l ตอนนี้ : ขอนำข้อมูล จาก “สื่อบางส่วน” ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ มานำเสนอให้ “ผู้นำและนักประชาธิปไตย นักวิชาการฯที่ต้องการแสวงหาความเป็นจริงฯ” ได้พิจารณาและนำเสนอความคิดเห็นต่อไป
l ข้อมูลจากคำบอกเล่า ที่มีน้ำหนัก บางระดับ
คืนวันที่ 12 ตุลาคม 2516 (ทางเรือนจำเริ่มให้อิสระแก่พวกเรา),ผมได้โทรหา อ.คึกฤทธิ์ ปราโมช เพื่อสอบถามสถานการณ์ และขอคำแนะนำ“พวกคุณชัยวัฒน์ อย่าไปฟังฝ่ายใด ให้รับฟังจาก ศนท.เท่านั้น” (ตอนนั้น ผมยังไม่เข้าใจ แต่มาในช่วงหลัง จึงรู้ว่า “กองทัพ มี 2 ฝ่าย”
-คำบอกเล่าจากปาก พลเอกสุนทร คงสมพงษ์ (บิ๊กจ๊อด) ในช่วงนั้น อยู่ที่ศูนย์สงครามพิเศษ ได้รับคำสั่ง จากกองทัพบก ให้มาจับกุม “จอมพลถนอมกิตติขจร ฯลฯ” แต่ บิ๊กจ๊อด ตอบว่า “นายทหารและผม เคารพท่านฯ” แต่ได้มาทำหน้าที่คุ้มครองฯ และพาไปส่ง ที่ ดอนเมือง (หลังจากที่ท่านตัดสินใจ ลาออกฯ เพื่อความสงบสุขของบ้านเมืองฯ )
-อาคม มกรานนท์ : โฆษกคณะปฏิวัติ ที่อยู่ในสวนรื่น เวลานั้น“ผมอึดอัดมาก โดยเฉพาะเมื่อได้รับคำสั่ง ให้ออกประกาศว่า “นายกรัฐมนตรีจอมพลถนอม ได้ลาออก” (ตอนนั้นท่านยังไม่ได้ลาออก มายอมลาออกหลังจากนั้นฯ) แต่ไม่มีทางเลือก เพราะ “ช่วงเวลานั้นฝ่ายพลเอกกฤษณ์ สีวะราและคณะ กุมการบัญชาการในสวนรื่นได้แล้ว”
-ญาติฝ่าย จอมพลถนอม ประภาส ณรงค์ (ได้แสดงความอึดอัดใจในช่วงก่อนเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519)ท่าน ได้ยอมลาออก เพื่อเห็นแก่ความสงบสุขของประชาชนและประเทศและได้รับสัญญาว่า “ขอให้ออกไปชั่วคราว รอคอยให้เหตุการณ์สงบเรียบร้อย แล้วจะได้กลับมา” แต่มาผ่านมานานแล้ว(ตุลาคม 2516 ถึงก่อนตุลาคม 2519) ทำไมยังไม่ให้กลับ
...........
หลังจากนั้น จอมพลประภาส ได้เดินทางกลับมา แล้วถูกนักศึกษาประชาชนต่อต้านฯต่อมาจอมพลถนอม บวชฯ และเดินทางกลับมา ก็ถูกต่อต้านฯ
l รัชกาลที่ 9 กับ 14 ตุลาคม 2516 บันทึกความทรงจำของพล.ต.อ.วสิษฐ เดชกุญชร ผู้มีบทบาทสำคัญในการประสานระหว่างราชสำนักและผู้แทนนิสิตนักศึกษาในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ในวันที่ 14 ตุลาคม 2560 “ครบรอบ 44 ปี เหตุการณ์ 14 ตุลา 2516”
-จุดเริ่มต้นการชุมนุมของนิสิตนักศึกษา
ตุลาคม พ.ศ. 2516 เป็นเดือนวิกฤตของคนไทย ในขณะนั้น นอกจากปัญหาการเมืองภายในแล้ว ยังมีปัญหาภัยคุกคามของคอมมิวนิสต์ที่กระทำต่อหลายประเทศ รวมทั้งเมืองไทยด้วย
สหรัฐอเมริกา (เป็นศัตรูกับสหภาพโซเวียตและจีน ซึ่งเป็นสองประเทศใหญ่ที่ปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ ระบอบคอมมิวนิสต์จึงทำท่าว่าจะขยายไปยังประเทศต่างๆ) มีส่วนเป็นผู้ที่ทำให้เกิดคอมมิวนิสต์ขึ้นในเมืองไทย
ไทยเริ่มปราบคอมมิวนิสต์ตั้งแต่ช่วงต้นๆ เลย เรามีกฎหมายที่ว่าด้วยคอมมิวนิสต์โดยเฉพาะ ยิ่งเมื่อเป็นรัฐบาลเผด็จการ การปราบปรามผู้ที่ต้องสงสัยว่าเป็นคอมมิวนิสต์ก็ทำด้วยความรุนแรง มีการจับนักการเมืองที่ต้องสงสัยว่าเป็นคอมมิวนิสต์เป็นจำนวนไม่น้อยใน พ.ศ. 2516 นั้นมีผู้ต้องสงสัยว่าเป็นคอมมิวนิสต์อยู่เป็นจำนวนมาก แม้จะเป็นการออกเอกสารหรือพูดวิจารณ์เป็นปฏิปักษ์กับรัฐบาล รัฐบาลก็จะเหมาว่าเป็นการกระทำของคอมมิวนิสต์รวมทั้ง 13 คน ที่ถูกจับ ขณะร่วมรณรงค์ แจกใบปลิวเรียกร้องรัฐธรรมนูญ (ก็ถูกตั้งข้อหา “คอมมิวนิสต์” และมีการตั้งข้อสงสัยว่า “มี 2-3 คน เป็นคอมมิวนิสต์”)
-ผู้แทนนิสิตนักศึกษาเข้าเฝ้าฯในหลวง แต่ขาด “เสกสรรค์”
17.30 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงได้เสด็จลง, พวกเขาเฝ้าฯกันอยู่จนเกือบสองทุ่ม จึงกลับออกมาเวทีที่ใช้ปราศรัยหน้าวังเป็นรถสองแถวคันไม่ใหญ่นัก ใช้หลังคาเป็นที่ยืนพูดมีคนที่ร่วมปราศรัย ก่อนการสลายการชุมนุมฯ
-ดร.เสกสรรค์ ประเสริฐกุล (ผู้กุมเวทีปราศรัย มาตลอด จากวันที่เริ่มเดินออกมาจาก ม.ธรรมศาสตร์)
-ดร.สมบัติ ธำรงธัญญาวงศ์ (เลขาธิการศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย)
-พล.ต.อ.วสิษฐ เดชกุญชร อ่านพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และแถมท้ายว่า เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรับสั่งแบบนี้เหตุการณ์ยุติลงแล้ว ผมเห็นว่าพวกเราสมควรยุติการชุมนุมและกลับบ้านกันได้ผมบอกว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของท่านทั้งหลายไม่ได้บรรทมมา 7 วัน 7 คืนแล้ว เพราะเป็นห่วง รอฟังสถานการณ์บ้านเมือง พอผมพูดจบ ที่ประชุมก็ปรบมือกัน คนแสนคนร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีดังกระหึ่มหันหน้าไปทางพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ผมคุกเข่าลงร้องไห้ด้วยความปีติ
- จงใจหรืออุบัติเหตุ? ชนวนเหตุความวิปโยค
เกิดการปะทะกัน ระหว่าง “ตำรวจและนักศึกษาประชาชน”ผมมาทราบทีหลังว่าที่เกิดปะทะกันขึ้น เพราะตำรวจได้รับคำสั่งว่าให้ปิดทางไม่ให้ประชาชนผ่านทางนั้น
ผู้ที่สั่งไม่ให้ประชาชนกลับบ้านจนเป็นเหตุให้ปะทะกันขึ้นคือ พล.ต.อ.ประจวบ สุนทรางกูร ขณะนั้นท่านเป็นรองอธิบดีกรมตำรวจ : (อยู่ฝ่ายพลเอกกฤษณ์)
ผู้รับคำสั่ง คือ พ.ต.ท.มนต์ชัย พันธุ์คงชื่น (ยศในเวลานั้น)ผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจ อดีตผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ต่อมาท่านได้เป็นอธิบดีกรมตำรวจคุณมนต์ชัยรับคำสั่งจากคุณประจวบให้สกัดเอาไว้ ลงท้ายเลยปะทะกัน ตำรวจใช้กระบองกับแก๊สน้ำตา เกิดการตีกันขึ้นที่หน้าวังพอเกิดการตีกันขึ้นก็เกิดข่าวปากต่อปากแจ้งว่าตำรวจฆ่านิสิตนักศึกษาที่หน้าวังเท่านั้นเองการจลาจลก็กระจายออกไปทั่วกรุงเทพฯ นี่คือที่มาของมหาวิปโยคที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2516
-นิสิตนักศึกษา (ประชาชน) หนีทะลักเข้าไปในวัง
การปะทะกันที่หน้าสวนจิตรลดาเป็นไปอย่างรุนแรง มีนิสิตนักศึกษาจำนวนหนึ่งวิ่งมาที่ประตูวังและขอให้เปิดประตูรับ แต่นายทหารไม่กล้าเปิดในที่สุดพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีรับสั่งให้เปิดประตูเข้ามา นิสิตนักศึกษาที่ทะลักเข้ามาในวังมีประมาณ 2,000 คน พอพระองค์ทรงทราบว่านิสิตนักศึกษาเข้ามาแล้ว
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมพระราชินีนาถ ก็ทรงมาเยี่ยมคนที่เข้าไปในวัง (กลุ่มผม ซึ่งมี ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ธีรยุทธ บุญมี และผมฯ ได้มีโอกาสเข้าเฝ้าฯ สมเด็จฯบนถนนสายเล็กๆ ในสวนจิตรฯ “ในหลวงฯ ไม่ได้หลับนอนมาหลายวัน ติดตามข่าวสาร ด้วยความห่วงใย นักศึกษาประชาชนและบ้านเมือง”)
มีพระราชดำรัสออกโทรทัศน์ เหตุการณ์จึงคลี่คลาย
.........................
ในความชุลมุนมักเต็มไปด้วยข่าวลือ และมีความขัดแย้งกันฯ (เริ่มตั้งแต่ ภายในกลุ่มผู้นำนักศึกษา และฝ่ายต่างๆ รวมทั้งในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นฯ)
.........................
https://thestandard.co/kingrama9-with-14-october-1973/
l คณะทหารหนุ่ม | การล่มสลายของระบอบ “ถนอม-ประภาส” : พล.อ.บัญชร ชวาลศิลป์
1.การรวมตัวของกลุ่ม “ทหารหนุ่ม”
พ.อ.มนูญ รูปขจร กล่าวต่อที่ประชุมคณะทหารหนุ่ม ในวันศุกร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ.2523 ว่า “กลุ่มทหารหนุ่มกำเนิดขึ้นและเริ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองท่ามกลางวิกฤตการณ์ 14 ตุลาคม 2516 และหลังจากนั้นเป็นต้นมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในห้วงเวลา 3 ปีแห่งความยุ่งเหยิง ไร้ระเบียบในสังคมไทยยุคประชาธิปไตยเบ่งบาน”
นายทหาร จปร 7 อยู่ในหน่วยกุมกำลังบางส่วน ระหว่างเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516
พ.ต.จําลอง ศรีเมือง พ.ต.มนูญ รูปขจร พ.ต.ชาญบูรณ์ เพ็ญตระกูล
พ.ต.ชูพงศ์ มัทวพันธุ์ พ.ต.ปรีดี รามสูตร แสงศักดิ์ มังคละศิริ
2.การล่มสลายของระบอบ “ถนอม-ประภาส”
ระบอบ “ถนอม-ประภาส” เป็นความต่อเนื่องทางประวัติศาสตร์อันยาวนานนับแต่การรัฐประหารเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2490 และมีท่าทีจะสืบทอดอำนาจนี้ต่อไป
ทำให้นายทหารระดับรองลงมาไม่มีโอกาสเติบโตและยิ่งไปกว่านั้นก็มีโอกาสที่จะถูกขจัดให้พ้นทางได้ตลอดเวลา
พล.อ.กฤษณ์ สีวะรา ต้องรออยู่ในตำแหน่งรองผบ.ทบ.นานถึง 7 ปี
จอมพลประภาส จารุเสถียร จึงยอมลุกจากตำแหน่งให้เมื่อ1 ตุลาคม 2516 ขณะที่เหลืออายุราชการอยู่เพียง 1 ปีเท่านั้น
แม้ในความเป็นจริง พล.อ.กฤษณ์ สีวะรา และนายทหารอื่นๆ จะเติบโตมากับระบอบ “ถนอม-ประภาส” แต่นานวันเข้า ก็เห็นว่าการสืบทอดอำนาจของจอมพลถนอม-ประภาส เป็นปัญหาหลักของกองทัพจึงนำไปสู่การแสวงประโยชน์จากเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 โค่นล้มระบอบ “ถนอม-ประภาส” ลงในที่สุด
ดังนั้น ปัจจัยชี้ขาดประการหนึ่งในการล่มสลายของระบอบ “ถนอม-ประภาส” จึงมาจากการแตกแยกกันเองของผู้นำกองทัพที่ร่วมหัวจมท้ายกันมานับตั้งแต่การรัฐประหาร พ.ศ.2490 นั่นเอง
ผู้ได้ประโยชน์โดยตรงจากการล่มสลายของระบอบ “ถนอม-ประภาส”และพยายามสร้างเครือข่ายอำนาจขึ้นแทน ได้แก่
พล.อ.กฤษณ์ สีวะรา พล.อ.อ.ทวี จุลละทรัพย์ พล.ต.อ.ประเสริฐ รุจิรวงศ์
พล.ต.ท.ประจวบ สุนทรางกูร และ พล.ท.วิฑูรย์ ยะสวัสดิ์
https://www.matichonweekly.com/column/article_592567
l Change with คิด & ทำ โดย ชัยวัฒน์ สุรวิชัย
๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ เราได้บทเรียนอะไรบ้าง? และสิ่งที่ขาดหายไป?ที่ทำให้สรุปทางออกของประเทศไม่ได้ (1)
วันจันทร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2564
ประเด็นที่สำคัญ
คุณไขแสง สุกใส อนันต์ ฉายแสง อุทัย พิมพ์ใจชน ซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับ พล.ต.อ.ประเสริฐ รุจิรวงศ์
คุณอนันต์ และคุณอุทัยกล่าวว่า “พวกเขามีบทบาทสำคัญในเหตุการณ์นี้” (พี่อุทัย พูดกับผม สองต่อสองในประเด็นนี้ และผมได้สวนกลับ โดยชี้แจงเพิ่มพวกพี่ และพลตำรวจเอกประเสริฐ พลเอกกฤษณ์ พลโทวิทูรย์ ยะสวัสดิ์ มีบทบาท ในการต่อกรฯ กับฝ่ายจอมพลถนอมประภาส ณรงค์ แต่มีอีกบางปัจจัย โดยเฉพาะ “ขบวนนักศึกษาประชาชน ที่เริ่มต้นและการชุมนุมหลายแสนคน” ซึ่งเป็นบทบาทหลักฯ)
คุณไขแสง สุกใส เข้ามอบตัว เป็นคนที่ ๑๓ ในเหตุการณ์ บอกว่า“เพื่อมาเป็นพี่เลี้ยงให้น้องๆ”
ผู้ใหญ่ในสังคมบางท่าน : ให้ข้อคิดที่มีนัยสำคัญมีข่าว กระแสรับสั่ง ให้พลโทจำเป็น จารุเสถียร
สมุหราชองครักษ์ (ญาติผู้พี่ของจอมพลประภาส) เข้าเฝ้าฯ
จอมพลถนอม กิตติขจร เป็นนายทหารรุ่นพี่ ที่น้องๆ นายทหารในกองทัพฯ รัก และเคารพ
จอมพลถนอม ประภาส ได้เข้าเฝ้าฯในหลวงฯ ในช่วงเหตุการณ์ฯ
จอมพลถนอมฯ ไม่ได้ลาออก (ก่อนหน้านี้) ตามที่เป็นข่าวฯจากฝ่ายพลเอกกฤษณ์ (อาคม มกรานนท์)
พันเอกณรงค์ กิตติขจร “มีการมาขอให้เดินทางไปพักผ่อนต่างประเทศชั่วคราว แหม ชั่วคราว เล่นซะหลายปี เราก็แย่” “พ่อผมลาออกจากการเป็นนายกรัฐมนตรี” วันที่ 14 ตุลาคม 2516 ท่านพูดในที่ประชุมว่า :“ถ้าผมออกจากตำแหน่งเสีย เหตุการณ์มันอาจจะดีขึ้นก็ได้” คุณพ่อจึงกราบบังคมทูล บอกข้าพระพุทธเจ้าจะขอลา
https://www.naewna.com/politic/columnist/49297
๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ เราได้บทเรียนอะไรบ้าง? และสิ่งที่ขาดหายไป?ที่ทำให้สรุปทางออกของประเทศไม่ได้ (2)
วันจันทร์ที่ 18 ตุลาคม 2564
https://www.naewna.com/politic/columnist/49369
ตุลา ปี ๒๕๖๔ มีเรื่องสำคัญอะไร ที่เราควรรับรู้ และเราได้บทเรียนอะไรบ้าง?
วันจันทร์ ที่ 25 ตุลาคม 2564
https://www.naewna.com/politic/columnist/49443
รำลึก ๕๐ ปี ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ ให้มีคุณค่าความหมาย : ต้องแสวงหาความจริงให้ปรากฏ
จันทร์ ที่ 26 กันยายน 2565
https://www.naewna.com/politic/columnist/52879
(2) จันทร์ ที่ 3 ตุลาคม 2565
https://www.naewna.com/politic/columnist/52956
(3) จันทร์ ที่ 10 ตุลาคม 2565
https://www.naewna.com/politic/columnist/53027
25092565 ปี 2566 กึ่งศตวรรษ ๑๔ ตุลา ๒๕๑๖ วิทยากรรับเชิญ “ชัยวัฒน์ สุรวิชัย” ผู้ดำเนินการสร้างเมืองแปลงบ้าน “คุณสมพร มุสิกะ”
l ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ วันมหาวิปโยค เหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่คนไทยควรรู้ By Peachy
https://www.mixmaya.com/1602588726/
l บทสรุปของเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖
https://sites.google.com/site/social0084/bth-srup-khxng-hetukarn-14-tula-2516
l การวมรวบ เอกสารและหลักฐาน เหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ ทำได้อย่างจำกัด เป็นการรวบรวมเชิงปริมาณ ขาดคุณภาพ โดยเฉพาะ“การแลกเปลี่ยน วิเคราะห์ เพื่อสรุปหาความจริงฯ” ข้อมูลที่จำกัด ของทุกฝ่ายซึ่งมักจะออกมาด้านเดียว เฉพาะส่วน เฉพาะจุดโดยเฉพาะ “ไม่มีข้อมูลจากฝ่ายกองทัพ ทั้งฝ่ายรัฐบาลขณะนั้น และอีกฝ่าย” (พลเอกกฤษณ์ สีวะรา พลตำรวจเอกประเสริฐ รุจิรวงค์ และ พลตรีวิทูรย์ ยะสวัสดิ์ฯ)
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี