ใช้เครื่องบินรบจากกรมอากาศยานทหารบกที่ดอนเมืองเผด็จศึกจึงตกเป็นฝ่ายแพ้อำนาจการยิงของปืนใหญ่สนาม 75 มิลลิเมตร ของทหารคณะราษฎรที่ทันสมัยกว่าปืนใหญ่ของฝ่ายกบฏ
จากนั้นการต่อสู้เพื่อชิงอำนาจทางการเมืองก็เกิดขึ้นเป็นสิบๆ ครั้ง ได้แก่ การกบฏนายสิบวันที่ 3 ส.ค. 2478, การกบฏ 18 ศพของพันเอกพระยาทรงสุรเดช 29 ม.ค. 2482, การรัฐประหาร 8 พ.ย. 2490, กบฏวังหลวงในวันที่ 26 ก.พ. 2492, รัฐประหาร 6 เม.ย. 2491,รัฐประหาร 29 เม.ย. 2494, กบฏแมนฮัตตัน29 มิ.ย. 2494, รัฐประหาร 16 ก.ย. 2500, รัฐประหารวันที่ 20 ต.ค. 2501, รัฐประหาร 17 พ.ย. 2514,เหตุการณ์ 14 ต.ค. 2516, เหตุการณ์ 6 ต.ค. 2519,รัฐประหาร 6 ต.ค. 2519, กบฏพลเอกฉลาดวันที่ 26 มี.ค. 2520, รัฐประหาร 20 ต.ค. 2520, กบฏยังเติร์ก 1-3 เม.ย. 2524, กบฏทหารนอกราชการ 9 ก.ย. 2528, รัฐประหาร 23 ก.พ. 2534, เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ วันที่ 17-24 พ.ค. 2535, รัฐประหาร 19 ก.ย. 2549, เหตุจลาจลวันที่ 11-24 เม.ย. 2552, การนองเลือดวันที่ 10 เ.ม.ย. ถึง 19 พ.ค. 2553 และรัฐประหารวันที่ 22 พ.ค. 2557
เย็นวันที่ 13 พ.ค. 2553 พล.ต.ขัตติยะสวัสดิผล ที่ปรึกษาฝ่ายรักษาความปลอดภัยของกลุ่มชุมนุม ถูกพลแม่นปืนยิงที่ศีรษะระหว่างสัมภาษณ์สำนักข่าวต่างประเทศรัฐบาลได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินใน 17 จังหวัดทั่วประเทศ ข้อเท็จจริงนั้นการชุมนุมครั้งนั้นฝ่ายนปช.,มีกองกำลังติดอาวุธระดับกองร้อยชุดรบจากอดีตทหารหลักและอาสาสมัครทหารพรานในคราบชายฉกรรจ์ชุดดำ
การปะทะระหว่างทหารกับนักรบชุดดำจึงเกิดขึ้นตั้งแต่เดือนเม.ย.ถึงวันที่ 19 พ.ค. 2553 เป็นสงครามกลางเมืองอย่างแท้จริงไม่ใช่ทหารส่งกำลังกวาดล้างประชาชนผู้บริสุทธิ์อย่างที่อ้างหลอกลวงชาวโลกแถมยังจบด้วยการเผาเมืองปิดท้ายผลของสงครามจบลงโดย นปช.ต้องยอมรับกับความพ่ายแพ้ทางยุทธศาสตร์และยุทธวิธีแบบราบคาบ
ผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์มีทั้งหมด 99 ศพ เป็นทหาร 8 คน, ตำรวจ 6 คน, ประชาชนกับนักรบชุดดำ 85 คน ในจำนวนนี้เป็นชาวต่างประเทศ 3 คน เป็นเมียนมา, อิตาลี และญี่ปุ่น ชาติละ 1 คน ทหารชั้นผู้ใหญ่ที่เสียชีวิตได้แก่ พลเอกร่มเกล้า ธุวธรรม และพลตรีขัตติยะ สวัสดิผล มีผู้ที่บาดเจ็บรวม 1,855 คน มีการรวบรวมสถิติเป็นหลักฐานว่ามีการใช้กระสุนปืนในการปะทะ 117,923 นัด กระสุนซุ่มยิง 2,120 นัด งบประมาณที่ทหารใช้3,000 ล้านบาท งบประมาณของตำรวจ 700 ล้านบาท ใช้ทหารปฏิบัติการ 67,000 คน กับตำรวจ 25,000 คน มีผู้ถูกจับกุมในคดี 1,857 คนมีคดีทั้งหมด 1,763 คดี จากศาล 56 แห่ง
ผลคดีอาญาหลังการตัดสินของศาลยุติธรรมระบุชัดเจนว่านายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะนายกรัฐมนตรี และนายสุเทพ เทือกสุบรรณรองนายกรัฐมนตรีไม่มีความผิด การที่มีกลุ่มคนพยายามจะหาทางเอาผิดข้าราชการทหารและตำรวจอีกจึงเป็นเรื่องไร้สาระและเป็นการสร้างความแตกแยกในหมู่ประชาชนอีกครั้งเท่านั้นขออย่าได้ขุดเอาศพคนตายมาหากินอีกเลยพอได้แล้ว
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี