• ขอปูพื้นความเข้าใจเบื้องต้น: ด้วยเรื่องราวที่มีสาระเกี่ยวข้องกับ เหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ (๓)
@ การพัฒนาของการเมืองไทย มิใช่ง่ายเลย และค่อนข้างยากมาก
เพราะ เหตุที่หลักคิดในการพัฒนา การปฏิรูปนักวิชาการ ผู้นำ และนักการเมืองฯ
ติดกรอบคิดตะวันตก เป็นหลัก (ทั้งทางตรงและทางอ้อม)
โดยมิได้คำนึงถึง หลักการสำคัญยิ่ง คือ
“ประเทศหนึ่งๆ มีสภาพของสังคมและประชาชนแบบเฉพาะของตน
การจะพัฒนาหรือปฏิรูปไปให้ถึง จุดที่เป็นประชาธิปไตยของประชาชนอย่างแท้จริงได้
จำเป็นต้องมีรูปแบบ และแนวทางที่สอดคล้องกับสภาพสังคม ตามจังหวะก้าวและขั้นตอนของตน
จึงจะเกิดความเป็นจริงได้
ทั้งแบบของตะวันตก หรือ ตะวันออก (เช่น จีน สิงคโปร์)
ที่ผ่านมา สาเหตุใหญ่ที่ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะ ผู้นำหรือ ผู้เปลี่ยนแปลง มิได้ใช้ทัศนะนี้มาคิดพิจารณา
และมีกองเชียร์ ที่นำเสนอ “วาทกรรม” ว่า “เรามาถูกทางแล้ว แต่จำเป็นจะต้องใช้เวลาฯ
ซึ่งเราใช้เวลามาพอสมควรแล้ว แต่ยังติดกับดักความคิดเช่นนี้ มาตลอด
วันนี้ ขอนำความคิด ขั้นตอนพัฒนาการเมืองไทยมาประกอบ เพื่อชี้ให้เห็นถึง
ความคิดทางการเมืองหนึ่งที่มีสาระ น่าสน ทางหนึ่ง ที่ยึดสภาพความเป็นจริงของสังคมไทย
จาก นิติสงคราม สู่ ประวัติศาสตร์ สงครามโดย ศาสตราจารย์ ธีรยุทธ บุญมี”
ไทยผ่านวิกฤตระดับการล่มสลายหรือความตกต่ำมาหลายหน โชคดีที่มีการเปลี่ยนแปลงใหญ่ๆ เกิดขึ้นทันท่วงที การเปลี่ยนแปลงใหญ่ๆ นี้ไม่จำเป็นต้องเกิดจากฝ่ายประชาชน
- แต่กษัตริย์ทรงริเริ่มเปลี่ยนแปลงได้
- รัฐบาลทหารก็สร้างความเปลี่ยนแปลงใหญ่ได้
- นักศึกษา ปัญญาชน ประชาชน ก็สร้างการเปลี่ยนแปลงได้ และ
เป้าหมายการเปลี่ยนแปลงใหญ่ก็ไม่จำกัดเฉพาะเรื่องสิทธิ เสรีภาพ หรือ
อำนาจการเมืองของประชาชน
แต่เป็นเรื่องเศรษฐกิจ การบริหาร การปกครอง วัฒนธรรมก็ได้
แต่ทิศทางโดยรวมต้องนำไปสู่
- สิทธิเสรีภาพที่กว้างขวางของประชาชน
- ความทัดเทียมทางรายได้และชีวิตความเป็นอยู่ต้องมากขึ้น
- ความยุติธรรมต้องชัดเจน และ
- การปกครองโดยนิติธรรมต้องมั่นคง
การเปลี่ยนแปลงใหญ่ในระดับการปฏิรูปโครงสร้างหรือความคิดของประเทศไทย
จนถึง 14 ตุลาคม 2516
1. สาเหตุการเปลี่ยนแปลงครั้งแรกคือภัยคุกคามจากลัทธิอาณานิคมตะวันตก
รัชกาลที่ 5 ได้ปฏิรูปประเทศให้ทันสมัยในทางการบริหาร การปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน กฎหมาย การเงิน การคลังสาธารณสุข ทางวัตถุ สาธารณูปโภค ถนน รถไฟ โรงพยาบาล
ให้เป็นสมัยใหม่แบบตะวันตก ทำให้ไทยก้าวพ้นจากวิกฤตแรกนี้ได้
2. การปฏิรูปการปกครองไทยให้ทันสมัย ทำให้เกิดพลังทางยุทธศาสตร์คือกลุ่มทหาร พลเรือน
ที่ตื่นตัวทางวิชาการและการเมือง และ
ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475ของคณะราษฎร
เป็นการปฏิรูปโครงสร้างทางความคิดการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ และแนะนำความคิดประชาธิปไตยเข้าสู่สังคมไทย
3. มีการปฏิรูปประเทศสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งถือเป็นการปฏิรูปครั้งใหญ่และรอบด้าน
คือ การปฏิรูปเศรษฐกิจประเทศให้เป็นอุตสาหกรรมการขยายถนนสำคัญๆ อย่างทั่วถึง
การสร้างสำนึกความปัจเจกชน การทำงานเพื่อให้ได้เงินของคน
รวมทั้งการปรับปรุงการบริหารการปกครองอีกหน นับจากครั้งแรกที่เกิดในสมัยรัชกาลที่ 5
เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 เป็นเสมือนคู่แฝดกับแผนพัฒนาอุตสาหกรรมของจอมพลสฤษดิ์
เป็นเหรียญ 2 ด้านของระบอบการเมืองประชาธิปไตยและทุนเสรีนิยม
ความสำคัญของเหตุการณ์ 14 ตุลาฯ คือ
การพังทลายระบบทรราชหรือเผด็จการเบ็ดเสร็จ (totalitarianism) ของทหาร
ซึ่งเป็นเสมือนทั้งคุกคุมขังเสรีภาพของประชาชนและกำแพงแห่งความกลัว
ซึ่งกฎหมาย กลไกตำรวจลับ หน่วยความมั่นคงทหาร นโยบายและมาตรการป่าเถื่อนอื่นๆ
ได้ผนึกฝังไว้ทั้งจิตสำนึกและจิตใต้สำนึกของคนไทย
หลังจากเมล็ดพันธุ์แห่งเสรีภาพได้กระจายออกมันก็งอกออกไปทั่วทุกปริมณฑล ด้านเศรษฐกิจ การค้า
การลงทุน ด้านศิลปะ วัฒนธรรม สังคม ประเพณี ฯลฯ
เหตุการณ์ 14 ตุลาฯ ได้สร้างความเชื่อมั่นในพลังและเสรีภาพของประชาชน และ
ความจำเป็นของการมีระบอบประชาธิปไตยแบบเลือกตั้ง
ซึ่งถึงแม้จะมีรัฐประหารอีกหลายหน
แต่ก็ไม่มีใครกล้าที่จะยึดอำนาจโดยไม่มีการเลือกตั้งให้ยาวเกินกว่าเหตุ
• ท่านอานันท์ ปันยารชุน
ในเรื่องวิธีคิดของคนไทย ที่จะพยายามพัฒนาระบอบการปกครองของเรา ให้ไปสู่ระบอบประชาธิปไตย
มากกว่าที่เป็นในอดีต
แต่ในขณะนี้ ปัญหาใหม่ที่ผมคิดว่ายังต้องขบคิดกันต่อไปก็คือ
ระบอบประชาธิปไตยที่คนไทยเข้าใจมันคืออะไร และ
มันสอดคล้องกับหลักการระบอบประชาธิปไตยจริงๆหรือเปล่า
เพราะในปัจจุบันนี้ผมก็ไม่แน่ใจว่าหลายประเทศที่อ้างตัวเป็นประชาธิปไตย
ในทางปฏิบัติ เป็นประชาธิปไตยจริงหรือเปล่า
ประชาธิปไตยที่แท้จริงมันเป็นเรื่องของหลักการ แต่ประชาธิปไตยของไทยเรา
หากเราหวังว่าถ้าเรามีรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยแล้วอันนั้นคือประชาธิปไตย
ผมบอกว่าไม่ใช่
เดี๋ยวนี้ผมไม่ค่อยใช้คำว่าประชาธิปไตย
แต่ใช้คำว่า Democratic Governance คือประชาธิปไตยนี้มันต้องมีธรรมาภิบาลด้วย
ประชาธิปไตยไม่ได้ขึ้นอยู่กับรัฐธรรมนูญอย่างเดียว ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการเลือกตั้งอย่างเดียว
ไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าใครแพ้ใครชนะ
แต่ขึ้นอยู่กับว่าเมื่อใครชนะแล้ว คนคนนั้นดูแลผลประโยชน์ของฝ่ายข้างน้อยด้วยหรือเปล่า
ต้องมีธรรมาภิบาล ต้องมีความรับผิดชอบ มีอิสรภาพในการชุมนุม ออกความเห็น เดินขบวน
ศาลต้องมีอิสรภาพและไม่ใช่ยุติธรรมอย่างเดียว ศาลต้องยุติธรรมและเที่ยงธรรมด้วย
หนังสือพิมพ์ มีเดีย (Media) ก็มีอิสรภาพ แต่ไม่ใช่สภาพที่จะด่าคนได้ตลอดเวลา
การสร้างให้เกิดความเกลียดชังกันก็ไม่ใช่อิสรภาพ
ถ้าคุณมีอิสรภาพจะต้องใช้อิสรภาพด้วยความรับผิดชอบต้องมีความโปร่งใส มันมีองค์ประกอบหลายๆ อย่าง
ผมไม่ได้เน้นเรื่องประชาธิปไตย แต่ผมเน้นเรื่องธรรมาภิบาลในกรอบของประชาธิปไตย
ถึงใช้คำว่า Democratic Governance
นั่นคือประชาธิปไตยที่แท้จริง
แต่ถ้าเราบอกว่าประชาธิปไตยคือเรามีเลือกตั้ง หรือเรามีรัฐธรรมนูญแล้ว เรามีเลือกตั้งผู้ว่าฯแล้ว มันไม่ใช่”
องค์ประกอบของระบอบประชาธิปไตยไทยมีศาล องค์กรอิสระต่างๆ
รวมทั้งรัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสมาชิก
ถ้าองค์ประกอบเหล่านี้สามารถมีธรรมาภิบาลได้ ประชาธิปไตยจะเดินไปได้
“ใช่ แต่ไม่ใช่สิ่งเหล่านี้สร้างด้วยธรรมาภิบาลนะ ธรรมาภิบาลนี่มันอยู่ในตัวของมันเอง
หรือแม้แต่การเลือกตั้ง คนอาจจะบอกการเลือกตั้งต้อง Free and Fair
คือพูดแบบฝรั่งพูด ต้องอิสระและเป็นธรรม ผมบอกไม่พอ
การเลือกตั้งจะสมบูรณ์ต้องเป็น Free and Fair และมี Active citizen
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี