l มาทำความเข้าใจ หลักคิดที่มีสาระที่เกิดขึ้นในสังคมไทยจากการสรุปบทเรียน ๕๐ ปี ๑๔ ตุลา ๒๕๑๖
l ปัญหาใหญ่ ในสังคมไทย มีหลายประการ ส่วนสำคัญที่ขอยกมานำเสนอ คือ
1. การนำเสนอความคิดเห็นในเชิงปัจเจก ต่อเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ออกมาสู่สาธารณชน
เป็นเรี่องที่ดี ที่เป็นการเสนอความคิดเห็นและมุมมองต่อเหตุการณ์ที่ตนมีส่วนร่วมฯเป็นแง่มุมของปัจเจก และเป็นเหตุการณ์เฉพาะจุด หรือเฉพาะส่วนจะช่วยให้ผู้คนอื่นๆ หรือ คนรุ่นต่อมาได้เข้าใจรวมทั้ง เป็น “ข้อมูลส่วนหนึ่ง” ที่จะช่วยให้ “นักวิชาการ หรือผู้นำที่ต้องการสรุปบทเรียนของเหตุการณ์ประวัติศาสตร์นั้นๆ นำไปใช้ต่อ มิใช่ “ภาพและเรื่องราวทั้งหมดของเหตุการณ์” แต่สิ่งที่จะมีปัญหา และเกิดความเข้าใจ “ภาพทั้งหมดของประวัติศาสตร์คลาดเคลื่อน” หาก “ผู้เขียน” หรือ “ผู้อื่นๆ” จะเข้าใจผิดว่า “เรื่องที่เขียนมานั้น” เป็นความจริงแท้แน่นอนเพราะ “ภาพของความจริงของเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์” ต้องเป็น
(๑) ภาพรวมของเหตุการณ์ทั้งหมด
(๒) มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับ “อดีตที่ผ่านมา ของบุคลากร หน่วยงาน และสถาบันอื่นๆ” และการเชื่อมโยงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอนาคตจากเหตุปัจจัยของเหตุการณ์นั้น
(๓) การสรุปภาพรวม จากผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย และความจริงทุกเรื่อง อย่างตรงไปตรงมาโดยมีการ “จัดการประชุมสังเคราะห์อย่างเป็นทางการ หรือเป็นกิจจะลักษณะ” จะทำให้ “สังคม” ได้ความจริงที่ถูกต้องของประวัติศาสตร์หนึ่งๆ
2. การตีความ “วาทกรรม” ที่ใช้เรียก “ความคิดของนักการเมือง และผู้คนในสังคมไทย”
เช่น ประชาธิปไตย เผด็จการ สังคมนิยม เสรีนิยม อนุรักษ์นิยม ฯลฯ เป็นเรื่องมีความสำคัญ ที่ทำให้ผู้คนในสังคมไทยได้เข้าใจตรงตามความเป็นจริงทั้งนี้ เป็นเรื่องยากมาก แต่เป็นเรื่องจำเป็นที่จักต้องเข้าใจ
เพราะการเรียกตัวเองว่า “มีอุดมการณ์อะไร” หรือเรียกฝ่ายตรงข้ามหรือฝ่ายอื่นว่า “มีอุดมการณ์อะไร” จะทำให้ “ตัวเรา” “คนอื่น” และ “สังคม” เข้าใจเรื่องราวที่เกิดขึ้นในสังคมได้อย่างถูกต้อง เป็นจริงและรวมทั้ง ต่างชาติ ได้เข้าใจถูกต้องเมื่อเขามองสังคมไทย
3. คุณภาพของสังคม และคุณภาพของผู้คน (โดยเฉพาะผู้นำ และนักวิชาการนักวิจัย) ของประเทศหนึ่งๆ จะเป็นตัวกำหนด “หลักคิด” ที่ถูกต้อง ที่ทำให้ สังคมนั้นๆ สามารถกำหนดและเข้าใจถูกต้องได้ในส่วนของเหตุการณ์ความจริงของประวัติศาสตร์,วาทกรรมที่เกี่ยวข้องกับ “บุคลากรและการเมือง” ฯลฯ
ทั้งสามเรื่องที่ยกมากล่าวนี้ เป็นเรื่องที่มีความสำคัญยิ่งต่อสังคมหนึ่งๆ เพราะทำให้เกิดความเข้าใจ “ถูก ผิด และคลาดเคลื่อน จากความเป็นจริงได้” เป็นเรื่องยากจริง เพราะในต่างประเทศก็มีปัญหาไม่น้อย
ระหว่าง “อุดมการณ์ที่มี และความเป็นจริง” และยิ่งในสังคมไทย ที่มีข้ออ่อน ความจำกัด จากการที่นักวิชาการไทยขาดความสนใจในการศึกษาและตีความออกมา
เราจึงต้องมาทำความเข้าใจให้ได้ แม้จะยังไม่มากพอ
แต่จะได้เป็นจุดเริ่มในการสร้างสรรค์ และพัฒนา ให้ไปสู่ความสำเร็จ อันจะเป็นการทำให้ผู้นำและคนในสังคม “รู้และเข้าใจ” ประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาของตนเองว่า “เราเข้าใจถูกต้อง หรือผิดพลาดในเรื่องใด”
จะทำให้เรา รู้ว่า :
สังคมไทยเรา ปัจจุบันนี้ อยู่ในสังคมแบบใด ระดับใด อย่างสอดคล้องกับสภาพที่เป็นจริง
“เส้นทางที่เราเดิน หรือแนวทางที่เราใช้อยู่ในปัจจุบัน” จะต้องมีการปรับปรุงแก้ไขอย่างไรเป็นทางเดินเก่า ซ้ำรอยเดิมของประวัติศาสตร์ ที่ไม่มีทางนำไปสู่เป้าหมาย เส้นทางใหม่ที่ถูกต้อง สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของสังคมไทย ควรเป็นอย่างไร รวมทั้ง “การนำ การสอน” ต่อสังคม เยาวชน บุคลากรต่างๆ โดยเฉพาะ “ฝ่ายการเมืองและสื่อฯ” เพื่อ ให้ “ทุกคนทุกฝ่าย”เข้าใจอย่างถูกต้อง ในการเดินไปสู่อนาคตที่ดีร่วมกันของสังคมไทย
l วาทกรรมเกี่ยวกับการเมืองไทย เดินหน้าไปในทางที่แย่ลง เสื่อมลง
(ไม่ตรง ไม่จริงและทำให้เข้าใจผิด คลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริงมากขึ้น) โดยเราต้องมาศึกษาทำความเข้าใจว่า
๑.ที่มาอย่างไร?
๒.ใครมีบทบาท หรือมีอิทธิพลกำหนด อย่างไร?
๒.ใครได้ประโยชน์หรือ เสียประโยชน์
๔.ประเทศ หรือส่วนรวมเสียหายอย่างไร :
๕.ต่างชาติ หรือชาติใด ที่เข้ามา มีอิทธิพลกำหนด และได้ประโยชน์อย่างไร?
๖.เราจะแก้ไข “วิกฤต” นี้อย่างไร?
l มาดูรูปธรรม ในสังคมยุค ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖
มีคำศัพท์ หรือวาทกรรมที่ใช้กัน ไม่มาก ไม่รุนแรงความขัดแย้งคงมีต่อเนื่อง มีขอบเขต มีประนีประนอมฯการเข้ามาแทรกแซงของต่างชาติ โดยเฉพาะ อเมริกา ญี่ปุ่น มีลักษณะค่อนข้างไปทางทหาร และเศรษฐกิจ และอิทธิพลโลก
-อนุรักษ์นิยม เผด็จการ ประชาธิปไตย สังคมนิยม ฯลฯ
-รัฐบาล ฝ่ายค้าน กองทัพ คอมมิวนิสต์ นักการเมืองพรรคการเมือง นักศึกษา ประชาชน
-สื่อ นายทุน ข้าราชการ นักวิชาการ
-รัฐประหาร การเลือกตั้ง การแต่งตั้งฯ
-การเลือกตั้ง เน้นทางท้องถิ่น อิทธิพลเงินทอง สื่อ การซื้อเสียงจำกัด มีหลายพรรคไม่ต่างกันมาก
-ฯลฯ
l ในยุคปัจจุบัน มีการเปลี่ยนแปลงในเชิงปริมาณ เข้าสู่ในระดับที่รุนแรง ร้ายแรงกว่าฯ มีคำศัพท์มากขึ้น ยากเข้าใจ ความสับสน รุนแรง มั่ว บิดเบือน ข้อเท็จจริงมีน้อยลง ผลประโยชน์ และความขัดแย้งรุนแรงมากขึ้น มีโอกาสการพัฒนาไปสู่วิกฤตใหญ่
หากไม่มีการแก้ไขทันท่วงที มีการสร้างวาทกรรมป่วน ตามมาด้วยความรุนแรง วุ่นวายฯ แน่นอน มีผู้ได้ประโยชน์ เสียประโยชน์
ประเทศชาติ สับสน เสียหาย มีมุมมองที่ต่างกันอย่างรุนแรง ที่เกิดจาก “การกระทำอย่างมีเป้าหมาย” มิใช่เป็นปกติเป็นเรื่องที่มีลักษณะเฉพาะของสังคมไทย แม้ว่าจะมีต่างชาติแทรกแซง และได้ประโยชน์
แต่ผลประโยชน์หลัก และใหญ่ เป็นเรื่องของ “บุคลากร สถาบัน องค์กรฯ ในประเทศ เป็นเรื่องละเอียดอ่อน ยากแก่การทำความเข้าใจ และอธิบายเพราะเป็นเรื่องของความคิด ความเชื่ออุดมคติ อุดมการณ์ อคติ อัตตาของแต่ละคน แต่ละฝ่ายและไม่มีใคร สถาบันใด มาทำหน้าที่ “สร้างความเข้าใจ หรือ มากำหนดให้สังคมยอมรับร่วมกันฯ”
ยกตัวอย่าง บางวาทกรรม
(๑) ประชาธิปไตย เผด็จการ อนุรักษ์นิยม ฯลฯ ใคร ฝ่ายใด คือ ประชาธิปไตย เผด็จการ
(๒) รัฐประหาร การเลือกตั้ง การแต่งตั้งฯ ข้อเท็จจริงคืออะไร อะไรมีผลดีผลเสีย อย่างไร อะไรมากกว่า
(๓) รัฐธรรมนูญ การลงประชามติ ยอมรับ การไม่ยอมรับ เหตุผล คำอธิบาย ข้ออ้าง คำแก้ตัว
(๔) ความถูกผิด ควรไม่ควร
มีถูกผิดไหม ดูจากอะไร บุคคล องค์กร ส่วนรวม บ้านเมือง
l มีความเห็นของบุคคลสำคัญของไทยที่มีสาระ น่าสนใจ
1.ประชาธิปไตย คือประโยชน์ของประชาชนส่วนใหญ่ ไม่ใช่ประชาชนเป็นใหญ่ ต้องให้ประชาชนได้รับประโยชน์เต็มอย่างนั้นจึงจะเป็นประชาธิปไตย (ท่านพุทธทาส)
2.ท่านอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี ๒ สมัย
(๑) อย่าไปถึงว่า พอมีรัฐประหารแล้วเลวไปหมด
ต้องดูเสียก่อน ทำไมจึงรัฐประหาร?ถ้าเป็นรัฐประหารปกป้อง-ป้องกันประชาธิปไตย...ทำได้!หรือต้องการมาทำลาย คนที่มาทำลายประชาธิปไตย...ทำได้!
(๒) “ประเทศไทยไม่เคยมีประชาธิปไตยมาโดยตลอด”
3.อดีตนายกฯชวน หลีกภัย ๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๗
การรัฐประหาร ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗ มีเหตุผลและความชอบธรรมเนื่องจาก รัฐบาลยิ่งลักษณ์ มีการแทรกแซงกระบวนการยุติธรรมทุกระดับ อย่างที่ไม่เคยมีรัฐบาลใดกระทำมาก่อน ฯลฯ
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี