กรณีที่นายเศรษฐา ทวีสิน กรรมการ (กรรมการ/กรรมการผู้จัดการใหญ่และรองประธานกรรมการบริหาร) บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน)รับตำแหน่งเป็นประธานที่ปรึกษาหัวหน้าครอบครัวพรรคเพื่อไทย
นายเศรษฐาประกาศพร้อมเป็นนายกฯ และเดินหน้าหาเสียงกับพรรคเพื่อไทย
อันที่จริง นายเศรษฐาเป็นนั่งธุรกิจที่มีบทบาทตั้งแต่สมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์
ในคดี ว. 5 โฟร์ซีซั่นส์ ก็มีพยานฝ่ายยิ่งลักษณ์ให้การว่า นายเศรษฐาเป็นหนึ่งในนักธุรกิจที่ไปประชุมร่วมกับอดีตนายกฯ ยิ่งลักษณ์
1.นายเศรษฐาโอนหุ้นของบริษัทที่ชื่อว่า บริษัท ศุภสิริ โฮลดิ้งจำกัด ซึ่งเป็นธุรกิจลงทุนในบริษัทอื่น จำนวน 9,998 หุ้น ไปให้กับนายนพพร บุญถนอม กรรมการบริหาร บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) ทั้งหมด
นายเศรษฐาชี้แจงกับสำนักข่าวอิศราว่า “บริษัทนี้ตั้งมานานแล้ว แต่ก็ไม่ได้ทำอะไรก็โอนให้ไป เพราะจะไปเข้าการเมือง ให้ชัดเจนว่าผมไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับบริษัทนี้” และการโอนหุ้นบริษัทดังกล่าว ก็เป็นการโอนแบบซื้อขาย
2.นายเศรษฐาแจ้งข้อมูลรายงานการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของผู้บริหาร (แบบรายงาน 59) ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ว่า
เมื่อวันที่ 8 มี.ค.2566 นายเศรษฐาได้ดำเนินการโอนหุ้นจำนวน 661,002,734 หุ้น ให้กับ น.ส.ชนัญดา ทวีสิน บุตรสาวผู้บรรลุนิติภาวะแล้ว
เป็นการโอนให้โดยเสน่หาไม่มีค่าตอบแทน และระบุราคาหุ้นว่า 0 บาท
โดยก่อนหน้านี้ ข้อมูลบนเว็บไซต์ตลาดหลักทรัพย์ฯ ระบุ ณ วันที่ 30 ส.ค.2565 นายเศรษฐา ถือหุ้นบริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน)จำนวน 661,002,734 หุ้น หรือคิดเป็น 4.44% ของทั้งหมด
ราคาหุ้น บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) ปิดตลาด ณ วันที่ 9 มี.ค.2566 มีราคาอยู่ที่ 1.86 บาท/หุ้น
คิดเป็นมูลค่าหุ้นที่นายเศรษฐาถืออยู่เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 1,229.46 ล้านบาท
3.นายเศรษฐาได้ไพสต์ข้อความบนเพจเฟซบุ๊กว่า “ผมอยากแสดงความบริสุทธิ์ใจเพื่อเตรียมความพร้อมในการทำงานการเมือง ผมจึงทำการโอนหุ้นหรือขายหุ้นของผมในบริษัทต่างๆ ลดบทบาทของตนเองในภาคเอกชนลง และได้ดำเนินการเสียภาษีอย่างถูกต้องตามกฎหมายทุกกรณีครับ”
4.ในความเป็นจริง หากจะเล่นการเมือง และเจตนาจะสร้างความโปร่งใสจริงๆ ก็ไม่จำเป็นต้องรีบโอนหุ้นไปให้คนใกล้ชิดเลย
ตรงกันข้าม ควรเลือกดำเนินการตามแนวทางที่กฎหมายกำหนดไว้ เป็นมาตรฐานสากล โปร่งใส เชื่อถือได้
ยกตัวอย่าง กรณีนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.สาธารณสุข ดำเนินการตาม พ.ร.บ.การจัดการหุ้นส่วนหรือหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ. 2543 โอนหุ้นให้ บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน ภัทร (บริษัทจัดการ) เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการ ดังปรากฏตามที่ ป.ป.ช.ได้เคยเผยแพร่รายละเอียดสัญญาการจัดการหุ้นส่วนหรือหุ้น บริษัท เอสทีพีแอนด์ ไอ จำกัด (มหาชน) หรือ STPI จำนวน 164,590,285 หุ้น ระหว่าง นายอนุทิน ชาญวีรกูล กับ บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน ภัทร เป็นทางการ
ไม่ใช่โอนไปให้บุคคลใกล้ชิด ก่อนจะถึงเวลาต้องยื่นแสดงบัญชีทรัพย์สิน
5.ย้อนดูบทเรียนกรณีทักษิณใช้นอมินีถือหุ้น
ในอดีต ทักษิณเคยซุกหุ้นไว้ในชื่อ “คนรับใช้” “คนขับรถ” หรือ “ยาม”
คดีทักษิณร่ำรวยผิดปกติ ยึดทรัพย์อันได้มาโดยมิชอบเป็นของแผ่นดิน แม้นายพานทองแท้ นางสาวพินทองทา อ้างว่าตนเป็นเจ้าของหุ้น แต่ศาลฎีกาฯ ชี้ขาดว่า ทักษิณเป็นเจ้าของตัวจริง
เพียงแค่ซุกใส่ชื่อลูกๆ และแอมเพิล ริช ไว้ เท่านั้นเอง
ยิ่งกว่านั้น คดีผลประโยชน์ทับซ้อน ศาลฎีกาฯ ชี้ขาดไว้อย่างชัดแจ้ง
ระบุว่า พานทองแท้ - พินทองทา - ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร -บรรณพจน์ ดามาพงศ์ ที่ปรากฏชื่อถือหุ้นชินในช่วงทักษิณเป็นนายกฯ นั้น ล้วนแต่เป็นผู้ถือหุ้นแทนนายทักษิณ เพื่อหลบเลี่ยงกฎหมายทั้งสิ้น
คุณหญิงพจมานเป็นคนชำระเงินค่าหุ้นเพิ่มทุนให้นายบรรณพจน์
ส่วนการขายหุ้นให้นายพานทองแท้ นางสาวยิ่งลักษณ์ และนายบรรณพจน์ ต่างก็ใช้วิธีออกตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อชําระค่าซื้อหุ้น มีกําหนดใช้เงินเมื่อทวงถามโดยไม่มีดอกเบี้ย
พูดง่ายๆ คือ ยังไม่จ่ายเงินค่าหุ้นจริงๆ
ศาลฎีกาฯ ระบุถึงขนาดว่า “ตามพฤติการณ์ดังกล่าวจึงน่าเชื่อว่า แท้จริงไม่มีการโอนซื้อขายและไม่มีการชําระราคากันจริง”
ยิ่งกว่านั้น มีเอกสารเชิงลึกจากธนาคารกลางประเทศสิงคโปร์ประกอบมัดแน่น ว่าเจ้าของหุ้นชินตัวจริง คือ ทักษิณและภริยาโดยตลอด
ยังคงเป็นผู้ควบคุมกิจการชินคอร์ปในขณะนั้น พร้อมกับสั่งการใช้อำนาจรัฐเอื้อประโยชน์แก่ธุรกิจส่วนตัว
6.ทักษิณซุกหุ้นไว้ในชื่อยาม คนรับใช้ ลูกๆ
เศรษฐาเริ่มต้นก็โอนหุ้นให้คนใกล้ชิด และลูกสาว
7.นอมินีการเมืองของนายทักษิณ
ในอดีต เคยมีคนยอมตนเป็นนอมินีการเมืองให้นายทักษิณ ผู้หลบหนีโทษจำคุกคดีทุจริตมาแล้ว
นายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกฯ เคยประกาศหลังเป็นหัวหน้าพรรคพลังประชาชน ระบุว่า
“ถ้าจะบอกว่า ผมเป็นนอมินี พ.ต.ท.ทักษิณ ก็แล้วแต่จะคิด... ผมจะเป็นนอมินีให้นายกฯทักษิณ ผมจะทำให้พรรคการเมืองนี้แข็งแรง”
แม้แต่สโลแกนหาเสียงของพรรคเพื่อไทย ทักษิณคิด เพื่อไทยทำ
จากนั้น ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้เป็นนายกฯ ผลักดันนิรโทษกรรมคดีโกงช่วยทักษิณ แล้วก็หนีคดี หนีโทษจำคุก ไปอยู่กับนายทักษิณที่ต่างแดน จนถึงปัจจุบัน
มายุคนี้ แพทองธาร ชินวัตร ประธานที่ปรึกษาพรรคเพื่อไทยผู้ได้รับอุปโลกน์เป็นหัวหน้าครอบครัวเพื่อไทยคนปัจจุบัน ก็เริ่มต้นบนเส้นทางการเมือง ใต้เงาทักษิณ
พรรคเพื่อไทยถึงขนาดตั้งตำแหน่ง “ครอบครัวเพื่อไทย” แล้วสถาปนาลูกสาวทักษิณเป็นหัวหน้าครอบครัว
ขึ้นเวทีหาเสียง ก็พร่ำพูดถึงทักษิณกลับบ้านทุกเวที
ต้องจับตาดูบทบาทและการกระทำของนายเศรษฐาหลังจากนี้ต่อไป
จะอยู่ในบัญชีนายกฯ ของพรรคเพื่อไทยร่วมกับใครบ้าง?
นายเศรษฐาประกาศแล้วว่า ต้องเป็นนายกฯ เท่านั้น ตำแหน่งอื่นไม่เอา
ส่งสัญญาณไปถึงใครก็ไม่ทราบได้
สารส้ม
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี