แนวในการเขียนบทความประกอบหนังสือ ครบ ๕๐ ปี ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖
l ในงานครบรอบ ๕๐ ปี ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖
มีการออกหนังสือเกี่ยวกับ “เหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖” เพื่อเป็นอนุสรณ์รำลึก ๑๔ ตุลา ๒๕๑๖ที่มีคุณค่า ความหมาย ต่อสังคมไทย โอกาสนี้ ขอนำเสนอแนวคิด ต่อ แนวในการเขียนบทความประกอบหนังสือ ครบ ๕๐ ปี ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ โดยขอนำเอาบทความ ที่ผู้ร่วมเหตุการณ์ ที่มีบทบาทต่อ เหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ ของบางท่าน มาเสนอ
๑.บทความประกอบหนังสือ “ครบรอบ 50 ปี 14 ตุลา 2516” โดย นายเหม ศรีวัฒนะธรรมา
๒.50 ปี 14 ตุลา 2516 กับ สังคมไทย โดย สมชาย หอมลออ
l ๑. บทความประกอบหนังสือ “ครบรอบ 50 ปี 14 ตุลา”
ผู้เขียน - นายเหม ศรีวัฒนะธรรมา
สถานภาพ (อดีต) - นายกสโมสรนักศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร ปีการศึกษา 2515
- กรรมการ ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ปีการศึกษา 2515 ขอกล่าวอย่างสังเขป ดังนี้............
บทนํา
มหาวิทยาลัยศิลปากรเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่มีเอกลักษณ์เป็นศูนย์การสอนวิชาศิลปะแขนงต่างๆ ที่มากและโดดเด่นของชาติบทบาทของศิลปากรในการร่วมกิจกรรมในเหตุการณ์ต่างๆ กับศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (ศนท.) ดังจะกล่าวต่อไปที่เกิดขึ้นในช่วงปีการศึกษา 2515 จนถึงเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516นั้น จึงขอพูดเรื่องความร่วมมือในกิจกรรมที่ต้องใช้ทักษะที่เกี่ยวข้องกับงานศิลปวัฒนธรรมที่ศิลปากรเป็นผู้กํากับดูแลเป็นหลัก ในขณะเดียวกัน จะกล่าวถึงบทบาทของศิลปากรที่มีส่วนร่วมเรียกร้องประชาธิปไตยและรัฐธรรมนูญกับสถาบันอื่นๆ
เหตุการณ์รณรงค์ “สัปดาห์ไม่ซื้อสินค้าญี่ปุ่น”
ปีการศึกษา 2515 ได้ไม่นาน มีกลุ่มนิสิตจากมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ได้มีการรณรงค์ปลุกกระแสชาตินิยม โดยสวมใส่เสื้อผ้าฝ้ายดิบที่ผลิตภายในประเทศ จนกลายเป็นกระแสที่ยอมรับและร่วมด้วยในสถาบันอื่นๆ คณะกรรมการ ศนท. โดยมีนายธีรยุทธ บุญมี เป็นเลขาธิการสมัยนั้น จึงเกิดความคิดที่จะนํากระแสชาตินิยมดังกล่าวมาขยายผล โดยรณรงค์ให้ประชาชนเห็นภัยจากการถูกประเทศพัฒนาที่มีทั้งทุนและอิทธิพลสูงมาครอบงําและรุกรานทางเศรษฐกิจของชาติ จนมีผลทําให้ประเทศไทยขาดดุลการค้าต่อเนื่อง เช่น ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ได้เปรียบดุลการค้าไทยมากที่สุดประเทศหนึ่ง มีสินค้าที่หลากหลายนําเข้ามาแย่งชิงตลาดสินค้าไทยอีกทั้งมีการลงทุนเปิดห้างสรรพสินค้าที่ใหญ่และทันสมัย เช่นไทยไดมารูมาแย่งชิงเป็นผู้นําตลาดค้าปลีกสินค้าคุณภาพ กรรมการศนท.จึงได้ตัดสินใจ เจาะจงเลือกจัดกิจกรรมรณรงค์ “สัปดาห์ไม่ซื้อสินค้าญี่ปุ่น” เป็นเชิงสัญลักษณ์แทนการต่อต้านสินค้าต่างชาติในช่วงระหว่างวันที่ 20-30 พฤศจิกายน 2515
บทบาทที่ศิลปากรร่วมรณรงค์ “สัปดาห์ไม่ซื้อสินค้าญี่ปุ่น”
เป็นเรื่องของการออกแบบและจัดพิมพ์โปสเตอร์ต่างๆ ในการรณรงค์ต่อนักเรียน นิสิตนักศึกษาและประชาชน เช่น เขียนโปสเตอร์บนผืนผ้าหน้ากว้าง 36 นิ้ว ยาวต่อเนื่องทั้งม้วนออกแบบจัดพิมพ์โปสเตอร์ขนาดภาพ 39 x 54.5 ซม. สําหรับติดประกาศตามอาคาร สถาบัน และสถานที่ต่างๆ เป็นภาพการ์ตูนเด็กญี่ปุ่นกําลังขี่คอเด็กไทยและโบกธงชาติญี่ปุ่น อย่างสนุกสนาน ฯลฯ
ศิลปากรกับโครงการส่งเสริมเอกลักษณ์เครื่องแต่งกายประจําชาติ บทบาทของศิลปากรกับการเรียกร้องรัฐธรรมนูญ ฯลฯ
๒. 50 ปี 14 ตุลา 2516 กับ สังคมไทย โดย สมชาย หอมลออ
(๑) บทบาทในเหตุการณ์
ผมเข้าไปเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ ในฐานะที่เป็นทีมงานที่ได้รับมอบหมายจากคุณพีรพล ตริยะเกษมนายกองค์การ นักศึกษาธรรมศาสตร์ ให้ทำหน้าที่ร่วมกับอีกหลายคนเป็น คณะทำงานด้านการข่าว เพื่อประเมิน วิเคราะห์ประเมินสถานการณ์จากข้อมูลที่ได้รับจากนักข่าวสายประชาธิปไตยและแหล่งอื่นๆ แล้วเสนอแนะประเด็น และการเคลื่อนไหวต่อแกนนำในการชุมนุม โดยเฉพาะคุณเสกสรรค์ ประเสริจกุล ที่คุมเวทีการชุมนุม ณ สนามฟุตบอล ธรรมศาสตร์
.............
(๒) ประเด็นที่สำคัญ ที่นำเสนอ
เหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ เกิดขึ้นและจบลงภายใน ๑๐ วัน (ตั้งแต่ ๖-๑๕ ตุลาคม ๒๕๑๖) แต่ ๑๔ ตุลามีที่มาที่เป็นที่ไป ของ “คนเดือนตุลาคม” มีระยะเวลาไม่น้อยกว่า ๑๐ ปีกล่าวคือ มีบทบาทต่อเนื่องมาจากวันนั้น ถึงราวปี ๒๕๒๔-๒๕๒๖
@ คนเดือนตุลาได้รับบทเรียนและได้ให้บทเรียนอะไรต่อสังคมไทยบ้าง?
โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อชนรุ่นหลัง ที่กำลังต่อสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพและประชาธิปไตย ทั้งบทเรียนของความสําเร็จและความล้มเหลวความปีติยินดีและความเจ็บปวด ๕๐ ปีของเหตุการณ์ ๑๔ ตุลากำลังจะผ่านไป แต่ยังไม่มีการสรุปบทเรียนที่ชัดเจนของคนเดือนตุลานับว่าเป็นสิ่งที่น่าท้าทายยิ่งทั้งข้อเท็จจริงและมุมมองของผู้เกี่ยวข้อง รวมทั้งการนำเสนอยังอาจปะปนไปด้วยความคิด ความเชื่อและอคติส่วนตนไม่มากก็น้อยจึงต้องอาศัยการประมวลเหตุการณ์อย่างรอบด้านจากทุกๆ ฝ่าย
@ ที่มาของเหตุการณ์ ๑๔ ตุลา
มีที่มาจากเหตุปัจจัยหลายประการประกอบกันทั้งเหตุปัจจัยทางสากล ที่คนหนุ่มสาวส่วนหนึ่งในประเทศได้รับแรงบันดาลใจ.....และเหตุขัดแย้งในประเทศ ของกลุ่มชนชั้นนำ......โดยกลุ่มทหารด้วยกันฯรวมทั้งสถานการณ์ตกต่ำทางเศรษฐกิจของประเทศในขณะนั้น ล้วนประกอบเป็นเหตุปัจจัยในการเกิดเหตุการณ์ทั้งสิ้น
@ บทเรียนของสังคมไทย
๑.ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ ๑๔ ตุลา มีที่มา ที่เป็นและที่ไปอย่างไร ยังขาดข้อเท็จจริงขาดการประมวลและวิเคราะห์ เกี่ยวกับเหตุการณ์ และคนเดือนตุลา อย่างจริงจังและเป็นระบบ จึงอยากจะเชิญชวนพี่น้องตนเดือนตุลา นักวิชาการนักประวัติศาสตร์ รวมทั้งเยาวชนรุ่นต่อๆ มา แม้ไม่ได้ร่วมเหตุการณ์หรือมิใช่คนเดือนตุลา ได้ร่วมส่วนในกระบวนการการรวบรวมดังกล่าวแทนที่จะฉลองเพื่อรําลึกถึงเหตุการณ์เพียงปีละครั้ง
๒. ๑๔ ตุลา ไม่ใช่ของใคร ไม่ว่าจะเป็นผู้นําหรือคนเดือนตุลา แต่เป็นของชาวไทยทุกคน
แม้แต่ข้อเท็จจริงในเหตุการณ์ ๑๐ วัน ซึ่งเป็นเพียงระยะสั้นๆ แต่ยังมีข้อเท็จจริงที่ลึกลับซับซ้อนอีกมากเช่น ทำใม ทำไม และทำไม จอมพลถนอม-ประภาส ขัดแย้งกับ พลเอกกฤษณ์สีวะราและพวกฯ ที่ทําให้สถานการณ์เปลี่ยนแปลงจน ๓ ทรราชย์ ต้องเดินทางหนีไปต่างประเทศจริงหรือไม่ใครเป็นผู้ทําให้คนทั้งสามต้องเดินทางออกนอกประเทศและมีสัญญาอะไรกันหรือไม่ พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย บงการการชุมนุมหรือไม่ ฯลฯ
๓. การเดินทางของคนเดือนตุลา
สําหรับข้อเท็จจริงและประสบการณ์ของการเดินทางของคนเดือนตุลา ในช่วงนั้นกว่า ๑๐ ปี มีความสลับซับซ้อนยิ่งนัก สมควรที่จะช่วยกันคลี่ออกมาเพื่อให้เปิดเผยออกมาสู่ประชาชนและคนรุ่นใหม่ ฯลฯ
๔. การต่อสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพและประชาธิปไตย
เหตุการณ์ ๑๔ ตุลา ๒๕๑๖ เป็นการต่อสู้ในรูปแบบต่างๆ เพื่อเปลี่ยนแปลงในเชิงโครงสร้าง หรือเชิงระบบ เพื่อเปลี่ยนผ่านประเทศไทยจากระบอบอำนาจนิยม ที่แสดงออกในรูปแบบต่างๆ ไปสู่ประชาธิปไตยที่ยั่งยืน แต่โครงสร้างทางการเมืองเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ในปัจจุบันก็ยังเป็นเช่นนั้นเชื่อว่ายังมีอีกจำนวนมากยังต้องการ การเปลี่ยนผ่านนี้อยู่จึงอยากเรียกร้องให้คนเดือนตุลาประสานความร่วมมือกับคนรุ่นใหม่ เพื่อร่วมกันผลักดันให้ประเทศไทยเปลี่ยนผ่าน จากระบอบอำนาจนิยมไปสู่ประชาธิปไตย ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการเคารพ ปกป้องสิทธิเสรีภาพของประชาชน สิทธิมนุษยชนและความเข้มแข็งของนิติรัฐ นิติธรรม
สวัสดี
l มีข้อเสนอของคนเดือนตุลา และคนในปัจจุบัน เสนอว่า :น่าจะมีการระดมความคิดกัน ถึง : แนวทางและทางออกของสังคมไทยที่จะก้าวข้าม วิกฤตและความขัดแย้งของสังคม ไปสู่ประชาธิปไตยเพื่อคนส่วนใหญ่ได้อย่างไร?
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี