ผมจดจ่อติดตามเหตุการณ์ม็อบราษฎรปลดแอกที่จะประท้วงหน้าสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ซึ่งย้ายไปประท้วงหน้าธนาคารไทยพาณิชย์แล้ว จะเป็นการจาบจ้วงหรือไม่
ผู้ประท้วงไม่หยุดทั้งๆ ที่รัฐสภาได้ผ่านรับหลักการรัฐธรรมนูญทั้ง 2 ฉบับ ของฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาลแล้ว โดยมีสว.จำนวนกว่า 1 ใน 3 สนับสนุน
ถ้าย้อนกลับไป 1 ปีที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่า สว.ที่แต่งตั้งโดยคสช.คาดหวังว่า 1 ใน 3 คงยาก แต่ด้วยแรงกดดันนอกสภา และสว.ส่วนหนึ่งยอมรับหลักการไปได้
ผมเชื่อว่า การตั้งส.ส.ร.ครั้งนี้มีโอกาสแก้ได้หลายเรื่องก่อนตั้ง ก็ยังแก้หลายมาตราได้ โดยเฉพาะลดบทบาทสว.ไม่ให้เลือกนายกรัฐมนตรี น่าจะช่วยผ่อนคลายแรงกดดันได้ในระดับหนึ่ง ผู้ประท้วงควรชนะเล็กๆ และค่อยๆแก้ส่วนอื่นๆ ที่อาจจะอยู่ใน I-Law บางส่วนได้
ผมย้อนกลับไปดูที่ผมเขียนในบทความแนวหน้าเกือบ 1 ปีแล้ว เกี่ยวกับโควิด-19 ที่โลกนำโดยจีนเกิดโควิด-19 ลามมาที่ไทย บัดนี้ ไทยและจีนประสบความสำเร็จ ซึ่งได้อธิบายและวิเคราะห์ปัญหาของประเทศอื่นๆที่เกิดขึ้น เช่น สหรัฐอเมริกา ยุโรป บราซิล อินเดีย เป็นต้น
เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2563 ผมเขียนถึง สี จิ้น ผิงว่า เป็นผู้นำที่ควรแก้วิกฤติได้เพราะมีความเด็ดขาดมุ่งมั่นสูงผมมั่นใจว่า สี จิ้น ผิง จะจัดการโควิด-19 ได้ ซึ่งผ่านไป1 ปีก็เป็นจริง
เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2563 ผมเขียนแสดงความห่วงใยชาวอู่ฮั่นและคนจีน เพราะอู่ฮั่นมีโรคโควิด-19 รุนแรง อันดับหนึ่งของโลก ตายไปกว่า 3,000 คน คนในโลกวิตกว่า โควิด-19 ในเมืองจีนจะรุนแรงแค่ไหน
วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2563 ผมแสดงความเป็นห่วงคนไทยเรื่องโควิด-19 โดยแนะนำให้ใช้เศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งประเทศไทยมีวิกฤติโควิด-19 เป็นอันดับที่ 2 ของโลกช่วงนั้นครั้งนั้น มีคนติดตามแชร์กันมากคนไทยวิตกมากคล้ายวิกฤติต้มยำกุ้งปี 2540 คนไทยควรหันไปพึ่งเศรษฐกิจพอเพียงเช่น
(1) ความพอประมาณ
(2) เดินสายกลาง
(3) มีภูมิคุ้มกัน
และมีคุณธรรม จริยธรรม หาความรู้ว่า เข้าใจอันตรายของโควิด-19
ควรป้องกันตัวเอง ใช้หน้ากากอนามัย เว้นระยะห่างทางสังคม และล้างมือบ่อยๆ ทำให้สถานการณ์โควิด-19ในเมืองไทยอาจจะมีช่องทางดีขึ้นได้
ต้องยกย่องนายกฯประยุทธ์ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ยง ภู่วรวรรณ เล่าให้ผมฟังว่า นายกฯตัดสินใจปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ อาจารย์ยงเป็นหนึ่งในนั้น เรื่องโควิด-19 ท่านนายกฯทำได้ดีเพราะเชื่อในวิทยาศาสตร์และการแพทย์ของไทยทำดีต้องยอมรับ ไม่ควรโจมตีท่านทุกเรื่องต้องให้ความยุติธรรม
วันที่ 7 มีนาคม 2563 ผมเขียนว่า โควิด-19 เกิดในช่วงที่โลกมีการเชื่อมโยงไปมาหาสู่กันอย่างมาก เป็นโลกาภิวัตน์ คือเปิดการค้าเสรี ประชาชนได้ประโยชน์ แต่การไปมาหาสู่กันของคนในโลกทำให้โควิด-19 ติดต่อกันได้ง่ายมาก เช่น ทรัมป์ห้ามคนจีนเข้าอเมริกา แต่ไม่ห้ามคนยุโรปเข้า ซึ่งคนยุโรปนำโควิด-19 เข้าไปในอเมริกา
มนุษย์ในโลกพบปะกันเพื่อธุรกิจและการท่องเที่ยว ขอเรียกว่า เป็นยุคโลกาภิวัตน์ลบด้านสุขภาพเพราะโรคโควิด-19 ติดต่อกันง่าย แสดงว่า ได้อย่าง เสียอย่าง คือเปิดเสรีการค้าแต่คนติดโควิด-19 ง่ายขึ้น
วันที่ 14 มีนาคม 2563 อเมริกามีปัญหาโควิด-19 มากขึ้น ในช่วงจีนปิดเมืองอู่ฮั่น โควิด-19 ในจีนลดลงเห็นได้ชัด ผมจึงเปรียบเทียบผู้นำ 3 คน คือ สี จิ้น ผิง โดนัลด์ ทรัมป์ และ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
ผมวิจารณ์ทรัมป์ว่า ไม่พูดความจริงไม่มีแผนงาน ไม่เชื่อวิทยาศาสตร์ และคาดว่า โควิด-19 มาแล้วก็ไป ส่วนนายกฯประยุทธ์ฟังหมอและมืออาชีพ ปัญหาเมืองไทยมีแนวทางแก้ไขได้ ทำให้สถานการณ์ดีขึ้น จากที่ผมเขียนวันที่ 14 มีนาคม 2563 ได้รับการตอบรับจากผู้อ่านดีมากเพราะเน้นความสำคัญของผู้นำคือ สี จิ้น ผิง ปิดเมืองทำสำเร็จ แต่อเมริกาเริ่มมีปัญหา แต่ผู้นำไม่สนใจจึงเปรียบเทียบ3 ผู้นำ ว่า สี จิ้น ผิง ได้ A พลเอกประยุทธ์ได้ B+ ทรัมป์ได้ F ทรัมป์ขาดความน่าเชื่อถือ จากประชาชนช่วงที่เขียนคือเดือนมีนาคม อเมริกามีคนติดโควิด-19 แค่ 1,060 คนทุกวันนี้ ตัวเลขอเมริกาตายเกิน 250,000 คน คนติดเชื้อกว่า 150,000 คนต่อวัน ปัญหาโควิด-19 ของอเมริกายังรุนแรงเพราะผู้นำไม่มีคุณภาพ
พลเอกประยุทธ์เชื่อแพทย์ แต่ขาดความโปร่งใสเรื่องหน้ากากหายไปจากท้องตลาด คะแนนเดือนมีนาคมจึงไม่สูง ตัวเลขผู้ป่วยโควิด-19 ในเมืองไทยยังสูง
ออกเคอร์ฟิวห้ามคนออกจากบ้านยามวิกาลสถานการณ์ในเมืองไทยไม่ค่อยกระเตื้องขึ้น
วันที่ 9 พฤษภาคม 2563 ผมเขียนถึงโควิด-19 ในเมืองไทยว่า ได้ผลดี ผู้ป่วยและผู้ติดเชื้อรายใหม่ลดลงอย่างน่าพอใจมาก คะแนนนิยมเรื่องโควิด-19 ของนายกฯประยุทธ์ดีขึ้นเรื่อยๆ
ผมเน้นให้เห็นว่า ผู้นำที่ดีในการจัดการกับโควิด-19 คือ ผู้นำที่ต้องแก้วิกฤติให้ได้ ได้เป็นบทเรียนหลายฝ่ายนำไปใช้ในการวิเคราะห์ผู้นำ ผมเขียนเรื่องผู้นำกับการจัดการวิกฤติ 12 ข้อ เป็นแนวทางนำไปใช้ได้ เพราะถ้าเป็นผู้นำแก้วิกฤติไม่ได้ ก็ไม่ควรเป็นผู้นำ
สรุปคือ ในช่วง 10-11 เดือนที่ผ่านมา ชี้ให้เห็นว่า จีนและไทยประสบความสำเร็จเรื่องโควิด-19 พร้อมจะเดินเข้าสู่ปีที่ 2 จีนประสบความสำเร็จ 2 ด้าน คือ จัดการโควิด-19 ได้ดีเศรษฐกิจดีขึ้นอย่างน่าชื่นชม GDP ของจีนเป็นบวก แต่ไทยแก้โควิด-19 ติดอันดับโลกแต่ด้านเศรษฐกิจยังไม่กระเตื้องนักยังติดลบคาดว่าจะถึง -8%
ผมเขียนในวันที่ 11 กรกฎาคม 2563 ซึ่งมีคนติดตามมาก ให้เห็นว่า ปัญหาเศรษฐกิจไทยมีโครงสร้างทางเศรษฐกิจไม่ดี มีวิกฤติโควิด-19 ทำให้เห็นความ
เปราะบางมากขึ้น เพราะต้องพึ่งพาเศรษฐกิจระหว่างประเทศมากเกินไป เช่น
-ส่งออก
-การท่องเที่ยว
การมีโควิด-19 ครั้งนี้ ไทยจึงต้องมีการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้เกิดการบริโภคภายในประเทศมากขึ้นโดยเฉพาะกำลังซื้อของคนส่วนใหญ่ในประเทศต้องสูงขึ้น โครงการคนละครึ่งทำให้ร้านค้ารายย่อยได้ประโยชน์ เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจรากหญ้าได้ดี
การลงทุนระหว่างประเทศลดลง สู้เวียดนามไม่ได้เพราะเราปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ ยุคคุณยิ่งลักษณ์จากประมาณ160 เป็น 300 บาท ปรับอัตราเงินเดือนจบปริญญาตรีเป็น15,000 บาท ทำให้มีปริญญาตรีตกงานมาก เพราะไม่มีใครเรียนอาชีวะ ทำให้หลายประเทศไม่สนใจให้ไทยเป็นห่วงโซ่อุปทานในการผลิต น่าเสียดาย เวียดนามเป็นประเทศที่มีการลงทุนจากต่างประเทศมากกว่าไทยเพราะคุณภาพของคนดีกว่าและค่าจ้างถูกกว่าไทย
อีก 1 เดือน นับจากวันนี้ก็จะครบ 1 ปี เข้าปีที่ 2 ของโควิด-19 แล้ว แต่ละประเทศเข้าสู่ปีที่ 2 แตกต่างกัน
ปัจจุบัน โควิด-19 ของอเมริกาและหลายๆ ประเทศในโลก เช่น บราซิล อินเดียและยุโรปกลับรุนแรงมากขึ้นกว่าเดิม ไบเดนต้องผนึกกำลังระดับนานาชาติแก้โควิด-19ต้องใช้เวลา เพราะปัญหาโควิด-19 ในอเมริกาเป็นปัญหาการเมืองความแตกต่างวัฒนธรรมการเมืองระหว่าง2 พรรค คือทรัมป์ว่า ใครใส่หน้ากากไม่ใช่พวกเขา ทำให้โควิด-19 ขยายตัวรุนแรงที่สุดในอเมริกา มีผลต่อเศรษฐกิจไทยทางลบอย่างมาก ถึงแม้ว่า วัคซีนจะมาแล้ว คงต้องใช้เวลาอีก
ส่วนไทย น่าสนใจที่แก้โควิด-19 ได้ดีเข้าปีที่ 2 แต่การหดตัวของ GDP ยังรุนแรงอยู่ คาดว่า ทั้งปีดีขึ้นกว่าที่คาดไว้คือ GDP -6 เป็นความหวังของประเทศ จะได้
ขาดดุลงบประมาณไม่มากนัก
หน้าที่ของคุณประยุทธ์จึงต้องเร่งให้เศรษฐกิจของไทยฟื้นตัวกลับมาอย่างรวดเร็ว
วิธีการคือ รีบกระตุ้นเศรษฐกิจรากหญ้าอย่างเป็นรูปธรรมไม่ใช่เศรษฐกิจส่วนบน
เปิดการท่องเที่ยวในประเทศให้เร็วขึ้น เปิดการท่องเที่ยวระหว่างประเทศอย่างมีนัยสำคัญ เช่น จีนกับไทย ไทยกับนิวซีแลนด์ ไทยกับออสเตรเลีย ให้เร็วขึ้นหรือส่งเสริมเรื่องท่องเที่ยวเชิงสุขภาพให้เด่นชัดขึ้นเพื่อให้เม็ดเงินเข้ามาทดแทนรายได้ที่ขาดหายไปจากการท่องเที่ยว 2 ล้านล้านบาท
ฝ่ายการแพทย์กับฝ่ายเศรษฐกิจในเมืองไทยจะเน้น Smart Trade-off โควิด-19 ลด เพิ่มเศรษฐกิจให้มากขึ้นไม่ให้การว่างงานและรายได้ของคนไทยแย่ลงกว่าเดิม
ซึ่งปัจจุบัน เราระวังเรื่องโควิด-19 รอบที่ 2 มากเกินไปหรือเปล่า น่าจะกระตุ้นเศรษฐกิจให้มากกว่านี้เพื่อไปสู่ปีที่ 2อย่างยั่งยืน และก็หวังว่า ยุคไบเดน จะมีการร่วมมือระดับนานาชาติมากขึ้น ไทยในปี 2564 สภาพเศรษฐกิจจะได้กลับมาเป็นบวกและไปสู่ความยั่งยืนได้
จีระ หงส์ลดารมภ์
dr.chira@hotmail.com
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี