อีกไม่ช้าไม่นานก็จะมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วประเทศ
แต่ที่มีการเตรียมพร้อมเลือกตั้งแล้ว คือของ สำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ (สกช.)
โดย สกช. ได้เผยรายงานสรุปผลการลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัด ประเภทผู้แทนเกษตรกรทั่วประเทศ เชื่อมั่น “สภาเกษตรกรเป็นกลไกสำคัญพัฒนาภาคการเกษตรไปสู่ความมั่นคงอย่างยั่งยืน” ซึ่งมีการลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัด ประเภทผู้แทนเกษตรกรคึกคัก ช่วงเปิดรับสมัครวันที่ 8-17 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา
พบจำนวนเกษตรกรผู้ลงสมัครรวมทุกภูมิภาคทั่วประเทศกว่า 2,399 คน ครบทุกเขตเลือกตั้งจำนวน 1,348 เขตเลือกตั้ง จาก 77 จังหวัดทั่วประเทศ โดยผู้สมัครจะได้รับหมายเลขประจำตัวที่ใช้ในการลงคะแนนเลือกตั้งตามลำดับการมายื่นใบสมัคร และตามลำดับเลขที่ใบสมัครที่ผู้อำนวยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัดประจำอำเภอออกให้แต่ละบุคคล ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการแสดงความพร้อมที่จะเป็นตัวแทนของพื้นที่ในการปฏิบัติภารกิจสำคัญเพื่อพัฒนาการเกษตรกรรมในพื้นที่ ตลอดจนรักษาประโยชน์ให้กับเกษตรกร
นายรัตนะ สวามีชัย เลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ กล่าวว่า ภายหลังจากที่มีการประกาศลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัด ประเภทผู้แทนเกษตรกรโดยเปิดรับสมัครฯ วันที่ 8-17 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา นับว่าได้รับการตอบรับดีเกินคาด เพราะมีเกษตรกรในทุกภูมิภาคทั่วประเทศที่แสดงเจตจำนงพร้อมลงสมัครเป็นตัวแทนเกษตรกรครบถ้วนทุกเขตเลือกตั้ง โดยมีจำนวนผู้สมัครสมาชิกสภาฯ ประเภทผู้แทนเกษตรกร
แบ่งออกเป็นภูมิภาค ประกอบด้วย ภาคเหนือ จำนวน 283 เขตเลือกตั้ง มีผู้สมัครมากกว่า 1 ราย จำนวน 146 เขต รวมมีผู้สมัครทั้งสิ้น 495 ราย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 381 เขตเลือกตั้ง มีผู้สมัครมากกว่า 1 ราย จำนวน 249 เขต รวมมีผู้สมัครทั้งสิ้น 812 รายภาคกลาง จำนวน 450 เขตเลือกตั้ง มีผู้สมัครมากกว่า 1 ราย จำนวน 164 เขต รวมมีผู้สมัครทั้งสิ้น 668 ราย ภาคใต้ จำนวน 234 เขตเลือกตั้ง มีผู้สมัครมากกว่า 1 รายจำนวน 128 เขต รวมมีผู้สมัครทั้งสิ้น 424 ราย รวมเป็นจำนวนผู้สมัครทั้งสิ้น 2,399 ราย แบ่งเป็นชาย 2,075 ราย หญิง 327 ราย จาก 1,348 เขตเลือกตั้งทั่วประเทศ
รัตนะ สวามีชัย
กระบวนการเลือกตั้งหลังจากนี้ ผู้อำนวยการการเลือกตั้งจะดำเนินการประกาศรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัด ประเภทผู้แทนเกษตรกร ที่มีคุณสมบัติครบถ้วน ไม่มีลักษณะต้องห้ามในแต่ละเขต จากนั้น มีการอบรมสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ผู้ที่มีส่วนรับผิดชอบ ณ หน่วยเลือกตั้ง พร้อมแต่งตั้งผู้ปฏิบัติหน้าที่ ณ หน่วยเลือกตั้งได้แก่ คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง หรือ กปน. และเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำที่เลือกตั้ง หรือ จปภ. ซึ่งในวันเลือกตั้งก่อนเปิดการลงคะแนนช่วงเวลาประมาณ 06.00-08.00 น. กปน.และจปภ. จะทำหน้าที่ตรวจความเรียบร้อยและจัดสถานที่เลือกตั้ง พร้อมตรวจสอบและนับจำนวนบัตรเลือกตั้งทั้งหมด รวมทั้งประกาศจำนวนบัตรเลือกตั้งก่อนการออกเสียงลงคะแนน ตลอดจนปฏิบัติภารกิจอย่างรัดกุม เพื่อมุ่งให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อย และให้การเลือกตั้งเป็นไปอย่างถูกต้องโปร่งใส
ดังนั้น ในวันอาทิตย์ที่ 19 มีนาคม 2566จึงนับเป็นวันสำคัญของเกษตรกรทั่วประเทศ ที่จะเชิญชวนเกษตรกรออกมาใช้สิทธิ ใช้เสียงลงคะแนนเลือกตั้ง ซึ่งเลือกได้ 1 เขต 1 เบอร์ เพื่อเลือกตัวแทนภาคเกษตรกรที่มาจากการเลือกตั้ง โดยเกษตรกร และเพื่อเกษตรกร
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี