ที่ทำเนียบรัฐบาลเมื่อวันอังคารที่ 14 กันยายน 2564พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้นั่งเป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี โดยมีวาระที่น่าสนใจยิ่งอยู่เรื่องหนึ่งคือการเสนอให้มีการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการถือครองที่ดิน ซึ่งในทางปฏิบัติถือเป็นการรีวิวก.ม.เพื่อเปิดทางให้ชาวต่างชาติถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดิน ตามข้อเสนอของ “สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน” ที่เสนอเป็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงเข้าสู่ประเทศไทย คาดว่าจะเพิ่มปริมาณเงินใช้จ่ายในระบบเศรษฐกิจ ราว 1 ถึง 2.5 แสนล้านบาท บนสมมุติฐานการใช้จ่ายในประเทศเฉลี่ย 1 ล้านบาท/คน/ปี, เพิ่มปริมาณเงินลงทุนในระบบเศรษฐกิจ 7.5 หมื่นล้านบาท ถึง 1.87 แสนล้านบาท ประเมินจากเงินลงทุนชาวต่างชาติมั่งคั่ง 1 หมื่นคน และชาวต่างชาติวัยเกษียณ 8 หมื่นคน และเพิ่มรายได้ทางภาษีอีกราว 2.5-6.25 หมื่นล้านบาท ประเมินจากผู้ถือวีซ่าในกลุ่มผู้มีทักษะเชี่ยวชาญพิเศษ จำนวน 4 แสนคน
การเสนอมาตรการให้ต่างชาติถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดินนั้น รัฐบาลต้องมีความชัดเจนอย่างรอบคอบ ในหลายด้าน ข้อเท็จจริงนั้นมาตรการลักษณะนี้หลายประเทศทั้งในยุโรปและเอเชียก็นำออกมาดำเนินการ
ความไม่ชัดเจนของรัฐบาลจะเกิดปัญหาการต่อต้านจากประชาชนที่จะโดนสัมภเวสีโอปปาติกะนักการเมืองชังชาติปั่นกระแสให้เกิดความวุ่นวาย โดยเฉพาะวาทกรรม“เตะหมูเข้าปากเจ้าสัว” ความชัดเจนอย่างแรกคือ นิยาม คำว่า “อสังหาริมทรัพย์” ขอบเขตที่แน่นอน บ้านจัดสรร อาคารสูงคอนโดมิเนียม หอพัก อพาร์ทเมนท์ ตึกแถวอาคารพาณิชย์เท่านี้หรือไม่ เพราะพื้นที่ “นิคมอุตสาหกรรม” ก็เป็นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เช่นกัน ดังนั้นอะไรบ้างที่ต่างชาติซื้อสามารถครอบครองได้ “บ้านแนวราบ คอนโดฯ ฯลฯ ไม่ใช่แค่เหวี่ยงแหว่า “อสังหาริมทรัพย์”เท่านั้น ทั้งต้องชัดเจนด้วยว่า ต่างชาติสามารถดำเนินการตามมาตรการนโยบายนี้ในพื้นที่โซนนิ่งใดบ้าง รวมถึงต้องชัดเจนเรื่องระดับราคาถ้าไม่กำหนดเรื่องนี้อาจเกิดการสร้างโอกาสให้ผู้ประกอบการกำหนดราคาขายเกินจริงหรือ “โอเวอร์ไพรซ์” อาทิ อาคารชุดที่ดินย่านทองหล่อ สุขุมวิท ทำให้ห้องค้างสต๊อกเป็นจำนวนมาก เท่ากับตัดโอกาสของประชาชนที่ต้องการเป็นเจ้าของบ้านพักอาศัย
ในกรณีของอาคารชุด บ้านจัดสรรหากอยู่ในหลักเกณฑ์ที่รัฐกำหนดก็ต้องชัดเจนว่า โครงการที่ชาวต่างชาติซื้อถือครองกรรมสิทธิ์ โครงสร้างนิติบุคคลตามกฎหมายยังบังคับใช้โดยเคร่งครัดผู้ซื้อพักอาศัยมีสิทธิ์ออกเสียงกำหนดทิศทางได้เช่นเดิม ไม่เช่นนั้นผู้ได้รับผลประโยชน์จะใช้คนไทยที่พักอาศัยหากไม่มีความชัดเจนในเรื่องเหล่านี้อาจสร้างปัญหาและส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจมากกว่าการกระตุ้นเศรษฐกิจ หากรัฐบาลจะดำเนินมาตรการนี้ย่อมต้องอธิบายให้สังคมเกิดความชัดเจนว่าข้อดีมีอย่างไร ไม่ใช่ออกมาตรการลักษณะเหวี่ยงแห ไม่เช่นนั้นมาตรการนี้กลายเป็นอาวุธทิ่มแทงศรัทธาความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อ “รัฐบาลทหารแก่ -พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา”
มาตรการนี้ หากรัฐไร้ความแน่นอนชัดเจน มีโอกาส “ฝนตกไม่ทั่วฟ้า”ผู้ประกอบการรายใหญ่ได้รับอานิสงส์เช่นเดียวกับผู้ประกอบการที่มีความพร้อมทั้งด้านการเงินและการถือครองที่ดิน หรือกลุ่มธุรกิจที่สามารถร่วมทุนกับต่างชาติได้
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี