• คำนำ
เป็นการแย่หน่อย แต่เป็นเรื่องปกติของคนส่วนมากในโลกใบนี้ที่เรา มิได้รู้และเข้าใจ “ชีวิต” มาตั้งแต่เกิด หรือในช่วงเริ่มเป็นหนุ่มสาว แต่มารู้ในช่วงวัยเป็นผู้ใหญ่ และมากขึ้นในยามชราในช่วงท้ายๆ ของชีวิต
ผม ก็เป็นเช่นนั้น!
เพราะคนส่วนใหญ่ ใช้ชีวิต และติดกรอบคิดมาจากคนรุ่นเก่า “พ่อแม่ครูพระ และผู้ใหญ่ในสังคม”
โดยปล่อยชีวิตไปตามสภาพ หรือหนักหน่อยคือ “กรรมเก่า”ที่สังคมเชื่อถือ ศรัทธา
-ที่มีมายาวนาน ตั้งแต่เริ่มต้นของการเป็นมนุษย์สมัยโบราณและเมื่อประมาณ ๔,๐๐๐ ปี มานี้ เริ่มมีความรู้ขั้นพื้นฐานของการดำรงชีวิต แล้วค่อยเข้าสู่การพัฒนา มาเป็นลำดับ ซึ่งใช้เวลายาวนาน ตั้งแต่ยุคความเชื่อเรื่อง ผีสางนางไม้ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ และมาเรื่อยๆ จนถึง มีการก่อเกิดศาสนา ทั้งมีพระเจ้า และมนุษย์ เป็นศาสดาและยังต่อยืนยาวมาอีก นมนาน...(ยุคที่เกิด ศาสนาของศาสนาสำคัญในโลก ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ ยังไม่สูงพอ)
-จนมาถึงยุควิทยาศาสตร์ ขั้นต้น กลาง และบั้นปลาย
จนถึงปัจจุบัน ในยุค ๕๐-๗๐ ปี มานี้ ความรู้ความเข้าใจในชีวิต ที่มา การก่อเกิด การพัฒนา เติบโต แก่เฒ่า และการจากไปมีมากขึ้น
แสดงออกมาจาก :
-ความคิดความเชื่อของมนุษย์ ยึดถือ เหตุผลที่พิสูจน์ได้มากขึ้น คือ : หลักวิทยาศาสตร์ ความคิดที่มีกระบวนการวิทยาศาสตร์ รองรับมากขึ้น โดย มีผู้คน เริ่มเลิก ลดความเชื่อในศาสนามากขึ้น เหตุเพราะ ไม่สามารถอธิบายความให้กระจ่างได้ มีแต่อ้างอิงถึงความเชื่อความศรัทธาฯ
-มาเชื่อในเหตุผล ที่มีที่มาที่ไป พิสูจน์ได้
จับหลักธรรมที่เป็นแก่นแกนของศาสนา การคิดดีทำดี ด้วยความรู้ สติปัญญา ความจริง ฯลฯ
-แต่ก็ยังมีติดใจ ในหลากหลายเรื่อง
ที่วิทยาศาสตร์ที่พัฒนา มาในระดับนี้ (ที่ยังจะต้องมีการพัฒนาให้ก้าวหน้าสูงขึ้นต่อไป) ยังไม่สามารถอธิบายได้ครบถ้วนสมบูรณ์
-เรื่องใหญ่สำคัญ ที่เป็นอุปสรรค คือ “อวิชชา และอัตตา” ใหญ่ของสังคม ที่ติดต่อเนื่องมายาวนาน สะสมเป็นกรอบคิดและความเชื่อในความคิด ศาสนา ความเชื่อของสังคม ทั้งขวางทาง ปิดกั้นและเป็นกฎใหญ่ข้อห้ามอันศักดิ์สิทธิ์ ที่ ห้ามไม่ให้คิด (ถือว่าเป็นการท้าทายความเชื่อ) รวมทั้งผู้คนในสังคม ทั้งมีระดับ และเพื่อนมิตรในสังคม จะมีกรอบคิดความเชื่อไปในทางนั้น และมักตอบ หรือให้ความเห็น “ด้านเดียว” ไม่ให้เหตุผลและตรรกที่เป็นวิทยาศาสตร์ ที่พิสูจน์ได้
-เรื่องใหญ่สำคัญรองลงมา คือ “อวิชชา และ อัตตา”ของตัวเราเอง ทำให้เราคิดไปในทางเดียว ทางเก่าสายเดิมของสังคมหรือทำให้เราไม่กล้าคิด รวมทั้งไม่กล้าถาม หรือ ตั้งคำถาม
• แต่ผม เริ่มสนใจชีวิต เรียนรู้ จากผู้รู้ ตำรา การฝึกฝนและปฏิบัติ มายาวนานประมาณ ๕๐ ปี
โดยการ “ตั้งคำถามขึ้น”
๑.ถาม ผู้ที่มีความรู้ ความศรัทธา ในเรื่องชีวิต และเรื่องศาสนา ในระดับสูงทั้งส่วนที่มีความรู้ทางทฤษฎี และผู้ที่ปฏิบัติในระดับเกจิฯ
๒.ถาม ตัวเอง
โดยถาม อย่างต่อเนื่อง
คำตอบที่ได้ สร้างความเข้าใจและมั่นใจมากขึ้น ในหลักของเหตุและผลมากขึ้น (แต่ก็มีบางเรื่อง ที่ยังไม่ได้คำตอบที่ชัดเจนฯ โดยมีเรื่องของ ศรัทธา ความเชื่อ มากกว่าหลักเหตุและผลที่เป็นวิทยาศาสตร์) และเป็นเรื่องน่าเสียดาย แกมเศร้า ที่มีการตั้งคำถาม “เกี่ยวกับเรื่องนี้น้อยไป” ดูเหมือน ไม่อยากไปแตะ ไม่ยุ่ง ฯลฯ แต่ สิ่งดีที่ได้ คือ ค่อยๆ ศึกษารับรู้ รับฟัง เหตุผลที่สามารถอธิบายได้มากขึ้น
โดยเริ่มกระจ่างแจ้ง อย่างค่อนข้างดีพอควร ในช่วง ๒๐ ปี มานี้ จะเห็นว่า “กระบวนการการรับรู้ หลักธรรม อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ต้องใช้เวลาไม่น้อย” จากการปฏิบัติ ที่สามารถเห็นผลได้มากขึ้น ทำให้เรามีสุขภาพกายใจ และคิดได้สอดคล้องกับความจริงอันนำมาซึ่งความสุขความสงบ สะอาด และสว่างในดวงจิต มากขึ้น(ต้องใช้คำว่า “มากขึ้น” เพราะ ยังไม่กระจ่างในระดับสมบูรณ์ ๑๐๐%)
• โดยขอเสนอ แนวความคิดที่ได้พัฒนา ออกมาในเนื้อหาสาระ ดังประเด็นต่อไปนี้
1.หลักการทั่วไป
คนส่วนใหญ่ทั่วไป ไม่ค่อยได้คิดและให้ความสำคัญต่อ “ชีวิต และศักยภาพของชีวิต” และยิ่งมีน้อยลงไปอีก ที่จะเข้าใจ เข้าถึง และศึกษาอย่างจริงจัง ลงลึก ถึงเรื่องนี้ คนที่จะมาสนใจ มักจะเริ่มต้นจาก “ปัญหาและสุขภาพของตนหรือคนที่รัก” คนที่เป็นพระ เป็นหมอ ฯลฯ ควรจะให้ความสำคัญ และศึกษาในเชิงลึก
๑.มนุษย์ เป็นสัตว์ประเสริฐ : ที่ต่างจากสัตว์และพืช ทั่วไป
ความประเสริฐของมนุษย์ อยู่ที่คุณสมบัติพิเศษของกายใจที่สามารถฝึกฝนและพัฒนาได้ และมนุษย์ ต้องฝึกฝน จึงจะสามารถพัฒนาได้ ทั้งร่างกายและจิตใจ ทั้งร่างกาย อวัยวะ ระบบต่างๆ ในร่างกายมนุษย์ รวมทั้งสมองและหัวใจ สามารถปรับปรุงแก้ไขได้ ซึ่งโดยปกติทั่วไป กายและใจ ก็ได้ทำหน้าที่ปรับปรุงสมรรถภาพ ตามบทบาทหน้าที่ของมัน แต่ยิ่งกว่านั้น ความรู้ ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ ได้ช่วยให้เรารู้ถึงหลักการและวิธีการ ที่จะกระตุ้น เสริมสร้าง พัฒนา ร่างกายและใจ ได้มากขึ้น และนับวัน การเจริญพัฒนาฯ จะทำให้เรา สามารถทำอะไรได้มากขึ้นอีกมากโดยประมาณง่ายๆ ว่า เรายังรู้น้อยกว่าศักยภาพความเป็นจริงที่กายและใจทำได้ซึ่งเราต้องติดตาม การพัฒนา ในเรื่องกายและใจต่อไป
๒.โดยหลักการสำคัญ ที่เราต้องยึดและทำความเข้าใจให้ถูกต้อง คือ คนที่รู้เรื่องดีที่สุดในเรื่องสุขภาพกายและใจ คือ “ตัวเราเอง”มิใช่หมอ หรือพระ พระเจ้าใดๆ เพียงแต่เรายังไม่รู้ และยังไม่มีความรู้มากพอ ซึ่งเราต้องทำการศึกษา ทำความเข้าใจ ด้วยสติปัญญา ความจริง การได้ข้อมูล หรือ การซักถาม อาการการรักษาของหมอ เป็นหน้าที่ของเรา เพื่อให้ได้รับรู้ ถึงอาการของโรคที่เราเป็น ทางที่ถูกและดี คือ “การบันทึกข้อมูลของสุขภาพ การรักษา อาการที่เป็น ยาที่กิน และ ฯลฯ ในสมุดประจำสุขภาพของตนเอง และครอบครัว”และเป็นจรรยาบรรณของหมอ ด้วย ที่จะต้องมีหน้าที่บอกรายละเอียดของอาการและสุขภาพให้คนไข้ทราบ และการศึกษาค้นคว้า แสวงหาความรู้ เกี่ยวกับชีวิตและสุขภาพ อย่างจริงจัง ตลอดไปจะเป็นการช่วยให้เรา “ได้รู้จักสุขภาพของตัวเรา” ได้อย่างแท้จริง เช่นเดียวกันกับ “เรื่องของใจ หรือจิตใจ” ซึ่งเป็นเรื่องละเอียดและลึกซึ้งกว่ามากเรายิ่งต้องการ ความรู้ ความเข้าใจ อย่างมาก ที่จะเข้าใจ “ใจ หรือ จิตใจ”ของเราที่จักสามารถ นำมาปรับปรุงแก้ไข และการนำมาใช้พัฒนาชีวิตกายใจของเรา ให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์มากขึ้น (พระหรือพระเจ้า ใดๆเป็นผู้รูและเข้าใจ ในเรื่อง “จิตใจ” และคนทั่วไปมากกว่า คนอาชีพอื่นๆซึ่งเป็นแหล่งความรู้ ที่เราต้องแสวงหา และรับมา เป็นของตัวเอง)
๓.ชีวิตเริ่มต้น หลากหลายของชีวิต ๑
(๑) ชีวิตก่อนก่อเกิด เกิดจาก โครโมโซม และดีเอ็นเอ ของบรรพบุรุษ
(๒) ชีวิต เริ่มก่อเกิด จาก อสุจิของพ่อ และ ไข่ของแม่
(๓) ชีวิตที่ฟูมฟัก ในครรภ์มารดา
(๔) ชีวิตที่เกิดลืมตามองโลก และพัฒนาตนเอง
(๕) ชีวิตที่เติบโต ทารก เด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ เฒ่าชรา
(๖) ชีวิตที่ลาจากโลก ครอบครัว ญาติพี่น้องเพื่อนมิตรและแผ่นดินเกิด มีครั้งเดียว จบกัน
๔.คนเรา สามารถกำหนดชีวิตของตนได้
(๑) เราจะเป็นอะไร มีบทบาทอย่างไร ในทางโลก (๒)เราจะมีสุขภาพกายใจ เป็นอย่างไร (๓) การมีร่างกายที่เข้มแข็ง อายุยืนยาว(ได้มากขึ้น ในระดับหนึ่ง) (๔) การมีความคิด ความจำ การพูด การรับฟัง ฯลฯ ที่ดีขึ้น (๕) การมีจิตใจที่คิดถึงผู้อื่น ชุมชน สังคมและบ้านเมือง
๕.ชีวิตของคนทั่วไป
โดยทั่วไป ชีวิตของคนเรา มีขึ้นมีลง มีสูงต่ำ มีทุกข์มีสุข ฯลฯ
(๑) ในทางที่ดีขึ้น
(๒) ในทางที่แย่ลง
(๓) อยู่กลางๆ ทรงๆ ไม่ทรุด ไม่ขึ้น
หรือ ในเรื่องของความคิด และการรับรู้ รวมทั้งการให้ความคิดและความเห็น
(๑) ไม่แสดงความคิดเห็น (เพราะไม่รู้ หรือ รู้ไม่จริง)
(๒) แสดงความคิดเห็น ตามกรอบความคิดความเชื่อของสังคม
(๓) แสดงทัศนะความคิดที่น่าสนใจ (แต่มีน้อยมาก)
โดยคนเรา สามารถมีส่วนกำหนดชีวิตของตนได้ ในบางเรื่องบางระดับ และ จักได้ผลในระดับใด ระดับหนึ่ง ขึ้นกับ “การเอาจริง” และ “ทำต่อเนื่องไม่หยุด”
เรียนรู้ ปฏิบัติ สรุปบทเรียน ทดลอง ทดสอบ เรียนรู้ และปฏิบัติต่อ
@ สำหรับคนใหม่ จะทำได้ง่ายกว่า
แต่สำหรับคนที่ผ่านงานและชีวิตมามาก แม้ด้านหนึ่งจะรู้มากกว่าแต่ “ทิฐิมานะ อคติ ที่ติดมา มันฝั่งรากลึก ทำให้เป็นอุปสรรคในการแก้ไข คือ ทำยากกว่า
แต่ เราสามารถทำได้ ภายใต้เงื่อนไข
“ปัจจัยหรือแรงที่ปรารถนาจะทำ ต้องสูงหรือใหญ่กว่า อัตตาที่พอกเป็นหางหมูอยู่”
๖.การทำงาน การเป็นอยู่ การดำรงชีพ การศึกษา เรียนรู้ในชีวิตชีพและสิ่งที่เราสนใจ เราควรต้องมีจุดหมายหลักที่สำคัญอย่างหนึ่ง คือ
(๑) นำจุดหรือเรื่องที่สำคัญ มาประยุกต์ ให้เกิดความรู้ ที่จักสามารถพัฒนาชีวิตกายใจของเรา คนส่วนใหญ่ มุ่งเฉพาะ การทำงาน ในเรื่องนั้นๆ ให้หมด หรือจบลงไป
(๒) พัฒนาความคิด ใจกายของเรา ให้เป็นคนดี คิดและทำเพื่อตนเอง ครอบครัว ผู้อื่นและส่วนรวม
ทั้ง ๒ ข้อ จะทำให้ชีวิตเรา มีคุณค่าและความหมาย
๗.โดยสรุป
ความคิดและความรู้ของคน ในเรื่องของชีวิตกายใจฯมีมากขึ้นเป็นลำดับ แต่ ก็มีอีกไม่น้อย ที่เรายังไม่รู้ เป็นแค่การสรุปได้ในขั้นต้น ในบางระดับ เราต้อง หมั่นแสวงหาความรู้ และความเข้าใจให้มากขึ้น โดยเฉพาะ ความรู้และข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ของชีวิต และธรรมชาติที่จะเสริมให้ เรารู้จริงมากขึ้นและสามารถนำมาใช้ มาปฏิบัติ ในการพัฒนาตน ครอบครัวเพื่อนมิตรและบ้านเมืองได้ดีขึ้น
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี