วันที่ 5 ธันวาคม เวียนมาถึงอีก 1 ปี ปีนี้คนไทยคงจะรำลึกถึง ร.9 อย่างมาก เพราะทุกๆ ปีที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ยังอยู่คนไทยทุกหมู่เหล่าถือเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาทุกๆ ปี
เวลาผ่านไป ปีนี้พระองค์ท่านไม่อยู่กับเราแล้ว แต่วันที่ 5 ธ.ค.ก็ยังมีความสำคัญต่อคนไทยทุกๆ คน เพราะสิ่งต่างๆ นานัปการของพระองค์ท่านเพื่อพสกนิกรชาวไทยทุกหมู่เหล่า ยังจารึกที่ท่านทรงทุ่มเทเพื่อประชาชนอย่างต่อเนื่องกว่า 70 ปี
ผมจึงมีข้อสังเกต 4-5 ประการ ด้วยกัน
ประการแรก ผมมีโอกาสพบปะสนทนากับท่านดร.สุธีอักษรกิตติ์ นักวิชาการทางวิศวะที่ถวายงานใกล้ชิดกับพระองค์ท่านมายาวนาน ได้รับทราบถึงพระปรีชาสามารถของพระองค์ท่านทางวิทยาศาสตร์และวิศวะหลายๆ ด้าน ผมมีความรู้สึกปลาบปลื้มเป็นอย่างยิ่ง ที่ท่านทรงมีพระปรีชาสามารถด้านวิทยาศาสตร์และวิศวะอย่างมาก เช่น พระองค์ทรงสนพระทัยเรื่องเสาอากาศและการสื่อสารตั้งแต่เทคโนโลยีสมัยเก่ามาจนสมัยปัจจุบันซึ่ง ดร.สุธีได้ทำงานรับใช้ท่านอย่างใกล้ชิดตลอด 40 ปี
และหลายเรื่องที่ผมได้พบด้วยตนเอง เช่น เรื่องดินในปีหนึ่งผมได้มีโอกาสได้พัฒนาข้าราชการกรมที่ดินอยู่ 3 เดือนได้ทราบว่าพระองค์ท่านทรงสนพระทัยและศึกษาคุณภาพดินในประเทศไทยแบ่งออกได้ถึง 15 ชนิด ทำให้ภาคเกษตรของไทยได้ปรับปรุงคุณภาพดินมาตลอดเวลา ผมได้คุยกับลูกศิษย์จากกรมพัฒนาที่ดินถึงพระปรีชาสามารถของพระองค์ท่านทรงสนพระทัยเรื่องดินอย่างลึกซึ้ง งานต่างๆ ของกรมพัฒนาที่ดินมีสิ่งสำคัญแก้ไขปัญหาคุณภาพดินให้ประชาชนและทรงแนะนำให้ปลูกหญ้าแฝก ช่วยคุณภาพดิน วันดินโลกของสหประชาชาติตรงกับวันที่ 5 ธันวาฯ วันเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในระดับโลกอย่างแท้จริง
ด้วยอยากรู้อยากเห็น ในพระปรีชาสามารถของพระองค์ท่านได้ค้นพบว่าประเทศไทยมีพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติผู้อำนวยการคนปัจจุบันคือ ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ เป็นลูกชายของอดีตคณบดีและรองอธิการบดีของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อาจารย์วิจิตร ระวิวงศ์ ท่าน อ.วิจิตรเคยร่วมงานกับผมสมัยก่อตั้งและเป็นผู้อำนวยการสถาบันทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ผมได้ไปเยี่ยม ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ และมีโอกาสได้เข้าชมพิพิธภัณฑ์ฯเข้าใจชัดเจนและน่าสนใจในงานของพระองค์ท่าน เกิดมาจากวิธีคิด หลักการทางวิทยาศาสตร์ซึ่งมองโลกผ่านโลกทรัพยากรธรรมชาติ เช่น อากาศ ป่าไม้ น้ำ ดิน ลม ให้สอดคล้องกันไปกับมนุษย์ ทำให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ได้เรียนรู้ นอกจากเฉลิมพระเกียรติ ยังสร้างแรงบันดาลใจให้เข้าใจว่ามีวิทยาศาสตร์ธรรมชาติเริ่มจากความเข้าใจของโลกและธรรมชาติว่าคืออะไร โครงการหลวงที่เกิดขึ้นกว่า 4,000 โครงการ เป็นผลจากการอยู่ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติที่ไปด้วยกันมิฉะนั้นจะมีปัญหา เช่น ภัยแล้ง น้ำท่วม ไฟป่าดินไม่มีคุณภาพและอาจกระทบกับคุณภาพชีวิตความยากจนของเกษตรกรในปัจจุบัน
ในวันที่ 5 ธันวาคมปีนี้ จึงเป็นวันที่สำคัญมากเป็นพิเศษ เพราะคนไทยที่จงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ก็คงไม่สบายใจกับกลุ่มเยาวชนและประชาชนปลดแอก จาบจ้วงอย่างไม่เกรงกลัวและหยาบคายมาก
ผมจึงใช้โอกาสนี้เสนอข้อสังเกต 3-4 เรื่อง ที่ทำให้คนไทยยกย่องให้เกียรติสถาบันกษัตริย์ของไทยอย่างสมพระเกียรติ ถูกต้องไม่ใช่มีอาจารย์ไม่กี่คนหรือนักการเมืองบางกลุ่มที่มีความอคติต่อระบบกษัตริย์ไม่ได้ดูถึงรากเหง้าว่าเกิดขึ้นเป็นมาอย่างไร ดูแต่ข้อมูลที่เรียกว่า faked news ข่าวปลอมผ่าน Social Media
เรื่องแรกผมได้ทำงานร่วมกับคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์มากว่า 40 ปี คุณหญิงได้เขียนทฤษฎี 8H ที่ผมประทับใจมาก เพราะหนึ่งใน H นั้นคือ Heritage ซึ่งคนไทยรุ่นใหม่โดยเฉพาะเยาวชนไม่สนใจคือรากเหง้าของคนไทย
ประเทศไทยมีประวัติศาสตร์ประเทศไทยอย่างงดงามผ่านสิ่งต่างๆ มามากมายกว่าจะเป็นประเทศไทยในปัจจุบัน ผมขอยกตารางเปรียบเทียบ 8H กับ 8K’s ของผมให้เห็นว่าพระองค์ท่านมีทุกๆ อย่างที่ 8H และ 8K’s มี โดยเฉพาะคำว่า Heritage รากเหง้าและทุนทางจริยธรรม ที่คุณหญิงทิพาวดีใช้คำว่า Heart เป็นคุณสมบัติที่ ร.9 สร้างชาติให้มีความมั่นคงมาถึงปัจจุบัน
ประเด็นที่ 2 การโจมตีทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ชอบคำพูดของอดีตคณบดีของธรรมศาสตร์ อาจารย์เสรี วงษ์มณฑา ที่เตือนเยาวชนปลดแอกว่ารู้ไม่จริงในเรื่องนี้
ใช้คำว่า อย่าสะเออะ ควรศึกษาให้รู้จริงเสียก่อน ผมขอยืนยันว่าคนที่ประท้วงตามสัญลักษณ์ของกลุ่มที่ไปบุกธนาคารไทยพาณิชย์ ซึ่งเป็นธนาคารที่อยู่ในตลาดหุ้นและพระมหากษัตริย์
ถือหุ้นแค่ 20% บริหารแบบมืออาชีพเพราะมีการแข่งขันอย่างมากรวมทั้งนำเอา fintech มาใช้
ผมอยากให้ทราบว่า บริษัทปูนซิเมนต์ไทยซึ่งเป็นบริษัทเก่าแก่ ก่อตั้งโดย ร.6 ซึ่งมีพระมหากษัตริย์ถือหุ้นอยู่ประมาณ 20 กว่าเปอร์เซ็นต์ ปัจจุบันเป็นบริษัทที่มีธรรมาภิบาลมากที่สุดและทำงานเป็นมืออาชีพเป็นที่ยอมรับทั้งระดับนานาชาติและในประเทศ
ผมโชคดีที่สถาบันทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เมื่อตั้งใหม่ๆ ได้แนวทางจากวัฒนธรรมของปูนซิเมนต์ไทยที่มีปรัชญาการทำธุรกิจเน้นว่า คนเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าที่สุดขององค์กรไม่ใช่เงิน ไม่ใช่วัตถุ ซึ่งปูนซิเมนต์มีส่วนช่วยนโยบายของประเทศสถาบันทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทุ่มเทพัฒนาคนอย่างมีประสิทธิภาพปัจจุบัน บริษัทในตลาดหุ้นบางแห่ง ยังไม่กล้าลงทุนในเรื่องคนเท่ากับ SCG เพราะกลัวจะได้ไม่คุ้มเสีย เพราะการลงทุนเรื่องคนต้องต่อเนื่องและได้ผลช้ากว่าเรื่องอื่นๆ แต่เยาวชนปลดแอกไม่รู้เรื่องกลับโจมตี บริษัท SCG เพราะคิดว่าเป็นของพระองค์ท่าน
ผมจึงขอสนับสนุนอาจารย์เสรี ว่า นอกจากอย่าสะเออะแล้ว อย่าแสดงความโง่แบบคนไม่มีการศึกษา คนไทยทั้งประเทศ จะยอมรับคนเหล่านี้ได้อย่างไร เป็นเรื่องที่น่าเศร้ามาก
ในการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ปีนี้ ขอยกตัวอย่างสิ่งที่พระองค์ทรงทำอยู่ตลอดเวลา Empathy ให้คิดถึงผู้อื่นก่อนพระองค์ท่านทรงคิดถึงผู้ที่เสียเปรียบในสังคมโดยเฉพาะคนที่ยากจนที่ยังพึ่งตัวเองไม่ได้ ทรงศึกษาและเก็บข้อมูลอย่างละเอียด มองทุกๆ มุมไม่ว่าภูมิศาสตร์ สังคมศาสตร์ วัฒนธรรมและเศรษฐกิจ เพื่อให้เขาเหล่านั้นอยู่รอดในระยะยาวโดยพึ่งตนเอง โครงการของพระองค์ท่านได้ศึกษาอย่างละเอียด อันเป็นที่มาของรางวัล Nobel ทางเศรษฐศาสตร์ที่คนอินเดียกับคนฝรั่งเศสได้ จากอิทธิพลแนวคิดของพระองค์ท่าน เรื่องภูมิสังคม ว่าชุมชนแต่ละแห่งแตกต่างกัน ไม่ควรใช้นโยบายเดียวดูแลแก้ไข ควรเก็บข้อมูลแต่ละชุมชนอย่างละเอียดให้รู้ให้จริงทุกๆ มุม เพราะพฤติกรรมของแต่ละแห่งไม่เหมือนกัน
อีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญมากของบทบาทพระองค์ท่านคือคำว่า Purpose (เป้าประสงค์) ของพระองค์ท่านคือ ให้คนไทยหลุดพ้นจากความยากจน พึ่งตนเอง มีความรู้ มีคุณธรรม เป็นคนดีไม่ใช่มีแต่ความรู้ แต่ขาดคุณธรรมความซื่อสัตย์ จริยธรรม ซึ่งเป็นหลักคิดของเศรษฐกิจพอเพียงที่เป็นที่ยอมรับของคนทั้งโลกเพื่อความยั่งยืนเป้าหมาย (Purpose) ของพระองค์ท่านจึงชัดเจนเป้าหมายของผู้ประท้วงคืออะไร ไม่ชัดเจน
แปลกใจที่กลุ่มต่อต้านระบอบกษัตริย์ไม่โจมตีนักการเมืองเลวๆ ที่อยู่เบื้องหลังการกอบโกยประเทศในโครงการต่างๆ ผ่านระบบจอมปลอมเรียกว่า ประชาธิปไตย ว่าทำเพื่อคนยากจนในที่สุดมีคดีเต็มศาลจนไม่มีแผ่นดินจะอยู่เช่น
- เรื่อง จำนำข้าว
- เรื่อง รถคันแรก
มีงานวิจัยเรื่องรถคันแรกออกมาว่ารัฐจ่ายภาษีให้คนชั้นกลางไปมากมาย แต่บริษัทรถยนต์รวย ทำให้อุปนิสัยของคนไทยเสีย เพราะมีการกู้ แต่ไม่จ่ายคืน
ประเด็นสุดท้าย อยากเสนอความคิดให้ผู้ประท้วงปัจจุบันนำไปคิด คือแนวคิดที่นักเศรษฐศาสตร์กว่า 300 ปีคิดมาแล้วและยังมีประโยชน์คือ Law of Diminishing Returnsคือทำมากๆ ทำซ้ำๆ แต่ผลกลับติดลบ ไม่ได้ดีขึ้น
ปัจจุบันใช้ Social Media อย่างมากมาย นัดการชุมนุมซึ่งทำได้ผล นัดได้เร็ว แต่ทำไปบ่อยๆ คนก็เริ่มเบื่อ แรกๆ ก็มีคนสนใจ เห็นใจเพราะคิดว่าเยาวชนมีปัญหาจริงๆ แต่ทำนานๆไปคนก็เริ่มเบื่อ เพราะประเด็นซ้ำๆ รัฐบาลก็ตอบสนองแล้ว เช่น การรับหลักการแก้รัฐธรรมนูญวาระ 1 โดยมี สว. 1/3 เห็นด้วย
หลายคนเริ่มเบื่อหน่ายเพราะทำซ้ำ โดยไม่มีเป้าหมาย จะเข้ากฎ Law of Diminishing Returns คือทำบ่อย แต่ผลลัพธ์ที่กลับมาติดลบ ผู้คนในสังคมเบื่อหน่ายและเยาวชนกลายเป็นเครื่องมือของนักการเมืองที่อยู่เบื้องหลัง
อนาคตอาจจะเต็มไปด้วยคดีความต่างๆ จากการทำผิดกฎหมาย มันคุ้มหรือเปล่า?ถามจริงๆ ประเทศชาติได้อะไร
จีระ หงส์ลดารมภ์
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี