บทเรียนที่สำคัญ คือ การศึกษาเรียนรู้ความจริงของเหตุการณ์ มิใช่ใช้อคติ จินตนาการไปเองจะป้องกันเรื่องร้ายแรง มิให้เกิดขึ้นได้
๑. การเคลื่อนไหวของภาคประชาชนช่วงต้น หลัง ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖-ปี ๒๕๑๗ ไปได้ด้วยดี มีโครงการเผยแพร่ประชาธิปไตยไปสู่ชนบท ของนักศึกษา ประชาชน มีการตั้งพรรคการเมืองโดยนักการเมืองสังคมนิยม นักวิชาการ และอดีตผู้นำนักศึกษาฯ ได้รับการต้อนรับและสนับสนุนจากประชาชนอย่างดียิ่ง โดยได้ สส.ถึง ๓๗ คน (การเลือกตั้ง ๒๖ มกราคม ๒๕๑๘) และทำให้กลุ่มขวาจัด เริ่มเคลื่อนไหวต่อต้านอย่างเป็นกระบวนการฯ
๒. หลังจากนั้น ผู้นำฯกลุ่มภาคประชาชนปีกซ้ายจัด มีการจัดตั้งการเคลื่อนไหวหนัก ใช้กรอบคิดและแนวทางซ้ายจัดเช่น แนวทางของกลุ่ม Red Guard ของจีน ฯลฯ ในกลุ่มนักศึกษา ชาวนา กรรมกรและพรรคการเมือง (บางส่วนฯ) ในช่วงแรกดูเหมือนได้ผลดี แต่ต่อมา ยิ่งมีการเคลื่อนไหวรุนแรงขึ้น
มีการเสนอ “วาทกรรม” : เลือดต้องล้างด้วยเลือด ตายสิบเกิดแสน ฯลฯ
๓. ประกอบสถานการณ์โลกขณะนั้น มีกระแสทฤษฎีโดมิโน (เมื่อเวียดนาม ลาว กัมพูชา ล้มลง ประเทศไทยต้องเป็นรายต่อไป) ก่อให้เกิดความรู้สึกไม่ปลอดภัยสำหรับกลุ่มคนมั่งมีและนายทุนส่วนหนึ่งฯเริ่มทยอยอพยพไปประเทศที่สามฯ
๔. อีกทั้งกลุ่มขวาจัด ที่ประกอบด้วยกันหลายฝ่าย เช่น กลุ่มนวพล ลูกเสือชาวบ้าน(บางส่วน) กระทิงแดง นักวิชาการ ทหารตำรวจ(บางส่วน) ซึ่งมิใช่ “กองทัพ ข้าราชการ และยิ่งไม่เกี่ยวข้องกับสถาบันหลักของชาติ “ที่ได้รวมตัวเป็นกลุ่มก้อนใหญ่โตหลังจากพ่ายแพ้ให้กับขบวนการนักศึกษาประชาชนฯ ในเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ มีการเคลื่อนไหวโต้กลับอย่างรุนแรงมากขึ้นทวีคูณมีการลอบสังหาร ผู้นำ กรรมการ ชาวนา นักศึกษา นักการเมือง และผู้นำต่างๆ ถี่ขึ้น
๕. ความพยายามของฝ่ายภาคประชาชน ที่เน้นแนวทางสันติวิธี ซึ่งดูสุขุมรอบคอบแต่ไม่ตื่นเต้น เร้าใจ และไม่สะใจของเยาวชนคนหนุ่มสาวที่ต้องการตอบโต้ความรุนแรงของฝ่ายขวาจัด
๖. ผู้นำนักศึกษา นักวิชาการ นักการเมืองบางส่วนฯ ได้พยายามตักเตือน และใช้วิธีนิ่มนวลใช้หลักการที่ถูกต้องในการเคลื่อนไหวประชาชนแต่ไม่สามารถต้านทานได้และส่วนหนึ่งได้ข้อสรุปว่า “อีกไม่นาน ต้องมีการปราบปรามประชาชนหนัก”
รูปธรรมที่ประจักษ์ คือ
มีกลุ่มผู้นำอย่างน้อย ๓ กลุ่ม เดินทางออกไปต่างประเทศและเข้าป่าไปเตรียมสู้ต่อไปในสถานการณ์ใหม่ คือ
1. สิงหาคม ๒๕๑๘ กลุ่มเสกสรร เทิดภูมิ ประสิทธิ์ เดินทางไปฝรั่งเศส
2. มกราคม ๒๕๑๙ กลุ่มสส. ไขแสง สุกใส และคณะเดินทางเข้าป่าทางภูพานฯ
3. ๗ สิงหาคม ๒๕๑๙ กลุ่มธีรยุทธ ชัยวัฒน์ฯ เดินทางเข้าป่าทางเขตดอยยาวเชียงราย
อีกทั้งในการเคลื่อนไหวของกลุ่มนักศึกษาประชาชน ที่ออกมาต่อต้าน
การกลับเข้าประเทศของจอมพลประภาส จอมพลถนอมในกรุงเทพฯ
มีผู้นำนักศึกษา ประชาชน จำนวนหนึ่งไม่เห็นด้วย และออกมาห้ามปรามฯ แต่ไม่ได้ผล
แม้แต่ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สมัยนั้น ออกมาโบกมือห้าม
สิ่งที่ได้รับกลับ จาก “แกนนำการเคลื่อนไหวของนักศึกษา ประชาชน”
กล่าวหา ดร.ป๋วยรุนแรง “ไม่สู้จริง รับใช้ทรราช ฯลฯ”
• ความเข้าใจผิด ด้วยคิดอคติต่อสถาบันฯและการไม่ศึกษาทำความเข้าใจ “ข้อเท็จจริง” ที่เกิดขึ้นในเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๙ ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่งที่ขอนำมาเสนอ เพื่อเป็นข้อมูลแลกเปลี่ยนเชิงวิชาการและข้อเท็จจริง
๑. พลังของฝ่ายต่างๆในสังคมไทย ที่ก่อให้เกิดเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ ที่ยิ่งใหญ่ของไทย
(๑) พลังของนักเรียนนักศึกษาและประชาชนร่วม ๒๐๐,๐๐๐ คน (๗-๑๓ ตุลาคม ๒๕๑๖)
(๒) พลังฝ่ายตรงกันข้าม คือ กองทัพและกำลังฝ่ายรัฐบาลจอมพลถนอม ประภาส ณรงค์ ซึ่งกุมอำนาจทางรัฐบาลและกองทัพต่อเนื่องมากว่า ๑๐ ปี
(๓) พลังที่ขัดแย้งกับ (๒) คือ พลังฝ่ายพลเอกกฤษณ์ วิทูรย์ กองทัพ นักการเมืองบางส่วนซึ่งพลเอกกฤษณ์ สีวะรา เพิ่งเข้ารับตำแหน่ง ผบ.ทบ. ๑ ตุลาคม ๒๕๑๖
(๔) พลังฝ่ายประสานฯ เพื่อให้เหตุการณ์สงบ กลับคืนสู่สภาพปกติ (ไม่ค่อยมีการกล่าวถึง) ทำหน้าที่ติดตามข่าวสารมาตลอด โดยเฉพาะช่วง ๖-๑๕ ตุลาคม ๒๕๑๖ เพราะ“ทำหน้าที่ปิดทองหลังพระ”
๒. เหตุการณ์ยิ่งใหญ่ทางประวัติศาสตร์ของไทย ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ จบลงในเวลารวดเร็ว(อันสั้น)
(๑) การตั้งกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญ และการจับกุมผู้นำฯที่แจกใบปลิว ๖ ตุลาคม ๒๕๑๖
(๒) การรวมตัวชุมนุมคัดค้านข้อหากบฏที่รัฐบาลตั้งต่อ ๑๓ กบฏเรียกร้องรัฐธรรมนูญและการยื่นคำขาดให้รัฐบาลปล่อยตัว ๑๓ กบฏเรียกร้องรัฐธรรมนูญ (๗-๑๓ ตุลาคม ๒๕๑๖)
(๓) เหตุการณ์ยุติลง โดย จอมพลถนอมลาออก และคณะยอมเดินออกไปต่างประเทศ (๑๓-๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ เป็นช่วงพลิกผันของสถานการณ์)
(๔) ในหลวง ทรงติดตามสถานการณ์ตลอดเวลามีการเชิญผู้นำศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาเข้าพบ มีการเชิญพลโทจำเป็น จารุเสถียร (สมุหราชองครักษ์) เข้าเฝ้าฯ และบุคคลสำคัญที่เกี่ยวข้องฯ เข้าเฝ้าฯ
(๕) แต่งตั้ง อาจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรีและมีพระราชดำรัสต่อประชาชน ฯลฯ (เวลา ๑๙.๑๕ น.๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖)
๓. สถานการณ์ของเหตุการณ์ทางการเมืองและกองทัพที่แปรเปลี่ยนฯไปตามช่วงเวลา
(๑) จอมพลถนอมและคณะ กุมอำนาจรัฐบาลและกองทัพ มาตลอดจนถึง ๑๓ ตุลาคม ๒๕๑๖
(๒) ฝ่ายพลเอกกฤษณ์ พลตรีวิฑูรย์ ยะสวัสดิ์ เข้ากุมอำนาจ ๑๔-๑๕ ตุลาคม ๒๕๑๖ เป็นต้นไป
(๓) มีข่าวปล่อยว่า “จอมพลถนอมลาออกจากตำแหน่งนายกฯ ในวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖”
(ข้อมูลจาก คุณอาคม มกรานนท์ โฆษกฯ ว่า ตอนแรกไม่ใช่ แต่มาลาออกจริงหลังจากนั้น)
(๔) ข่าวการมีทหารออกปราบปรามประชาชนผู้ชุมนุมฯ พันเอกณรงค์ ขึ้นเฮลิคอปเตอร์ยิงลงมาฯ (ข้อมูลจากฝ่ายพันเอกณรงค์ ออกมาปฏิเสธ ซึ่งมีความเป็นจริง มากกว่า)มีผลทำให้ ผู้บัญชาการกองทัพเรือ อากาศฯ ออกมาร่วมกับฝ่ายพลเอกกฤษณ์และคณะ
(๕) ฝ่ายจอมพลถนอม ยินยอมเดินทางไปต่างประเทศ เพื่อให้เหตุการณ์สงบ
๔. บทบาทที่สำคัญยิ่ง ที่เป็นปัจจัย ทำให้ฝ่ายจอมพลถนอม ยอมเดินทางไปต่างประเทศ
คือ บทบาทของในหลวง ร.๙ ที่ยึดเอาความสงบและความสุขของประชาชนไทยเป็นที่ตั้ง
(๑) กำลังของทหาร ๒ ฝ่าย จอมพลถนอม และพลเอกกฤษณ์ ดุลกันอยู่ ไม่มีใครกุมอำนาจเด็ดขาด
(๒) การนำเสนอให้ “ฝ่ายจอมพลถนอม เดินทางไปต่างประเทศ เพื่อให้เหตุการณ์สงบลง” และค่อยเดินทางกลับเข้ามาในภายหลัง
(๓) ดูถ้อยคำในพระราชดำรัสฯ “เพื่อขจัดเหตุร้ายนั้น จอมพลถนอม ได้ขอลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อค่ำวันที่ (๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖)
(๔) ข้อมูลจากญาติของฝ่ายจอมพลถนอ มประภาสว่า “ได้ทรงขอให้ไปต่างประเทศก่อน เพื่อยุติความรุนแรงให้บ้านเมืองกลับส่ภาวะปกติ แล้วค่อยกลับมา”
ซึ่งฝ่ายญาติฯ รอคอยมายาวนาน และมีการเรียกร้องอย่างต่อเนื่องฯ
• เหตุผลที่สำคัญนี้ จึงทำให้จอมพลประภาส และจอมพลถนอมเดินทางกลับเข้ามาฯและด้วยความไม่รับรู้และเข้าใจที่ไปที่มาฯ โดยไม่มีการสรุปบทเรียนฯ ผู้นำและแกนนำของ นักศึกษา ประชาชน กลุ่มซ้ายจัดฯ จึงจัดชุมนุมฯใหญ่ประท้วงและที่สำคัญ คือ การกล่าวหา ล่วงละเมิดสถาบันฯว่า เป็นแผนของสถาบันฯ
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี