• บทสรุปบางประเด็นสั้นๆ ที่เป็นกลาง มีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง และหลักฐานยืนยัน (ต่อ)
๗. คณะกรรมการของ “ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย” ชุด ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ เป็นเลขาฯรวมทั้งอ.ธีรยุทธ บุญมี ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล และผม ที่ได้มีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาบางส่วน ตลอดช่วงหลังจากมีการปะทุความขัดแย้งรอบใหม่ และได้อยู่ร่วมจนเหตุการณ์คลี่คลายฯ
๘. ความขัดแย้งของทหาร ๒ ฝ่าย
(๑) ฝ่ายหลักในช่วงแรก คือ ฝ่ายจอมพลถนอมประภาส ณรงค์ ที่เป็นรัฐบาล และคุมกองทัพ มาอย่างต่อเนื่อง
(๒) ฝ่ายรอง ที่พัฒนาขึ้นมาเป็นหลักในตอนท้าย คือ ฝ่ายพลเอกกฤษณ์ สีวะรา พลตำรวจเอกประเสริฐ รุจิรวงศ์พลอากาศเอกทวี จุลละทรัพย์ พลโทวิฑูรย์ ยะสวัสดิ์
- พลเอกกฤษณ์ เพิ่งขึ้นมาเป็น ผบ.ทบ ในวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๑๖
- พลตำรวจเอกประเสริฐ อดีตเจ้ากรม ปตอ.มีนักการเมืองที่ใกล้ชิดจำนวนหนึ่งรวมทั้ง คุณอนันต์ ฉายแสง คุณไขแสง สุกใส ฯลฯ
- พลอากาศเอกทวี จุลละทรัพย์ (ยังมีบทบาทในกองทัพอากาศ)
- พลโทวิฑูรย์ ยะสวัสดิ์ อดีต ผบ. เสือพราน ในลาว ฯ
๙. ช่วงแรก ในสวนรื่น คืนวันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๑๖ ฝ่ายจอมพลถนอม ยังกุมอยู่
วันที่ ๑๔-๑๕ ตุลาคม ๒๕๑๖ เป็นช่วงของการเปลี่ยนผ่าน เป็นจุดเปลี่ยน (Turning Point)
อำนาจมีการเปลี่ยนมือ จากฝ่ายจอมพลถนอมไปสู่ฝ่ายพลเอกกฤษณ์
เหตุการณ์สำคัญ
“จุดเปลี่ยน” คือ การใช้กลยุทธ์ ออกข่าวว่า “จอมพลถนอม ได้ลาออก” เป็นข่าวที่ออกมาจากกองบัญชาการสวนรื่นฯ : ซึ่งในช่วงนั้น ฝ่ายพลเอกกฤษณ์เข้ามาคุมได้แล้ว (คุณอาคม มกรานนท์ โฆษกฯ ผู้ประกาศ ได้เล่าข้อเท็จจริงให้ผู้ชมฯทราบโดยพูดออกรายการทีวี ของ ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ในช่วงหลังจากเหตุการณ์นานพอควรฯ แต่การลาออกของจอมพลถนอม เกิดขึ้นจริงในตอนหลัง) เป็นกลยุทธ์เหนือเมฆ ที่ทำให้แม่ทัพนายกองที่คุมกำลังกองทัพ เข้าใจผิดฯมีผลทำให้ “อำนาจกองทัพส่วนหนึ่ง ย้ายข้างมาอยู่กับ ฝ่ายพลเอกกฤษณ์”
๑๐. บทบาทของในหลวง ร.๙
ผู้มีบทบาทสำคัญในการทำให้เหตุการณ์ยุติลง : โดย
-จอมพลถนอมและคณะ (ยอม) ลาออก และบินออกไปนอกประเทศ โดยยึดหลัก “เอาผลประโยชน์ ความปลอดภัย และความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง”
-และการไม่มีการรัฐประหารของกลุ่มนายทหารอีกฝ่ายหนึ่ง
อนึ่ง ในช่วงนั้น มีความหวาดระแวงในเรื่องทฤษฎีโดมิโน ที่อาจจะลามมาถึงไทยและกระแสข่าวการเคลื่อนไหวของพคท.ที่จักใช้สถานการณ์ความขัดแย้งนี้ (แต่ข่าวยืนหลังภายหลัง คือ ไม่จริง)
กลุ่มบุคคล ที่มีความสำคัญ ส่วนหนึ่งที่ได้เข้าเฝ้าฯ
ในหลวง ขอกล่าวถึง
(๑) คณะกรรมการศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (บางส่วน) 16.20-17.20 น. บางส่วนที่ไม่ได้เข้าเฝ้า เป็นปัญหา การสื่อสาร การติดตามฯ ที่มีข้อจำกัด
(๒) ข่าว พลโทจำเป็น จารุเสถียร (ญาติผู้พี่พลเอกประภาส) ซึ่งดำรงตำแหน่งสำคัญ ได้เข้าเฝ้าฯในหลวงฯ
ฯลฯ
• มีข่าวสำคัญหนึ่ง : ที่มีผลต่อ เหตุการณ์ ตุลา ๒๕๑๙
ที่ได้มีการรับทราบในภายหลังฯคือ
“มีการขอให้ทุกฝ่าย เห็นแก่ความสงบสุขของบ้านเมืองเป็นหลัก” ส่วนหนึ่ง “การ (ยอม) เดินทางออกไปต่างประเทศ ของ จอมพลถนอม-ประภาส-ณรงค์” ซึ่ง (หากเป็นความจริง) เป็นเรื่องของการแสดงสปิริตและความรับผิดชอบ ๑ มีเงื่อนไข : ในการกลับมาไทยได้ ภายหลังเหตุการณ์เข้าสู่ความสงบเรียบร้อย (ซึ่งทางญาติพี่น้องของฝ่ายที่เดินทางออกไปฯ ได้รอคอยมาเป็นเวลานานพอควรและเมื่อเวลาผ่านไป ปี ๒๕๑๗ ๒๕๑๘ ๒๕๑๙ : ยังไม่มีสัญญาณ ให้กลับมา จึงมีการร้องผ่านไปหลายครั้ง โดยมีการส่งเสียงไปว่า “ที่ออกไป ก็เพราะยอมรับฯ และเห็นแก่บ้านเมืองฯ” จนในที่สุด จึงได้กลับมาฯ และเกิดการชุมนุมต่อต้านของประชาชนฯในช่วงปี ๒๕๑๙โดยแกนนำฯ ขาดการรับทราบ เหตุผลที่มาที่ไป ทางประวัติศาสตร์)
@ นักวิเคราะห์บางคนกล่าวว่า
ในช่วงตึงเครียด ของสถานการณ์ ในช่วง ๑๔-๑๕ ตุลาคม ๒๕๑๖
ทั้งสองฝ่ายมีกำลังทหารที่แน่นอน ของตน
- ฝ่ายจอมพลถนอม ประภาส ณรงค์ ซึ่งมีอำนาจกุมกองทัพมาร่วม ๑๐ ปี ยังมีอำนาจและการยอมรับจากกองทัพส่วนหนึ่ง
- ฝ่ายพลเอกกฤษณ์ และคณะฯ ซึ่งขึ้นมาเป็น ผบ.ทบ. เพียงไม่กี่วัน (๑ ตุลา ๒๕๑๖) ก็มีกำลังในสายบัญชาการส่วนหนึ่ง
@ หากฝ่ายจอมพลถนอม ไม่ยอม คงจะเกิดการต่อสู้ระหว่างทหาร ๒ ฝ่าย : เรื่องคงรุนแรงมาก ไม่สามารถประเมินได้ การยอมออกไปก่อนฯ ของฝ่ายจอมพลถนอม เพื่อเห็นแก่ “ความสงบสุขของบ้านเมือง” อันเป็นความปรารถนาใหญ่ของในหลวงฯ
เหตุการณ์สำคัญบางเรื่อง
• จอมพลถนอมลาออกจาก ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี (แต่ยังคงตำแหน่ง ผู้บัญชาการทหารสูงสุดฯ)
• วันอาทิตย์ที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ เวลา ๑๙.๑๕ น.
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ ๙ ทรงมีกระแสพระราชดำรัสพระราชทานแก่ปวงชนชาวไทยทั้งประเทศ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม แต่งตั้ง นายสัญญา ธรรมศักดิ์เป็นนายกรัฐมนตรี ผ่านทางโทรทัศน์ ณ หอตึกสมุดสวนจิตรลดา มีความว่า
“...วันนี้เป็นวันมหาวิปโยคที่น่าเศร้าสลดอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์ชาติไทย ตลอดระยะเวลา ๖-๗ วันที่ผ่านมา ได้มีการเรียกร้องและการเจรจากัน จนกระทั่งนักศึกษาและรัฐบาลทำข้อตกลงกันได้ แต่แล้วการขว้างระเบิดขวด และยิงแก๊สน้ำตาทำให้เกิดการปะทะกัน และมีคนได้รับบาดเจ็บหลายคนความรุนแรงได้ทวีขึ้นทั่วพระนครถึงขั้นจลาจล และยังไม่สิ้นสุด มีคนไทยด้วยกันเสียชีวิตนับร้อย ขอให้ทุกฝ่ายทุกคนจงระงับเหตุแห่งความรุนแรงด้วยการตั้งสติยับยั้งเพื่อให้ชาติบ้านเมืองคืนอยู่ในสภาพปกติ
อนึ่ง เพื่อขจัดเหตุร้ายนั้น
จอมพลถนอม กิตติขจร ได้ขอลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อค่ำวันนี้
ข้าพเจ้าจึงแต่งตั้งให้นายสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ขอให้ทุกคนทุกฝ่ายร่วมกันสนับสนุนเพื่อให้คณะรัฐบาลใหม่สามารถบริหารงานแผ่นดินได้โดยมีประสิทธิภาพเต็มเปี่ยมและแก้ไขสถานการณ์ให้คืนอยู่ในสภาพเรียบร้อยได้โดยเร็ว ยังความสงบสุขความเจริญรุ่งเรืองให้บังเกิดแก่ประเทศและประชาชนชาวไทยโดยทั่วกัน...”
• วันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๑๖
บ่ายแก่ๆ 15 ตุลาคม มี ฮ.ขึ้นบินวนเหนือสนามฟุตบอลในธรรมศาสตร์ แล้วกราดยิงปืนกลลงมาทำให้ นศ. เสียชีวิตจำนวนมาก (ข่าวบอกว่าเป็น พ.อ.ณรงค์ กิตติขจร ที่อยู่บน ฮ.และกราดยิงลงมาอย่างบ้าคลั่ง แต่ต่อมามีผู้ให้ข่าวว่าจริงๆ แล้ว พ.อ.ณรงค์ไม่ได้ทำ แต่มีการซ้อนแผนโดยใครบางคน นำ ฮ.ขึ้นอีกลำและใช้ทหารองครักษ์กราดยิงลงมา โยนความผิดให้ พ.อ.ณรงค์)
อ่านต่อได้ที่ https://board.postjung.com/1356951 ยังมีการต่อสู้ของนักศึกษาประชาชน และฝ่ายกองทัพใช้การปราบอย่างรุนแรง (ไม่มีการระบุว่า มีฝ่ายใดแทรกแซงหรือไม่)
ผบ.ทบ. ผบ.ทร. ผบ.ทอ. ต่างไม่เห็นด้วย กลายเป็นแรงผลักดัน ๑ ให้ จอมพลถนอมลาออกฯ และจอมพลถนอมประภาส ณรงค์ ได้ออกเดินทางไปต่างประเทศ เวลา ๑๘.๔๐ น.
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี