l ประเทศไทย มีศักยภาพและข้อดี จุดแข็ง ในหลากหลายเรื่องสำคัญ ที่หลายชาติไม่มี
การเป็นชาติที่มีรากฐานประวัติศาสตร์ที่งดงาม มีประเพณีวัฒนธรรมที่ดีงาม พัฒนาไปตามและสอดคล้องกับยุคสมัยมีทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ที่ตั้งของภูมิประเทศที่เป็นศูนย์กลางของภูมิภาค เชื่อมต่อกับประเทศต่างๆ ปลอดภัยจากอุทกภัยใหญ่ แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด คลื่นลมใหญ่ที่พัดกระหน่ำใส่แผ่นดินและประชาชนมีภูเขา แม่น้ำ ลำคลอง ป่าไม้ ที่นำมาซึ่งความร่มเย็น เป็นสุขให้กับประชาชนไทย
ที่สำคัญ มีบรรพบุรุษ และการผสมผสานของเชื้อชาติที่หลากหลาย โดยมีชนชาติไทยเป็นหลัก ที่มีน้ำใจไมตรีต่อผู้มาอาศัยและที่เป็นหัวใจใหญ่สำคัญที่สุด คือ มีบรรพบุรุษที่กล้าหาญเสียสละเพื่อรักษาปกป้องผลประโยชน์ของประเทศชาติ
ภายใต้ร่มโพธิ์ร่มไทร ของสถาบันพระมหากษัตริย์และศาสนาประจำชาติ มาอย่างยาวนาน
แต่ขณะเดียวกัน ก็มีข้ออ่อนสำคัญ ที่ทำให้เราไม่สามารถก้าวข้าม นำพาประเทศชาติและประชาชนไปสู่ประเทศพัฒนา และมีระบบการเมืองที่เป็นไปเพื่อผลประโยชน์ส่วนใหญ่ของประชาชน อย่างถึงที่สุดได้ คือ การมีสังคมไทย ยังมีระบบโครงสร้างของสังคม ที่ไม่เสมอภาคเป็นธรรม และประชาชน ขาดคุณภาพขาดความเป็นอิสระ เป็นตัวของตนเอง การมีส่วนรวม และต้องพึ่งพาคนส่วนน้อยของสังคม
สาเหตุใหญ่ประการหนึ่ง คือ เรายังติดแหง็ก อยู่ในถ้ำแห่งอวิชชา หรืออยู่กับที่ ที่ไม่สามารถก้าวข้าม “ปัญหาอุปสรรคใหญ่ทางความคิด” ที่ขวางทาง ทำให้เรา ไม่สามารถก้าวหน้าพัฒนา ทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ให้ไปสู่ประเทศศิวิไลซ์ได้
ประเด็นสำคัญ คือ การสรุปบทเรียน เหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่สำคัญ เรายังมีข้ออ่อน และข้อจำกัดทำให้เราไม่รู้ว่า เรามีจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคที่สำคัญ ที่ขวางกั้นทางอย่างไร เราจึงไม่สามารถฝ่า ก้าวข้ามอุปสรรคที่ขวางทางไปได้
ฉะนั้น หนทางแก้ไข ทางหนึ่ง คือ การสรุปบทเรียนประวัติศาสตร์ อย่างมีสติปัญญา ความจริงโดยต้องอาศัย ความกล้าหาญ เสียสละของผู้นำที่กล้าริเริ่มเริ่มต้นจากการใช้ โอกาส “๕๐ ปี ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖” เป็นใบบุกเบิก และผู้นำหรือผู้เกี่ยวข้องกับ เหตุการณ์ประวัติศาสตร์ใหญ่ของประเทศไม่ว่า เหตุการณ์ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ ๖ ตุลา ๒๕๑๙ ๑๗ พฤษภา ๒๕๓๕ ฯลฯ จะเริ่มปฏิรูป กรอบความคิดเก่า เปลี่ยนมาคิดใหม่ทำใหญ่โดยทุกฝ่าย ที่เกี่ยวข้อง ต้อง “วางใจเป็นกลาง ลดละเลิดอคติ ความเชื่อ ฯลฯ ของฝ่ายตนลง” นำข้อมูล ที่เป็นข้ออ่อน ที่ปิดซ่อน เพราะเกรง คนส่วนใหญ่จะรู้ความจริงนำมาเปิดเผยต่อสาธารณะ แล้วระดมความคิดเห็นใหญ่ของนักวิชาการ และผู้รู้ผู้เกี่ยวข้องของสังคมมาสังคายนา ปฏิรูป แสวงหาความจริงและแนวทางการแก้ไขฯ ซึ่งดูแล้วน่าจะสามารถทำได้ หากเรามีผู้นำที่กล้าหาญ เสียสละมากพอ
(แต่ที่ได้พูดคุยกับผู้เกี่ยวข้องหลายส่วนหลายคนมักพูดว่า “ดี” แต่ทำยาก และคงไม่สามารถทำได้ และบทสรุปลงท้าย คือ “ทำไปตามแบบเก่าๆ เดิมๆ ก็พอแล้ว) เป็นเรื่องน่าเศร้า พอควร !
l ฉะนั้น วันนี้เราจะมาคุยกัน ในเรื่องหลักที่สำคัญที่จะก้าวผ่านและทะลุ ไปสู่ความสำเร็จได้จริง เรามาศึกษาเรียนรู้ไปด้วยกัน
๑.การมองสังคมหนึ่งๆ ในกรอบคิดที่ถูกต้อง : เราจะมองให้ออกถึงภาพรวมของสังคมนั้น ได้อย่างไร
องค์ประกอบของพลังฝ่ายต่างๆ ที่สำคัญ
(๑) พลังที่ก้าวหน้า พลังล้าหลัง และพลังกลาง
(๒) พลังนำ พลังรวม และพลังชี้ขาด ของการเปลี่ยนแปลง
(๓) ความคิดที่ชี้นำของพลังการเปลี่ยนแปลง
(๔) เหตุการณ์ประวัติศาสตร์ ก่อนหน้า ที่จะพัฒนามาถึงวันนั้น
๒.สังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงไปนั้น ผลของการเปลี่ยนแปลง
พลังฝ่ายใด ที่ได้ประโยชน์ : เพราะอะไร?
พลังฝ่ายใด ที่เสียประโยชน์ : เพราะอะไร?
๓.ความคิดหลักและรอง ที่ถูกนำมาใช้ มาจากในประเทศ หรือต่างประเทศ สามารถนำเอามาใช้ ได้ประโยชน์อย่างแท้จริง หรือไม่ อย่างไรหากไม่สามารถนำมาใช้ได้ประโยชน์อย่างแท้จริง ควรมีการแก้ไขปรับปรุงอย่างไร
๔.การขยายตัว หรือ หดตัวของ ของพลังฝ่ายต่างๆ
๕.สิ่งที่เกิดขึ้นในสังคม ในช่วงต่อมา
๖.การสรุปบทเรียนของฝ่ายต่างๆ มีไหม ที่ผ่านมามีการสรุปบทเรียน อย่างไร ทำได้ผลแค่ไหน เพราะอะไรได้บทเรียน ที่นำไปสรุป เป็นหลักในการดำเนินต่อยอดใหม่
๗.เหตุปัจจัยที่สังคมไทยไม่ได้เข้าถึงความจริงองค์ความรู้ของสังคม และทีมงานด้านวิชาการ ไม่มีงานทางวิชาการของตนการมองที่ขัดกับความเป็นจริง เป็นเพราะอะไร รับฟังแต่ด้านดีของตน ไม่ยอมรับฟังข้ออ่อนของตนขาดการเปิดใจนั่งคุยกันอย่างจริงจัง จริงใจ ของฝ่ายต่างๆ ที่ขัดแย้งกัน
๘. เราจะแก้ไข พัฒนา “ข้อจำกัดนี้” ได้ไหม ต้องทำอย่างไร? เริ่มทำจากตัวเอง
รวมกลุ่มผู้มีความคิดก้าวหน้า ที่จะร่วมกันผลักดันเสนอ “ความคิดรวบยอด ที่ได้มา” เสนอต่อสังคม คิดต่อ
.....................................................................
มีนักวิชาการทางประวัติศาสตร์บางคน นำเสนอ โดยตั้งคำถามที่น่าสนใจขึ้น เพื่อนำเสนอเจาะจงไปในบางด้าน ผมจึงนำมา ดัดแปลง และนำเสนอให้ กลุ่มองค์กรด้านต่างๆ เกิดแนวคิดใหม่
l มรดกคนเดือนตุลา ๒๕๑๖ ต่อสังคมไทย
๑.เวลาพูดถึงคนเดือนตุลา คนไทยจะพูดถึงอะไร คนในรุ่นนั้นคนรุ่นต่อๆ มา โดยเฉพาะในปัจจุบัน
๒.อะไรคือมรดกของคนเดือนตุลาที่มอบให้กับแรงงาน นักศึกษา นักวิชาการ นักการเมือง กลุ่มทุนทางธุรกิจ กองทัพ ข้าราชการ สื่อ ฯลฯ
๓.มีอะไรหลงเหลืออยู่บ้าง และ
๔.อะไรที่ถูกละทิ้งไว้ ตกหล่นไม่ต่อเนื่องมา
* หมายเหตุ
สังคมไทย มีข้อจำกัด และข้ออ่อน ในการ “บันทึกประวัติศาสตร์ ตามสภาพความเป็นจริง” และการร่วมสรุปบทเรียนเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ให้ถูกต้อง เพื่อนำมาพัฒนาตนเอง กลุ่มสถาบันและบ้านเมืองให้พัฒนาก้าวหน้าเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ ก็เช่นเดียวกัน กับเหตุการณ์สำคัญอื่นๆ เป็นมาตั้งแต่ เหตุการณ์ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕
ในงานครบรอบ ๕๐ ปี ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ จะมีกิจกรรมมากมาย ก็ขอฝาก เรื่อง “การสรุปประวัติศาสตร์ ๑๔ ตุลา ๒๕๑๖ ที่เป็นจริงและถูกต้องด้วย”
ข้อมูลต่างๆ ที่ถูกเผยแพร่ออกมาตลอดระยะเวลาดังกล่าว ยังไม่สามารถนำเสนอความเป็นจริงที่ครบถ้วนออกมาได้
ผลที่เห็นเป็นที่ประจักษ์ คือ
“ผู้นำ แกนนำเคลื่อนไหว ส่วนใหญ่ ยังเดินซ้ำรอยเดิม คิดและทำแต่เรื่องเก่าๆ ที่แม้มีประโยชน์ แต่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องที่เป็นหัวใจของประวัติศาสตร์ คือ “ความจริง”
แหล่งข้อมูลต่างๆ ไม่น้อย ที่ให้ข้อสรุปคลาดเคลื่อน ต่อเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ โดยการมองและเข้าใจเหตุการณ์เฉพาะส่วนจากจุดที่ตนอยู่ ขาดการมองภาพรวม และความเป็นจริงที่เกิดขึ้นฯ
เช่น
-ทัศนะมุมมองของผู้นำบางส่วนในการนำชุมนุมฯ
-เรื่องราวที่ถูกเล่าถูกแต่ง ออกสู่สาธารณะ ที่มักเน้นไปที่ตัวบุคคลบางคน หรือกลุ่มองค์กรของตน
-การละเลยบทบาทของฝ่ายต่างๆ เหตุจาก ความคิดตรงกันข้ามกับตน
-จำนวนผู้เข้าร่วมชุมนุม (มักจะเสนอมากไป เพื่อความยิ่งใหญ่ของเหตุการณ์) การนำเสนออย่างถูกต้องเป็นจริงจะเกิดคุณค่ามากกว่า
-ทำไม พลังของผู้ชุมนุม ที่มีมากมหาศาลในช่วงหนึ่ง จึงไม่สามารถเปลี่ยนแปลงสังคมไทยได้และในช่วงท้ายๆ กลับลดน้อยถอยลง
-เหตุปัจจัย ที่นำไปสู่ชัยชนะ และการยุติการชุมนุมฯเป็นพลังของฝ่ายใด เพราะอะไร
-การกล่าวถึงข้ออ่อน ข้อเสียของฝ่ายอื่น แต่ไม่ได้สะท้อนข้ออ่อน ข้อจำกัดของตนเอง
ฯลฯ
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี