ตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา สังคมไทยเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับ “วาทกรรมประดิษฐ์...ช้างป่วย!!”มาโดยตลอด กระทั่งล่าสุด “งบช้างป่วย” ถูกกระแสการหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปแทนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชุดเดิมที่หมดวาระ ตามพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2566 เพื่อให้มีการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป “ช้างป่วยจึงถูกหยิบยกมาปลุกกระแสต่อต้านให้บทเรียนสั่งสอนนักการเมืองและกลุ่มการเมืองดังกล่าว
“ช้างป่วย” เป็นวาทกรรมประดิษฐ์ของนักการเมืองคนรุ่นใหม่ที่แสดงไว้ระหว่างการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 หมายถึง “บำนาญข้าราชการก้อนจำนวนมหึมา คือภาระทางการคลัง เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้ประเทศไทยมีงบประมาณประเภทรายจ่ายประจำสูงกว่าร้อยละ 70 ของเงินงบประมาณทั้งหมดในแต่ละปี”
เราขออัญเชิญพระบรมราโชวาท “พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ ๙” มาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวและเตือนสตินักการเมืองและกลุ่มการเมืองบางคณะเกี่ยวกับความหมายและภาระหน้าที่ของ “ข้าราชการพลเรือน” ที่กลายสภาพเป็น “ข้าราชการบำนาญ” เมื่อถึงเวลาอันเหมาะสมพ่อสอนว่า “ความเจริญของประเทศชาติ เป็นความเจริญส่วนรวม ซึ่งเกิดจากผลงานหรือผลของการกระทำของคนทั้งชาติถือได้ว่าทุกคนแบ่งหน้าที่กันทำประโยชน์ให้แก่ชาติ ตามความถนัดและความสามารถ และเกื้อกูลกันและกันไม่มีผู้ใดจะอยู่ได้และทำงานให้แก่ประเทศชาติได้โดยลำพังตนเอง”
“งานราชการนั้น เป็นงานที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับวิถีชีวิตของประชาชน ซึ่งมีความเปลี่ยรนแปลงอยู่เป็นปกติ ตามสถานการณ์และกาลเวลาที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งข้าราชการทุกคนจึงต้องทำความเข้าใจงานในหน้าที่ของตนให้กระจ่างชัด และรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นแล้วปฏิบัติหน้าที่ให้สอดคล้องเหมาะสม โดยยึดมั่นแน่วแน่อยู่ในเป้าหมายของการปฏิบัติราชการ คือ ประโยชน์สุขของประชาชน และความเจริญมั่นคงของประเทศชาติ”
มีคำพูดหนึ่งที่นักการเมือง ใช้เปรียบเปรยข้าราชการที่เกษียณอายุ คือ“ช้างป่วย” การตั้งงบประมาณเป็นเงินบำนาญคืองบที่เอามาดูแลช้างป่วย ซึ่งสิ้นเปลืองและไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ
ทราบกันบ้างหรือไม่ว่าชีวิตข้าราชการเป็นอย่างไร ทำงานกันเหน็ดเหนื่อยแค่ไหน เพื่อแลกกับเงินเดือนค่าตอบแทนที่น้อยนิดเมื่อเทียบกับธุรกิจเอกชน
ทราบหรือไม่ว่าการทำงานต่างพระเนตรพระกรรณ บำบัดทุกข์ บำรุงสุข ให้ประชาชน มันคือความภูมิใจมากแค่ไหน (เรียนรู้จากคำสอนของพ่อ)
หากเทียบกันระหว่าง “ช้างป่วย” กับ “บำนาญของ ผู้เคยดำรงตำแหน่ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาตั้งแต่ 2-3 ปี จะได้รับบำเหน็จบำนาญร้อยละ 20 ของเงินเดือน …และจนท้ายสุดเป็น 20 ปีขึ้นไป ได้รับร้อยละ 70 ของเงินเดือน สังคมไทยคงมีคำตอบในใจแล้วว่า ภาระสิ้นเปลือง และไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศนั้นควรเป็นงบประมาณส่วนไหน
โดยเฉพาะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชุดที่ 25 หรือชุดที่เพิ่งหมดวาระ เกียจคร้าน เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน ละทิ้งหน้าที่ที่อาสาประชาชนเข้ามาเป็นปากเป็นเสียงดูแลสารทุกข์สุกดิบประชาชน แต่กลับโดดร่มไม่ลงชื่อเข้าร่วมประชุมจนเกิดเหตุสภาฯล่ม ครั้งแล้วครั้งเล่า เป็นที่เอือมระอาของประชาชนและสังคมไทยมาตลอด โดยไม่สำเหนียกและเกิดสามัญสำนึกถึงความเสียหายของประเทศและการพัฒนาบ้านเมืองแม้แต่น้อย
สมัยโบราณกาล ช้างคือพาหนะของพระราชาในการออกศึกสงครามทั้งการขยายอาณาเขตและปกป้องผืนแผ่นดิน ช้างศึกเหล่านี้เมื่อปลดระวางลง พระราชาก็ไม่เคยทอดทิ้ง ยังคงดูแลไปจนกว่าช้างศึกที่เคยใช้งานจะล้มลง หมดอายุขัย พระราชาไม่เคยตรัสว่าช้างของพระองค์คือช้างป่วย
แล้วนักการเมืองคือใคร ถึงมาบอกว่า ช้างศึกของพระราชาคือ ช้างป่วย
ถึงเวลาหรือยังที่ “ช้างป่วย” ต้องแสดงพลัง ให้นักการเมืองและกลุ่มการเมืองนั้นเกิดสำนึกได้ว่า “ช้างศึกของพระราชา ไม่ใช่ ช้างป่วย” แต่เรามีคุณค่าและสร้างประโยชน์ในการพัฒนาประเทศชาติบ้านเมืองได้มากกว่า นักการเมืองเสียชาติเกิด นักเลือกตั้งชังชาติส่ำสัตว์ติ่งสัมภเวสีที่หาผลประโยชน์จากงบประมาณแผ่นดินมีกินอย่างสุขสบาย
14 พ.ค. 2566 ได้เวลาร่วมกันสั่งสอน ช้างไม่ป่วยปากดี ให้สำนึกสำเหนียกข้อเท็จจริงดีไหม
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี